การล่มสลายของมหาลัยนาลันทาตามพุทธพยากรณ์(นิรุตติญานทัสสนะกถา)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 26 พฤศจิกายน 2017.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อย่าทอดทิ้งสิ่งที่ท่านผู้มีคุณอันประเสริฐได้พยายามรักษาไว้

    คำทำนายของ...พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ

    เมื่อสมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้วได้ประมาณ 236 ปี พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เล็งญาณดูกาลอนาคตของพระพุทธศาสนาเห็นว่าต่อไปชมพูทวีปซึ่งเป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจะไปเจริญรุ่งเรืองในทวีปอื่น จึงได้ถวายพระพรพระเจ้าอโศกมหาราช ขอความอุปถัมภ์ เพื่อจัดส่งพระเถรานุเถระเป็นคณะไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศนอกชมพูทวีป ด้านใต้ถึงเกาะลังกา ด้านตะวันตกถึงเปอร์เซีย ด้านเหนือถึงประเทศแถบเชิงเขาหิมาลัย ด้านตะวันออกถึงสุวรรณภูมิ เหตุการณ์ก็จริงดังคาด พอพระพุทธศักราช ประมาณ 1100 ปีเศษ พระพุทธศาสนาก็อันตรธานจากชมพูทวีป ไปเจริญรุ่งเรืองยังนานาประเทศจริงๆ สุวรรณภูมิ ก็คือแหลมทอง ซึ่งหมายถึงผืนแผ่นดินตั้งแต่อ่างเบงกอลมาจนถึงทะเลญวณ ได้เป็นที่รองรับพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่พระพุทธศักราชประมาณ 236 ปีเศษ มีโบราณวัตถุสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสักขีพยานในโบราณสถานนั้นๆ เช่นพระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม มีวงล้อธรรมจักรทำด้วยศิลาขนาดใหญ่โตมาก ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น เพราะยังไม่เกิดประเพณีสร้างพระพุทธรูปที่เมืองเสมา (ร้าง) ในจังหวัดนครราชสีมา ก็มีวงล้อธรรมจักรทำด้วยศิลาขนาดเดียวกันกับที่นครปฐม และที่ตำบลฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีภาพแกะสลักศิลาเป็นเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งเป็นพยานว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง ณ. แหลมทอง โดยเฉพาะที่นครปฐมและนครราชสีมาในสมัยเดียวกัน ประมาณว่าในราวพุทธศตวรรตที่ 4 การที่พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ สามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องเป็นระยะไกลถึงเกือบพันปีเช่นนี้ ย่อมต้องมีทิพยจักขุญาณแจ่มใสจริงๆ แน่นอน เมื่อทราบแล้ว ท่านก็ดำเนินการแก้วิกฤตการณ์ไว้ล่วงหน้าทันที

    ผลดีที่เกิดขึ้นคือ พระพุทธศาสนาแพร่หลายและดำรงอยู่ได้ในนานาประเทศนอกชมพูทวีปมาจนถึงปัจจุบัน ชมพูทวีปคือ ประเทศอินเดียซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา ได้ว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนามานานประมาณพันปีแล้ว พึ่งจะมีพระภิกษุจากลังกา พม่า และอาหม เข้าไปทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปอีกเมื่อประมาณ 60 ปีมานี่เท่านั้น ถึงกระนั้นก็ยังหวังความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในสมัยพุทธกาลได้ยาก เพราะสภาพการณ์ของบ้านเมืองและประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ลัทธิศาสนาอื่นได้ฝักรกรากแทนที่พระพุทธศาสนามานาน บุคคลผู้จะนำพระพุทธศาสนาไปปลูกฝังลงยังอินเดีย ได้อีกจะต้องเป็นผู้มีบุญญาภิสมภารและอิทธิภินิหารเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าเจ้าลัทธิคณาจารย์ในถิ่นเป็นอย่างมาก

    มีคำทำนายโบราณชิ้นหนึ่งได้เป็นที่ตื่นเต้นสนใจกัน เมื่อประมาณ 60 ปีกว่ามานี้ มีว่า เมื่อพระพุทธศาสนาอายุถึงกึ่ง 5,000 ปีนับแต่พุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนาจะกลับมาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุดคล้ายสมัยพุทธกาล แลจักมีผู้บรรลุมรรคผลนิพพานถึงภูมิพระอรหันต์ เชี่ยวชาญทางอภิญญา พระมหาเถระโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภิสมภาร แลถึงพร้อมด้วยบุญญฤทธิ์อิทธาภินิหาร ในสุวรรณภูมิแคว้นประเทศ จักได้เป็นประธานาธิบดีสงฆ์ทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นที่อินเดียไปยุโรปและอเมริกา ประชาชนชาวโลกจะหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนามากมาย คนทั้งหลายจะนิยมในการฝึกฝนอบรมจิตในทางพระพุทธศาสนา ประเทศชาติบ้านเมืองก็จะร่มเย็นเป็นสุข ด้วยร่มเงาของพระพุทธศาสนา เงาเจริญแห่งพระศาสนาเริ่มปรากฏแล้ว ชาวอัศดงประเทศกำลังหันมาสนใจในพระพุทธศาสนามากขึ้น แต่ใครเป็นตัวการตามทำนายนั้น ยังมิได้ปรากฏแก่วงการพระพุทธศาสนา ขอให้คอยดูกันต่อไปว่า จะจริงเท็จแค่ไหน ถ้าคำทำนายเป็นจริงขึ้นก็แปลว่า ชาวพุทธผู้ให้คำทำนายไว้นั้น มีทิพยจักขุญาณวิเศษที่สุดได้แน่ๆ ทีเดียว และตัวการในคำทำนายนั้น จะเป็นบุคคลที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของโลกสมัยใหม่ด้วย ข้าพเจ้าได้เรียนถามพระอาจารย์ภูริทัตตเถระ (มั่น) ว่า คำทำนายโบราณนี้จะเป็นจริงไหม ท่านว่าเจ้าพระคุณพระอุบาลีปมาจารย์ (สิริจันทเถระ จันทร์) บอกว่าจริง เมื่อข้าพเจ้าถามถึงความเห็นเฉพาะตัวของท่าน ท่านก็บอกว่าเป็นจริง เวลานี้ก็จวนถึงเวลาแล้ว เราคอยดูกันต่อไป เอวัง.............

    ที่มาจากหนังสือ ทิพยอำนาจ แต่งโดยพระอาจารย์ เส็ง ปุสโส ป.ธ.
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทำไมจึงสำคัญนัก ทำไมจึงต้องบรรลุ

    ปฎิสัมภิทา เลิศอย่างไร? แล้วท่านจะได้อะไร?จากผู้ไม่เป็นพระอรหันต์ และจะได้อะไร?จากผู้ไม่บรรลุปฎิสัมภิทา


    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
    ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้
    ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
    ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
    ๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”


    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
    ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วย
    องค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
    ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
    ๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย อีกนัยหนึ่ง
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง
    องค์ ๕ คือ
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในธรรม)
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ)
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
    ๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
    ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๘ จบ

    อรรถกถาอรรถปฏิสัมภิทาธรรมปฏิสัมภิทา
    นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส ว่าด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔
    บัดนี้ ญาณในการละ ในการเจริญและในการกระทำพระนิพพานให้แจ้งย่อมประกอบด้วยอริยมรรคอริยผล ฉะนั้น ท่านจึงยกเอาปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อันพระอริยบุคคลนั่นแหละจะต้องได้ ขึ้นแสดงต่อจากผัสสนญาณนั้น.

    แม้ในปฎิสัมภิทา ๔ นั้น อรรถะคือผลธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย ย่อมปรากฏดุจทุกขสัจจะ และเป็นธรรมอันใครๆ จะพึงรู้ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น ท่านจึงยกอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดงก่อน, ต่อแต่นั้นก็ยกธรรมปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะอรรถะนั้นเป็นวิสัยแห่งธรรมอันเป็นเหตุ, ต่อแต่นั้นจึงยกเอานิรุตติปฎิสัมภิทาญาณ เพราะอรรถะและธรรมทั้ง ๒ นั้นเป็นวิสัยแห่งนิรุตติ, และต่อจากนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณนั้น ท่านก็ยกเอาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะเป็นไปในญาณแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น.



    อรรถกถาวิหารัฏฐสมาปัตตัฏฐญาณุทเทส
    ว่าด้วยวิหารัฏฐญาณและสมาปัตตัฏฐญาณ
    ญาณทั้งหลายอื่นจากนี้ ๓ ญาณมีวิหารัฏฐญาณเป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงต่อจากปฏิสัมภิทาญาณ เพราะเกิดแก่พระอริยบุคคลเท่านั้น และเพราะเป็นประเภทแห่งปฏิสัมภิทา.

    จริงอยู่ วิหารัฏฐญาณเป็นธรรมปฏิสัมภิทา, สมาปัตตัฏฐญาณเป็นอรรถปฏิสัมภิทา.
    แท้จริง ญาณในสภาวธรรม ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทากถาว่า๑-ธรรมปฏิสัมภิทา.

    ส่วนญาณในนิพพานเป็นอรรถปฏิสัมภิทานั่นแหละ.

    ผู้ได้พบได้เห็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ย่อมจักเป็นผู้ได้เสวยวิมุตติธรรมตั้งแต่ระดับ วิกขัมภนวิมุตติ ตทังควิมุตติ ตลอดจนขึ้นไปถึง สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ


    ปฏิสัมภิทาญาณ เป็นกำลังที่ครอบคลุมได้ทั้งอภิญญา ๖ วิชชา ๓ และสุกขวิปัสสโก บุคคลอย่างน้อยต้องปฏิบัติจนถึงระดับพระอนาคามีขึ้นไป กำลังของปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ถึงจะปรากฏขึ้น

    ปฏิสัมภิทาญาณนอกจากความสามารถแบบเดียวกับอภิญญา ๖ แล้ว ยังมีความสามารถพิเศษ ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธัมมาปฏิสัมภิทา คือเป็นผู้รู้ทั้งเหตุและผล รู้ว่าผลที่เกิดขึ้นตรงนี้ สาวไปแล้วมาจากเหตุอะไร รู้ว่าเหตุนี้ถ้าเราทำแล้วจะเกิดผลอะไร แล้วก็ละในเหตุที่ไม่ดี ทำแต่ในเหตุที่ดีเท่านั้น ก็จะได้แต่ผลที่ดี

    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นผู้เฉลียวฉลาด สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างไปโดยสะดวกง่ายดาย นิรุกติปฏิสัมภิทา มีความชำนาญในภาษาคน ภาษาสัตว์ ภาษากาย ภาษาใจทุกอย่าง ก็เลยกลายเป็นความสามารถพิเศษที่ครอบคลุมอภิญญา ๖ ไปอีกชั้นหนึ่ง พูดง่ายๆ ว่ามีมากกว่าอภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง



    มีปฎิสัมภิทา ก็มีทุกอย่างตามพลวปัจจัยที่สั่งสมมา


    จะหาที่ไหน? ในตอนนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2017
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แม้แต่สมเด็จพระบรมมหาศาสดาก็ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ (ทรงตรัสสั่ง)ด้วยทรงมีพระปรารถนาแก่เหล่าสงฆ์สาวกทั้งหลายฯ ให้เป็นธรรมทายาทของพระองค์

    พระผู้มีพระภาคตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า ทำอย่างไรหนอสาวกทั้งหลายของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท จะไม่พึงเป็นอามิสทายาท

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอจะพึงเป็นอามิสทายาทของเรา ไม่เป็นธรรมทายาทไซร้ ด้วยความที่พวกเธอเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทนั้น ทั้งพวกเธอ ทั้งเราพึงถูกวิญญูชนติเตียนได้ว่า พวกสาวกของพระศาสดาพากันเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาท

    ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าพวกเธอพึงเป็นธรรมทายาทของเรา ไม่เป็นอามิสทายาทไซร้ ด้วยความที่พวกเธอเป็นธรรมทายาท
    ไม่เป็นอามิสทายาทนั้น ทั้งพวกเธอทั้งเราไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนว่า พวกสาวกของพระศาสดาพากันเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท เพราะเหตุนั้นแล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
    ทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่าทำอย่างไรหนอ สาวกทั้งหลายของเราพึงเป็นธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท.





    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ ฯ

    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่งเหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิดทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย คนเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ


    ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
    รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ มีความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิดเป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะมีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้นเมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดยเคารพ ฯ


    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช .มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม
    เธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ




    น เต อหํ อานนฺท ตถา ปรกฺกมิสฺสามิ
    อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม

    ยถา กุมฺภกาโร อามเก อามกมตฺเต
    เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่

    นิคฺคยฺหนิคฺคยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
    อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด

    ปวยฺหปวยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
    อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด

    โย สาโร, โส ฐสฺสติ
    ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.


    ( มหาสุญฺญตสุตฺต อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๕/๓๕๖ )

    ที่เหลือใครไม่เอา ไม่มีมรรคผลเป็นแก่นสาร ก็ขอให้ท่านสนุกสนานกับสังสารวัฎรได้ตามสะดวก ไม่บีบบังคับกันครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 60.jpg
      60.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.3 KB
      เปิดดู:
      80
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปฏิสัมภิทามรรค

    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"


    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31.0&i=0&p=1
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สักวันหนึ่งเมื่อเขารำลึกได้ว่า ถ้าไม่มีพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายกมาแสดง เขาก็จะไม่มีวันนี้ เมื่อเขาไม่มีผู้แนะนำธรรมทั้งปวง เขาก็จะไม่มีทางเข้าใจและไม่รู้อะไรในธรรมนี้ ไม่คิดอะไรอันเป็นเหตุที่มาแห่งธรรมนี้ แต่สักวันหนึ่งเขาปราถนาจะฟังภาษิตใดสักเรื่องจากสัตบุรษผู้รู้จริงสักคน เขาก็จะตั้งใจฟังภาษิตนั้น ฟังอย่างเคารพ ฟังแล้วนำไปพิจารณาเนื้อความนั้น เสวยเวทนานั้น เมื่อรู้และเห็นคุณค่า เห็นทางเดิน เขาก็จะพยายามตน และพยายามเพื่อผู้อื่นนั้นด้วย ถ้าเขาดื้อรั้นไม่ใส่ใจ ในสภาวะหนึ่งในกาลข้างหน้า เขาอยากมีเมตตาต่อผู้อื่น ปราถนาดีต่อบุคคลที่เขารัก เขาย่อมรู้ว่าเป็นการยาก ที่จะทำให้บุคคลที่เขารักและหวงแหนรู้เห็นธรรมอันพ้นทุกข์ตามได้ เพราะเขาย่อมไม่สามารถจะเอาอาการใดในตนไปบอก ไปสอนบุคคลเหล่านั้น ให้เห็นดีเห็นงามได้ตามกับตัวเขา ย่อมพร่าเสียซึ่งประโยชน์ส่วนตนและส่วนอื่นไปด้วย

    ฉนั้นแล้วเมื่อเขาหยุดการเพ่งโทษ เพ่งธรรมอันผู้อื่นน้อมนำมาแสดงด้วยสำนึกดีระลึกรู้ในตนแล้ว เขาย่อมเจริญยินดีในธรรมอันยิ่งขึ้นไป ในการสั่งสมปัญญาในการเจริญเข้าสู่พระสัทธรรม


    ("คามณิ ! นาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว นั้น เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ปริพพาชกทั้งหลาย ผู้เป็นเดียรถีย์อื่นต่อเรา เราก็ย่อมแสดงธรรมงดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
    เพราะเหตุว่า ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดง สักบทเดียว นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน")


    ไม่ควรพิจารณาให้เป็นอื่น นอกจากการเห็นใจและเข้าใจ เหล่าพุทธบริษัทที่ปฎิบัติตามธรรมดีแล้วด้วยกันตามองค์คุณกัลยาณมิตร เมื่อมีฐานะธรรมอันสมบูรณ์บ้างแล้วก็ควรหาโอกาส ทำหน้าที่อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์สาธุชนทั้งหลายนั้นด้วย จึงจะเป็นการดี

    เราปรารถนาให้ท่านเป็นมิตรรักมิตรแท้ในธรรมแก่เรา ไม่มีอคติอื่น ได้โปรดจงเข้าใจ

    ใจความนี้คือปฎิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม

    "ควรพิจารณาธรรมทั้งทุกหมวด ให้ทั่วถึงตามฐานะกาลของตน"

    บัณฑิตผู้เจริญในธรรมทั้งหลาย ควรเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม ตามจริตธรรมที่สามารถเข้าถึงได้ในตน ด้วยอานุภาพของบุญบารมีที่สั่งสมมาก่อน และด้วยวุฒิปัญญาของตน ในชาติภพนี้ด้วยไปตามลำดับ อย่างมีความเคารพและตั้งใจ ละเอียดอ่อนในทุกๆห้วงความคิดพินิจพิจารณา หากคิดผิดเข้าใจผิด ก็หาหนทางแก้ไข จากสำนักอาจารย์ ท่านผู้รู้ที่อยู่ใน("สารคุณ") แม้เราเองก็จะต้องเพียรพยายาม พิจารณาธรรมเหล่านี้ด้วยตามฐานะกาล ตามสติปัญญาอันจะพึงมีพึงเกิดได้

    คือ

    "สิ่งที่ควรระมัดระวัง"
    ไม่ควรพิจารณาถึงธรรมที่ตนเองก็มิได้กระทำวัตรปฎิบัติให้ถึง โดยที่สภาวะของตนไม่เอื้ออำนวยแก่การบรรลุธรรมนั้น เพราะจะถูกบีบคั้นจากสภาวะทั้งปวงรอบข้างเป็นอย่างมากเพราะรู้แล้วไม่ปฎิบัติ ย่อมถือว่าไม่รู้ อุปมาเสมือนบุคคลขับยานพาหนะ ไปในท้องถนนที่คับคั่งแออัดไปด้วยยวดยาน เห็นสัญญานไฟแดงเตือนให้รถหยุด รู้แต่ยังดื้อดึงขับฝ่าย่อมมีเหตุอันตรายให้มาถึง

    ธรรมอื่นที่ทำให้ถึงปฎิบัติให้ถึงได้ทันที ทำหมดหรือยัง ? นี่คือความชัดเจน



    ปริศนาธรรมนี้ เราแก้ปัญหาและแสดงอรรถาธิบายให้ท่านโดยสมบูรณ์ยิ่งสุดความสามารถในกาลแล้ว [แสดงหัวข้อปัญหาธรรมใหญ่] เพื่อให้ได้ล่วงรู้ ในสิ่งที่ไม่เคยจะได้ยินได้ฟังได้รู้ อย่างชัดแจ้ง ถึงปัญหาของการทรงอยู่และลบเลือนแห่ง{พระสัทธรรม} การกำเนิด*สัทธรรมปฎิรูป*ที่กำเนิดในพระพุทธศาสนาและ#อสัทธรรม#ซึ่งเป็นคัมภีร์นอกพระพุทธศาสนาทั้งในที่เปิดเผยและลึกลับซ่อนเร้น อันเกินวิสัยสามัญบุคคลธรรมดาทั่วไปจะมองเห็นได้ ตามที่ปรากฎในการแสดงตามภาวะฐานะธรรมให้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเจริญ ในธรรมอันดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้วนั่นเถิด


    สิ่งที่เราไปยึดนั้นหากเป็นสิ่งที่เป็น๐สัมมาทิฐิ๐จะเป็นเส้นสายตรงดิ่ง ทอดยาวถึงจุดหมายมีผลในการเจริญเข้าถึงสรรพธรรม แต่ถ้าเป็น#มิจฉาทิฐิ# ก็จะหมุนวนพันกันไปกันมาจับต้นชนปลายไม่ถูกทำให้ไม่มีทางเข้าถึงสรรพธรรมอันเจริญกว่าที่เสวยเวทนาอยู่ได้ อรรถนี้สาธยายโดยพิสดารโดย "เผยให้เห็นวิมุตติ แต่ถ้าผู้มีปัญญาธรรมอันสั่งสมมาดีแล้ว จะทราบรส อันสืบเนื่องมาจาก วิมุตติรส



    อรรถวาจาที่กล่าวเป็นการชี้ให้เห็นแนวทางการปฎิบัติทางเสื่อมเสียสูญ และยังแฝงฐานะที่ยังไม่สามารถเอาดีในทางใดๆนั้นได้ด้วย จะดีก็ยังไม่เอา จะเลวก็เป็นไม่ได้ หยุดอยู่กลับที่เสมือนบุคคลผู้หลงทางในการปฎิบัติ ท่านควรเดินทางอย่างระมัดระวัง พิษของเสี้ยนหนามกรวดแก้วขรุขระมีคมที่ยึดถือเดินอยู่ ไม่ใช่หนทางที่ควรปฎิบัติ ควรยอมรับตนและล้างใจให้สะอาดเถิด กี่มากน้อยแล้วบุคคลผู้ติดขัดในธรรม ผู้ย่อหย่อนทั้งหลาย กลับสามารถสำเร็จธรรม กลายมาเป็นยอดผู้รู้และอยู่ในสารคุณในอริยะวินัย

    "เรารอมานานแล้วที่จะได้กล่าวธรรมอย่างที่แสดงเอาไว้นี้ โดยพิศดารนั่นก็คือฐานะหนึ่งที่ยืนยันในการที่เรา เป็นผู้ที่รู้เห็นใน" พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม"ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ เพื่อความสิ้นสงสัย เรานั้นก็ปราถนาให้ท่านทั้งหลายที่เห็นเนื้อความในอรรถที่เราแสดงเอาไว้โดยพิสดารนี้ ได้เป็นผู้ที่รู้ที่เห็น " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม " ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ เฉกเช่นเดียวกัน เราจึงไม่เป็นผู้มีความปรารถนาทรามปกปิดพระธรรมเอาไว้ เป็นผู้เปิดเผยและเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ในพระธรรม สมดังตรงตามที่พระบรมมหาศาสดาตรัสให้สอนเราเป็นธรรมทายาทที่ดี เมื่อรู้ดังนี้แล้วจงน้อมนำศรัทธาเข้าสู่ความเพียรพยายามอุตสาหะในการปฎิบัติเพื่อสรรเสริญบูชาอันพระรัตนตรัย เพื่อความสุขสวัสดิ์สถาพรของเหล่ามหาชนนั้นเทอญฯ"

    ความรู้นี้ไม่มีในร่างกาย ไม่มีในสมองเน่าๆของเรา นี่ไม่ใช่เรา ขออนุโมทนาบุญฯ


    -----------------------------THE END-------------------------------


    ๐จงพิจารณาธรรมที่เราแสดงโดยพิศดารในต่อไปนี้๐

    "สิ่งที่ควรรู้ ๓ อย่าง"
    รู้อายุพระศาสนา รู้แก่นพระศาสนา รู้ความหมายของการประกาศธรรมของพระศาสนา

    เมื่อผู้ใดก็ตามเมื่อได้ระลึกรู้ตามนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนและประมาทในการประพฤติธรรมอีกต่อไป

    ผู้นั้นแล เป็นผู้สมควรเจริญ เป็นผู้เคารพนอบน้อมในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่ง



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2017
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ๔แสนยาก

    ที่ชาติหน้าจะมีโอกาสมาพบเห็นอีกหรือไม่ ?

    ๑. กิจโฉ มะนุสสะปะฏิลาโภ (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)

    ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก

    การได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น จะต้องอาศัยกุศลกรรม คือ กรรมขาวอันเป็นกรรมฝ่ายดี ที่มีกำลังมากกว่ากำลังของฝ่ายอกุศลกรรมเป็นเหตุปัจจัย จึงจะนำมาให้เกิด คือ ถือปฏิสนธิเกิดเป็นมนุษย์ได้ ฉะนั้น การที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์สักครั้งหนึ่งนั้น นับว่ายากยิ่งนัก เราท่านทั้งหลายโชคดีแล้วที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และโชคดีอีกชั้นหนึ่ง เมื่อได้พบพระพุทธศาสนา จึงต้องพยายามทำคุณความดีไว้ให้มาก ให้ได้ผลคุ้มค่ากับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา.


    ๒. กิจฉัง มัจจานะ ชีวิตัง (ขุ. ธ. ๒๕/๓๙)

    ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก

    สัตว์นี้หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตเคลื่อนไหวได้ทุกจำพวก สัตว์ทุกจำพวกไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์จำพวกอื่น ตั้งแต่เกิดลืมตาขึ้นมาดูโลก ก็ต้องผจญกับภัยอันตรายของชีวิต มีทั้งอันตรายภายใน ได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และทั้งอันตรายภายนอก เช่น ความร้อน ความหนาว เป็นต้น ฉะนั้น การที่จะมีชีวิตอยู่รอดได้ในโลกอันมากไปด้วยอันตรายนี้ จึงนับว่าเป็นการยากลำบากยิ่งนัก


    ๓. กิจฉัง สัทธัมมัสสะวะนัง (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)

    การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยาก

    สัตบุรุษ คือ บุรุษผู้ได้บำเพ็ญบารมีไว้มาก มีสติปัญญาความสามารถเหนือชนทั้งหลาย เป็นพหูสูต รอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ย่อมแนะนำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เว้นจากสิ่งที่มีโทษ ดังนั้น การที่บุคคลจะพบสัตบุรุษเช่นนี้และได้ฟังธรรมจากท่าน ย่อมจะเป็นการยากอย่างยิ่ง เพราะสัตบุรุษไม่ได้มีอยู่ทั่วไป นาน ๆ จึงจะเกิดขึ้นสักคนหนึ่ง.


    ๔. กิจโฉ พุทธานะมุปปาโท (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)

    ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก

    ผู้รู้ หมายถึง บุคคลหลายชนิด มีทั้งผู้รู้ทางคดีโลกและผู้รู้ทางคดีธรรม การที่ท่านเหล่านี้จะเกิดขึ้นมานั้นเป็นการยากอย่างยิ่ง ในที่นี้จะได้กล่าวเฉพาะความเกิดขึ้นแห่งผู้รู้แจ้งแทงตลอดสิ่งทั้งปวงคือ พระพุทธเจ้า อันธรรมดาผู้ที่จะเกิดเป็นพระพุทธเจ้านั้นจะต้องได้สั่งสมบารมีมาเป็นเวลาหลายโกฏิกัปป์เลยที่เดียว เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ท่านทั้งหลายไม่ควรให้โอกาสที่ได้พบพระพุทธศาสนานี้ให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์เลย.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธศาสนสุภาษิต
    หมวดที่ ๑๐ ความไม่ประมาท




    อปฺปมตฺตา น มียนฺติ

    ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย



    อปฺปมาทรตา โหถ

    ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท



    อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ

    บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท



    อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ

    บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง



    อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต

    ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์



    อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐฺ รกฺขติ

    ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด



    อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
    สญฺโญชนํ อณํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ


    ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น



    อปฺปมาทรโต ภิกขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
    อภพฺโพ ปริหานาย นิพพานสฺเสว สนฺติเก


    ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว



    อวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
    ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ


    ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วไปเที่ยวไป เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้



    อุฏฺฐฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
    สญฺญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ


    ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201



    “หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ”

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
     
  9. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    เห็นท่าน โพสมานานแล้ว ยังไม่ได้อ่านแบบจริงจังสักที บอกตามตรงไม่สนใจ ไม่ต่อต้าน
    ผมนี่จะลองอ่านสักที แต่อยากอ่านในส่วนที่ท่านคิดว่าสำคัญของท่านก็แล้วกัน อย่าให้มากนะท่าน เอาพอให้รู้ความพอ ขี้เกียจอ่านมาก รบกวนท่าน วาง ลิงค์ให้หน่อย
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทรงทราบ ทรงเปิดเผย แต่ไม่ทรงติด ซึ่งโลกธรรม

    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.



    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.



    ผู้มีความเพียรพยามและเข้าใจในสิ่งที่เราแสดงในตอนนี้มีอยู่ อย่าให้เราต้องมาชี้ทางให้ท่านเลย ท่านไปหาทางตรัสรู้เอาเองเถิด เราจนปัญญา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2017
  11. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    ไม่เป็นไรท่าน เอาไว้ผมนี่มีเวลามากพอ จะไปค้นหา แอบอ่านเองท่าน


    พุทโธคำเดียว สะเทือน 3แดนโลกธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2017
  12. pakkrid

    pakkrid สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    ผมยังตามอาจารย์ อยู่ตลอดครับ ไม่ได้หายไปไหน
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คนแบบเธอนั้นหายาก น้ำตาที่เธอหลั่งรินเพื่อพระพุทธเจ้านั้นบริสุทธิ์ เรายังไม่เคยลืม ผู้รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์อยู่เสมอๆในพระศาสนานี้ ย่อมเจริญในพระสัทธรรมอันยิ่งขึ้นไป


    สู่หนทางวิมุตติญานทัสสนะโดยนิรุตติญานทัสสนะกถา (ปฎิสัมภิทามรรค)
    พยากรณ์ธรรมมีอุปการะมาก
    พ. ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้งความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียรจึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณาก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณาจึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้าไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด ก็พึงอุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่ง ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้นธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรการเพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
    พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญเนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่ง ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉนข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การทรงจำธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความถ้าไม่พึงทรงจำธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจำธรรมไว้ จึงใคร่ครวญเนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมไว้ จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าไม่พึงฟังธรรมก็พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลงก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหาก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.

    ผู้อ่อนแอต่อบาป ซื่อตรงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมกลโกง มีสัจจะ มีความรักศรัทธาอย่างบริสุทธิ์ใจ เท่านั้นจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้ในพระพุทธศาสนานี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2017
  14. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,868
    ส่งตรงดอกไม้ถึงท่าน ธรรมบุตร ธรรมราชา

    barrel-tricycle-planter-8.jpg


    train%2Bplanter%2B1.png


    hqdefault.jpg

    b991a4e929a20fc1939940d05bd19f54--floating-boat-floating-garden.jpg

    522018_202719036504758_1477210073_n-728x546.jpg

    2cd165a31b03bcf4d8ced7365f274fac--flower-bomb-war.jpg
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ดอกไม้ของคนดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...