ปัญญาวิมุต เจโตวิมุตเป็นอย่างไรครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย bigtoo, 18 มกราคม 2018.

  1. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ท่านใดพอจะแสดงให้เข้าใจได้ตรงครับ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓





    <CENTER>ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
    </CENTER>

    [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
    ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
    มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
    เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
    เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
    นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
    เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
    ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
    สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
    มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรค
    หนึ่ง ฯ



    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด

    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้




    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
    ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
    ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
    สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
    วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ


    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
    วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
    เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
    ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ


    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
    นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
    เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
    จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ


    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้

    [๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
    อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึก
    ถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ
    ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดย
    ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิต
    ที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
    มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
    อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ
    ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)
    อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุ
    นึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความ
    ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความ
    เป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
    เป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม
    ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง
    มั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิด
    อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุ
    มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส
    ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
    ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
    พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
    ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความ
    เป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึก
    ถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ
     
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    อรหันต์บางรูปได้ปัญญาวิมุติคือเข้าถึงบรมสัจจะด้วยปัญญา แต่สามารถเข้าฌานได้เพียงได้สมาธิชั่วขณะทำกิจ แต่ยังไม่สำเร็จสมาธิระดับฌานเป็นวสี สามารถฝึกสมาธิต่อได้จนสามารถได้เจโตวิมุติหรือสำเร็จฌาน. ส่วนอรหันต์เจโตวิมุติอย่างเดียวไม่มี มีแต่อรหันต์ปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติได้สองอย่าง
     
  4. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    อบรมสติจึงเกิดปัญญา อบรมสติจึงเกิดฌานเกิดอภิญญาเกิดปัญญา
     
  5. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    สติอบรมอย่างไรถึงเรียกว่าสัมมาสติ
     
  6. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    อบรมอย่างไรถึงเรียกสัมมาสติ ข้อแรกรู้จักศีล ข้อสองรู้จักทาน ข้อสามรู้จักการพิจารณา ข้อสี่เมื่อมีทั้งสามข้อดีแล้วจึงทำสติให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ข้อห้าสติที่ถึงพร้อมด้วยสมาธิมีสิทธิ์จะเรียนรู้ธรรมชาติอันเป็นจริงของทุกสิ่งและรับรู้ตามความเป็นจริงเป็นสัมมาสติ
     
  7. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ขอร่วมตอบด้วยครับ
    เมื่อบรรลุแล้วชื่อว่าได้ทั้ง ปัญญาวิมุต และ เจโตวิมุต
    เพราะมรรคต้องถึงพร้อมด้วยทั้ง สมาธิ และปัญญา
    ท่าสมาธิมากกว่า แน่นิ่งไม่เกิดปัญญา
    ท่าปัญญามากกว่า ฟุ้งซ่าน ไม่สงบระงับ
    ดังนั้นเมื่อบรรลุแล้วจึงถึงพร้อมด้วยทั้งสมาธิและปัญญา ทั้งสอง

    ความแตกต่างจึงเกิดต่างกันตรงที่
    เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
    เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
    เบื้องต้นที่ตั้งจิตลง ตั้งลงในวิปัสนา หรือตั้งลงใน สมถะ
    ขอยกตัวอย่างพระเอตทัคคะ ที่มีความแตกต่างใน การตั้งเบื้องต้นแห่งการภาวนาที่ต่างกันดังนี้

    ปัญญาวิมุต มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
    พระพาหิยรุจีริยเถระ เอตทัคคะในทางตรัสรู้เฉียบพลัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมวิธีปฏิบัติต่ออารมณ์ที่รับรู้ทางอายตนะทั้งหก พอจบพระธรรมเทศนาอย่างย่อ พระพาหิยะก็บรรลุพระอรหัตตผล แต่ไม่ทันได้อุปสมบท

    เจโตวิมุต มีสมถะเป็นเบื้องต้น

    พระจูฬปันถกเถระ พระอสีติมหาสาวก พระพุทธเจ้าทราบความจึงได้ให้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ท่านไปลูบ จนในที่สุดท่านพิจารณาเห็นว่าผ้าขาวเมื่อถูกลูบมีสีคล้ำลง ตอนแรกนั้นกระทำด้วย สมถะ แล้ว จึงได้เจริญวิปัสสนาและบรรลุเป็นพระอรหันต์เพราะสิ่งที่ท่านพบจากการลูบผ้าขาวนั่นเอง
    เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เป็นเอตทัคคะในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ

    แสดงมาสองท่านให้เห็นเบื้องต้นของการเจริญภาวนาครับ แต่เมื่อบรรลุแล้วนั้นก้เท่ากับว่าได้ทั้งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติครับ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    พี่ บิ๊ก ก็ต้องทำความเข้าใจ ว่าด้วยเรื่อง " อาหาร4 "

    อาหาร4 นั้น เรื่องอาหารคือคำข้าว อาหารคือกามคุณ5 อันนี้ โค๊กพี่บิ๊ก
    ก็ เล่นตบแผะ กับมันอยู่

    ซึ่งก็คงพอเห็น อาหารคือผัสสะ พวก ปิติ อันเกิดจากการ พ้น กามสวะ ภวสวะ
    สาสวะ ได้แล้ว

    ทีนี้มันจะเหลือ อาหารอีกสองอย่างคือ มโนสัญญเจตนาหาร ความดิ้นรนโดย
    การตรึกตรองใคร่ครวญ ออกเชิงปัญญาหน่อยๆ ( แต่ในทางปฏิบัติ สมถะ จะเริ่ม
    เมื่อหมดเจตนาบางประการ )

    กับ อาหารคือวิญญาณ(ตัวจิตเองเป็น อาหารให้กับตัวเอง) ตรงนี้ จะเป็น
    เรื่อง จิตที่สำคัญตนว่าเที่ยง เป็น อาธิ

    ดังนั้น

    เวลา โค๊กพี่บิ๊ก ชนเข้ากับ " ปิติ5 " อันเกิดจาก จิตที่อบรมไว้ มีการพ้น
    กามสวะ ภวสวะ สาสวะ มีการเห็นว่า พ้นกิเลส ปราศจากนิวรณ์ พอสมควร
    แก่ธรรม( ไม่เอา เข้าไปจมแช่ ) มีจิตปรกติในภูมิจิตมนุษย์ มันจะเหลือ
    ประโยคธรรมของพระผู้มีพระภาคที่กล่าวว่า " ทำปัญญาให้ทุรพล "

    ซึ่ง จะทำให้เห็น มโนสัญญาเจตนาหาร ที่ยังดิ้นรนเพราะ พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
    กลัวอด กลัวหายไปจากโลก ( การงานคั่งค้าง ที่เป็น วัตร วินัย ลืมประกอบ หรือ
    ตั้งใจประกอบเกินไปด้วยอุปทานลูบคลำศีล พรต ) ......

    จิตจะเป็นกลาง ถึงฐานจิต แล้วจะเห็น จิตผู้รู้ไม่เที่ยง ( หากยังเห็น จิต ยังฉวย
    จิตผู้รู้ ...เช็ค สภาพธรรม การทำปัญญาให้ทุรพล จะต้องเป็น โยนิโสมนสิการ
    ไปตาม กัมมันสกตา ยถาภูตญาณ [ มีหลักกรรมถูกต้อง ไม่ใช่ ว่างๆ แบบ
    ลอยๆ จิตรวมดับ มืด/สว่าง(เรื่องแสงเหมือนกัน ต่างกันที่ พยัญชนะ) แล้วไม่รู้
    ไปไงต่อ ]

    นะ

    ทำปัญญาให้ทุรพล หาก โยนิโสมนสิการถูกต้อง มโนสัญญาเจตนา จะหมด
    ซึ่งอาหาร การสืบต่อของ สัตตานังจะขาด หน่อยๆแล้ว

    เหลืออีกตัวเดียว จิตผู้รู้ไม่เที่ยง แปรปรวนไปตาม อำนาจของ สังขาร อันมี
    อวิชชาสวะ เป็นเหตุให้เกิด ( หลักกรรม ยังต้องอยู่ หากหายตอนนี้ จะว่างๆ
    แบบ ขาดเหตุ ขาดผล จิตรวมแต่ไม่เกิดการงาน "ปิดการขาย" ไม่ได้ )

    เสร็จแล้ว

    เจโตวิมุตติ มันจะเป็นเรื่อง การพ้นไปจาก โยคะกรรม วัตร และ ศีล ไม่มีการลูบคลำ

    ปัญญาวิมุตติ คือ พ้นไปจากการใช้ปัญญา( สัญญาขันธ์ ปัญญาขันธ์ )

    พ้นทั้งสองแล้วได้อะไร จิตมันจะรู้อยู่ที่ฐาน ไม่มีการเห็นว่าเป็นสัตว์ ตัวตน บุคคล
    เราเขา สักแต่ว่า ซึ่งจะเห็นแค่ สอง สาม ขณะจิตพอ หาก สักแต่ว่า มานั่ง
    "จิตดับ" สามวัน เจ็ดเดือน อันนั้น โหลยโถ้ย ไม่เอา ไม่ต้องไปหาอะไรไปช่วยปะผุ

    แต่ไม่เว้น การหมั่นสดับสัทธรรม


    ปล. พึงทราบว่า เวลากำหนดรู้ซึ่งจิต จะ เล็งเข้าไปเห็น " สมถะ วิปัสสนา " เป็น
    สภาพธรรม ประกอบในจิต สัมปยุตติกันอยู่ ไม่ก้ำเกินกัน ไม่มี ฝ่ายหนึ่งชัด อีก
    ฝ่ายหนึ่งหาย ...... ไม่ใช่ สำรวจจิตแล้ว สิกขา ไม่มีสักแอะ ( ซึ่งมันจะเป็นเรื่อง
    การ ด้นเด้าเดาธรรมปฏิบัติ มาตั้งแต่ต้น ทำให้ ขาด สภาพธรรม ในพื้นจิต ที่
    เกิดร่วมกับจิต สัมปยุตติกับจิต ตลอดเวลา )
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อีกนัยหนึ่ง

    นัยนี้ ขึ้นกับ โค๊กพี่บิ๊ก นะฮับว่า ที่บอกว่า ไม่จุกกรู้ เนี่ยะ
    ว่า มีต้นทุนในการปฏิบัติมาแบบไหน

    ( แต่ แนะนำว่า พอถึงเวลา ในการ นมสิการธรรม พึงมี สมถะ
    กองอื่น สักสองสามกอง ร่วมด้วย ไม่ใช่ กองที่คุ้นชิน วิธีการ
    ทำใจที่คุ้นเคย กองเดียว )

    นัยนี้ ขึ้นกับ โค๊กพี่บิ๊ก นะฮับว่า ที่บอกว่า ไม่จุกกรู้ เนี่ยะ
    ว่า มีต้นทุนในการปฏิบัติมาแบบไหน

    เจโตวิมุตติ หรือ เขษมจากโยคะกรรม

    โค๊กพี่บิ๊ก หากมี ต้นทุนจริง และ ตรง มันจะเหมือน มี สมถะ
    บางอย่าง อยู่ในจิต สัมปยุตติกับจิต โดยไม่ต้องเจตนา กระทำ นมสิการมันอีก

    อุปมาเหมือน ขี่จักรยานเป็นแล้ว เวลามีเหตุที่จะต้อง ขี่ ก็
    พรวดออกมาเลย ไม่ต้องตั้งท่า ว่า ทำยังไง แล้วไงต่อ

    เนี่ยะ ลักษณะของ เจโตวิมุตติ หรือ เขษมจากโยคะกรรม สมถะ เริ่ม เมื่อหมดเจตนา

    ส่วน ปัญญาทุรพล หรือ ปัญญาวิมุตติ หากเป็น สมถะยานิก แบบโค๊กพี่บิ๊ก
    ( อาศัยดูจากการปรารภ ไม่จุกรู๊ ) อันนี้ดูดีๆ ...." มันจะเป็นการกระซิบ แล้วไงต่อ "
    ที่ภาษา สาวกชั้นหลังได้ปลื้มกับอาการ " ธรรมเกิด " ๆ โค๊กพี่บิ๊ก อย่าไป
    โอ้ว ธรรมเกิด ธรรมมันบันยายการปฏิบัติให้ฟัง ได้ลาภแล้วหนอ

    โค๊กพี่บิ๊ก อย่าไปโอ้ว ธรรมเกิด แบบสาวกชั้นหลัง แบบนั้น

    ให้กำหนดรู้เข้ามาเลย ปัญญามันกำเริบ มันจะ ชักชวนไปกลับไปมี อัตตา
    มารองรับ แล้ว ชวนไป ลูบคลำ "แล้วไงต่อ" เห็นตรงๆ ก็จบ


    ของจริง เงี๊ยบกริ๊บ ไม่มี ปัจจัยการ ไม่มีอาหาร หากยังมี อาหาร ยังเป็น
    ส่วนตบแต่งขันธ์ ก็รู้ไป ไม่ว่ามัน ขอให้มีไปเถอะ สมถะ และ วิปัสสนา

    แต่ ปัญญาอันยิ่งเอง เนี่ยะ ช่วยกำหนดรู้ด้วย เพราะ ธรรมพ้นจากปัจจัยการ
    ไม่มีการเคลื่อนจิต ทำจิต ทำวิมุตติ มันจะต้อง ......โยนิโสมนสิการ ให้สมควรแก่ธรรม
     
  10. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    สรรพเพํรรมาอนัตตา. นิวรณ์
     
  11. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    ปัญญาวิมุต เจโตวิมุตเป็นอย่างไรครับ

    เจโตวิมุติ หมายถึงความหลุดพ้นทางใจ แปลว่า ความพ้นทุกข์ไม่จำเป็นต้องเป็นคนฉลาด หรืออาศัยปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่ความหลุดพ้น อาศัยบารมี 30ทัศ หรือ 10ทัศ เพียงบารมีเดียวสำหรับสาวก ที่มีโดดเด่น ในจิตดวงนั้นๆ เมื่อทำถึงดี มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะต้านภัยในโลกธาตุได้ ข่ายพระญาณเห็นชอบ คือเป็นคนดีสมกับมาตรฐานที่ทรงวางไว้ พระพุทธองค์จะยัดอารมณ์ ความสำเร็จ ใส่ในหัวคนผู้นั้นเอง เรื่องปัญญา หรือเรื่องอื่นๆ ค่อยไปเรียนต่อในภายหลัง แปลว่า คนโง่ แต่เป็นคนดีพอ ก็ไปนิพานได้จ้า

    สรุป เจโตวิมุติ รอประสานอารมณ์ทางโทรจิต คือยัดอารมณ์ความหลุดพ้นใส่ในหัวให้กับสาวก เมื่อพุทธองค์เห็นสมควร แปลต่อไปว่า ใครไม่ผ่านวิจิกิจฉา (ความสงสัยในคุณพระรัตนตรัย) หมดสิทธิ์ไปนิพานจ้า....
     
  12. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เจโตวิมุติ ต่างจาก ปัญญาวิมุติ ตรงที่
    เจโตวิมุติ กระทำเหตุไว้ในใจก่อนแล้ว ด้วย ศิล สมาธิและภาวนา จิตที่มีสมาธินั้นขาดเพียงแค่การเห็นบางส่วนก้สามารถหลุดพ้นได้เลย พระพุทะเจ้าท่านจึงโปรดธรรมเพียงบางบทที่ยังให้จิตคลายจากความยึดมั่นถือมั่นท่านก้ได้บรรลุด้วยเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
    ปัญญาวิมุติ ท่านไม่ได้กระทำ สมถะภาวนามาเป็นฐานก่อน จิตมีธัมวิจยไตร่ตรองไปตามธรรมที่ได้ฟัง เมื่อเกิดการเฟ้นธรรมโยนิโสมนสิการตามธรรมที่ได้รับนั้น จนจิตเข้าถึงขั้นปฐมณาน จนเกิดปัญญาเห็นจริงโดยไม่ยึดมั่นก้สามารบรรลุธรรมได้เช่นกันก้ได้ชื่อว่า ได้ทั้งปัยญาวิมุติและเจโตวิมุติ
     
  13. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ปัญญาวิมุติคือรู้ เจโตวิมุติคือรู้สึก ผู้ปฏิบัติจะทราบด้วยใจเวลานั่งสมาธิภาวนา หรือเวลาที่จิตถอนอุปาทาน ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบทใด ท่านสามารถปฏิบัติตามหลักกรมบท 10 ได้ ทำควบกับรักษาศีล5nจะทำให้จิตใจปรดโปร่ง และอยู่เป็นสุข
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...