ทำไม? พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ หน้าผากถึงยุบ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย heritage home, 30 กันยายน 2010.

  1. heritage home

    heritage home Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +45
    ถามท่านผู้รู้ว่าทำไม? พระนางพญาพิมสังฆาฏิ หน้าผากถึงยุบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลวงพี่ทัต

    หลวงพี่ทัต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +1,975
    อยากทราบอยู่พอดี ใครทราบช่วยตอบด้วยจ๊ะ
     
  3. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ต้องรอพี่ธนต อาจรู้ครับ
     
  4. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,631
    พระกรุไม่สันทัดนัก

    พอสันนิษฐานได้ว่าพระนลาตยุบ อาจเกิดขึ้นในขณะที่ช่างแกะแม่พิมพ์ก็เป็นได้

     
  5. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    การเกะแบบพิมพ์สมัยก่อนไม่ได้จงใจทำให้เกิดตำหนิที่ใดๆครับ
    แบบทรงก็เลียนแบบจากพระพุทธรูป การที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็การ
    ผิดพลาดของแม่พิมพ์มากกว่าครับ
    ไหนๆก็ว่าถึงพิมพ์นี้ ลองดูเอกลักษณ์อื่นๆดูกันดีมั้ยครับจะได้บอกออกว่าเป็นพิมพ์สังฆาฏิ
    พอดีมีข้อมูลจากที่อื่นมา เลยเอามาให้ดู เพราะน่าจะเป็นประโยชน์ครับ

    ในส่วนของหน้าตักเราจะเห็นว่าเป็นหน้าตักที่เป็นเส้นตรง เราก็ตัดพิมพ์เข่าโค้งไปได้เลย มาดูที่ส่วนลำพระองค์ และเห็นปลายสังฆาฏิและชายจีวร ที่ลำพระองค์ที่เห็นเป็นลำพระองค์ที่ค่อยๆ กลืนหายลงไป ไม่เป็นส่วนของลอนท้องหรือนูนเด่นชัด ก็ตัด พิมพ์เข่าตรงและพิมพ์อกนูนใหญ่ อกนูนเล็กไปได้ ดังนั้น เราก็จะเหลือพิมพ์สังฆาฏิและพิมพ์เทวดาเท่านั้น ทีนี้ก็มาดูต่อที่เส้นสังฆาฏิและเส้นชายจีวร เราจะเห็นว่าเส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนาปลายตัดชัดเจน และเส้นชายจีวรก็เป็นเส้นชัดเจนวาดเฉียงลงมาไปยังซอกแขนขวาขององค์พระ ก็แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นพิมพ์สังฆาฏิ และที่ชัดเจนมากที่สุดก็คือให้สังเกตดูที่ข้อมือขวาขององค์พระที่วางมาที่หัวเข่า จะเห็นว่าเป็นการวางมือแบบหักข้อมือ โดยที่มือวางหักออกด้านนอก ตรงนี้เป็นเอกลักษณ์ของพระนางพญาพิษณุโลก พิมพ์สังฆาฏิโดยเฉพาะครับ

    ถ้าเราดูโดยรวมที่กรอบของพิมพ์พระ จะเห็นว่ามีสัณฐานเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมที่เกือบจะเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งแตกต่างจากพระนางพญาพิมพ์อื่นๆ ทุกพิมพ์ ส่วนพระนางพญาพิมพ์อื่นๆ นั้นจะเป็นรูปทรงสัณฐานรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ต่อมาเราก็มาดูที่พระพักตร์ของพระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ พระพักตร์ของพระนางพญาพิมพ์นี้จะมีคางค่อนข้างใหญ่เกือบเป็นสี่เหลี่ยม หน้าผากระหว่างเส้นไรพระศกจะเห็นว่าเป็นรอยยุบลงไปเป็นตำหนิของแม่พิมพ์ ที่พระกรรณข้างซ้ายขององค์พระจะเห็นว่าพระกรรณเป็นเส้นต่อจากไรพระศกลงมาแล้วแยกเป็นสองเส้นมาจรดเส้นสังฆาฏิและเส้นจีวรตรงบริเวณบ่าขององค์พระ พระกรรณขวาขององค์พระที่ส่วนปลายจะแยกออกเป็นหางแซงแซว หัวไหล่ขวาขององค์พระถ้าเราสังเกตดีๆ ก็จะเห็นว่า มีเนื้อเกินนูนออกมาทางด้านข้าง ทำให้เหมือนกับว่า มีกล้ามเนื้อหัวไหล่ให้เห็นได้ชัด

    ครับ นี่แหละครับ ก็เป็นจุดสังเกตส่วนหนึ่งของพระนางพญา พิษณุโลก กรุวัดนางพญา พิมพ์สังฆาฏิครับ


    ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณ แทน ท่าพระจันทร์ หนังสือพิมพ์ : [​IMG]
     
  6. หลวงพี่ทัต

    หลวงพี่ทัต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +1,975
    โยมธนตนี่ข้อมูลเฉียบดีจังจ๊ะ
     
  7. เด็ก บางกรวย

    เด็ก บางกรวย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +9
  8. เด็ก บางกรวย

    เด็ก บางกรวย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +9
    ใช่มั้ยครับ
     
  9. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    สวัสดีครับ จะไขปริศนาให้นะครับ องค์บนพระต้นตระกูล เขาแกะเป็นหน้าวัว พระเมืองนี้วัวสร้างเมืองครับ ส่วนองค์ล่าง เป็นพระในยุคต่อมาครับ เล่นพระกรุต้องทำใจนะครับ
     
  10. atist

    atist เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +293
    องค์นี้ใช่ไหมครับ 20171128_201805.jpg 20171203_225137.jpg
     
  11. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    สวัสดีครับ พระกรุนั้น ยุคแรกเริ่ม สร้างพระจากตำนานเมือง อายุราว 700 - 800 ปี พบได้ทุกเมืองเก่า ทั้งดินและชิน สำหรับพระของเซียนที่ว่าเกินกว่านั้น กลับไม่ยอมตรวจอายุ หลักการพิจารณา ได้แก่คราบกรุ ความพรุนซึ่งทดสอบด้วยน้ำ ส่วนพระปลอม ก้อร้อยกว่าปีเหมือนกัน ชอบก้อเก็บไว้ครับ ส่วนตัวชอบพระยุคแรกมากกว่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...