จิตใจเบิกบาน คืออะไรครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 18 เมษายน 2018.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    จิตใจที่เบิกบานคือจิตที่ไม่ทุกข์และไม่สุขใช่หรือไม่ครับ
    ทำอย่างไรจะมีความเบิกบาน
    อย่างของแท้อยู่ตลอดเวลาฮะ?
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ของแท้ตลอดเวลา
    ฆารวาสแบบเราๆ ทำไม่ได้หรอกครับ
    ต่อให้เป็นห่มเหลือง ส่วนตัวคิดว่า พอนับจำนวนได้ครับ
    ที่เข้าใจว่าตัวเองทำได้ เนื่องจากทำสมาธิเก่ง
    หรือมีความสามารถทางจิตใช้งานได้แล้วมานานนั้น


    ส่วนมากจะอยู่ในสภาวะเฉยๆ สภาวะจิตว่างๆ
    สภาวะสงบ นิ่งๆ ซึ่งสภาวะพวกนี้
    มันก็ยังเป็นสภาวะอย่างหนึ่ง ที่มีการกระทำ มีตัวกระทำอยู่ครับ


    เป็นเพียงกิริยาอย่างหนึ่งของตัวจิต
    (เหมือนนั่่งสมาธิ ต้องเกิดปิติ ต้องง่วงบ้าง พูดให้เห็นภาพ)
    แต่จิตมันยังไม่เบิกบานหรอกครับ
    เพราะสภาวะแบบนี้ มันจะต้องเกิดขึ้นเอง
    โดยธรรมชาติ โดยที่ไม่มีตัวอะไรเข้าไปกระทำ
    ไม่ว่า กำลังจิต สมาธิ ตบะ ญาน ฌาน
    ความชำนาญในการเข้าสมาธิ สติ ปัญญาอะไร
    ไปกระทำเลยครับ และจะต้องเกิด
    ในเวลาลืมตาปกติในชีวิตประจำวันนี่หละครับ



    เคยรู้สึกว่าร่างกายตัวเองคล้ายๆเบาๆโล่งๆเย็นบริเวณลิ้นปี่
    ตอนที่ทำบุญไหมครับ หรือรับพร หรือ ทำความดี
    อะไรซักอย่าง ประมาณนี้

    ตัวจิตที่เบิกบาน กิริยามันก็จะประมาณนั้นหละครับ
    คล้ายๆกัน
    เพียงแต่ว่า มันจะไม่ค่อยเย็นครับ....


    ที่มันเบิกบาน ก็เพราะว่าจิตมัน เกิดกิริยาอย่างหนึ่ง
    ที่เรียกว่า การคลายตัวเองได้ ณ ชั่วเวลานั้น
    ไม่ว่าจะต้นสาเหตุมาจากอะไร

    คลายตัวเองก็ มันขยายตัว ไร้รูปร่าง ไร้ขอบเขต
    คือ มันไม่มีการส่งตัววิญญานการรับรู้
    ใดๆออกไปกระทบภายนอกอะไรแล้วดึงเข้ามา
    ...จนจิตเกิดเป็นคล้ายๆวงกลม
    หรือแม้ว่าจะมีอะไรจากภายนอกส่งเข้ามา
    ตัววิญญานนี้มันก็ไม่ไปดึง ไปยึดเข้ามา
    จนจิตเกิดเป็นคล้ายๆวงกลมครับ

    หรือพูดง่ายๆว่า ไอ้ตัววิญญานที่มันเป็นกระแส
    เป็นเส้นๆ ที่ส่งออกจากตัวจิต ที่มันเป็นอาการอย่างหนึ่งของจิตนั้น
    มันไม่มีการทำงานชั่วคราวครับ.....
    บ้างก็เรียกว่า กลับคืนสู่สภาพเดิมแท้ของจิต

    ถ้านึกไม่ภาพไม่ออก จิตเดิมแท้ มันจะไร้รูปร่าง
    แต่มันจะมีการรับรู้ได้เป็นธรรมชาติ และถ้ามันจะรับรู้อะไร
    ตัวจิต มันจะส่งกระแสตัวหนึ่งออกไปเป็นเส้นๆ ที่เราเรียกว่า ตัววิญญาน


    ถ้าไอ้ตัววิญญานนี้มันเกิดเมื่อไร จิตที่ไร้รูปร่างนั้น
    ก็จะก่อตัวเป็นคล้ายๆวงกลมทันที

    ที่เรามี ตา หู จมูก ปาก ก็เพราะไอ้การที่จิตมันชอบส่งตัว
    ไปรับรู้ แล้วก็เก็บไว้ และเก็บไว้ (ที่่เรียกว่า อวิชชา
    เพราะมันไม่รู้มันเลยเก็บไว้ ที่พอคนเราเห็นนามธรรม
    ต่างๆได้ เรียกถูก ส่วนหนึ่งก็เพราะที่มันเก็บไว้นั้นหละครับ
    เช่น เคยเห็นผีผอมๆมาก่อนในอดีตและเก็บไว้
    มาปัจจุบัน มันก็จะเห็นเป็นผีผอมๆ
    เคยเห็นผีอ้วนๆ ในอดีตและเก็บไว้
    ปัจจุบันถ้าเห็นผี มันก็จะเห็นอ้วนๆ


    ถ้าคนไม่มีผีอ้วนในสัญญา แต่มีผีผอมในสัญญาในจิต
    ก็จะไม่มีทางเห็นผีอ้วน และก็อาจจะไม่เชื่อว่าผีอ้วนมีจริง
    ในทำนองเดียวกัน คนมีผีอ้วนในจิต ก็จะคิดว่า ผีต้องอ้วน
    ไม่มีผีผอม แล้ว ถ้าทั้ง ๒ คนมาเจอกัน
    ก็จะเถียงกัน เพราะต่างยึดจากสัญญาในจิตตนนั่นหละครับ

    และถ้าคนไม่มีทั้งผีผอม ผีอ้วน ก็จะบอกว่า ผีอ้วนผอมไม่มีจริง

    พูดพอให้เห็นกระบวณการทำงานของมันเป็นตัวอย่างครับ




    จนมันต้องสร้าง ช่องทางไอ้ตัววิญญานเหล่านี้
    มันส่งออกไปกระทบ คล้ายๆ จัดระเบียบๆ
    การขนส่ง จนสร้างออกมา มีร่างกายแบบเราๆนี่หละครับ

    ที่จิตเบิกบานเพราะไอ้ตัวที่ส่งไปกระทบนี้หละครับ
    มันไม่ทำงานชั่วคราว
    แต่บุคคลที่ ผ่านโลก ผ่านเรื่องราวในชีวิตมาอย่างโชกโชน
    ผ่านการฝึกในการเดินปัญญามา(สังเกตว่าไม่เน้นสมาธิ แต่ก็ไม่ได้ทิ้งสมาธินะครับ)
    ผ่านกระบวณการปัญญาญานมา พวกเหตุเหล่านี้
    ล้วนแล้ว แต่สามารถ จะทำให้เกิดกิริยา จิตเบิกบานได้ทั้งนั้นครับ

    พียงแต่ในระดับท่านที่โปรซีรย์
    ความสามารถทะลุทะลวงทั้งหลาย
    ระดับพระเกจิทั้งหลาย ครูบาร์อาจารย์มีชื่อเสียงในอดีต
    ตัวจิตของท่าน จะเกิดกิริยาแบบนี้
    ได้โดยธรรมชาติของมันเอง
    จะแตกต่างกัน ตรงที่ระยะเวลา
    ในขณะที่ลืมตาใช้ชีวิตปกติประจำวัน


    บางท่านก็จิตไม่เกิดเลยก็มี
    บางท่านก็ยังมี โทสะ โมหะ โลภะ ในจิตครบ
    แต่ไม่มีอะไรทั้งภายในภายนอกมาทำให้มันเกิดได้ก็มี
    บางท่านก็โปรกว่า สามารถเข้าสมาธิสภาวะดับ
    เพื่อไปฟอกทั้ง โทสะ โมหะ โลภะ จนแทบไม่มีเลยก็มี
    (พบในท่านที่ความสามารถทางจิตสูงเป็นทุน
    และเข้าสภาวะดับได้นาน ได้แบบธรรมชาตินะครับ
    ไม่ใช่นั่งเข้าทำเอา)
     
  3. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    เมื่อวานก็พิจารณาอยู่เหมือนกันครับ กับคำว่า "อึดอัดแต่ใจสบาย" เคยได้ยินหลวงพ่อวัดท่าซุงท่านพูดบ่อยๆ บางช่วงก็เคยรู้สึกเป็นแบบนั้นบ้าง คำว่าใจสบาย เท่าที่พอรับรู้ได้คือ ใจเป็นอิสระจากเวทนา ไม่ขึ้นกับเวทนา หรือหมายถึงว่า เวทนาบางอย่าง ณ เวลานั้นไม่มีผลกับใจเลย หรือจะว่า เป็นกระแสแหย่ เช่นกระแสโกรธอึดอัดขัดเคืองบางอย่าง พวกนี้มันจะรู้สึกว่ามันอยู่ห่างๆ ถ้าดึงเข้ามาเป็นอารมณ์เมื่อไหร่ก็กลายเป็นตัวเราเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา ถ้าไม่รับเอามาใส่ใจก็คือ มี แต่ไม่เอา

    ไอ้ใจตัวนี้แหละ ก็คือใจที่ อ.นพว่า ผมชัดเจนนะ เมื่อวิญญาณการเชื่อมต่อระหว่างใจกับความอึดอัดขัดเคืองไม่มี ใจมันก็เป็นอิสระของมันต่างหาก วิญญาณไม่มีอุปาทานการยึด มันก็ไม่มี มันเป็นแบบนี้ ถนนมันคนละสายกัน สายโลกกับสายธรรม อยู่ด้วยกันแต่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ที่สำคัญคือ มันทำเอาตรงๆไม่ได้ บทจะเกิดมันเกิดเอง สติปัญญาถ้าอบรมมาดีพอ มันจะรู้เอง แยกได้เอง หยาบละเอียดอย่างไรมีแต่รู้เท่าทันในเหตุปัจจัยไปตามความเป็นจริง ถนนสายไหนๆ จะไปทางไหน ก็ดูให้ออกกันเอาเอง ตรงนี้แหละครับ
     
  4. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ทุกข์สุข ของลุงแมว ในสองคำนี้
    เอาจริงๆแล้ว มันมีแต่ทุกข์ครับ ไม่มีสุข
    สุขของทางโลกเพียงแค่เป็นความชอบใจ
    ความยินดี มันไม่เที่ยง มีเกิดดับอยู่
    สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์พระเจ้าค่า

    สุขจริง สุขอันยิ่งหมายเอา ทางโลกุตระ สิ้นสุด ที่นิพพาน

    ความเบิกบานจะเริ่มสัมผัสได้ที่ สติที่เกิดขึ้นครับ
    เรียก สัมมาสติก้ได้ เรียก สติสัมโพฌชงก็ได้ สติที่พ้นเจตนาก็ได้
    เมื่อได้รู้จักได้สัมผัส สติ ตัวนี้ จะพออนุมานเอาได้ในธรรมฝ่ายโลกุตตระ
    พอจะเทียบเคียง จิตที่เบิกบานได้แววๆแม้ยังไม่สุดทาง


    สังเกตุเอาสุขจากบุญง่ายๆ
    เวลาทำความดี เช่นไปช่วยคนชราหรือคนตาบอดข้ามถนน
    กลางอกมันจะเย็นๆโล่งๆ อันนี้สุขของบุญกุศล มันยังไม่เที่ยง

    สุขอันเกิดจากทำกุศลสมาธิ กลางอกจะเย็นๆโล่งๆโปร่งๆไม่หนัก
    มันก็ยังไม่เที่ยง
    สุขอีกอันนึง จาก จิตที่พ้นบุญกุศล
    อันี้ละครับ พอจะเทียบเคียงอนุมานเอาจิตที่เบิกบานได้
    จะสัมผัสครั้งแรก กับสติที่พ้นเจตนาเท่านั้น
     
  5. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    คำนี้ ถ้าพูดกันในผู้ปฎิบัติ อาจหมายถึง จิตที่เรียนจบแล้วครับ
    คงทำเอาเองไม่ได้ จิตรับรู้ได้เอง
    ไม่มีอาสวะ
    ไม่ต้องเกิดอีก

    อาจจะเลียนแบบ ห่างๆได้ เพื่อให้รับรู้อารมณ์บางส่วนครับ ลองดู
    1 รู้ลม
    2พยายามไม่คิดมาก-ปล่อยวางทุกสิ่ง
    3พยายามมีสติสัมปชัญญะตลอด
    4ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย
    5หมดห่วง
    6ทำทุกอย่างไปตามหน้าที่
    7มีมุทิตา
    8ไม่เดือดร้อนเรื่องใดๆ

    บางคนทำกรรมไว้ดี เกิดมาก็มีความเบิกบานบางส่วนในชีวิตเลย
    พอมาเรียนธรรมเพิ่ม ก็อาจไปได้เร็วกว่าคนอื่นบ้าง
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    มาดู พระสูตร โพสโดย บุคคลอริยูปวาโท แห่งพันทิพ
    แต่ก็ เฝ้นธรรมเก่ง ( เพียงแต่ คนๆนั้นเขา อ่านได้ แปลได้
    แต่ ธรรมไม่หยั่งลงสู่จิต พูดธรรมเมื่อไหร ธรรมชักสะพาน
    เหมือนคน ยกพระสูตรมาแปะ แต่ ไม่สามารถรับธรรมที่ ตนขน มาแสดงได้
    ........สังขารทั้งหลาย เป็น ภัย )

    *******************************************************************************
    ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ฯ
    [๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะ
    แห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ

    จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑

    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่ง ปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ
    เหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึง
    พร้อมด้วยลักษณะ ฯ
    *******************************************************************************

    ทีนี้ ก็ ขออธิบายว่า " อันตราย " ในที่นี้ หมายถึง ธรรมปฏิปักษ์ หรือ เสี้ยนหนาม
    ปฐมฌาณ ก็คือ เสียง

    ดังนั้น ความร่าเริงของจิต ที่หลีกออกจากเสียง ด้วยอำนาจกำหนดเห็นความ
    แปรปรวนของเสียง ความตั้งขึ้นไม่ได้ในจิต(หู - โสตวิญญาณ ก็เรียก ) เห็นความไม่ใช่
    สัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขาในเสียง ก็ดี ....สังเกตดีๆ แค่นี้แหละ จิตมัน ร่าเริงแล้ว !!

    พอจิตมันพ้นจาก โสตวิญญาณ โดยที่ รับรู้เสียงอยู่ ไม่ใช่ หูฉี่ หูหนวก แต่ รับรู้ว่า
    เสียงมันกระทบ ดัง เบา หนัก กัมปนาฏดุจฟ้าผ่า แต่มันมี ญาณสัมปยุตติ ( เสียง
    เกิดขึ้นพร้อมกับ ไตรลักษณ์ญาณ สัมปยุติ ) คนที่ ภาวนา มีจิตร่าเริง จะทราบว่า
    ขณะนั้น สมถะนิมิตที่ตนใช้เป็นวิหาร มันมีการ เคล้าเคลียร ด้วยดี ภาษาฌาณ
    เรียกว่า มี วิตก วิจาร ใน องค์ธรรมนิมิตนั้นๆ

    พอเห็นได้แบบนั้น ก็ จะทราบว่า ตนน้อมจิตไปใน นามรูป อะไร จิตเกิดความสุข
    สามารถ หลีกออกจากเสียงได้ด้วยอำนาจวิปัสสนา ( เน้นนะว่า เฉพาะ วิปัสสนา
    หากเป็นการทำ ฌาณ ข่มเสียง เอา จิตดวงเดียว เฮียอะไร ไม่นับ )

    ผู้อบรมจิตดีแล้ว ด้วย ปฐมฌาณ เดินเข้าไปใน ฝูงชน ดิสโกเทค หู ก็ได้ยินเสียง
    ปรกติ แต่ ใจ จะรู้ว่า อยู่กับ วิหารธรรม บางประการ ที่ตนถนัด ไม่จมแช่ อาจจะ
    ดิ้นไปกับเขาได้ บั๊มกับเขาได้ ด้วยซ้ำ

    เว้นแต่เป็น พระ จับนั่ง จุมปุ๊กในกุฏิ ดมขรี้ ดมเยี่ยว ไป ( ไม่เอาพวก ปฏิภาณเป็น พระ เพราะ รูป )
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ตามที่เข้าใจนั่นหละครับ
    ถ้าจับกระแสแหย่ภายนอกได้
    ก็จะเริ่มเจ้าถึงสภาวะใจสบาย
    หรือจิตเบิกบานได้เองนั่นหละครับ
    เวทนาเป็นส่วนหนึ่ง
    ที่พ้นมาจากการปฎิบัติคุณเลย
    เข้าใจตรงนี้
    แต่หลักๆปัญหามันมาจากตัว
    วิญญาณนั่นหละครับ ส่วนนี้เห็นตรงกัน

    ที่สำคัญคือมันทำเอาไม่ได้
    เพราะทำเอาแค่เหมือนแต่ยังไม่ใช่

    ที่บอกว่าเกิดเอง ส่วนตัว
    ใช้คำว่า “ ธรรมชาติของมันเอง”
    เพราะเทียบกับ ธรรมชาติ
    ของจิตเดิมแท้ ครับ

    พูดง่ายๆทั้งหมดทั้งมวล
    มันก็จะค่อยๆกลับคืนสู่ธรรมชาติ
    เดิมแท้ของจิตใครจิตมัน

    ในระหว่างทางที่กำลังกลับนั้น
    ดวงจิตไหนสะสมอะไรมาบ้าง
    สิ่งที่สะสมมันก็จะค่อยๆขึ้นมาได้
    ของมันเอง เป็นเหตุให้ความเข้าใจ
    ในเรื่องนั้นๆเราอาจจะมากกว่าทั่วไป

    ยิ่งดวงจิตที่สะสมมาทางด้านปัญญา
    แล้วพอมีสัมผัสภายในเป็นทุน
    ถ้าทิ้งการทำอะไรก็ตามที่ยังมีการ
    หวังผลอยู่ ทิ้งการติดตามผลได้
    และทิ้งสัญญาต่างๆ ที่มักเผลอ
    เอามันขึ้นมา คิด วิเคราะห์ แยกแยะได้
    ปล่อยไปเลย จนจิตมันคลายตัวเองได้ก่อน

    ต่อไปความเข้าใจนามธรรมมันจะดีขึ้นมาก
    คล้ายๆมันจะไปได้เร็วขึ้นไม่วกวน
    วนเวียนกับสภาวะเดิมๆ จิตจะคลายตัว
    ได้นานขึ้น กว่าปกติทั่วไป

    ตรงนี้มันคือข้อดี ที่แบบ
    พวกที่มาทางเทคนิคคอล
    ทางปฎิบัติ และหยาบไปทางปัญญาแบบผม
    จะสู้ไม่ได้(ถ้าเปรียบมวยกันนะ)

    ปัญหาที่เห็นก็คือ ทิ้งกันไม่จริง
    ทิ้งกันไม่เป็น ตัดตัววิญญาณตัวนี้
    ตั้งแต่แรกกันไม่เป็น
    เพราะไปยึด จากการไปเห็นกระบวน
    การที่มันเกิด มัวไปสนใจหรือให้น้ำหนัก
    กระบวนการรายละเอียดมันอยู่
    (ทั้งที่มันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น)
    จนลืมถอยออกมา ทำให้ไม่เห็น
    ตัวสาเหตุที่เริ่มกระบวนการหรือตัว
    วิญญาณนั่นเองครับ.
    เรียกว่าเส้นผมบังภูเขา
    พอยึดมาก จนกลายเป็น
    ผงที่เข้าตาไปเลย

    ปล แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง
    พอเข้าใจที่สื่อนะครับ









     
  8. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267


    ครับ ถ้าไม่ไปหลงเชื่อมระบบทุกข์อุปาทานเข้ามา มันก็ต่างอันต่างอยู่ ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์ ไม่ไปเชื่อมเพราะเห็นความจริง เห็นอริยสัจเกิดดับตรงไหน แบบนี้บางทีจะเรียกว่า มีธรรมสำหรับชักสะพานการเชื่อมต่อก็ยังได้นะครับ นึกถีงบทพระธรรมเทศนาเรื่องพาหิยสูตร ฟังๆดูเหมือนรวบรัด แต่ท่านพาหิยะฟังแล้วเข้าถึงแล้วจบกิจไปเลย เป็นเลิศมากๆครับ
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ครับส่วนตัวพอเข้าใจที่คุณพูดครับ
    ประมาณนั้นหละครับ...
    สำหรับท่าน พาหิยะ ส่วนตัวเรียกว่า
    ระดับโปรซีรีย์แล้วครับ เพราะทุกสิ่ง
    ทุกอย่างที่ท่านมี มันมาหนุนเรื่องปัญญาเพียวๆจริงๆ
    ...และยิ่งยุคสมัยที่
    ผู้เป็นเลิศทั้ง ๓ ภพยังคงอยู่ ผู้เป็นเลิศ
    แต่ละด้าน โห้มีหลายท่าน และหลายด้านจริงๆ
    แต่ต้องเข้าใจเอาไว้ด้วยว่า
    ถ้าไม่เป็นเลิศยิ่งกว่า
    ก็ย่อมไม่มีทางทราบได้ว่า
    ผู้ใดจะเป็นเลิศทางด้านนั้นๆ
    ดังนั้น คงไม่ต้องสงสัยกับคำว่า
    ผู้เป็นเลิศทั้ง ๓ ภพเลยครับ

    ส่วนตัวหละ สงสารกับกลุ่มบุคคล
    ที่เคยมีวิบากกรรมในการ
    ลูบๆคลำๆพุทธศาสนา
    ในการเคยปฏิเสธคำสอน
    เคยดูถูกดูแคลนตำรามาก่อน
    ที่เกิดมาชาตินี้ กลายเป็นคน
    ยึดติดตำรา ยึดคำสอน
    เชื่อในคำสอนโดยขาดการพิจารณา
    อย่างโงหัวไม่ขึ้น จนกลาย
    เป็นวิบากกรรมหมู่ร่วมกัน
    ได้แต่อุเบกขารับรู้ไป...


    ส่วนประเด็นท่านพาหิยะมองว่า ท่านพาหิยะตัวจิตคงสะสม
    บารมีด้านนี้มามากๆ ถึงได้ฟังแล้วจบกิจได้เลย...
    และอีกอย่างในสมัยก่อน อาจจะด้วยฐานกำลัง
    สมาธิระดับใช้งานได้ มีให้เห็นกันค่อนข้างมาก
    หลายๆท่านที่ได้ฟังธรรมถึงบรรลุได้เร็ว
    แต่ก็อย่างว่าหละ ระดับผู้เป็นเลิศสอนธรรม
    คงเป็นเรื่องของบารมีและวาสนาที่ได้พบเจอด้วยหละครับ
    ส่วนสภาพแวดล้อมก็อาจมีส่วนด้วยครับ
    เพราะจิตคล้ายๆกัน มันก็จะดึงดูดกันได้อยู่.......
    ถ้าประเทศไทย ยุคปลาย ๒๔๐๐ กับ ต้น ๒๕๐๐
    ก็มีเยอะเหมือนกันนะครับ
    แต่สมัยนี้จะหาแบบ ที่พลิกนามธรรมเป็นรูปธรรมได้
    ก็น่าจะพอนับท่านได้...อาจจะด้วยสภาพแวดล้อม
    เศรษฐกิจและสังคมในยุคปัจจุบันนี้ด้วยหละครับ......

    อย่างเราๆได้ซักเศษเสี้ยวท่านคงจะดีเนาะ ๕๕๕
    ปล. แค่เพียงแต่เล่าให้ฟังครับ...

     
  10. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    จิตที่ไม่มีตัณหา ครับเป็นจิตที่เบิกบาน
    ทำไมจึงเบิกบานในเมื่อไม่ยินดียินร้ายในทุขสุขในเบื้องต้นและไม่ยินดียินร้ายในกลางในสุดท้าย
    กามตันหา คือความอยากในสัมผัสทั้ง 5
    การละกามตัณหา คือการไม่ยินดียินร้ายต่อสัมผัสทั้ง 5 เกิดขึ้นจากความไม่อยาก
    อยากสวยอยากหล่อ อยากได้ของงดงาม อยากได้อารมที่พึงพอใจ ก้เกิดขึ้นจากความอยาก มีความอยากได้ก้มีความไม่อยากได้ อันของไม่พึงใจด้วยเช่นกัน

    ละสุขทุขก้ละลงที่ความอยากนี้แหละครับ ท่าอยากทำนั่นนู่นนี่ก้จะเกิดเรื่องราวต่อๆกันไปเรื่อยๆ
    อยากรวยอยากสวยอยากเก่งอยากดี อยากทุกๆอย่างจะชักนำความสุขทุขมาต่อท้าย

    ก้้ต่อเมื่อไม่อยากสวยไม่อยากรวยไม่อยากเก่งไม่อยากดี แล้ว ก้จะไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
    จะดีก้ชั่งจะร้ายก้ตาม เกิดอย่างไรตามผลของกรรม ได้รับอย่างไรตามผลของกรรม ไม่อยากเพิ่ม

    กามตันหา ก้จะหมดลงไปก่อนได้ครับ ส่วนตันหาหลังอีก 2 ข้อนั้นจะหมดไปทีหลังคือ

    ภวตัณหา และ วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความอยากดับสูญ

    ความกลางนั้นมันมีหลายแบบนะครับ กลางอย่างยึดมั่นกับกลางแบบไม่มีตัวตน คล้ายๆรู้ด้วยปัญญากับรู้แบบเฉยโง่นั่นแหละครับ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
    ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ใน คันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้น
    จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา
    ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 17

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการเป็นไฉน
    การแสวงหาเพราะอาศัยตัณหา 1
    การได้เพราะอาศัยการแสวงหา 1
    การวินิจฉัยเพราะอาศัยการได้ 1
    ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย 1
    ความหมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ 1
    ความหวงแหนเพราะอาศัยความหมกมุ่น 1
    ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน 1
    การจัดการอารักขาเพราะอาศัยความตระหนี่ 1
    ธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตราการทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียดว่ามึงๆ และพูดเท็จย่อมเกิดขึ้น 1
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการนี้แล ฯ
    ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23
     
  11. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    หสิตุปปาท
    เกิดขึ้นเมื่อสมุทเฉทปหานปริญญาเกิดขึ้นครับ
    เป็นอาการเสวยวิมุติสุขตามลำดับของอริผลที่ปรากฏอยู่ มีขึ้นอยู่ รู้อยู่
    แต่ไม่ได้เสวยอยู่(อย่าเข้าใจว่าเสวยนะครับ ผิดมหันต์)
     
  12. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ถ้าว่าตามตำราทั่วๆ ๆ ๆ ไปเลย เป็นอาการของอริยบุคคล

    อริยะบุคคล ไม่ใช่ว่าจะนึกเสวยวิมุติสุขได้ตามใจชอบ
    นึกอยากเข้า ก็เข้า ไม่อยากเข้าก็ออก เหมือซื้อตั๋วหนังบัตรเมเจอร์

    จิตยิ้ม เป็นอาการที่เกิดขึ้นเอง เมือจิตสงบ ของอริยบุคคล
    เมื่อท่านเหล่านั้นสงบ ปราศจากนิวรณื ท่านก็ยิ้มนิด ๆ เอง เหมือนพระพุ่ทธรูป

    คนโบราณ ปั้นพระพุทธรูปปางยิ้มเล็ก ๆ ก็เพราะเหตุนี้

    ตรรกะทั่วไปอย่าเอาไปเปรียบเทียบ สเมือนเอาตัวอักษรไปบรรยายสภาวะนิพพาน
    มันเป็นเอง เกิดเอง ของอริยะบุคคล ท่านอยากสงบ ท่านก็ได้ความสงบ

    มันก็เกิด......


    แต่ท่านไม่สนใจ แต่ท่านที่ไม่ชำนาญ เมื่อมันเกิด ท่านจะสังเกตุ และแปลกใจ

    ก็แค่นั้นเอง.... กริยาของขันธ์5

    ไม่ใช่เรื่องน่าตืนเต้นเลย มันเป็นเอง เกิดเอง

    เป็นเรื่องของขันธ์ แสดงสภาวะออกมาผ่านจิต
     
  13. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    อ่านที่คุณผ่านมาเฉยๆกับคุณศิษย์โง่ฯ อธิบายมา เข้าใจว่าคงมีประสบการณ์ตรงกับตนเองกันมาแล้วนะครับ ผมไม่มีเลยปรากฏการณ์แบบนั้น อย่างมากบางทีถ้าภาวนาถูกช่อง จิตส่วนลึกๆมันจะไปสัมผัสกับกระแสธรรมชาติอันหนึ่งเข้า เหมือนมีตาน้ำอยู่กลางใจ แต่ไม่ใช่น้ำ เป็นกระแสปิติน้อยๆอิ่มใจๆ เฉยๆไหลออกมาเอื่อยๆเรื่อยๆ รู้ว่าไม่ใช่เราเป็นคนไปกระทำให้มันเกิด คล้ายๆมันมีอยู่แล้ว แล้วพอเราละเอียดลงไปๆ มันไปสัมผัสได้

    ถามว่าถึงขั้นจะเรียกว่าเป็นความสุขไหม ไม่เรียก พิจารณาดูรู้สึกว่า สุขมันจะหยาบกว่ามีตัวตนกว่า อันนี้มันแค่รู้ ถ้าถึงตรงนี้บางทีมันจะซึ้งในคุณของพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ขึ้นมา เหมือนคนรู้หนทางจะไปจะเข้าถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ก็ถึงจากตรงนี้เป็นต้นไป

    ทีนี้ถ้าจะไปหมายใจว่าจะให้เข้าถึงตรงนี้ จะถูกปิดกั้นไปเลย นั่นคือเกิดมีมลทินไปบังแล้ว หมายความว่า มันแต่งเอาไม่ได้ ถ้าหมดจดพอ มันถึงจะเข้าถึงไปเองได้ ดังนั้นหน้าที่เราไม่ใช่ไปทำให้เข้าถึง ตรงนี้สำคัญ หน้าที่เราคือ ชำระจิตตนให้ขาวรอบไปเรื่อย กิเลส อกุศลมลทิน อนุสัย วิบาก หน้าที่เราคือรู้เท่าทัน ถ้าหมดจดพอมันจะเข้าถึงไปเอง

    ทีนี้ถ้าถามว่า นิพพานคืออะไร ดูอุปสมานุสติก็ได้มั้ง ผมภาวนาแบบโง่ๆไปเรื่อยๆ นะ และผมไม่ได้นึกว่าผมเป็นอะไร เพราะถ้าไปนึกคือมันออกนอกแนวทางไปแล้ว มันไม่ใช่สัมมาปฏิบัติ แค่ปรารถนาความหลุดพ้น แก่นสารแท้จริงคือการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ สมาทานไปแบบนั้น การจะเชื่อมต่อกับธรรมชาติอันเป็นหนึ่งเดียวเป็นเรื่องของผลล้วนๆ แต่คนทั่วไปอาจจะเข้าใจผิดไปเองไปเข้าใจว่าเขาหมายเอาแต่ผล ซึ่งไม่ใช่ หากปฏิบัติตรงปฏิบัติไม่ผิดทาง ผลย่อมเกิดเอง

    และเวลาเขาพูดถึงผล บางทีอย่าไปเข้าใจว่าเขาติดผล กินผลไม้รสมันอร่อยก็ย่อมจะพูดได้ว่ามันอร่อย จะให้พูดว่าไม่อร่อยก็คงจะไม่ได้ หรือจะให้เม้มปากอย่างเดียว จะทำเอาอะไร ของมันรู้ๆอยู่แก่ใจเอง สมัยพุทธกาลพระท่านไหนนะครับที่ท่านเดินธุดงค์ไปอุทานไปของท่านว่า สุขจริงหนอๆๆ ถ้าคนยุคนี้บางคนไปเจอเข้าแบบนั้น เผลอๆ จะวิจารณ์กันสนั่น ติดสุขแล้วๆๆ 555 จะไปเอาอะไรกับสภาวะของแต่ละคนเนอะครับ แค่รู้ตามความเป็นจริงไป และรู้เท่าทันใจตนเองก็พอ ว่ามั้ยครับ
     
  14. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ขออนุโมทนาบุญกับคุณผ่านมาเฉยๆด้วยนะครับ คุณทำให้ใครหลายๆคนได้ประโยชจากธรรมทานมากๆครับ ได้ศึกษาธรรมของพระสัมมาพุทธเจ้า
     
  15. apekfudsuvl

    apekfudsuvl สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2018
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +14
    จิตเบิกบานรึ ~ จิตเบาต่อการกระทบด้วยการปรุงเเต่งต่างๆ ไม่ขืน ไม่หนัก ไม่ต้องใช้การกำหนด สมาธิมาก มั่งครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...