อารมณ์ใช่สัญญาหรือเปล่าครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แค่พลัง, 17 กรกฎาคม 2018.

  1. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    แล้วตอนจะเกิดอารมณ์แล้วทำไมเราจำไม่ได้ มากระทบจนทำให้เราเกิดอารมณ์
     
  2. แผ่บุญ

    แผ่บุญ ชอบ~ศรัทธา 40 อสงไขย

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2018
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +307
    "แล้วตอนจะเกิดอารมณ์แล้วทำไมเราจำไม่ได้"

    นั่นแหละคือสิ่งที่เราจำได้ดี และจำได้แบบเดิมๆมาทุกๆชาติ
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เพราะสติยังตามไม่ทัน พอเกิดแล้วเราถึงมารับรู้ เสวยอารมณ์ที่เกิดทีหลังรู้ตัวทีหลังครับ

    ถ้าฝึกจิตฝึกจิตสติดีแล้ว เราสามารถ รู้ ระงับอารมณ์ที่เกิดก่อนได้ ไม่ให้เกิด
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    "อารมณ์" เป็น วิบาก

    ให้ทวนกระแสไปเห็น ผัสสะ นิทาน นามรูป แม้นกระทั่ง วิญญาณ ที่เป็น เหตุ
    ปัจจัยให้เกิด "อารมณ์"

    อารมณ์ บางอย่างเป็น กุศล บางอย่างเป็น อัพยากฤติ อารมณ์ส่วนนี้
    กำหนดรู้ให้ตาย ก็ไม่ดับ เช่น อารมณ์ฌาณ ดังนั้น ผู้ภาวนาต้องฉลาด
    ในการสดับธรรมะ ว่า เราภาวนา ภาวนาเพื่ออะไร เพื่อไปสาระวนกับ
    การ " แก้อารมณ์ " นี่ก็แปลว่า ยังหา ธรรมของพระพุทธองค์ ไม่เจอ
    ว่า ภาวนาไปเพื่ออะไร

    แต่ถ้า สดับธรรมมากพอ สมาทานในใจ อย่างถูกวิธี ตั้งแต่ เริ่มต้นฝึก
    ใหม่ นับหนึ่ง ทวนกระแสไปที่ "เหตุ"

    กำหนดรู้ความดับไป ของ "เหตุ" เหล่านั้น รู้เฉยๆ ยิ้มหวานๆ ไม่ต้อง
    ไปเจตนาแทรกแซงจิต เอาจิตรวม จิตหนึ่ง อะไร ...ก็จะ อ๋อ การรู้เห็น
    ตามความเป็นจริงคือ อย่างนี้ๆ ฌาณเกิด เป็นอารมณูมโนมนีรัตน ก็
    ล้วนแต่ เศษกองขี้ควาย อันเกิดจาก เหตุ อันมี ผัสสะ นิทาน นามรูป
    และ วิญญาณที่ไม่เที่ยงแส่ส่ายเป็นนิจ(อาการของจิต)
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ถึงขั้นเกิดเป็นอารมย์แสดงว่า
    ขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม(สัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ หรือบ้างก็เรียกวิบาก บ้างเรียกกรรมเก่า บ้างเรียกกระแสจร) มันรวม
    กับตัวจิตทำงานะร่วมกันไปเรียบร้อย
    โรงเรียนอนุบาลรัศมีน้อยแล้วครับ

    ยกตัวอย่างเหตุที่เกิดจากภายนอก
    และเราดึงเข้ามา เช่น. มีคนมาด่าเราว่า
    ไอ้ควาย. ถ้าเราได้ยินแล้วเกิดอารมย์ได้

    การทำงานมันคือ ตัววิญญาณการรับรู้ที่ส่งออกจากจิตมันส่งผ่านตาและหู ไปเห็น
    คนด่าและได้ยินเสียงผ่านหูคำว่า ไอ้ควาย
    เข้ามา และจากสัญญาความจำได้ เรารู้ว่า
    ควายมันมีเขา ทางโลกใช้ด่าคนที่ทำอะไรโง่ๆ แต่ถ้าเราไม่มีกำลังสติที่จะควบคุม
    หรือมีปัญญาพอที่จะตัด หรือมีความสามารถ
    ตัดตัววิญญาณการรับรู้ได้ เราก็จะเผลอยึด
    สิ่งที่ตัววิญญาณมันออกไปดึงเข้ามานี้
    จนกลายเป็นตัวเรา ทำให้เกิดการเปรียบ
    เทียบระหว่างตัวเรากับสัตว์ที่มนุษย์เรียกว่าควายครับ. พอมีตัวตนเราก็คิดว่า เราดีกว่าควาย ตัวสังขารมันก็เริ่มปรุงแต่งประมานนี้
    ทำให้รู้สึกโกรธเป็นเวทนาตัวหนึ่งของ
    ขันธ์ส่วนามธรรมครับ

    กำลังสติทางธรรมเราจะมาควบคุม
    พฤติกรรมของจิตตรงนี้หละครับ
    ในเบื้องต้น ถ้าเราเห็นขันธ์ส่วนนาม
    ก่อนที่มันจะรวมกับจิตได้
    หรือเห็นความคิดตอนที่มันจะขึ้น
    มาจากจิตได้ จิตก็จะแยกรูปแยกนามได้
    ก็จะมาเริ่มเดินต้นเดินปัญญากันได้ต่อไป
    นั่นหละครับ
     
  6. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ผมกำลังตัดสินเรื่อง ของ ของกลางครับ ของกลางไม่ใช่ของ ของเรา
    แต่ของกลาง มันดันซึมไปทุกอย่าง เออ เราไปคว้าเอามาเอง
     
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    บุคคล ชนใด อบรมกาย อบรมจิต ด้วยดี แทงตลอดมา " อุปทานขันธ์ " ของกลางๆ

    พระพุทธองค์ จะทรงแนะ ให้ ยิ่งๆขึ้นไปว่า ให้กำหนดรู้ " ความเพลินในอุปทานขันธ์ "

    ขันธ์ ก็อย่างหนึ่ง

    อุปทานขันธ์ ก็ อย่างหนึ่ง

    เพลินในอุปทานขันธ์ นั้น ก็อีกอย่างหนึ่ง
     
  8. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    แขนของคุณเล่าปัง มีครบ 8 แขน
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ อารมณ์ คือ "สิ่งที่ จิต เสพอยู่" หรือ สิ่งที่ "จิต กำลัง ครองอยู่" ก็ได้

    +++ ใน "กามาวจร" หลัก ๆ จะเสพทาง "รูป" แล้วผลิตออกมาเป็น "นาม" (อารมณ์ความรู้สึก)

    +++ ตัวอย่างในบริเวณนี้ คือ "กสิณ/อารมณ์กสิน" เป็นต้น สรุป คือ "รูป/นาม"

    +++ ตัวธรรมารมณ์ เป็น "นาม" แต่ตัวสัญญา เป็น "รูป" เป็นคนละส่วนกัน

    +++ เพียงแต่ "การดูรูป เพื่อให้เกิดอารมณ์ (รูปารมณ์)" นั้น เป็นการ "ใช้รูป เพื่อสร้าง อารมณ์"

    +++ รูปารัมมะนังวา (พระสังคิณี) มีจิตยินดีในรูป (ยินดี เพราะมาจาก รูป)

    +++ สรุปตามความเป็นจริง คือ "อารมณ์ ไม่ใช่ สัญญา" แต่ถูกสร้างด้วย "สัญญา" ได้

    +++ เพราะ "อารมณ์/ธรรมารมณ์" เป็น นามซึ่งเป็น "อัปนาสมาธิ" ตามหมวดของ "ธัมมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน"

    +++ ในส่วนของ "นาม" นั้น สัญญา เข้าไม่ถึง (ยกเว้นผู้ที่ เดินวสี ได้คล่องในระดับอรูป แล้วเท่านั้น)

    +++ ดังนั้น ณ จุดนี้จัดเป็นส่วนของ "อจินไตย" โดยตรง ในข้อของ "ฌานวิสัย" (พ้นสัญญา ทำให้ สังขาร ปรุงไม่ถูก)

    +++ "อารมณ์" เกิดได้ด้วยการ "ลงมือทำ (เดินจิต)(วิตก/วิจารณ์)(กำหนด/โอปนยิโก)(อยู่/ย้าย)" เท่านั้น ไม่สามารถ "จำ แล้วเกิดมาลอย ๆ ได้"

    +++ หากต้องการ "จำ" จริง ๆ ก็ให้ "จำ ไปที่รูป อันเป็นเหตุให้เกิด นาม" นั้น ๆ

    +++ และต้อง "ประคองรูป" ให้ได้ในลักษณะของ "รูปไม่เปลี่ยนลักษณะ นามย่อมดำรงค์คงที่ได้"

    +++ ตรงนี้แล "อุบายกสิณ" จึงเกิดขึ้น และหากทำได้ถูกต้องจริง ทั้ง "รูป/นาม" ก็จะ "แยกออกจาก กู" ไปเอง
    +++ ในโพสท์นี้คุณ แค่พลังงานที่มีความรู้สึก กำลังพูดถึง "ขันธ์เป็นของสาธารณะ/ของกลาง"

    +++ ให้ทราบไว้ก่อนว่า "การเห็นขันธ์" นั้นเป็น "อจินไตย" ที่แน่นอนชนิดหนึ่ง

    +++ ดังที่กล่าวมาใน http://board.palungjit.org/10758911-post29.html

    +++ หากปรารถนาที่จะใช้วิธี "ลัดสั้นของหลวงปู่ดูลย์" ก็ให้ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ไป

    http://board.palungjit.org/10761484-post8.html

    +++ เมื่อ "เห็น" วจีจิตสังขารขันธ์ ว่า "ไม่ใช่ ตน/กู" แล้ว ไม่นาน ก็จะเห็น มโนจิตสังขารขันธ์ "ไม่ใช่ ตน/กู" ตามมาเอง

    +++ เมื่อ "ผ่าน" ในบริเวณ "วจี/มโน จิตสังขารขันธ์" ว่า "ไม่ใช่ กู" แล้ว และ ปล่อยให้มัน "แยกตัวอยู่ข้างนอก กู" ไว้จนได้นิสัย

    +++ ไม่นานก็จะ "สำเหนียกรู้" ได้เองว่า มันมี "วจี/มโน อื่น" ที่ไม่ได้มาจาก "กู" เจือปนอยู่ใน "รู้/ว่าง"

    +++ ตรงนี้ มันมาจาก "จิตอื่น" ไม่นานก็จะ "รู้/เข้าใจ/สื่อสาร" กับ "วจี/มโน ที่มาจาก จิตอื่น" ไม่ได้มาจาก "กู" ได้เอง

    +++ ตรงนี้คือ "จิตสื่อสาร" เรียกตามภาษาสักสิดคือ "เจโตปริญะญาณ" ภาษาปะกิดว่า Telepathy ไม่มีอะไรมาก

    +++ ตรงนี้จึงได้ "เห็นขันธ์ ฝึกขันธ์ ใช้ขันธ์" ให้เป็นประโยชน์ได้

    +++ หากปรารถนา "ไม่ใช้ขันธ์ (สุกขะวิปัสสโก)" ก็ให้ "เห็นขันธ์" โดย "ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องใช้" มันก็ได้

    +++ แล้วมันก็จะ "เกิด/ดับ" ของมันไปเอง โดย "ปล่าวประโยชน์ (เห็นขันธ์เป็นของ ปล่าวประโยชน์ น่าเบื่อหน่าย)"

    +++ เพียงแต่ให้ได้นิสัยในการ "แยก" เท่านั้น เวลาจะใช้ก็ "หยิบ" เวลาจะไม่ใช้ก็ "วาง" ก็เท่านั้นแล...

    +++ ไม่นาน ก็จะเกิดอาการ "จะใช้ก็หยิบมา เสร็จธุระแล้วก็วางคืน (เกิด/ดับ)" เมื่อได้นิสัยแล้ว มันก็จะเป็น "ของสาธารณะ" เอง

    +++ ของ "สาธารณะ" เป็น "ของกลาง ไม่ใช่ ของเรา" แต่ไม่ได้ห้ามในเรื่อง "ใช้ของกลาง" อะไร

    +++ เพียงแค่ "หยิบมันมา แล้วก็ วางมันคืนไว้ตามเดิม เมื่อเสร็จธุระแล้ว" ก็เท่านั้นเอง

    +++ ขอให้เจริญในธรรม ในเรื่อง "วางคืนของกลาง ที่ยึดมันไว้ มานานนับอสงไขย" ให้ได้ นะครับ
     
  10. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อารมณ์ ถ้าเอาความหมายของอารมณ์ในภาษาไทยมาใช้ จะคนละเรื่องกับการปฏิบัติ



    สำหรับภาวนา
    อารมณ์ เป็นสิ่งที่จิตเสพ เป็นอาหารของจิต

    จิตต้องเสพอารมณ์ อยู่ไม่ขาดตอนเป็นสันตติไปเรื่อย

    พูดในส่วนปรมัตถ์

    จิต เจตสิก
    จิตก้คือจิต
    เจตสิก ก็คือ อารมณ์ ดังที่คัมภีร์อภิธรรม สาธยายเป็น เจตสิก 52

    จิตพิจารณาจิต ก็คือ จิตพิจารณาเจตสิกนั้นเอง


    ฉะนั้น จิตจะพิจารณาจิตได้ ต้องอบรมจิตให้มีสติสัมปยุตทุกขณะจิต

    ทีนี้ ต้องมาดูว่า สติที่สัมปยุตได้ มันเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

    สาเหตุที่จะทำให้สติสัมปยุติที่จิตได้ ก็คือ การกำหนดรู้ทุก สภาวะอารมณ์ ที่เกิดขึ้น
    ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ ทุกความเคลื่อนไหวกายใจ
    อบรมเนืองๆ ต่อเนื่องฝึกให้มาก จนจิตมีความคล่องแคล่ว ชำนาญ
    จิตจะจดจำสภาวะ อารมณ์ ที่เกิดขึ้นได้เอง
    เรียกว่า พออารมณ์ใดที่จิตจดจำสภาวะได้แม่นยำมันเกิดขึ้น
    เมื่อเกิดผัสสะ สติจะสัมปยุติกับจิตทันที ทำให้รู้เท่าทันสภาวะอารมณ์นั้นเองโดยอัตโนมัติ

    ทำให้ผัสสะที่เกิดขึ้น เป็นผัสสะบริสุทธิ์ ไม่มีอุปาทานเจือในขณะนั้นๆ
    ยิ่งหากทำให้สติสัมปยุติได้มาก ต่อเนื่องไม่ขาดสายเป็นสติวินะโยเมื่อไร
    ก็จะพ้นจากบ่วงแห่งมาร

    ภูมิ ของเก่าที่เคยมีมาแต่ปางก่อน จะค่อยๆไหลเข้ามาหาเป็นลาภีในอภิญญา6
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2018
  11. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    คุณธรรม-ชาติ

    ช่วยชี้แนะหน่อยครับ ทำไมขันธ์ถึงเป็นเรื่องของอจินไตย ครับ
     
  12. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ผมเข้าใจว่า ความคิดเป็นอาหารของจิต อย่างเดียว ผมเข้าใจผิดเหรอครับ
    คุณปราบเทวดา
     
  13. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เข้าใจถูกแล้วครับไม่ผิด

    ความคิดก้คืออารมณ์ก็ อันเดียวกัน
    อยู่ในเจตสิก52เหมือนกัน

    แม้แต่พุธโทที่เอามาบริกรรม
    ก้เป้นความคิดเหมือนกัน
     
  14. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    อาหารมี สี่ อย่าง

    คำข้าว

    ปิติ สุข อุเบกขา เอกัคฯ ปัสสัทธิ สุญตา อนิจจะ อนัตต วิเวก วิราคะ วิโมก (ผัสสาหาร)

    อธิษฐาน อิทธบาท วิตก๓ นิวรณ์5 อุปกิเลส10 สังโยชน์5 (มโนมยุกยิกสัญเจตนาหาร)

    วิญญานาหาร

    ตัวสุดท้าย วิญญาน หรือ จิต ตัวมันเองเปน
    อารมณ์ เช่น จุติ ปฏิสนธิ สองจังหวะนี้ อภิธรรม
    ระบุ ไม่มีอะไรขั้นได้ ถ้า ยังตายก่อนตาย ไม่เปน
    ก้หมด ดิสกเบรค แล่นไปเกิดสถานเดียว
     
  15. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    "ความคิดเป็นอาหารของจิต"

    พุทโธ ก็คือความคิด >>>>> เห็นด้วยครับ

    ถามเล่น ๆ ครับ
    ถ้าคนที่ทำอานาปานสติอย่างผม
    ไม่ได้บริกรรมพุทโธ
    เพราะมองว่า "มันคือความคิด"
    จิตรวมช้า หรือไม่รวมเลย
    เป็นธรรมที่ไม่ลัดสั้น เนิ่นช้า

    คำถามคือ อานาปานสติ เอาอะไรเป็นอาหารจิตครับ ?

    ถามเล่น ๆ นะครับ
     
  16. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    สุจริต3เป้นอาหารของอานาปานะสติ
    ส่วนการเดินอานาปานาสติ
    มันก้มีอารมณ์ในกรรมฐานมันนั่นละครับเป้นอาหารจิต
     
  17. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ถามเล่น ๆ ต่อครับ

    เมื่อการเดินอานาปานสติ มีอารมณ์ของมันเองอยู่ในตัว

    อะไรคือข้อแตกต่างของอานาปานสติ กับ ท่องพุทโธ
    ทำไมจึงมีบางคนท่องพุทโธ บางคนทำอานาปานสติ
    การท่องพุทโธ ก่อนไม่เรียกว่าไปคว้าอาหารมาเพิ่ม
    สร้างนิวรณ์เพิ่ม(ความคิด) จนอิ่มเกินไปรึเปล่าครับ ?
     
  18. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ผมขอตอบเล่นๆ บางคนฟุ้งมาก กายะ จิตตะ ยังไม่สำรวมมากพอ จำเป็นต้อง
    เอาพุทโธ ให้จิตมันเกาะ

    ส่วนอานาปาน จะทำได้ดีกับที่มีอินทรีย์พละแล้ว
     
  19. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ปกติอยู่เฉย ๆ ไม่ฝึกจิต
    นิวรณ์ก็กินกบาลเยอะอยู่แล้ว
    จะฝึกจิตให้มันนิ่ง ๆ ขจัดนิวรณ์
    แต่ยังไปคว้าเอานิวรณ์มาเพิ่มรึเปล่า ?

    เพราะคนทำอานาปานสติ ก็ไม่ใช่ว่านั่งครั้งแรก จะกำจัดนิวรณ์ 5 ได้เลย
    มันจะเทพเกินไปหน่อย
    ถ้าไม่ใช่ความเพียร ทำต่อเนื่อง ก็หมดสิทธิกำจัด

    นี่แหละ point ของคำถามที่ผมสงสัย และอยากถามเล่น ๆ
     
  20. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    เอาเล่นๆ อย่างผมนี่ ตอนแรกไม่เคยทำฝึกสามาธิมาเลย
    มาท่องบริกรรมอย่างเขา ไม่เกิดเลยครับ
    ผมก็ค้นคว้า เขาบอกเอาลองรู้ลม ทำอานาปานสติ ดู เอ่อมันเกิด


    อะไรก็ไม่แน่หรอกครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...