ขอคำแนะนำค่ะ สวดมนต์แล้วเหมือนจิตรวมเข้ามาภายใน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ดอกบัวแก้ว, 2 สิงหาคม 2018.

  1. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอคำแนะนำด้วยค่ะ!!!

    ปกติจขกท.จะสวดมนต์แล้วค่อยเดินจงกรม-นั่งสมาธิ แต่บางวันถ้ายุ่งก้อจะสวดมนต์และนั่งสมาธิเท่านั้น

    - มีบางครั้งที่สวดมนต์ไปจนเป็นสมาธิ สติแจ่มชัด เหมือนจิตจะรวมเร็ว ตัวจะโคลงไปมารู้สึกได้ในขณะที่สวด แล้วจขกท.จะใช้สติประคองให้จดจ่ออยู่กับการสวด จิตก้อเป็นอีกเหมือนจะดิ่งรวมลงเร็ว
    มีความรู้สึกอยากนั่งสมาธิ(ตอนนั้นยังสวดมนต์ไม่จบนะค่ะ จิตมันรวมแล้วอยากเปลี่ยนมานั่ง) คือเหมือนมันจะทิ้งการสวดเข้ามาภายใน

    แต่จขกท.พยายามตั้งสติฝืนสวดมนต์ต่อให้จบ พอสวดจบนั่งสมาธิต่อมันเข้าสมาธิได้เร็วมาก นั่งแล้วมัน นิ่งดิ่ง สงบ สติเด่น จิตเด่นชัดเจน กายกับจิตแยกชัดเจน ใช้สติดูจิตที่มันลอยเด่นกึ่งกลางระหว่างอก จนมันถอยออกมาที่กาย. จขกท.ก้อมาพิจารณากาย มีเวทนาก้อดูเวทนาจนเวทนาดับ

    คำถามนะค่ะ
    - ในขณะสวดมนต์มันเกิดสมาธิ ดิ่ง สงบ อยากนั่งสมาธิ คือเหมือนมันจะทิ้งคำสวด เข้ามาภายใน (ไม่รู้จขกท.ใช้คำพูดถูกไหมนะค่ะ) ที่จขกท.ทำคือฝืนไว้ไม่เข้ามาภายใน แต่ตั้งสติสวดต่อไปให้จบ แล้วค่อยมานั่งสมาธิ จขกท.ทำถูกไหมค่ะ

    หรือว่า เราควรทิ้งการสวดแล้วเข้ามากำหนดภายในและทำสมาธิต่อไปเลยค่ะ

    หากใช้คำพูดไม่ถูกต้องขออภัยด้วยนะค่ะ
    ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำค่ะ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ทำได้ทั้งสอง สามแบบครับ เวลาสวดมนต์

    ส่วนใหญ่ ถ้ามีความสามารถน้อย จิตเป็นสมาธิเวลาสวดมนต์ รวมลงสมาธิ แล้วจะสวดไม่ออก

    แต่ถ้า มีความสามารถมาก จิตรวมลงสมาธิแล้วเราก็ สามารถสวดมนต์ต่อได้ แบบนี้จะเหมือนเราใช้งานกำลังจริง

    และอย่างที่ จขกท ทำ ก็คือ ไม่ยอมลงสมาธิ แต่จะสวดตรงหน้า

    ส่วนการพิจารณา กาย ให้ พิจารณากายในกาย ครับ ไม่ใช่กายนอก กำหนดนิมิตกาย ขึ้นมา แล้วพิจารณา ครับ
     
  3. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณมากๆค่ะ
     
  4. แผ่บุญ

    แผ่บุญ ชอบ~ศรัทธา 40 อสงไขย

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2018
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +307
    ถ้าพูดในอีกทำนองหนึ่ง การสวดมนต์ก็คือการภาวนาอย่างหนึ่งเหมือนกันครับ เพียงแต่เป็นการภาวนาที่ใช้เสียงเป็นสื่อกำกับ

    การสวดมนต์ถ้าทำแบบจดจ่อตั้งใจก็ทำให้มีสมาธิระหว่างสวดมนต์ได้เหมือนกันตามที่เกิดขึ้นครับ

    ในขั้นต้นเราไม่ต้องกังวลเรื่องเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นระหว่างการทำครับ ก็ทำไปจนเสร็จกิจที่จะทำไปทีละอย่าง เพราะผลของการสวดมนต์หรือนั่งสมาธิหลักๆจริงๆก็เพื่อให้จิตสงบขึ้น จิตเบาสบายขึ้น ควรแก่การพักหรือนำไปใช้งานที่เป็นประโยชน์อื่นๆต่อไป จึงไม่เป็นผลเสียหายในสิ่งที่สมาธิกำลังเกิดขึ้น จากการสวดมนต์ นั่งสมาธิ หรือทำกิจอื่นๆไปด้วยก่อนหลังครับ

    ปกติส่วนตัวจะเน้นภาวนาในใจระหว่างวันทุกขณะเวลาที่นึกขึ้นได้ครับ ก็เหมือนเราสวดมนต์ในใจตลอดเวลาที่เราต้องการ ผลที่ได้ก็ทำให้จิตชุ่มชื่นด้วยรสของสมาธิในระหว่างวันได้เหมือนกันครับ
     
  5. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณค่ะ.
     
  6. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    การสวดมนต์ก็เป็นการบริกรรมอย่างหนึ่ง
    เป็นอุบายไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่น

    ก็เหมือนกับการบริกรรมพุทโธ หรือดูลมเข้าออก

    พอเอาชนะนิวรณ์ได้แล้ว
    มันจะสงบลงไป

    ตรงนี้ทำให้ชำนาญ

    พอสงบมากขึ้น จิตจะอิสระขึ้นมา
    เราจะกลายเป็นผู้ดู ผู้สังเกตุการณ์
    ดูจิตมันทำงาน
    ดูขันธ์มันทำงาน
    ดูความคิดมันทำงาน
    ดูกิเลสมันทำงาน

    เมื่อดูมากเข้ามันจะก่อตัวเป็นปัญญาต่อไป..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2018
  7. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ถ้าจิตรวม ไม่ต้องฝืนครับ
    ปล่อยให้เข้าสมาธิ แล้วพิจารณา ไตรลักษณ์เลย

    สวดมนต์ นอกจาก บูชา สำรวมแล้ว ก็เหมือนกับการเตรียมจิตให้สงบ เพื่อปฎิบัติขั้นต่อไป
    เมื่อจิตรู้สึกว่าสงบพอแล้ว ก็จะเข้าสมาธิเอง
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    คำถามที่ถามมา จะบอกว่า ไม่ควรทำทั้ง ๒ อย่างครับ
    ..เพราะมันไม่ได้ส่งเสริมให้มีการ
    พัฒนาคุณภาพของจิต
    ไม่ว่าด้านปัญญาหรือด้านของกำลังสมาธิที่จะเพิ่มขึ้น


    แต่ไม่ใช่ว่า กิริยาที่ผ่านมา
    ที่เป็นอยู่ไม่ดีนะครับ มันถือว่าดีแล้วครับ
    ถือว่ามีการพัฒนาที่ดี แต่กิริยาของจิตตอนนี้
    มันโน้มให้พัฒนาไปทางด้าน
    เกี่ยวกับการเดินปัญญาครับ ไม่ใช่ไปทางด้านเกี่ยวกับเรื่อง
    การพัฒนากำลังสมาธิให้สูงขึ้นไป
    เราต้องเข้าใจกิริยาแบบนี้ ที่เกิดกับเราให้ได้
    ก่อนในเบื้องต้น เราถึงจะไปต่อได้

    ถ้าเข้าใจแล้ว เราต้องมาดูเทคนิคที่จะทำให้เราไปต่อได้...การไปต่อ
    ในกรณีที่มันโน้มไปในทางด้านปัญญานั้น ให้เราเพิ่มเติมในเรื่องการพิจารณา
    เพียงแต่ถ้าจะมา พิจารณา
    เราต้องรู้จักการวางอารมย์เรื่องที่พิจารณาไว้ก่อน
    ตั้งแต่ก่อนเราจะสวดมนต์หรือนั่งสมาธิ
    มันถึงจะไม่กลายเป็นวิปัสสนึก
    ซึ่งมันจะไม่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพทางด้านปัญญา
    และความเข้าใจทางด้านนามธรรมของเรา
    แม้จะใช้เวลากับมันตรงนี้กี่ปีก็ตาม ดังนั้นทำความเข้าใจ
    ในเรื่องการวางอารมย์ซะ


    การวางอารมย์คือ เมื่อจะพิจารณาเรื่องอะไรก็ตาม
    ให้นึกๆไว้ก่อนในระหว่างวัน...แล้วให้ลืมๆมันไป
    เช่น เรื่องที่ ๑ เรื่องที่ ๒ เรื่องที่ ๓ ที่เราพบว่าเราพลาดในระหว่างวัน
    จากกำลังสติของเรา เช่น วันนี้พลาดเรื่องโลภอยากได้โน้นนี่นั้น
    วันนี้พลาดเผลอไปด่า ไอ้โน้นนั่นนี่ วันนี้พลาดตรงเผลอไปโกรธ ไอ้นี่โน้นนั้น ฯลฯ
    หรือจะพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม อะไรก็ได้

    แต่อย่าไประลึกเอา ณ ตอนที่สติกำลังดูจิตตรงที่มันอยู่ระหว่าง
    กลางอกและลิ้นปี่เหมือนที่ผ่านมาอีกนะครับ

    เพราะถ้าไประลึกเรื่องที่จะพิจารณาตอนนี้
    มันจะยังไม่พ้นวิปัสสนึก(คือ จิตยกความคิดที่อยู่ในตัวจิตขึ้นมาพิจารณาเอง)
    เด่วพอหลังจากวางอารมย์เรื่องที่พิจารณาระหว่างวันได้แล้ว
    พอจังหวะ ที่เหมือนสติมันกำลังดูจิตอยู่นั้น เรื่องพวกนั้น มันจะขึ้นมาได้ของมันเอง
    ตามลำดับเลยครับ สมมุติเรื่องที่ ๑ ขึ้นมาพอมันวาง เรื่องที่ ๒ ก็จะขึ้นมาเอง
    พอเรื่องที่ ๒ วางเรื่องที่ ๓ ก็จะขึ้นมาเอง อัตโนมัติแบบนี้
    ถ้าหมดแล้ว ก็จิตก็จะคลายตัวมันเองได้ ตรงนี้เราจะรู้สึกถึงความ
    เย็นและกว้างของจิตเราได้เอง นั่นคือ มันได้ผลครับ
    มันถึงจะเข้าข่ายการเดินปัญญา
    คือ จะพิจารณาอะไร ก็ปล่อยให้จิตว่างรับรู้ภายในอยู่อย่างนั้น(จากเรื่องที่วางอารมย์ไว้
    ไม่ใช่เรื่องที่ไประลึกเอาเอง ณ ช่วงที่สภาวะมันเอื้อในการพิจารณา)

    ส่วนนี้เล่าให้ฟัง บทสวดมนต์มันไม่ได้ทิ้งหรือหายไปไหนหรอก
    เพียงแต่ตอนนั้น บทสวดมนต์หยาบเกินไปกว่าที่จิตจะสนใจ
    เท่านั้นเอง มันเป็นเรื่องปกติ เหมือน คุณดูหน้าจอคอมอยู่
    แล้วหันไปเห็นของกิน จิตจะไปสนใจของกินแต่จอคอมมันก็ยังอยู่ปกติครับ
    กรณีรวมทั้งความรู้สึกที่ว่า ทิ้งลมหายใจเช่นกัน.
    ..คือไม่ได้หาย แต่หยาบเกินกว่า
    ที่จิตจะสนใจ พอมองภาพออกเนาะ...ยกตัวอย่างพอให้เห็นภาพ...^_^ จบเนาะ..
     
  9. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณทุกๆท่านนะค่ะสำหรับคำชี้แนะค่ะ
     
  10. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ท่าน ดอกบัวแก้ว หลังจากพิจารณาแล้ว พยายามสรุปด้วย
    ตัดลง อุเบกขา

    สัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น

    กัมมัสสะกา
    เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน

    กัมมะทายาทา
    เป็นผู้รับผลของกรรม

    กัมมะโยนิ
    เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด

    กัมมะพันธุ
    เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

    กัมมะปะฏิสะระณา
    เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

    ยัง กัมมัง กะริสสันติ
    กระทำกรรมอันใดไว้

    กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา
    ดีหรือชั่ว

    ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

    ยอมรับความเป็นจริงตามกฎกรรมให้ได้ แล้วจะผ่านไปอีกขั้น

    โมทนาด้วยครับ
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ มันมี "จังหวะ และ ขั้นตอน ที่ "ถูกต้อง" แฝงอยู่ใน ทุกขณะ" ที่คุณกำลังปฏิบัติอยู่ จะแจงไปตาม "จังหวะ" ที่มันเกิดขึ้นกับคุณ ก็แล้วกันนะ
    +++ หากคุณ "อยู่กับ สติแจ่มชัด เป็น" ในจังหวะนี้ คุณ สามารถ "แยกเสียงสวดมนต์" ออกไป "อยู่ข้างนอก ความเป็น ตน" ได้

    +++ อาการจะเป็นแบบ "เสียงมัน อยู่ ข้างนอก" ไม่ชำแรกเข้ามาได้ ตรงนี้เป็น "วิปัสสนาญาณทัศนะ เบื้องต้น" แยกเสียงออกไป
    +++ ในอีก "จังหวะหนึ่ง" ตรงนี้ หากอยู่กับ "สติแจ่มชัด" เป็น จะสามารถ "รู้" อาการจิตรวม + ตัวโคลง ได้

    +++ หาก "อยู่" กับสติแจ่มชัด ได้อย่างมีเสถียรภาพ "ทั้ง เสียง จิตรวม ตัวโคลง" จะโดน "แยกออก เป็น ส่วน ๆ" ได้ คราวหน้าให้ "ลองทำดู" ก็จะ "รู้" ได้ด้วยตนเอง
    +++ ตรงนี้ ควร "ใช้สติประคอง" ให้จดจ่ออยู่กับ "สติแจ่มชัด" แล้ว ปล่อยให้ "จิตรวม" โดยอยู่กับ "สติแจ่มชัด"

    +++ ตรงนี้ "ทำได้" ไม่ต้องกลัวว่า จิตมันจะไม่รวมนะ "จิตมัน รวมได้ อยู่ดี" โดยมี "สติแจ่มชัด" เป็นอิสระ อยู่ เหนือจิตรวม (ของมัน "ทำได้" นะ)
    +++ ตรง "จังหวะนี้ เป็น จังหวะสำคัญ" ตรงที่ ใช้ภาษาว่า "มีความรู้สึกอยากนั่งสมาธิ" ตรงนี้แหละ "อาการจริง ๆ มันเป็นดังนี้"

    +++ ณ ภาษาว่า "อยาก" จริง ๆ มันเป็น "อาการ ก่อกำเนิด ของอาการ หดรวมศูนย์" บังเกิด บริเวณ "ลิ้นปี่" จะใช้คำว่า หน้าอก ก็ได้ ไม่สำคัญเท่าไร

    +++ อาการ ต้นกำเนิด ของการ "รวมศูนย์" ตรงนี้ "การแปลอาการ ออกมาเป็น ภาษา มักจะ ไม่ค่อยตรง" จึงใช้คำว่า "อยาก" เปล่งวาจาออกมา

    +++ อาการตรงนี้ หาก "ทิ้งการสวดเข้ามาภายใน" ณ ขณะนั้น ๆ มันจะ "หดรวมศูนย์" เข้ามาทันที และตรงนี้ คืออาการ "จิตรวม"

    +++ หาก "รักษาอาการ สติแจ่มชัดได้" อาการ "จิตรวม (สมถะฌานสมาบัติ)" จะรวมศูนย์ ลงมาเหลือเป็น "สภาวะเดี่ยว สภาวะเดียว" เรียกว่า "ขันธ์เดี่ยว"

    +++ แล้ว "ขันธ์เดียว" นี้แหละ จะโดนแยกออกจาก "สติแจ่มชัด" แล้ว "หลุดออก แยกออก" จากความเป็น "ตน" ทันที เป็นอาการ วิมุติญาณทัศนะ
    +++ ตรงนี้ ความจริง "ไม่ต้องฝืน" ก็ได้ แต่ปล่อยให้มัน "สวดมนต์ แบบ ออร์โต้โหมด" แล้วอยู่กับ "สติแจ่มชัด" เท่านั้นพอ แล้ว "อาการแยก" จะปรากฏมาเอง
    +++ ตรงนี้ "มันจ่อ" อยู่แล้ว ตรง "ภาษาที่ใช้คำว่า อยาก" นั่นแหละ
    +++ ตรงนี้ เพราะ มีอาการ "สติเด่น" เป็นพี่เลี้ยงอยู่นั่นเอง ตรงนี้เป็นอาการของ "สัมโพชฌงค์ (สติครองฌาน อยู่เหนือฌาน)" นั่นแหละ
    +++ คำตอบ คือ "รักษาอาการ สติเด่น" ไว้เพียงประการเดียว (สัมโภชฌงค์)

    +++ แต่ ปล่อยให้ทุกอย่างเป็น "ออร์โต้โหมด" ไร้การแทรกแซง แต่ประการใดทั้งสิ้น


    +++ แล้วจะ "รู้ได้ด้วย ตน ว่าสมถะฌานสมาบัติ คือ อะไร" ผมมั่นใจว่า "คุณทำได้" นะครับ
     
  12. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะค่ะ
     
  13. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำ
     
  14. pisces2018

    pisces2018 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +37
    ถ้าความประสงค์ของจขกท.ต้องการเน้นที่สมาธิ อาการที่ทิ้งบทสวดมนต์เป็นอาการที่เริ่มเข้าสู่ฌาน 2 แล้วครับ สติจะไปอยู่กับลมหายใจที่ละเอียดกว่าบทสวดมนต์ ถ้าเราสวดมนต์บทไหนเป็นประจำ เช่น คาถาชินบัญชร ถ้าเราสวดเร็วๆ ได้แบบกึ่งอัตโนมัติประมาณ 70-80 วินาทีต่อหนึ่งรอบ สวดไปเรื่อยๆ อาจจะประมาณ 3-5 รอบหรือมากกว่านั้นแล้วแต่คน เวลาที่เราสวดเร็วๆ แล้วสติเราไม่มีช่องให้เผลอ พอถึงจุดหนึ่งเราจะสังเกตได้ว่าเราสวดได้แบบกึ่งอัตโนมัติ มีอารมณ์คลุกเคล้ากับบทสวดโดยไม่ต้องใช้ความพยายามในการสวดมาก บทสวดมันจะไหลไปเองเหมือนสายน้ำ ขณะสวดก็จะรู้สึกถึงความอิ่มใจ นั่นเป็นอาการที่อยู่ในฌาน 1 {มีวิตก(คำบริกรรมพุทโธหรือบทสวดมนต์)-วิจาร(สวดเร็วต่อเนื่องโดยไม่เผลอ อารมณ์คลุกเคล้าอยู่กับบทสวด)-ปีติ-สุข-เอกัคคตา} พอจิตรวมเป็นสมาธิมากขึ้นก็อาจจะหยุดสวดไปดื้อๆ (ถ้าเราพยายามไปนึกบทสวดอีกจิตจะถอนจากสมาธิ ถ้ายังสวดอยู่ก็อยู่ในช่วงขณิกสมาธิ-อุปจารสมาธิ-ฌาน 1) สติอาจจะไปรู้ที่กายและลมหายใจอย่างเดียว ก็ให้รู้ว่าเป็นอาการที่จิตเข้าสู่สมาธิระดับสูงขึ้นอาจจะเข้าถึงฌาน 2-3-4 จิตจะละวิตก-วิจาร-ปีติ-สุข โดยลำดับ (ดูองค์ฌาน 5 ประกอบ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2018
  15. กบอ้วนในกะลา

    กบอ้วนในกะลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2018
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    อนุโมทนาเจ้าของกระทู้ที่มีความตั้งใจจริงครับ ทำอะไรอยู่ไม่ควรทิ้งงานนั้นครับ ผมกลัวจะติดสมาธิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...