เรื่องเด่น อาการของอุปจารสมาธิ และอาการของฌาน ที่ ๑ , ๒, ๓ ,๔ (หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 30 ตุลาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    อาการของอุปจารสมาธิ และอาการของฌาน ที่ ๑ , ๒, ๓ ,๔

    โดย…หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง


    อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ-1.jpg


    ……อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ…..

    “….อาการของอุปจารสมาธิคือ ปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยม ไม่เคยพบความสุขอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุขร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ

    ….๑. อาการขนลุกซู่ซ่า เมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์ใจเป็นสุข ขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจ เมื่อสมาธิสูงขึ้น หรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเอง อาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควรภูมิใจว่า เราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย ….

    ….๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ ได้แก่อาการน้ำตาไหล”

    …..๓. อาการของปีติขั้นที่ ๓ คือร่างกายโยกโคลง โยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้างบางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น….

    ….๔. อาการของปีติขั้นที่ ๔ ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศ แต่ผลของการปฏิบัติไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศ เมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิคลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง (อย่าตกใจ)…

    ….๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕ คือ มีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออกในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้น หน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกาย ในที่สุดก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว..

    ….อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้น นักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจเป็นสำคัญ อย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้น พอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัวไปเอง ปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุข คือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน’…

    ….ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิ คำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อนมาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรงท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ….

    …..อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย……

    ….เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้นไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมีความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไรอารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ…

    …๑. รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก คำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่นนอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่ มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่งอยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน) หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังมาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัดอาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌานที่หนึ่ง…

    …๒. เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไปบางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิตมีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความรู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌานที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริงไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง…

    …๓. เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สาม ตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไปทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอกที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมากเป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม..

    …๔. อาการของฌานที่สี่ เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัวอธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า..

    ….เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึงฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้วจะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลาหน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะกำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป

    ….เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมีความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิตไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยกกันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมีเสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก..

    …เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายในกำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่าเสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียดเป็นอย่างนี้…

    ….ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌานเหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป…”.
    .
    .

    หนังสือวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ หน้า ๒๕ – ๓๐ โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี..



    ที่มา บันทึกธรรมพระราชพรหมยาน
     
  2. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,578
    54344FBE-D9B7-4462-8AF0-83B8AAC36A23.jpeg อนุโมทนากับบทความค่ะ

    เมื่อคืนเกิดเจอเรื่องทำให้ไม่สบายใจ ไม่รู้จะแก้ไขยังไง จึงพยายามตัดกิเลส
    ได้รวบรวมสมาธิ. นั่งสวดมนต์ นับลูกปัด ค่ะ
    บังเกิดอารมณ์สมาธิเมื่อได้รอบที่ 30
    ที่รู้ว่าสมาธิคือ หูดับ เพราะห้องอยู่ชั้นใต้ดินค่ะ ข้างบนเป็นห้องครัวแล้วสมาชิกบ้านพักเขาร้องคาราโอเกะ ทำอาหารกัน เราไม่ได้ยินเสียงเลยค่ะ ได้แว่ว แต่เสียงจักจั่น เสียง ลม (เมื่อคืนพายุเข้าค่ะ) ใบไม้ร่วงกระทบพื้นได้ยินค่ะ น้ำหยด

    ที่ว่าแปลกนอกจากพระธาตุที่กำประจำ ลูกแก้ว กับเพชรพญานาค นี้สั่นไม่ใช่แค่ แบบกล้ามเนื้อที่มือเต้น แต่สั่นแบบ เรากำแมลงค่ะแล้วเขาจะบินจะดิ้นในมือเรา อาการพระหรือเพชรนาคาดิ้นนี้เป็นทุกครั้งที่สวดมากกว่า 30 จบขึ้นไป

    แล้วเวลาจะเข้าสมาธิ ดันเป็นจังหวะที่ ได้ยินเสียงดังแบบเพิ่มวอลลุ่มคือดังมากปัป แล้วแผ่วทันที .. จังหวะตัวที่เริ่มกระตุก ก้อไม่เป็นแล้ว แต่อาการโยกไปข้างหลังเป็นค่ะ ทั้งที่ นั่งตัวตรงตลอด ..

    อาการเหน็บชา เพราะเป็นคนอ้วน แต่สามารถขัดสมาธิได้ ก็ไม่เป็นเท่าไรค่ะ อาการน้ำตา อาการน้ำลายไหล ยังเป็น เหอๆ แต่นี้คือ นั่งขัดสมาธิไปสวดนับลูกปัดไปนะคะ หลับตาค่ะ .. เห็นแสงสีเขียวเป็นริ้ว
    ยาวทั่วหิ้งพระ ทั้งที่หลับตา ... แล้วสิ่งแรกที่ภาวนาจนเกิดสมาธินั้น เราหาวค่ะ หาวน้ำตาไหล ได้ยินเสียงแว่วๆคือจริงๆบนหัวนั้นเขาปารตี้กันดังมากๆ แล้วเราก็เดินค่ะ เดินทั้งที่สวดมนต เดินไปหน้าบ้าน ไปรู้สึกลมพายุและฝนตกข้างนอก เดินไปที่ป่าเมเปิ้ลหลังบ้าน ฝ่าฝนไปแต่ไม่เปียก แค่หนาวๆ ขนบุกตลอด จนกลับมาที่เดิมในห้องค่ะ...

    แล้วนับต่อไปเรื่อยๆ จับภาพหลวงปู่ดู่ ด้านหลังท่าน เดินตามไปยังสถานที่ที่เราต้องการท่านให้ช่วย... จนนับรอบได้ 108 จบพระคาถาพระมหาจักรพรรดิ แล้วยังไม่อยากออกสมาธิ ก็สงบต่อสักพัก จึงถอนสมาธิ ในห้องเราจะปิดไฟ และจุดเทียนหอมค่ะ

    ถามว่าดีมั่ย เห็นอะไรมั้ย เห็นแต่ลูกไฟวิ่งสีขาว สีเขียววิ่งผ่านไปมาค่ะ ที่รู้ และนั่งอยู่ในห้องไม่ได้เดินออกไป แต่ตอนภาวนาคือจิตเดินออกจากบ้านไปค่ะ

    สาธุผู้ปฏิบัติทุกท่าน...
     
  3. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
  4. เทวินตพรหม

    เทวินตพรหม พรหมวิหาร4มรรคมีองค์แปด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +1,002
    สาธุครับ
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ในการปฏิบัติภาคสนาม ให้เราทิ้งตำรา
    ความรู้ทั้งหมดที่เราเคยได้ยิน ได้ฟังมาให้หมด
    และทำสมาธิของเราไปก่อน
    โดยไม่ควรสนใจกิริยาที่เกิดทุกๆกิริยา ตรงนี้สำคัญมาก

    แล้วค่อยมาหัดสังเกตุกิริยาที่เกิดระหว่างหลังจาก
    ออกจากสมาธิมาแล้ว
    กำลังสติที่เรามี ก็จะพอทำให้เราทราบได้ว่า
    อะไรเป็นอะไร รู้แค่ไหน ละเอียดแค่ไหน
    ขึ้นอยู่กับกำลังสติของเราเอง....

    ที่ท่านสอนคือ คลอบคลุมทั้งผู้ที่เห็นภาพและ
    ไม่เห็นภาพ พูดเป็นกลางๆ พูดหลักในการพัฒนา
    แทรกไว้ด้วย ตลอดจนการสังเกตุ แต่ไม่ทั้งหมด
    แต่ถ้าปฏิบัติเข้าถึงได้ มาย้อนอ่านดู ท่านจะเข้าใจเอง
    เพราะมันเป็นสภาวะ ซึ่งยังไงมันก็จะเหมือนกัน
    ต่างที่ภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอด
    ซึ่งภาษานั้น มันมีการดัดแปลง ต่อเติม เสริมแต่งได้

    และด้วยความละเอียดในการสังเกตุมากกว่าท่านใด
    (ไม่นับรวมผู้เป็นเลิศทางด้านทิพยุจักขุทั้งหลาย)
    และความเฉลียวในการถ่ายทอดเช่นนี้
    จึงเป็นที่ยอมรับว่า เป็นเอกในด้านการถ่ายทอด
    ทางด้านกรรมฐานจนถึงปัจจุบัน
    เป็นเอกคือ ปัจจุบันยังไม่มีท่านใด
    ที่ถ่ายทอดได้ละเอียดและคลอบคลุมกว่านั่นเองครับ
     
  6. เทวินตพรหม

    เทวินตพรหม พรหมวิหาร4มรรคมีองค์แปด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +1,002
    ขอบพระคุณครับคุณนพ
     

แชร์หน้านี้

Loading...