จิตตกภวังค์บ่อยมาก แก้ไขอย่างไรดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย noolegza, 1 เมษายน 2008.

  1. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    ตอนนี้เริ่มทำสมาธิเบื้องต้นอยู่คับ พอนั่งได้สักพักก็มีอาการวูบเหมือนจะหลับ แต่มั่นใจว่าไม่ได้หลับ อย่างนี้เรียกว่าจิตตกภวังใช่หรือไม่ บางวันเป็นบ่อย ประมาณว่า ครั้งแรกเป็น ดึงจิตกลับมาแล้วนั่งสัก 3 -4 นาทีก็เป็นอีก
    ก้ใช้การตามดูจิตนะคับ พอตกวูบก็รู้เลยว่าเอาอีกแล้ว จะแก้ไขอย่างไรดีคับถึงจะก้าวหน้ากว่านี้
     
  2. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    สติไม่ทันครับ ไม่ได้เรียกว่าหลับ เป็นตกภวังค์ อย่างที่คุณว่าเลย

    ตามสติให้ชัดกว่านี้ เอาให้ตลอดสาย ถ้าเผลอก็รีบดึงกลับมาไว ๆ

    ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วไม่ได้แก้ สมาธิไม่มี ปัญญาไม่เกิดครับ
     
  3. Karz

    Karz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +96
    เห็นด้วยกับคุณคีตเสวีครับที่ว่าสติตามไม่ทัน

    อาการเคลิ้มๆคล้ายจะหลับแต่ไม่ได้หลับแต่มีสติรู้ตัวอยู่ว่าลมเข้าหรือลมออกหรือรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรในขณะนั้น . . . อาการอย่างนี้เป็นอาการที่จิตกำลังเดินเข้าไปสู่ความสงบครับ แต่สติยังรู้ไม่ทันกับสภาพของสมาธิ ทำให้เกิดอาการเคลิ้มๆคล้ายจะหลับ

    แต่ไม่ต้องไปพยายามดึงจิตกลับครับ เพราะนั่นจะเป็นการกลับไปเริ่มต้นใหม่ ให้กำหนดรู้ต่อไปให้ตลอดสาย มันจะเคลิ้มก็ช่างมัน ขอให้เราทราบสภาพความสงบหรือสถานะลมเข้า-ออกก็พอ อีกไม่นานคุณก็จะขึ้นปฐมฌานแล้วครับ

    ต่อไปถ้าเราชำนาญขึ้น สติเราแข็งแรงมั่นคงขึ้น เราจะไม่เคลิ้มแล้วครับ พอเริ่มเข้าสมาธิไม่นานก็จะเข้าสู่ปฐมฌานได้เลย

    ขอให้มีความเพียรอย่างต่อเนื่องครับ
     
  4. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    895
    ค่าพลัง:
    +1,936
    แนะให้ท่องพุธโธในใจไปเรื่อยๆตอนนั่งน่ะครับ

    ระหว่างที่นึกถึงคำว่า พุธโธๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเร็วมาก ไม่ต้องช้ามาก ถ้าใจเราไปนึกถึงเรื่องอื่นก็ไม่ต้องดึงกลับมา
    แค่รู้ว่าตอนนี้มันไปคิดถึงเรื่องอื่นนอกจากพุธโธ ก็ให้พุธโธใหม่อีกครั้ง จิตแว๊บอีก ก็รู้อีกแล้ว ก็พุธโธใหม่อีก ทำแค่นี้ แบบนี้ไปเรื่อยๆ

    แต่ถ้าทำแล้ว อึดอัด ตึง เคร่งเครียดก็ให้ลืมตาท่องพุธโธแทนหลับตา คอยสังเกตจิตใจเป็นระยะถ้าหายเครียดแล้วลองหลับตาท่องใหม่
    แต่ถ้าไม่เครียด ไม่อึดอัด นึกถึงแบบสบายๆ ก็หลับตาพุธโธๆๆๆ ไปเรือ่ยน่ะครับ สำคัญคืออย่าไปบังคับตนเองว่าจะนั่งให้ดี ให้ไม่มีเรืองอื่น
    มาแทรก ตรงนี้เรานั่งของเราไป เรืองพวกนี้เกิดขึ้นเป็นธรรมดา แค่เรารู้ว่ามันเข้ามาแทรกแล้วเราก็พุธโธต่อแค่นี้ง่ายๆ ลองไปหัดดูครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2008
  5. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ท่านอื่นๆก็แนะนำไว้ดีเหมือนกันน่ะครับ

    แต่ส่วนตัวผมอยากจะขอแนะนำให้มีสติอยู่กับความรู้สึกตัวเพิ่มขึ้นด้วยน่ะครับ

    เมื่อเราเจริญสติตามระลึกรู้ความรู้สึกตัวอยู่เนืองๆ ยามที่จิตเป็นสมาธิ จะไม่ตกภวังค์ง่ายๆ จะมีความรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา แม้ในยามที่จิตนิ่งสงบเข้าสมาธิไปก็เช่นกัน สมาธิที่เราเข้าได้จะเป็นสมาธิที่มีความรู้เนื้อรู้ตัวและเกิดปัญญาพิจารณาใคร่ครวญในสภาวะรอบๆได้ ไม่ได้นิ่งดิ่งสงบคิดอะไรไม่ได้เหมือนที่บางท่านเรียกว่าเป็นสมาธิตอไม้ จะไม่ว่างๆเคว้งคว้างเหมือนการกำหนดสติแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีความรู้สึกตัวน่ะครับ

    ปล.ขอให้อ่านอารมณ์ของ ฌาน1-4 ในกายคตาสติสูตร ถ้าเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรคตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เป็นสมาธิที่ประกอบไปด้วยองค์มรรค เป็นสมาธิที่ประกอบไปด้วยปัญญาคือความรู้สึกตัวและรู้ตัวครับ
     
  6. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    อนุโมทนาทุกท่านที่ กรุณาเข้ามาตอบข้อสงสัยให้ครับ ตอนนี้ผมก็ทำตามที่ท่าน wit ว่าอยู่ึคับ คือการเจริญสติด้วยลมหายใจ ตลอดเวลาที่รู้ตัว ทำได้สัก 1 อาทิตย์ผลที่ตามมาก็คือ การตกภวังค์ดังกล่าวนี่แหละครับ ซึ่งก่อนที่จะกำหนดสติตลอดเวลานี้ นานๆทีถึงจะตกภวังคับ แต่ช่วงนี้เป็นบ่อยหน่อย ก็จะทำตามพี่ๆว่าแหละครับ จะเอาสติตามให้แนบแน่นกว่านี้
    ปล.จิตตกภวังมากกว่าเดิมนี่เข้าใจว่าจิตเป็นสมาธิมากกว่าเดิมถูกต้องหรือไม่คับ
     
  7. นาๆจิตตัง

    นาๆจิตตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +412
    ลองฝึกฝนวิธีนี้ดู....บางทีอาจจะได้ผลดี
    ความก้าวหน้าก็มาจากการฝึกฝนบ่อยๆ เช่นกัน

    ฝึกสมาธิแบบลืมตาบ่อย ๆ เพราะลืมตา หลับตา
    ก็ใช้สภาวะจิตเหมือนกัน (สภาพร่างกาย ขันธ์ ๕ ก็ต้องดูแล
    รักษา พักผ่อน ให้เพียงพอ บางทีภาวะ...นี้ก็มีส่วนประกอบ
    ทำให้วูบ....ทางสมาธิได้เหมือนกัน ) ทำกิจการงาน ภาระกิจ
    ก็เจริญสติ สมาธิได้ให้..รู้..กับผู้รู้..บ่อยๆ..เข้า พอชำนิชำนาญ อาการวูบ
    ก็จะลดน้อยถอยลงไปหรือหมดไป จะเรียกว่าออกกำลัง สติ สมาธิหรือ
    เพาะกำลังไว้ก็ได้..(ได้ประโยชน์หลายสถานด้วย...) เวลาใช้งานหรือ
    ภาระกิจพึงประสงค์..ทางจิตแลสมาธิก็จะคล่องแคล่ว ว่องไวตามไปด้วย
    ซึ่งก็จะดีกว่านั่งหลับตาเจริญสติ สมาธิภาวนา เพียงอย่างเดียว

    หรือเอาสติหรือผู้รู้....แผ่ขยายความรับรู้ให้ทั่วทั้งร่างกาย ยืน เดิน
    นั่ง นอน พยายามทำบ่อยๆ หรือทุกขณะ....สติคือการระลึกได้
    สัมปชัญญะคือการรู้ตัว เมื่อเรานั่งเจริญสมาธิภาวนา (หรือตามแต่ถนัด..)
    ผลจากการที่เราแผ่ความรู้สึก ขยายความรับรู้ออกไปนั้น ผู้รู้...ก็จะรู้
    ได้ไว อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะชัดเจน ระลึก..รู้.. แนบชิด ตามติดกับ
    สิ่งที่รู้ อาการเผอญความเผอญในการขาดสติ ทั้งสมถะและวิปัสสนา.....
    ก็จะไม่คอยมี เพราะสติตามติดคอยกำกับตลอด...เวลาเจริญสมาธิภาวนา
    ก็จะแจ่มใสไปด้วย

    สรุปง่ายๆ ก็คือให้อยู่กับ..ผู้รู้..(ตัวคนฝึก) สิ่งที่รู้ก็สักแต่ว่ารู้
    สำคัญอยู่ที่ทำอย่างไร อย่าให้ผู้รู้หายไป.....
     
  8. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,793
    ถ้าง่วงนะครับให้ลุกขึ้นเดินจงกรมครับ กำหนดอิริยาบทการก้าวเดินคงไม่ต้องบอกนะครับว่าทำอย่างไร ถ้ายังไม่หายอีกควรบริโภคอาหารประเภทที่ย่อยง่ายครับ และรับประทานพอประมาณ ถ้ายังไม่หายอีกให้นอนเถิดครับ อาจเกิดจากร่างกายอ่อนเพลีย ให้กำหนดไว้ว่าถ้าลุกขึ้นแล้วจะทำความเพียรต่อ ที่สำคัญ การทำความเพียรให้ระลึกเสมอว่าเราต้องการสติให้อยู่กับปัจจุบันไม่ใช่ต้องการความสงบ เมื่อเรามีสติดูจิตที่ปัจจุบันแล้วความสงบก็จะตามมาเอง พยายามอย่าปล่อยใจให้เคริ้มหลงอารมณ์ไปนี่แหละที่เป็นสาเหตุให้เราหลับหรือที่เรียกว่าภวังคจิตครับ ขออนุโมทนากับความเพียรของคุณด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2008
  9. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ของวัดถ้ำขวัญเมืองเขาตีฌานเหมือนเป็นการวอมร่างกาย ซักพักก็สูบลมหายใจเข้าพร้อมนึกถึงสิ่งที่เป็นความสุข หัวก็จะเย็นมากเลยทำให้ไม่ง่วง
    เเละค่อยภาวนาต่อไป
     
  10. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ไม่ถูกนะครับ

    ผมเคยเป็น เคยทั้งถามครูบาอาจารย์และลองผิดลองถูกมามาก กว่าจะมาถูกทางก็เสียเวลาไปพอสมควร

    ผมเคยลองปล่อยให้จิตตกภวังค์ดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น

    ปรากฏว่านั่งสมาธิไปสองชั่งโมงในภวังค์ แล้วกลับมาระลึกรู้ตัวอีกครั้ง

    จึงได้ถึงบางอ้อว่าสมาธิไม่ได้เกิดเลย วิปัสนาญานก็ไม่ได้ ฌานก็ไม่เกิด เป็นแต่จิตขาดช่วงเฉย ๆ ซ้ำร้าย อาการหลังออกจากสมาธิเหมือนเบลอ ๆ แบบสติไม่ค่อยทันซะงั้นไป

    ผมจึงกลับมาสู่วิธีการตรงที่ไม่ซับซ้อน คือตามดูลมหายใจ อย่างไม่ขาดสาย จึงเข้าสู่สมาธิขั้นลึก ๆต่อไปได้

    บางทีคำแนะนำที่ไม่ตรงก็ทำให้เราหลงไปได้มากเหมือนกัน ถ้าจะลองนั่งสมาธิในภวังค์ก็ได้ จะได้ทราบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เพราะถึงอย่างไรเสียเราคงได้อยู่ปฏิบัติกันไปอีกนานไม่ใช่แค่

    วันสองวัน จนกว่าจะถึงเป้าหมายสูงสุดคือได้ปล่อยวางจากตัวตนจนหมดอุปาทานเป็นที่สุดครับ
     
  11. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    การเจริญสติ เป็นเรื่องปกติ

    ที่ย่อมมีการหลับบ้าง, ตกภวังค์บ้าง,ไม่ใช่เรื่องเเปลก

    เพราะจิต เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

    แต่พยายามตั้งใจใหม่ เเละกำหนดให้ตนเองเป็นเพียงแค่ ผู้ดูพฤติกรรม

    จิต มีหลากหลายประเภท ทั้งจิตสำนึก และจิตใต้สำนึก

    ความคิด ก็คือ หนึ่งจิต ที่สามารถเเบ่งย่อยๆออกมาอีกมากมาย

    ดังนั้น พยายามเป็นเพียงแค่ ผู้ดู และระลึกอยู่เสมอว่า

    กายก็ไม่ใช่ของเรา จิตก็ไม่ใช่ของเรา

    มันจะไปไหน ทำอะไร ก็สักแต่ว่า ดูความคิด แล้วรู้

    ดูการกระทำแล้ว รู้

    คิด ดี การกระทำ ย่อมดี (เรียกว่า พฤติกรรมตามความคิด)

    สติ คือ ผู้ดู

    ความคิด คือ จิต

    ง่ายๆ อย่ากังวล เดินทางสายกลางเมื่อปฏิบัติ

    เมื่อ จิตต้องการฝึกก็ฝึก จิตอยากพักก็พัก

    จิตอยากกินข้าวก็ดู จิตกับร่างกินข้าว

    จิตอยากอ่านหนังสือ ก็ดูจิตกับร่างอ่านหนังสือ

    จิตอยากสวดมนต์ นั่งสมาธิ ก็ดูจิตกับร่างสวดมนต์ นั่งสมาธิ

    จะทำอะไร ก็ ถือว่า ปฏิบัติธรรม ได้ 24 ชั่วโมงคะ


    อย่าไปหลงไปคิดว่าจิตกับร่างกายคือ ตนเอง


    การเข้าฌาณเป็นเรื่องง่ายนะคะ

    ทำอะไร ที่ ทำให้จิตหยุดคิด ไม่มีความทุกข์ หรือ สุข จิตสงบนั้นคือ ฌาณ

    จะฟังเพลง, เล่นกีฬา, อ่านหนังสือ, วาดภาพ อะไรก็ได้ ลองดูนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2008
  12. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    ขอบคุญมากคับ เคยลองปฏิบัติมาก่อนหน้านี้แล้วหลายปี แต่พอทำๆไปก็เหมือนไม่ก้าวหน้า ไม่รู้เลยว่าตนเองมาถูกรึไม่ มาถึงตรงไหนแล้ว แล้วก็ไม่รู้จะสอบถามใคร อาสัยการอ่านจากหนังสือเอา พอไม่เห็นความก้าวหน้าก็เลยเลิกไป คนอื่นที่ไม่รู้เขาก็บอกว่าจะบวชแล้วเหรอ ดีใจนะคับที่มาเจอเวปนี้ เจอเพื่อนๆ เจอผู้รู้หลายๆท่าน ปลื้มมากคับ ที่รุ้ว่าก็ยังมีคนอื่นที่ชอบเหมือนเรา
     
  13. ปัญญาธรรม

    ปัญญาธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +25
    ถ้าตกภวังค์ก็จะเหมือนกับหลับไปเลย จะไม่รู้สติอะไร มันจะนิ่งหยุดสภาพอยู่<O:p></O:p>
    อย่างนั้น ไม่มีผู้รู้รู้อาการ แต่ถ้าจิตตกสภาพนิ่ง ผู้รู้นั้นก็จะรู้ว่าในขณะนี่นิ่ง<O:p></O:p>
    สมาธิก็คือผู้รู้ต้องตามไปรู้อารมณ์ อาการ ว่านิ่งก็รู้ว่านิ่ง จิตกำลังวูบก็รู้ว่าจิต <O:p></O:p>
    กำลังวูบจิตกำลังจะดิ่งก็รู้ว่าจิตกำลังจะดิ่ง ต้องมีสติตามไปรู้ขณะนั้น<O:p></O:p>
    ถ้านิ่งแล้ววูบเหมือนกำลังจะหลับไปแล้วไม่มีสติตามรู้ ก็ถูกถีนมิทธะครอบงำ<O:p></O:p>
    ให้เผลอกับความหลับในขณะหนึ่งๆของจิต เป็นจิตตกภวังค์จิตที่ยังตามไม่ทัน<O:p></O:p>
    ผู้รู้ยังตามไม่ทัน ถ้าผู้รู้ตามทันทุกขบวนการ คือหนีจากความง่วงได้แล้ว ไม่ได้<O:p></O:p>
    ง่วงแล้ว แต่ตามรู้อารมณ์นั้น จะนิ่งก็รู้ว่านิ่ง นั่นคือผู้รู้ตามรู้ตลอดในสภาวะจิต<O:p></O:p>
    แต่วันใดเราง่วงเข้ามา เราอาจจะนิ่งไปแล้วไม่มีสติรู้แต่ก็มารู้ตัวทีหลัง<O:p></O:p>
    อย่างนั้นแหละจิตตกภวังค์ไม่มีสติตามรู้ อย่างนั้นก็แพ้แก่อำนาจความง่วงไป<O:p></O:p>
    ก็ต้องเปลี่ยนมาเดินจงกรม ให้มีสติอยู่กับเท้า อยู่ในปัจจุบันใกล้ๆตัวแล้วค่อย<O:p></O:p>
    มานั่งใหม่ หรือไม่ถ้าง่วงมากก็ให้นอนไปแล้วค่อยตื่นจากความหลับค่อยมานั่ง <O:p></O:p>
    ใหม่ เพื่อที่จะให้รู้สติเด่นชัดขึ้น ไม่งั้นก็จะต้องมานั่งตกภวังค์อีกหลับใหลไป<O:p></O:p>
    ในภวังค์นั้นๆอีก อย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2008
  14. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    เพิ่มเติมอีกนิดนะครับปกติแล้วผมใช้การเจริญอาณาปานสติ กำหนดลมหายใจ แต่ทีนี้เมื่อทำไปแล้ว คำภาวนาหายไปเราก็ไม่ต้องสนใจให้กำหนดลมต่อ โดยสังเกตแต่ลมที่เข้าออกถูกต้องใช่ไม๊ครับ แต่ปัญหาคือว่าวันหลังๆที่ผมมานั่งต่อ
    ผมไม่ได้กำหนดลมหายใจแบบ3ฐานคือ เข้า..จมูก-อก-ท้อง / ออก..ท้อง-อก-ริมฝีปาก แบบเดิมอีก แต่ใช้การอาศัยการจำลมหายใจ ช่วงที่สบายตอนลืมการภาวนาในวันก่อนได้หรือไม่ คือแบบว่าเริ่มต้นนั่ง ก็กำหนดแค่ลมหายใจเข้าออกที่จมูกอย่างเดียวเลย ( กำหนด พุทธ-โธ ไปด้วยครับ )
     
  15. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    อันนี้ดีมากครับ แบบที่คุณว่านั่นแหละแจ่มแล้วครับ ถูกทางครับ
    ที่นี้ขอแนะนำเพิ่มเติมนิดหน่อย เวลาเราเอาจิตระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกที่จมูกนั้น มันจะมีสิ่งที่เหมือนลิงหลอกเจ้ามากวนความสงบของเรา เค้าตั้งชื่อว่านิวรณ์ ๕ ครับ การวางอารมณ์ช่วงนี้คือปล่อยอารมณ์จากทุกอย่าง ให้รู้ว่าหน้าที่เราตอนนี้มีเพียงอย่างเดียวคือจดจ่อเบา ๆ อยู่กับลมหายใจ วางใจไว้ในจุดเล็ก ๆ ไม่ต้องสอดส่าย เผลอไปก็นำกลับมาไม่ต้องเครียด พอจิตแนบแน่น แน่วแน่แล้วอาการของสมาธิจะปรากฏเอง แล้วก็มาโพสถามนะครับว่าเป็นอย่างไร อนุโมทนาในการปฏิบัติดีครับ
     
  16. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    เอ่อ..ยังสงสัยอยู่อ่ะคับ ว่าเริ่มนั่งใหม่ในแต่ละครั้งต้องกำหนดจิต 3 ฐาน ลากเข้าออกใหม่ หรือเริ่มนั่งก็สามารถกำหนดจิตไว้ ที่จมูก ตอนที่เราคิดว่าสงบที่สุดได้เลยคับ คือแบบข้ามขั้นได้เลยหรือว่าต้องเิริ่มแบบใหม่ทุกครั้ง ขอบคุญคับ
     
  17. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    เอาตรงที่มีการกระทำให้น้อยนะครับ จะสงบได้เร็ว การตามลมมาฐาน ๓ เพื่อสำหรับท่านที่จิตยังส่ายมาก

    ก็วางจิตไว้ที่จมูกเลย ถ้าไม่วอกแวกเท่าไหร่แล้ว ครับ
     
  18. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    กระจ่างครับ สงสัยมานานมากเลย ไม่รู้จะสอบถามใครได้ จะได้ปฏิบัติต่ออย่าง
    ไม่สงสัยซะที เพราะมัวแต่คิดว่าเราทำผิดหรือถูก ขอบคุญมากครับ
     
  19. gosilwer

    gosilwer สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +21
    ผมก็เป็นเหมือนกัน จะลองเอาคำแนะนำไปลองทำดูครับ
     
  20. อยาก เวียนว่าย

    อยาก เวียนว่าย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +17
    ต้องขออภัยด้วยครับ ที่มีความเห็นต่างน่ะครับ
    คือวิธีที่คุณกำลังจะตัดสินใจทำนั้น ผมไม่ปฏิเสธว่าเป็นวิธีที่จะก้าวหน้าเร็ว

    แต่มันจะเหมาะกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติมานานและเคยฝึกมาหลายๆ
    แบบหลายวิธี เคยผ่านนิมิตหลอน(ไว้ค่อยคุยกัน)และรู้วิธีเอาตัวรอด
    รู้จักแยกแยะว่าอะไรคือ ภวังค์-สมาธิ-จิต-สติ-สัมปชัญญะฯลฯ

    คือพอทิ้งฐานไปเลยนี่ มันดีตรงที่ภาระน้อย จิตเป็นสมาธิง่าย แต่สัมปชัญญะ
    จะบางจนไม่สามารถพิจารณายึดจิตกับฐานที่กำหนดไว้ได้ หลายคนพอจิตเรื่ม
    ปักแน่นเป็นสมาธิจริงแต่จิตเลื่อนออกจากฐานที่อิงกาย โดยไม่รู้ตัวถ้าไม่ตาม
    ดึงกลับอาจมีผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตมากกว่าผลดี

    อีกอย่างคือการปักรู้ที่ปลายจมูกเลยโดยไม่เดินลมตามฐานก่อนนั้น ถึงคุณจะได้
    ฌานมา แต่คุณจะไม่รอบรู้แตกฉานในอานาปานสติเท่าที่ควร คือสิ่งที่คุณควร
    จะได้บางอย่างมันอาจจะขาดไป อีกทั้งการจะพัฒนาไปสู่วิปัสสนาต่อ ต้องปรับ
    อารมณ์หลายอย่างครับ

    ไหนๆก็รักที่จะเดินทางนี้แล้ว เดินลมแบบครบฐานเพิ่มอีกนิด อย่างน้อย
    ก็ซัก7รอบ9รอบ แล้วค่อยปักรู้จะฐานไหนก็ตามแต่ถนัด เสียเวลาอีกนิด
    แต่เวลาที่มันผลิดอกออกผล มันจะคุ้มค่ากว่าครับ


    การปฏิบัติธรรมมีคุณมหาศาลต่อกายและจิต แต่ก็อันตรายอยู่บ้างเหมือนกัน
    ยิ่งทำคนเดียวห่างไกลครูบาอาจารย์ ควรเลือกวิธีที่ปลอดภัยที่สุดนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...