ปฏิภาณไหวพริบทางธรรม ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Mdef, 6 ตุลาคม 2018.

  1. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    คำถามครับ

    1. ความไวทางปฏิภาณ นี้มีอะไรเป็นกำลังครับทำให้ว่องไว ?

    2. สังเกตอย่างไรครับ ระหว่าง ปฏิภาณทางร่างกาย / ปฏิภาณทางจิต ?
     
  2. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,493
    ค่าพลัง:
    +2,364
    ปฏิภาณ = มอส ครับ

    หลอกครับ สำหรับผมปฏิภาณทางจิตมันคือสติ(รู้อยู่ทั้งภายนอก กายเนื้อ และ ความรู้สึกตัว และอัตตาจิต) หากเวลาปฏิบัติเจออะไรผิดสังเกตุก็จะรู้เอง

    ส่วนทางร่างกายอันนี้แหละยากเพราะไม่รู้ว่าคุณฮิวงะหมายถึงอะไรระหว่าง

    เวลามีอะไรกระเด็นมาจึงหลบไปเอง(สัญชาติญาณ) กำลังอันนี้ใช้ความเคยชิน + สติ

    หรือ

    ทำไมคำพูดนี้มันปะแล่มๆ(ความคิด(มโน)) มันใช่เรอะวะ

    กำลังอันนี้ใช้ความเคยชิน + มโน นะครับ
     
  3. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    ปฏิภาณปัญญา เป็นเรื่อง กำหนดรู้(แลเห็นอยู่) สรรพสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็น
    อาการของขันธ์5 ไม่ใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา

    พอแลอยู่ ตรงธรรม จะเกิดการไม่ฉวยจิต จึงเกิด สภาพธรรม ปราโมทย์

    พอมี สภาพธรรมปราโมทย์ อันเกิดจาก การไม่ฉวยจิต ด้วยสติ สัมปชัญญะ
    จึงเกิด ปิติ เกิดจิตตั้งมั่น ไม่หวลกลับไปจมขันธ์5 ติดข้องกับการสำคัญตนว่า
    เป็นสัตว์

    ปฏิภาณทางกาย คือ เห็น กายส่วนใดแข็งตึง กดข่ม ด้วยกำลังจิตอยู่ ก็รู้
    แล้วคลายตัวออก เกิดความเบากาย เกิดลหุสัญญาให้อาศัยระลึก(การแกะ
    ออกจากการเกร็ง กด ข่ม ต่างๆ) ไม่เกิดกายทับการภาวนา ไม่เกิดการสำคัญ
    ว่าเป็นสัตว์ด้วย ส่วนใดๆของกาย

    ปฏิภารทางจิต คือ เห็น ธรรมปราโมทย์อันเกิดจากการไม่ฉวยจิต แค่นี้พอ
    แล้ว ที่เหลือจะเป็น ผล ที่จะต้องเกิด ไม่ว่าจะ ปิติ5 ฌาน การเข้า การอยู่
    การออก ผลของการออก(ปัจจเวกขณะ) และ ธรรมที่จิตเป็นพยานของการ
    มีอยู่ของธรรม(ญาณทัสนะ) เหล่านั้นๆ
     
  4. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    ส่วนทางร่างกายอันนี้แหละยากเพราะไม่รู้ว่าคุณฮิวงะหมายถึงอะไรระหว่าง

    อย่างความไวสมองในการแก้ปัญหาที่ยังต้องคิด กับ แก้ปัญหาภายในโดยไม่ต้องคิด

    ในส่วนทางร่างกายผมก็รวมอันที่ต้องใช้สมองร่วมด้วยหนะครับที่ยังต้องคิด

    ในส่วนที่ไม่ต้องไปนั่งคิด

    มีพระองค์หนึ่งเคยบอกผมไว้ เวลาแก้ปัญหาอะไรไม่ออกให้ไปนั่งสมาธิ
    แล้วปัญหามันจะคลี่คลายหรือแก้ออกไปเอง
    คำถามข้อแรกจึงว่า อะไรคือกำลัง ความไวทางการแก้ปัญหา หรือ ปฏิภาณ
    ความไวทางปฏิภานมันขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิรึเปล่า

    ส่วนคำถาม 2 (สมอง + ร่างกาย) / (จิต + ขันธ์5)
    ในส่วนแรกผมมองว่า อาจจะเพราะออกกำลังกาย แต่ที่ต้องถามด้วยเพราะการนั่งสมาธินี้
    จะมีผลเรื่องร่างกาย+สมอง ในปฏิภาณในแง่ไหน
    จะรับทราบ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส ดีขึ้นใหม เช่นเคยกินส่วนประกอบอาหารชนิด
    หนึ่งมาก่อน
    พอไปกินอาหารที่ปรุงเสร็จ ก็สามารถรับทราบรายละเอียดของอาหารที่ปรุงแต่งมาได้
    โดยใช้ ปฏิภาณที่เคยชิมส่วนประกอบที่ผ่านมา เข้ามาตอบโจทย์ในรายละเอียดได้ทันท่วงที

    ในส่วนที่ 2 จิตที่เดินปัญญาที่ขันธ์5 นี้ จะเข้าใจได้ไวหรือช้า
    รู้เท่าทันการแก้ปัญหาในแง่ต่างๆ นี้ขึ้นอยู่กับ สมาธิใหม เป็นในเรื่องของ รัก โลภ โกรธ หลง
    ผมมองว่า รัก โลภ โกรธ หลง
    มันคนละส่วนกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เลยแยกส่วน
    เพราะ กิเลส ตัณหา มันโผล่มาอาจจะไม่ทุกรูปที่เห็น ประมาณนั้นครับ


    โดยรวมผมค่อนไปทางเข้าใจว่า สมาธิ กับ ปฏิภาณ นี้มันก็คงจะทำงานร่วมกัน

    สมาธิคือสิ่งที่หนุนปฏิภาณ แต่บางทีการแก้ปัญหาอะไรๆ
    ได้ก็รู้สึกเหมือนไม่ต้องใช้สมาธิอะไรเลยก็มีอีกแบบนี้


    ผมเลยสงสัยว่าแท้จริงแล้วอะไรคือกำลังของปฏิภาณไหวพริบ
    ต้องมีอาหารถึงจะแข็งแรง อาหารภายนอก อาหารภายใน
     
  5. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    ผมยัง งง กับภาษาของท่านพอประมาณเลยหละ ไม่ฉวยจิต ด้วยสติ สัมปชัญญะ

    โดยความเข้าใจผม สติ กับ จิต ก็อันเดียวกันนี้หละครับ

    หากจะแบ่งสติ สติทางร่างกายก็สมอง หากเป็นสติภายในก็คือจิต
     
  6. Rogulair

    Rogulair Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +53
    ถ้ามีสติเป็นสมาธิแล้วรู้ก็เข้าใจไวครับตามกำลังสติ ถ้ามีสติแต่ไม่เป็นสมาธิพอที่จะรู้ก็จะช้าถึงช้าที่สุด สรุปคือ มีสติรู้แล้วจะไวขึ้นเรื่อยๆครับ รับรู้แล้วคิดได้เองประมานนั้น, รู้อย่างมีสตินะครับถ้ารู้แบบไม่มีสติก็จะเกินคำว่าช้าไปเรื่อยๆ.

    ร่างกายกับจิตนี่ผมว่ามีความสัมพันธ์กันและแสดงออกแยกกันได้ครับ สรุปคือ ร่างกายรู้สึกอย่างไรก็ตามนั้นแต่จิตรับรู้ได้มากกว่าซึ่งจะไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกทางร่างกายก็ได้, ต้องพึงระวังว่าอาจไม่เป็นตามจริงได้ครับ.
     
  7. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,493
    ค่าพลัง:
    +2,364
    ข้อนี้ ด้วยเหตุว่า "ตัวดู ปรุงแต่งกับสิ่งใดๆก็ตาม เมื่อปรุงไปเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดอาการลังเล/สงสัย เมื่อนั่งสมาธิ ตัวดูจดจ่อกับสิ่งๆเดียว จึงไม่เกิดอาการลังเลสงสัยขึ้น มันก็เป็นเช่นนี้แหละครับ

    การแก้ปัญหาทุกสรรพสิ่งมาจาก สติ(รู้อยู่) และการรู้อะไรได้เร็ว(เข้าใจไว) ก็มาจากกำลังสติ ไม่ว่าจะทางโลกทางธรรมทั้งหมด

    เมื่อดำรงสติ(รู้อยู่)ได้ เมื่อกายเวทนา(ความรู้สึกตัว)เหนื่อยหรือล้า ก็รู้เองว่านี่ล้าแล้ว เหนื่อยแล้ว หรือเวลานั่งสมาธิก็ตาม คนปรกติที่ฝึกมาแบบ ฌานฤาษีก็จะไม่รู้อะไรเลย เหมือนเวลาตั้งใจทำงานก็จะไม่สนใจไม่รับรู้สิ่งรอบข้าง ซึ่งเป็นมิจฉาสมาธิตั้งแต่ต้น แต่หากเรามีสติอยู่ก็ย่อมรู้เนื้อต่างๆ เวลาดำรงอยู่ในสภาวะนั้นๆได้ เช่น สภาวะเฉย เนื้อกายของกายเวทนาเป็นอย่างไร เมื่อปิติมันเป็นยังไง ขณะที่พวกฌานฤาษีจะไม่รู้ไม่หือไม่อือ เช่นกรณีที่เขานั่งสมาธิกันอยู่แล้ว มีเด็กมาเล่นเสียงดังจึงโดนด่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพระพุทธองค์สอนว่า "ภิกษุจงดำรงตนด้วยความไม่ประมาทเถิด" หากต้องหลับตาเข้าสมาธิ เวลามีอะไรรบกวนก็เข้าไม่ได้ แต่คนที่ฝึกดีแล้วแม้เดินอยู่ก็เข้าฌานได้ นี่แหละจึงนับว่า "ไม่ประมาทของจริง"

    ส่วนในกรณีของการเรียนรู้ทางโลกทั้งมวล(ท่องจำ,คำนวณ) พวกนี้เกี่ยวกับ มโน/วจีจิตตสังขารขันธ์ทั้งหมด เพราะต่อให้เรารู้อยู่ แต่เราก็ไม่รู้อยู่ดีว่าที่มโน(คิด)ขึ้นมานั้นมันใช่ไหมกันแน่ ดังนั้นการเรียนรู้ทางโลกมันเกี่ยวกับความเข้าใจมากกว่า แต่สติก็ช่วยได้ ไม่ให้เครียดและเพ่งจนทุกข์มากไปนั่นแหละครับ
     
  8. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    สติตั้งมั่น(สมาธิ) + สัมปชัญญะ(ปัญญา)
    + การแก้ปัญหาตามความเป็นจริงที่มีมา(ปฏิภาณไหวพริบ)

    ความไว ความช้า ของปฏิภาณไหวพริบ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
    ของ สติตั้งมั่น(สมาธิ) + สัมปชัญญะ(ปัญญา) ที่มีมา

    ประมาณนี้ใช่มั้ยครับ ?
     
  9. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,493
    ค่าพลัง:
    +2,364
    สติ = รู้ , สมาธิ = เพ่ง , สัมปะชัญญะ = ความรู้สึกตัว

    สติคือ รู้อยู่ ทั้งภายนอก(สภาวะข้างนอกของกาย เช่นอากาศร้อนอากาศเย็น,ลมกำลังพัดโดนตัว) และ กายเนื้อ และ ความรู้สึกตัว(กายเวทนา,สัมปะชัญญะ) และตัวดู ซึ่งทั้งหมดมันแยกกัน เมื่อเรามีสติ ดีย่อมรู้ทั้งหมด ว่าขณะนั้นสภาวะข้างนอกเป็นอย่างไร กายเวทนามีเนื้อกายเป็นอย่างไร(เช่นเวลาเครียดกายจะหนัก เวลาโกรธกายจะซุ่ซ่าร้อนระอุ) และขณะนั้นตัวดูเพ่งไปที่อะไรอยู่

    ดังนั้น การแก้ปัญหาตามความเป็นจริงที่ปรากฏนั้นใช่ครับ(ในกรณีทางธรรม) เพียงแค่รู้อยู่ทุกปัญหาทางธรรมโดนแก้ได้ และไม่มีรู้ช้ารู้เร็ว เพราะสภาวะธรรมปรากฏอยู่แล้วหากยังดำรงสติมั่นอยู่

    ส่วนทางโลกนั้นความไวความช้า ขึ้นอยู่กับ สติ และ มโน(ความคิด)ที่ได้รู้มาจากการเรียนรู้(ทางโลก) จนเกิดความเอะใจ แต่โดยรวมแล้วเกี่ยวกับสติทั้งหมดเพราะ หากเพ่ง(สมาธิ) ไปที่ไหนก็จะดูแต่จุดนั้น ยกตัวอย่างเช่นแค้นชาวบ้าน มันก็เป็นสมาธิ เพราะเพ่งแต่เขา และเพ่งโทษ จนไม่สนอะไร เวลาทำงานก็เพ่งแต่จุดนั้นๆจุดอื่นที่มองข้ามไปจึงไม่ได้แก้ไข ดังนั้นสตินี่แหละที่ช่วยในการเอะใจได้เร็ว เพราะไม่ได้่ยึดอยู่กับสมาธิครับผม
     
  10. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ปฏิภาณทางธรรม
    ขึ้นอยู่กับกำลังสติทางธรรม
    ที่ได้จากการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
    ด้วยวิธีอะไรก็ได้ขอให้มีฐานอยู่ที่กาย

    สติทางธรรม. คือ เครื่องมือที่ใช้ควบคุม
    ความคิดและพฤติกรรมของจิต
    เพื่อให้จิตค่อยๆ ละ ค่อยๆคลาย
    ความคิด ตลอดจนขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม
    (ความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ)
    ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เรา
    เข้าใจกิริยาทางด้านนามธรรม
    ต่างๆ เช่น อารมย์ต่างๆ
    และ อาการที่เจอในสมาธิฯลฯ



    และสามารถ รวดเร็วขึ้นได้ มีมากขึ้นได้
    เรื่อยๆจากการเจริญสติให้ต่อเนื่อง
    เพิ่มขึ้นจริงๆให้ได้ตลอดทั้งวัน
    ไม่เว้นแม้แต่ช่วงเอี่ยว
    หรือช่วงเวลาที่ทำอะไรเป็นปกติจนเคยชิน
    เช่น เดินไปเข้าห้องน้ำ ไปทานข้าว
    ไปทำธุระส่วนตัว ฯลฯ

    แต่การที่กำลังสติทางธรรมนี้
    จะพัฒนาไปถึงขั้นมหาสติได้
    จำเป็นที่จะต้องเดินปัญญามาก่อนระยะหนึ่ง
    จนเกิดเป็นปัญญาทางธรรมขึ้นมาได้
    เพียงพอที่จะตัดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
    ให้ได้ก่อน

    แล้วเข้าไปเพิ่มการสังเกตุ
    ช่วงระยะเวลาก่อนที่ปัญญาทางธรรม
    จะตัดเรื่องนั้นๆให้ทันให้ได้
    (ปกติช่วงนี้จะเร็วมากประมานวิสองวิ)
    ถ้าสังเกตุเห็นช่วงระยะเวลาที่ปัญญาทางธรรมจะตัดตรงนี้ ได้บ่อยๆ กำลังสติ
    จะพัฒนาเป็นมหาสติได้เอง


    เมื่อมีกำลังสติทางธรรมตรงนี้
    ซึ่งเป็นเครื่องมือทางนามธรรมตรงนี้แล้ว
    มันก็จะส่งผลต่อเนื่องมายังร่างกาย
    ได้ของมันเองตามธรรมชาติ
    เพราะมันอาศัยซึ่งกันและกันอยู่
    นั่นเองครับ

    เครื่องมือตัวนี้นี่หละครับ
    เรื่องจากมันส่งผลในการเข้าใจ
    กิริยาต่างๆทางด้านนามธรรม
    ซึ่งเรามักจะพบเจอในขณะที่
    ฝึกกรรมฐานกองต่างๆ
    ซึ่งอย่าลืมว่า มันเป็นควบคุมความคิดและพฤติกรรมของจิต(มีน้อย เราจะยึด จะหลง
    ทำให้ช่างสงสัย อยากรู้คำตอบสิ่งที่สัมผัสทางด้าน
    กิริยาทางนามธรรมต่างๆเพราะขาดการควบคุมตรงนี้ )
    ดังนั้น สติทางธรรม
    มันจึงเป็นตัวหนุนส่งที่สำคัญ
    ต่อการฝึกกรรมฐานกองนั้นๆ
    ถึงขั้นที่สำเร็จจนนำมาใช้งาน
    ในชีวิตประจำวันได้นั่นเอง


    เพียงแต่นักปฎิบัติใหม่ๆ
    ไปหวังจะมองเอาแต่ผลสำเร็จ
    ที่ตำราเขียนบอกมาว่าทำอะไรได้บ้าง
    ไปหวังแต่ในระดับกำลังที่สูง
    โดยหวังว่าจะทำให้ตนเป็นผู้วิเศษ

    โดยมองข้ามพื้นฐานตรงนี้
    เพราะถ้าให้ใครฟัง
    เรื่องการเจริญสติแล้ว
    มันดูไม่หล่อ
    ไม่เท่ห์ ดูเป็นคนธรรม
    ดูไม่เป็นผู้วิเศษ


    สุดท้ายเลยเป็นที่มา
    ของการหลงตัวเอง
    ว่าตนมีดีกว่าใคร
    เข้าใจว่าตนวิเศษกว่าใคร
    นึกไปว่าตนบรรลุโน้นนี่นั้น
    จากการได้พบกิริยาระหว่างทาง
    ที่มันไม่มีประโยชน์อะไร


    โดยลืมว่า กำลังสติทางธรรมนั้น
    มันมีหน้าที่ควบคุมตรงนี้
    ให้ละให้คลาย

    เป็นที่มา ของคำว่า เคยๆในอดีตทั้งนั้น
    รู้ไปทุกเรื่อง โดยอาศัยสัญญา ความจำ
    อ้างตำราเสริม อ้างครูบาร์เสริม แต่ไม่เคยเข้าถึงสภาวะทางนามธรรมจริงๆ
    และไม่เคยฝึกสำเร็จ
    และใช้งานได้จริงเลย
    ซักกรรมฐานนั้นหละครับ
    ไม่ว่าจะฝึกมากี่สิบปี

    ที่สำคัญพฤติกรรมทางจิต
    ก็ไม่ได้ดีขึ้นด้วย
    เช่น เห็นใครดีกว่าไม่ได้
    ชมใครไม่เป็น ชอบสร้างภาพยกตน
    ชอบแนะนำเชิงดูถูกยกตนข่มท่าน
    เพราะคิดว่าตนเก่งกว่า
    ขี้อิจฉา อยากให้คนมองว่าตนวิเศษ
    อยากให้คนเห็นว่าตนมีคุณธรรมสูง
    สร้างตนเป็นครู เป็นปรมาจารย์
    เพราะติดในการสรรเสริญ เยินยอต่างๆ
    เรียกสรุปว่า สร้างให้มีทั้งหลายนั่นหละครับ

    พวกนี้เหตุเพราะมองข้าม
    เรื่องสติทางธรรมทั้งนั้นครับ




    ปล แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ปฏิภาณ ชี้ถึง "ความว่องไว ในการ Take Reaction ต่อสถานการณ์ ได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น"
    +++ อะไรเป็นกำลัง คำตอบโดยคร่าว ๆ คือ "วสี + ประสพการณ์"


    +++ ปฏิภาณทางร่างกาย กล่าวโดยรวม คือ "การเคลื่อนกาย โดย สัญชาติญาณ" จิตเคลื่อนร่าง ฯลฯ

    +++ ปฏิภาณทางจิต กล่าวโดยรวม หมายถึง "ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ"
    +++ แตกฉานในการกล่าวถึงสภาวะธรรม สามารถ สรุป หรือ ขยาย เพื่อให้ผู้ฟัง เข้าใจได้ตรงประเด็น

    +++ "วสี + ประสพการณ์" อยู่ในระดับ "เจโตปริยะญาณ (รู้วาระจิตของตน)"
    +++ สามารถหยิบ สถานการณ์ในปัจจุบัณขณะ มาแสดงธรรมได้ "ในปัจจุบัณขณะ"
    +++ อาการจะเป็นแบบ "กิริยาจิต หรือ จิตผุด" ตามตัวอย่างข้างล่างนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...