ความหมายของคำว่า สภาวะหรือสภาวะธรรมคืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 31 ตุลาคม 2018.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ผู้เริ่มต้นศึกษาการเจริญจิตภาวนาต้องอยากทราบแน่ๆ ว่าสภาวะธรรมคืออะไร
    หรือหมายถึงอะไร ใช่ไหมครับ
    เรามานั่งรอฟัง
    ผู้มาโปรดด้วยกันฮับ
     
  2. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    อุ้ย ไม่ใช่ผู้มาโปรดนะคะ เห็นหัวข้อกระทู้น่าสนใจดีสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาธรรม

    ขอแสดงความเห็นเรื่องสภาวธรรม ความหมายของสภาวธรรม ตรงนี้ค่อนข้างละเอียดเป็นปรมัตถธรรม การเกิดขึ้นของสภาวธรรม องค์ประกอบเมื่อรวมกันแล้วจึงเกิดเป็นสภาวธรรม หลักๆ เลย ได้แก่ จิต เจตสิก รูป

    ส่วนที่เป็นสภาวธรรม ขอเรียกเป็นการส่วนตัวว่า วิบาก นะคะ สภาวจิต สภาวธรรม ก็คือผลของการรวมกันระหว่างจิต เจตสิกและรูปธรรม จึงเกิดขึ้นเป็นสภาวะตามอำนาจของกุศล หรืออกุศล ณ ขณะจิตนั้นๆ อันนี้เป็นนามธรรมค่ะ

    จิตเสวยวิบาก คงต้องไปดูเรื่องวิบากจิต 36

    หากไม่ถูกต้อง ครอบคลุมอย่างไร ต้องขอคำชี้แนะด้วยค่ะ

    เจริญในธรรม
     
  3. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    555 มือใหม่หัดขับ ต้อง
    หลับในตกถนนไหมฮับ ยากมากที่จะเข้าใจ
    รอผู้มาโปรดท่านต่อไป
    คับผม
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ขอท่านอนัตตาโปรดอีกสักรอบคับ
     
  5. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    อย่าเรียกว่าโปรดเลยนะ เรียกว่าแบ่งปันกันดีกว่าค่ะ:)
    ได้แค่นั้น:(
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ท่านลุงแมว
    ธรรมะเป็นสภาวะธรรม
    เป็นนามธรรมนะครับ
    ดังนั้นจึงเขียน
    ออกมาเป็นตัวอักษร
    ไม่ได้ครับ

    เพราะถ้าเป็นตัวอักษรเมื่อไร
    จะกลายเป็นพระธรรม
    เป็นตำราขึ้นมาทันที
    ซึ่งสามารถที่จะจารึกได้ บันทึกได้
    ท่องจำได้ และเขียนให้เพี้ยน
    แปลเปลี่ยนได้ ตามกิเลส
    และการปฎิบัติแห่งตนเองครับ

    และสภาวะนั้น ก็หาที่ใคร
    จะมาทำให้แปลเปลี่ยนได้
    เฉกเช่นพระธรรมครับ

    ดังนั้นเมื่อสภาวะเป็นนามธรรม
    มันจึงเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนเอง
    หากเมื่อไรที่มีการเขียนบันทึก
    ก็จะกลายเป็นรูปธรรมขึ้นมาทันที

    ตรงนี้ เราต้องพิจารณาดีๆ
    ว่าเราเข้าถึงสภาวะที่เป็นธรรมะ
    เป็นนามธรรมอยู่
    หรือเราเผลอสร้างพระธรรมขึ้นมา
    ที่เป็นนามธรรมครับ


    ปล ฝากให้พิจารณา
    แต่ไม่ต้องตอบนะครับ
    ฝากไว้ในใจตนเอง
    ว่าพระพุทธฯ พระองค์ ท่านนั้น
    ท่านบรรลุธรรมจากธรรมะ
    หรือพระธรรม ครับ

    จะเข้าใจโลกได้กว้างขึ้นอีกครับ
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    จา
    ท่านNopphakan เขียนยาวอีกหน่อย
    ก็จะเป็นคำอธิบายที่เข้าใจได้อยู่
    แค่ทำใจเบาๆ แล้วเขียนต่ออีกไม่กี่บรรทัด
    ก็จะเป็นคำตอบแบบปัจจัตตังที่ว่าคับ
    เพียงแต่มีถ้อยคำว่าสภาวธรรมมีความหมายลึกซึ้งทั้งทางกว้างและเจาะจง
    หลายระดับขึ้นอยู่กับ
    ผู้ปฏิบัตินั้นๆกำลังปฏิบัติอยู่ในระดับใด
    ต่อเลยฮับ
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    อ้าวอภัย เผลอตอบไปแล้วคับผม
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ท่านลุงแมวครับ ในภาพรวมนะครับ
    โดยสรุปนะครับ
    สภาวะธรรมที่เป็นนามธรรมเหล่านี้
    รู้ไหมว่าทำไมเราถึงมีคำสมมุติว่า
    หลายระดับครับ
    ทำไมไม่บอกว่า บรรลุธรรมะเข้าใจ
    สภาวะไปเลยแค่คำเดียวจบ

    เพราะว่า ถ้ายังมีระดับ แสดงว่ามันยังมี
    ขอบเขตให้เราจับได้ เห็นได้ อยู่นั่นเอง

    อย่างสาวกมีชื่อใกล้ชิด บางท่านในอดีต
    เวลาบรรลุธรรม เป็นะระอรหันต์
    ทำไมถึงตามมาด้วยความสามารถถ้า
    แบบใช้งานได้เลยทาง
    วิชาสาม และปฎิสัมภิทาญาน ๔
    ทำไม บางท่านถึงเข้าถึงสภาวะ
    เป็นระดับโน้นนี่นั้นอยู่

    เพราะแท้จริงแล้ว การที่จะเข้าใจ
    สภาวะทางนามธรรมนั้น มันเป็นสภาวะ
    ที่จิตมันค่อยๆส่งตัวมันเอง กลับคืนสู่
    ธรรมชาติเดิมแท้ของมันเอง

    ด้วยการที่มัน เริ่ม
    คลายความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ
    จากตัวโทสะ โมหะ โลภะ ในจิตที่จะไป
    ในลาภ ในยศ ใน สุข สรรเสริญ
    ไม่ว่า จะมีเหตุมาจากอุบายทางด้าน
    ใดๆมาก่อนก็ได้
    ที่มีปัญญามากพอ
    ที่จะทำให้จิตเห็นว่า
    เรื่องเหล่านี้มันเป็นทุกข์
    หรือให้จิตได้รอบรู้ในกองสังขาร
    หรือกระบวนการปรุงแต่งเหล่านั้น
    ในเรื่องนั่นๆนะครับ

    จิตก็จะเริ่มคลายตัวเองโดยธรรมชาติ
    คือไร้รูปร่าง ไร้ทิศทาง เพราะมันไม่มี
    อะไรมาทำให้มันเกิดได้ ณ ช่วงเวลานั้น
    เมื่อจิตคลายตัวแล้ว สิ่งที่ในอดีตมันเคย
    สร้างสะสมมา ก็จะค่อยๆขึ้นมาได้
    เนื่องจากไม่มีอะไม่ปกปิดมันไว้
    เหมือนสภาวะปกติ ที่จิตถูกปิดบังด้วย
    สมาธิ สัญญา กำลังจิต สภาวะเฉย
    สภาวะนิ่ง หรือทุกการกระทำต่างๆ
    เป็นเหตุที่มาของการเข้าถึง สภาวะธรรม
    ตามที่ตนได้เคยสะสมมาดังเช่น
    ความสามารถที่ผุดมาเช่นกันครับ

    แต่จิตใครจะขยายได้กว้างแบบไร้ขอบ
    เขตและนานเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับบารมีครับ
    บารมีก็มาจากสิ่งที่จิตได้เคยสร้าง
    สะสมมา พวกนี้เป็นบารมีขยายไปภายนอก
    ดังนั้นการสร้างสมเหล่านี้ ตึงเป็นการสร้าง
    ที่จิตนั้นไม่ได้ยึดเกาะอะไรเลยกับสิ่งที่ตนสร้างครับ มันถึงจะเกิดได้

    ท้ายนี้ ก็ขึ้นอยู่กับอุบายของแต่ละดวงจิต
    ที่จะเป็นเหตุให้ระยะเวลาการคลายตัว
    แบบไร้รูปร่างตามธรรมชาติ นั้น
    เกิดขึ้นได้นานแค่ไหน จนถึงขั้น
    ที่คลายตัวได้จนไม่มีอะไรมาทำให้จิต
    เกิดได้อีกนั่นหละครับ

    อุบายของแต่ละดวงจิตที่สะสมมา
    ในชาตินี้ต่างหากที่แตกต่างกัน
    เราไม่สามารถ สรุปฟันธง อะไรได้เลยครับ
    เพราะแต่ละดวงจิตเก็บข้อมูลมาไม่เหมือนกัน
    ถึงได้บอกว่า สภาวะเป็นนามธรรม
    ไม่สามารถเขียนเป็นอักษรได้นั่นหละครับ


    ส่วนนี้แค่เล่าให้ฟังเฉยๆครับ
     
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ สภาวะหรือสภาวะธรรม = สภาพที่ มี/เป็น ณ ปัจจุบัณ สามารถ รู้/เห็น/สัมผัส ได้ด้วย "สติ"

    +++ ดำรงค์ "สติ" มั่น "รู้" ธรรม (สภาพที่ มี/เป็น ณ ปัจจุบัณ สามารถ รู้/เห็น/สัมผัส ได้) เฉพาะหน้า

    +++ ลงมือ "ทำ" เมื่อไร ก็จะ "รู้" ได้เอง นะครับ
     
  11. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    เป็นการบอกเล่า
    ที่ได้ลำ
    ดับสภาวธรรมจากประสบการณ์จริง
    ตั้งแต่ต้นไปจนถึงสภาวะสูญตา
    เลยทีเดียวคือจิตไม่เกิดอีก
    ผมฟังแล้วไตร่ตรองตามแล้ว
    เข้าใจว่างั้นเลยฮับ
     
  12. ไม่ใช่ตัวตน

    ไม่ใช่ตัวตน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2018
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    สภาวะธรรมตามความเป็นจริงของตนเองง ที่ไปรู้ในสิ่งนั้น สิ่งนี้จึงมี


    ตามความเข้าใจของตนแล้วจะไปบัญยัติสิ่งนั้นขึ้นมา
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ครับ เน้นว่าเป็นสภาพที่ปรากฏเฉพาะหน้า
    ขณะภาวนาเช่นสภาวธรรมของ
    ปฐมฌาน
    ทุติยฌาน
    ตติยฌาน
    ของผู้ปฏิบัติย่อมเจอสภาวะธรรม
    เเบบเดียวกันตายตัว
    ถ้าดำเนินไปด้วยสติ ถูกต้องไหมคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2018
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ไปบัญญัติคือการเก็บมาเล่าสู่กันฟังหรอเปล่า
    ฮับ
     
  15. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ไฟล์นี้ เคลียมาก ได้ทุกโอกาส

    หลักธรรมะ ที่เป็น คำสอน ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ดังที่เราได้ยิน ได้ฟังกันมา อันนี้เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง
    ทีนี้ ธรรมะ อันเป็น ฝ่าย สภาวะธรรม ซึ่งได้แก่ กายกับใจ นั้น
    นอกจากจะได้แก่ กายกับใจแล้ว ยังมี สถานะการณ์ แหล่ะ สิ่งแวดล้อม
    สิ่งที่เราประสพอยู่เป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของสภาวะธรรมทั้งนั้น

    โดยที่สุด แม้ วิชาความรู้ที่เราเรียนมา ไม่ว่าศาสตร์ไหน สาขาไหนทั้งนั้น
    เป็นเรื่องของ สภาวะธรรม

    รวมความแล้วว่า สิ่งใด ที่เราสามารถรู้กันด้วยจิตใจ
    สิ่งนั้น คือ ธรรมะ อันเป็นสภาวะธรรม เรียกกันว่า ธรรมะทั้งนั้น

    ถ้าเราทำความเข้าใจ ในธรรมะคำสั่งสอน
    ในสองแง่ สองประเด็น ในที่กล่าวมานี้
    เราจะเข้าใจแจ่มแจ้ง

    ทีนี้การเรียนธรรมะ หรือ การปฏิบัติธรรมะ
    การเรียนธรรมมะ ก็ คือ เรียนให้รู้เรื่องของกายแหล่ะใจ
    การปฏิบัติธรรมะ ก็ ปฏิบัติอยู่ที่กายแหล่ะใจ ไม่ใช่ที่อื่น

    เช่น อย่าง กาย เวทนา จิต ธรรม ในหลัก มหาสติปัฏฐาน
    ก็เป็นเรื่องของ กายกับใจ


    อ่านต่อที่นี่
    https://palungjit.org/threads/ธรรมะ-ธรรมชาติ-สภาวะธรรม-และการนำไปใช้-โดย-หลวงปู่-พุธ-ฐานิโย.288027/
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ในระดับปรมัตถ์เป็นเรื่องของรูปนาม
    ทั้งสิ้น
    ต้อง
    เป็นสภาวะที่เป็น
    นามธรรมทั้งหมดหรือเปล่าฮับ
     
  17. ไม่ใช่ตัวตน

    ไม่ใช่ตัวตน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2018
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    อ่านปุ๊บนึกถึงหลวงพ่อพุธเลย พอเลื่อนลงมาข้างล่างใช่เลย นั้นแหละ พอเราปฏิบัติธรรมมันจะแคบเข้ามา
    ถึงเรียก ปัตจัตตังนั้นเอง
     
  18. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ปรมัตถ์ก็มีหมดละครับ รูป จิต เจตสิก นิพพาน

    ในทางปฏิบัติ เมื่อถึง ปรมัตถ์กล่าวเฉพาะ รูป จิต เจตสิก ส่วนนิพพานเป็นผล
    ว่าโดยย่อ ก้เหลือแต่ รูปนาม

    บางอินทรี ละเอียดเข้าไปอีก ย่นไปได้ถึง รูปอารมณ์ กับจิต หรือ เจตสิก กับ จิต

    ตามความสมควรแก่ธรรมของอินทรี
     
  19. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เท่าที่ฟังหลวงปู่พุธมาหลายไฟล์ 98 เปอร์เซ็น ท่านสอนลงมาที่จิต โดยส่วนมาก
     
  20. &เมฆา

    &เมฆา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2017
    โพสต์:
    262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +610
    สภาวะธรรม ในขณะเริ่มปฏิบัติ จะหมายถึง การที่ผู้ปฏิบัติธรรม ได้เข้าถึงอาสวะกิเลส จึงเป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดขึ้นในใจ
    กิเลสจึงมีหลายระดับ ทั้งอย่างหยาบ คือ ล่วงออกมาทางกาย วาจา กิเลสอย่างกลางที่เกิดขึ้นในใจ แต่ยังไม่ล่วงออกมาทางกาย วาจา
    และกิเลสอย่างละเอียดที่ไม่ปรากฏให้รู้ได้ แต่ก็มีสะสมอยู่ในจิต ซึ่งอาสวะเป็นกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว ไหลไปตามสภาพธรรมประเภทต่างๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...