สมถะ ก็ใช้สัญญา..วิปัสสนาก็ใช้สัญญา..จะเถียงกันไปทำไม..?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วรณ์นิ, 13 มีนาคม 2019.

  1. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ทุกขั้นตอนที่พระพุทธเจ้าสอน..เรื่อง ฌาณ..เรื่องญาณ

    ฌาณคือสัญญามรรค ญาณคือสัญญาผล...สัญญาเกิดก่อนญาณ..(เปรียบเทียบสภาวะด้วยเหตุ ไปสู่ผล)

    ถึงที่สุดคือ สัญญานิโรธ....คือสัญญาดับ ..ไม่เหลือผล

    นั่นแล...
     
  2. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    คำพูดที่ว่า สมถะ ไม่ใช้สัญญา เพื่อให้จิตสงบ....ความสงบ นี่ก็สัญญาตัวเบ้อเร้อ..นี่คือสัญญา ชัดๆ

    จิตสงบ คือ สัญญา ชัดๆ ถ้าสัญญาที่มีก่อนมัน ..เรียกสัญญาเหตุ
    ถ้าความสงบคือปัจจุบัน เรียก สัญญาผล หรือ ผลของสัญญาก่อนหน้า
    ถ้าความสงบ ยังมีต่ออีก ความสงบตัวนี้ก็จะเป็นสัญญาเหตุ เพื่อ สัญญาผลตัวต่อไป...จนไปถึงที่สุดของสัญญา..เรียกว่า สัญญานิโรธ..จะไม่เหลือผล
     
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    นิวรณ์ห้า...ไป..ปราโมทย์
    ปราโมทย์..ไป..ปีติ
    ปีติ..ไป..กายสงบ
    กายสงบ..ไป..เสวยสุข
    เสวยสุข..ไป..จิตตั้งมั่น
    จิตตั้งมั่น..ไป..สงัดจากกามสงัดจากอกุศล....(บรรลุปฐมฌาณ) บรรลุคือ ผ่านเหตุมาแล้วและมี วิตก วิจาร ปีติสุข อันเกิดจากวิเวก อยู่...เพราะสัญญาที่เกี่ยวด้วยกามที่มีก่อนดับไป ผลคือปีติสุขที่เกิดแต่วิเวกย่อมมี ในปัจจุบันนั้น....สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เพราะสัญญาอย่างนึงดับไป เพราะการศึกษา(วิปัสสนา)



    เพราะวิตกวิจารสงบไป..ไป..เกิดสมาธิ
    สมาธิเป็นเหตุนำ..ไป..ผลคือปีติสุขอันเกิดจากสมาธิ
    ปีติสุขจากสมาธิ..ไป..ความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน..เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    (บรรลุทุติยฌาณ)..เพราะปีติสุขที่เกิดจากวิเวกดับไป เกิดปีติสุขอันเกิดจากสมาธิย่อมมีในปัจจุบัน..สัญญาอย่างนึงย่อมเกิดขึ้นเพราะสัญญาอย่างนึงดับไป เพราะการศึกษา(วิปัสสนา)

    เมื่อธรรมเอกผุดขึ้น.ที่เป็นปีติสุขจากสมาธิ
    ปีติสุขจากสมาธิ..ไป..สติสัมปชัญญะเสวยสุขจากอุเบกขา
    สติสุขจากอุเบกขา เพราะ ปีติจากสมาธิดับไป(บรรลุตติยฌาณ)
    เพราะปีติจากสมาธิในกาลก่อนดับไป สติจึงสุขด้วยอุเบกขาในปัจจุบันนั้น
    สัญญาอย่างนึงย่อมเกิดขึ้นเพราะสัญญาอย่างนึงย่อมดับไป เพราะการศึกษา(วิปัสนา)

    สติสุขเพราะอุเบกขา..ไป..สติละสุขละทุกข์ เพราะดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆได้
    เพราะไม่มีทุกข์ไม่มีสุข..สติจึงบริสุทธิ์อยู่(บรรลุจตุตถฌาณ)
    เพราะสติละสุขละทุกข์โสมนัสโทมนัสในกาลก่อนได้ สติจึงบริสุทธิ์อยู่ในปัจจุบันขณะ..เพราะสัญญาก่อนดับ สัญญานึงจึงเกิดขึ้น เพราะการศึกษา(วิปัสสนา)

    จิตหรือสติบริสุทธิ์อยู่..เพราะมีรูปสัญญา มีปฏิฆะสัญญา
    เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา ไม่ไส่ใจซึ่งสัญญาต่างๆ
    จึงเข้าสู่อากาศไม่มีที่สิ้นสุด (บรรลุอากาสานัญจายตนฌาณ)มีอารมณ์ว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
    อากาสานัญจายตนฌาณย่อมมีในสมัยปัจจุบันนั้น ..สัญญานึงดับไป สัญญานึงเกิดขึ้นเพราะการศึกษา(วิปัสสนา)

    เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌาณ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าสู่วิญญานัญจายตนฌาณ ซึ่งมีอารมณ์ว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด..(บรรลุวิญญานัญจายตนฌาณ) วิญญานัญจายตนฌาณย่อมมีในปัจจุบันนั้น เพราะสัญญานึงดับไป สัญญานึงจึงเกิดขึ้น เพราะการศึกษา(วิปัสสนา)

    เพราะก้าวล่วงวิญญานัญจายตนฌาณโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุอากิ
    ญนัญจายตนฌาณ ซึ่งมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไร ...เพราะวิญญายตนฌาณดับไป
    อากิญจายตนฌาณย่อมมีในสมัยนั้น เพราะสัญญานึงดับไป สัญญานึงจึงเกิดขึ้นเพราะการศึกษา(วิปัสสนา)

    ยังมีต่อ ไป...การเข้าอภิสัญญานิโรธ...

    (ขอโทษ ..มักพิมพ์ผิด แก้แล้ว....ฌาณคือเหตุคือมรรค ญาณ ปัญญาคือผล)

    ขอแก้ไขเพิ่มเติมนะครับ
    คือต่อจาก อากิญจัญญายตนะ ถ้าก้าวล่วงความไม่มีอะไร ก็จะเข้าสู่ เนวาเนวะสัญญายตนะ คือ....การรู้ที่ขาดๆหายๆ ไม่แน่ใจว่า รู้ มันมาจาก ไหน ..รู้มาจากสัญญาหรือ รู้มาจาก..อัตตา ครับ

    ย่อๆคือ (รู้อากาศความว่างไม่มีที่สิ้นสุด).. (วิญญาณรู้ไม่มีที่สิ้นสุด) ..(สิ้นสุดการอยากรู้แต่ยังมีรู้อยู่)...(ไม่แน่ใจว่ารู้มันมาจากไหน.แล้วหาทางดับสัญญาดับอัตตา)..

    ค่อยไป เข้า อภิสัญญานิโรธครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2019
  4. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    ตื่นมา... ก็สัญญาใจ

    :D
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    กำลังใจ..มาแว้วววววว..จากท่านอาจารย์...รักนะ จุ๊บุ๊ๆ

    ...
    การเข้าอภิสัญญานิโรธ..

    เมื่อผ่าน สัญญาเหล่าหยาบ (นิวรณ์ห้า)
    เข้าสู่หรือบรรลุ ปฐมฌาณ ทุตยฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาณ...ไป..อากาสานัญจายตนฌาณ วิญญานัญจายตนฌาณ อากิญนัญจายตนฌาณ....(เหล่านี้คือสัจจสัญญาอันละเอียด)

    เมื่อเธอตั้งอยู่ใน อากิญจัญญายตนฌาณ...ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า..
    เมื่อเราคิดอยู่ ก็ยังชั่ว ..เมื่อเราไม่คิดอยู่ จึงจะดี แต่ถ้าเรายังขืนคิดขืนคำนึง สัญญาฌาณเหล่านี้ทั้งหลายพึงดับ..สัญญาอย่างหยาบเหล่าอื่นพึงเกิดขึ้น ถ้ากระไร เราไม่พึงคิดไม่พึงคำนึง (ครั้นเธอปริวิตกอย่างนี้แล้ว เธอก็ไม่คิดไม่คำนึง)
    เมื่อเธอ ไม่คิด ไม่คำนึง สัญญาเหล่านั้นก็ดับไป สัญญาเหล่าหยาบอย่างอื่นก็ไม่เกิดขึ้น เธอก็ได้บรรลุนิโรธ.

    มีถามตอบ.ต่อ.

    ข้าแต่พระองค์ ท่านได้บัญญัติ อากิญนัญจายตนฌาณ ไว้อย่างเดียวหรือหลายอย่าง.?
    (อย่างเดียวก็มี หลายอย่างก็มี)
    ข้าแต่พระองค์ ทำไมอย่างเดียวก็มี หลายอย่างก็มี.?
    (บรรลุนิโรธด้วยประการใดๆเราก็บัญญัติอากิญนัญจายตนฌาณด้วยประการนั้นๆ)
    ข้าแต่พระองค์ สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลังหรือว่าญาณเกิดก่อนสัญญาเกิดทีหลัง..(ฌาณคือมรรค ญาณคือผล)
    (สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะสัญญาเกิดขึ้นญาณถึงเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้นเพราะสัญญาเป็นปัจจัย)
    ((ส่วนตัว..เพราะลบสมมุติ สมมุติหาย จึงปรากฏวิมุติ เพื่อ ให้เห็นภาพชัดเจน))

    ว่าด้วยสัญญา และ อัตตา

    ข้าแต่พระองค์ สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ หรือสัญญาอย่างนึง อัตตาอย่างนึง.?
    (ท่านต้องการอัตตาเช่นไร)...ต้องการผล เช่นไร.?
    ข้าแต่พระองค์ ต้องการอัตตาหยาบๆ ที่มีรูปร่างประกอบด้วย ดินน้ำลมไฟ ที่บริโภคกวฬิงการาหาร(คืออาหารทั่วไปที่กลืนกิน ที่เกิดจากธาตุดินน้ำลมไฟ)
    (อัตตาแบบนี้หยาบ ประกอบจากดินน้ำลมไฟ กินดินน้ำลมไฟ แบบนี้ สัญญาจักเป็นอย่างนึง อัตตาจักเป็นอย่างนึง) ..พึงละ พึงเว้น เพราะมันจะไม่ไช่มนุษย์ อาจเป็น ต้นไม้ เชื้อรา สัตว์เซลล์เดียว..

    ข้าแต่พระองค์ ถ้าต้องการอัตตาที่สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง .?
    (แบบนี้ อัตตาของท่านก็สำเร็จด้วยใจ เช่นนี้ ท่านมีสัญญาอย่างนึง อัตตาอย่างนึง)

    .......((เพราะ รูปกาย เกิดจากสัญญาอย่างนึง(อาหารสี่ที่เสพที่บริโภค มี คำข้าวอาหารทั่วไป มีผัสสะที่เป็นอาหารกาย มีอารมณ์ที่เป็นอาหารใจ มีสัญญาที่เป็นอาหารของวิญญาณ)... ส่วนอัตตาคือตัว ที่หลงที่เสพที่บริโถค เป็นอัตตาอีกอย่างนึง(คือ กายใจ)))....

    ข้าแต่พระองค์ ถ้าต้องการอัตตาที่ไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา.?
    (แบบนี้เป็นอัตตาที่ไม่มีรูป สัญญาของท่านเป็นอย่างนึง อัตตาเป็นอย่างนึง)
    .........((สัญญาคืออาหารของอัตตาที่เป็นวิญญาณ)).....

    ข้าแต่พระองค์ ข้าพเจ้าอาจทราบข้อนี้แล้วว่า....
    สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ หรือ สัญญาเป็นอย่างหนึ่ง หรือ อัตตาเป็นอย่างหนึ่ง

    เมื่อข้าพเจ้ามีความเห็นไปอย่างหนึ่ง หรือ มีความพอใจไปทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่ง มีความพยายามไปทางหนึ่ง มีความเชื่อ(ศรัทธา)ลัทธิของอาจารย์ไปทางหนึ่ง...จึงยากที่จะรู้และเข้าใจ ได้ว่า...สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ(มนุษย์) หรือสัญญาอย่างหนึ่งอัตตาอย่างหนึ่ง.ทั้งหมดล้วนไม่เที่ยง....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2019
  6. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    11:59 - 12:01
     
  7. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    อัตลักษณ์เที่ยงแท้ ผุดขึ้นมาคำหนึ่ง....
     
  8. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ความจริงไม่เคยพูดว่าตัวมันเองเป็นอะไรครับ มีแต่เราที่เป็นผู้คิดวิเคราะห์บัญญัติตัดสินเอาเองอยู่ฝ่ายเดียวทั้งนั้น ดังนั้นปัญหาไม่ได้อยู่ที่ใครอื่น อยู่ที่ตัวเราเองเป็นผู้กระทำเอง ก็อาศัยเท่าทันเหตุปัจจัยในจุดนี้เอาครับ ข้างหนึ่งก็โลกของสมมุติ อีกข้างเป็นความเป็นจริงจริงๆ ถ้าอยู่ตรงกลางได้สักหน่อยก็จะเห็นทุกข์และทางออกมีอยู่ชัดเจนครับ แต่ไม่ใช่หลุดผลั่วไปจิตจักรวาลนะครับ ตรงกลาง จะเห็นหญ้าปากคอกพอดี
     
  9. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ผมยังไม่เข้าใจครับ อาจารย์
    อะไร อัตลักษณ์เที่ยงแท้.?
     
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    12.00 ไม่เที่ยงเด้อ..ท่าน..มันต้อง..23.59..00.01 สิ

    เคยเห็นมั้ยครับ.. 00.00 น่ะ
     
  11. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    บุคคลที่ท่านวรณ์นิเรียกขานว่า อาจารย์นี่
    คงไม่ธรรมดา เห็นทีจะต้องฟอลโล
    แต่นานๆ จะโชว์ซักครั้ง
     
  12. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ถึงทั้งหมดจะไม่เที่ยง ( 00:00 )แต่ถ้ารู้เท่าๆ
    กันก็ดี จะได้ไม่มีงานเถึยง 555
     
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    คุณขจรศักดิ์ขอรับ

    0.00 นี่ค้างเติ่ง.... หรือว่า แผลบเดียว
    ก้เคลื่อนดับ ดัง พยับแดด ( ปรากฏ
    การณ์ mirrarge ).....ขอรับ ?
     
  14. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    ที่กล่าวมาทั้งหมดครับลุง

    อันหมายถึง เครื่องจำ...อันยังผลที่แน่นอน ครับ
     
  15. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    จะดีหรือครับ? เด็กไก่กาแบบผม ไม่มีอะไรจะโชว์หรอกครับ
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    กรุณาโชว์บ่อยๆ เพื่อสงเคราะห์เวไนยฯด้วยครับ
     
  17. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    ความรู้สึกที่ถ่ายทอดมาจากลุงแมว เหมือนถูกขอให้นิพพานเลยครับ

    เศร้าจัง เช็ดน้ำตาแป้บบบ... T~T
     
  18. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ถ้าเข้าถึงใจได้ก็ถึงพระนิพพานได้ฮับ
    แต่ส่วนใหญ่มาติดกับดักขันธ์ 5 และมัวง่วน
    อยู่กับจิตในชั้นวิญญาณขันธ์
    เมื่อปล่อยวางขันธํํ 5 ไม่ได้ก็ต้องรบกัน
    ทางความคิดอันมาจาก
    ความปรุงแต่งของจิตสังขาร
    ต่อเนื่องไปฮับ
     
  19. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    จริงเลยครับลุงแมว ยิ่งเรียนยิ่งจำ

    ยิ่งรู้มากขึ้น ก็ยิ่งละเอียด จนกลายเป็นเนื้อเดียวกันไป

    ทั้งนี้ คงอยู่ที่ตัวคนนั้น ละเนอะ ครับ
     
  20. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035

    คุณบัญญัติศัพย์ใหม่ หรือ กิริยาใหม่ ขึ้นมาบนโลกนี้หรือเปล่าครับ
    เรากำลัง
    พูดถึง โหมด สมถะ ใช่ไหม ไม่ใช่วิปัสสนานะครับ เอาแน่ๆอย่าปนกันนะครับ


    สมถะ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ
    https://th.wikipedia.org/wiki/สมถะ
    หรือ
    https://www.google.co.th/search?q=สมถะคือ&ie=&oe=
    สมถ-, สมถะ
    /สะมะถะ-/
    คำนาม
    1.

      • การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ, การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์
    หรือ
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/pk_kasem/pk-kasem_10.htm
    การเจริญสมถะ ก็คือการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งความสงบ



    ให้แง่คิด สัญญา แปลว่า อะไรครับ ? ถ้าทราบคำแปลแล้ว ให้มาดูต่อว่า
    คำว่า จิตสงบ เป็น กิริยาอย่างหนึ่ง ของจิต หรือ สัญญา ครับ ?

    ถ้าสมถะ แปลว่า
    สงบ
    สัญญา แปลว่า จำความได้, ความหมายรู้ได้ คือระบบความจำที่สามารถจำคน สัตว์ สิ่งของและเหตูการณ์ต่างๆ ได้ เช่น จำสิ่งที่เห็น จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำชื่อคน จำหนังสือ จำเรื่องในอดีตได้ว่าเป็นสีเขียว ไพเราะ หอม หวานเป็นต้น



    ลองค้นคว้า เพิ่มเติม ในโหมด คำว่า สมถะ ดูได้นะครับ





    https://th.wikipedia.org/wiki/สัญญา_(ศาสนาพุทธ)

    สัญญา
    (ภาษาสันสกฤต: สํชญา) แปลว่า จำความได้, ความหมายรู้ได้ คือระบบความจำที่สามารถจำคน สัตว์ สิ่งของและเหตูการณ์ต่างๆ ได้ เช่น จำสิ่งที่เห็น จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำชื่อคน จำหนังสือ จำเรื่องในอดีตได้ว่าเป็นสีเขียว ไพเราะ หอม หวานเป็นต้น เรียกภาวะที่มีความจำคลาดเคลื่อน จำผิดๆ ถูกๆ หรือมีสติฟั่นเฟือนเหมือนคนบ้าว่า สัญญาวิปลาส
    ทางพุทธศาสนา สัญญา คือขันธ์หนึ่งใน 5 ขันธ์ และเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง มี 2 ประเภทคือสัญญา 6 และสัญญา 10 ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าสัญญานั้นย้อนกลับไปได้ไม่สิ้นสุด เช่นเราลองนึกถึงตัวเราในอดีตที่กำลังเศร้ากับการกระทำที่ผิดพลาดของตนในอดีต ในสัญญาของตัวเราในอดีตก็มีเหตุการณ์ที่ตัวเราในอดีตขณะนั้นมีภาพตัวเราที่เป็นอดีตของอดีตตัวเราทำความผิดพลาดซ้อนอีกดังนั้นสัญญาจะมีลักษณะซ้อนทับกับไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด แต่ที่เราจำเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้ เพราะอำนาจสติมีกำลังน้อย อีกทั้งที่เราจำชาติก่อนไม่ได้เพราะ กฎแห่งวัฏฏะ คือ

    • เรามีอวิชชา เป็นกิเลสวัฏฏะ
    • ทำให้เกิดมโนกรรมคือมิจฉาทิฏฐิ
    • ทำให้เกิดวิบากกรรมคือจำชาติที่แล้วไม่ได้ เนื่องจากขณะจิตที่ดับจิตเป็นมิจฉาทิฏฐิ (ไม่รู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์คือดับกิเลสและทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์คือมรรคมีองค์ 8)

    สัญญา 6
    หมายถึง ความทรงจำมี 6 คือ

    1. จักขุสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางตา (ภาพ)
    2. โสตสัญญา (เสียง) สิ่งที่ทรงจำทางหู
    3. ฆานะสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางจมูก (กลิ่น)
    4. ชิวหาสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางลิ้น (รสชาติ)
    5. กายสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางกาย (ประสาทสัมผัส)
    6. มนสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางใจ (มโนสิ่งทรงจำทางใจมี 3 คือ 1.จำเวทนา 2.จำสัญญา 3.จำสังขาร 3 คือ 1.กายสังขาร (การบังคับร่างกาย) 2.วจีสังขาร (ความคิดตรึก ตรอง) 3.จิตตะสังขาร (อารมณ์ที่จรเข้ามาในใจ)
    สัญญา 10
    • อนิจจสัญญา พิจารณาว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เป็นอนิจจัง
    • อนัตตสัญญาพิจารณาว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ เป็นอนัตตา
    • อสุภสัญญาพิจารณากายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้
    • อาทีนวสัญญาพิจารณาว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ พิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้
    • ปหานสัญญาไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า ที่เกิดขึ้นแล้ว (พิจารณาเห็นว่าวิตกทั้งสองคือกามวิตก และพยาบาทวิตกคือการจองเวรเป็นเหตุให้จิตยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดและอวิหิงสาเป็นเหตุให้รับวิบากกรรมในขณะเวียนว่ายตายเกิด)
    • วิราคสัญญาพิจารณาว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง (อุปธิ = ที่ตั้งแห่งทุกข์ ) ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (ซึ่งก็คือสภาวะของพระนิพพานที่สัมผัสได้ในขณะที่มีชีวิตอยู่นั่นเอง )
    • นิโรธสัญญาพิจารณาว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (วิราคะ และนิโรธ ล้วนเป็นชื่อหนึ่งของพระนิพพาน โดยวิราคะเน้นที่ความสำรอกกิเลส คือการไม่ปรุงแต่งในสิ่งภายนอกราบเรียบเสมอกัน ส่วนนิโรธเน้นที่ความดับไม่เหลือของกิเลส คือการไม่ยึดติดในสิ่งภายในว่าไม่ใช่ตัวกูของกู)
    • สัพพโลเกอนภิรตสัญญา การกำหนดหมายในความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ละอุบายและอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิตย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น (การเห็นสิ่งที่ไม่งดงาม แต่สำคัญว่างดงามเพราะจิตเข้าไปปรุงแต่ง)
    • สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาการกำหนดหมายในความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง ความอึดอัด ระอา เกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง (การเห็นสิ่งทั้งปวงมีแต่แตกกระจายไป)
    • อานาปานสติ การนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
    หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2562 เวลา 15:53 น.
     

แชร์หน้านี้

Loading...