ปิติ หรือปรุงแต่ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยืนหนึ่ง, 29 สิงหาคม 2019.

  1. ยืนหนึ่ง

    ยืนหนึ่ง มารของเทพ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +18
    เราเป็นแค่นักปฏิบัติ ไม่เคยตกผลึกทางความคิดในหลักธรรมใด —- เริ่มปฏิบัติเพราะมีคนแนะ และอยากลอง—- กระทั่งเล่าอาการที่เจอให้นักปฏิบัติท่านหนึ่งฟังจึงรู้ว่านี่คือ ปิติ

    เมื่อรู้เท่านั้น เราเมาปิติไปพักใหญ่ ทั้งสวดสมาธิ108, จะเข้าสมาธิทั้งที่ลืมตาอยู่ร่ำไป—-

    พักหลังเริ่มสงสัย

    - หากหนึ่งในจุดหมายของการสวดสมาธิ คือการบรรลุรู้เห็นตามความเป็นจริง มองแบบไม่มี ไม่เป็นอะไร ไม่ตกอยู่ในห้วงอารมณ์ใด แค่มอง แค่ดูอย่างวางเฉย —- แล้วอย่างนั้น การรู้ซึ้งถึงปิติจึงไม่ใช่หนทางของการหลุดพ้นที่แท้จริงใช่ไหม?

    - หรือเมื่อเรารู้ว่านี่คือ ปิติ นั่นคือ ปิติ เราจึงปรุงแต่ง มโนจิตเอาเองว่าต้องรู้สึกแบบนี้จึงเป็นปิติแล้วอย่างไรคือปิติที่แท้จริง?
     
  2. ยืนหนึ่ง

    ยืนหนึ่ง มารของเทพ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +18
    ข้อ 3. โพสนี้นับคำว่า “ปิติ” ได้กี่คำ? 5555555+
     
  3. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    ปิติ ยังไม่พอ ต้องไป สุข

    แต่...

    พุทธศาสนา จะไม่เน้น สุข
    จะใช้ ปัสสัทธิ แทน

    เพราะ ถ้าใช้ สุข จะยิ่งกว่า
    เมาปิติ

    ดังนั้น ปัสสัทธิ นิรามิส ไม่มีอามิส
    จากสุข แต่กายเบา จิตเบา จึง
    เปนสิ่งที่ควร มนสิการ หรือ
    เข้าไปประจักษ์รสชาติ

    อย่างไรก้ดี ปัสสัทธิ เปนสิ่งที่มี
    จำเพาะใน พุทธกาล ดังนั้น ร้อย
    ละร้อย พอปิติเกิด จะผลิกไปเปน
    สุขแล้วก้ เมาสุข เสมอ ปัสสัทธิ
    กว่าจะ เกิดให้ทราบรส ไม่ง่าย..
    แต่ก้ไม่ยาก

    อย่างไร

    ปิติ เกิดจากเหตุ คือ สำรวมอินทรีย์
    แล้ว หน่วงเหนี่ยว ปิติ ด้วยความ
    ชำนาญ แล้วตามเหน คุณของปิติ
    คือ ย่อมห่างจาก กามสัญญา

    แล้วตามด้วยการเหนโทษของปิติ

    โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง

    แล้วตามเหนโทษของปิติ

    กล่าวคือ หากยัง เมาปิติ ก้ยังมี
    ภาระ หน่วงเหนี่ยวปิติ ซึ่งทำให้
    ตกไปสู่ "วิจาร" หรือ "วิตก+วิจาร"

    อีกทั้ง ปิติ มันจะ ยิบๆ ยับๆ เท้าบ้าง
    หัวบาง ทั้งลำตัวบ้าง วูบๆ วาบๆ ซ้าย
    ขวา บน ล่าง กวัดแกว่ง

    เมื่อตามเหนคุณของ ปิติ คือ รู้ชัดว่า
    จิตเปนกุสลแน่ๆ

    และ เหนโทษของปิติ คือ ไม่เที่ยง

    จิตจะวิวัฏไป ปัสสัทธิ ได้เอง

    จะต่างกับ สมาธิแบบบ้านๆ สมาธิที่
    มีมาก่อนพุทธศาสนา คือ แล่นไปสุข


    ปล. อย่าลืมว่า ร้อยละร้อย สุข
    หรือ เมาสุข จะพยายาม หว่านล้อม
    ครอบงำ กระซิบหลอกให้มุ่ง สุข
    อุเบกขา

    ดังนั้น จะต้อง ตั้งจิตให้ตรง ที่จะ
    เฝ้นธรรม ปัสสัทธิ ซึ่งจะมีโอกาส
    ปรากฏน้อยมาก และ จะดับลง
    ณ ปัจจุบัน ต่างจาก สุข อุเบกขา
    ที่จะมีอาการ เมา คือ แล่นไปใน
    สุขในอดีต สุขในอนาคต อุเบกขา
    ในอดีต อุเบกขาในอนาคต

    จนละเลย ปัสสัทธิ ที่มี ผลเฉพาะ
    ใน ปัจจุบันณธรรม เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2019
  4. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    upload_2019-8-29_20-48-33.png
     
  5. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    [226] ปีติ 5 (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ — joy; interest; zest; rapture)
    1. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล — minor rapture; lesser thrill)
    2. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ — momentary or instantaneous joy)
    3. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง — showering joy; flood of joy)
    4. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ — uplifting joy)
    5. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ — suffusing joy; pervading rapture)
     
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ที่เล่า มา มันก็คือ ปีติ ที่แท้จริง

    การน้อม แล้ว นึก ปีติ จะเกิดทัน ที
    อันนี้เรียกว่า เป็น วสี คือ มีความชำนาญ หรือ อาจจะเริ่มมีความชำนาญ

    พอ น้อม นึก ปั๊ป ปีติ จะมาซ่าบซ่านทันที

    องค์ประกอบ ของ ฌาน จะมี
    วิตก
    วิจาร
    ปิติ
    สุข
    เอกัคคตา

    เมื่อ ปีติเกิดขึ้น สุข จะตามมา ทำให้รู้สึก เบากายเบาใจ นี่เรียกว่า สุข

    จริงๆ ไม่ได้เมาปีติ แต่ ติดใจ ชอบใจ ในสุขกายเบาใจ ที่เกิดขึ้นเฉยๆ

    ฝึก ให้ชำนาญ ไปก่อน

    แล้วก็ ลองไปฟังหลวงพ่อเยื้อน เพิ่มเติม เรื่อง กรรมฐานน้ำเย็น
     
  7. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    สมาธิ มี สองอย่าง

    ที่ จขกท. ทำอยู่ มันอยู่ควบ ระกว่าง สมาธินิ่ง กับ สมาธิแบบไม่นิ่ง

    เรียกว่า บาลี ว่า อารัมนูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน

    แต่ ว่า อย่าเพิ่งไปสงสัย ตรงนี้



    และอีกอย่างนึง จุดมุ่ง ของการทำสมาธิ เพื่อ สติตัวเดียวเท่านั้น
    จะพูดไปเดี๋ยวจะยาว ต้องค่อยๆ บอก เอาเป็นว่า โพสนี้ อ่านผ่านๆ

    ไว้ถึงจังหวะ ค่อยเพิ่ม
     
  8. ยืนหนึ่ง

    ยืนหนึ่ง มารของเทพ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +18
    ขอบคุณมากค่ะ
     
  9. ยืนหนึ่ง

    ยืนหนึ่ง มารของเทพ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +18
    ข้อ 3. ล่ะคะ?
     

แชร์หน้านี้

Loading...