การฝึกกสิณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นายสงบ แสงจันทร์, 29 สิงหาคม 2019.

  1. นายสงบ แสงจันทร์

    นายสงบ แสงจันทร์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2017
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    อยากสอบถามผู้รู้ครับ คือตอนนี้เริ่มฝึกกสิณ ซึ่งเป็นกสินไฟไฟได้สักระยะนึง ขอเล่าก่อนว่าวิธีฝึกของผมคือ การเพ่งเปลวเทียน โดยที่จ้องไปที่เปลวเทียนประมาณ 5 วินาทีแล้วหลับตา เพ่งสิ่งที่สายตาจดจำได้ พอสิ่งที่จดจำได้นั้นได้เลือนลางหายไป แล้วผมก็ลืมตาต้องที่เปลวเทียนนั้นใหม่ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ก่อนใช้วิธีจ้องนานๆ แล้วค่อยหลับตา แต่ตอนนี้ใช้วิธีจ้อง 5 วิตามวิธีหลวงพ่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ฝึกมาได้สักพักผมก็นึกขึ้นได้ว่า เราน่าจะเพ่งกสิณที่เข้ากับธาตุเราดีกว่าไหม หรืออย่างไร แต่ก็ยังไม่ได้เลิกเพ่งกสิณนะครับ ซึ่งธาตุผมคือ ธาตุน้ำ แต่บางตำราบอกว่า ธาตุลม เลยไม่แน่ใจว่าธาตุอะไรกันแน่ แล้วการที่เราธาตุน้ำ ฝึกกสิณไฟ ได้มั้ย จะเป็นอะไรหรือป่าว
    ผมเกิดวันที่ 28 มิถุนายน 2534 นะครับ หรือมีอะไรช่วยแนะนำด้วยนะครับ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    "..ท่านพร่อง ในศีล ด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปี ที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ.."
    หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง
    ที่มา ธรรมโอวาทเพื่อพระนิพพาน

    [​IMG]

    https://www.facebook.com/MotanaboonCom?fref=nf
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๖)

    Posted by ศูนย์พุทธศรัทธา on July 18th, 2011 Comments Off <center> LPP01.jpg LPP02.jpg LPP03.jpg LPP04.jpg LPP05.jpg LPP06.jpg LPP006.jpg LPP005.jpg LPP003.jpg </center> <center>หลวงพ่อฤๅษี ตอบปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน</center>
    ผู้ถาม:- “หลวงพ่อครับ กสิณนี่เป็นมโนภาพใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง”
    ผู้ถาม:- “ต้องใช้ดูวัตถุ ใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “ใช่ ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ ถ้าเราจะตั้งก็ได้ แต่เป๋ ถ้าดูวัตถุยังไม่ค่อยจำ นี่เล่นมโนภาพ ระวังกสิณโทษจะเกิด
    อย่างเราเจริญปฐวีกสิณ จะต้องเอาจิตจับไว้เฉพาะปฐวีกสิณอย่างเดียว ถ้าภาพอื่นข้ามาแทรกต้องตัดทิ้งทันที นั่นเขาถือว่าเป็นกสิณโทษ จนกว่ากสิณกองนั้นเข้าถึงฌาน ๔ แล้วก็คล่องตัว จึงจะย้ายไปเป็นกสิณกองอื่นต่อไป
    ถ้ากสิณกองต้นเราได้แล้ว ถ้าภาพอื่นเข้ามา เราตัดเลย เพราะว่าเราเจริญปฐวีกสิณ ดูดิน ถ้าบังเอิญกสิณอย่างอื่นเข้ามาแทน เช่น กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ มันแจ่มใสกว่า เราจะยึดเอาไม่ได้ ต้องตัดทิ้งทันที จนกว่ากสิณกองนั้นจะจบถึงฌาน ๔ ให้มันคล่องจริง ๆ ไม่ใช่แต่ทำได้นะ
    คำว่าคล่องจริง ๆ หมายความว่า ถ้าเรากำลังหลับอยู่ ถ้าเราตื่นขึ้นมา เราจะจับฌาน ๔ ถ้าคนกระตุกพั้บเราจับฌาน ๔ ได้ทันที กสิณกองนั้นจึงชื่อว่าคล่อง
    ถ้าเหน็ดเหนื่อยมาแต่ไหนก็ตาม ถ้าจะจับฌาน ๔ ต้องได้ทันทีทันใด เสียเวลาแม้แต่ ๑ วินาที ใช้ไม่ได้ ถ้าคล่องแบบนี้ละก็กสิณอีก ๙ กอง เราจะได้ทั้งหมด ไม่เกิน ๑ เดือน เพราะว่าอารมณ์มันเหมือนกัน เปลี่ยนแต่รูปกสิณเท่านั้น
    ฉะนั้นการได้ กสิณกองใดกองหนึ่ง ก็ต้องถือว่าได้ทั้ง ๑๐ กอง เป็นเรื่องง่าย ๆ ไม่ยาก ของเหมือนกัน แต่เพียงแค่เปลี่ยนสีสันวรรณะเท่านั้นเอง มันจะขลุกขลักแค่ครึ่งชั่วโมงแรก เดี๋ยวก็จับภาพได้ แล้วจิตก็เป็นฌาน ๔ นี่เราฝึกกันจริง ๆ นะ ถ้าฝึกเล่น ๆ ก็อีกอย่างหนึ่ง”

    ผู้ถาม:- “การปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าเราจะไม่ใช้กสิณ แต่เราใช้กำหนด อัสสาสะ ปัสสาสะได้ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “ได้ ถือว่าอัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้าออก
    คือ จริตของคน พระพุทธเจ้าทรงจัดแยกไว้เป็น ๖ อย่าง คือ ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต พุทธจริต และก็พระพุทธเจ้าตรัสพระกรรมฐานไว้ ๔๐ แต่ว่าเป็นกรรมฐานเฉพาะจริตเสีย ๓๐
    อย่างพวก ราคะจริต ถ้าใช้ อสุภ ๑๐ กับ กายคตานุสสติ ๑ เป็น ๑๑
    และพวก โทสะจริต มีกรรมฐาน ๘ คือ มีพรหมวิหาร ๔ แล้วก็กสิณอีก ๔ สำหรับกสิณ ๔ คือ กสิณสีแดง กสิณสีเหลือง กสิณสีเขียว กสิณสีขาว
    สำหรับ วิตกจริตกับโมหะจริต ให้ใช้กรรมฐานอย่างเดียวคือ อานาปานุสสติ อย่างที่โยมว่า อัสสาสะ ปัสสาสะ
    แล้วก็ ศรัทธาจริต ใช้กรรมฐาน ๖ อย่าง คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ แล้วก็เทวตานุสสติ
    ต่อไปเป็น พุทธจริต พุทธจริตนี่ก็มีกรรมฐาน ๔ คือ มรณานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุตธาตุวัตถาน อุปสมานุสสติ
    รวมแล้วเป็น ๓๐ เหลืออีก ๑๐ เป็นกรรมฐานกลาง
    ฉะนั้นการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าหากเดินสายสุกขวิปัสสโก จะต้องใช้กรรมฐานให้ถูกกับจริต ถ้าไม่ถูกกับจริต กรรมฐานนั้นจะมีผลสูงไม่ได้ เพราะไม่มีกำลังหักล้าง
    ทีนี้ถ้าหากว่านักเจริญกรรมฐานทั้งหมด ไม่ต้องการอย่างอื่น จะใช้อานาปานุสสติก็ได้ ถ้าคนทุกคนคล่องในอานาปานุสสติกรรมฐาน จะมีประโยชน์
    เมื่อป่วยไข้ไม่สบาย เมื่อทุกขเวทนามันเกิดขึ้น ถ้าใช้อานาปาเป็นฌาน ทุกขเวทนามันจะเบามาก จะไม่มีความรู้สึกเลย นี่อย่างหนึ่ง
    แล้วก็ประการที่สอง คนที่ชำนาญในอานาปาจะรู้เวลาตายของตัว แล้วก็จะรู้ว่าตายด้วยอาการอย่างไร
    แล้วก็ประการที่สาม อานาปานุสสติสามารถควบคุมกำลังฌาน สามารถเข้าฌานได้ทันทีทันใด ประโยชน์ใหญ่มาก”

    ผู้ถาม:- “เมื่อกำหนดลมหายใจด้วย ภาวนาด้วย สมาธิมันวอกแวก ๆ ครับ…”
    หลวงพ่อ:- “ก็แสดงว่าจริตของคุณโยมหนักไปในด้าน วิตกจริต กับ โมหะจริต ฉะนั้นคนที่มี วิตกจริต ต้องใช้ อัสสาสะ-ปัสสาสะ ไม่ต้องภาวนา ขืนภาวนาแล้วยุ่ง พระพุทธเจ้าทรงจำกัดไว้เลยว่า เรามีจริตอะไรเป็นเครื่องนำ ต้องใช้เป็นกรรมฐานอย่างนั้นเฉพาะกิจ ถ้าใช้ผิดก็ไม่ได้ ผลมันไม่มี ที่โยมถามก็เหมาะสำหรับคุณโยม”
    .
    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๖๐-๖๒ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

    Tags: กรรมฐาน, ปัญหาธรรม
    Posted in: หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระอรหันต์แห่งวัดท่าซุง

    ผู้ถาม:- “หลวงพ่อครับ กสิณนี่เป็นมโนภาพใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “สิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง
    ผู้ถาม:- “ต้องใช้ดูวัตถุ ใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “ใช่ ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ ถ้าเราจะตั้งก็ได้ แต่เป๋ ถ้าดูวัตถุยังไม่ค่อยจำ นี่เล่นมโนภาพ ระวังกสิณโทษจะเกิด อย่างเราเจริญปฐวีกสิณ จะต้องเอาจิตจับไว้เฉพาะปฐวีกสิณอย่างเดียว ถ้าภาพอื่นข้ามาแทรกต้องตัดทิ้งทันที นั่นเขาถือว่าเป็นกสิณโทษ จนกว่ากสิณกองนั้นเข้าถึงฌาน ๔ แล้วก็คล่องตัว จึงจะย้ายไปเป็นกสิณกองอื่นต่อไป
    ถ้ากสิณกองต้นเราได้แล้ว ถ้าภาพอื่นเข้ามา เราตัดเลย เพราะว่าเราเจริญปฐวีกสิณ ดูดิน ถ้าบังเอิญกสิณอย่างอื่นเข้ามาแทน เช่น กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ มันแจ่มใสกว่า เราจะยึดเอาไม่ได้ ต้องตัดทิ้งทันที จนกว่ากสิณกองนั้นจะจบถึงฌาน ๔ ให้มันคล่องจริง ๆ ไม่ใช่แต่ทำได้นะ

    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๖๐-๖๒

    กสิณ 10 กอง - สมาธิ กรรมฐาน - Nippanang! Board - Powered by Discuz!
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถาม : กรรมฐานสี่สิบกอง ที่เราเลือกมาปฏิบัติครั้งแรก ถ้าทำไป ๆ แล้วรู้สึกว่ายังไม่ไปไหน แล้วเปลี่ยนกองถือว่าเป็นการโลเลหรือเปล่าครับ ?
    ตอบ : ไม่ใช่โลเล แต่จะเหมือนกับที่เคยเปรียบว่า ขุดบ่อแต่ไม่ได้น้ำ สมมติมีน้ำอยู่ในระดับ ๑๐ วา พอขุดไป ๆ ถึง ๕ วา ไม่ถึงตาน้ำสักที เราก็ย้ายที่ไปขุดใหม่ เท่ากับเราเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

    ถาม : ถ้าเลือกมาสัก ๒ กองแล้วทำ
    ตอบ : ๒ กองที่คุณเลือก หรือกองเดียวที่คุณเลือก ให้เป็นอานาปานสติไว้ก่อน ๑ กอง ซึ่งกองอื่นเลือกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออก กรรมฐานทุกกองไปไม่รอด

    ถาม : แล้วถ้าวันหนึ่งจับภาพพระ อีกวันหนึ่งจับกสิณ
    ตอบ : เจริญแน่..! ทำแบบนั้นอีกกี่ชาติก็ได้แค่ทำ..!

    ถาม : เปลี่ยนไปทุกวัน
    ตอบ : ชาติหน้าตอนเย็น ๆ อาจจะได้..!

    ถาม : ถ้าทำอย่างนี้ชาติหน้าตอนเย็น ๆ จะได้หรือครับ ?
    ตอบ : ถ้าวันนี้คุณจับกสิณ แล้วคุณก็เลิก..ปล่อย ถ้าสมาธิคลายตัวก็ไหลตามกิเลส พอรุ่งขึ้นแทนที่คุณจะมาจับกสิณเพื่อว่ายทวนกิเลสต่อ แต่คุณไปจับอีกกองหนึ่ง แล้วคุณก็ปล่อยและก็ไหลตามไป พออีกวันคุณก็กลับไปทำอีกกอง

    ลองนึกดูก็แล้วกัน คนไหลตามกิเลสไปสองวัน แล้วว่ายกลับมา จะหาความก้าวหน้าได้อย่างไร ? ขาดทุนสะสมไปเรื่อย รอวันล้มละลาย..!


    ถาม : แล้วถ้าทำทุกวัน อย่างละกองวันละชั่วโมงละครับ ?
    ตอบ : ๒๔ ชั่วโมงยังไม่รอดเลย..!

    ตอนนี้ค่าแรง ๒๕๐ บาท ก็ตีเสียว่าชั่วโมงหนึ่ง ๑๐ บาท สิบบาทพอกินไหม ? กินซาละเปาลูกหนึ่งก็หมดเงินแล้ว

    เรื่องของการปฏิบัติ เลือกกรรมฐานกองใดกองหนึ่งแล้วทำให้ถึงที่สุดไปเลย ถ้าหากถึงที่สุดแล้วกองอื่นจะเป็นของง่ายเพราะกำลังที่ใช้เท่ากัน เปลี่ยนแค่วิธีการนิดเดียว เพราะฉะนั้น..อย่าหลายใจ กรรมฐานไม่ใช่วิชาทางโลก ที่จะได้สะสมหน่วยกิตได้ เขาต้องการความจดจ่อต่อเนื่องตลอด คุณไปสะสมหน่วยกิตก็ได้เหมือนกัน ได้แค่ในส่วนอานิสงส์ที่เป็นกุศลกรรม แต่ความสำเร็จมาถึงยาก



    รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ
    ถาม : สมัยที่หลวงพ่อท่านอาพาธอยู่ที่ศิริราช มีอยู่คนหนึ่งเขาไปหาหลวงพ่อ ?
    ตอบ : พวกที่ตายโหงนี่ บางรายก็เป็นพวกที่หมดอายุ แต่ส่วนใหญ่ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์นี่ยังไม่หมดอายุ ถ้าหมดอายุแล้วก็ไปรับบุญรับบาปได้ทันที อีกอย่างคือว่าถ้ากำลังบุญมากก็ไปรับส่วนดีเลย ทำบาปมากสูงมากก็ลงไปรับกรรมเลย ไม่ผ่านการตัดสิน พวกผ่านการตัดสินนี่มันกระดำกระด่างจะดำก็ไม่ดำ จะขาวก็ไม่ขาว แต่ว่าพวกผ่านการตัดสินนี่ยังโชคดีนะ โอกาสรอด ๘๐% เพราะว่าพระยายมท่านจะถามละเอียดจริง ๆ ถามนิดถามหน่อยถามล้วงไปเรื่อยมันจะต้องทำดีซะอย่างหนึ่งล่ะ แล้วท่านก็จะส่งไปรับความดีก่อน ทีนี้ถ้าทำดีเล็กน้อยมากอย่าง สุปติฏฐิตเทพบุตร อย่างนี้นี่มัวแต่ไปเพลินกับความดีอยู่ หมดบุญทีนี้ล่ะโดนเต็ม ๆ
    ถาม : อย่างเวลาเช้า ๆ เราแผ่เมตตาตามแบบหลวงพ่อนี่มีอานิสงส์อย่างไรบ้างคะ ?
    ตอบ : อันดับแรกของเรา ๆ จะได้ปัตติทานมัย เป็นการทำบุญประเภทหนึ่ง การทำบุญมี ๑๐ ประเภท ๆ สุดท้ายนี่จะเป็นของกำไรโดยตรง เขาเรียกทิฎฐุชุกัมม์ มีความเห็นถูกว่าพระพุืทธเจ้าสอนดี เราจะทำตามอันนี้ได้กำไรแน่ ๆ
    นอกนั้นก็มีทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล ภาวนามัย บุญเกิดจากการทำสมาธิภาวนา ๓ อย่างนี้จะเป็นบุญใหญ่ที่สุด แล้วหลังจากนั้นจะยังมีบุญเล็ก ๆ ซึ่งจะเรียกว่าเล็กก็ไม่ได้ เพราะว่าถ้าหากว่าเล็กของช้างมันก็ใหญ่ของมดน่ะ บุญเล็ก ๆ ก็ยังมีอปจายนมัย อ่อนน้อมถ่อมตนกับคนอื่น คนที่อ่อนน้อมถ่อมตนมา เราเห็นก็เย็นตาเย็นใจเกิดความรักความเมตตาเขาใช่มั้ย ? ตัวนี้มันก็ทำให้คนนอบน้อมถ่อมตนเขาได้บุญ ต่อมาก็ปัตติทานมัย ทำบุญแล้วตั้งใจนอบน้อมให้คนอื่นเขา ตัวเราจะทำได้สำเร็จก็ยากแล้ว อุตส่าห์แบ่งปันให้คนอื่น ถ้าจิตไม่ได้ประกอบด้วยความรักความเมตตาจริง ๆ มันก็จะให้เขาไม่ได้
    ในเมื่อให้เขาได้ผลบุญของเรามันก็จะเพิ่มขึ้น ปัตตานุโมทนามัย พลอยยินดีในความดีที่คนอื่นทำ ปกติมันคอยจะอิจฉาเขา แต่อันนี้มันคอยยินดีจริง ๆ ได้บุญจริง ๆ ใช่มั้ย ? ธัมมัสสวนมัย นำไปปฏิบัติ ธัมมเทสนามัย ได้ผลแล้วกลับไปสอนเขาต่อ พวกนี้เขาเรียก บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่ทำให้เกิดบุญ ทำแล้วเป็นบุญเป็นกุศล ทีนี้ของเราที่ว่าตั้งใจอุทิศให้คนอื่นเขา มันก็จะเป็น ปัตติทานมัย ก็คือว่า บุญที่ได้จากการตั้งใจทำความดี แล้วแบ่้งให้คนอื่นเขาไป
    ถาม : ทำตามหลวงพ่อตอนเช้า ๆ หลวงพ่อจะนำแผ่เราก็พยายามทำตาม ?
    ตอบ : มันเป็นวิธีการที่จะได้บุญ อย่างของเรานั่งอยู่คนอื่นเขาถวายสังฆทานเราก็สาธุ มันก็ได้ไปด้วยใช่มั้ย ? มันเป็นวิธีการทำบุญที่ง่าย แต่ในขณะเดียวกันที่คนที่ทำไม่ได้ กำลังใจไม่ถึงมันจะทำอะไรกันนักหนาวะ เดี๋ยวทำ ๆ ถ้าอย่างนั้นไม่ได้แล้วกำลังใจยังเศร้าหมองไปด้วย
    ถาม : มีพระองค์เล็ก ๆ อยู่หลายองค์ไม่รู้จะทำอย่างไร ?
    ตอบ : แค่คำว่าเล็กน้อยนี่เราก็เจ๊งแล้ว ถ้าหากว่าเป็นรูปพระพุทธเจ้าคำว่าเล็กน้อยไม่มีสำคัญสุด ๆ ทั้งนั้นเลย ถ้ามีมากเกินไปดูแลไม่ทั่วถึง ควรจะทำอย่างไร ?
    หากล่องหาอะไรใส่รวม ๆ กันเอาไว้ให้ดีให้เหมาะสม แล้วเอาขึ้นบูชา ต่อไปอย่าใช้คำว่าเล็กน้อยกับพระนะ เดี๋ยวเจอข้อหาปรามาสพระรัตนตรัย
    สมัยหลวงปู่ปาน ท่านสร้างพระคำข้าวองค์หนึ่งหน้าตัก ๕ นิ้ว ตั้งโต๊ะบวงสรวงชุดใหญ่เลย ทำพิธีบวงสรวง หลวงพ่อก็บอกว่าทำไมแค่พระองค์เล็ก ๆ แค่นี้ต้องตั้งเครื่องบวงสรวงเต็มพิธีชุดใหญ่ขนาดนี้ด้วย หลวงปู่บอกว่า คำว่าพระพุทธเจ้ามีเล็กเหรอ ? หลวงพ่อบอกได้ยินแล้วตกใจ แสดงว่าจิตเราหยาบไปหน่อยใช่มั้ย ? เห็นพระพุทธเจ้าเล็กน้อย จำไว้นะคำว่าเล็กน้อยไม่มี พุทโธ อัปปมาโน ธัมโมอัปปมาโน สังโฆอัปปาโน คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่สามารถจะประมาณได้
    มีลูกศิษย์หลวงพ่อสดวัดปากน้ำได้พระสมเด็จของ ขวัญไปองค์กระจิ๋วหนึ่ง นั่งมอง ๆ มันไม่ถูกใจน่ะ องค์กระจิ๋วหนึ่ง องค์แค่นี้จะคุ้มครองเราได้เหรอ ปรากฎกลางคืนนอนหลับไปฝันเห็นพระสมเด็จวัดปากน้ำองค์ของขวัญนั่นแหละลอยมาโต ขึ้นจนใหญ่จนเต็มจักรวาลเลย แล้วถามว่าแค่นี้พอมั้ย ? (หัวเราะ) สะใจมั้ย ? พุทโธอัปปะมาโน จำไว้คุณพระพุทธเจ้าประมาณมิได้
    ถาม : การถวายสังฆทาน ถ้าเราเอาพระองค์ขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก คุณภาพจะเหมือนกันมั้ยครับ ?
    ตอบ : ถ้าหากว่าจะเอาอานิสงส์กันจริง ๆ พระที่ถวายสังฆทานหน้าตักไม่ควรต่ำกว่า ๔ นิ้วแต่ถ้าหากว่าเราตั้งใจถวายแล้วเป็นองค์น้อย อันนั้นเราจะได้อานิสงส์เป็นพุทธบูชา คือเราได้สร้างพระขึ้นมาองค์หนึ่ง
    หลวงพ่อขอมวัดไผ่โรงวัว ท่านสร้างพระสร้างเอา ๆ องค์เล็กองค์ใหญ่เต็มไปหมด ท่านบอกว่า อานิสงส์ ของการสร้างพระพุทธรูปไม่ว่าองค์โตเท่าภูเขาหรือองค์เล็กเท่าใบหญ้าคา เกิดมากี่ชาติก็จะเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วยเดชอำนาจไม่รู้จักจบจักสิ้น พุทธบูชามหาเตชะวันโต เพราะฉะนั้นจะองค์เล็กองค์ใหญ่ก็แล้วแต่ ขอให้เป็นพระพุทธเจ้าเถอะ อานุภาพไม่สิ้นสุดหรอก
    ถาม : อย่างบางทีมันขี้เกียจทีนี้เราพยายามแล้วน่ะค่ะ .....?
    ตอบ : ก็เลิกขี้เกียจ สังเกตดูว่าธรรมะบางส่วน เราพยายาม วันก็แล้ว เดือนก็แล้ว ปีก็แล้วมันก้าวพ้นไม่ได้ อันนั้นห้ามขี้เกียจนะจ๊ะ ต้องทบทวนแล้ว ทบทวนอีก ย้ำแล้วย้ำอีก ย่ำอยู่กับที่เดิมให้มันชำนาญไปเลย อัน นั้นแสดงว่าสติปัญญาของเรามันยังไม่เพียงพอ ถ้าหากว่าสติ สมาธิ ปัญญามันเพียงพอ เราจะก้าวพ้นตรงจุดนั้นได้ เราต้องหาความชำนาญไปเรื่อย ๆ จนกว่ามันจะพอ ถ้าภาษานักปฏิบัติเขาจะบอกว่า วาระมันยังมาไม่ถึง
    มันเหมือนกับต้นไม้ เราปลูกมันแล้วมันยังไม่ออกดอกออกผลซักที เราจะขี้เกียจไม่ดูแลมันจะไม่ได้ ต้นไม้มันจะตาย เราต้องดูแลมันต่อไป ถึงวาระ ถึงเวลาที่สมควรดอกผลมันจะออกมาเอง เพราะฉะนั้นยิ่งไม่ได้นี่ยิ่งต้องขยัน
    ถาม : อย่างเราปฏิบัติแล้วเราไม่รู้ว่าเราควรจะทำแบบไหนจึงจะตรงกับจริตของเรา ?
    ตอบ : แบบไหนจะตรงกับจริตของเรานี่หาคู่มือปฏิบัติกรรมฐานของ หลวงพ่อมา อ่านแล้วชอบตรงไหนก็ทำตรงนั้นเลย ทำกองนั้นกองเดียว หัวข้อนั้นหัวข้อเดียว เอาให้มันได้จริง ๆ ไปเลยอย่าไปเปลี่ยนใหม่ ถ้าหากว่าเราทำ ๆ ไปแล้วมันยังไม่ได้ เราไปท้อแล้วไปเปลี่ยนใหม่ทำ ๆ ไปยังไม่ได้ ท้อแล้วเปลี่ยนใหม่ อาตมาเปรียบว่ามันเหมือนยังกับว่าขุดบ่อแล้วไม่ได้น้ำ ขุดลงไป ๓ เมตร ๕ เมตร ถ้าเกิดน้ำมันอยู่ ๒๐ เมตรอย่างนี้ เรารู้สึกเหนื่อย รู้สึกท้อแล้วไปเปลี่ยนใหม่ ไปขุดอันนั้น ๓ เมตร ๕ เมตรแล้วเมื่อไหร่มันจะได้ล่ะ
    เพราะฉะนั้นมันจะต้องประเภทต้องตั้งหน้าตั้งตาทำไป ได้สักหัวข้อหนึ่งแล้วอันอื่นมันจะง่าย เพราะว่ากำลังมันเท่ากัน มันแค่เปลี่ยนวิธีการเท่านั้นเอง
    เมื่อวานนี้พี่ชายเขามา พี่ชายคนนี้ก่อนหน้านี้เขาปฏิบัติธรรมะแข็งขันมาก ตั้งใจอย่างเดียวว่าจะไปนิพพาน ครอบครัวก็ไม่มีแล้ว อีตอนนี้ก็มีเมีย ๑ มีลูก ๓ เรียบร้อยไปแล้ว เขามาถามว่าเขาปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้าจะทำอย่างไร ? ก็บอกว่าพี่ก็ทำอย่างที่อาตมาเคยทำนั่นแหละ
    สมัยก่อนพี่ว่าอาตมาบ้าอย่างไรก็บ้าอย่างนั้นล่ะ แล้วมันก็จะได้เอง พูดง่ายนะ แต่ตอนทำมันเหนื่อยก็ท้อเหมือนกันเปรียบให้ฟัง ถ้ากลัวว่าจะผิดเอาศีลเป็นกรอบ ศีล ๕ ก็ได้ ศีล ๘ ก็ได้
    ถ้าหากว่ายังอยู่ในกรอบของศีล การปฏิบัตินั้นไม่ผิดหรือว่าผิดก็ผิดน้อยเต็มที ในเมื่อมีศีลแล้วพยายามกวดศีลของเราให้บริสุทธิ์อย่าละเมิดศีลด้วยตัวเอง อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นทำ อย่ายินดีเมื่อคนอื่นล่วงให้ศีลนั้นขาดลงในเมื่อเราทำละเอียดได้ถึงขั้นนี้ ศีลมันทรงตัว สมาธิก็จะตั้งมั่นได้ง่าย ปัญญาก็จะเกิด
    เพราะว่าจิตของเราถ้านิ่งนี่มันเหมือนน้ำที่นิ่งมันจะมองเห็นได้ เวลาชะโงกไปก็เห็นหน้าตัวเอง คราวนี้พอจิตมันนิ่งปุ๊บ ปัญญามันก็จะเกิด พอ ปัญญามันเกิดจะใช้ไปคุมศีลอีกทีหนึ่ง ในเมื่อยิ่งคุมศีลให้ละเอียด สมาธิก็จะตั้งมั่นได้ง่าย สมาธิยิ่งตั้งมั่น ปัญญาก็ยิ่งเกิด มันจะไล่กวดไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดสุดท้ายของมัน เราก็จะก้าวข้ามในจุดที่เราต้องการได้
    ถาม : ถ้าใจเราอยากทำกสิณนี่ทำได้มั้ยคะ ?
    ตอบ : ได้ทุกคน ถ้าใจรักอยากจะทำอดีตเคยทำมาแล้ว ทีนี้เราเอากสิณ ๑๐ กองนี่เอาคู่มือปฏิบัติกรรมฐานของหลวงพ่อมา ตั้งใจจุดธูปบูชาหน้าพระรัตนตรัยต่อหน้าหิ้งพระของเรา กราบพระขอบารมีท่านสงเคราะห์ อธิษฐานว่ากสิณกองใดที่เราเคยทำได้แล้วในอดีตแล้ว ถ้าหากว่าทำในปัจจุบันนี้จะได้ผลเร็วที่สุดขอให้เราอ่านแล้วชอบกองนั้นมาก ที่สุดแล้วก็ไล่ไปเลย อาโลกสิณ อากาศกสิณ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ โลหิตกสิณ ปีตกสิณ นีลกสิณ โอทาตกสิน พอครบ ๑๐ กองเสร็จแล้วชอบอันไหนมากที่สุดก็หาอุปกรณ์มาแล้วก็ทำ
    คราวนี้การทำกสิณนี่มันสำคัญอยู่ตรงที่ย้ำคิดย้ำทำ ยิ่งกว่าพวกโรคจิตอีก ก็คือว่ามันลืมตามอง หลับตาลงนึกถึงมันจะนึกได้แป๊บหนึ่ง พอภาพหายก็ลืมตามองใหม่ พร้อมคำภาวนาอยู่ตลอด คราวนี้พอเลิกจากตรงนั้นไปห้ามลืมนะ ต้องนึกถึงภาพนั้นอยู่เรื่อย ๆ นึกไปพร้อมกับคำภาวนาอยู่เรื่อย ๆ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งให้เขา อาจจะซัก ๓๐-๔๐% นึกถึงภาพนั้นพร้อมคำภาวนาตลอด ส่วนความรู้สึกอีก ๖๐-๗๐% ก็ทำหน้าที่การงานของเราไป
    ถาม : ต้องแบ่งอย่างไรคะ ?
    ตอบ : ตลอดเวลาจนกว่าภาพนั้นเราจะลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น คราวนี้ก็คอยประคับประคองเอาไว้ให้ดี ถ้ามันหายไปรีบนึกขึ้นมาใหม่ หายไปรีบนึกขึ้นมาใหม่ไปเรื่อย ๆ สมาธิก็จะทรงตัว ตั้งมั่นขึ้นเรื่อย ๆ ภาพนั่นก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จากสีเดิมก็จะจางลง ๆ เป็นสีขาว จากสีขาวก็กลายเป็นขาวทึบ จากขาวทึบก็กลายเป็นขาวใส จนกระทั่งสว่างเจิดจ้าเหมือนกับเรามองดวงอาทิตย์
    คราวนี้ลองอธิษฐานดูให้หายไปก็ได้ ให้มาก็ได้ หรือจะให้ใหญ่ก็ได้ ให้เล็กก็ได้ คราวนี้อธิษฐานดูว่ามันจะมีผลตามนั้นมั้ย ? ถ้าเป็นอาโลกสิณ ก็สามารถทำที่มืดให้สว่างได้ สามารถเห็นนรกเห็นสวรรค์ได้ ถ้าเป็นโอทาตกสิณ ก็สามารถเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีขาวได้ สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ เป็นปีตกสิณ ก็สามารถเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีเหลืองได้ สามารถทำของอื่นให้เป็นทองได้ โลหิตกสิณ ก็สามารถเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีแดงได้ นีลกสิณ ก็สามารถที่จะเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีเขียวเป็นสีดำได้ หายตัวได้เหล่านี้เป็นต้น
    พอทำได้เต็มที่แล้วเราค่อยก้าวข้ามกองใหม่ก่อนจะจับกองใหม่ก็ซ้อมกองเดิมให้ เต็มที่ก่อน มันปุ๊บเดียวเท่านั้นเองนะ ถ้ามันได้คล่องตัวแล้วมันปุ๊บเดียวไม่ถึงวินาที สองวินาทีก็เต็ม แล้วเราก็จับกองอื่นต่อ
    ถาม : แล้วคำภาวนาจำเป็นมั้ยคะ ?
    ตอบ : จำเป็นเพราะว่าคำภาวนาพร้อมกับลมหายใจเข้าออกสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีอานาปานี่กรรมฐานทุกกองได้ประมาณแค่อุปจารสมาธิเท่านั้นล่ะ ทรงฌานไม่ได้

    ถาม : ..............................
    ตอบ : ถ้ามันเต็มที่ของฌานมันก็จะได้ฌาน ๔
    ถาม : ความรู้สึกมันได้ขนาดไหน ?
    ตอบ : ถ้าภาพกสิณนั้นสว่างเจิดจ้าเหมือนกับเรามองกระจกสะท้อนแสดงอาทิตย์นั่นคือ ฌาน ๔ แล้ว ส่วนเรื่อง ๓ ฐาน ๗ ฐานอะไรนั่นไม่ต้องไปคิดถึง เพราะว่าถึงเวลาบางทีคำภาวนามันหายไปเฉย ๆ เราก็แค่กำหนดรู้ตามภาพมันเท่านั้นว่า ตอนนี้มันเป็นอย่างนี้ ตอนนี้มันเป็นอย่างนี้
    ถาม : จำเป็นต้องทำอานาปาด้วยเหรอคะ ?
    ตอบ : จำเป็นต้องใช้เลย กรรมฐานทุกกองอีก ๓๙ กอง ถ้าไม่ได้อานาปานสติควบด้วยอย่างเก่งก็ได้แค่อุปจารสมาธิ ชอบทำกสิณก็ดีเพราะว่ากสิณเป็นพื้นฐานของฤทธิ์ พอได้กสิณคล่องแล้ว ต่อไปเป็นสมาบัติ ๘ สมาบัติ ๘ นี่เรายกกสิณขึ้นมากองหนึ่ง แล้วเพิกภาพกสิณเสีย ทำอรูปฌานให้เกิด
    ถาม : ทำมาตอนนี้ตัวมันโยกไปมาแล้วสงสัยว่าทำไมมันถึงติดอยู่แบบนี้ ?
    ตอบ : ต่อไปลืมมันไปเลย ไม่ต้องไปสนใจมัน ตามรู้มันอย่างเดียว มันโยกก็ให้มันโยก จะเป็นจะตายหัวโขกพื้นอีท่าไหนหกคะเมนตีลังกาก็ช่าง อาตมาเองเฉพาะโยกนี่เดือนกว่า แต่ว่าน้ำตาไหลนี่เช้ายันเย็นเช็ดหน้าจนแสบไปหมด เพราะมันดันผ่าไปไหลที่สายลมพอดี ผู้ชายตัวเท่าควายนั่งร้องไห้ตรงหน้าพระ จะกลั้นมันไว้พอคิดจะกลั้นมันหยุดเลยนะ แต่หลวงพ่อท่านบอกว่าไม่ได้นะลูกต้องปล่อยให้เต็มที่ไปเลย เพราะถ้าไปกลั้นมันเอาไว้พออารมณ์ใจมันถึงทีตรงนี้ น้ำตามันจะไหลอีกก็เลยปล่อยมันเต็มที่ก็เช็ดไปเรื่อย คนโน้นมาก็ทิชชุ คนนี้มาก็ทิชชุ เช็ดไปเช็ดมาหน้าแสบหมด กว่าจะเลิกก็ ๕-๖ โมงเย็นโน่น
    ตอนนั้นหลวงพ่อท่านเล่าเรื่องพระนางเรือล่ม เสร็จแล้วมันเห็นภาพพอดี เพราะตอนที่เรือพระประเทียบล่มลงน่ะ ท่านว่ายน้ำออกมาแล้วหันกลับไปเห็นลูกไม่ได้มาร้องคำเดียวว่าลูก แล้วว่ายกลับมาไปควานไปหาอีท่าไหนไม่รู้ จมลงไปด้วย มันก็เลยน้ำตาไหลโจ๊ก เห็นชัด ๆ ว่าความรักของแม่ขนาดไหน ตัวเองตายก็ไม่ว่า ตั้งใจกลับไปเพื่อช่วยลูกอย่างเดียว เลยนั่งร้องไห้ น้ำตาไหลจ๊อก
    ตอนนั้นปีติมันเกิดขึ้นพอดี มันจ้องจังหวะมานานแล้วล่ะ มันจะเล่นจังหวะไหน มันเล่นจังหวะนั้นพอดี แหม...มันเล่นไหลได้ไหลดี พอเลิกร้องไห้หิวน้ำเป็นบ้าเลย (หัวเราะ) ตั้งใจจะกลั้นล่ะ ทีนี้หลวงพ่อท่านบอกให้ปล่อย เราเชื่อพ่อซะจนชินปล่อยก็ปล่อยก็ฟาดมันซะเต็มที่ไปเลย
    แต่ตอนผรณาปีตินี่มันบวม มันลอย ปีตินี่มันลอยมันร่วง มันระเบิด นี่มันเป็นบ้าเลย ที่บางคนบอกว่าฌานระเบิดมันไม่ใช่หรอก ตัวมันพองขึ้นใหญ่ขึ้น จนรับไม่ไหวระเบิดกลายเป็นจุลไปอย่างนั้นล่ะ หรือบางทีตัวมันก็รั่วเป็นรู มีอะไรไหลซู่ซ่าจากข้างในเต็มไปหมด ไม่รู้อะไรต่อมิอะไรมันไหลเต็มไปหมด ถ้ามันชินซะอย่างอันอื่น ๆ ก็ไม่ต้องไปกลัวมันแล้ว
    ถาม : ......................
    ตอบ : เหตุผลนั่นสำคัญที่สุด หลวงพ่อท่านลาพุทธภูมิเพราะว่า ตอนช่วงนั้นท่านทำหน้าที่เป็นปลัดเหมือนกับเลขานุการส่วนตัวของสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดอนงคาราม ตอนนั้นมันเกิดเหตุว่าเจ้าคณะจังหวัดท่านหนึ่งเบียดเบียนพระในจังหวัด วัดไหนมีพระเก่าวัตถุโบราณไปยึดของเขามา ถ้าเขาไม่ไให้ก็จับเจ้าอาวาสสึกซะบ้าง ถอดซะบ้าง
    พอท่านทราบเรื่องท่านก็รายงานไปตามระดับชั้นของทางคณะสงฆ์ พอเรื่องขึ้นไปถึงข้างบนก็เงียบ รายนั้นแทนที่จะโดนถอดหรือว่าโดนลงโทษรายงานทีไรมันได้ตำแหน่งเพิ่มขึ้น ทุกที ๆ หลวงพ่อท่านสืบไปสืบมาจนในที่สุดก็เจอว่า ตัวเป้งเลยเป็นตัวหนุน ท่านก็เลยเกิดสลดใจขึ้นมา โดยวิสัยของพุทธภูมิถ้าเพื่อความสุขส่วนรวม แม้กระทั่งลงนรกก็ยอมทำ ท่านบอกว่าถ้าหากว่าท่านไม่ลาพุทธภูมิเพื่อเป็นพระอริยเจ้าด้วยกำลังใจแบบ นั้นเดี๋ยวท่านต้องฆ่ามันแน่ นี่แหละสาเหตุใหญ่ที่สุด
    ถาม : ผมจำได้ว่า ถ้าใครฆ่ากันแล้วก็ต้องฆ่ากันทุก ๆ ชาติ ในเมื่อหลวงพ่อปรารถนาพุทธภูมิแล้ว คนที่ปรารถนาพุทธภูมินี่นรกปิดประตูแล้ว ทำไม .....(ไม่ชัด).....?
    ตอบ : ไม่ใช่ พุทธภูมินี่ต่อให้ปฏิบัติขนาดไหนก็ตามอารมณ์จะไม่ตัดเป็นพระอริยเจ้าเป็นได้แค่เทียบเท่าเท่านั้น คือทำได้เหมือนแต่มันไม่ใช่ ทีนี้เนื่องจากว่าของท่านทำมาด้วยการบำเพ็ญบารมีด้วยการสละตัวเองเพื่อความ สุขส่วนรวมอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นถ้ามันมีอะไรบางอย่างจำเป็นต้องละเมิดศีลเพื่อความสุขส่วนรวม พุทธภูมิเขายอมไม่ใช่ว่าพุทธภูมิไม่ลงนรก พุทธภูมิเขาไม่กลัวนรก เต็มใจลง
    ถาม : .................................
    ตอบ : อันนั้นเขาพุทธภูมิแท้เลย เขาเสี่ยงต้องใช้ว่าเอาดอกบัวอ่อนเลยนะ เสี่ยงอธิษฐานเลยว่า ถ้าหากว่าความปรารถนาในพระโพธิญาณเขาจะสำเร็จจริงก็ขอให้ดอกบัวนี้บาน แล้วของท่านบานจริง ๆ ดอกบัวตูม ๆ เพิ่งจะเก็บไม่น่าจะบานได้ เลยตั้งใจเผาตัวเองเป็นพุทธบูชา ชาวบ้านผ่านไปผ่านมาทราบเจตนาก็ช่วยกันเผาคือขอบุญด้วย คนผ่านไปผ่านมาถอดเสื้อผ้าบ้างมีข้าวมีของอะไรก็โยนไปเผาร่วมกัน กำลังใจระดับนั้นหายาก ถ้าหากว่าไม่ใช่ทรงสมาบัติจริง ๆ เขาเผาขนาดนั้นก็ดิ้นพราดเท่านั้น แต่ว่าท่านนั่งขัดสมาธิ
    นั่งสมาธิให้เขาเผาอีกองค์หนึ่งก็พระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อสร้างพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังไม่เต็มกำลังใจท่านเอาตัวเองเป็นไส้เทียน ใช้ผ้าสำลีพันตัวเองแล้วชุบน้ำมันตั้งใจว่าเราจะจุดไฟนี้เพื่อเป็นพุทธบูชา แล้วก็ให้คนจุดไฟ ตัวเองตั้งสมาธิเพ่งมองเจดีย์ ตั้งใจว่าสิ่งที่เราทำนี่ตั้งใจจะถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ไฟไหม้อยู่ ๗ วันกว่าเชื้อจะหมดแต่ไม่เป็นอะไร เพราะว่ากำลังใจที่เกาะพุทธานุภาพก็เลยรักษาได้
    มีเหมือนกันจะลองมั้ย จะช่วยเผารายนี้เขาพวกพุทธภูมิเหมือนกัน เขาไม่ยอมลา อาตมาเบี้ยวทิ้งเขากลางอากาศ (หัวเราะ) พุทธภูมินี่เขาถือว่าเป็นเพื่อนกันหมด เพราะว่าความปรารถนาอย่างเดียวกันเดินตามรอยกัน
    สมัยครั้งแรกที่เจอหลวงปู่เจ้าคุณพระราชกวีวัดโสมนัส หลวงปู่อ่ำ ครั้งแรกเลยเคาะประตูกุฏิ ท่านโผล่ออกมาถึงท่านถาม เป็นยังไงเพื่อนจำกันได้มั้ย ? นั่นพระโพธิสัตว์จะถือว่าทุกคนเป็นเพื่อนกันหมดก็เลยกราบเรียนท่านไปว่า ผมจำหลวงปู่ไม่ได้หรอกครับ แต่ว่าหลวงปู่ต้องจำผมได้แน่เลย (หัวเราะ) เอาเปรียบคนแก่ หลวงปู่อ่ำ ตอนแรกท่านก็ไม่ทราบว่าท่านปรารถนาโพธิญาณ นั่นก็นิยตโพธิสัตว์ เพราะท่านเป็นช้างปาลิไลยกะ ตรัสรู้เป็นองค์สุดท้ายของภัทรกัปป์ ทีนี้ท่านก็บอกว่ารู้แต่ว่าตอนเรียนบาลีไปถึงตอนที่ช้างปาลิไลยกะออกมาส่ง พระพุทธเจ้า ๆ ตรัสว่า ปาลิไลยกะ ตรงนี้เป็นเขตแดนของมนุษย์แล้วเธออย่าตามตถาคตไปเลย อันตรายจะเกิดขึ้นกับเธอ ขอให้กลับไปเถอะ ช้างปาลิไลยกะเสียใจจนอกแตกตาย
    สมัยนี้คงประเภทหัวใจสลายท่านบอกว่าอ่านมาถึงตรงนี้ทีไรร้องไห้น้ำหูน้ำตา ไหลทุกทีเลย ไม่รู้ว่าทำไมต้องร้อง ทีนี้เวลาที่มันจะรู้มันก็รู้เอาง่าย ๆ ตอนเย็นกำลังนั่งอยู่บนม้าหินอ่อนสบาย ๆ มองตะวันตกดินอยู่ มองเพลิน ๆ ท่านบอกอยู่ ๆ มันมีอีกตัวหนึ่งมันหลุดเดินดุ่ย ๆ ขึ้นฟ้าไปเลยคือ จิตท่านเป็นสมาธิโดยไม่รู้ตัวเพราะมองดูตะวันอยู่ กายในมันก็เลยออกไปเลย
    พอขึ้นไปข้างบนก็เห็นดอกบัวดอกหนึ่งมโหฬาร ก้านบัวใหญ่กว่าเสาอีก ท่านว่าอย่างนั้น อยู่สูงลิบเลยเห็นว่ามีสารพัดสีแล้วดอกบัวก็ลดลงมา ๆ เห็นพระโพธิสัตว์นั่งอยู่ข้างบนนั้น ถามว่าจำได้มั้ย ? ท่านก็บอกว่า จำไม่ได้เป็นใคร ท่านก็บอกว่าท่านคือพระศรีอาริยเมตตรัย เสร็จแล้วก็เล่าให้หลวงปู่ฟังว่าเคยตั้งความหวังว่าสมัยนั้นอย่างนั้น ๆ



    ถาม : แล้วคำภาวนาจำเป็นมั้ยคะ ?
    ตอบ : จำเป็นเพราะว่าคำภาวนาพร้อมกับลมหายใจเข้าออกสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีอานาปานี่กรรมฐานทุกกองได้ประมาณแค่อุปจารสมาธิเท่านั้นล่ะ ทรงฌานไม่ได้
     
  7. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    เวลาคิดเอาเองเออเองมันดีนะ แต่มันไม่เข้ากับความเป็นจริง จิตก็เป็นธาตุแต่เป็นธาตุที่เป็นอิสระไร้ภาชนะโดยแท้จริง หากอยากหยุดเวลาจริง ก็รู้จักทำให้มันอยู่เฉยๆ ก่อน ธาตุใดที่เห็นชัดจึงใช้ธาตุนั้น เมื่อเห็นแล้วก็ปรับไปเรื่อยๆ ธาตุที่เคลื่อนไหวช้าไปจนถึงถธาตุที่เคลื่อนไหวได้โดยที่ไม่มีเงื่อนไข จ้องมันแค่เริ่มต้น เห็นโดยไม่ได้ใช้ตามองสิ ล้ำค่า ถ้าทำให้อยู่ในฌานได้ ยิ่งล้ำค่า คนสั่วๆมันหาทำได้ไม่
     
  8. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    มาสิมาปราบสิ รออยู่ นานเกินเดี้ยวจะไปหานะ
     
  9. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    กสิณ ลพ.ฤาษี ไม่ยาก

    ให้จับหลักคำว่า "ใจสบาย"

    ใจจะสบาย จะเริ่มจาก อธิสีล คือ
    ระหว่างวันต้อง สำรวมอินทรีย์
    ทำงานตามหน้าที่ ไม่เน้นเจาะแจ๊ะ
    เวลาทานข้าวก้สำรวม พิจารณา
    อาหารตามหมู่ คุณค่า ไม่ใช่เพราะ
    อยากกิน เกียรติ หน้าใหญ่ ใจโต

    เมื่อ สำรวมใจได้ สังเกต "กำลังใจ"
    ที่มี "ใจสบาย"

    หน่วงเหนี่ยว "ใจสบาย" แล้ว น้อมไป
    ใน นิมิตที่เปนไปเพื่อความสงบของใจ
    จะเปน เปลวเทียนก้ได้ การพลิ้วไหว
    ของยอดหญ้า หรือเปลวเทียนก้ได้
    หรือ ลมร้อนเย็นในกายทุกส่วน ก้ได้

    ระลึกแล้ว สังเกตที่ "ใจสบาย" ไม่ใช่
    นิมิตชัด หรือ ไม่ชัด

    เอาแค่นี้ก่อน ครึ่งกำลังพอ
    ทำให้ชำนาญ จน จิตสังเกต
    ในเหตุของ "ใจสบาย" ได้แม่น

    ก้จะได้ อธิสีล และ อธิจิต

    ส่วน อธิปัญญา วสีในการชำนาญ
    "ใจสบาย" จะทราบด้วยตัวเอง
    ไม่ต้อง อาสัยใครบอกบทอีก ....


    ส่วน อิทธิบาท จะเปลี่ยน "ใจสบาย"
    ไปเปน "ลหุสัญญา" เปน ประทาน
    สังขาร ซึ่ง ลหุสัญญา จะได้จาก
    ละ "รูปราคะสัญญา" อันจะได้จาก
    การ รู้ชัดคุณของ อธิสีล ที่ฝึกสำรวม
    อาหารคือคำข้าว(กินเพื่ออยู่ฯ) ระหว่างวัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2019
  10. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ถามหน่อย กสิณมีประโยชน์อะไร ทำไมต้องทำกสิณ ไม่ทำได้ไหม และท้ายที่สุดทำไมต้องทำ ผลลัพธ์ของกสิณคืออะไร.... กันแน่
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    buddha-1200-001-jpg-jpg.jpg

    วันนี้ก็มาว่าเรื่องของการฝึกเกี่ยวกับ กสิณทั้ง ๑๐ ของเราต่อไป เมื่อวานได้กล่าวไปแล้วถึง วรรณกสิณทั้งสี่ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว

    เรื่องของกสิณนั้น แม้ว่าจะเป็นกรรมฐานที่หยาบ มีนิมิต มีสัมผัสได้ จับได้ ต้องได้ แต่ว่ามันลำบากด้วย
    *การหานิมิตกสิณ* เพื่อที่จะใช้ในการเพ่งและพิจารณา

    สำหรับวันนี้ก็จะกล่าวถึง ธาตุกสิณทั้งสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ กสิณทั้งสี่กองนี้เริ่มจาก
    • ปฐวีกสิณ เราก็ต้องหานิมิตกสิณก่อน สมัยโบราณท่านบอกว่าให้ใช้ดินสีอรุณ คือสีเหลืองอมแดง เพื่อนำมาทำเป็นนิมิตกสิณ ต้องเอาดินมาละเลงบนผ้าสดึง แต่ว่าสมัยนี้ของเราถ้าทำอย่างนั้นได้ก็ดีแต่เนื่องจากว่าสมัยนี้บางทีการหา วัสดุมาทำมันยากอยู่สักนิดหนึ่ง เด็กรุ่นหลังๆ กระทั่งดินสีอรุณหรือดินขุยปูในลักษณะนั้นหน้าตาเป็นอย่างไรยังไม่รู้จักเลย เราก็ใช้ดินทั่วๆไป อาจจะเอามานวดมาปั้นก็ได้ ปั้นให้เป็นรูปกลมๆ ขนาดที่เราชอบใจก็ได้ หรือว่าจะปั้นให้เป็นสี่เหลี่ยมก็ได้ หรือว่าจะทำเป็นนิมิตกสิณอย่างของคนโบราณคือละเลงลงบนผ้าที่กว้างเมตรสองคืบสี่นิ้วก็ได้หรือว่าจะปัดกวาดสถานที่ใดที่หนึ่งให้สะอาด มองพื้นดินที่เห็นแล้วจับเป็นนิมิตกสิณก็ได้ สำหรับ

    • ธาตุน้ำ ง่ายสักนิดหนึ่ง เราใช้น้ำใส่ภาชนะ ใส่ขัน ใส่ถังอะไรก็ได้ที่เราจะสามารถนั่งแล้วมองได้ถนัด

    • เรื่องของ ธาตุลม สมัยก่อนท่านให้จับอาการไหวของพวกใบไม้ต่างๆ แล้วก็นำอาการไหวนั้นเอามาเป็นนิมิต แต่เนื่องจากว่าบางขณะลมสงัดถ้าหากว่านิมิตยังไม่ทรงตัวเราก็ทำต่อไม่ได้ จากที่เคยฝึกมาให้ใช้พัดลมเปิดเบาๆ ให้ลมนั้นกระทบร่างของเรา จับอากาศกระทบเป็นระลอกๆ ของลมนั้นเป็นนิมิตได้ หรือว่าถ้ามีความคล่องตัวแล้วใช้ลมหายเจ้าเข้าลมหายใจออกของเราเป็นนิมิตแทนก็ได้

    • ธาตุไฟ นั้น สมัยก่อนใช้ก่อไฟกองใหญ่ขึ้นมาแล้วก็เจาะรูที่ผ้านำผ้านั้นขึงอยู่หน้ากองไฟ มองเฉพาะไฟที่ผ่านจากรูกลมของผ้าเข้ามา แต่ว่าจริงๆ แล้วจะใช้แบบไหนก็ได้ จุดเทียนขึ้นมาแล้วเพ่งเปลวเทียนก็ได้ หรืออย่างสมัยที่ผมฝึกมันหาเทียนยากมีแต่ตะเกียงน้ำมันผมก็ใช้ตะเกียงน้ำมัน หรือเวลาหุงข้าวก็เอาฟืนทั้งเตาเป็นนิมิตกสิณได้ สมัยโน้นเตาแก๊สยังไม่มี หม้อไฟฟ้ายังไม่มี ถึงเวลาก็ต้องติดไฟหุงข้าวจะเป็นเตาถ่านเตาฟืนอะไรผมก็ใช้นิมิตไฟทั้งเตานั้นเป็นนิมิตกสิณแทน


    คราวนี้กล่าวถึง *อนุภาพของกสิณ* ก่อน ธาตุกสิณทั้งสี่กองนี้มีอนุภาพมาก
    • ปฐวีกสิณ นั้นถ้าหากว่าเราต้องการของอ่อนเป็นของแข็งเมื่อทำได้แล้วก็อธิษฐานได้ตามใจ สามารถเดินขึ้นบนอากาศได้เหมือนกับมีบันไดรองรับ เดินบนน้ำได้เหมือนยังกับว่าพื้นน้ำนั้นแข็งตัวอยู่

    • เรื่องของ อาโปกสิณกสิณน้ำ สิ่งที่แข็งเราสามารถอธิษฐานให้อ่อนดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามใจของเราชอบ ที่ที่ไม่มีน้ำอดน้ำอยู่สามารถอธิษฐานให้น้ำเกิดที่ นั่นได้ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเราทำเป็นก็สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้ โบราณาจารย์ท่านกล่าวว่า กสิณไฟ กสิณสีขาว กสิณแสงสว่างคืออาโลกสิณ เป็นพื้นฐานของทิพยจักษุญาณ เรื่องของอาโปกสิณคือกสิณน้ำถ้าหากว่าเรากำหนดใจจดจ่ออยู่กับน้ำในภาชนะนั้น ก็เป็นอาโปกสิณ แต่ถ้าเราเพ่งจิตจนถึงก้นของภาชนะน้ำนั้น สามารถทำเป็น ทิพยจักษุญาณ ได้

    • เรื่องของ วาโยกสิณ เราสามารถจะไปที่ไหนๆ ได้ด้วยกำลังของวาโยกสิณอย่าง ที่โบราณเขาใช้คำว่าเหาะไป แต่ว่าความจริงแล้วถ้าหากว่ามีคนเห็นเราอยู่ตรงหน้าแล้วเราไปด้วยกำลังของ วาโยกสิณจริงๆ ถ้าไม่ได้อธิษฐานให้ไปช้าๆ อย่างเช่นถ้านั่งอยู่ตรงนี้คิดว่าเราจะไปกรุงเทพฯ คนที่นั่งอยู่ตรงนี้จะเห็นเราหายไปเฉยๆ แล้วไปปรากฏที่กรุงเทพฯอีกทีหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วเราลอยไปด้วยอำนาจของวาโยกสิณ เพียงแต่ว่าลอยไปเร็วมาก มันก็เลยเหมือนกับหายวับจากจุดนี้ไป ไปปรากฏที่อีกจุดหนึ่ง หรือว่าที่ไหนไม่มีลมมันร้อนอบอ้าว อธิษฐานให้มีลมให้มันเย็นสบายได้

    • เรื่องของ เตโชกสิณ คือกสิณไฟ ถ้าทำได้แล้วเราสามารถอธิษฐานให้ไฟติดขึ้นที่ใดที่หนึ่งก็ได้ จะให้ความอบอุ่นจะให้แสงสว่างหรือจะให้เผาผลาญสิ่งใดก็ได้ อำนาจของเตโชกสิณ เราสามารถควบคุมมันได้อย่างที่ต้องการ ถ้าจะเผาแค่เสื้อผ้ารับรองว่าตัวคนไม่มีอันตราย ทั้งๆ ที่ไฟลุกท่วมตัวอยู่อย่างนั้น
    คราวนี้ ธาตุกสิณทั้งสี่ นี้ยังสามารถใช้ใน การปรับธาตุ เพื่อรักษาพยาบาลคนที่เจ็บป่วยได้ เนื่องจากว่าคนที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดจากการที่ธาตุใดธาตุหนึ่งบกพร่อง ถึงมีอาการเจ็บป่วยถ้าเราอธิษฐานให้ธาตุสี่ประสานเสมอกันอาการเจ็บป่วยนั้นก็หาย แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้วถ้าไม่ใช่หน้าที่ของตนจริงๆ อย่าไปฝืนกรรม ทำในลักษณะนั้น เพราะว่าทุกคนต้องสร้างกรรมมาถึงจะเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเราไปฝืนกระแสกรรมโดยการช่วยเหลือผู้อื่นเขา กรรมอันนั้นจะเข้าถึงตัวเราอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเราไปฝืนกฏของกรรม อำนาจของอภิญญาที่ได้จากกสิณจะเสื่อม



    ในเมื่อธาตุกสิณทั้งสี่ มีอนุภาพดังนี้ เวลาเรา *ปฏิบัติ* ก็เริ่มจากกองใดกองหนึ่งที่เราชอบ

    ถ้าจับ ปฐวีกสิณ ก่อนก็ลืมตาดูภาพนิมิตกสิณที่เราทำไว้ หลับตาลงนึกถึงภาพนั้นพร้อมกับคำ ภาวนาว่า "ปฐวีกสิณนัง ปฐวีกสิณนัง " ถ้าภาพเลือนหายไปลืมตาขึ้นมาดูใหม่แล้วหลับตาลงนึกถึงภาพนั้น ระยะแรกๆ มันจะนึกได้แค่ชั่วคราวพอถึงเวลาหลับตาลงไม่ถึงอึดใจภาพก็หายไป ก็ลืมตาดูใหม่พร้อมกับคำภาวนาใหม่ ทำดังนี้ไปเรื่อยๆ บางทีเป็นเดือนเป็นปี เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านครั้งกว่าภาพนั้นจะปรากฏได้ทั้งหลับตาและลืมตา

    ถ้าใช้ กสิณน้ำเมื่อใช้ภาชนะบรรจุน้ำวางอยู่ตรงหน้าลืมตามองน้ำในภาชนะนั้น พร้อมกับหลับตาลงนึกถึงภาพของน้ำในภาชนะ ภาวนาว่า "อาโปกสิณนัง อาโปกสิณนัง " ดังนี้ไปเรื่อยๆ

    ถ้าหากว่าการกำหนดใน วาโยกสิณ เมื่ออาการของลมที่กระทบผิวกายเป็นระลอกระลอกอย่างใด ก็ให้กำหนดอาการกระทบอย่างนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า "วาโยกสิณนัง วาโยกสิณนัง "

    ถ้าหากว่าจับ ภาพไฟ เป็นปกติ ก็ให้จับภาพของดวงเทียน หรือว่ากองไฟนั้นๆ พร้อมกับคำภาวนาว่า "เตโชกสิณนัง เตโชกสิณนัง "


    คราวนี้เรื่องของ ธาตุกสิณทั้งสี่ นี้ ถ้าหากว่าเป็น *อุคหนิมิต* ก็จะเป็นนิมิตตามกองกสิณนั้นๆ

    คือว่าถ้าเราทำ นิมิตดิน เป็นรูปวงกลม เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างไรที่เราชอบใจก็ตาม ถึงวาระถึงเวลานั้นภาพนั้นก็จะปรากฏ

    ถ้าเป็น กสิณน้ำก็จะปรากฏเป็นวงตามภาชนะนั้นๆ

    ถ้าเป็น กสิณลม อันนี้จับยากสักนิดหนึ่งเพราะว่าเรามองลมไม่เห็นแต่พอจับอาการกระทบไปเรื่อยๆ ๆ มันจะเริ่มเห็นขึ้นมา ลักษณะยังกับเราเห็นไอแดดที่มันเต้นเป็นตัวเวลาร้อนมากๆ ถ้าหากว่าภาพกสิณนั้นมีความชัดเจนขึ้น ก็จะเหมือนกับไอน้ำที่เราต้มน้ำหรือว่าหุงข้าวแล้วไอนั้นลอยขึ้นมาเป็นระลอก ระลอก อยู่อย่างนั้น

    ถ้าหากว่าเป็น กสิณไฟ ก็จะมีนิมิต ตามลักษณะของดวงกสิณที่เราพิจารณาอยู่ ที่เราเพ่งอยู่ ถ้าหากว่าเราเพ่งเปลวเทียนนิมิตก็จะเป็นดวงเทียนในลักษณะเปลวไฟลอยตั้งอยู่เฉยๆ ถ้าเราเพ่งภาพของกองไฟก็จะเห็นไฟทั้งกองนั้นตั้งอยู่ตรงหน้าของ เรา แต่ว่ามีอยู่จุดหนึ่งที่ว่าถ้าหากว่าบางท่านมีความคล่องตัวมาก่อนมันจะไม่ เห็นเป็นเปลวไฟในลักษณะของดวงกสิณที่เราเพ่งแต่มันจะเห็นในลักษณะเหมือนยัง กับ ตาลปัตรทองคำ คือมันจะพุ่งขึ้นไปแล้วแตกกระจายเป็นแฉกๆ อยู่ทางด้านบนซึ่งอันนี้ผมเจอมาด้วยตัวเอง


    เมื่อลักษณะของ อุคหนิมิต นี้ปรากฏขึ้น เราต้อง เพิ่มความระมัดระวัง เพิ่มสติ จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่งเอากำลังใจส่วนหนึ่งจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ พร้อมกับคำภาวนาเสมอ พอทำไปๆ สีสันของกสิณนั้นก็จะ อ่ อ น ล ง.. จ า ง ล ง ..จนกระทั่งกลายเป็นสีขาวทั้งหมด จากสีขาวก็ค่อย ใ ส ขึ้ น ๆ ส ว่ า ง ขึ้ น จนกระทั่ง ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เหมือนยังกับเอากระจกสะท้อนไฟใส่ตา


    แต่ว่ามันมีนิมิตกสิณอยู่สองกองคือ อาโปกสิณ กสิณน้ำ กับ เตโชกสิณ กสิณไฟ นิมิตทั้งสองกองนี้ถ้าเป็น ปฏิภาคนิมิต แล้วเมื่อเราอธิษฐานให้ใหญ่ให้เล็กให้มา ให้หายไป มีความคล่องตัวแล้ว บางทีอยู่ๆ จะเห็นกระแสน้ำไหลมาท่วมทุกทิศทุกทาง อันนั้นอย่าได้ตกใจ หรืออยู่ๆ เห็นเป็นไฟลุกไหม้พรวดพราดขึ้นมา บางทีไหม้ไปทั้งอาคารทั้งหลังอันนั้นก็อย่าไปตกใจ ไม่ว่าจะน้ำมาทุกทิศทุกทางหรือไฟลุกท่วมไปทั้งอาคารก็ตาม

    โปรดทราบว่าอันนั้นเป็นแค่นิมิตกสิณเฉยๆ เราสามารถที่จะควบคุมมันได้สบายมาก เราอธิษฐานให้ไฟลุกท่วมทั้งโบสถ์นี้ โบสถ์นี้ก็จะไม่มีอันตรายถ้าเราไม่ต้องการให้ไหม้ ให้น้ำท่วมมาทุกทิศทุกทางก็จริง แต่ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการให้มีอันตรายจากน้ำนั้น น้ำนั้นก็ทำอันตรายใครไม่ได้
    มีหลายท่านที่ทำกสิณดังนี้แล้วพอนิมิตพวกนี้เกิดขึ้นแล้วตกใจกลัว วิ่งหนีก็ดีหรือว่าตื่นตกใจเรียกให้คนช่วยก็ดีในลักษณะนั้นเป็นการขาดสติ บางทีความตกใจมากทำป้ำๆ เป๋อๆ ทำกรรมฐานต่อไม่ได้เลยก็มี

    ดังนั้นขอให้ เราทุกคนโปรดเข้าใจว่า ถ้านิมิตกสิณเหล่านี้เกิดขึ้น เราเป็นผู้ทำให้มันเกิด ต้องการให้มันมามันก็มา ต้องการให้มันหายไปมันก็หายไปเดี๋ยวนั้น มันจะทำอันตรายเราไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถควบคุมมันได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปตกใจ ไม่จำเป็นต้องไปหวาดกลัวใดๆ


    ให้เราพยายามทำกสิณในลักษณะนี้ให้ทรงตัวให้ได้ เมื่อเป็น*ปฏิภาคนิมิต* แล้ว เราก็ลองอธิษฐานใช้ผลดูคือ จับภาพกสิณให้ ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เต็มที่ กำหนดอธิษฐานให้หาย ให้มา จนคล่องตัวมั่นใจ

    แล้วถ้าหากว่าเป็น ปฐวีกสิณ ก็ลองนำน้ำมาสักขันหนึ่ง อธิษฐานว่า "ขอให้น้ำนี้จงแข็งเหมือนดิน" แล้วเสร็จแล้วคลายกำลังใจออกมาเข้าฌานเต็มระดับ คือจับภาพกสิณให้ ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เต็มที่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อคลายใจออกมาสู่อารมณ์ปกติ แล้วอธิษฐานขอให้น้ำนี้แข็งตัวใหม่ น้ำนั้นจะแข็งเป็นดิน คือ ลักษณะแข็งเหมือนกับหินไปทั้งขัน

    สมัยที่อยู่วัดท่าซุงเด็กๆ นักเรียนทำได้แล้วก็แกล้งเพื่อนตัวเองลักษณะนี้ พอเข้าส้วมก็รอจังหวะพอเพื่อนจะตักน้ำล้างส้วมก็อธิษฐานให้น้ำมันแข็งเพื่อน ตักน้ำไม่ได้ตัวเองก็ชอบใจไปหัวเราะเยาะเพื่อนได้ พยายามทำให้อยู่ในลักษณะที่เรียกว่ามีความชำนาญ นึกเมื่อไหร่น้ำก็แข็งเมื่อนั้น คราวนี้จะลองหัดเดินน้ำดูก็ได้แต่ว่าถ้าหัดเดินน้ำให้ อธิษฐานว่า "ให้น้ำทุกจุดที่เราเหยียบลงไปมีความแข็งและหนาแน่นเหมือนกับดิน" อย่าไปอธิษฐานให้น้ำทั้งหมดแข็งเพราะว่าจะสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นเขา ถ้าอธิ๋ษฐานผิดในลักษณะนั้นผลของกสิณจะไม่เกิด

    ถ้าหากว่าเป็น กสิณน้ำก็ลองอธิษฐาน ของแข็งให้อ่อน ดู อาจจะน้ำไม้สักอันหนึ่ง เหล็กสักท่อนหนึ่งมาวางตรงหน้า เข้าสมาธิเต็มที่ จนภาพกสิณ ใ ส ... เ จิ ด จ้ า แล้วอธิษฐานขอให้ไม้หรือเหล็กนั้นอ่อนลง คลายกำลังใจลงมาเข้าสู่ภาวะฌานสมาบัติให้เห็นดวงกสิณ ใ ส เ จิ ด จ้ า แบบนั้นเต็มที่อีกครั้งหนึ่ง พอลดกำลังใจลงมา อธิษฐานขอให้มันอ่อนตัวลง พอเข้าฌานใหม่ สิ่งนั้นก็จะอ่อนตัวลง จับบิดดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามที่เราต้องการ

    ถ้าหากว่าเป็น กสิณลม ก็เอาระยะใกล้ๆ ในจุดที่คนเขามองไม่เห็นเพื่อคนเขาจะได้ไม่แตกตื่น อย่างเช่นว่าเราอธิษฐานว่า "จะไปในดงไผ่นั้น" เวลาเข้าสมาธิเต็มที่ อธิษฐานแล้วคลายกำลังใจออกมา อธิษฐานแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง พอเข้าสมาธิเต็มที่ ร่างกายก็จะไปอยู่ในสถานที่ที่ต้องการนั้นๆ

    ถ้าเป็น กสิณไฟ ก็แอบๆ จุดไฟเล่นของเราก็ได้ จุดเทียนในกุฏิของเราตั้งใจอธิษฐาน "ขอให้ไฟมันติด " มันก็จะติดขึ้นมา


    ทำให้มีความคล่องตัวแบบนี้ทุกวัน ซ้อมทำอยู่เรื่อยๆ ทุกบ่อย ความจริงเรื่องของกสิณนั้น ถ้าเราทำกองใดกองหนึ่งได้แล้วกสิณที่เหลือก็เหมือนๆ กัน คำว่าเหมือนกันก็คือว่าใช้ลักษณะของนิมิตด้วยกำลังเท่าเดิมใช้กำลังของสมาธิ เท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนนิมิตเปลี่ยนคำภาวนาเล็กน้อยเท่านั้น


    กสิณกองต่อไปคือ อาโลกสิณ เป็นการจับแสงสว่าง สมัยก่อนเขาดูแสงสว่างที่ลอดฝา ลอดตามช่องเข้ามา ลอดตามหลังคาเข้ามา แต่ว่าสมัยนี้มีลูกแก้วใช้ลูกแก้วเป็นนิมิตกสิณได้ หรือว่าใช้พระแก้วเป็นนิมิตกสิณได้ อาโลกสิณนั้นเป็นกสิณสร้าง ทิพยจักษญาณ โดยตรง ใครทำอาโลกสิณได้สามารถมีทิพยจักษุญาณเห็นนรก สวรรค์ พรมหม นิพพานได้ง่ายๆ ขณะเดียวกันถ้าที่ใดมันมืดมิดต้องการจะให้สว่างมันก็สว่างตามที่เราต้องการได้ เวลาจับภาพนิมิตกสิณพร้อมกับคำภาวนา ก็ใช้คำว่า "อาโลกสิณนัง อาโลกสิณนัง"


    ส่วนกสิณกองต่อไปคือ อากาศกสิณ อันนี้ให้จับช่องว่างเป็นช่องใดช่องหนึ่งตามข้างฝาก็ได้ตามหลังคาก็ได้เป็นตัวนิมิต ตั้งใจภาวนาว่า "อากาศกสิณนัง อากาศกสิณนัง " ดังนี้ไปเรื่อยๆ เรื่องของอากาศกสิณนี้มีอนุภาพตรงที่ว่าสถานที่ใดมันจะทึบมันจะตันขนาดไหนก็ตามประตูหน้าต่างที่เขาล็อคไว้ขนาดไหนก็ตามถ้าเราต้องการจะผ่านไป ถึงเวลาอธิษฐานให้ตรงนั้นเป็นช่องว่างเราก็สามารถผ่านไปได้ง่ายๆ ลักษณะของการดำดินหรือว่ามุดภูเขาไปทั้งลูกก็ใช้กำลังของอากาศกสิณนี้เอง

    ส่วน อาโลกสิณ นั้นเป็นกสิณเกี่ยวกับ ทิพยจักษุญาณโดยตรง ถึงเวลาอธิษฐานขอให้ภาพกสิณหายไปขอให้ภาพนรก เปรต อสุรกายปรากฏขึ้น ขอให้ภาพเทวดา พรมหม หรือพระนิพพานปรากฏขึ้น เราก็สามารถที่จะทำได้ง่าย

    คราวนี้ *กสิณทั้งหมดนั้นถ้าเราทำแค่นั้นมันเป็นโลกียอภิญญา*

    ไม่สามารถจะหลุดพ้น ก็ให้พิจารณาดูความไม่เที่ยงของมันไม่ ว่าจะดิน จะน้ำ จะลม จะไฟมันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายตัวไปเช่นกัน ดวงกสิณทุกอย่างแรกๆ มันก็ไม่สามารถตั้งมั่นทรงตัวอยู่ได้ ถึงเวลาเป็นอุคหนิมิตทรงตัวก็แสดงว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติ แล้วถึงเวลาสามารถบังคับมันให้เป็นปฏิภาคนิมิตได้เดี๋ยวก็ใหญ่เดี๋ยวก็เล็ก ความไม่เที่ยงของมันมีอยู่เป็นปกติ ตัวเราเองที่ทำกสิณอยู่กว่าจะทำได้แต่ละทีลำบากยากเย็นแสนเข็นขนาดต้องนั่ง เมื่อยอยู่เป็นวันๆ จับภาพกสิณให้เป็นอุคนิมิตไม่ได้เลย (ถึงนาทีที่ ๒๔:๒๕)


    พระกรรมฐาน ๔๐ กอง หมวดกสิน ๑๐
    วันพุธที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๗


    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    (หลวงพี่เล็ก วัดท่าขนุน)



    แหล่งที่มา
    - http://palungjit.org/posts/840772

    https://palungjit.org/threads/โลกียอภิญญา-การฝึกกสิณและอานุภาพของกสิณ.544628/
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถาม : แล้วคำภาวนาจำเป็นไหมคะ ?
    ตอบ : จำเป็น คำภาวนาพร้อมกับลมหายใจเข้าออกนั้นสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีอานาปานุสติกรรมฐาน กรรมฐานทุกกองจะได้ประมาณแค่อุปจารสมาธิเท่านั้น ทรงฌานไม่ได้

    ถาม : ความรู้สึกจะต้องได้ขนาดไหน ?
    ตอบ : ถ้าภาพกสิณนั้นสว่างเจิดจ้าเหมือนกับเรามองกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ นั่นก็คือฌาน ๔

    ส่วนเรื่องลม ๓ ฐาน ๗ ฐานอะไรนั่น เมื่อถึงตอนนั้นไม่ต้องไปคิดถึง เพราะว่าถึงเวลาบางครั้งคำภาวนาก็หายไปเฉย ๆ เราแค่กำหนดรู้ตามภาพเท่านั้นว่า ตอนนี้เป็นอย่างนี้ ตอนนี้เป็นอย่างนี้

    ถาม : จำเป็นต้องทำอานาปาฯ ด้วยหรือคะ ?
    ตอบ : จำเป็นต้องใช้เลย กรรมฐานทุกกองที่เหลืออีก ๓๙ กอง ถ้าไม่ได้อานาปานานุสติควบด้วย อย่างเก่งก็ได้แค่อุปจารสมาธิ

    ชอบทำกสิณก็ดีเพราะว่ากสิณเป็นพื้นฐานของฤทธิ์ พอได้กสิณคล่องแล้ว ต่อไปก็เล่นสมาบัติ ๘ ต่อ สมาบัติ ๘ นี้ เว้นจากอากาสกสิณ เรายกกสิณขึ้นมากองหนึ่งแล้วเพิกภาพกสิณนั้นเสีย ฝึกทำอรูปฌานให้เกิดขึ้นต่อไป


    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔

    https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2365
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๑๒๙
    เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗
    โดยพระครูวิลาศกาญจนธรรม
    วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

    b6w2g1415055333.jpg

    อานาปานสติ ถ้าเริ่มมั่นคง จิตกับกายแยกเป็นคนละส่วนกัน ไม่รับรู้อาการทางกายเสียด้วยซ้ำไป


    http://palungjit.org/threads/กระโถนข้างธรรมาสน์-ฉบับที่-129-เดือนพฤศจิกายน-2557-a.541109/
     
  14. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ของพวกนี้ อยู่ที่คนชอบ จะโน้มไป ในสติ ปัฏฐานก็ได้
    ใครจะฝึกทางนี้ ก้ไม่แปลก

    จะเอา อาการ 32 ทำกสิณก็ไม่ผิด อยู่ที่ ไหวพริบ คนฝึก

    ถ้าจุดมุ่ง ที่นิพพาน มันก้ลงที่เดียวกัน ท้ายสุดของกสิณ ก็ลง ไตรลักษณ์
     
  15. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ไม่เอาอะ ถ้าคนเราจะชอบย่อมมีข้อดี เพราะถ้าตอบแบบนี้ก็ไม่ต่างกับว่า ฟังตามกันมา ที่ถามเพราะว่าคนทำควรรู้ มันเป็นเรื่องของการโฟกัสในบางอย่าง แต่เหตุผลอะไรจึงต้องโฟกัสลงไป มันเรื่องที่เขาควรรู้ ไม่ใช่ทำอะไรไปเชื่ออะไรไปเพราะฟังเขามา ไม่เอาแบบนั้น มันแค่การเอาตัวรอดแต่ไม่รอดนะ
     
  16. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ยกตัวอย่างนะ จิตเห็นไฟ จิตเป็นไฟ จิตคืออะไรในไฟ อันนี้แค่ยกตัวอย่าง ไม่เอาแล้วที่สักแต่ว่าฟังมา
     
  17. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ส่วนเรื่องฤทธิ์ขอให้ละไว้ก่อน ตราบใดก็ตามที่สั่งมันไม่ได้ ย่อมยังก่อน ควบคุมมันไม่ได้ก็ย่อมยังก่อน เพราะคงทำได้จริง ผู้ควบคุมธาตุ อย่างน้อยก็ธาตุในตัวเรา แต่ถ้าเราควบคุมได้ธาตุเดียวก็ไม่มีความหมาย
     
  18. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762

    ต้องไปดู ตอนไปปราบ ชดิฎ สามพี่น้อง ที่ทรงกสิณ

    หรือ ตอนไปปราบพญานาค ถ้าผมจำไม่ผิด นั่นอาจจะเป็นข้อดี
     
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จิตเห็นไฟ จิตไม่ได้เป็นไฟ ครับ จิตเป็นจิต จิตก็คือเรา เราไม่ได้เป็นไฟ จิตคือเรา เราที่เป็นผู้รู้ รู้ นิมิต ไฟ เคนะครับ

    ถ้าไม่เข้าใจ ก็ง่ายๆ ไม่ต้องกสิณ หรอก คุณเห็นแมว คุณก็ยังเป็นคุณ คุณไม่ได้เป็นแมว
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    แล้วต้องแยกให้ออกว่า ระหว่าง ดวงกสิณไฟ นิมิตกสินไฟ กับ นึกเองภาพไฟเอาเอง ดวงไฟเอาเอง มันคนละอย่างกัน

    นึกขึ้นมาเอง วิปัสสนึก นึกเองเออเอง ว่าเห็นภาพไฟว่าเป็น ดวงกสิณไฟ เข้าใจว่าเป็นกสิณไฟ มันไม่ใช่ นิมิตกสิณไฟ ครับ

    แรกๆ จะเห็นนิมิตดวงกสิณได้ จิตต้องเป็นสมาธิ เป็นฌาน แล้วกำหนด นิมิตดวงกสิณ ขึ้นมา ครับ

    จิตยังไม่เป็นสมาธิ เป็นฌาน มันก็เป็นวิปัสสนึก นึกสร้างภาพเอาเอง ไม่ใช่ ดวงนิมิตกสิณ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...