พระพุทธเจ้าสอนอานาปานสติมั้ยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Opened, 30 มิถุนายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Opened

    Opened Active member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2020
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ไม่ได้มีเจตนาล่วงเกินนะครับ สงสัยขึ้นมาเฉยๆ
    เรื่องเจริญสติในชีวิตประจำวัน ผมคิดว่าเจริญสติคงเกี่ยวกับการทำงาน ท่าทาง การเคลื่อนไหว แล้วจะเอาช่วงเวลาไหนไปกำหนดรู้ลมเข้าออกครับ สำหรับคนที่ไม่นั่งสมาธิเจริญกรรมฐาน
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    [​IMG]
    ๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
    -------------------------------
    [๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
    มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก
    ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ
    ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และ
    พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาท
    พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง
    บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
    โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำ
    สอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
    [๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
    กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวัน
    ปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดย
    ลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้
    เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึง
    คุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำ
    ให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ
    ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท ๑- พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าว
    ว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่ง
    ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อ
    เฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ
    @๑. คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง
    เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บาง-
    *พวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
    โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาท
    พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
    [๒๘๔] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
    กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน
    แห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรง
    เหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรม
    อันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับ
    บริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การ
    กระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้
    บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก
    มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลก
    ยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร
    ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
    [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น
    พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
    ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ
    แล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะ
    สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับ
    มาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามี
    เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
    มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่
    ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะ
    สิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน
    เบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
    ความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้
    ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
    ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก
    แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
    ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
    สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
    อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
    ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
    ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
    ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
    รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก
    ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
    อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
    ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ
    ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย
    ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
    ไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ
    เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ
    ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา
    ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ-
    *ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความ-
    *เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
    สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ
    เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน
    ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม
    นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม
    เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
    วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส
    ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
    ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต
    ตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้
    มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
    นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อม
    เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘

    https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    Screenshot_2020-06-30 อานาปานสติ 84000 - ค้นหาด้วย Google.png
     
  5. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    กรรมฐาน ที่ "จขกท" รู้จัก อันนั้น มันเป็น "กสิณลม"

    พอเป็น "กสิณลม" ร้อยละร้อย จะเห็นว่า
    เดินไม่ได้ คิดไม่ได้ ต้องนั่งจุมปุ๊ก

    ดีกว่านั้นหน่อย จขกท อาจจะจับ อากาสากสิณ
    กสิณช่องว่าง จากการ ปฏิบัติตาม อานาปานสติ16
    ขั้น(ประยุกต์)ของท่านพุทธทาส

    ส่วน อานาปานสติที่มีคำบริกรรม อันนั้นก็จะ
    ผลิกแผลงไป กสิณต่างๆนานา

    ก็เลยมีแต่เรื่อง นั่งจุมปุ๊ก

    จริงๆ หาก จขกท สนใจ "อานาปานสติ" ที่เป็น
    กรรมฐาน "กองสัญญา" ควรจะอ่าน อานาปานสติ
    ที่ปรากฏใน ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งแสดงธรรมโดย
    พระสารีบุตร

    จุดตัดสินง่ายๆ อานาปานสติของพระสารีบุตร
    ไม่ใช่ กสิณ คือ ปฏิภาคนิมิต กับ อุคหนิมิต
    ของ พระสารีบุตร จะให้ใช้ กิเลส การสิ้นกิเลส
    การละกิเลส การดับของกิเลส เป็น ปฏิภาคนิมิต
    อุคหนิมิต

    ลองพินาดูง่ายๆ ฮับ หาก ขณะนี้ จขกท สามารถ
    กำหนดรู้กิเลส ตัวไหนก็ได้ ที่ไม่ค่อยมีก็ได้ หรือ
    มีบ่อยๆก็ได้ ว่า ณ ปัจจุบันมีไหม หรือ ดับ หากดับ
    ดับด้วยเหตุอะไร กำหนดรู้ได้อย่างนี้ นี่ได้
    "อานาปานสติ" แล้ว สะเตะนิ่ม

    เดินก็ได้ ทำงานก็ได้ คิดอยู่ก็ได้ เพราะ อะไรเหล่า
    นี้ปรากฏตลอดในชีวิตประจำวัน หาก เอามากำหนดรู้
    ก็จะกลายเป็น ฝึก "อานาปานสติไปในตัว" แถมไม่
    ต้องรอจิตอึ๊ก เด่นดวงอะไร กิเลสนี่ เห็นได้ตอนไหน
    ตอนนั้นจิตจะเป็นฌาณ3 ฌาณ4 อัตโนมัติ เพียงแต่
    ไม่ได้ ทรงไว้ และ ไม่ได้มีการคำนึงในการเข้าอยู่ออก
    ในฌาณ1-8 แต่อย่างใด ( เน้นแต่ ข้าศึกของฌาณ
    ปฏิปักษของฌาณ แต่ละชนิด รำงับ จิตก็จะเฉียด
    ฌาณนั้นๆ ตลอดทั้งวัน )

    การเจริญอานาปานสติ จึงทำให้ ฌาณ1-9 บริบูรณ์

    กิเลสก็ถูกชำแรก ตัด ขัด เกลา

    นิพพาน เป็นอันหวังได้ แม้นในอัสสาสะ ปัสสาสะสุดท้าย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2020
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อานาปานะสติ เป้น 1 ใน สติปัฏฐานละครับ
    เป็นการทำสติปัฏฐานโดยตรงเหมือนกัน

    สติปัฏฐานเป็น ทางสายเอก
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    เจริญสติในชีวิตประจำวันหลักสำคัญคือมีฐานอยู่ที่กายครับ

    ระหว่างวัน เวลาทำงานก็ตั้งในทำงานที่รับผิดชอบให้เต็มที่ไป เป็นการเอาสมาธิไปอยู่ภายนอกคืออยู่กับงาน เอาการเอางานนั่นหละครับ
    เป็นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน



    วิธีเจริญสติระหว่างวัน มันจะมีช่วงที่เรานิ่งๆ นั้น
    ในช่วงพักร่างกาย ถึงมาระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกหยุดที่ปลายจมูก ดันลมหายใจ
    เข้าให้ลึกถึงท้อง
    ดันลมออกจนท้องแฟ้บ แต่อย่าตามลมหายใจ
    เพราะจิตจะเกิด(ส่งตัววิญญาณไปตามลม)
    จะแป๊กที่ปฐมฌานทั้งชาติได้ เพราะความละเอียด
    ของลมหายใจจะไม่เพียงพอ ต่อสมาธิระดับสูง(ถ้าจะต่อยอดนะ)

    ๒ เวลาเดินไปไหนก็ตาม แม้แต่ทำธุระส่วนตัว นับจำนวนก้าวเดิน ว่าเดินไปกี่ก้าว นี่ก็เจริญสติครับ
    (ร้อยละเก้าสิบมักจะลืม) เลยส่งผลต่อเนื่องถึง
    การนั่งสมาธิทำให้ไม่สงบ รวมทั้งไม่มีพัฒนาการเพราะกำลังสมาธิที่ได้นั่งมาแบบทางการมันถูกนำมาใช้ครับ และถ้าไม่ได้นั่งเลยยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องสมาธิครับ(สำหรับคนจะต่อยอดนะครับ)

    ๓ หรืออยู่นิ่งๆ จะนับนิ้วเล่นก็ได้ครับ
    แล้วแต่ ขอให้ฐานอยู่ที่กายพอ


    เพียงเท่านี้ ถ้าทำได้ต่อเนื่องจริงๆนะครับ
    (ส่วนมากจะลืม จะขาด และไม่ต่อเนื่อง)
    ก็เพียงพอสำหรัยการแยกรูปแยกนาม
    เพื่อเอาไว้เป็นฐานสำหรับเดินปัญญาได้แล้วครับ
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    วาโยกสิณ
    เรื่องของกสิณลม สมัยก่อนท่านให้จับอาการไหวของพวกใบไม้ต่าง ๆ แล้วก็นำเอาการไหวนั้นเอามาเป็นนิมิต

    แต่เนื่องจากว่า บางขณะลมสงัด ถ้าหากว่านิมิตยังไม่ทรงตัว เราก็ทำต่อไม่ได้ จากที่เคยฝึกมา ให้ใช้พัดลมเปิดเบา ๆ ให้ลมนั้นกระทบร่างของเรา จับอาการกระทบเป็นระลอก ๆ ของลมนั้นเป็นนิมิตได้

    หรือว่าถ้ามีความคล่องตัวแล้ว ใช้ลมหายเข้า ลมหายใจออกของเรา เป็นนิมิตก็ได้

    เรื่องของวาโยกสิณ เราสามารถจะไปที่ไหน ๆ ก็ได้ ด้วยกำลังของวาโยกสิณอย่างที่โบราณเขาใช้คำว่า "เหาะไป" แต่ว่าความจริงแล้ว ถ้าหากว่ามีคนเห็นเราอยู่ตรงหน้าแล้ว เราไปด้วยกำลังของวาโยกสิณจริง ๆ ถ้าไม่ได้อธิษฐานให้ไปช้า ๆ

    อย่างเช่น ถ้านั่งอยู่ตรงนี้ คิดว่าเราจะไปกรุงเทพฯ คนที่นั่งอยู่ตรงนี้ จะเห็นเราหายไปเฉย ๆ แล้วไปปรากฏที่กรุงเทพฯ แต่จริง ๆ แล้ว เราลอยไปด้วยอำนาจของวาโยกสิณ เพียงแต่ว่าลอยไปเร็วมาก มันก็เลยเหมือนกับหายวับจากจุดนี้ไป ไปปรากฏที่อีกจุดหนึ่ง หรือว่าที่ไหนไม่มีลม มันร้อนอบอ้าว อธิษฐานให้มีลม ให้มันเย็นสบายได้

    ถ้าหากว่าการกำหนดในวาโยกสิณ เมื่ออาการของลม มากระทบผิวกายเป็นระลอก ก็ให้กำหนดอาการกระทบอย่างนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า วาโยกสิณัง วาโยกสิณัง

    ถ้าหากว่าเป็นอุคหนิมิตของกสิณลม อันนี้จับยากสักนิดหนึ่ง เพราะว่าเรามองลมไม่เห็น แต่พอจับอาการกระทบไปเรื่อย ๆ มันจะเริ่มเห็นขึ้นมา เหมือนอย่างกับเราเห็นไอแดดที่มันเต้นเป็นตัวในเวลาร้อนมาก ๆ หรือเหมือนกับไอน้ำ ที่เราต้มน้ำหรือว่าหุงข้าว แล้วไอนั้นลอยขึ้นมาเป็นระลอก ๆ อย่างนั้น

    ระยะแรก ๆ มันจะนึกได้แค่ชั่วคราว พอถึงเวลาหลับตาลง ไม่ทันอึดใจภาพก็หายไป ให้ลืมตาดูใหม่พร้อมกับคำภาวนาใหม่ ทำดังนี้ไปเรื่อย ๆ บางทีเป็นเดือนเป็นปี เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านครั้ง กว่าภาพนั้นจะปรากฏได้ ทั้งหลับตาและลืมตา

    เมื่ออุคหนิมิตนี้ปรากฏขึ้น เราต้องเพิ่มความระมัดระวัง เพิ่มสติ จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่ง เอากำลังใจส่วนหนึ่ง จดจ่ออยู่กับภาพกสิณ พร้อมกับคำภาวนาเสมอ

    พอทำไป ๆ สีสันของกสิณนั้นก็จะอ่อนลง จางลง จนกระทั่งกลายเป็นสีขาวทั้งหมด จากสีขาวก็ค่อยใสขึ้น สว่างขึ้น จนกระทั่งสว่างเจิดจ้า เหมือนเอากระจกสะท้อนแสงใส่ตาของเรา

    ถ้าเป็นปฏิภาคนิมิตแล้ว จะอธิษฐานให้ภาพนั้นใหญ่ ให้เล็ก ให้มา ให้หายไป มีความคล่องตัวได้ตามต้องการ

    ให้เราพยายามทำกสิณในลักษณะนี้ให้ทรงตัวให้ได้ เมื่อเป็นปฏิภาคนิมิตแล้ว เราก็ลองอธิษฐานใช้ผลดู คือจับภาพกสิณให้สว่างเจิดจ้าเต็มที่ กำหนดอธิษฐานให้หาย ให้มา จนคล่องตัว

    ถ้าหากว่าเป็นกสิณลม ก็เอาระยะใกล้ ๆ ในจุดที่คนเขามองไม่เห็น เพื่อคนเขาจะได้ไม่แตกตื่น อย่างเช่นอธิษฐานว่า จะไปในดงไผ่นั้น ก็เข้าสมาธิเต็มที่ แล้วคลายกำลังใจออกมา อธิษฐานแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง พอเข้าสมาธิเต็มที่แล้ว ร่างกายก็จะไปอยู่ในสถานที่ที่ต้องการนั้น ๆ

    https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=964
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ สอน
    +++ มี "สติ" ในการทำงาน เคลื่อนไหว "ทุกอย่าง"
    +++ การ "รู้ลมหายใจนั้น ไม่ต้องกำหนด" มันมีของมันอยู่แล้ว
    +++ จะกำหนดหรือไม่ "มันก็มีของมันอยู่ดี"
    +++ เพียงแต่ว่า "จะมีปัญญา รู้ ลมหายใจได้หรือไม่" เท่านั้น
    +++ คนที่ "ทำสมาธิเจริญกรรมฐาน" ไม่ได้จำกัดเฉพาะ "นั่ง"
    +++ จริง ๆ มัน "ทำได้ในทุก อิริยาบท ทุกกรณี"

    +++ แค่ "รู้สึกทั้งตัวเฉย ๆ" แล้วจะทำอะไรก็ทำไป
    +++ จะทำงาน ดื่ม กิน ห้องน้ำ ทุกอย่าง
    +++ ความรู้สึกตัว "มันก็มีอยู่ของมันนั่นเอง"

    +++ คำพูดนี้แล..... แสดงถึง
    +++ "คนไข้ มีสติ รู้สึกตัวแล้ว"
    +++ ตรงนี้ "แพทย์พยาบาล" รับรอง ว่า "ไม่บ้า"
    +++ ตรงนี้ "พระพุทธศาสนา" รับรอง ว่า "เกิดมรรค"

    +++ หากเป็นแบบนี้..... แสดงถึง
    +++ "คนไข้ มีสติ วูปหนึ่ง แล้ว ดับไป" (สติ เกิด/ดับ)
    +++ ตรงนี้ "แพทย์พยาบาล" รับรอง ว่า "ใกล้ตาย"
    +++ ตรงนี้ "พระพุทธศาสนา" รับรอง ว่า "ตัดมรรค"

    +++ OK นิ...
     
  10. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    สติเป็นเหตุ ผลจากการเกิดสติคืออะไร ตรงนี้เป็นผล ดูในปัจจุบัน อยู่กับปัจจุบัน!

    และปัจจุบันเป็นเหตุก็ได้ เป็นผลก็ได้ สติเกิดแล้วมีผลอะไรต่อ มองว่ามันคนละช๊อตกัน ถ้าเอาหลักอยู่กับปัจจุบันมาจับ ก็มีแต่เรื่องของเหตุกับผลหรือเรื่องที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยเฉยๆ

    ทีนี้ในปัจจุบันทุกเสี้ยววินาทีที่ผ่านไปๆ คืออดีตทั้งหมด สิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นเรื่องของอนาคตไปทั้งหมดเหมือนกัน ปัจจุบันเงียบกริบโดยทางกริยา ทุกข์จึงขึ้นอยู่กับใคร พอ (สัมมา)สติเกิด ธัมมวิจัยก็เกิดปัญญาตรองตาม รู้ความเป็นจริง ผลคือทุกข์ดับพร้อมปิติเกิด จิตนิ่งมีสมาธิ มีอุเบกขา ทรงตัวตามกำลัง จิตจะทรงตัวชั่วคราวก่อนคืนไปสู่สภาวะปกติ หมายความว่าไม่ได้แบกเรือขึ้นฝั่งนั่นเอง

    ตรงภาวะปกตินี้ สติ ฌาน ญาณใดๆ จึงยังไม่ได้ใช้เพราะยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ถ้ายังไม่หลงข้าศึกก็ยังไม่ได้ใช้ สภาวะของมันคือชิวๆ แต่มันจะชิวได้นานขนาดไหนคงอยู่ที่กิเลสตัณหามันราบคาบไปขนาดไหนนะครับ อันนี้แค่ความเห็นส่วนตัว
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...