ใคร บ้าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Picolo Fanta, 28 มิถุนายน 2020.

  1. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    ย้ำคิดย้ำทำ
    หลอกตัวเอง
    วนอยู่แต่เรื่องเดิมๆ

    เห็นแล้วก็ได้แต่สังเวชใจ
     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    จิตเกิด ดวงเดียว หมายความว่า

    จิต ใน ขณะแห่ง มรรค คือ จิต สัมปยุติ อันประกอบไปด้วย
    จิต + โสภณเจตสิก 25
    (( คือ
    1สัทธา
    2สติ
    3หิริ
    4โอตตัปปะ
    5อโลภะ
    6อโทสะ
    7ตัตรมัชฌัตตตา
    8กายปัสสัทธิ
    9จิตตปัสสัทธิ
    10กายลหุตา
    11จิตตลหุตา
    12กายมุทุตา
    13จิตตมุทุตา
    14กายกัมมัญญตา
    15จิตตกัมมัญญตา
    16กายปาคุญญตา
    17จิตตปาคุญญตา
    18กายุชุกตา
    19จิตตุชุกตา

    20สัมมาวาจา
    21สัมมากัมมันตะ
    22สัมมาอาชีวะ
    (เจตสิกสามตัวนี้ ในขณะแห่งมรรค จะเพิกบุญออก เรียกว่าพ้นกุศล เหนือบุญเหนือบาป ทำให้ มรรค เป็น ส่วนที่ เจริญแล้ว ละแม้บุญกุศลพ้นการสะสมบุญ)

    23กรุณา
    24มุทิตา
    25ปัญญินทรีย์ ))

    จะรวมเป็นหนึ่ง จึงเรียกว่า เอกายะโนมรรคโค หรือ มรรค รวมเป็นหนึ่ง
    กลายเป็น จิตเกิดดวงเดียว ซึ่งจะเกิด เฉพาะ ขณะแห่งมรรค

    เมื่อเกิดแล้ว ก็ ดับไป

    จึงควรเสพ ทำให้เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

    เพราะ ถ้า เกิดแล้ว ไม่ดับไป จะไม่ต้องเจริญมรรคนั้นอีกครับ
     
  3. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
  4. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง-
    *โกสัมพี ณ ที่นั้นแล

    ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว

    ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย

    บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
    ย่อมพยากรณ์การบรรลุ
    อรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง
    หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้

    มรรค ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ


    อีกประการหนึ่ง
    ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ


    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
    เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ


    อีกประการหนึ่ง
    ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น
    จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
    เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย

    บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
    ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหันต์ ในสำนักของเรา
    ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง
    หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

    https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=170&items=1&preline=0&pagebreak=0
     
  5. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
  6. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
  7. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
    หรือ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง
    สติสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว
    จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่งเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
    หรือ
    เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง

    พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในธรรมบ้าง

    พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรมบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
    เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น

    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
    อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
    ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ

    จบโพชฌงคบรรพ

    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
     
  8. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ถ้า สติ ไม่เกิดดับ จะไม่มี บริบท ดังที่ พระพุทธเจ้า แสดงมา

    เช่น
    "
    เมื่อ สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    หรือ

    เมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง
    สติสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2020
  9. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
     
  10. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ของน้าปราบนะ
    +++ สังขารจิต "ดำรงค์อยู่ ในสภาวะเดียว" ณ ขณะนั้น ๆ
    +++ ไร้ "เจตสิก" เข้ามา "ก่อกวน วุ่นวาย" หลอกให้ "ดู"
    +++ หากยังเป็น "จิต + โสภณเจตสิก 25" เมื่อไร
    +++ เมื่อนั้น "จิตเกิด ดวงเดียว" ไม่ได้
    +++ อาการของ "เจตสิก" เป็นอาการของ "สังขาร จิตผุด"
    +++ ไม่ว่า "เจตสิก 108/1009" ก็ตาม
    +++ มันล้วนเป็น "สังขาร" ทั้งสิ้น "หากส่งไปต่อติด"

    +++ อาการที่ "อัตตา ลงไป ต่อติด"
    +++ ตรงนี้ เป็นอาการ "เจตนา+สิกขา"
    +++ ตย. เช่น พระถือ "สิกขาบท 227" เป็นต้น
    +++ ตรงนี้ "ผมเรียกมันว่า ตัวจะ"
    +++ คือมัน "จะ" นึก+คิด โน่นนี่นั่น ไปเรื่อย ๆ
    +++ สติบริสุทธิ์ ทันมัน ณ ขณะผุด มันจะ "ดับ" ทันที
    +++ เหมือน "สะเก็ตไฟ" ลอยวูปดับไป ในความ "ว่างแห่งสภาวะรู้"

    +++ ภาษาว่า "จิตเกิด ดวงเดียว" แต่อาการของ "มรรค" คือ เกิดแล้ว "ตั้งอยู่"
    +++ หาก "ดับไป" เมื่อไร เมื่อนั้น "มรรคย่อม โดนตัด" โดยปริยาย
    +++ สำหรับผู้ที่ ยังไม่ข้ามมาอยู่กับ "รู้" ผู้นั้นย่อม "โดนตัดมรรค" สิ้นเชิง
    +++ การ "รู้จักมรรค" ในบริเวณนี้ ต้องมี "สติบริสุทธิ์" กำกับ

    +++ ตรง "จิตเกิด ดวงเดียว" เป็นภาษาแปลที่ ไม่เกิดผลในการปฏิบัติ
    +++ หากใช้เป็น "สังขารจิต ดวงเดียว" ตรงนี้ จะ เป็น "มรรค" ได้
    +++ อาการที่เกิด จะเป็น "เอกัคตา ใน อุเบกขาสัมโภชฌงค์"
    +++ และ ณ ขณะที่ "อุเบกขาสัมโภชฌงค์" ดำรงค์ เต็มสภาพ
    +++ ขณะนั้น ๆ "เจตสิก ไม่สามารถ ก่อเกิด/ปรากฏ ได้"
    +++ ดังนั้น "ณ อุเบกขาสัมโภชฌงค์" จึงไร้ "โสภณเจตสิก 25"
    +++ ลง shop จะไม่เหมือนกับ text book เอาแค่นี้นะ
    +++ ตรงนี้ "ใช่" มรรค ยังเป็น "สังขารจิต" อยู่
    +++ ในส่วนของ "มรรค" ใช่
    +++ แต่ในส่วนของ "รู้" มันยัง "ดำรงค์อยู่"
    +++ ตรงนี้ "ไม่เกี่ยวกับ สังขารจิต ที่เป็น มรรค"
    +++ ตรงนี้ "ถูก" ตรงนี้เป็น อาการของ "สติบริสุทธิ์"
    +++ ดังนั้น เราคุยกัน "คนละท่อน" ในบทเดียวกันนะ
     
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ภาษา "สติสัมโพชฌงค์" เป็นส่วนของ "มรรคเบื้องต้น"
    +++ ยังไม่ถึง "อุเบกขาสัมโภชฌงค์" ด้วยซ้ำ
    +++ ผู้ที่ "ถึง สติสัมโพชฌงค์" ยังจัดเป็น Newcomer อยู่
    +++ ต้องสัมบุกสัมบันกับ "ธัมมะวิจัยสัมโภชฌงค์" อีกยาวนาน
    +++ เมื่อมาถึง "อุเบกขาสัมโภชฌงค์" จริง ตรงนั้นแล...
    +++ ตรงนี้แล...
    +++ วิธีทำ คือ "สติครองฌาน ณ อุเบกขาสัมโภชฌงค์"
    +++ จากนั้น "ดำรงสติ อย่างยั่งยืน"
    +++ จนสภาวะของ "อุเบกขา" สลายไป
    +++ ตรงนี้เท่านั้น จึงถึง "สติบริสุทธิ์"
    +++ ถ้า น้าปราบ "ทำ" ถึงท่อนนี้ได้
    +++ ก็จะเข้าใจ อาการ "สติ/จิต ไม่เกิด/ดับ"
    +++ รวมทั้ง "เจตสิก/ขันธ์/มรรค" ทั้งหมด "วางไป"
    +++ ตรงนี้ "ต้องลงมือ ทำ เท่านั้น" นะครับ

    +++ ตรงอาการ...
    +++ ตรงนี้ "เท่านั้น" จึงเรียกว่า "ผ่าน/จบ อุเบกขาสัมโพชฌงค์"
    +++ ดังนั้น "โภชฌงโคสติสังขาโต" จึง "ไม่ใช่ บทท่อง"
    +++ แต่เป็น "บททำ"

    +++ ในสมัยเมื่อ ภาษาบาลี ยังเป็น "ภาษาคน" ในยุคนั้น
    +++ เมื่อ "ภิกษุอาพาธ" ท่านกล่าว "วิธีทำ เป็นภาษาคน" ให้ฟัง
    +++ ภิกษุในยุคนั้น ย่อม ดำเนินวิถีจิต ตามภาษาได้ "ตรงอาการ"
    +++ สรุปคือ "ท่านทำได้" แต่ในยุคนี้ "ภาษาคน" มันเปลี่ยนไป
    +++ จน "โภชฌงค์ 7" กลายเป็น "สิ่ง สักสิด ที่พูดภาษาคน ไม่รู้เรื่อง"
    +++ ต้องใช้ "มโนความเชื่อ เป็นตุเป็นตะ" จากนั้น "จึงได้แต่ ท่อง"

    +++ ภาษา "ข้ามยุค" ต้องใช้ การแปล ซึ่ง "ไม่ใช่เรื่องง่าย"
    +++ การอ่านเฉพาะคำแปล โดยไม่มีการใช้ ห้อง Lab
    +++ ย่อมไม่สามารถ เข้าถึงสภาวะที่กล่าวไว้ ในยุคก่อนได้
    +++ ส่วนการเข้า ห้อง Lab โดยไม่มี "คู่มือ" ที่แปลมาอย่างถูกต้อง
    +++ ห้อง Lab ก็อาจจะพังได้ เช่นกัน "น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า" นั่นแล...

    +++ สมัยที่ผมยังเป็น พระป่าอยู่ พระอุปัชฌาย์ผม กล่าวส่วนตัวกับผม อย่างยิ้ม ๆ ว่า
    +++ "เห็นจิต ฝึกจิต ใช้จิต" กว่าจะมาถึงประโยคนี้ได ผมก็เหนื่อยพอสมควร เหมื่อนกัน
    +++ เห็นจิต คือ "เห็นสังขารจิต" โดย ข้ามมาอยู่ "ฝั่งรู้ (จิต/สติ บริสุทธิ์)" เสียก่อน
    +++ จากนั้น "อยู่กับรู้ (หลวงปู่ดูลย์)" จึงสามารถ เรียนรู้และ "ฝึกจิต (สังขาร)" ได้
    +++ ส่วนการ ใช้จิต นั้น ต้องผ่าน "ธัมมะวิจัยสัมโภชฌงค์" มาอย่างเคี่ยวกรำ
    +++ หาก "จิต/สติ บริสุทธิ์" โดนบดบังเมื่อไร เมื่อนั้น ย่อมตกลงไปใน "มโน" ทันที
    +++ ต้องฝึกจน "พลิกจากไม่รู้ มาเป็น รู้" ได้ในสถานการณ์ที่โดน "มโน" บดบัง
    +++ ใช้เวลาไปมากพอควรแล้ว แค่นี้นะครับ...
     
  13. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ฮับ ไปเรื่อยๆ

    57ff094d315a01242ce12479b186af51.gif
     

แชร์หน้านี้

Loading...