เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป กับไตรลักษณ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย OddyWriter, 30 เมษายน 2009.

  1. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุ..อนุโมทนาคับ คุณบุญพิชิต

    ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่บ้างครั้งอาจเห็นผมออนเข้ามาแวปๆ แต่ไม่ได้ตอบกระทู้ เหตุเพราะเวลามีน้อยคับ ติดงาน...จึงทำได้แค่แวะเวียนมาอ่านดูก่อนเท่านั้น เวลาไม่พอจะนั้งเขียนตอบอ่ะคับ...

    ...ใช่อย่างที่คุณว่า ผมบอกกล่าวข้ามไปนิดตรงที่ว่า เงือนสำคัญที่จะเห็นไตรลักษณ์หรือเห็น เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป แล้วจะเป็นวิปัสนาหรือไม่ ต้องประกอบด้วยสติ ที่เป็นสัมมาสติ(ตรงนี้ คุณoddy19 จะงงหรือเป่า กับคำว่าสัมมาสติ) เพราะไม่เช่นนั้น ก็จะเกิดคำถามตามมาดังตัวอย่างที่คุณบุญพิชิตยกมานั่นเอง..
    ...แต่เหตุที่ ผมยกตัวอย่าง และละไว้ เพราะเพื่อประโยชน์ในมุมกว้าง คือประโยชน์สำหรับนักปฏิบัติ ชื่อว่านักปฏิบัติที่ถูกต้อง ก็น่าจะรู้จักสติ (คุณจะว่าผมคิดเองเออเอง ก็ย่อมรับในความผิดพลาดคับ)..เพราะการตอบในนี้ ไม่สามารถมองชัดลงไปในตัวผู้ตั้งกระทู้ได้ว่า ปฏิบัติหรือไม่ หรืออยู่แค่ไหนแล้ว.. ที่สำคัญผมไม่คิดว่าตัวเองจะเป็นอาจารย์ให้ผู้ใด..
    แค่เข้ามา หว่านโปรย เมล็ดธรรม แล้วแต่ว่าจะตกในที่ใด..ถ้าผู้ใดมองเห็นประโยชน์ก็ได้ประโยชน์นั้นไป..

    จริงของคุณคับ..ผมศึกษาจากครูบาอาจารย์หลายท่าน เริ่มจาก หลวงพ่อเทียน หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อชา หลวงปู่เทสก์ ปัจจุบันก็หลวงพ่อปราโมทย์ และอีกหลายท่าน ถ้าพระอาจารย์ทางใต้ ของคุณหมายถึงหลวงพ่อพุทธทาส แล้วละก้อ.. เห็นด้วยคับว่าอ่านของท่านแรกๆเข้าใจยากคับ...แต่ตอนนี้ผมเองผมหมดสงสัยในธรรมที่ท่านกล่าวแล้วคับ..

    ธรรมทั้งหลายที่ท่านศึกษาจากครูบาอาจารย์ ก็เหมือนเราดูแผนที่.. ที่ครูบาอาจารย์แต่ละท่าน ท่านเดินมาแล้ว...ต่อเมื่อเข้าใจในแก่นจริงๆ ก็จะเห็นธรรมทั้งหลายไม่มีสิ่งใดขัดแย้งกัน (เมื่อเห็นธรรมตามจริง) ที่รู้สึกว่าขัดแย้ง เพราะ ผ่านการตีความจากความรู้สึกของเรา
    ...ถ้าสิ่งใด ไกล้คียงกับที่เรารู้มาก็รู้สึกว่าสิ่งนั้นถูก แต่ถ้าออกนอกกรอบจากที่เราเคยศึกษามาก็รู้สึกสงสัย .."ใช่หรือ" .. เป็นเรื่องปกติของ ปุถุชนคับ

    ขอขอบคุณอีกครั้งนะคับ สำหรับคำแนะนำ... ผมก็ขอสรุปในประเด็นที่เราถกเถียงกันอยู่นี้...
    ว่า....เข้าใจอย่างไร ไม่สำคัญ...สำคัญที่ว่าเห็นของจริงๆแล้วหรือยัง.. เห็นแล้วก็แล้วแต่ว่าปัญญาตัวใดเกิด... ถ้าเห็นพร้อมกับสัมมาสติ ก็ชื่อว่าเห็นธรรมตามจริง
    ความสงสัย หรือข้อขัดแย้งต่างๆก็จะหมดไป
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    อนัตตา หาใช่ ไม่มีตัวตน ..... เด้อ
    หากศึกษามา แล้วเห็นว่าไม่มีตัวตน ... มันจะละทิ้ง เป็นประมาณในธรรม... เด้อ ^-^
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    คุณนัทกล่าวได้ดีแล้ว ^-^
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    อนัตตา มันยึดโหนไว้ก็ได้ มันยึดโหนไว้โดยเราไม่รู้เสียด้วยซ้ำ

    ไปดีกว่า แวะมาป่วน


    อนัตตา อนัตตา แปลว่าอะไรหนอ คลายมิจฉาทิฐิได้ก็รู้เอง ^-^
     
  5. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977
    สัมมาสติ = สติที่ชอบ ที่ถูกที่ควร หรือความรู้สึกนึกคิดที่ถูกที่ชอบใช่มั๊ยครับ

    สงสัยชาติก่อนคงทำกรรมไว้เยอะ ชาตินี้ถึงไม่ค่อยเข้าใจธรรมมะเท่าไหร่เลย

    ขนาดศีล 5 กรรมบท 10 สังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ยังต้องจดใส่กระดาษพกติดกระเป๋าเอาไว้ท่องทุกวันเลย ขนาดนี้แล้วยังจำไม่ค่อยจะได้เลย
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  6. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    คุณ oddy ครับ ผมขอเสนอแนะคุณเล็กน้อยในส่วนของผม
    ข้อเขียนของผมที่แสดงความเห็นไว้ ขอให้คุณอย่าเชื่อ
    เสียที่เดียว คุณต้องพินิจวิเคราะห์เอาเองว่า อย่างไหน
    ควรเชื่อ อย่างไหนไม่ควรเชื่อ อย่างไหนเป็นกุศลและ
    อย่างไหนเป็นอกุศลโดยใช้ปัญญา ซึ่งปัญญาในทางธรรม
    จะได้มาก็ด้วยการปฏิบัติ สิ่งต่างๆที่คุณต้องการรู้จะรู้ได้ด้วย
    การลงมือปฏิบัติด้วยตัวของคุณเอง
    *ผมขอยกธรรมะของพระพุทธเจ้ามากล่าว(ผมว่าคุณก็คงรู้จักดี)
    หลักกาลามสูตร๑๐ประการ
    ๑.อย่าปักใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆกันมา
    ๒.อย่าปักใจเชื่อ ด้วยการถือสืบกันมา
    ๓.อย่าปักใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
    ๔.อย่าปักใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
    ๕.อย่าปักใจเชื่อ เพราะตรรก(นึกเอาเองเข้าใจเอาเองเดาเอา)
    ๖.อย่าปักใจเชื่อ เพราะอนุมาน(คาดคะเนตามสถิติ)
    ๗.อย่าปักใจเชื่อ คิดตรองตามแนวเหตุผล(อย่าเชื่อตามอาการที่ปรากฏ)
    ๘.อย่าปักใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่มีไว้แล้ว(อย่าเชื่อเพราะตนเชื่อ
    อยู่ก่อนแล้ว)
    ๙.อย่าปักใจเชื่อ เพราะรูปลักษณ์ของผู้พูด(คนที่เป็นใหญ่เป็นโต)
    ๑๐.อย่าปักใจเชื่อ ว่าผู้พูดเป็นครูของเรา

    [​IMG]เจริญในธรรมนะครับ
     
  7. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977

    สาธุ เป็นเช่นกาลามสูตรว่าไว้อยู่แล้วครับ
     
  8. ดับ

    ดับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +533
    ต้องขอขอบคุณ ทั้ง 3 ท่านมากนะครับ ที่กรุณาสละเวลามาตอบกระทู้ให้ แม้จะถกกันเรื่องธรรมะบ้างซึ่งก็เป็นธรรมดา เพราะแต่ละท่านก็นั่งอยู่กันคนละมุม อาจเห็นแตกต่างกันไปบ้าง

    แต่น่าแปลก คำตอบของคุณดับนี่ ทำให้ผมต้องอ่านวนไปวนมาหลายรอบมากที่สุด<!-- google_ad_section_end -->
    ท่านมาถูกทางแล้วครับ ผมอาจเขียนได้ไม่ดีเท่าไหร่ ขออภัยด้วยครับ
    จะลองเอาแนวทางที่ผมใช้ไปลองทำไปดูไหมครับ
    บางทีคำพูดอาจไม่สามารถบรรยายความละเอียดของธรรมได้เท่ากับเราปฏิบัติ ยิ่งธรรมละเอียดมากเท่าไหร่ ภาษาของโลกก็ยากที่จะอธิบายได้ให้เข้าใจได้
    84000พระธรรมขันธ์ สำหรับคน84000นิสัย ย่อลงได้เป็นกรรมฐาน40กอง เพื่อเข้าสู่การปฏิบัติทั้ง4แนวทาง มุ่งตรงสู่พระนิพพาน ผมก็ยังเป็นคนธรรมดาแบบท่านนี่แหละ แนวทางที่ผมปฏิบติผมไม่รับรองนะครับว่าถูกไหม แต่ผมทำแล้วสบายใจ
    [FONT=&quot]ผมก็ศึกษามาหลายปีจนตอนนี้มาชอบทางมรณานุสติ พยายามคิดถึงความตายบ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ ผมคิดอย่างนี้ หายเข้าไม่ออกก็ตาย หายใจออกไม่เข้าก็ตาย ถ้าเดินไปของตกใส่หัวแล้วตาย กินข้าวข้าวติดคอแล้วตาย คนเดินผ่านเราไปก็ต้องตาย ที่คนเรารู้จักก็ต้องตาย รวยกว่าเราก็ต้องตาย จนกว่าเราก็ต้องตาย และอีกมายมายต้องตายหมด สัตว์โลกเกิดเท่าไหร่ตายเท่านั้น ถ้าเกิดต้องตายยังมีอะไรที่ห่วงไหม พ่อแม่ไม่นานท่านก็ต้องตายเหมือนเรา หน้าที่ของลูกเราก็ทำดีที่สุดแล้ว ทรัพย์สินเงินทองมันก็ไม่ใช่ของเรา ใครๆที่ตายก่อนเราไม่เห็นมีใครเอาอะไรไปได้เลย รวยกว่าเราก็เอาไปไม่ได้ กิเลสเท่านั้นที่มันหลอกให้เราคิดว่านั่นนี่เป็นของเรา เมื่อรู้แล้วเราก็วางภาระนี้ลงซะ ที่นี้ก็มาถึงลูกเมีย หากเราต้องตายไปเขาก็คงจะไม่ได้เป็นลูกเมียเราอีกแล้ว ตายไปแล้วเราก็คงทำอะไรไม่ได้ต่อให้รักแค่ไหนก็ทำอะไรไม่ได้ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดเป็นพอ คิดซะว่าไม่่นานลูกเราเมียเราก็ต้องตาย ในเมื่อเรายังไม่ตายเรามาเตรียมความพร้อมที่จะตายทุกเมื่อ สิ่งที่เราจะเอาไปได้มีแค่บุญกุศลเท่านั้น สิ่งไหนที่ทานได้ทานเลยครับ คิดว่าขออานิสงค์ในการทำทานครั้งนี้เป็นปัจจัยให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบัน เท่านี้แหละครับ
    ตอนนี้ผมก็ยังไม่ได้อะไร ได้แต่ความสบายใจ ไม่ค่อยทุกข์ร้อน[/FONT] [FONT=&quot]ให้ทานได้อย่างสบายใจ แต่ในบางทีก็ต้องทุกข์เพราะให้เกินฐานะ[/FONT] [FONT=&quot]รักในเพศตรงข้ามลดลงมาก ไม่อิจฉาใคร ไม่อยากได้ของๆใคร[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ค่อยสนใจว่าใครจะเป็นยังไง ใครจะเป็นใครจะตาย กรรมใครกรรมมัน[/FONT] [FONT=&quot]หากพอช่วยได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็ปล่อยไปตามกรรม มันไม่ใช่เรื่องของเรา[/FONT] [FONT=&quot]เพราะในเมื่อเราก็ต้องตาย ป่วยใข้รักษาได้ก็รักษาหายไม่หายก็ช่างมัน[/FONT] [FONT=&quot]มองสิ่งรอบข้างได้อย่างเป็นปกติ[/FONT]
    "[FONT=&quot]จงมองให้เห็นโลก" โลกที่ครูบาอาจารย์ว่ามันเป็นอย่างนี้นี่เอง[/FONT] [FONT=&quot]มองไปทางไหนก็ที่แต่ความทุกข์[/FONT] [FONT=&quot]ถามคนที่รู้จักก็ได้ยินแต่เรื่องราวของความทุกข์ ไม่ว่าคนที่จนกว่า[/FONT] [FONT=&quot]รวยกว่า แต่กลับไม่มีใครสนใจที่จะมองว่าอะไรที่ทำให้ทุกข์[/FONT] [FONT=&quot]จนระลึกถึงคำสอนขององค์พระทศพล"ทุกข์ทั้งหลายมีชาติ(ความเกิด)เป็นที่ตั้ง"[/FONT] [FONT=&quot]ก็สว่างขึ้นในใจ เมื่อไม่เกิดก็ไม่ทุกข์[/FONT] [FONT=&quot]นับแต่นั้นก็เกิดความเคารพต่อพระรัตนะไตรอย่างสูงสุด รักษาศีลได้อย่างปกติ[/FONT] [FONT=&quot]นับแต่นั้น คนดีกับคนไม่ดีก็ไม่มีสำหรับผม[/FONT]
    [FONT=&quot]มีแต่รู้กับไม่รู้ เพราะเขาไม่รู้เขาจึงทำ เราเมื่อเห็นโทษเราก็จะไม่ทำ[/FONT] [FONT=&quot][/FONT]นั่งสมาธิก็นึกถึงความตายไว้
     
  9. ดับ

    ดับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +533
    ซ้ำครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2009
  10. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุคับ...

    สัมมาสติ ถ้าแปล เอาตามภาษาบัญัติก็เป็นเช่นนั้นแหละคับ..ถูกต้องแล้ว
    ...แต่ในความจริง ของคนเราทั่วไป ซึ่งมีความหลงคือโมหะครอบงำมักจะตีความเข้าข้างตนเอง...เช่น

    สติที่ชอบ..มักจะชอบเข้าข้างตัวเอง เช่น สติที่จมแช่ในอารมณ์เศร้าเหงา ก็มักบอกตัวเองว่า "ฉันมีความเหงาเป็นเพื่อน" หรือคนที่อยู่ในอารมณ์โกรธ ก็มักบอกตัวเองว่า "สมควรแล้วที่เราจะโกรธ เพราะ...(มีเหตุผลที่จะโกรธ) อิอิ
    ความรู้สึกนึกคิดที่ถูกที่ชอบ.. ตรงนี้ก็เช่นกัน..ความถูกต้อง เรามองดูดีๆ มักจะเป็นความถูกต้องที่อิงบนความถูกใจซะส่วนใหญ่..คือไม่ถูกใจเขาก็ถูกใจเรา
    ความถูกต้องจริงๆคนทั่วไปมักมองไม่เห็น

    ..ที่ผมยกแง่มุมนี้มาให้มองให้พิจารณาก็เพื่อให้เห็นถึง โมหะหรือความหลงที่ครอบงำเราอยู่โดยไม่รู้ตัว..

    แล้วเราจะรู้จัก สติ ที่เป็นสัมมาสติได้อย่างไร..ก็ต้องพิจารณาคำครูบาอาจารย์ที่บอกไว้ว่า.. สติแท้ๆ(สัมมาสติ) เมื่อเกิดขึ้น กิเลสย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อมีสติ(สัมมาสติ)ปัญญาที่เป็นวิปัสนาปัญญา หรือที่เรียก ภาวนามยปัญญา จะเกิดทันทีต่อเนื่องกัน..ปัญญาตัวนี้แหละที่จะเข้าไปประหารกิเลส ดังคำว่า สติมาปัญญาเกิด เช่น ในปกติชัวิตประจำวัน เราเผลอ(หลง) ฮัมเพลง หรือเผลอคิดเรื่องอะไรอยู่โดยไม่รู้ตัว .. แต่พอสติเกิดระลึกรู้ตัวขึ้นมา .."เอ๊ะ..เมื่อกี้เราเผลอฮัมเพลงขึ้นมาในใจเมื่อไหร่นะ" เพลงนั้นก็ดับไปหลายไปต่อหน้าเลย กลายเป็นเรื่องที่เราคิดไหม่เกิดแทนที่ สติแท้ๆจึงมีแค่ตรงที่ "เอ๊ะ" รู้สึกตัวขึ้นมา แค่นั้นเอง... แล้วจิตก็ปรุ่งแต่งคิดนึกต่อไปอีก...คิดไหลต่อไปอีก...

    ก็อธิบายเพิ่มเติมพอเป็นแนวทาง...ไม่ต้องเขื่อเพราะความเชื่อเกิดจากความเข้าใจ ... เข้าใจ กับเห็นของจริง นั้นต่างกัน..ต้องไปลองสังเกตุดู ..ดูที่จิตเราใจเรานี่แหละคับ... อะไรมันเกิด อะไรมันดับ ..ปัญญาอะไรเกิดขึ้น แล้วก็เอามาเทียบคำสอนของ สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเรา เทียบกลับ คำสอนครูบาอาจารย์ที่เป็นอริยะสงฆ์ของเรา..

    พอสมควรนะคับ... เพื่อความเจริญในธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรม.. สาธุ[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2009
  11. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นอุบายที่ใช้ในการพิจารณาเพื่อการวิปัสสนาเห็น ไตรลักษณ์ 3 ประการ เพื่อให้จิตเกิดความเบื่อหน่าย ยอมที่จะละ และเลิก คือ ดับ ไปในที่สุด ใช่ไหมครับ
     
  12. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977
    ขอบคุณครับ

    กำลังคิดอยู่เชียวในเรื่องที่ยังไม่ได้ถามแต่คุณนัทชิงตอบซะก่อน

    นั่งกรรมฐานแล้วอารมณ์ต่างๆ เบาลง และรู้ว่ามันไม่ได้หายไปไหน...ยังอยู่ครบ แต่ผมไม่รู้ว่ามันอยู่ไหน

    ตอนนี้ได้คำตอบแล้วครับ
     
  13. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977

    ผมเข้าใจแล้วล่ะ ว่าทำไม

    ผมถือมรณานุสติเช่นกันครับ อาจไม่ตลอดเวลาแต่หลายรอบใน 1 วัน
    แต่ก็ถือพุทธานุสติ และสังฆานุสติเวลาฝึกกรรมฐานครับ

    ธรรมานุสติ เข้าใจยาก เพราะบาปหนา
     
  14. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    คับ สาธุ...เป็นเช่นนั้นแหละคับ

    ...ก็อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วในกระทู้ที่ผ่านๆมาคับ .. องค์ธรรมที่เป็น หัวใจของวิปัสนา คือ ไตรลักษณ์ นี่แหละคับ... ส่วน เกิดขี้น-ตั้งอยู่-ดับไป ก็แล้วแต่ปัญญาไหวพริบของผู้ที่พิจารณา.. เราว่ากันตาม บาลีที่พระพุทธองค์ ทรงสอนไว้ดีกว่า... เพื่อลดการโต้แย้ง.. เน้นการพูดคุยเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เป็นแนวทางนำไปสู่การพิจารณาให้เกิดปัญญาต่อไป...

    ...ความเข้าใจ กับเห็นธรรมตามจริง นั้นต่างกันมาก เช่นเรารู้ว่าโกรธไม่ดี..นี่เข้าใจนะ.. พอเวลาตัวโกรธมาจริงๆ ก็รู้ตัวอีกนะว่า โกรธอยู่...แต่โกรธไม่ดับ..มันมีความอึดอัดแน่นใจ ร้อนรุ่มเพราะความโกรธอยู่... นี่ความเข้าใจ มันดับกิเลสไม่ได้ คือแบบนี้แหละ...
    ...แต่ถ้า เห็นด้วยสติแท้ๆ ที่ว่า สัมมาสติ.. เห็นปุ๊บ โกรธ ดับเลย....และส่วนใหญ่ เห็นปุ๊บดับเลยนะ มักจะเห็นก่อนที่จะโกรธจริงๆ ... คือ แค่ขุ่นใจ เสียงกระทบหู .. ตาเห็นรูป มันจะรู้ตัวเลยเดียวต้องโกรธแน่... แล้วจิตก็วางด้วยปัญญา... นำตัวเองออกจาก อาการทีจะโกรธ...สำรวมวาจา เพราะการกล่าววาจาโต้แย้ง.. ก็เหมือน โหม ...ลมใส่ไฟ ...สุดท้ายก็แพ้กิเลส.. จึงต้อง หยุดวาจา เพื่อปิดลมไม่ให้โหมใส่ไฟ... ไฟขาดเชื่อมันก็ดับเอง...
    ... นำไปพิจารณา ในชีวิตประจำวันนะ .. กิเลสมันเกิด ในปัจจุบันนี่แหละ ก็ต้องสู้กัน เอาสติ ให้ทันกันในปัจจุบันขณะ... อย่างที่บอกมันทันกันเมื่อไหร่... ก็เห็นตัวปัญญาที่ผลุดขึ้นมาเองเลย และตัดกิเลสตัวนั้นๆเลยด้วย...

    แต่เมื่อยังไม่เห็นก็อย่าท้อนะ... อย่าโทษตัวเอง ตำหนิตัวเองจนท้อแท้เสียล่ะ
    ... ตามธรรมชาติ ของ สติ...
    ระดับแรก.ของสติเมื่อเริ่มฝึกไหม่ๆ... มักจะเห็นกิเลส ตอนกิเลสดับไปแล้วดับไปนานหลายวัน หลายชัวโมง กว่าจะ ระลึกรู้ตัวขึ้นมา (ซึ่งก็แล้วแต่บุคคลไม่เหมือนกันนะ) คือ กืเลสได้รับการตอบสนอง ตามกำลังของตัญหาเรียบร้อยแล้ว เช่น โกรธ ก็มีการทะเลาะโต้ตอบกันจนพอใจแล้ว พอกับความอยากที่จะเอาคืน..สนองกิเลสกันจบไปแล้ว... นี่ผู้เริ่มฝึกไหม่ๆ หรือไม่เคยฝึกมาเลย ก็พอจะทันกับกิเลสใน ลักษณะอย่างนี้...
    ระดับที่2.เมื่อฝึกสติ.. มาสักระยะหนึ่ง สติก็จะเริ่มทันกิเลส ตอนขณะที่ยังโกรธ หรือกำลังโกรธเลย.. จิตกำลังร้อนด้วยไฟโกรธ... หรือ สติทัน ตัญหาตอนกำลังเกิด คือมีความอยากได้นั้น อยากได้นี่ ทั้งด้านวัตถุ และ อารณ์..
    มันทันกันตอนนี้...ก็เหนื่อยหน่อยนะ.. มันวางกันได้อยาก...ดับยาก... แต่ถ้าเข้าใจกฏไตรลักษณ์... เข้าใจแบบเคยเห็นมานะ เห็นมันเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ก็จะเห็นทุกสรรพสิ่งไม่มีอะไรเทียง... แม้แต่กิเลสก็ไม่เที่ยง... โกรธก็ไม่เทียง... โลภก็ไม่เทียง...เมื่อเข้าใจอย่างนี่..เห็นอย่างนี้ได้จริงๆ จิตก็ คลายการดิ้นร่น.. จิตจะวางเลย วางแม้แต่ตัวโกรธนั้นแหละ...เหลือเพีงหมอกครัวจางๆของไอความร้อนที่เพิ่งดับไป..
    ระดับที่3 เมื่อฝึกสติ จนมีความไว ทันการกระทบต่างๆ ทันกันตั้งแต่หน้าประตูเลย หรือว่ากันตาม ขันธ์ 5 เอาเฉพาะ นามธรรม นะ..คือ สัญญา สังขาร วิญญาณ เวทนา..(ผมเรียง ตามอาการที่เกิด ของจิตนะคับ..) ก็จะทันกันตั้งแต่ สังขารเลย คือจิตปรุ่งแต่ง นั้นแหละ... ทันกันได้ในระดับนี้ก็สบาย แล้วแหละจ๊ะ....

    ฟุ้งมากเดี๋ยวคนอ่านจะยิ่งงง ไปไหญ่ ไม่ก็ไปเพิ่มความท้อ ให้ใครอีก จะไม่ดี.. สาธุ ขอใหเจริญในธรรม จ๊ะ ... (อธิบายมายืดยาว เผื่อเจ้าของกระทู้ด้วยอ่ะนะ... อิอิอิ)
     
  15. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977
    ขอบคุณครับ อันนี้อ่านแล้วเข้าใจทะลุเลย
    เหลือแต่ทำให้ได้เท่านั้นเอง
     
  16. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุ อนุโมทามิ... ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปคับ

    ...สาธุ...<label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
     
  17. atsnop

    atsnop สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +4
    กฏของ ไตรลักษณ์ไม่ใช่แค่ เรื่องจิต กรณีที่เราศึกษาในทางปริยัติก่อน
    - อนิจจัง ที่ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน ทุกสิ่ง ล้วนมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เช่น การเกิดขึ้นของ ทุกชีวิต
    - ทุกขัง ความที่ทนสภาพเดิมไม่ได้ เช่น การที่ให้เรานั่งเรียน หรือ นั่งทำงานเพียงอย่างเดียวเราก็เมื่อย ให้เราเดินอย่างเดียว เราก็เมื่อย ให้เรา วิ่งอย่างเดียวเราก็เมื่อย ให้เรานอนอย่างเดียวเราก็เมื่อย
    - อนัตตา ความไม่มีตัวตน เกิดจากสิ่งต่างๆมาประกอบกันขึ้น เช่น ร่างกายเรา ก็มา จาก มหาภูตรูป 4 ตัวตนจริงๆมันไม่มีมันมาจากสิ่งเหล่านี้มาประกอบกันขึ้น ธาตุต่างๆก็ ประกอบด้วย อะตอม อะตอมก็ มี อิเล็กตรอน โปรตรอน นิวตรอน

    ทางปฏิบัติ เมื่อเวลาเราฝึกนั่งสมาธิ เมื่อ วิญญาณขันธ์เรารู้สึกถึงอารมณ์ต่างที่เกิดขึ้น เราก็ใช้ปัญญา พิจารณาว่า มันเข้ากับกฏไตรลักษณ์อย่างไร ผมจะยก1ตัวอย่างแต่จะอธิบายถึง3 ข้อ ในตัวอย่างเดียว เช่น เรานั่งสมาธิอยู่เกิดอาการปวดขา เราก็ มีสติรู้ ว่าเราปวด เราก็ตามดูจิตมันไปเรื่อยๆ มันก็จะปวดอยู่ แล้วมันก็จะเริ่มเบาบางไป หายไป แล้วเด๋วมันก็จะเกิดใหม่ วนอยู่เช่นนี้ มันก็เป็นไปตามกฏของไตรลักษ์ ข้อ อนิจจัง มันมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป ส่วนข้อ ทุกขัง คือ มันทนอยู่ สภาพเดิมไม่ได้ นั่งไปนานในสภาพนั้นมันก็จะปวดเมื่อยเจ็บขา ขึ้นมา แต่ยามที่เรามีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดไม่เคยหยุดนิ่ง พิจารณาตน พิจารณาจิต มันก็ไม่ได้รับรู้ อริยาบทมันบดบังทุกข์ เวลาเราเมื่อยเราก็เปลี่ยนท่า เปลี่ยนทางไปเรื่อยเราจึงไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นความจริง ส่วนข้อสุดท้าย อนัตตา คือร่างกายนั้นไม่ไม่มีตัวตน มันไม่ใช่ของเรา เราจึงไม่อาจไปบังคับให้มันหายปวดหายเมื่อยได้ ถ้ามันเป็นของของเราจริง เราสั่งมันให้หายปวดมันก็ต้องหายตามที่เราต้องการ
     
  18. คุตตะวังโส

    คุตตะวังโส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2013
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คือ สังขตธรรม ครับ
     
  19. jmonchai

    jmonchai สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอน้อบน้อมแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
    ขอน้อบน้อมแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
    ขอน้อบน้อมแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น

    ผมขอโอกาสตอบกระทู้ ตามความเข้าใจครับ

    หลักไตรลักษณ์
    ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะสามของทุกๆสิ่งในโลก เพราะทุกสิ่งในโลกล้วนอยู่ภายใต้ลักษณะสามนี้ คือ
    อนิจจัง
    ความไม่เที่ยง ความไม่เที่ยงคือการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาของทุกสิ่ง เพราะทุกสิ่งมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด (ดังนั้น การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป รวมลงเป็น อนิจจัง คำเดียว)
    ทุกข์ขัง
    ความไม่สบายกายไม่สบายใจ เกิดเพราะทุกสิ่งเป็นอนิจจัง คือการแปรเปลี่ยน ไม่มั่นคง ทำให้เกิดทุกข์ ต้องการให้หยุดนิ่งในสภาพที่พึงใจไม่ได้ ต้องเจริญขึ้นและเสือมลง และแตกสลายไปในที่สุด
    อนัตตา
    ความไม่มีที่ยึดเหนี่ยว ไม่มีตัวตน เพราะทุกสิ่งเปลี่ยนแปร และเป็นทุกข์ ท้ายที่สุดก็เสื่อมไม่มีอะไรเหลือ กับสู่ ดิน น้ำไฟ ลม จึงไม่อาจยึดเหนี่ยว และหาตัวตนอันเป็นหลักมิได้

    ตัวอย่าง ตามหลักไตรลักษณ์ นี้มีมากมาย
    เช่น กรุงศรีอยุธยา เราได้รับรู้จากประวัติศาสตร์ ของการเกิดขึ้น มีความเจริญรุ่งเรือง เสือมโทรม และสูญสลายไป ตามกาล
    เช่นชีวิตเรา เกิด เจริญขึ้น เสื่อมลง และจะสูญสลายไปในที่สุด เราเป็นเจ้าของชีวิตหรือ เราห้ามตัวเองแก่ได้หรือ เราห้ามความตายของเราได้หรือ ดังนั้นร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เราสั่ง เราห้ามมันไม่ได้

    ขอน้อบน้อมแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
    ขอน้อบน้อมแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
    ขอน้อบน้อมแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...