38.ท่องตามตำนาน ไหว้พระธาตุเมืองเหนือ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 24 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    มารู้จักวัดศรีโสดา กัน


    วัดศรีโสดา พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ


    พระเทพโกศล เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเจ้าอาวาส

    สถานที่ตั้ง เลขที่ ๑๗ ถนนศรีวิชัย บ้านน้ำตกห้วยแก้ว หมู่ที่ ๒ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งเป็นวัดพุทธศักราช ๒๔๗๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๒ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร วัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ.๒๕๑๔–๒๕๑๗ วัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๔๒

    ทิศเหนือ ติดกับลำห้วยน้ำขุ่น ทิศใต้ติดกับ จรดป่าสาธารณะ
    ทิศตะวันออก ติดกับถนนขึ้นดอยสุเทพ ทิศตะวันตก จรดป่าสาธารณะ



    a.jpg

    ประวัติความเป็นมา
    วัดศรีโสดา มีความผูกพันธ์กับการสร้างถนนขึ้นบนพระธาตุดอยสุเทพ พ.ศ.๒๔๗๗ หลวงศรีประกาศ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่และผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ มีความคิดที่จะนำไฟฟ้าขึ้นไปติดตั้งบนดอยสุเทพ แต่ไม่มีงบประมาณ จึงได้ขอพึ่งบุญบารมีครูบาศรีวิชัยท่านเห็นด้วยแต่ขออธิษฐานดูก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ ท่านอธิษฐานถึง ๒ ครั้ง ปรากฏว่าเป็นไปได้ยากแต่การสร้างถนนขึ้นไปนั้นจะเสร็จเร็วกว่าจึงตกลงที่จะสร้างถนนขึ้นไปยังพระธาตุดอยสุเทพโดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ลงจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๗


    ระหว่างการสร้างถนน ครูบาศรีวิชัยได้สร้างวัดขึ้นควบคู่กันไป ๔ วัด โดยตั้งชื่อให้มีความหมายเกี่ยวโยงถึงขั้นคุณภาพที่ผู้ปฏิบัติธรรมพึงบรรลุได้คือมรรค ผล นิพพาน เทียบพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ๔ ชั้น วัดแรกที่สร้างคือ วัดโสดาบัน ต่อไปอีก ๔ กิโลเมตร สร้าง วัดสกิทาคามี ถัดไปอีก เรียกว่า วัดอนาคามี ลำดับสุดท้ายบนยอดดอยสร้างอีกวัดหนึ่งเรียกว่า วัดอรหันต์


    a.jpg

    วัดโสดาบัน ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดศรีโสดา ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนในสมัยใดน่าจะอยู่ในช่วง พ.ศ.๒๔๗๙ - ๒๕๐๙ สมัย ครูบาเสาร์ นารโท เป็นเจ้าอาวาส สาเหตุที่เติมคำว่า ศรี เข้าใจว่ามาจากชื่อครูบาศรีวิชัย เพื่อเป็นอนุสรณ์ ยกย่องเชิดชู น้อมรำลึกคุณูปการที่ท่านสร้างวัดนี้ขึ้นมา


    วัดศรีโสดา ได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยก ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ (เล่มที่ ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง หน้า ๓๙ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๑)

    ประวัติโรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์
    ความเป็นมา วัดศรีโสดา เป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค เพื่อการเผยแผ่พระพุทธแก่ชนถิ่นทุรกันดาร การจัดการศึกษาเริ่มตั้งแต่เดิมนั้น ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ณ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ เป็นต้นมา ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับโครงการพระธรรมจาริก จากอานิสงส์จากการที่กรมประชาสงเคราะห์ ได้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์ขึ้นไปปฏิบัติงานตามหมู่บ้านชาวเขา ในโครงการพระธรรมจาริกตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ พุทธศาสนิกชนชาวเขาได้ส่งบุตรหลานของตน ๑๒ คน ขอบรรพชาเป็นสามเณรและได้รับการศึกษาภาษา ไทย ที่วัดเบญจมบพิตร สำหรับ เป็นแนวทางการศึกษาพระปริยัติธรรม ผลจากการศึกษา ภาษาไทยของสามเณรชาวเขา ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวเขาได้ส่งบุตรหลานของตนเข้ามาบวชเรียนที่วัดศรีโสดา เป็นจำนวนมากขึ้นทุกปีและทำให้สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี โท เอก ในเวลาต่อมาเป็นจำนวนมากขึ้น



    a.jpg


    ...........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7551_1a.jpg
      IMG_7551_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      427.8 KB
      เปิดดู:
      1,256
    • IMG_7572_1a.jpg
      IMG_7572_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      508.6 KB
      เปิดดู:
      1,233
    • IMG_7586_1a.jpg
      IMG_7586_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      375.2 KB
      เปิดดู:
      1,008
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ตามกำหนดการวันนี้จะต้องไปไหว้พระธาตุแช่แห้งที่จังหวัดน่าน แต่จากกว่าจะเสร็จพิธีสืบชะตาและพิธีถวายผ้าป่าเกือบถึงเวลาเที่ยงวัน ทางวัดจึงได้กรุณาจัดหาอาหารกลางวันให้ชาวคณะได้ทานกัน ซึ่งเมื่อตอนเช้าก็ได้จัดหาข้าวต้มมาเลี้ยงแล้วครั้งนึง เนื่องจากวัดศรีโสดานี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ จึงมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณรอยู่จำพรรษาเป็นจำนวนมาก ถ้าจำและได้ยินไม่ผิดเห็นว่าต้องใช้ข้าวสารวันละ ๕ กระสอบในการเลี้ยงพระสงฆ์สามเณร อาหารกลางวันในมื้อนี้ มีข้าวและแกงหลายอย่าง และมีของหวานคือไอศกรีมด้วยหล่ะ(เสร็จเรา ๕๕๕+)


    หลังจากเติมพลังได้ที่กันทุกคนแล้ว เป็นเวลาบ่ายโมงกว่าจึงได้ออกเดินทางสู่จังหวัดน่านซึ่งมีระยะทางไกล บนรถบัส หลวงพี่พระวิทยากรได้พูดว่าเมื่อคืนนอนกันเป็นอย่างไรบ้าง คงจะติดขัดกันนิดหน่อย ที่จริงทางคณะผู้ประสานงานได้จัดสถานที่นอนให้เรียบร้อยแล้ว แต่มีเหตุก่อนหน้าที่คณะของเราเดินทางจะมาถึงหนึ่งวัน ได้มีพระจำวัดแล้วมรณภาพไป ทางญาติๆ ของพระที่มรณภาพจึงได้มาขอใช้สถานที่และมาจัดพิธีศพ ก็เลยต้องแบ่งสถานที่กันใช้ (ขณะที่เขียนกระทู้อยู่นี้ ที่จริงก็ลืมเรื่องนี้ไปแล้วหล่ะ แต่บังเอิญไป Search หาเจอข้อมูลนี้พอดี ก็ทราบว่าพระที่มรณภาพชื่อว่า พระสิทธิกร สิทธิเวที เป็นพระนักศึกษาชั้นปีที่ ๑คณะศึกษาศาสตร์ เอกการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา อายุได้ ๒๒ปี ๒พรรษา เปรียญธรรมประโยค ๑ - ๒ได้ถึงแก่มรณภาพ ภายในกุฏิของวัดศรีโสดา จาการวินิจฉัย แจ้งว่า น่าจะเกิดจากภาวะน้ำท่วมปอด ก็ขอแสดงความไว้อาลัย และขอให้สู่สุคติภพด้วยเทอญ) ส่วนเมื่อวานที่มาถึงวัดศรีโสดาค่ำแล้วเพราะเกิดความล่าช้าในหลายๆ สถานที่ จึงทำให้ถึงวัดค่ำเป็นผลให้หาอะไรทานได้ลำบากหรือบางคนไม่ได้ทานมื้อค่ำเลยเกิดอาการไส้แห้งก็ถือว่าถือศีล ๘ ก็แล้วกัน และมีอยู่หลายคำที่หลวงพี่พูดถึงการอยู่ร่วมกัน การใช้สถานที่และการมาทำบุญ สงสัยหลวงพี่คงได้เห็นข้อความบนกระดานดำแหงๆ...


    เอาหล่ะ ก็เป็นเรื่องธรรมดาของการเดินทางไกลขึ้นเขาลงเขาและต้องแวะปั๊มหลายเที่ยว จึงทำให้ไม่สามารถทำเวลาได้ การเดินทางไปไหว้พระธาตุแช่แห้งในวันนี้จึงต้องเลื่อนไปเป็นวันพรุ่งนี้แทน ตอนนี้สร้อยฟ้าฯ ตุนเสบียงไว้เพียบ เพียงต่อสำหรับคืนนี้แล้ว อิ อิ เดี๋ยวเกิดอาการไส้แห้งตามแบบที่หลวงพี่ว่ามา คณะของเราเดินทางมาถึงตัวอำเภอเมือง จังหวัดน่านก็เป็นเวลาหนึ่งทุ่มกว่าเห็นจะได้ และหลงทางอยู่ในตัวอำเภอครู่ใหญ่ จากการเดาคิดว่า คงจะเข้าใจผิดเรื่องสถานที่ที่จะพักในคืนนี้ คือ สถานปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารซึ่งอยู่นอกตัวเมือง แต่ตัววัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารอยู่ในตัวเมือง ก็เลยได้เห็นตัวอำเภอเมืองน่านในยามค่ำๆ อย่างที่บอกว่าตอนนี้เวลาหนึ่งทุ่มกว่าๆ แต่ในตัวเมืองตามร้านค้าอาคารปิดเงียบหมดแล้ว ตามถนนรถบางตาไม่ค่อยมีวิ่งแล้ว เงียบสงบดีจัง...

    [​IMG]



    แล้วคณะของเราก็มาถึงสถานปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ซึ่งมีศาลาใหญ่หนึ่งศาลา ศาลเล็กหนึ่งศาลา และมีลานกว้างๆๆๆๆๆ อยู่ระหว่างศาลาทั้งสอง ในศาลามีมุ้งแลหมอน ที่นอน เสื่อ เตรียมไว้ให้แล้ว ศาลาเล็กเห็นว่าเตรียมไว้ให้สำหรับพระวิทยากรจำวัด ส่วนกลางลานกว้างๆ นั้นทราบมาว่าเมื่อตอนกลางวันชาวบ้านได้มาช่วยกันปรับพื้นที่และช่วยกันเต็นท์กางจากการประมาณด้วยสายตาน่าจะเป็นจำนวนถึงร้อยเต็นท์ได้ พอรถจอดสนิทเรียบร้อย ปรากฎว่าชาวคณะส่วนมากต่างรีบไปจับจองที่ในศาลาใหญ่ มีส่วนน้อยที่หันมาทางเต็นท์ กลุ่มของสร้อยฟ้าฯ ไม่สนใจเลยที่จะเดินไปศาลาเพราะคิดไว้อยู่แล้วว่ายังไงๆ คนส่วนมากก็ยังเห็นแก่ความสบายอยู่การแย่งกันก็ต้องมีอย่างแน่นอน จึงได้เดินไปหาเต็นท์ที่ใกล้ๆ กับศาลเล็กที่พระวิทยากรอยู่ดีกว่า มองไปในศาลาเล็กเห็นจีวรพระพาดอยู่กับมุ้งที่ทางวัดกางไว้ให้ กลุ่มของสร้อยฟ้าฯ จับจองเต็นท์เสร็จ จัดแจงสัมภาระเสร็จ มีเจ้าหน้าที่มาเปิดสปอตไลท์ให้ เขาเตรียมไฟสปอตไลท์ให้หมดทุกมุมทุกที่ของเต็นท์แล้ว สักพักก็มีชาวบ้านที่อาสามาช่วยงานของวัด ก็มาช่วยเปิดเต็นท์ให้ ช่วยเปิดหน้าต่างเต็นท์ให้ ช่วยอำนวยความสะดวกให้ ต้องขอขอบคุณในน้ำใจอย่างสูงเลย แต่ แต่ แต่ สิ่งที่ได้ยินได้ทราบจากการตัดพ้อว่า พวกเขาและชาวบ้านต่างมาช่วยกันกางเต็นท์ให้ตั้งแต่กลางวันแดดร้อนๆ ช่วยกันปรับพื้นดิน เตรียมสถานที่ให้ แต่พอคณะฯ มาจริงๆ กลับไม่มีใครมานอนเต็นท์เลย พวกเขาเสียใจมาก ได้ฟังอย่างนี้ อึ้งไปเลย เห็นใจและเข้าใจเขา เขาอุตส่าห์ทำให้ ทนตากแดดร้อนๆ มากางเต็นท์ร้อยกว่าเต็นท์ เพื่อผู้มาแสวงบุญ มันไม่ใช่กางแป๊ปเดียวเสร็จ แล้วตอนเก็บเต็นท์อีกหล่ะ นี่คืออะไร สิ่งที่ได้รับการตอบแทนคือการทำลายน้ำใจเหรอ น่าผิดหวังจริงๆ สงสารมากๆ... ยังไม่จบแค่นั้น สักพักปรากฎว่า ได้เห็นพระวิทยากรท่านเสียสละ หอบผ้าจีวรมานอนเต็นท์แล้วให้ญาติโยมไปนอนศาลาเล็ก ก็เห็นพระท่านมายืนเกาะกลุ่มกันเพื่อเลือกบริเวณและเลือกเต็นท์เพื่อจะจำเต็นท์ พร้อมกับเทียนพรรษา ๑ เล่ม จุดให้แสงสว่าง กลุ่มของสร้อยฟ้าฯ ก็ได้แต่มอง และมอง...

    [​IMG]



    อากาศที่นี่เย็น ห้องน้ำที่นี่มีหลายห้องจึงไม่ต้องคอยนาน แต่บางห้องลูกบิดกุญแจไม่ดีต้องระวัง ตอนนี้เท้าปวดมากขึ้น บวม ทายาก็ยังไม่ทุเลา ต้องเดินกระเพลกไปห้องน้ำ ระหว่างเดินไป มีสมาชิกผู้หญิงในคณะฯ ถามว่าเป็นอะไร ก็บอกไปว่าน่าจะเส้นเอ็นอักเสบ ก็ไม่ได้คิดอะไร พออาบน้ำแต่งตัวเสร็จ กลับมาที่เต็นท์เป็นเวลา ๓ ทุ่มกว่า หิวอีกแล้ว พี่ในกลุ่มสร้อยฟ้าฯ ก็หิวเหมือนกัน ก็เลยคว้ามาม่าคัพมากินกันคนละถ้วย ทางวัดเตรียมน้ำร้อนมาให้แล้วที่ศาลาใหญ่ แล้วมายืนกินมาม่ากันที่เต็นท์ซึ่งใกล้ศาลาเล็ก ระหว่างยืนกินกันอย่างทุลักทุเล หลวงพี่รูปหนึ่งได้เดินมาหาพร้อมกับยื่นเสื่อให้ บอกว่าเห็นโยมยืนทานกันกลัวจะลำบาก นั่งเสื่อทานดีกว่า ก็ขอขอบพระคุณหลวงพี่เป็นอย่างสูง บอกกับหลวงพี่ว่าไม่เป็นไรค่ะ เพราะไม่ได้อยู่ตรงนี้นาน เห็นหลวงพี่ท่าทางเขินๆ คงไม่ใช่คณะพระวิทยากร สักพักพี่ผู้หญิงที่ทักสร้อยฟ้าฯ ว่าเป็นอะไร ได้เอาน้ำมันสมุนไพรจีนมาให้ทา ก็ขอขอบคุณในน้ำใจที่ไม่ได้ผ่านเลยไป... สำหรับคืนวันนี้จบแค่นี้ดีกว่าพูดมากนะเนี่ยะ ๕๕๕+....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7620_1a.jpg
      IMG_7620_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      306.8 KB
      เปิดดู:
      993
    • IMG_7629_1a.jpg
      IMG_7629_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      260.6 KB
      เปิดดู:
      1,278
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  3. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    ไปไหว้พระธาตุครบ 12 แห่งหรือยังครับ ?


    เท้าบวมหายหรือยังครับ ?


    .
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    แล้วเค้าจะตอบเป็นสำเนียงเหนือยังไงอ่ะ......
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    พระธาตุ ไหว้ไม่ครบ ๑๒ แห่งจ่ะ เพราะว่า บางปีเกิดจะอยู่ภาคอิสาน....

    เท้าบวมดีขี้นแล้วอ่ะจ่ะ...^^
     
  6. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อิสานเท่าที่รู้ มีพระธาตุพนม ... นะถ้าจำไม่ผิด


    เท้าบวมดีขึ้น ... แล้วไปทำงานไหวหรือ นั่งห้อยขานาน ๆ หาที่วางขาสูงด้วยเน้อ
     
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ขอบคุณเจ้า ที่เป๋นห่วง...

    พระธาตุดอยตุ๋งตี้เจียงฮายก็บ่ได้ขึ้นไป๋...
     
  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    อนุโมทนา สาธุโต้ยเจ๊า..
    ขอมาเนียนโตยยยยยยยย..

    อิ..อิ (เป็นภาษาเหนือ)
     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ปี้เจงเป็นสาวเหนือก่อ....

    อู้ได้คล่องปรืดขนาดแต้เน้อ...
     
  10. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    เปิ้นเป๋นคนเมือง (หลวง) เน้อ
    ขอสูมาเต๊อะ อู้บ่จ้างก๊ะเจ้า..
     
  11. สายฝนฉ่ำเย็น

    สายฝนฉ่ำเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,474
    ค่าพลัง:
    +7,070
    5555555+++ คนเหนือโต๋ยกันเน้อ...เจ้า....
    สูมาเต๊อะเจ้า...อู้บ่จ้างก๊ะเจ้าโต๋ยเน้อ...อิอิ
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    หมู่เฮาก่คือกั๋น....
     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    คนเหนือโต๋ยกั๊น ตี้เหนือเมฆกะเจ้า....
     
  14. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    เหนือ...สมุทรปราก๋าน...เจ๊า..^^"

    [​IMG]
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    เหนือสมุทรปราก๊าน ตี้ก้ใต้กรุงเทพกะเจ้า....^^
     
  16. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    คนเหนือเขาคุยกัน 555+ เราแหลงใต้ ฟังไม่ออกนิ



    .
     
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    อิ อิ ป้อจายแหลงใต้ นิ....
     
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]


    ตีสี่ของวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ตื่นนอน แต่ยังไม่อยากลุก เพราะคิดว่าคงจะแย่งกันเข้าห้องน้ำกันอยู่ เลยนอนต่อถึงตีห้า ลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ เสร็จกิจแล้วออกมาจากห้องน้ำ ได้ยินเสียงหลวงพี่รูปไหนไม่รู้ ขลุกขลักอยู่ในห้องน้ำ ทราบความว่าจะมาลองซ่อมลูกบิดประตูห้องน้ำเพื่อญาติโยมจะได้ใช้ได้สะดวก แต่ปรากฎว่าซ่อมไม่สำเร็จแถมยังถูกขังอยู่ในห้องน้ำอีกต่างหาก ก็เลยช่วยหลวงพี่ดันประตูให้หลุดแต่ไม่หลุดอ่ะ ไม่มีแรง ก็พอดีชาวคณะฯ อยู่แถวนั้นพอดีก็เลยบอกกันหลวงพี่ว่าคอยก่อนเดี๋ยวตามพระมาช่วยงัดประตู สร้อยฟ้าฯ ก็เลยเดินกลับเต็นท์ไป วันนี้ตอนเช้ามีสวดมนต์ทำวัตรเช้าและถวายผ้าป่าให้กับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ทางวัดได้เลี้ยงข้าวต้มมื้อเช้า หลังจากเติมพลังกันเรียบร้อยแล้วคณะของเราก็ต้องอำลาสถานปฏิบัติวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร มุ่งตรงไปยังวัดพระธาตุแช่แห้ง


    [​IMG]
    คุณพี่ผู้หญิงที่ช่วยอำนวยความสะดวกและช่วงเปิดประตูหน้าต่างเต็นท์ให้
    พอมาตอนเช้าก็ยังช่วยดูแลเรื่องข้าวปลาอาหารให้อีก
    ขอขอบคุณอย่างสูงและรวมถึงคนอื่นๆ ที่ช่วยดูแลในการนี้ด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7631_1a.jpg
      IMG_7631_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      444.5 KB
      เปิดดู:
      1,453
    • IMG_7645_1a.jpg
      IMG_7645_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      383.4 KB
      เปิดดู:
      1,471
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  19. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    907
    ค่าพลัง:
    +3,602
    [​IMG]

    ชอบภาพนี้จัง
     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดพระธาตุแช่แห้งพระธาตุประจำปีเกิดปีเหม้า ปีเถาะ(กระต่าย)


    [​IMG]


    วัดพระธาตแช่แห้ง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ องค์พระธาตุประดิษฐานพระเกศาธาตุและพระธาตุมือซ้าย

    พงศาวดารได้มีการบันทึกมาหลายกระแสทั้งบันทึกฝ่ายวัดทั้งบันทึกฝ่ายเมือง ข้อมูลประวัติวัดพระธาตุแช่แห้งในที่นี้อาจมีความแตกต่างจากบันทึกอื่นๆบ้าง เพราะเป็นการประมวลจากหลายบันทึกเพื่อให้ได้ใจความสำคัญพอสมควร
    ในสมัยครั้ง พญาภูคา ทรงปกครองเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง คือ เมืองย่าง ที่ตั้งอยู่ภายใต้วงล้อมของป่าและภูเขาสูงใหญ่ที่ขนานนามว่าดอยภูคา พญาภูคามีโอรส ๒ องค์ องค์พี่มีนามว่าเจ้าขุนนุ่น ส่วนองค์น้องมีนามว่า เจ้าขุนฟอง เรื่องราวของสองพี่น้องนี้เป็นตำนานเล่ามาว่า


    [​IMG]

    มีนายพรานป่าผู้หนึ่งออกไปล่าสัตว์ในป่า ได้เดินตามรอยเนื้อหลงขึ้นไปบนยอดดอยและได้หยุดพักใต้ร่มไม้ต้นหนึ่ง ที่โคนต้นไม้นั้นเขาได้พบไข่ ๒ ลูก ใหญ่ขนาดลูกมะพร้าว นายพรานผู้นั้นจึงนำไปถวายพญาภูคา ท้าวพญาท่านได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ลูกหนึ่งได้เก็บไว้ในตะกร้านุ่น อีกลูกหนึ่งเก็บไว้ในตะกร้าฝ้าย ครั้นไม่นานนักไข่ที่เก็บไว้ในตะกร้านุ่นก็เกิดแตกก่อนออกมาเป็นเด็กชายมีผิวพรรณวรรณงามนัก ท้าวพญาก็ได้ให้ชื่อว่า เจ้าขุนนุ่น ต่อมาอีกไม่นานไข่ใบที่สองที่เก็บไว้ในตะกร้าฝ้ายก็แตกออกเป็นเด็กชายที่มีผิวพรรณวรรณงดงามไม่แพ้กันท้าวพญาจึงได้ให้ชื่อว่า เจ้าขุนฟองและเลี้ยงเด็กชายทั้งสองดั่งราชโอรสจนเติบใหญ่

    ครั้นเจ้าขุนนุ่นอายุได้­ ๑๘ ปีและเจ้าขุนฟองอายุได้ ๑๖ ปีได้กราบทูลขอพระราชบิดาออกมาสร้างบ้านสร้างเมืองเอง ท้าวพญาจึงได้ให้พระฤาษีเถรเจ้าหาที่สร้างบ้านสร้างเมืองให้ราชโอรสทั้งสอง พระฤาษีเถรเจ้าจึงได้พาเจ้าขุนนุ่นเดินทางไปยังทิศตะวันออกของเมือง พอไปถึงสถานที่หนึ่งมีชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองพระฤาษีเถรเจ้าก็ให้เจ้าขุนนุ่นตั้งเมืองอยู่ที่นั่น และตั้งชื่อเมืองว่า จันทบุรี เสร็จดังนั้นพระฤาษีเถรเจ้าก็ได้กลับมาพาเจ้าขุนฟองเดินทางไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง(แม่น้ำน่านปัจจุบัน) พระฤาษีเจ้าก็ได้ให้เจ้าขุนฟองตั้งเมืองอยู่ที่นั่นและให้ชื่อว่า วรนคร (ปัจจุบันคือท้องที่ อ.ปัว) เมืองวรนครนี่แหละคือต้นกำเนิดของเมืองน่าน


    [​IMG]

    เจ้าขุนฟองเสวยราชสมบัติอยู่เมืองวรนครได้ไม่นานก็ได้ถึงแก่พิราลัยเหล่า เสนาอามาตย์ทั้งหลายก็สถาปนาเจ้าเก้าเกื่อน ผู้เป็นราชโอรสขึ้นครองราชย์แทน เจ้าเก้าเกื่อนเสวยราชย์เมืองวรนครระยะเวลาหนึ่ง พญาภูคาเจ้าเมืองย่างผู้เป็นปู่ซึ่งได้ชราภาพลงมากนักได้มีพระราชสารถึงเจ้าเก้าเกื่อนให้มาปกครองเมืองย่างแทน เมื่อนั้นเจ้าเก้าเกื่อนจึงได้ให้ นางพญาท้าวคำปินผู้เป็นมเหสีรักษาเมืองวรนครแทน อยู่ได้ไม่นานเท่าใดพญางำเมืองเจ้าผู้ครองพะเยา รู้ข่าวว่าเมืองวรนครขาดเจ้าผู้ปกครองเมืองจึงได้ยกทัพเข้ามาชิงเอาเมืองไป นางพญาท้าวคำปิงจึงหนีไปซ่อนตัวอยู่ในป่าและได้ประสูติราชโอรสภายในป่านั่นเอง ครั้นเวลาหนึ่งได้มีนายบ้านซึ่งเป็นพ่อครัวเก่าไปเจอเข้าก็ได้นำพระมเหสีและราชโอรสไปเลี้ยงจนเติบใหญ่ จนอายุได้ ๑๖ ปี นายบ้านก็ได้นำราชโอรสเข้าเฝ้าพญางำเมือง ท้าวพญาก็เห็นว่ามีฝีมือดีนักจึงได้ตั้งชื่อให้ว่า เจ้าขุนไส่ ต่อมาได้มีความดีความชอบพญางำเมืองจึงได้ให้ไปปกครองเมืองปาด ให้ชื่อว่า เจ้าไส่ยศ


    เมื่อนั้นพญางำเมืองจะเสด็จกลับเมืองพะเยาจึงได้ตั้งมเหสีที่ได้แต่เมืองวรนครชื่อ อั้วสิม และโอรสชื่อ เจ้าอามป้อม ปกครองเมืองแทน ครั้นถึงฤดูปีใหม่ นางอั้วสิมและเจ้าอามป้อมได้นำเครื่องบรรณาการไปถวายแด่พญางำเมืองที่เมืองพะเยา แต่ได้ถูกท้าวพญาตำหนิก็เก็บความแค้นไว้ในใจ เมื่อกลับมาถึงเมืองวรนคร นางจึงแต่งหนังสือถึง เจ้าไส่ยศ เจ้าเมืองปาดให้ยกทัพมายึดเมืองวรนครและตกแต่งกันเป็นผัวเมีย ครั้นพญางำเมืองทราบข่าวก็โกรธมากจึงยกทัพไพร่พลศึกเป็นอันมากมาตีเมืองวรนคร เมื่อนั้นเจ้าไส่ยศ จึงแต่งเจ้าอามป้อมเป็นทัพหน้าออกไปรบ พญางำเมืองเห็นดังนั้นก็มีใจรักลูกจึงได้ยกทัพกลับพะเยาดังเดิม


    [​IMG]

    เมื่อนั้นเสนาอามาตย์ทั้งหลายมีเจ้าอาป้อมเป็นต้น ก็ได้อุสาราชาภิเษกเจ้าขุนไส่ยศ เจ้าเมืองปาด ให้เสวยราชย์ปกครองเมืองวรนครในปีพุทธศักราช ๑๘๖๒ นั่นเอง และทรงใช้พระราชทินนามว่า เจ้าพญาผานอง (เหตุว่าตอนประสูติในป่านั้นไม่มีน้ำกินน้ำใช้ภายหลังฝนตกลงมาเกิดน้ำนองพัดหินผามากองเป็นจำนวนมาก) ทรงปกครองบ้านเมืองมายาวนานได้ ๓๐ ปี มีพระราชโอรสทั้งหมด ๖ พระองค์ องค์ที่ ๑ ชื่อเจ้าการเมือง องค์ที่ ๒ ชื่อ เจ้าเล่า องค์ที่ ๓ ชื่อ เจ้ารื่น องค์ที่ ๔ ชื่อ เจ้าบาจาย องค์ที่ ๕ ชื่อ เจ้าควายตม องค์ที่ ๖ ชื่อเจ้าไส ครั้นเมื่อพญาผานองสวรรคต เหล่าเสนาอามาตย์ก็สถาปนา เจ้าขุนไสราชโอรสองค์ที่ ๖ ขึ้นเสวยราชย์แทน เจ้าขุนไสเสวยราชย์ได้ ๓ ปีก็สวรรคต


    ในปีพุทธศักราช ๑๘๙๖ นั่นเอง เหล่าเสนาอามาตย์ทั้งหลายก็จึงได้สถาปนาราชาภิเษก เจ้าพญาการเมืองขึ้นเสวยราชย์ปกครองเมืองวรนครสืบมาและเรื่องราวพระธาตุแช่แห้งได้เริ่มต้นขึ้นในสมัยพญาการเมืองนี่เอง กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๖ ในขณะที่พญาการเมืองเจ้าผู้ครองเมืองวรนครได้รับเชิญจากพระยาโสปัตตกันทิ(พระเจ้าไสลือไท) กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยให้ไปร่วมพระราชกุศลสร้างพระอารามหลวงในกรุงสุโขทัย เมื่อทรงสร้างพระอารามหลวงเสร็จแล้ว พระเจ้ากรุงสุโขทัยทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมากที่เจ้าผู้ครองนครน่านได้มาร่วมพระราชกุศลสร้างพระอารามหลวงจนเป็นผลสำเร็จ จึงได้โปรดพระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุให้รวม ๗ องค์รูปพรรณสัณฐานเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดมีวรรณะต่างกันและพระพิมพ์ทองคำ ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ให้แก่พญาการเมือง

    [​IMG]


    พญาการเมืองมีความยินดีอย่างมากจึงได้อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุกลับมายังเมืองวรนคร แล้วพระองค์ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาล พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ว่าสมควรจะอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุนี้ไปประจุไว้ ณ ที่ใดจึงจะสมควร พระมหาเถรธรรมบาลได้พิจารณาแล้วให้คำแนะนำว่า ที่ดอยภูเพียงแช่แห้งเป็นชัยภูมิดีสมควรอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ ณ ที่นั้น พญาการเมืองเห็นชอบด้วยจึงได้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยพระพิมพ์ทองคำ พระพิมพ์เงินไปยังดอยภูเพียงแช่แห้ง ประจุลงในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย(ปูนขาวผสมยางไม้) กลมเหมือนก้อนศิลา แล้วขุดหลุมลึก ๑ วา อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในหลุมนั้น กลบดินแล้วก่อเจดีย์สูง ๑ วา ทับไว้อีกชั้น


    เมื่อพญาการเมืองได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ ดอยภูเพียงแช่แห้งแล้ว กาลต่อมาหลังจากเสวยราชสมบัติที่เมืองวรนครได้ ๖ ปี จึงย้ายจากเมืองวรนคร(อำเภอปัวในปัจจุบัน) มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เชิงดอยภูเพียงแช่แห้ง ทรงขุดคลองและสร้างกำแพงดินเป็นกำแพงเมืองมีประตูเข้าออกดีแล้วทรงขนานนามเมืองตามชื่อดอยว่า เวียงภูเพียงแช่แห้ง พญาการเมืองทรงปกครองเวียงภูเพียงแช่แห้งแห่งนี้ได้เพียง ๕ ปี ขุนอินตาเมืองใต้ได้เอาผ้าชั้นดีเคลือบยาพิษมาถวายเป็นบรรณาการ พระองค์ทรงเอาพระหัตถ์ลูบจับผ้าดูก็โดนยาพิษถึงแก่พิราลัยในปีพุทธศักราชที่ ๑๙๐๖ นั่นเอง พญาผากองผู้เป็นโอรสได้ขึ้นครองเมืองสืบมาอีก ๖ ปี แม่น้ำเตี๋ยนและ แม่น้ำลิง(แม่น้ำน่านในปัจจุบัน)ได้เปลี่ยนกระแสน้ำทำให้เกิดความแห้งแล้งทุรกันดารหาน้ำกินน้ำดื่มไม่ได้ พญาผากองจึงพิจารณาว่าบริเวณบ้านห้วยไค้เป็นชัยภูมิที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมสำหรับสร้างเมืองใหม่


    [​IMG]


    ในปีพุทธศักราช ๑๙๑๑ ปีมะเมีย เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ พญาผากอง ก็อพยพไพร่พลประชาชนข้ามลำน้ำลิง(แม่น้ำน่านในปัจจุบัน) มาตั้งเมืองใหม่อยู่ที่บ้านห้วยไค้และนี่เองก็คือที่ตั้งตัวเมืองน่านในปัจจุบันนี้ หลังจากนั้นปรากฎว่านครน่านปกครองตัวเองได้ไม่นานก็ถูกรุกรานจากนครรัฐต่างๆ และได้ตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองแพร่ เมืองสุโขทัย เมืองเชียงใหม่ และพม่า ผลัดเปลี่ยนหมุนวียนกันมาปกครองเรื่อยมาตามยุคสมัยและไม่ปรากฏว่ามีเจ้าผู้ครองนครองค์ใดได้สร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุแช่แห้ง ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ป่าไม้ปกคลุมองค์พระธาตุจึงได้ชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังลงไปในที่สุดนับแต่สิ้นพญาการเมืองกาลเวลาล่วงมาอีก ๑๑๓ ปี


    ในปีพุทธศักราช ๑๙๙๓ นครน่าน ถูกปกครองโดยพระเจ้าติโลกราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งผู้แทนพระองค์สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปกครองนครน่าน จวบจนถึงในปีพุทธศักราช ๒๐๑๙ พระเจ้าติโลกราชได้ทรงให้เจ้าหลวงท้าวขาก่านเจ้าผู้ครองนครฝางมาปกครองนครน่าน ในบันทึกตามพงศาวดารได้บรรยายรูปร่างลักษณะเจ้าหลวงท้าวขาก่านไว้ว่า มีผิวกายสีดำแดง สักยันต์เป็นรูปนาคราชตั้งแต่ขาจนถึงน่อง ยามเดินว่องไวปราดเปรียวนัก เจ้าหลวงปกครองนครน่านได้ระยะหนึ่ง จึงได้ใช้ให้หมื่นคำไปถวายเครื่องบรรณาการแด่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ หลังจากนั้นหมื่นคำได้ไปกราบนมัสการพระคุณเจ้ามหาเถรวชิรโพธิ์และได้สนทนาธรรมกับพระคุณเจ้า พระคุณเจ้าจึงได้ให้ตำนานพระธาตุแช่แห้งที่ได้มาจากเมืองลังกากับหมื่นคำหมื่นคำได้ตำนานนั้นกลับมาถวายเจ้าหลวงท้าวขาก่าน เมื่อเจ้าหลวงได้ศึกษาอ่านตำนานที่ได้มาจึงได้รู้ว่าบริเวณบนดอยภูเพียงแช่แห้งมีองค์พระธาตุประดิษฐานอยู่ก็มีจิตศรัทธาใคร่ทำนุบำรุงองค์พระธาตุแช่แห้งสืบต่อ


    เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้าและ ชาวเมืองทั้งหลายได้พากันแผ้วถางบริเวณดอยภูเพียงแช่แห้งซึ่งขณะนั้นถูกปกคลุมด้วยป่าไผ่เครือเถาวัลย์ จนเจอจอมปลวกใหญ่ลูกหนึ่งก็พากันทำการสักการบูชา ครั้นถึงเวลากลางคืนบริเวณจอมปลวกก็ปรากฏดวงพระธาตุเจ้าแสดงปาฏิหาริย์เปล่งรัศมีรุ่งเรืองนัก จึงได้พากันขุดบริเวณจอมปลวกดูขุดได้ลึก ๑ วาก็เจอก้อนศิลากลมเกลี้ยงลูกหนึ่ง เมื่อทุบให้แตกก็พบ ผอบทองคำมีฝาปิดสนิท เมื่อเปิดออกดูก็พบพระธาตุเจ้า ๗ องค์ พระพิมพ์คำ ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ ที่พญาการเมืองได้มาจากเมืองสุโขทัยและนำมาประดิษฐานไว้ แล้วเจ้าหลวงท้าวขาก่านได้นำพระธาตุรวมทั้งพระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำที่ขุดได้ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่หอคำและได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าติโลกราชทราบ พระเจ้าติโลกราชทรงมีกระแสรับว่าเมื่อขุดได้ที่ใดก็ให้เก็บไว้ยังที่นั้น เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้าท้าวพระยาทั้งหลายก็พร้อมใจกันนำพระบรมสาริกธาตุเจ้าพร้อม พระพิมพ์เงินพระพิมพ์คำมาประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม และก่อเจดีย์สูง ๖ วาคร่อมไว้ เจ้าหลวงท้าวขาก่านปกครองนครน่านได้ ๔ ปี มีความดีความชอบมาก จึงในปีพุทธศักราช๒๐๒๓ พระเจ้าติโลกราชได้ปูนบำเหน็จให้เจ้าหลวงท้าวขาก่านไปปกครองนครเชียงรายสืบต่อ


    ในปีพุทธศักราช ๒๐๒๔ พระเจ้านครเชียงใหม่ได้ให้ท้าวอ้ายยวมมาปกครองนครน่านสืบต่อจากเจ้าหลวงท้าวขาก่าน เมื่อนั้นท้าวอ้ายยวมก็ได้บูรณะองค์พระธาตุแช่แห้งให้สูงใหญ่กว่าเดิม กว้าง ๑๐ วา สูง ๑๗ วา ใช้เวลานาน ๔ ปี จึงเสร็จสิ้นบริบูรณ์ และท้าวอ้ายยวมก็ได้ถึงแก่พิราลัยในปีนั้นเอง พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ส่งเจ้าผู้ครองนครต่างๆมาปกครองนครน่านสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา ตามพงศาวดารไม่ได้กล่าวถึงเกี่ยวกับพระธาตุแช่แห้ง จนถึงในปีพุทธศักราช ๒๐๖๒ สมัยพระยาคำยอดฟ้าปกครองนครน่าน ท่านเสวยเมืองได้ ๔ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๐๖๕ พระยาคำยอดฟ้าพร้อมด้วยสังฆเจ้า ครูบาวัดแช่แห้ง ขุนนางบ้านเมืองทั้งหลายก็ได้สร้างพระเจ้าล้านทอง และสร้างกำแพงแก้วล้อมองค์พระมหาธาตุเจ้าไว้ ทรงปกครองนครน่านได้ ๙ ปีก็ถึงแก่พิราลัย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ให้เจ้าพระยาพลเทพฦาไชย มาปกครองนครน่านแทน ทรงปกครองนครน่านได้ ๓๒ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๐๗๐ เจ้าฟ้าหงษามังตรายกทัพมาตีนครเชียงใหม่ได้ พระยาพลเทพฦาไชยได้หนีไปล้านช้าง นับแต่นั้นนครน่านก็อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ในปีพุทธศักราช ๒๑๐๓ เจ้าฟ้าหงษามังตรา ก็ได้ให้พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม มาปกครองนครน่าน


    จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่านได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากกรุงสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง


    [​IMG]

    ภายในวิหารหลวงมีพระเจ้าล้านตองเป็นพระประธาน พุทธลักษณะปางมารศรีวิชัยศิลปะล้านนา ประทับนั่งบนฐานชุกชี สร้างด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทองสูง ๘ ศอก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๕ โดยพญาคำยอดฟ้าเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๓๙ เป็นพระพุทธรูปองค์ที่สวยงามในจังหวัดน่านองค์หนึ่งและเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน ตามประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าติโลกราชได้ให้พระยาคำยอดฟ้า มาเสวยราชที่เมืองน่าน เป็นครั้งที่ ๒ราว พ.ศ.๒๐๖๕พระยาคำยอดฟ้าก็ได้ร่วมกับพระสงฆ์เจ้าและประชาชนสร้าง " พระเจ้าล้านทอง " และสร้างกำแพงรอบมหาธาตุ ก่อนที่จะกลับไปครองเมืองเชียงใหม่


    พระพุทธรูปประทับยืน ประดิษฐานในวิหารหลวงจำนวน ๒องค์(ในอดีตสร้างด้วยไม้ ขนาดสูง ๒.๕๕เมตร )ปัจจุบันองค์จริงมอบให้พิพิธภัณฑ์จังหวัดน่าน อีกองค์ถูกโจรกรรมและยังไม่ได้กลับคืน องค์ที่เห็นจำลองจากองค์จริงทำพิธีหล่อเททองเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๕๐



    [​IMG]

    คำบูชา
    ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง ปะติฎฐิตา นันทะกัปปะเกปุเร เทเวนะ คุตตา
    วะระพุทธะธาตุง จิรัง วันทามิ หันตัง ชินะธาตุโย โสตะถาคะตัง
    อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ ทูระโต


    ......................................

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1381118/[/MUSIC]​

    ......................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7657_1a.jpg
      IMG_7657_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      417.7 KB
      เปิดดู:
      2,707
    • IMG_7658_1a.jpg
      IMG_7658_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      399.2 KB
      เปิดดู:
      1,846
    • IMG_7660_1a.jpg
      IMG_7660_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      510.7 KB
      เปิดดู:
      1,496
    • IMG_7665_1a.jpg
      IMG_7665_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      328.2 KB
      เปิดดู:
      1,519
    • IMG_7671_1a.jpg
      IMG_7671_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      318.2 KB
      เปิดดู:
      1,434
    • IMG_7683_1a.jpg
      IMG_7683_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      362.6 KB
      เปิดดู:
      1,404
    • IMG_7703_1a.jpg
      IMG_7703_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      520.5 KB
      เปิดดู:
      1,391
    • IMG_7726_1a.jpg
      IMG_7726_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      499.3 KB
      เปิดดู:
      1,460
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...