41.เมื่อสาว สาว พลังจิต ไปเที่ยวอยุธยา ภาค ๒

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 6 พฤษภาคม 2011.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ๔๑

    เมื่อสาว สาว พลังจิต ไปเที่ยวอยุธยา ภาค ๒



    จากที่เคยตั้งกระทู้ เมื่อสาว สาว พลังจิต ไปเที่ยวอยุธยา เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ก็ สามปีกว่าแล้ว เวลาผ่านมาเร็วจัง ในคราวนั้นได้นำเสนอวัดที่ไปทั้งหมด ๑๐ วัด มาคราวนี้ ได้รวมตัวไปเที่ยวกันอีกครั้งก็มานั่งคิดอยู่ว่าจะตั้งชื่อเรื่องว่าอะไร ก็จะไปวัดที่เคยไปมาแล้วเมื่อครั้งก่อน และก็มีบางวัดที่ยังไม่เคยไปด้วย ก็คิดว่า น่าจะตั้งชื่อ เมื่อสาว สาว พลังจิต ไปเที่ยวอยุธยา ภาค๒ ก็แล้วกัน แต่คราวนี้สมาชิกที่ไปด้วยก็เป็นสาว สาว สมาชิกเว็ปพลังจิตที่เป็นสมาชิกเก่าบ้าง ใหม่บ้าง โดยกำหนดสถานที่ที่จะไปว่ามีวัดอะไรบ้างส่วนใหญ่จะมาจากการนำเสนอของพี่อ้อซึ่งบางวัดก็เป็นวัดที่เคยไปแล้ว บางวัดก็ยังไม่เคยไป บางวัดก็ไม่ได้อยู่ในแผนที่จะไป

    เช้าวันอาทิตย์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๔ เริ่มจากขับรถไปรับเพื่อนสมาชิกเว็ปพลังจิตที่สายใต้ใหม่(จะเป็นสาวใต้ ตาคม ขนตางอนหรือเปล่า ไม่บอก อิ อิ) แล้วก็มารับพี่อ้อ ซึ่งวัดแรกที่พวกเราจะแวะกันก็คือ วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี

    วัดโบสถ์นี้ สร้อยฟ้ามาลาเคยลงกระทู้ไว้แล้วเรื่อง สมเด็จโตองค์ใหญ่ที่วัดโบสถ์ จึงไม่ได้เก็บภาพมาฝากเยอะ ถ่ายภาพได้ไม่กี่ภาพ รู้สึกว่าแสงแปลกๆ เลยไม่สวยเท่าไหร่ มัวๆ ยังไงก็ไม่รู้ ส่วนข้อมูลขอยกบางส่วนมาจากกระทู้ที่เคยลงไว้ก็แล้วกัน อิ อิ


    a.jpg

    วัดโบสถ์
    ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลางอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
    วัดโบสถ์สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๔โดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดีเดิมเป็นวัดเก่าโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คือหลวงพ่อเหลือถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเมืองปทุมธานีบริเวณรอบๆ วัดมีทิวทัศน์ที่สวยงามสถานที่ตั้งของวัดโบสถ์อยู่บริเวณคุ้งน้ำท้องมังกรของแม่น้ำเจ้าพระยา


    ชื่อวัดโบสถ์นำมาจากชื่อหมู่บ้านที่ชาวมอญอพยพมาจากเมืองมอญเช่นเดียวกับวัดอีกหลายวัดในปทุมธานีเช่น วัดหงษ์วัดบางตะไนย์ประชาชนมักมาที่วัดเพื่อสักการะหลวงพ่อสามพี่น้องในพระอุโบสถและรูปหล่อหลวงปู่เทียน (พระครูบวรธรรมกิจ) พระเถระผู้ทรงคุณวิทยาส่งเสริมด้านการศึกษาให้ชาวปทุมวัดนี้ยังคงมีวิหารเก่าเหลืออยู่ ๑ หลังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่จากรามัญคือ พระแสงอาญาสิทธิ์และยังเก็บรักษาสิ่งสำคัญคือช้างสี่เศียรและบุษบกสัมฤทธิ์สำหรับประดับเสาหงส์และรูปปั้นสุนัขย่าเหลหล่อด้วยตะกั่วที่เจ้าอาวาสได้รับพระราชทานมาจากรัชกาลที่๖ เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองปทุมธานี


    a.jpg


    วัดโบสถ์มีรูปปั้นเหมือน ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี)เทศนาธรรมองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีความสูงถึง ๒๘ เมตร ความกว้างหรือหน้าตัก๑๒ เมตรลักษณะเป็นปางเทศนาธรรม วัตถุประสงค์เพื่อเสริมดวงเมืองของประเทศไทยหมายถึงการให้สติเตือนใจคนด้วยหลักธรรมของพระพุทธเจ้าหรือเอาธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นใหญ่เหมือนกับที่มีคำกล่าวว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคตพระธรรมจึงเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าและอำนาจแห่งธรรมจะสามารถสยบความชั่วร้ายและอัปมงคลให้กับประเทศไทยได้

    รูปเหมือนสมเด็จโต พรหมรังสีสร้างขึ้นจากมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากทั่วประเทศ เช่น ผงสมเด็จโตจากวัดระฆังโฆสิตารามผงเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทร์ ผงหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋งจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งผงธูปและแผ่นทองจากวัดศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ อาทิ วัดโสธรวรารามวัดพระแก้ว วัดพระพุทธชินราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดหลวงพ่อทวด เป็นต้น ดินจาก๗๖จังหวัดน้ำพระพุทธมนต์จากทั่วประเทศใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างตั้งแต่ช่วงเข้าพรรษาของปีพ.ศ.๒๕๔๙ แล้วเสร็จเมื่อวันที่๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ประมาณ ๑ ปี ๖ เดือนงบประมาณเฉพาะองค์พระประมาณ ๑๐กว่าล้านบาทวางศิลาฤกษ์โดยพระพรหมเมธีกรรมการมหาเถรสมาคมและเลขาธิการคณะธรรมยุตวัดเทพศิรินทราวาสปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวนิยมไปกราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก


    ............................

    ภาพเดิมจากกระทู้ก่อน
    มาเทียบกับภาพในคราวนี้
    ดูแล้วหม่นไปเลย อย่างที่บอก
    ถ่ายภาพเพี้ยนๆ ยังไงไม่รู้...

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    หลวงพ่อเหลือ

    .....................................................



    .....................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Picture 002_1a.jpg
      Picture 002_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      275.2 KB
      เปิดดู:
      3,329
    • Picture 005_1a.jpg
      Picture 005_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      352.8 KB
      เปิดดู:
      5,893
    • 15.mp3
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      2,527
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    หลังจากไหว้หลวงปู่โตแล้ว พวกเราก็มุ่งหน้าสู่กรุงเทพทวารวดี ศรีอโยธยา โดยใช้เส้นทางบางปะหัน แต่ แต่ แต่ วัดที่สองที่ไปนี้ อยู่นอกเมืองไกลพอประมาณ ผ่านอำเภอบางปะหันไปอีก หลายคนสงสัย หลายคนไม่รู้จัก สร้อยฟ้าฯ ได้ยินชื่อวัดนี้มานานแต่ไม่มีเวลาแวะก็ประจวบเหมาะพอดีที่อยู่ในแผนการเดินทางครั้งนี้ วัดนี้ชื่อวัดนครหลวง


     
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดนครหลวง

    ตั้งที่อยู่ ๑๘๔ หมู่ ๑ ตำบลวัดนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ประมาณ ๘๓ ไร่ ๑ งาน ๕๒ ตารางวา

    เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท ตามใบบอกเมืองสระบุรี ในปี พ.ศ. ๒๑๔๙ นั้น ได้เสด็จฯ โดยชลมารคตามลำน้ำป่าสักถึงท่าเรือ แล้วจึงเสด็จฯ ต่อไปโดยขบวนช้าง มีพรานบุญผู้พบรอยพระพุทธบาทเป็นผู้นำทาง ก่อนเสด็จฯ กลับได้โปรดให้ฝรั่งส่องกล้องตัดถนนจากรอยพระพุทธบาทมาจนถึงท่าเรือ ครั้นเสด็จฯ กลับมาตามสถลมารคที่สร้างใหม่ถึงท่าเรือแล้วจึงโปรดให้สร้างตำหนักริมน้ำขึ้น ให้ชื่อว่า พระตำหนักท่าเจ้าสนุก


    a.jpg

    ข่าวการพบรอยพระพุทธบาท ณ แขวงเมืองสระบุรี ในขณะนั้น นับเป็นมงคลนำความชื่นชมโสมนัสมาสู่ราชสำนักและพสกนิกรโดยถ้วนทั่ว พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆ มา ทรงถือว่า การเสด็จนมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้เป็นพระราชกรณียกิจที่จำเป็น และสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่พึงปฏิบัติ และเส้นทางขบวนเสด็จนั้นมักจะเสด็จฯ โดยชลมารค โดยเริ่มจากท่าเทียบเรือพระราชวังหลวง (ท่าวาสุกรี) ไปจนถึงท่าเจ้าสนุก แล้วจึงเสด็จฯต่อโดยสถลมารค แม่น้ำป่าสักจึงเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำที่สำคัญยิ่งเส้นทางหนึ่งนับแต่การค้นพบรอยพระพุทธบาท ความงดงามแปลกตาของลำน้ำและภูมิประเทศสองฟากฝั่งได้ก่อให้เกิดจินตนาการแก่กวีผู้เดินทางผ่านคนแล้วคนเล่า นับแต่ยุคเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยสุนทรภู่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างทางรถไฟสายพระพุทธบาท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ นักเดินทางจึงเปลี่ยนไปเดินทางทางรถไฟ

    ขบวนพยุหยาตราชลมารคเพื่อนมัสการพระพุทธบาทในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนั้น จะหยุดพักผ่อนไพร่พลและเสวยพระกระยาหารกลางวันตรงใกล้บริเวณลำน้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี มาบรรจบกันเป็นทางน้ำสามแพรกบริเวณวัดใหม่ประชุมพล อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงบ่ายหายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ขบวนจึงจะเคลื่อนต่อไปตามลำน้ำป่าสักจนถึงท่าเจ้าสนุกแล้วหยุดประทับแรม ต่อวันรุ่งขึ้นขบวนจึงจะเคลื่อนไปโดยสถลมารค

    ครั้นถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองไม่โปรดที่จะหยุดการเดินทางในช่วงแรกที่วัดใหม่ประชุมพล แต่จะหยุดประทับที่บริเวณริมน้ำใกล้วัดเทพจันทร์ ถัดจากวัดใหม่ประชุมพลลงมาเล็กน้อย จนถึงปี พ.ศ. ๒๑๗๔ จึงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบปราสาทนครหลวงในเขมร มาสร้างขึ้นไว้ในบริเวณสถานที่แห่งนี้ แล้วให้ชื่อ “พระนครหลวง” ตามชื่อเดิม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    โบราณสถานปราสาทนครหลวง จึงแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
    ๑. ตัวปราสาทพระนครหลวง
    ๒. ร่องรอยพระตำหนักที่ประทับสำราญพระราชอิริยาบถของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


    a.jpg

    ปราสาทพระนครหลวง
    เป็นอาคารก่ออิฐสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้น ชั้นแรกมีขนาด ๘๑ x ๙๔ เมตร สูงจากพื้นเดิน ๔ เมตร ชั้นที่สองขนาด ๖๗ x ๗๕ เมตร สูงจากพื้นชั้นแรก ๔ เมตร เช่นเดียวกัน ชั้นที่สามขนาด ๔๖ x ๔๘ เมตร สูงจากพื้นชั้นที่สูง ๓.๕๐ เมตร จากการขุดแต่งเพื่อการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ พบว่าแกนในของฐานแต่ละชั้นก่อด้วยดินอัดแน่นจนถึงพื้นแล้วก่ออิฐเป็นเอ็นยึดขนาดกว้าง ๘๐ เซนติเมตร สานกันเป็นแฉกทั่วพื้นที่ตรงมุมและทิศทั้ง ๔ ที่ระเบียงคดทุกชั้นทำเป็นปรางค์(คำว่าปรางค์ในที่นี้เรียกโดยอนุโลม คล้ายคลึงกับที่มีอยู่ของวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาบางฉบับเรียกว่า “เมรุ”) บริวารชั้นแรกมี ๑๐ องค์ ชั้นที่สอง ๑๒ องค์ และชั้นที่สาม ๘ องค์ รวมทั้งสิ้น ๓๐ องค์ ลักษณะปรางค์แต่ละองค์มีแบบแปลนแผนผังเหมือนๆ กัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๘.๔๐ เมตร ย่อมุมไม้ยี่สิบ ก่อเป็นฐานเขียง ๒ ชั้น แล้วขึ้นฐานบัวลูกแก้วอกไก่คู่รองรับเชิงบาตรและตัวเรือนธาตุตามลำดับ ส่วนยอดทำเป็นชั้น ๕ ชั้น ภายในองค์ปรางค์ประดิษฐานพระพุทธรูปปรางค์ละ ๒ องค์ ยกเว้นปรางค์หมายเลข ๗, ๑๘ และ ๒๖ ที่ต้องใช้เป็นเนื้อที่ของประตู


    a.jpg

    ระเบียงคด
    อาคารเชื่อมต่อระหว่างปรางค์ของแต่ละชั้นก่อผนังด้านนอกตัน แต่ทำช่องหน้าต่างปลอมเลียนแบบช่องลูกมะหวดคล้ายศิลปะสถาปัตยกรรมที่นิยมทำกันในเขมร สมัยนครวัด ช่วงฐานก่อล้อกับการขึ้นรูปของฐานปรางค์ คือ ทำเป็นฐานเขียง ๒ ชั้น แล้วขึ้นฐานลูกแก้วอกไก่ ส่วนผนังด้านในก่อโปร่งทำเป็นเสาสี่เหลี่ยมปาดมุม ปลายเสาเป็นบัวหงาย มีหน้ากระดานรองรับระหว่างช่วงเสาก่อกำแพงหลังเจียดเตี้ยๆ โดยตลอด หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผาแบบลอนโค้ง ด้านนอกลด ๒ ตับ ด้านในลด ๓ ตับ ภายในระเบียงมีฐานชุกชี ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งหันพระพักตร์สู่องค์ปรางค์ประธานทุกด้านทุกชั้นประตูทางเข้าขึ้นบนปราสาท ชั้นแรกมี ๙ ประตู ชั้นที่สอง ๑๒ ประตู และชั้นบน อีก ๙ ประตู รวมทั้งสิ้น ๓๐ ประตูท่อระบายน้ำ ทำเป็นช่องสามเหลี่ยมสำหรับน้ำไหลลงพื้นข้างล่าง รวม ๔๐ จุดมีหลักฐานอยู่หลายประการ เช่น การฉาบปูนที่ผนังปรางค์และระเบียงเพียงการรองพื้นบางๆ ยังไม่ได้ตบแต่งฉาบผิวบันไดทางขึ้นบางแห่งยังไม่ได้ก่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสมณฑลอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ ทรงพระราชนิพนธ์ถึงปราสาทแห่งนี้ว่า “…คงสร้างไม่แล้วเสร็จเป็นแน่ จนบันไดก็ได้ก่อบ้างไม่ได้ก่อบ้างเป็นแต่ชักอิฐไว้ ตัวปรางค์กลางนั้นเห็นจะยังไม่ได้ก่อขึ้นเป็นแน่…” ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานที่เชื่อได้ว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างปราสาทนครหลวงไม่แล้วเสร็จ



    a.jpg
    พระตำหนักที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองแวะประทับสำราญพระราชอิริยาบถ เวลาเสด็จโดยขบวนพยุหยาตราชลมารคเมื่อถึงเทศกาลนบพระพุทธบาทนั้น ปัจจุบันคือสถานที่บริเวณศาลาพระจันทร์ลอยซึ่งตั้งอยู่ถัดท่าน้ำเข้าไปเพียงเล็กน้อย จากงานขุดแต่งขุดค้นสถานที่แห่งนี้พบว่าอาคารจัตุรุมุขได้สร้างทับซ้อนลงบนอาคารพื้นปูอิฐหลังคามุงกระเบื้อง ซึ่งน่าเชื่อถือว่าเป็นศาลาโถงที่ประทับชั่วคราวของขบวนเสด็จพยุหยาตราของพระเจ้าปราสาททอง


    ..............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    การซ่อมแปลงปราสาทพระนครหลวง

    ๑. แม้ปราสาทหลังนี้จะยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แต่ไม่ปรากฏร่องรอยการแต่งเติมเสริมต่อใดๆ จนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงปี พ.ศ. ๒๓๕๒ นายปิ่นหรือตาปะขาวปิ่นได้สร้างพระพุทธบาทสี่รอยและอุโบสถเพิ่มเติมขื้นบริเวณลานชั้นบน พร้อมทั้งขอยกสถานที่นี้ขึ้นเป็นวัดและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ชาวบ้านเรียกวัดนี้กันสั้นๆ ว่า วัดนคร พระพิทักษ์เทพธานี (ด้วง ณ ป้อมเพชร) ปลัดกรุงเก่าเล่าว่า “พระชื่อปิ่นออกไปเมืองพม่า ได้เห็นแบบอย่างพระบาทสี่รอย จึงกลับมาเรี่ยไรราษฎรทำขึ้น”


    a.jpg

    การบูชาพระพุทธบาทสี่รอยเป็นคตินิยมของชาวพุทธฝ่ายหินยาน ซึ่งแพร่หลายอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรพุกามในสหภาพพม่า พระพุทธบาทสี่รอยเป็นสัญลักษณ์ให้รำลึกถึงพระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้ว ๔ พระองค์ คือ พระกกุกสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป แลพระสมณโคดม

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ไปถวายผ้ากฐินที่วัดนี้และมีพระราชดำริจะสร้างปราสาทพระนครหลวงให้แล้วเสร็จ แต่ทรงรังเกียจว่ามีอุโบสถที่ครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ภายใน อยู่บนลานชั้นบน จะรื้อเสียก็ไม่ควร จึงไม่ได้ปฏิสังขรณ์ต่อ

    a.jpg

    พระพุทธบาทสี่รอย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในมณฑปบนปราสาทนครหลวง มีปรากฏเป็นหลักฐาน ในพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕ เรื่อง ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา ปี ๒๔๒๑ มีความว่า “ในกลางโบสถ์นั้นเป็นอ่างรอยพระพุทธบาทสี่รอยเหยียบซ้อนกัน

    รอยใหญ่ เป็นรอยตั้งขอบกว้าง ๔ ศอกคืบ ๗ นิ้ว ยาว ๑๑ ศอก ๖ นิ้ว
    รอยที่ ๒ เหยียบข้างต้นรอยใหญ่ ชิดมาทางขวาเสมอกัน กว้าง ๓ สอกคืบ ยาว ๗ ศอก ๓ นิ้ว
    รอยที่ ๓ เหยียบข้างซ้ายในรอยใหญ่ ลึกลงไป กว้าง ๒ ศอกคืบ ๓ นิ้ว ยาว ๖ ศอก ๓ นิ้ว
    ทั้ง รอยเล็กที่ ๔ อยู่ใน คืบที่ ๓ กว้างศอกคืบ ๖ นิ้ว ยาว ๓ ศอกคืบ ๖ นิ้ว



    a.jpg

    อธิบายว่า เป็นรอยพระบาทพระพุทธเจ้า ซึ่งได้ตรัสรู้แล้ว
    ภัทรกัลป์นี้
    รอยใหญ่ที่ ๑ เป็นรอยพระพุทธกกุสันธ์
    รอยที่ ๒ พระพุทธโกมาคมน์
    รอยที่ ๓ พระกัสสป
    รอยที่ ๔ พระพุทธโคดม"



    การบูชาพระพุทธบาทสี่รอย เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ สืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน ตรงกับวันขึ้น ๑๓ – ๑๔ – ๑๕ ค่ำ ของเดือน ๓ และเดือน ๔ ของทุกปี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    ๒. การบูรณซ่อมแปลงปราสาทพระนครหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงปราสาทพระนครหลวง ครั้งสำคัญคือ การซ่อมโดยรื้อของเก่าออกแล้วสร้างของใหม่แทน โดยพระปลัดปลื้ม(พระปลัดปลื้มเป็นชาวอำเภอพระนครหลวง บวชอยู่วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส มีผู้นับถือทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน)สัญญาบัตรให้เป็นพระครูวิหารกิจจานุรักษ์วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส และผู้มีศรัทธาอีกจำนวนหนึ่ง พระปลัดปลื้มได้ขออนุญาตกระทรวงธรรมการรื้ออุโบสถที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยออกแล้วสร้างใหม่เป็นมณฑปจัตุรมุข แก้พระปรางค์ทิศเป็นทรงมณฑป และซ่อมแซมปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดอื่นอีกหลายประการ การซ่อมแซมครั้งนั้นผู้ซ่อมมุ่งผลประโยชน์การใช้สอยในขณะนั้นเป็นหลักสำคัญ ไม่ได้คำนึงถึงแบบแปลนแผนผังเดิม ผลที่ปรากฏจึงเป็นภาพความขัดแย้งระหว่างของเก่าของใหม่ที่มองเห็นอยู่โดยทั่วไปตั้งแต่รูปแบบราวบันไดไปจนถึงส่วนยอด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    นอกจากปราสาทแล้ว พระปลัดปลื้มได้สร้างศาลาพระจันทร์ลอย เป็นอาคารทรงจัตุรมุขลงบนสถานที่ที่เชื่อว่า เดิม คือ พระตำหนักนครหลวงของพระเจ้าปราสาททอง ศาลาหลังนี้สร้างขึ้นประดิษฐานพระจันทร์ลอย (แผ่นหินรูปกลมคล้ายเสมาธรรมจักร แกะจากหินแกรนิต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๓๕ เมตร หนา ๒๐ เซนติเมตร ด้านหน้าตอนบน แกะสลักพระพุทธรูปนูนต่ำ ขนาดเล็กจำนวน ๓ องค์ และเจดีย์ด้านข้างพระพุทธรูปอีกด้านละองค์ ด้านล่างแกะลาย ตรงกลางลายทำเป็นรูปภาพต่างๆ ที่พอมองเห็นได้ชัดคือรูปปลา ๒ ตัว นอกนั้นค่อนข้างลบเลือนมองไม่ชัด)


    [​IMG]

    ชาวบ้านเล่าขานกันว่าแผ่นหินพระจันทร์ลอยนี้ เดิมทีลอยน้ำมาตามแควป่าสัก มีผู้พบเห็นครั้งแรกที่บ้านศิลาลอย ตำบลศาลาลอย อำเภอท่าเรือ ประชาชนในท้องถิ่นนั้นได้พยายามนำขึ้นจากน้ำแต่ไม่สามารถฉุดขึ้นได้ แผ่นหินจึงลอยน้ำเรื่อยมาจนถึงวัดเทพจันทร์(ปัจจุบันชื่อวัดเทพจันทร์ ตำบลหนองหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันลงไปฉุดเพื่อจะนำไปไว้ที่วัด แต่ก็ทำไม่สำเร็จไม่สามารถฉุดขึ้นมาได้เช่นเดียวกับชาวบ้านศิลาลอย สมภารวัดเทพจันทร์ผู้เรืองวิชามีอาคมในย่านนั้นรู้เรื่องเข้าจึงนำด้ายสายสิญจน์ ๓ เส้น ลงไปคล้องแล้วฉุดขึ้นไปไว้ที่วัดได้โดยง่ายดาย พระจันทร์ลอยจึงได้ประดิษฐานที่วัดนี้อยู่ชั่วระยะหนึ่งจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงมหาดไทยจึงได้นำส่งไปเก็บไว้ที่วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร


    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบเรื่องพระปลัดปลื้มบูรณซ่อมแซมแปลงปราสาทนครหลวง ตามหนังสือกระทรวงธรรมาการกราบบังคมทูลแล้ว ทรงมีพระราชกระแสว่า “อนึ่ง พระจันทร์ลอยซึ่งกระทรวงมหาดไทยนำมาอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร นั้น ก็ไม่อัศจรรย์อะไร ถ้าให้พระปลัดปลื้มรับกลับไปตั้งไว้ที่วัดพระนครหลวงนี้ คนเห็นจะตื่นกันบูชา เห็นจะเป็นเครื่องนำมาซึ่งทรัพย์สมบัติสำหรับก่อสร้าง ดีกว่าอยู่กรุงเทพฯ ยอมอนุญาตให้นำกลับคืนไป


    พระจันทร์ลอยจึงกลับมาสู่ถิ่นเดิมอีกครั้งหนึ่ง แม้จะไม่ใช่สถานที่เดิมคือ วัดเทพจันทร์ แต่ศาลาพระจันทร์ลอยภายในบริเวณปราสาทพระนครหลวงแห่งนี้ ก็ห่างจากวัดเทพจันทร์เพียงไม่กี่ร้อยเมตร


    [​IMG]

    พระจันทร์ลอย มีปรากฏเป็นหลักฐาน ในพระราชนิพนธ์ ของรัชกาลที่ ๕ เรื่อง ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา ปี ๒๔๒๑ มีความว่า “ฟากข้างขาวมือเข้าไปเป็นเนินอยู่หน่อยนึง เป็นที่ไว้แผ่นศิลาซึ่งมีเรื่องเล่ามาว่า พระจันทร์ลอยน้ำมาถึงหน้าวัดคนลงไปฉุดเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น พระสงฆ์ซึ่งเป็นสมภาร เป็นผู้มีวิชาเอาสายสิญจน์สามเส้นลงไปฉุดมาไว้ เป็นแผ่นศิลาอยู่จนบัดนี้.....” “..... ตัวแผ่ศิลาที่ว่าเป้นพระจันทร์นั้น เป็นศิลาแดงหยาบ ๆ คล้ายศิลาราชบุรี รูปร่างเหมือนโม่โรงสีไฟ กลม วัด ศูนย์กลางได้ ๔ ศอกคืบ ๒ นิ้ว หนา ๖ นิ้ว พิงอยู่กับอิฐที่หน้าแผ่นศิลานั้น สะกัดเจาะเป็นพระรัตนเจดีย์ ๒ องค์ พระพุทธรูป ๓ องค์ พระเจดีย์ อีกองค์หนึ่งนั้นเห็นจะมีผู้เอาปูนปั้นช่วยพอกให้นูนเด่นออกมากว่าหน้าศิลาปิดทองทั้ง ๕ ใต้นั้น ลงมามีลายเป็นรอยสลักลาย ในกลางลายมีรูปต่าง ๆ ที่เห็นชัดนั้นเป็นปลาสองตัว เหมือนดังเครื่องหมายในราศีมีน จะว่าเป็นลายพระพุทธบาทก็ไม่ได้ ด้วยต่อลายนั้นลงข้างล่าง มีศิลาลอยสลักเป็นลวดโค้ง เหมือนหนึ่งเป็นรอยต้นพระบาท แต่ลายเหล่านี้ไม่เต็มทั้งหน้าศิลา มีอยู่บ้างเล็กน้อย ลบ ๆ เลือน....”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  8. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    รอบนี้ น้องส้มแป้น พา น้องอ้อ สายฝนเย็นฉ่ำ ไปด้วยหรือครับ ... ^^


    รอบนี้ไปทั้งหมดกี่ท่านครับ ?





     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529

    ก็เต็มรถอ่ะจ่ะ..... ^^
     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    สำหรับท่านใดที่จะเดินขึ้นไปบนปราสาทนครหลวงแล้วเป็นภูมิแพ้ให้ระวังนิดนึงเพราะว่ามีมูลนกพิราปเยอะและกลิ่นแรงมาก

    [​IMG]


    สิ่งน่าสนใจในวัดนครหลวงยังมีอีกเยอะ และวัดแห่งนี้มีเนื้อที่กว้างขวางจึงต้องใช้เวลาในการเดินดูแต่พวกเรามีเวลาถึงขนาดนั้นจึงต้องออกเดินทางไปยังจุดหมายต่อไป ตามกำหนดคือวัดกษัตราธิราชวรวิหาร ซึ่งต้องใช้เส้นทางย้อนกลับมาทางบางปะหันและเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกวรเชษฐ์ มุ่งสู่เกาะเมือง แต่ก่อนที่จะถึงวัดกษัตราธิราชพวกเราจะผ่านวัดวรเชษฐ์ ตอนที่ขณะขับรถกำลังผ่านวัดไปนั้นได้มองเข้าไปเห็นมีพิธีบวงสรวงซึ่งพวกเราไม่ได้คิดที่จะแวะและไม่ได้อยู่ในกำหนดการ ก็ขับรถเลยไปด้วยความรวดเร็ว ขณะกำลังจะเลยยูเทรินกลับรถซึ่งวัดวรเชษฐ์อยู่ฝังตรงข้ามเกิดการตัดสินใจอย่างฉับพลันเลี้ยวรถกลับเข้าไปร่วมงานกับเขา ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นงานบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเนื่องในวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต พวกเราจึงได้มีโอกาสอันดีทีได้เข้าร่วมพิธี ได้รวมถวายสรงน้ำ ได้ขนมงานบวงสรวง และยังได้พระบรมสารีริกธาตุจากพุทธคยามาอีก เข้าร่วมพิธีเสร็จแล้วพวกเราก็เดินทางไปยังวัดกษัตราธิราชวรวิหารกันต่อก็ขอยกข้อมูลเดิมที่เคยลงไว้มาอีกครั้ง


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  11. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    คราวหน้าขอเป็นอีกหนึ่งสาวนะ..อยากไปด้วยยยยยยยยยย..(good)
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    วัดกษัตราธิราชวรวิหาร

    วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านป้อมอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง (เดิมชื่อวัดกษัตรา) เป็นวัดกษัตริย์สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีตำบลที่ตั้งวัดเรียกว่า "บ้านป้อม" นั้นเพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยาทางราชการได้สร้างป้อมไว้ มีชื่อว่า "ป้อมจำปาพล"ซึ่งเป็นป้อมนอกพระนคร ฟากตะวันตกขึ้นไว้ ณ ตำบลนี้ทางด้านหลังวัดกษัตราออกไปมีทุ่งกว้างอยู่ทุ่งหนึ่ง เรียกว่า "ทุ่งประเชตุ"พม่าเคยยึดเอาทุ่งนี้เป็นที่มั่นตั้งกองทัพเข้าโจมตีพระนครศรีอยุธยาหลายครั้งดังปรากฎเรื่องราวอยู่ในพระราชพงศาวดารอยู่แล้วและวัดกษัตรานี้ได้ถูกทำลายอย่างย่อยยับเยิน เมื่อคราวเสียกรุง ฯ ครั้งหลัง เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๐ เพราะบริเวณที่ตั้งวัดอยู่คนละฟากฝั่งกับพระนครเมื่อข้าศึกยกเข้าล้อมกรุง ฯ ผู้คนต้องพากันอพยพหลบหนี ถึงพระสงฆ์ก็คงอยู่ไม่ได้วัดจึงร้างไปเลย

    [​IMG]



    ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ในรัชกาลที่ ๑ ทรงศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดกษัตราขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาสืบต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้


    สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ)เป็นพระโอรสองค์ที่ ๖ ในสมเด็จพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ประสูติแต่ครั้งกรุงธนบุรี ปี ๒๓๑๖ (เป็นต้นสกุลอิศรางกูร)การปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นแทบจะกล่าวได้ว่าเท่ากับเป็นการสร้างขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอารามเลยทีเดียวพระอุโบสถ พระปรางค์ ตลอดจนเสนาสะก็ได้ปฏิสังขรณ์โดยทั่วถึงเมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จบริบูรณ์แล้ว ได้โปรดประทานนามเพิ่มจากนามเดิมเป็น "วัดกษัตราธิราช"


    ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ในยุคพระอุปัชฌาย์มีพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง ซ่อมพระอุโบสถ สร้างวิหารคู่ ๒ หลังเจดีย์เหลี่ยม ศาลาตรีมุข ๑ หลัง ศาลาด้านสะกัดเหนือใต้และตก รวม ๓ หลัง หอสวดมนต์ฯ เพิ่มขึ้นอีก โดยได้รับพระอุปถัมภ์จากกรมหมื่นอดุลยลักษสมบัติ (พระองค์เจ้าอุไร)ในรัชกาลที่ ๓ (ต้นสกุลอุไรพงศ์) สร้างอยู่ ๑๔ ปี เสร็จเมื่อปี ๒๔๒๒ดังปรากฏตราสัญจกรณ์ในรัชกาลที่ ๕ หน้าบรรณศาลาตรีมุข

    [​IMG]


    บรรดาถาวรวัตถุในวัดกษัตราธิราชที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ นอกจากพระอุโบสถพระปรางค์แล้ว ได้สร้างขึ้นในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) เป็นส่วนมากและเจ้าอาวาสองค์ต่อ ๆมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ได้ปฏิสังขรณ์อีกเรื่อยมาโดยลำดับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ได้เลย จะได้ช่วยกันถ่ายรูปหน่อย...... ^^
     
  14. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    [​IMG]

    ฝีมือถ่ายรูปชั้นอนุบาลอย่างเค้า..มิบังอาจเทียบ..

    แต่ละรูปของตะเองงดงามจริง ๆ .. นับถือ .. นับถือ..:cool:
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    เมื่อไหว้พระที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ก็ไปต่อกันที่วัดท่าการ้องซึ่งไม่ได้อยู่ในกำหนดการแต่เป็นวัดที่ใกล้กับวัดกษัตราธิราชวรวิหารและมีสมาชิกในกลุ่มเสนอขึ้นมาก็เลยไปกัน วัดท่าการ้องนี้ สร้อยฟ้าฯ มาเป็นครั้งที่สองแล้ว ซึ่งครั้งแรกก็ได้ถ่ายรูปมาแต่ไม่ได้นำมาลงเป็นกระทู้ให้ได้อ่านกัน(เป็นการเดินทางเดียวกับกระทู้เดินเล่นรับลม ที่ตลาดน้ำอโยธยา) เนื่องจากท้อที่จะเขียน เริ่มบ่นอีกแล้ว อิ อิ มาว่ากันต่อ วัดท่าการ้อง...


    วัดท่าการ้อง
    ตั้งอยู่ที่หมู่๖ตำบลบ้านป้อม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาท่ามกลางชุมชนอิสลาม ๒หมู่บ้านคือ บ้านท่า กับ บ้านการ้อง อันเป็นวัดพุทธศาสนาที่อยู่ท่ามกลางชุมชนมุสสิม ล้อมรอบทั้งตำบล


    [​IMG]

    เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยอยุธยา สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๐๙๒ประมาณ ๔๖๐ กว่าปีเศษมาแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในปี พ.ศ. ใด สันนิษฐาว่าคงเป็นวัดที่ราษฎรสร้าง เพราะไม่ปรากฏรายชื่อพระอารามหลวงสมัยอยุธยา ตามบันทึกพระราชพงศาวดาร วัดท่าการ้องมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยามากมาย


    วัดท่าการ้องได้เป็นที่ฝึกฝนศิลปะแม่ไม้มวยไทยของนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งคือ นายขนมต้ม

    ในเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน มีการบันทึกว่า ขุนไกร และสามเณรพลายแก้ว ได้มาอุปสมบทที่วัดท่าการ้อง ตอนที่ขุนแผนถูกจองจำ ณ กรุงศรีอยุธยา

    ณ วันอังคาร ขึ้น ๔ค่ำ เดือน ๕ปีกุน เวลาบ่าย ๔โมง พม่ายิงปืนสูงวัดการ้องระดมเข้ามา ณ กรุงศรีอยุธยาแล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกำแพงทรุดลง

    ในปี พ.ศ.๒๓๐๙ วัดท่าการ้องได้เคยเป็นที่ตั้งค่ายของพม่าค่ายหนึ่งก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา จนมีคำกล่าวว่า “.. นกกาจากวัดการ้อง บินไปเสียบอก ณ ยอดพระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุ ใจกลางกรุงศรีอยุธยา น้ำตาหลวงพ่อโต วันพนัญเชิง ไหลนองพระเนตร อันเป็นลางบอกเหตุสิ้นแล้วแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา”


    ในสมัยเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒วัดท่าการ้อง ได้ถูกจ้ดให้เป็นโรงเรียนนายร้อยฝ่ายช่างเทคนิค รุ่น ๑๐ – ๑๒เป็นการชั่วคราว โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นห้องเรียน และเป็นที่พักอาศัยก่อนที่จะถูกปล่อยทิ้งขาดการเอาใจใส่ดูแลเป็นเวลานานจนทำให้ทรุดโทรมลงในที่สุด


    [​IMG]

    พระอุโบสถกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๒ เมตร บูรณะ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ โครงสร้างก่ออิฐถือปูน หน้าบันและบายเครื่องเป็นไม้จำหลักซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นบานประตูเขียนลวดลายรดน้ำรูปเสี้ยวกางประทับยืนบนหลังสิงโตจีนช่องลมระเบียงด้านหน้าอุโบสถประดับเครื่องเคลือบเขียวมีกำแพงแก้วล้อมรอบอุโบสถรูปแบบสถาปัตยกรรมศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้นประธานในพระอุโบสถสมัยอยุธยาที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนเคารพนับถือมาก คือหลวงพ่อรัตนมงคล (หลวงพ่อยิ้ม)


    นอกจากนี้ยังมีกุฏิสงฆ์หอระฆังทรง ๘ เหลี่ยม ๒ ชั้นศาลาท่าน้ำเจดีย์รายหน้าพระอุโบสถ ๕องค์ และปรางค์เล็กหน้าอุโบสถ ๑ องค์

    ศาลากลางเปรียญ เป็นอาคารทรงไทยไม้สัก สร้างสมัยอยุธยา

    วัดท่าการ้องได้ตกแต่งบริเวณวัดให้สวยงามด้วยไม้ดอกไม้ประดับเป็นระเบียบรวมทั้งมีห้องน้ำที่ตกแต่งสวยงามจนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดสุดยอดส้วมแห่งปีระดับประเทศ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ประเภทวัดและศาสนสถาน

    [​IMG]

    ภายในบริเวณด้านหลังของวัดท่าการ้องได้จัดให้เป็นตลาดน้ำ ซึ่งของขายในตลาดก็จะเป็นพวกของกินหลากหลายชนิด เช่น ก๋วยเตี๋ยวหลอด สั้มตำสมุนไพร ไก่ทอดข้าวเหนียว ลูกชิ้นปิ้ง ขนมตาล ไอศครีม และ ร้านเครื่องดื่ม ประเภทกาแฟ ชาเย็น ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ตลาดน้ำวัดท่าการ้องเปิดทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ออกจากวัดท่าการ้องก็บ่ายกว่าๆ เพิ่งผ่านไปได้กี่วัดนะ ๑. วัดโบสถ์ ๒. วัดนครหลวง ๓. วัดวรเชษฐ์ ๔. วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ๕. วัดท่าการ้อง

    ก็ ๕ วัดแล้ว แต่เป็นการไหว้พระแบบไม่ได้เดินดูทอดน่อง คือ เดินไปไหว้แล้วก็รีบชมวัดไม่ได้เก็บรายละเอียดอะไร เพราะยังมีอีกหลายวัด แต่ตอนนี้หิวมาก ไปหาอะไรทานก่อน ก็แวะร้านเดิมเหมือนครั้งที่แล้ว มีอะไรบ้างมาดูกัน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    ที่จริงมีเยอะกว่านี้ แต่ตอนนี้หิวก็เลยถ่ายภาพให้ดูแค่นี้ดีกว่า....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    อิ่มแล้วเราก็ไปกันต่อ สถานที่ต่อไปที่ตั้งใจจะไปก็คือวิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร แต่สร้อยฟ้าฯขับรถเลยเฉยเลย ก็เลยไปวัดหน้าพระเมรุก่อนก็แล้วกัน ก็ขอยกข้อมูลเดิมมาลงอีกเนอะ ถือว่าทบทวนความจำกัน....

    วัดหน้าพระเมรุราชิการามวรวิหาร

    ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช ๒๐๔๖ มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้น มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๖ วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๖ ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส


    a.jpg

    วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    พระอุโบสถมีขนาดยาว ๕๐ เมตร กว้าง ๑๖ เมตรเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายใน ต่อมาสร้างขยายออกโดยเพิ่มเสารับชายคาภายนอกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาคและมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาค หน้าต่างเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง เสาเหลี่ยมสองแถวๆ ละแปดต้น มีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยา ด้านบนประดับด้วยดาวเพดานเป็นงานจำหลักไม้ลงรักปิดทอง ส่วนลายแกะสลักบานประตูพระวิหารน้อย เป็นลายแกะสลักด้วยไม้สักหนา แกะสลักจากพื้นไม้ไม่มีการนำชิ้นส่วนที่อื่นมาติดต่อเป็นลายซ้อนกันหลายชั้น พระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช มีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมากสูงประมาณ ๖ เมตรหน้าตักกว้างประมาณ ๔.๔๐ เมตร ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้

    a.jpg


    ก็ได้ไหว้พระประธานในพระอุโบสถกับพระคันธรราฐในพระวิหารน้อย แต่ไม่ได้ถ่ายรูปพระคันธราฐมาให้ดู เพราะคนเยอะ และมีคนถ่ายรูปเยอะโดยเฉพาะพวกท่านกล้องใหญ่ๆ DSLR เลนส์กระบอกโตๆ ขาวๆ เลนส์ L ขอบแดง ขอบทอง ไม่กล้าไปนั่งประชันถ่ายรูปด้วย อายก็ต้องหลบให้พวกท่านๆ ถ่ายรูปไป....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    อ่ะ ไหว้พระเสร็จแล้วก็มานั่งเล่นใต้ต้นไม้ รอพี่อ้อ เพราะพี่อ้อหายไปไหนไม่รู้หากันไม่เจอ พอสมาชิกครบแล้วก็มุ่งหน้าสู่วิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร ก็ขอยกข้อมูลเดิมมาอีกเนอะ(หากินกับข้อมูลเดิมง่ายจัง)....

    วิหารพระมงคลบพิตร

    วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์องค์ใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย เดิมอยู่ทาง ทิศตะวันออกนอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ย้ายมา ไว้ทางด้านตะวันตก ที่ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดฯ ให้ก่อมณฑปสวมไว้


    [​IMG]

    ครั้นถึงแผ่นดิน ของสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปเกิดไฟไหม้เพราะอสุนีบาต ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่ แปลงเป็นพระวิหารแทน เมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ วิหารพระมงคลบพิตร ได้ถูกไฟไหม้ พระวิหารและองค์พระพุทธรูปได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือ ไม่งดงามอ่อนช้อยเหมือนเก่า บริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็น สนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย และเจ้านายเช่นเดียวกับ ท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ


    วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟเผาผลาญ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาฬีและพระกรขวาขององค์พระชำรุด พระยาโบราณราชธานินทร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้บูรณะซ่อมแซมให้คืนดี สำหรับพระวิหารที่ชำรุดหักพังเกือบจะโดยสิ้นเชิงนั้น ได้บูรณะขึ้นใหม่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โดย นายอูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าในขณะนั้น ได้บริจาคเงินจำนวนสองแสนบาท ร่วมกับฝ่ายรัฐบาลไทยอีกสองแสนห้าหมื่นบาท


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  19. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    พวกเลนส์กล้องส่องทางไกล เจอกล้องพิเศษจิ๋วแต่แจ๋วแบบของเค้าจะต้องหลบ (เพราะเห็นใจ)..5555+
     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529

    งั้นคราวหน้าไปด้วยกัน ให้พี่เจงช่วย...
     

แชร์หน้านี้

Loading...