ไหว้หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)-วัดแค-เกาะลอย-อยุธยา

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย boontar, 17 มิถุนายน 2011.

  1. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ผมไม่มีปํญญาเดินทางไปไหว้หลวงปู่ทวดที่ภาคใต้
    ก็ขอไหว้ที่วัดที่หลวงปู่ทวดเคยจำพรรษาที่อยุธยา(หลังจากท่านเหยียบน้ำทะเลจืดที่ชุมพรระหว่างเดินทางขึ้นมาอยุธยามาแล้ว)
    คืือที่วัดแคหรือวัดราชานุวาสอยู่ที่เกาะลอยจังหวัดอยุธยา

    [​IMG]



    [​IMG]




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2011
  2. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    สำหรับบางท่านที่ไม่คุ้นกับเกาะรอบๆตัวอำเภอเมืองอยุธยาก็ขอเกริ่นนิดหน่อยครับ
    รูปแรกนี้คัดลอกจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของกรมศิลปากร
    เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโบราณสถานจังหวัดอยุธยา
    ส่วนภาพที่สองข้างล่างนั้นผมทำเองจาก Point asia


    [​IMG]

    สี่เหลี่ยมสีเหลืองคือวัดแค
    จุดสี่เหลี่ยมสีเขียวหนึ่งจุดคือท่าเรือแจวข้ามฟากจากพระราชวังจันทรเกษมข้ามไปเกาะลอย(ค่าเรือ ๓ บาท)
    จุดกลมสีแดงคือท่าเรือแจวที่เกาะลอยอยู่หน้าวัดมณฑปอยู่ห่าง ๑๐๐-๒๐๐ เมตรจากวัดแค
    จุดสี่เหลี่ยมสีแดงคือพระราชวังจันทรเกษม
    จุดสีชมพูที่มีเส้นสีชมพูลากต่อกันคือสะพานเดินข้ามไปเกาะลอย-แต่ต้องเดินไปไกลร่วมกิโลเมตรกว่าจะถึงวัดแค
    จุดสี่เหลี่ยมสีฟ้าคือเกาะเล็กๆอีกเกาะหนึ่งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะลอยมีวัดช่องลม(ร้าง)
    จุดสีเขียวสี่จุดคือสถานีรถไฟอยุธยา(ในภาพล่าง)
    จุดชมพูสี่จุดคิอสะพานข้ามเข้าเมืองอยุธยา(ในภาพล่าง)

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2011
  3. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ไปกันครับ
    ตอนนี้เราอยู่หน้าพระราชวังจันทรเกษม ฝั่งตรงข้ามน้ำก็คือท่าเรือวัดมณฑปที่อยู่บนเกาะลอย ซีกมุมซ้ายของเกาะ
    เรือแจวของเราจอดอยู่ฝั่งโน้น เดี๋ยวตะโกนเรียกมา

    [​IMG]





    เรือมาแล้ว ค่าโดยสาร ๓ บาท
    จากท่าเรือวัดมณฑปเดินไปแค่ ๑๐๐ กว่าเมตรก็ถึงวัดแค

    [​IMG]





    ขากลับผมเดินเล่นไปทางมุมขวาของเกาะลอยห่างจากวัดแคออกไปเกือบ ๑ กิโลเมตร แล้วข้ามสะพาน Pontoon กลับมาฝั่งเมืองอยุธยา
    จะไป-กลับแบบไหนสะดวกเหมือนกัน ได้เดินเล่นสะบายๆร่มไม้เต็มเกาะ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514

    คุณป้าคนแจวเรือบอกว่า
    บนเกาะลอยมีประชาชน ราวๆ ๒๐๐ ครัวเรือนกับหมาราวๆ ๘๐ ตัว--เห่าแต่ไม่กัด
    ขึ้นเกาะแล้วเดินไปเรื่อยๆ ผมทำใจดีสู้หมา--จำไว้ให้ดี-เห่าแต่ไม่กัด


    [​IMG]




    บางตัวก็น่ารัก
    เล่นน้ำลูกเดียว

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514

    แป๊ปเดียวถึงวัดแค
    ลงไปชมวิวที่แพหน้าวัด
    ธรรมชาติแสนสงบริมน้ำอยุธยา

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ที่วัดแค มีเรือบริการด้วย แต่คงแพงหน่อย ผมไม่ได้ถามราคา

    [​IMG]





    ยี่ห้อเครื่องยนต์แปะไว้ชัดเจน


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514

    เดินรอบๆบริเวณก่อน ยืนบนแพมองไปทิศเหนือ
    กลุ่มหลังคาวัดสีแดงๆ-กลางๆภาพ คือวัดตองปุ บนพื้นดินนอกเมืองอยุธยา
    ตรงกลางภาพแล้วมาทางขวาเห็นกลุ่มบ้านคนคือเกาะวัดช่องลม ซ้อนอยู่หน้าวัดตองปุ

    เกาะวัดช่องลมมีขนาดเล็กมาก ชุมชนสงบ น่าไปเดินชมวิวธรรมชาติและวัดร้าง

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514

    หยอดเงินทำบุญไปเรื่อยๆ
    นี่น้ำตกหยอดเหรียญ ๑๐ บาทเห็นเค้าบอกบุญสร้างน้ำตกมา ๒ ปีแล้ว
    หยอดแล้วน้ำจะตกที่ริมแม่น้ำพร้อมเสียงเพลงบรรยายประวัติหลวงปู่

    [​IMG]





    น้ำตกไหลเป็นแผ่นจากใต้ดอกบัวสีชมพูฐานพระ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514

    งานนี้ผมมีมัคคุเทศก์น้อย ๓ คน คอยเล่าประวัติหลวงปู่ทวดเน้นที่เกี่ยวกับวัดแค
    จ่ายไปคนละ ๒๐ บาท ค่าความรู้และความขยัน
    ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514

    พระเครื่องพระพิมพ์หลวงปู่ทวดของแท้ครับ
    มัคคุเทศก์น้อยเอามาอวดผม


    [​IMG]






    ของแท้แน่นอนเพราะทำกับมือเดี๋ยวนี้เอง
    พร้อมสาธิตการปั๊มพระเครื่อง
    ใครมีจิตศรัทธาก็ทำบุญแล้วทำพระเอาเองเป็นที่ระลึกครับ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514

    บริเวณวิหารนี้เป็นที่ตั้งกุฏิดั้งเดิมของหลวงปู่ทวด(อยู่ข้างๆโบสถ์)
    เค้าเอาเศษก้อนอิฐกุฏิเก่าวางกองไว้ใต้วิหาร
    (รูปที่ ๒ ข้างล่าง)

    รูปปั้นเหมือนหลวงปู่ทวดจะคู่กับลูกแก้ว
    เพราะตามตำนานของหลวงปู่ ตอนเป็นทารก ท่านได้ลูกแก้วจากงูเทวดา

    เดี๋ยวไปดูประวัติท่านในโบสถ์

    [​IMG]






    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    เขียนได้มีสาระน่าอ่านสนุกดีค่ะ

    [​IMG]
     
  13. ตั้มศรีวิชัย

    ตั้มศรีวิชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    597
    ค่าพลัง:
    +1,847
    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
    กราบหลวงปู่ทวดครับ เจ้าของกระทู้ถ่ายรูปสวยดีครับ
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอเพิ่มเติมประวัติครับ


    วัดแค*

    วัดแคหรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดร่างแค หรือวัดท่าแค เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะเมือง ซีกด้านตะวันออกของคลองสระบัว บริเวณพื้นที่เดิมเรียกว่า เกาะทุ่งแก้ว พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา ความว่า “…บ้านเกาะขาดหล่อผอบเต้า ปูนทองเหลืองขาย บ้านวัดครุฑปั้นนางเลิ้งขาย บ้านริมวัดธรณีเลื่อยกระดานไม้งิ้ว ไม้อุโลกขาย บ้านวัดพร้าว พราหมณ์ไทยทำแป้งหอม น้ำมันหอม ธูปกระแจะ กระดาษขาย บ้านท่าโขลง ทำเหล็ก ตะปู ตะปลิงใหญ่น้อยขาย บ้านคนทีปั้นกระโถน ตะคัน ช้าง ม้า ตุ๊กตาน้อยใหญ่ขาย บ้านโรงฆ้อง ซื้อกล้วยตีบมาบ่มขาย และบ้านเจ็ดตำบลนี้อยู่ในเกาะทุ่งแก้ว…”

    ในสมัยก่อน ทุ่งหลังบ้านคลองสระบัว มีทั้งสองฝั่ง คือ ฝั่งตะวันออก เรียกว่า เกาะทุ่งแก้ว ส่วนฝั่งตะวันตก เรียกว่า เกาะทุ่งขวัญ และบริเวณทุ่งกว้างหลังบ้านคลองสระบัวนี้ ก็น่าจะเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวลาว ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์ได้อธิบายไว้ว่า “…มีตลาดบนบกนอกกำแพง กรุง แต่ในขนอนทั้งสี่ทิศเข้ามาจนริมแม่น้ำรอบกรุงนั้น คือ ตลาดวัดมหาธาตุหลังขนอนบางหลวง ๑ ตลาดลาวเหนือวัดโคหาสวรรค์ ๑…”กับได้วินิจฉัยเพิ่มเติมไว้อีกว่าตลาดลาว น่าจะอยู่แถวปลายคลองสระบัว

    อนึ่ง วัดแคแห่งนี้มีตำนานเล่าว่า เคยเป็นที่พักอาศัยของหลวงพ่อทวด เมื่อครั้งเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา เพื่อศึกษาพระอภิธรรมที่วัดลุมพลีนาวาส หลวงพ่อทวดนี้เป็นพระภิกษุที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการพระราชทานที่กัลปนา แก่หัวเมืองพะโคะในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ และเป็นภิกษุผู้มีอิทธิปาฏิหาริย์อภิญญาแก่กล้าจนได้สมญานามว่า “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ทั้งยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ด้วย

    ปัจจุบันวัดแคเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ริมถนนร่างแค – คลองวัดพร้าว ในตำบลท้องที่คลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๐ ตอนที่ ๒๙ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖

    ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงวัดแค แต่จากรูปแบบของโบราณสถานและหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากที่พบ สามารถบอกความเป็นมาและความสำคัญของวัดแคในสมัยอยุธยาได้ดังนี้

    วัดแคเป็นวัดขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อแรกสร้างมีสิ่งก่อสร้างไม่มากนัก ได้แก่ เจดีย์ประธานทรงกลมตั้งอยู่บนฐานกลมและฐานเขียงมีซุ้มคูหา ๘ ทิศ เจดีย์ราย ๙ องค์ และอาคารซึ่งอาจจะ​


    เป็นโบสถ์ ๑ หลัง กำหนดอายุได้ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ต่อมาประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ มีการวางผังใหม่ เปลี่ยนให้ตัววัดหันหน้าไปทางทิศเหนือ ปรับถมพื้นที่วัดและสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นใหม่อีกหลายสิ่ง ส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะวัดแคมีความสำคัญมากขึ้นเช่น เป็นศูนย์กลางของชุมชนใหญ่และคงจะมีความสำคัญมาโดยตลอด จนกระะทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ วัดแคจึงถูกทิ้งให้รกร้างปรักหักพังเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรมศิลปากรได้เข้าไปดำเนินการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี ทำให้ได้เห็นรูปแบบศิลปะของโบราณสถาน โบราณวัตถุของวัดแค ซึ่งสามารถกำหนดอายุการสร้างและบูรณะวัดแคในสมัยอยุธยาได้เป็น ๔ สมัย คือ สมัยเมื่อแรกสร้างวัดประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ สมัยที่ ๒ เป็นสมัยที่เปลี่ยนหน้าวัดหันไปทางคลองบางขวด และสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เช่นเจดีย์ประธาน สมัยที่ ๓ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ลงมา เป็นช่วงที่มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และสร้างเจดีย์ประธานเพิ่ม สุดท้ายเป็นสมัยที่มีการบูรณะวัดครั้งสุดท้าย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ ลงมา จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้บูรณะพัฒนาสภาพแวดล้อมของวัดแคเสร็จแล้ว มีสิ่งก่อสร้างสำคัญดังนี้​

    เจดีย์ทรงกลมฐานสูง (เจดีย์ ประธานหมายเลข ๑) สร้างอยู่บนฐานไพทีเดียวกับวิหารประธานและเชื่อมต่อกับฐานไพทีของเจดีย์ราย ทางด้านตะวันตก ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมและฐานบัวแปดเหลี่ยม มีร่องรอยการพอกฐานบัวสี่เหลี่ยมให้เป็นฐานทักษิณที่มีระเบียงด้านบน​

    เจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา (เจดีย์ ประธานหมายเลข ๒) ตั้งอยู่ถัดจากเจดีย์ประธานหมายเลข ๑ ไปทางตะวันออกเกือบจะกึ่งกลางวัด มีรูปแบบสถาปัตยกรรมคล้ายพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยสุดท้ายของวัด โดยพอกขยายองค์เรือนธาตุเดิมให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษ ที่ ๒๑ ลงมา เป็นเจดีย์ที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากเจดีย์ทรงกลมแบบภาคกลาง ซึ่งปรากฏทั่วไปในพระนครศรีอยุธยา และแปลกจากเจดีย์องค์อื่น ๆ ในวัดแคแห่งนี้ด้วย กล่าวคือ องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐสอปูนตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม เหนือฐานสี่เหลี่ยมมีชุดฐานบัวเรียงซ้อนกัน ๓ ชั้น รองรับองค์ระฆังขนาดเล็กอีกต่อหนึ่ง ส่วนยอดเหนือองค์ระฆังหักหายไป ลักษณะของเจดีย์องค์นี้มีรูปทรงคล้ายกับเจดีย์ที่วัดปงสนุก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายซึ่งศาสตราจารย์สันติ เล็กสุขุม ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง เจดีย์องค์ระฆังทรงกลม : ชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆัง ว่า “…เจดีย์ องค์ระฆังทรงกลมแบบภาคเหนือที่วัดท่าแค น่าจะสร้างขึ้นไล่เลี่ยหรือหลังกว่าเจดีย์ที่วัดปงสนุก เมืองเชียงแสนไม่นานนัก คงอยู่ในพุทธศตวรรษเดียวกัน คือ พุทธศตวรรษที่ ๒๑…” นอก จากนั้นยังพบว่าผิวนอกของเจดีย์มีร่องรอยการฉาบปูน ซึ่งถึงแม้จะกะเทาะออกไปมากแล้ว แต่ส่วนที่เหลือยังปรากฏรูเล็กๆ รายอยู่ทั่วไปโดยรอบองค์เจดีย์ รอยรูเล็กๆ เหล่านี้ นักโบราณคดีบางท่านให้ข้อสังเกตไว้เป็น ๒ ประการ คือ​

    ประการที่ ๑ สันนิษฐาน ว่า น่าจะเป็นรอยหมุดที่เกิดจากการตอกยึดแผ่นทองจังโกเพื่อประดับองค์เจดีย์ เหมือนเช่นการประดับองค์เจดีย์แบบล้านนาในภาคเหนือของประเทศไทย เช่น พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน เป็นต้น​

    ประการที่สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นรอยของหมุดที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องยึดปูนที่ฉาบผิวหรือช่วยกำหนดระดับความหนาของปูนที่ฉาบตกแต่ง
    นอกจากนั้น ที่บริเวณใกล้เคียงองค์เจดีย์นี้ ยังปรากฏรากฐานเจดีย์ขนาดเล็กอีก ๔ องค์ อยู่ในตำแหน่งที่น่าจะเป็นเจดีย์มุมหรือเจดีย์ทิศซึ่งเป็นลักษณะของผัง เจดีย์แบบล้านนาอย่างชัดเจน หลักฐานของอารยธรรมล้านนาที่ปรากฏอยู่กับสถาปัตยกรรมดังกล่าวแล้วนี้น่าจะ เป็นเรื่องสนับสนุนให้สันนิษฐานว่า บริเวณพื้นที่แถบทุ่งแก้วตามแนวคลองสระบัว น่าจะเคยเป็นที่อยู่ของชุนชนชาวลาวจากอาณาจักรล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และคงจะได้สร้างวัดแคแห่งนี้ขึ้นเป็นวัดประจำชุมชนด้วย​

    เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา (เจดีย์ ประธานหมายเลข ๓ และ ๔) ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของวัด ตั้งอยู่บนฐานไพเดียวกันบนฐานเขียงสี่เหลี่ยม เจดีย์ประธานหมายเลข ๓ บูรณะไว้เพียงองค์ระฆัง เจดีย์ประธานหมายเลข ๔ บูรณะถึงปล้องไฉน สร้างขึ้นในสมัยที่ ๓ ของวัด และในสมัยสุดท้ายของวัด มีการบูรณะครั้งใหญ่โดยพอกขยายองค์เรือนธาตุให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย รูปทรงเจดีย์เป็นแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนกลาง​

    วิหารประธานเหลือ เพียงรากฐาน ตั้งอยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธานหมายเลข ๑ ลักษณะโครงสร้างเป็นแบบอาคารขนาด ๖ ห้อง หลังคาลด ๒ ชั้น มีชานรอบอาคาร ภายในอาคารมีเสารองรับเครื่องหลังคา ฐานประดับด้วยลายแข้งสิงห์ พื้นปูด้วยแผ่นหินชนวนสลับกับพื้นอิฐ ฐานชุกชีประดับปูนปั้นรูปเทวดาเดินประทักษิณ สร้างขึ้นในสมัยที่ ๒ ของวัด โดยสร้างทับลงบนวิหารเดิม​

    วิหารราย เหลือเพียงรากฐานตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด ลักษณะโครงสร้างและรูปแบบเหมือนวิหารประธานแต่ขนาดเล็กกว่า​

    อุโบสถ เหลือ เพียงรากฐานตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัด ลักษณะโครงสร้างเป็นแบบอาคารที่ใช้เสาติดผนังแทนเสากลางอาคาร สร้างในสมัยที่ ๓ และบูรณะในสมัยสุดท้าย​


    เจดีย์ราย ส่วน ใหญ่เหลือเพียงรากฐาน มีทั้งหมด ๖ องค์ องค์ที่ยังอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่างกำแพงวัดด้านเหนือและด้านใต้ เป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม มีฐานกลมรองรับ องค์ระฆังกลมมีซุ้มคูหา ๘ ทิศ สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ประธานสมัยเมื่อแรกสร้างวัด
    เจดีย์รายของวัดนี้ส่วนใหญ่สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นเมื่อแรกสร้างวัด เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบฐานเขียงสี่เหลี่ยมและฐานบัวสี่เหลี่ยม สำหรับองค์ที่สร้างสมัยหลังที่มุมด้านหน้าของวิหารประธานเป็นเจดีย์ทรง ปราสาทยอด และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง​

    ศาลาโถง มี หลายหลัง ส่วนใหญ่สภาพชำรุดมาก ที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ตั้งขนานกับกำแพงวัดด้านเหนือ เป็นอาคารแบบมีเสาติดผนังสร้างขึ้นในสมัยที่ ๓ ของวัด​

    กำแพงวัดและซุ้มประตู มีแนวกำแพงเห็นได้ชัดเจน ยกเว้นด้านทิศใต้ที่ทางการสร้างถนนทับ กำแพงด้านทิศเหนือซึ่งเป็นด้านหน้าวัดมีซุ้มประตูทางเข้าวัด ๓ ซุ้ม​

    แท่นบูชาหรือแท่นบรรจุกระดูก ส่วน ใหญ่เหลือแต่ส่วนฐานราก เป็นแท่นก่ออิฐฉาบปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างตั้งแต่ ๐.๘๔ - ๑.๘๔ เมตร ยาวประมาณ ๑ - ๑.๘๘ เมตร สูงประมาณ ๑๖ - ๕๗ เซนติเมตร เกือบทั้งหมดก่ออิฐสอดิน และสร้างขึ้นในสมัยที่ ๓ ของวัด ตั้งกระจายอยู่บนฐานไพทีของเจดีย์ประธานและวิหารประธานของวัด บางแท่นพบอัฐิบรรจุอยู่ภายในแท่น บางแท่นบรรจุอยู่ที่ส่วนฐาน แท่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกถมปิดทับในสมัยสุดท้ายของวัด

    นอกจากสิ่งก่อสร้างดังกล่าวแล้วในการขุดค้นขุดแต่งวัดแคได้พบโบราณวัตถุ ประเภทต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นหลักฐานสนับสนุนอายุสมัยของการก่อสร้างและบูรณะวัดแคในช่วงเวลา ต่างๆ เช่น ภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาสุโขทัย – ศรีสัชนาลัยที่ผลิตขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๒ เครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์หมิงที่ผลิตในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ พระพุทธรูปที่ทำจากหินทรายสมัยอยุธยาตอนกลาง พระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นต้น

    วัดแคเป็นวัดขนาดค่อนข้างใหญ่ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเคยเป็นชุมชนขนาดค่อนข้างใหญ่ในสมัยอยุธยา และมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา อาจเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยของชาวลำพูนที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยสมเด็จพระไชย ราชาธิราชเสด็จขึ้นไปตีเมืองลำพูน และเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๙๑เพราะเจดีย์​

    ประธานขนาดใหญ่องค์หนึ่งของ วัดที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน มีรูปแบบศิลปะแบบล้านนาคล้ายพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน อย่างไรก็ตามวัดแคคงจะเป็นวัดที่มีความสำคัญในชุมชนมากวัดหนึ่ง เพราะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซม และสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่เพิ่มขึ้นมาตลอดสมัยอยุธยา จนนับได้ว่าเป็นแหล่งรวมศิลปะอยุธยาหลายรูปแบบแห่งหนึ่ง​

    บรรณานุกรม


    บริษัทมรดกโลก จำกัด. รายงานวัดแค โครงการขุดแต่ง ขุดค้น และออกแบบเพื่อการบูรณะโบราณสถาน
    กลุ่มคลองสระบัว เสนอโครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ปีงบ
    ประมาณ ๒๕๔๒. (อัดสำเนา)​

    โบราณราชธานินทร์, พระยา. อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราช
    ธานินทร์ ฉบับชำระครั้งที่ ๒. (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระยานลราชสุวัจน์
    (ทองดี นลราชสุวัจน์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๖).​

    ศิลปากร,กรม. ทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ,๒๕๑๖.​

    *นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ ค้นคว้าเรียบเรียง

    -http://webcache.googleusercontent.com/search?hl=th&q=cache:2IKyyLWCQscJ:http://www.literatureandhistory.go.t...B8%B2&ct=clnk-
    .


    .

    แผนที่วัดแค จาก Google


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    -http://maps.google.co.th/maps?hl=th&prmd=ivnscm&resnum=4&biw=1024&bih=578&um=1&ie=UTF-8&q=%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%84+%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2&fb=1&gl=th&hq=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%84+%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2&hnear=0x311d6032280d61f3:0x10100b25de24820,%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3&ei=BFD7TY2kJIbqrAfX88XVDw&sa=X&oi=local_group&ct=image&ved=0CAQQtgM-


    .
     
  15. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    .....................................................................
    ขอบคุณครับ
     
  16. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ..............................................................................
    ขอบคุณครับ
    ผมไปกราบหลวงปู่ทวดมาหลายแห่งครับ
    ที่หัวหินก็เคยไป แต่ใจจริงอยากไปที่ภาคใต้ครับ
     
  17. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ขอบคุณ คุณ sithiphong ครับ ทำให้ข้อมูลสมบูรณ์มากครับ
    เนื่องจากวัดทั้ง ๖ วัดบนเกาะลอยถูกทำลายอย่างแหลกราญในตอนเสียกรุงพ.ศ. ๒๓๑๐
    เพราะเป็นค่ายพม่าของเนเมียว ตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ากรุงศรีอยุธยา
    ทั้งไทยทั้งพม่าช่วยกันยิงช่วยกันขุดจนพินาศ(รวมทั้ง วัดแค นี้ด้วย)
    ระหว่างที่เดินบนเกาะแล้วนึกถึงทหารพม่าที่ตายบนเกาะนี้เป็นร้อยเป็นพันทับถมกัน
    ไม่นับรวมศพทหารพม่าที่ตายถมคูเมืองตรงหัวรอทำสะพานบุกประชิดเผารากกำแพงเมือง(ห่างวัดแค ๑-๒๐๐ เมตร)อีกหลายพันศพ
    บางทีเดินคนเดียวบนเกาะ(ตอนกลางวัน)ก็ยังรู้สึกหนาวๆ
    รวมทั้งน่าจะมีกรุพระอีกมากมายหลายยุคหลายร้อยปีนับไม่ถ้วนที่รอการขุดค้น
    ใครมีบุญก็อาจเจอกรุพระแถวนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2011
  18. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514


    ประวัติหลวงปู่ทวดครับ
    เดี๋ยวตอนผมพาเดินเข้าโบสถ์จะมีภาพประกอบด้วย


    [
    คัดลอกจาก http://www.manager.co.th
    สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ
    หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
    ทารกอัศจรรย์
    เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า "ปู" เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
    สามีราโม
    เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า "ราโม ธมฺมิโก" แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า "เจ้าสามีราม" หรือ "เจ้าสามีราโม" เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง
    เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
    เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ
    รบด้วยปัญญา
    กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์
    เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่า
    พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบ เรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราช สาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุ ภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่ กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
    พระสุบินนิมิต
    เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด
    ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม
    รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
    อักษรเจ็ดตัว
    ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ "เจ้าสามีราม" ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า "เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้" ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม
    ท่านรับ ประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อน และอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด" ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อน และอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด"
    ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรม ทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย
    ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น
    พระราชมุนี
    สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
    โรคห่าเหือดหาย
    ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า "พระสังฆราชคูรูปาจารย์" และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า "หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ"
    กลับสู่ถิ่นฐาน
    ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า "สมเด็จอย่าละทิ้งโยม" แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยา
    ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง
    สมเด็จเจ้าพะโคะ
    ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า "วัดพะโคะ" มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา
    เหยียบน้ำทะเลจืด
    ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า "ไม้เท้า 3 คด" ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้
    เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
    เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา "ไม้เท้า 3 คด" พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้
    สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา
    สังขารธรรม
    หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านลังกา" และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านช้างให้" ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้
    ปัจฉิมภาค
    สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ตลอดไป
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  19. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    มัคคุเทศก์น้อยพาเข้าไปในโบสถ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514

    กราบพระประธานและรูปหลวงปู่ทวด
    ครับ
    รอบๆเพดานมีภาพเขียนประวัติหลวงปู่ ช่วยให้การอ่านประวัติของท่านแล้วจะเกิดจินตนาการง่ายขึ้น

    [​IMG]



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...