เว็บพลังจิต ประมวลภาพงานออกนิโรธครูบาวิฑูรย์ ชินวโร 25 ก.ย.54 P.10

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 17 สิงหาคม 2011.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ทริปธรรมสัญจร (๘) ร่วมบุญมหากุศลงานเข้า-ออกนิโรธกรรม ครูบาวิฑูรย์ ชินวโร ณ ปรียนันท์ธรรมสถาน อ. พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และงานอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี หลวงปู่พระครูสันติธรรมาภิรม (ครูบาอ่อน รตนวณฺโณ) จ.พะเยา วันที่ ๑๗-๑๘ ก.ย. และวันที่ ๒๕ ก.ย. ๕๔



    [​IMG]
    ครูบาวิฑูรย์ ชินวโร วันเข้านิโรธกรรม


    วันเข้านิโรธกรรม
    แบ่งการเดินทางเป็น ๒ ชุด ดังนี้

    ชุดที่ ๑ เข้านิโรธกรรม (One day trip)

    การเิดินทาง : รถตู้ปรับอากาศ

    วันเสาร์ที่ ๑๗ ก.ย. ๕๔
    ๐๙.๐๐ น. จุดนัดพบ ปั๊มน้ำมัน ปตท.สนามเป้า
    ๐๙.๑๕ น. ล้อหมุน
    ไหว้พระอริยสงฆ์
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงพ่อวิชา รติยุตโต วัดชอนทุเรียน อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

    ๑๕.๐๐ น. เดินทางถึงปรียนันท์ธรรมสถาน
    ๑๕.๒๐ น. ชาวคณะฯ เป็นตัวแทนนำปัจจัยจากการร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุศลงานเข้า-ออกนิโรธฯ กราบถวาย
    ๑๖.๐๐ น. หลวงปู่ครูบาบุญยัง แสดงธรรม
    ๑๘.๐๐ น. เจริญชัยมงคลคาถาแด่พระสงฆ์ และทำพิธีปิดประตูราชวัติ ๗ ชั้น
    ๑๘.๓๐ น. ส่งสมาชิกขึ้นรถ
    ๒๑.๓๐ น. ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

    ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่านละ ๖๐๐ บาท
    *
    (ขอสงวนสิทธิ์ไม่จัดรถในกรณีมีสมาชิกไม่เต็มคัน)



    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    ครูบาวิฑูรย์ ชินวโร วันเข้านิโรธกรรม / หลวงปู่ครูบาอ่อน รตนวณุโณ


    ชุดที่ ๒ งานเข้านิโรธกรรมครูบาวิฑูรย์ ชินวโร และงานทำบุญอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี หลวงปู่ครูบาอ่อน (๒ วัน ๑ คืน)

    การเิดินทาง : รถตู้ปรับอากาศ

    วันเสาร์ที่ ๑๗ ก.ย. ๕๔
    ๐๙.๐๐ น. จุดนัดพบ ปั๊มน้ำมัน ปตท.สนามเป้า
    ๐๙.๑๕ น. ล้อหมุน
    ไหว้พระอริยสงฆ์
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงพ่อวิชา รติยุตโต วัดชอนทุเรียน อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

    ๑๕.๐๐ น. เดินทางถึงปรียนันท์ธรรมสถาน
    -
    ชาวคณะฯ เป็นตัวแทนนำปัจจัยจากการร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุศลงานเข้า-ออกนิโรธกรรมกราบถวาย

    ๑๖.๐๐ น. หลวงปู่ครูบาบุญยัง แสดงธรรม
    ๑๘.๐๐ น. เจริญชัยมงคลคาถาแด่พระสงฆ์ และทำพิธีปิดประตูราชวัติ ๗ ชั้น
    ๑๘.๓๐ น. ส่งสมาชิกชุดที่ ๑ ขึ้นรถ และสมาชิกชุดที่ ๒ เดินทางต่อไป จ. พะเยา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ก.ย. ๕๔
    ๐๐.๓๐ น. เดินทางถึง จ.พะเยา
    - เข้าโรงแรมที่พัก
    - พักผ่อนตามอัธยาศัย

    ๐๘.๐๐ น. เก็บสัมภาระพร้อมกันที่รถ เดินทางต่อไปวัดส้นต้นหวีด
    - ร่วมพิธีทำบุญอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี

    - รับประทานอาหาร (โรงทาน)

    ๐๙.๐๐ น. พระเถรานุเถระร่วมอธิษฐานจิต <wbr>พระครูสันติธรรมมาภิรม (หลวงปู่ครูบาอ่อน รตนวณุโณ)
    รายนามพระเถรานุเถระ
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>พระเดชพระคุณหลวงปู่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ครูบาครอง ขตฺติโย วัดท่ามะเกว๋น อ.เถิน จ. ลำปาง
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ครูบาพรรณ วัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ครูบาอุ่น อตฺถกาโม (พระครูอรรถกิจจาทร) วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ครูบาบุญมา สุภทฺโท สำนักปฎิบัติธรรมบ้านสันกลาง อ.เมือง จ.ลำปาง
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>พระครูบามนตรี ธมฺมเมธี วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี อ.เด่นชัย จ.แพร่

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>
    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญโญ วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>
    พระครูวินัยธรวรพจน์ ชยฺยวุฒโฑ วัดผางาม (ปางยาง) อ.แม่แตง จ. เชียงใหม่
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>พระสมุห์ปรินทร์ ธมฺมสรโณ วัดเขาแร่ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
    ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล
    - รับประทานอาหาร (โรงทาน)

    ๑๑.๓๐ น. เดินทางไหว้พระ-สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>ไหว้สา อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อ.เมือง จ.พะเยา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>ไหว้สา พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำอ.เมือง จ.พะเยา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>ไหว้สา หลวงพ่อศิลา วัดติโลกอารามอ.เมือง จ.พะเยา

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>
    ไหว้สา พระบรมสารีริกธาตุ วัดพระธาตุจอมทองอ.เมือง จ.พะเยา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>ไหว้สา พระเจ้าล้านตื้อ วัดศรีอุโมงค์คำอ.เมือง จ.พะเยา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>ไหว้สา พระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีขาล อ.เมือง จ.แพร่

    ๒๓.๐๐ น. ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

    ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่านละ ๑,๓๐๐ บาท*
    (ราคานี้รวมค่าเดินทาง-ที่พัก ๑ คืน ไม่รวมค่าอาหาร)


    ทริปธรรมสัญจร (๘) ชุดที่ ๑ และชุดที่ ๒ ปิดรับจองที่นั่งและโอนเงินในวันศุกร์ที่ ๙ ก.ย. ๕๔ เวลา ๒๐.๐๐ น. หรือจนกว่าที่นั่งจะเต็ม




    [​IMG]
    พระครูธรรมธรเล็ก สุธฺมปฺญโญ รับครูบาวิฑูรย์ ชินวโร ออกนิโรธกรรม



    วันออกนิโรธกรรม


    ชุดที่ ๓ วันออกนิโรธกรรม (One day trip)

    การเิดินทาง :
    รถบัสปรับอากาศ

    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ก.ย. ๕๔
    เวลา ๐๑.๓๐ น. จุดนัดพบ ร้านกาแฟอเมซอน ปั้๊มน้ำมัน ปตท. สนามเป้า
    - ตรวจสอบรายชื่อ
    - จัดเก็บสัมภาระขึ้นรถ

    ๐๒.๐๐ น. ล้อหมุน


    ๐๕.๓๐ น. เดินทางถึงปรียานันท์ธรรมสถาน

    ร่วมพิธีการออกนิโรธกรรม
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๐๖.๐๐ น. [/FONT]หลวงปู่ครูบาบุญยังและ พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปฺญโญ[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เป็นองค์สักขีพยานรับการออกนิ<wbr>โรธกรรม
    - ครูบาวิฑูรย์อธิษฐานจิตออกนิ<wbr>โรธกรรม
    - พิธีบวงสรวง
    - ครูบาวิฑูรย์ให้ศีลให้พรแก่ศรั
    <wbr>ทธาญาติโยม ที่มาร่วมทำบุญตักบาตร
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]- จัดริ้วขบวนเสลี่ยง รับครูบามายังปะรำพิธี[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    ๑๐.๐๐ น. พระเถรานุเถระที่ได้นิมนต์<wbr>มาโปรดเมตตาเจริญพุทธมนต์สื<wbr>บชะตาหลวงแบบล้านนาและรับเครื่<wbr>องไทยทาน
    รายนามพระเถระ
    [/FONT]<label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> หลวงปู่ครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น อ.ลี้ จ.ลำพูน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> พระสมุห์ทรงศักดิ์ มหาวีโร วัดทาเหมืองลึก อ.แม่ทา จ.ลำพูน

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
    ครูบามหาสิงห์ วัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> พระครูภาวนาภิลาศ วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> ครูบาเหนือชัย โฆสิโต สำนักสงฆ์วัดถ้ำป่าอาชาทอง อ.แม่จัน จ.เชียงราย

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
    ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า วัดเกษศรี อ.เมือง จ.พะเยา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> ครูบาน้ำมนต์ วัดแม่กุ้งหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> ครูบาญานลังกา วัดศรีสองเมือง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
    ครูบาสง่า สนฺตจิตฺโต วัดพระธาตุดอยกวางคำ อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> ครูบาธงชัย วัดป่าพระสบาย อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> ครูบาจันทร์ต๊ะ วัดกู๋เต้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
    ครูบาสิงห์คำ วัดดอนน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> ครูบาสมเกียรติ วัดป่าแก่ อ.เมือง จ.ลำพูน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
    พระธวัชชัย ชาครธมฺโม สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ. บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
    พระมหาจรูญโรจน์ ทีปังกโร วัดบ้านห้วยน้ำขาว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> หลวงพี่เผื่อน สำนักสงฆ์ถ้ำทะลุ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> หลวงพี่สมชาย

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์<wbr>-สามเณร
    - เชิญศรัทธาญาติโยมร่วมรั<wbr>บประทานอาหาร (โรงทาน)

    ๑๑.๔๐ น.
    [/FONT]สมาชิกพร้อมกันที่รถ เดินทางไหว้พระ-สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>ไหว้สา หลวงพ่อเิิดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>ไหว้สา พระจุฬามณี รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปครึ่งพระองค์ วัดเขาภูคาจุฬามณี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>ไหว้สา หลวงพ่อเย็น วัดพระปรางค์มุนี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>
    ไหว้สา หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.อยุธยา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label> <label for="rb_iconid_31"> </label> ไหว้สา หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ (หลวงพ่อสุข) วัดตูม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.อยุธยา

    ๑๘.๐๐ น. เดินทางถึงกรุงเทพฯ โดยประมาณ

    ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่านละ ๖๐๐ บาท

    ทริปธรรมสัญจร (๘) ชุดที่ ๓ ปิดรับจองที่นั่งและโอนเงินในวันศุกร์ที่ ๑๖ ก.ย. ๕๔ เวลา ๒๐.๐๐ น. หรือจนกว่าที่นั่งจะเต็ม


    ท่านที่ประสงค์จะร่วมเดินทาง กรุณาลงชื่อและระบุการร่วมเดินทางว่าเป็นชุดที่ ๑ ชุดที่ ๒ หรือชุดที่ ๓ พร้อมทั้งโอนค่าพาหนะเดินทางตามจำนวนที่กำหนดข้างต้นเข้าบัญชีตามข้างล่างนี้ และมาโพสต์แจ้งชื่อสกุล-เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ และเวลา-จำนวนเงินที่โอนให้ทราบด้วย

    ชื่อบัญชี : น.ส. ณญาดา ศราภัยวานิช
    ธนาคาร : กรุงไทย ประเภทออมทรัพย์ สาขาบางบัวทอง
    เลขที่บัญชี : ๑๒๑-๐-๑๐๕๔๕-๔ (121-0-10545-4)
    โทรศัพท์ : ๐๘๑-๗๓๕๙๒๖๑ (081-7359261)

    ท่านที่สำรองที่นั่งหรือโอนเงินแล้วต่อมาประสงค์จะยกเลิกการเดินทาง ขอให้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย ๑๐ วัน ก่อนวันที่เดินทาง หากไม่แจ้งภายในกำหนดดังกล่าว ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนเงินค่าเดินทางให้หากปรากฏว่าการยกเลิกล่าช้าของท่านทำให้ตัดสิทธิ์ของบุคคลอื่นและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้จัด

    ในการโอนเงินคืนจะมีค่าธรรมเนียมการโอน ๒๕ บาท ซึ่งจะหักจากยอดเงินค่าเดินทางของท่าน หากมีเงินเหลือหลังจากชำระค่าใช้จ่ายทุกส่วนแล้ว ผู้จัดขออนุญาตนำเงินคงเหลือทั้งหมดเข้ากองทุนบึงลับแลเพื่อใช้ในทุกกิจกรรมบุญต่อไป


    [​IMG] เรียนเชิญกัลยาณธรรมทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุศลงานเข้า-ออกนิโรธกรรมครูบาวิฑูรย์ ปี ๒๕๕๔ ได้ที่ คลิก



    ภาพประกอบ : จากอินเตอร์เนต
    ลำดับที่ ๑-๖ วันเข้านิโรธ
    ๑. ครูบาวิฑูรย์ ชินวโร
    ๒. หลวงปู่ครูบาอ่อน
    ๓. อนุสาวรีย์ พ่อขุนงำเมือง
    ๔. วัดศรีโคมคำ
    ๕. วัดติโลกอาราม

    ลำดับที่ ๖-๑๐ วันออกนิโรธ
    ๖. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
    ๗. รอยพระพุทธบาท วัดเขาภูคาจุฬามณี
    ๘. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน
    ๙. หลวงพ่อสุข วัดตูม
    ๑๐. ครูบาวิฑูรย์ ชินวโร

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2011
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รายนามผู้ร่วมบุญ-ร่วมเดินทาง

    วันเข้านิโรธกรรม
    [​IMG] รายนามผู้ร่วมบุญ
    ๑. กองทุนบึงลับแล จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๒. หลาน ๆ สกุล "ศราภัยวานิช" จำนวน ๕๐ บาท
    ๓. คุณ t1 จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๔. คุณเดือนสาม จำนวน ๓๒๙ บาท
    ๕. คุณ Vietnam จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๖. คุณเกสรมณีช์ จารย์ไธสงค์ และครอบครัว จำนวน ๒๕๐ บาท
    ๗. คุณสมหมาย สายใยทอง จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๘. คุณปิติณัช สายใยทอง จำนวน ๒๕๐ บาท
    ๙. คุณสุพิชชา สายใยทอง จำนวน ๕๐ บาท
    ๑๐. คุณ pracha r. จำนวน ๔๐๐ บาท
    ๑๑. คุณ saber จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๒. คุณรุจาภา จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๑๓. คุณโอรส จำนวน ๕๐ บาท
    ๑๔. คุณณัฐฐิมา เสืองามเอี่ยม จำนวน ๑๕๐ บาท
    ๑๕. คุณคชภพ จำนวน ๕๐ บาท
    ๑๖. คุณมนต์สินี-อริศรา อินทรศุภมาตย์ จำนวน ๕๐ บาท
    ๑๗. ด.ช วัชรภณ เชาว์ปฏิภาณ จำนวน ๒๕ บาท

    ๑๘. คุณ Piticha จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๑๙. คุณนภัสดล จำนวน ๕๐๙ บาท
    ๒๐. คุณโชคพิพัฒ จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๒๑. คุณสุคโต จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๒. คุณ thongchai 394 จำนวน ๑๐ บาท
    ๒๓. คุณ "เพื่อนมา" จำนวน ๑๒๕ บาท

    ๒๔. คุณคนกิเลสหนา จำนวน ๗๕๐ บาท
    ๒๕. คุณ
    upacnang จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๖. คุณ ponlakrit จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๗. คุณเล็กและครอบครัว พร้อมคณะกัลยาณธรรม ผ้าไตร ๒ ชุด
    ๒๘. คุณอิ๋ว จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๒๙. คณะกัลยาณธรรมร่วมบุญเป็นเจ้าภาพมหากุศลงานเข้า-ออกนิโรธกรรมครูบาวิฑูรย์ ชินวโร ปี ๕๔ จำนวน ๑๐๔,๒๐๐ บาท
    (อ้างอิงข้อมูลจาก ทริปกฐินวัดท่าขนุน ไหว้พระวัดถ้ำเบญจรัตน์นคร อาบน้ำแร่วัดวังขนาย ๒๓ ต.ค.
    [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/B]ทริปภูทอก (๒) กฐินเมืองอีสาน ๒๘-๓๐ ต.ค.
    ทริปกฐินวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ไหว้พระเมืองสระบุรี ๖ พ.ย.

    ทริปนมัสการสักการะพระพุทธบาท ๙ รอยเมืองจันท์ ๒๖-๒๗ พ.ย.
    เรียนเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุศ<wbr>ลงานเข้า-ออกนิโรธกรรมครูบาวิฑู<wbr>รย์ ชินวโร (ปิดรับ ๒๔ ก.ย.๕๔)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2011
  3. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักประวัิิติพระเถระและสถานที่ ๆ จะไปชุดที่ ๒ กันเถิด

    วันเข้านิโรธกรรม

    [​IMG]
    ๑. พระครูบาวิฑูรย์ ชินวโร

    สืบเนื่องจากเดือนกันยายนจะเป็นเดือนครบรอบวันคล้ายวันเกิดของพระครูบาวิฑูรย์ ชินวโร ซึ่งเมื่อเวียนมาถึงท่านจะอธิษฐานจิตเข้านิโรธกรรมเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ครั้งเมื่อยังบรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งปีนี้ก็เช่นเดียวกันแต่มีความพิเศษกว่าทุกปีเนื่องจากปีนี้ท่านอธิษฐานจิตเข้านิโรธกรรมเป็นเวลา ๙ วัน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ญาติโยม

    สถานที่ปฎิบัติธรรมในการเข้านิโรธกรรม เป็นกระท่อมมุงด้วยฟางในเขตราชวัติ ๗ ชั้น ฉันน้ำบาตรเดียวโดยไม่ฉันภัตตาหาร เป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน ตั้งแต่วันที่ ๑๗-๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ สถานปฎิบัติธรรม "ปรียนันท์ธรรมสถาน" อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์


    การเดินทาง

    ๑. จากกรุงเทพฯ
    ใช้ถนนสายเอเซีย ผ่านทางแยกอุทัยธานี ประมาณ ๒ ก.ม. จะเห็นป้ายร้านอาหารปรียนันท์อยู่ฝั่งตรงข้ามให้ชิดขวายูเทิร์นตรงจุดแรก แล้วขับเลยร้านอาหารปรียนันท์มาประมาณ ๕๐๐ เมตร จะเจอทางแยกเป็นถนนเล็ก ๆ อยู่ทางเชิงเขามีป้าย "ปรียนันท์ธรรมสถาน" ขับตรงเข้ามาเรื่อย ๆ ประมาณ ๑ กม. วัดอยู่ทางซ้ายมือติดเขา

    ๒. จากนครสวรรค์

    ใช้ถนนสายเอเซีย ผ่านทางแยกพยุหะคีรี เลยร้านอาหารปรียานันท์ให้เตรียมชิดซ้ายขับตรงมาเรื่อย ๆ ประมาณ ๕๐๐ เมตร ที่เหลือเหมือนข้อ ๑

    หมายเหตุ
    จุดสังเกตุ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ วัดอยู่ทางด้านขวามือและขับรถเลยแยกพยุหะคีรีเมื่อไร แสดงว่าเลยทางเข้าแล้ว และเช่นเดียวกัน ถ้ามาจากทางนครสวรรค์ วัดอยู่ทางด้านซ้ายและขับรถเลยแยกอุทัยธานีเมื่อไร ก็แสดงว่าเลยทางเข้าแล้วเช่นเดียวกัน




    [​IMG]
    ๒. พระครูสันติธรรมาภิรม (หลวงปู่ครูบาอ่อน รตฺนวณฺโณ)

    นามเดิมชื่ออ่อน สมวรรณ เป็นบุตรของ พ่อถา แม่ปั๋น สมวรรณ มีพี่น้องร่วมบิดา–มารดา ด้วยกัน ๕ คน

    ๑. นายเป็ง สมวรรณ ถึงแก่กรรม
    ๒. นายโหม้ สมวรรณ ยังมีชีวิตอยู่
    ๓. พระครูสันติธรรมาภิรม(อ่อน สมวรรณ)
    ๔. นายมา สมวรรณ ถึงแก่กรรม
    ๕. นายทา สมวรรณ ถึงแก่กรรม

    เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๖๕ ตรงกับ วันพุธกลางคืน เดือน ๑๒ เหนือ แรม ๘ ค่ำ ปีจอ จบการศึกษา ป.๔ น.ธ.ตรี เมื่อครั้นอายุครบบวชบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ ครูบาอิ่นแก้วสาร เจ้าอาวาส วัดใหม่หลวง และได้อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๘๖ อายุ ๒๕ ปี ได้ลาสิกขาไป จากนั้นได้กลับเข้ามาบรรพชาอุปสมบทครั้งที่ ๒ ณ อุโบสถวัดศรีโคมคำ ต. เวียง อ. เมือง จ. พะเยา วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๐๕ โดยมี หลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ถวายตัวอุปฐาก ครูบาแก้ว คนฺธวํโส

    พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้ย้ายมารักษาการเจ้าอาวาสวัดสันต้นหวีด
    พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสันต้นหวีด
    พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลแม่ปืม เขต ๒
    พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศเป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนาม พระครูสันติธรรมาภิรม
    พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศเป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๕๔๓ เนื่องปัญหาด้านสุขภาพ จึงได้ลาตำแหน่งเจ้าคณะตำบลแม่ปืม เขต ๒ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลกิตติมศักดิ์จนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนี้ท่านได้ทำหน้าที่ปกครองวัด และช่วยเหลือคณะศัทธาญาติโยมให้คำปรึกษาทั้งในด้านการพัฒนาระบบสาธารณูประโภค ด้านสมุนไพร และอักษรภาษาพื้นเมืองล้านนา ช่วยดูแลและขยายเนื้อที่ดินของวัดสันต้นหวีด จนมีเนื้อที่ดินทั้งหมด ๙ ไร่ ๒ งาน ๖๗ ตารางวา

    ขอบคุณที่มา : เว็บส่งสการ



    [​IMG]
    ๓. หลวงพ่อวิชา รติยุตโต

    เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังภาคกลาง และเป็นศิษย์เอกสืบสายธรรมจากพ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ วัดจันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช, หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ วัดช้างเผือก อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ และหลวงพ่อสด ธัมมธโร วัดหนองสะแก อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นพระเกจิชื่อดังเรืองนามด้วยกันทั้งสิ้น หลวงพ่อวิชา ยังเป็นพระนักพัฒนาที่ชาวบ้านทั่วไป ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในวัตรปฏิบัติและปฏิปทา ปัจจุบัน หลวงพ่อวิชา สิริอายุ ๖๗ พรรษา ๔๑ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีมณีวรรณ (วัดใต้) อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท

    อัตโนประวัติ เกิดในสกุล สมสุด เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๗ ณ บ้านหมู่ที่ ๒ ต.คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เป็นบุตรคนสุดท้อง โยมบิดา-มารดา ชื่อนายเจียด และนางเนียม สมสุด ประกอบอาชีพทำนา-ทำไร่ ชีวิตในวัยเยาว์ ได้ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสิทธิการาม อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนสุวรรณนุสรณ์ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ไม่ได้ศึกษาต่อ ต้องลาออกมาครอบครัวประกอบอาชีพทำนา-ทำไร่ ที่บ้านชอนทุเรียน ต.พุนกยูง อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ การทำงานของท่าน หากมีเครื่องมือการเกษตรชิ้นใดชำรุดเสียหาย ท่านจะซ่อมแซมด้วยการลองผิดลองถูก จนเกิดความชำนาญ ทั้งนี้ ท่านได้ไปศึกษาวิชาจากพ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ ณ วัดจันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช โดยในวันแรก พ่อท่านคล้ายได้ถามว่า มาทำไม นายวิชา ตอบว่า มาขอเรียนวิชาเพื่อสร้างวัด สร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุ เพื่อพัฒนาพระพุทธศาสนา เพราะต่อไปจะบวชครับ เพียงเท่านี้ พ่อท่านคล้ายได้เมตตาสอนวิทยาคมต่าง ๆ ให้ทันที โดยเฉพาะวิชาวาจาสิทธิ์พ่อท่านคล้ายแนะนำว่า ให้พูดแต่ความจริง ปากก็จะศักดิ์สิทธิ์เอง นอกจากนี้ พ่อท่านคล้าย ได้แนะเคล็ดลับในการปลุกเสกวัตถุมงคลให้มีพลังเข้มขลังสูงสุด โดยในระหว่างที่ศึกษาวิชา นายวิชาได้อุปัฏฐากพ่อท่านคล้ายไปด้วย กระทั่งเมื่อได้รับถ่ายทอดวิชาสำคัญตามสมควรแล้ว ได้กราบลาพ่อท่านคล้ายกลับภูมิลำเนา

    ขณะอายุได้ ๒๗ ปี เกิดความเบื่อหน่ายทางโลก ท่านได้ตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๑๔ ณ พัทธสีมาวัดศรีมณีวรรณ (วัดใต้) ต.คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท โดยมีพระมงคลชัยสิทธิ์ (หลวงพ่อสำราญ กาญจนาโภ) เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูเจือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูชอบ วัดหัวหาด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า รติยุตโต มีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยความยินดี หลังจากอุปสมบท ได้พำนักอยู่ที่วัดศรีมณีวรรณ (วัดใต้) มุมานะเพียรศึกษาข้อวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และทรงข้อวัตรเหล่านั้นโดยบริบูรณ์ จากนั้นจึงได้ศึกษาวิทยาคมชั้นสูงเพิ่มเติมกับพระอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ (พระครูวิชิตพัชราจารย์) วัดช้างเผือก อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ เรียนคาถาดับพิษไฟ การทำตะกรุดโทน เป็นต้น สามารถทำให้มีอิทธิคุณเข้มขลังเช่นเดียวกับพระอาจารย์

    หลวงพ่อวิชา มีความเคารพในปฏิปทาของหลวงพ่อสด ธัมมธโร วัดหนองสะแก อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี เป็นอย่างยิ่ง ท่านได้ไปขอเรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อสด และพำนักอยู่ที่วัดหนองสะแก เป็นเวลา ๑ ปี หลวงพ่อสดได้สอนเรื่องจริยาวัตรของพระ การมีปฏิสันถารและถ่ายทอดวิทยาคมต่าง ๆ โดยเฉพาะวิชาการทำกุมารทอง วิชากระสุนคต ที่มีอิทธิคุณด้านเมตตามหานิยม และกันภัย อันเป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงให้แก่หลวงพ่อสด จนโด่งดังไปทุกสารทิศ

    ตั้งแต่แรกบวช พ.ศ.๒๕๑๔ หลวงพ่อวิชา ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีมณีวรรณ มาโดยตลอด มีพระภิกษุ-สามเณร ในความปกครองปีละหลายสิบรูป ชาวบ้านให้ความเคารพเลื่อมใสอย่างกว้างขวาง ได้พากุลบุตรมาขอบรรพชา-อุปสมบท ให้อบรมสั่งสอน ซึ่งท่านได้พากเพียรสอนศิษย์ให้ประพฤติตรงตามข้อวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เจริญศีล สมาธิ ปัญญา และให้เรียนพระปริยัติธรรม ส่วนวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อวิชาถ่ายทอดให้ศิษย์ตามอุปนิสัยและความสามารถที่พึงได้รับ ท่านจึงได้นำศิษย์ออกจาริกธุดงควัตรตามโอกาสอันควร นอกจากการอบรมสั่งสอนศิษย์ทางพระธรรมวินัยแล้ว ท่านยังให้การศึกษาโดยเน้นวิชาชีพและคุณธรรม ได้แก่ ช่างเครื่องจักรกล ช่างกลึง ช่างเชื่อม ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ช่างไฟฟ้า ตลอดจนด้านการเกษตร เช่น การทำปุ๋ยหมัก การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการไถ การพรวน การปลูก การดูแลบำรุงรักษา การจัดระบบน้ำและการเก็บเกี่ยว เป็นต้น

    หลวงพ่อวิชา ได้พัฒนาวัดศรีมณีวรรณอย่างเป็นรูปธรรม ก่อสร้างเสนาสนะ ถาวรวัตถุจำนวนมาก อันเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงของพระพุทธศาสนาไว้เป็นเอนกประการ หลวงพ่อวิชา ยังได้สร้างวัดต่าง ๆ มากมาย อาทิ พ.ศ.๒๕๑๙ สร้างวัดห้วยเปล้า ต.ระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี พ.ศ.๒๕๒๑ สร้างวัดคลองหวาย ต.ทองหลาง อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี พ.ศ.๒๕๔๒ พัฒนาวัดชอนทุเรียน ต.พุนกยูง อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

    หลวงพ่อวิชา รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีมณีวรรณได้ประมาณ ๑๔ ปี แม้ในช่วงนั้นจะมีพระเถระผู้ใหญ่บางรูปและคณะศิษย์สนับสนุนให้เป็นเจ้าอาวาส แต่หลวงพ่อได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ในเวลาต่อมา คณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อวิชา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีมณีวรรณ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารกิจการสงฆ์ ด้านวัตถุมงคลของหลวงพ่อวิชา ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง อาทิ กุมารทอง, ตะกรุดโทน และพระขรรค์ปราบมาร เป็นต้น

    พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา หลวงพ่อวิชา ได้มาพำนักอยู่ที่หมู่บ้านอีซ่า หมู่ ๓ ต.ทองหลาง อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อสร้างเขื่อนอีซ่า เป็นเขื่อนปูนขนาดกว้าง ๒๐ วา ยาว ๕๐ วา และสูง ๔ วา ๒ ศอก เพื่อผันน้ำช่วยชาวอุทัยธานี และถวายเป็นพระราชกุศล ค่าก่อสร้างประมาณ ๑๐ ล้านบาทเศษ โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด หลวงพ่อวิชา นับเป็นพระเกจิอาจารย์และพระนักพัฒนาที่มีแต่ให้ ไม่เคยหวังผลจากความดีความชอบ หรือการตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ท่านได้ปรารภกับศิษยานุศิษย์อยู่เสมอว่า การตอบแทนบุญคุณต่อหลวงพ่อ วิธีที่ดีที่สุด และเป็นสิ่งที่หลวงพ่อต้องการ คือการที่ลูกศิษย์และพุทธศาสนิกชน ประพฤติตนเป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และประเทศชาติเท่านี้ หลวงพ่อก็ภูมิใจแล้ว ทุกวันนี้ หลวงพ่อวิชา ยังคงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้มีความเจริญรุ่งเรืองด้วยความรู้คู่กับคุณธรรม

    เพิ่มเติม
    หลวงพ่อวิชาท่านเป็นสหธรรมมิกของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ท่านไปนั่งปรกปลุกเสกกับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำบ่อยมาก ๆ และเคยได้เฝ้ารับเสด็จในหลวงในการเสด็จที่วัดท่าซุง ซึ่งท่านได้พาศิษย์ที่เป็นเสือเป็นโจรพาไปเข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีของชาติ และท่านยังได้ถวายพระเครื่องซึ่งเป็นพระสมเด็จเนื้อนิลกาฬ (นิลตะโก) ให้กับในหลวง ซึ่งคนที่ไปฝ้ารับเสด็จในวันนั้นยังบอกเล่าให้ฟังอีกว่าพระทุกรูปที่ไปเฝ้ารับเสด็จนั้นก็ถวายพระเครื่องกับในหลวง แต่ในหลวงรับแล้วส่งต่อให้กับข้าราชบริพาร แต่พอในหลวงรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อวิชา ท่านเก็บวัตถุมงคลนั้นไว้ในกระเป๋าฉลองพระองค์ ของพระองค์เอง และล่าสุดในปี ๒๕๔๙ ในหลวงได้มีพระกระแสรับสั่งให้นิมนต์หลวงพ่อวิชาไปเข้าเฝ้าที่วังไกลกังวลหัวหินเพื่อให้หลวงพ่อดำเนินการสร้างเขื่อ อีซ่าที่ จ.อุทัยธานีให้แล้วเสร็จ ซึ่งในขณะนี้ท่านได้สร้างเขื่อนเสร็จแล้ว ใช้งบประมาณทั้งหมด ๑๓ ล้านบาทเศษ ซึ่งเป็นเงินที่ได้จากศรัทธาของท่านเองไม่เคยใช้เงินของรัฐแม้เต่บาทเดียว ตอนนี้หลวงพ่อได้กลับไปจำพรรษาที่สำนักปฏิบัติธรรมบ้านชอนทุเรียน อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ซึ่งตอนนี้ท่านได้คิดค้นยา สมุนไพรรักษาโรคได้ดี เช่น โรคไต โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ ใครที่เป็นโรคประหลาดหมอปัจจุบันรักษาไม่หาย ก็ลองไปหาท่าน ดู ท่านมีเมตตาสูงมาก รักษาหายมาหลายรายแล้วด้วย


    ขอบคุณที่มา : ประวัติหลวงพ่อ



    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td align="center"> ๔. อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง </td> </tr> </tbody> </table>

    อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภู
    ามยาวลำดับที่ ๙ ระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๐๑-๑๘๔๑ เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า ๙๐) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด จึงได้พระนามว่างำเมือง

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"><tbody><tr><td>
    </td></tr></tbody></table><wbr>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"><tbody><tr><td>

    </td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td align="center"> ๕. วัดศรีโคมคำ </td> </tr> </tbody> </table>

    เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชี
    ยงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๖ เมตร สูง ๑๙ เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๖๗ พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเป็นประจำทุกปีเรียกว่างานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง บริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดยอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"><tbody><tr><td>

    </td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td align="center">
    ๖. วัดติโลกอาราม

    </td></tr></tbody></table>เป็นวัดร้างที่จมอยู่ใต้น้<wbr>ำในกว๊านพะเยา แต่เดิมเป็นเนินสันธาตุท้ายหมู่<wbr>บ้านร่องไฮ ตำบลแม่ใส อำเภอเมืองพะเยา ต่อมาถูกน้ำกัดเซาะและได้พั<wbr>งทลายลงเป็นกองอิฐอยู่ใต้น้ำ จากหลักศิลาจารึกที่ค้นพบในบริ<wbr>เวณนี้ทำให้ทราบว่า วัดติโลกอารามสร้างขึ้<wbr>นโดย พระเจ้าติโลกราช มหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๑๙-๒๐๓๑ มีโบราณวัตถุสำคัญ คือ พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อศิลา ค้นพบเมื่อปี ๒๕๒๖ ชาวบ้านได้นำขึ้นจากน้ำมาประดิ<wbr>ษฐานไว้ที่วัดศรีอุโมงค์คำในตั<wbr>วเมืองพะเยา ต่อมาจึงได้อัญเชิญมาประดิ<wbr>ษฐานไว้บนแท่นกลางน้ำบริเวณที่<wbr>ตั้งของวัดติโลกอารามในปัจจุบัน ในวันมาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา จะมีพิธีเวียนเทียนกลางน้ำ มีเรือพายนับร้อยลำจุดเทียนสว่<wbr>างไสวไปเวียนเทียนรอบแท่นประดิ<wbr>ษฐานหลวงพ่อศิลาในกว๊านพะเยา นับเป็นประเพณีหนึ่งเดี<wbr>ยวในโลกที่ไม่เหมือนใคร

    การเดินทาง
    จากท่าเรือกว๊านพะเยาที่<wbr>ถนนชายกว๊านในตัวเมืองพะเยา มีเรือพายบริการไปยังบริเวณที่<wbr>ตั้งของวัดติโลกอารามเพื่อสั<wbr>กการะหลวงพ่อศิลา ค่าบริการคนละ ๒๐ บาท มีชูชีพสวมเพื่อความปลอดภัย ให้บริการระหว่างเวลาประมาณ ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ ๒๐ นาที

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"><tbody><tr><td>

    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td align="center"> ๗. วัดพระธาตุจอมทอง
    </td> </tr> </tbody></table>

    ตั้งอยู่<wbr>บนดอยจอมทอง ห่างจากตัวเมือง ๓ กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามวัดศรีโคมคำ มีทางรถยนต์ขี้นไปถึงยอดเขา เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปนมั<wbr>สการเจดีย์พระธาตุจอมทองซึ่งเป็<wbr>นปูชนียสถานโบราณคู่เมืองพะเยา บริเวณโดยรอบมีป่าไม้ปกคลุม เป็นสวนรุกขชาติมองเห็นตัวเมื<wbr>องและกว๊านพะเยาได้โดยรอบ



    [​IMG]
    ๘. วัดศรีอุโมงค์คำ
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตามประวัติวัดที่ปรากฏในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร กล่าวว่า วัดศรีอุโมงค์คำสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดสูง ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๖ เมตร อาคารเสนาสนะของวัดศรีอุโมงค์คำ ประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ คือ เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นเจดีย์สมัยเชียงแสนซึ่งสภาพยังสมบูรณ์อยู่ และพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองซึ่งขาวพะเยาเรียกกันว่า “ พระเจ้าล้านตื้อ ” ซึ่งชี่อทางการของพระพุทธรูปองค์นี้คือ “ หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ ” แม้หลักฐานการสร้างจะไม่ปรากฏชัดเจนแต่ประมาณว่ามีอายุเก่าแก่ถึง ๕๐๐ ปีมาแล้ว

    พระเจ้าล้านตื้อของวัดศรีอุโมงค์คำ มีประวัติเล่าว่าแต่เดิมถูกทิ้งให้ปรักหักพังที่สนามเวียงแก้ว ต่อมาเจ้าเมืองพะเยาได้บูรณะแล้วนำมาประดิษฐานที่วัดนี้ บ้างก็กล่าวว่าแต่เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีจอมเรือง สำหรับพุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ จัดว่างดงามมากและมีเอกลักษณ์ทางศิลปะของภูกามยาวโดยเฉพาะ นอกเหนือจากพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น วัดศรีอุโมงค์ยังมีพระพุทธรูปต่างๆ ดังนี้ คือ พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย (หลวงพ่อทันใจ) ซึ่งมีอายุอยู่ในราวปลายศตวรรษที่ ๒๑ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๖๐ เซนติเมตร สูง ๒๑๕ เซนติเมตร พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย (พระแข้งคม) มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีนาดหน้าตักกว้าง ๑๓๐ เซนติเมตร สูง ๑๙๐ เซนติเมตร เป็นต้น อนึ่ง ในหนังสือ เมืองพะเยา ได้กล่าวถึงวิหารหลังเก่าของวัดศรีอุโมงค์คำว่า ในปีจุลศักราช ๑๒๓๗ สัปตศก พุทธศักราช ๒๔๑๘ เจ้าหลวงอริยะซึ่งลงไปรับสัญญาบัตรกลับมาครองเมืองพะเยาได้ก่อสร้างวิหารของวัดนี้ขึ้น แต่ภายหลังถูกรื้อออกไป สันนิษฐานว่าอาจเป็นวิหารหลังที่เหลือร่องรอยเพียงฐานของวิหารและได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ก็เป็นได้ สิ่งสำคัญของวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียน คือฐานวิหารเก่า ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างนี้แน่ชัด ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ปัจจุบัน วัดศรีอุโมงค์คำมีความสำคัญในฐานะที่เปิดสอนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนราษฎร์ของวัด ห้องสมุดประจำวัด และเปิดศูนย์ฝึกอาชีพให้ประชาชนโดยทั่วไป
    </td></tr></tbody></table>
    ขอบคุณที่มา : ข้อมูลท่องเที่ยว จ.พะเยา


    <ins style="display:inline-table;border:none;height:15px;margin:0;padding:0;position:relative;visibility:visible;width:468px"><ins id="aswift_1_anchor" style="display:block;border:none;height:15px;margin:0;padding:0;position:relative;visibility:visible;width:468px"></ins></ins>
    [​IMG]
    ๙. วัดพระธาตุช่อแฮ

    พระธาตุช่อแฮอยู่จังหวัดแพร่ ถือเป็นปูชนียสถานของจังหวัดแพร่เป็นวัดที่ ประดิษฐานองค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ที่บรรจุเส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้า มีประวัติความเป็นมาว่าสร้างในสมัย สุโขทัย เป็นพระธาตุรูปทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง สูงประมาณ ๓๓ เมตรศิลปะแบบเชียงแสนบุด้วยทองดอกบวบ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีขาล (เสือ) ผู้ที่ได้มาเที่ยวจังหวัดแพร่ สิ่งที่ขาดไม่ไดคือการได้ไปเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ และไปกราบไหว้พระเจ้าทันใจและหลวงพ่อช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลต่อตัวเองและครอบครัวของผู้ที่มาเที่ยว

    องค์พระธาตุเป็นพระธาตุประจำปีเกิด ๑ ใน ๑๒ ราศรี คือเป็น พระธาตุประจำปีเกิดปีขาล (เสือ) หากว่าผู้ที่เกิดปีขาลนำผ้าแพรสามสีมาถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้ การสวดและไหว้ให้เริ่มต้นนะโม ๓ จบสวดตามด้วยคาถาบูชาพระธาตุ ๕ จบ พลังบารมีจะดลปันดาลให้มีชีวิตที่ดีขึ้น


    ปัจจุบันวัดพระธาตุช่อแฮได้พัฒนาทุก ๆ ด้านให้สมกับเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง โดยมี พระครูวิมลกิตติสุนทร เจ้าอาวาสชาวจังหวัดแพร่ได้จัดงานประเพณีนมัสการพระธาตุช่อแฮขึ้นระหว่างขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ใต้ เดือน ๖ เหนือทุกปี โดยใช้ชื่อว่า”งานไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง” บันใดนาคทางด้านทิศตะวันออก และทิศใต้องค์พระธาตุมีอายุหลายร้อยปีสันนิฐานว่าสร้างหลังจากองค์พระธาตุสร้างเสร็จ


    ขอบคุณที่มา : ข้อมูลท่องเที่ยว จ.แพร่



    [​IMG]

    ๑๐. อัตประวัติพระเถรานุเถระร่วมอธิษฐานจิต
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>พระเดชพระคุณหลวงปู่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ครูบาครอง ขตฺติโย วัดท่ามะเกว๋น อ.เถิน จ. ลำปาง
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ครูบาพรรณ วัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ครูบาอุ่น อตฺถกาโม (พระครูอรรถกิจจาทร) วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ครูบาบุญมา สุภทฺโท สำนักปฎิบัติธรรมบ้านสันกลาง อ.เมือง จ.ลำปาง
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>พระครูบามนตรี ธมฺมเมธี วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี อ.เด่นชัย จ.แพร่

    หน้าที่ ๒ คคห.ที่ ๓๒ คลิก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  4. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักประวัิิติพระเถระและสถานที่ ๆ จะไปชุดที่ ๓ กันเถิด

    วันออกนิโรธกรรม


    [​IMG]
    ๑. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

    อัตตะประวัติ
    แห่งหลวงพ่อเดิม ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (พุทฺธสโร) วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
    ต้นตระกูลของหลวงพ่อเดิม เป็นชาวนา อยู่ในหมู่บ้านหนองโพ ต้นรากเดิม โยมบิดาของท่านได้ถือกำเนิดที่บ้านเนินมะกอก (อยู่เลยหมู่บ้านหนองโพไปประมาณสองสถานี) ต่อมาได้แต่งงานอยู่กินกับโยมมารดาของหลวงพ่อเดิม ซึ่งเป็นชาวบ้านหนองโพและย้ายมาประกอบการอาชีพอยู่ที่บ้านโพ โยมบิดาของท่าน ชื่อ เนียม ส่วนโยมมารดาชื่อ ภู่ ในระยะที่โยมบิดามารดาของท่านประกอบอาชีพอยู่นั้นตรงกับสมัยหลวงตาชมเป็น เจ้าอาวาสวัดหนองโพ นามสกุลของหลวงพ่อคือ ภู่มณี

    หลวงพ่อเดิมถือกำเนิด
    ในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ วันพุธ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๒ ตรงกับวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๓ ฟ้าก็ได้ส่งให้หลวงพ่อมาจุติในโลกมนุษย์เพื่อยังความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ พุทธศาสนิกชนคู่วัดหนองโพ และจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อท่านถือกำเนิดมาเป็นลูกผู้ชายของตระกูล ย่อมเป็นที่ยินดีปรีดาของโยมบิดามารดาเป็นที่ยิ่ง จึงขนานนามท่านว่า “เดิม”

    สำหรับนามของท่านนี้มีนัยสันนิษฐานได้สองทางซึ่งจะยกมากล่าวได้คือ

    ก. ประการแรก ด้วยท่านเป็นบุตรชายคนหัวปีของโยมบิดามารดาสมใจที่ตั้งไว้จึงมีจิตนิยม ยกย่องว่าเป็นประเดิม แต่ครั้นจะตั้งชื่อว่า “ประเดิม” ก็จะยาวไป จึงตั้งเสียว่า “เดิม” ซึ่งชาวบ้านเชื่อประการนี้มากที่สุด


    ข. ประการที่สอง มีเรื่องเล่ากันว่าท่านเคยเกิดมาแล้วครั้งหนึ่ง เป็นบุตรชายของโยมมารดาบิดาท่าน แต่หากเสียชีวิตเสียแต่เมื่อยังเด็ก โยมมารดาบิดาเสียใจมาก ก่อนจะนำไปฝังได้นำเอามีดมากรีดที่ฝ่าเท้า ไว้เป็นตำหนิเพื่อว่าถ้ากลับมาเกิดอีกจะได้จำได้ ซึ่งเมื่อเกิดมาก็มีรอยอย่างนี้จริง ๆ สำหรับประการหลังนี้ขัดข้อเท็จจริง เพราะบิดามารดานั้นรักบุตรและธิดามาก แม้เมื่อมีชีวิตอยู่และตายแล้ว ดังนั้นการจะเอามีดคม ๆ มากรีดมาเฉือนเท้าของลูกนั้นเป็นไปได้ยาก และคำเล่าลืออันนี้คงจะเป็นเพราะรอยเท้าของหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นได้ เลยกลายเป็นเรื่องเล่าให้เขวไปอีกด้านหนึ่งก็อาจเป็นได้

    พี่น้องร่วมท้องของหลวงพ่อ หลวงพ่อมีพี่น้องร่วมท้องดังลำดับได้คือ
    ๑. นางทองคำ คงหาญ

    ๒. นางพู ทองหนุน
    ๓. นายดวน ภู่มณี
    ๔. นางพันธ์ จันทร์เจริญ
    ๕. นางเปรื่อง หมื่นนราเดชจั่น

    ชีวิตเมื่อเยาว์วัยของหลวงพ่อเดิม
    เนื่องจากหลวง พ่อเดิมเกิดในตระกูลชาวนาน เมื่อเยาวัยท่านก็ได้รับการนำเข้าไปหาพระหาวัด โดยการศึกษาของชาวนาหนองโพในตอนนั้นมีศูนย์กลางคือวัดหนองโพ เมื่อพ่อแม่ต้องการให้ลูกของตัวมีความรู้ก็นำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปถวายเจ้า อาวาส น้อมถวายบุตรแห่งตนเข้าเรียนในสำนักโดยกล่าวคำปวารณาว่า “ขอฝากลูกของกระผม หรือดิฉัน ไว้ในปกครองดูแล จะดุด่าว่าตี สั่งสอนอย่างไร ก็แล้วแต่ขรัวเจ้าจะเห็นสมควร” ระยะที่จะนำบุตรมาฝากวัดก็อยู่ในฤดูแล้ง คือระหว่าง เดือน ๙ เดือน ๑๐ และเดือน ๑๑ เพราะว่าระยะนั้นว่างจากงานไร่นา เด็กจะได้ไม่เอาเวลาว่างไปเที่ยวเกะกะเกเรเข้าพวกพ้อง

    การศึกษาในสมัยนั้นจากบันทึกกล่าวไว้ว่า กระดานชะนวนหายาก พ่อแม่จึงหาไม้กระดานใสให้เรียบแล้วทำกรอบให้ถือถนัดมือ ลมไฟให้ดำ และเอาเขม่าดินหม้อทาให้ดำ และใช้ดินสอพองอย่างชนิดผสมคล้าย ๆ ชอล์คในปัจจุบันเขียนลงไป เมื่อเวลาพระให้เขียนแล้วอ่าน เมื่อเขียนเต็มแล้วก็เอาน้ำลายลบเวลาลบถ้าสีดำที่ทาไว้ลอก ก็ต้องหาดินหม้อผสมกันแล้วทาทับตากให้แห้งจึงนำเอามาเขียนต่อ การเรียนเขียนอ่านมักจะทำเวลากลางวันเป็นส่วนใหญ่ โดยมีพระบ้าง ฆราวาสบ้าง ช่วยกันสอนให้เขียนอ่าน


    ตกเย็นถึงกลางคืนหลังจากกลับบ้านไปกินข้าวกินปลาแล้ว พระทำวัตรเย็นเสร็จก็พากันมาวัดต่อการเรียนกับพระที่วัด สิ่งที่สอนกลางคืนก็คือ การสวดมนต์บทต่าง ๆ อันเป็นพระพุทธมนต์ เช่น พระอิติปิโสถวายพรพระ และพระคาถาต่าง ๆ วิธีการเรียนก็คือเข้าไปหาพระตามกุฎิแล้วขอเรียน โดยท่านจะสอนให้วันละท่อนสองท่อนแล้วแต่สติปัญญาของเด็กแต่ละคน ใครหน่วนก้านดีก็ต่อมากหน่อย ใครท่าทางปัญญาทึบก็สอนน้อยหน่อย ท่องต่อหน้าท่านแล้วก็กลับบ้าน วันรุ่งขึ้นก็มาใหม่เมื่อได้เวลาก็มาหาท่านแล้วท่องตอนที่สอนให้ไปท่องให้ คล่องไม่ผิดอักขระวิธีแล้ว ก็ต่อท่อนต่อไปให้ ถ้าท่องไม่ได้ก็ต้องท่องให้ได้ หรือไม่ก็ต้องกินไม้เรียวแทน เรียกว่าใครไม่เอาใจใส่ก็มีแนวโน้มไม้เรียวไปอวดพ่อแม่แน่ แต่สิ่งที่ดีก็คือจะได้รับการอบรมจากพระให้มีจิตใจสะอาด ไม่ข่มเหงใคร ให้รู้จักศีล รู้จักธรรม บางครั้งท่านก็เล่านิทานธรรมะให้ฟัง เช่น เรื่องในนิทานชาดกต่าง ๆ สนุกสนาน จนลืมนอนก็มี


    การสอนนั้นบางองค์ก็ใจดี เด็ก ๆ ชอบเรียน บางองค์ก็ดุเพราะวิชาอาคมแข็งเรียกว่าร้อนวิชาเด็กก็มักจะกลัว แต่พ่อแม่ชอบว่าพระดุดี กำหราบจอมแก่นแทนพ่อแม่ได้ และมักจะสอนดี มีคนมาฝากลูกหลานเข้าเรียนกันมากจนรับไม่ไหว การสอนหนังสือไทยสอนจนอ่านออกเขียนได้ตามความจำเป็นในการดำรงชีวิต จึงให้หัดหนังสือขอม (หนังสือใหญ่) คือหัดเขียน หัดอ่านหนังสือขอม อันเป็นภาษาที่จารึกพระเวทย์วิทยาดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่ ท่องสูตร สนธิ การเรียกนาม เรียกสูตร มูลกัจจาย์เป็นช่วง ๆ ไป พอถึงหน้าทำนาทำไร่ คือ เดือน ๖ เป็นต้นไป ก็เรียกลูกกลับจากวัดมาช่วยงานในไร่ในนา เพราะลูกชายเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำงานตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ เพราะพ่อแม่ก็ต้องทำมาหากินควบไปด้วย เรียกว่าช่วยกันทำช่วยกันกิน เป็นอยู่อย่างนี้ทำให้การศึกษาไม่ติดต่อเหมือนปัจจุบันนี้ เรียนบ้างหยุดบ้าง พอจะเรียนได้ก็ลืมเสียกลับมาเรียนใหม่ก็ต้องเริ่มใหม่เรียกว่ายากลำบากเหลือ เกินในการหาความรู้ บางคนเรียนมาถึงอายุ ๑๕-๑๖ ปี พ่อแม่ก็ให้บวชเณรเป็นระยะเพื่อเรียนวิชา ที่บวชแล้วเรียนเรื่อยไปถึงบวชพระก็มี


    เมื่อได้บวชเป็นพระในวัดก็แบ่งออกเป็นสองแผนก คือ พระองค์ไหนบวชใหม่แล้วมีปัญญาดีชอบทางอักษรศาสตร์ ก็จะเล่าเรียนบาลี การแปรพระธรรมบท และอักขระเลขยันต์ คาถาอาคม ตลอดจนการปลุกเสก วิปัสสนากรรมฐาน พระเวทย์วิทยามนต์ การแพทย์แผนโบราณ เรียกว่าเรียนเพื่อเป็นพระอาจารย์เขา มีทั้งลบผง เสกผง และอุปเทห์ต่าง ๆ ตามคำภีร์โบราณ ซึ่งการเรียนอย่างนี้ส่งผลให้เกิดพระอาจารย์เจ้าที่มีอาคมขลังมามากต่อมา แล้ว ประเภทนี้โดยมากบวชแล้วไม่ยอมสึกตลอดชีวิต


    อีกแผนกหนึ่งบวชแล้วปัญญาไม่ดี หรือไม่ประสงค์จะเรียนทางวิชาอักษรศาสตร์ ก็เรียนทางการช่างต่าง ๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างปั้น การช่างฝีมือสารพัด เรียกว่าเมื่อครบพรรษาแล้วสึกออกมาก็มีความรู้ติดตัวออกมาประกอบอาชีพได้ สารพัด ประเภทหลังนี้มักจะบวชชั่วคราวเพียงพรรษาเดียว หรือสองพรรษาแล้วก็สึกไปทำมาหากิน ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ การให้ศึกษาของวัดหนองโพต่อบุตรหลานของบ้างหนองโพ แต่หลวงพ่อเดิมมิได้ไปศึกษาดังเช่นเขาอื่น เพราะเป็นบุตรคนหัวปีของพ่อแม่ จึงไม่ค่อยจะได้เข้าวัดเรียนหนังสืออาจจะเรียนบ้าง แต่เนื่องจากความลำบากในการเรียนที่กล่าวมาแล้ว หลวงพ่อเลยไม่ยอมเข้าเรียนก็เป็นได้


    ชีวิตในวัยรุ่นของหลวงพ่อเดิม
    เมื่อกล่าวถึงชีวิตในเยาว์วัยของหลวงพ่อเดิมแล้ว ก็จะขอว่าถึงชีวิตในวัยรุ่นของหลวงพ่อ ดังปรากฏในบันทึกว่า
    ๑. ชอบเลี้ยงสัตว์ เมื่อท่านอยู่ในวัยรุ่นท่านชำนาญในเรื่องนกเขามาก เรียกว่าดูลักษณะและฟังเสียงได้คล่อง เข้าใจว่าเรียนมาจากนายพรานดักนกในหมู่บ้าน ท่านชอบดักนก และต่อนกเขามาก มีนกต่อเสียงดีหลายตัว ทำการต่อนกเขามาเลี้ยง มีบางครั้งท่านเห็นใครมีนกดีก็เอาของไปแลกกับเขา ถ้าชอบใจแล้วเป็นไม่บ่น รักสัตว์ทุกชนิดมาแต่รุ่นหนุ่ม จึงติดมาถึงเมื่อบวชแล้วก็รักสัตว์และเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งานก่ไปแลกนกเขา เรื่องรักสัตว์นี้ มีเรื่องเล่าอยู่ว่าครั้งหนึ่งโยมบิดาได้ซื้อตุ้มหูระย้าให้ข้างหนึ่งให้ใส่ หู ท่านได้นำตุ้มหูไปแลกนกเขา ความรู้ไปถึงหูโยมบิดามารดา จึงถูกว่ากล่าวเอาบ้าง ท่านก็ลงทุนไปเหลาเพลาเกวียนขายเพื่อรวบรวมเงินมาคืนให้โยมบิดามารดาจบครบ ไม่ยอมเสียนกเขา


    ๒. ลักษณะพิเศษประจำตัว (ผ้าขาวม้าโพกศรีษะ) ปกติหลวงพ่อเดิมเมื่อรุ่นหนุ่มจะไปไหน มักจะเอาผ้าขาวม้าโพกศรีษะอยู่เสมอ เรื่องนี้เล่าว่า โบราณเขาว่า คนผมหยิก หน้ากร้อ คอสั้น ฟันขาว มักจะไม่มีใครคบ แต่หลวงพ่อเองแม้จะมีผมบนศรีษะหยิก แต่ท่านกลับมีผิวขาว สูงโปร่ง หน้ายาว ศรีษะนูนอันผิดกับตำรา แต่เมื่อท่านมีผมหยิกท่านจึงเอาผ้าโพกเสียเพื่อไม่ให้ถูกล้อเลียน อาจจะเป็นปมด้อยของท่านท่านอาจจะคิดไปว่าคนคงจะไม่ชอบจึงตัดปัญหาเสียด้วย การปิดบังศรีษะ)


    ๓. ไม่มีนิสัยติดโลกีย์ ในวัยหนุ่มสาวนั้นหนุ่มสาวในหมู่บ้านหนองโพมักจะไปร่วมงานต่าง ๆ เช่น ช่วยบ้านสาวปั่นด้าย ทอผ้า ช่วยทำนา ช่วยทำงานรอบกองไฟในเวลากลางคืน หมายตาสาว ๆ ไว้เพื่อเป็นคู่หมั้นคู่หมายต่อ ๆ ไป เรียกว่า มีโอกาสก็เกี้ยวพาราสีกันตามทำนอง อยู่ในศีลธรรมอันดี ซึ่งสมัยโบราณเขารักษาประเพณีอันดีงามไว้ ผิดกับสมัยนี้มาก แต่ในจำนวนนั้นไม่มีหลวงพ่อเดิมอยู่ด้วย เพราะท่านไม่ชอบ คืออาจะเป็นกุศลประจำตัวของท่านที่จะได้บวชเรียนทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธ ศาสนา เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้วท่านอาจจะไม่ได้เป็นหลวงพ่อเดิมให้เราได้พึ่งบารมี ก็ได้ ในระหว่างที่หนุ่มสาวเขานั่งคุยกัน ช่วยกันทำงานนั้น หลวงพ่อจะทำบ้างก็คือ มักจะแอบเข้าไปใกล้ ๆ แล้วเอาก้อนดินบ้าง คันยิงกระสุนบ้าง หรือท่อนไม้บ้าง มาปาใส่กองไฟ เพื่อให้เขาตกใจเอะอะกันพอเขาวุ่นวายท่านก็ชอบใจแอบไปหัวเราะคนเดียวใคร ๆ เขาก็รู้ว่าเป็นฝีมือท่านเขาก็ให้อภัย เพราะรู้ว่าท่านชอบสนุกและไม่มีเจตนาจะทำให้ใครแตกกับใครหรือหันมารักท่าน


    ๔. ไม่เคยศึกษามาก่อนเลยในวัยรุ่น เป็นการแน่นอนว่าเมื่อท่านยังอยู่ในวัยรุ่นนั้น ท่านมิได้เล่าเรียนมาก่อนเลย แต่หากเรียนทีหลังทั้งนั้น (เมื่อบวชแล้ว) ท่านศึกษาเอาจากประสพการณ์ทั้งทางด้านช่างด้านการเลี้ยงสัตว์ ด้านการทำของต่าง ๆ ที่จำเป็น เรียกว่าแม้จะไม่เรียนหนังสือแต่ก็หาประสพการณ์เอาไว้หลายด้าน


    สรุปแล้วหลวงพ่อเดิมท่านออกจะแปลกกว่าคนอื่น ในรุ่นเดียวกันคือไม่ติดในกิเลสความรักของหนุ่มสาวในวัยอันสมควร ไม่ยินดียินร้าย จึงเป็นสาเหตุให้ท่านบวชได้นานจนตลอดชีวิต โดยมิได้เคยมีความรักหรือรู้จักความรักมาก่อนเลยในชีวิต เรียกว่าบริสุทธิ์ผุดผ่องมาก่อนจะเข้าอุปสมบท มีบุญเก่ามาเกื้อหนุนให้ท่านได้ดำเนินตามรอยพระพุทธบาทจวบจนสิ้นอายุขัยของ ท่าน


    ขอบคุณที่มาและอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : หนังสือ กิตติคุณหลวงพ่อเดิม ธนิต อยู่โพธิ์ เรียบเรียง<table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"><tbody><tr><td>

    </td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"> <tbody><tr> <td>
    ๒. วัดเขาภูคาจุฬามณี

    วัดเขาภูคาบ้างก็เรียกวัดถ้ำเขาภูคา ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นวัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยการดูแลของ พระอธิการสุชาติ อุชุโก ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

    วัดเขาภูคามีถ้ำอันศักดิ์สิทธิ์น่าเที่ยวชม บนยอดจะประดิษฐ์พระเกศแก้วจุฬามณี พระพุทธรูปครึ่งองค์ และอยพระพุทธบาทพระสิทธัตถะ (เป็นพระพุทธบาทอันแท้จริงซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกแผ่นดินแล้ว) ซึ่งโดยรอบพระพุทธบาทจะครอบด้วยมณฑปขนาดใหญ่ มีความสงบร่มเย็นเหมาะแก่การปฏิบัติเจริญสมาธิ จึงได้มีญาติโยมในท้องถิ่นและชาวจังหวัดใกล้เคียงหลั่งไหลกันมาปฏิบัติธรรม และเยี่ยมชมสิ่งประดิษฐ์อันงดงามที่ธรรมชาติและบรรพบุรุษได้บรรจงสร้างให้แก่ชนรุ่นหลัง


    ประวัติรอยพระพุทธบาท
    ขณะที่สร้างพระเกศแก้วจุฬามณีนั้นเป็นเวลาหลายครั้งหลายคืน ชาวบ้านที่มาช่วยกันขนปูนทรายก็ได้เห็นว่ามีแสงรัศมีสีเขียวนวลพุ่งขึ้นมา จากด้านหลังของพระเกศแก้วหรือทางทิศเหนือ

    วันหนึ่งขณะที่หลวงพ่อพลอย เตชพโล สร้างพระเกศแก้ว ได้มีพระเพื่อนของหลวงพ่อพลอย ได้เดินทางปฏิบัติธรรมเจริญภาวนาบนยอดเขาภูคา ท่านเดินไปเห็นมีอ่างน้ำขนาดเล็ก ๆ ซึ่งมีดอกบัวสีม่วงขึ้นอยู่ในอ่าง จึงได้ปักกลดอยู่บริเวณนั้น จึงนิมิตเห็นภาพคล้ายรอยพระพุทธบาท จึงมาขอแรงชาวบ้านมาขุดและล้างทำความสะอาดโกยดินออกหมดเห็นรอยเท้ามี ๕ นิ้วจึงแน่ในว่าต้องเป็น "รอยพระพุทธบาท" ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยลักษณะนั้นทรงเหยียบที่ใดแม้โรยฝุ่นขาวก็ จะไม่ปรากฏรอยให้เห็น แต่ถ้าประสงค์จะให้ปรากฏรอยแม้หินผาหรือแผ่นเหล็กก็จะอธิษฐานให้ปรากฏได้ ใหญ่เล็กตามปราถนา ด้วยเหตุนี้หลังจากนั้นหลวงพ่อพลอยได้ถ่ายภาพรอยพระพุทธบาทที่พบไปให้กรม ศิลปากรพิสูจน์ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่แท้จริงหรือไม่ ปรากฏว่า เป็นรอยพระพุทธบาทถูกต้องตามพุทธลักษณะ จึงขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกแผ่นดินว่าเป็น "รอยพระพุทธบาทหินเป็นตามธรรมชาติ"


    ขอบคุณที่มา : วัดเขาภูคาจุฬามณี: ภูเขาอันเป็นโภคสมบัติของแผ่นดิน




    [​IMG]
    ๓. วัดพระปรางค์มุนี

    ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงหมู่ ตรงข้ามวิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ประมาณกิโลเมตรที่ ๑๓๔-๑๓๕ (ทางไปอำเภอพรหมบุรี) จะเห็นองค์พระปรางค์สี่เหลี่ยมสูงเด่น ใกล้กับองค์พระปรางค์เป็นวิหารหลวงพ่อเย็น พระพุทธรูปปูนปั้นศักดิ์สิทธิ์สมัยอยุธยา ด้านข้างวิหารมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นกรุพระเก่าแก่ที่ทางวัดได้ขุดดินบริเวณนั้นมากลบวิหาร ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือชาวบ้านเขียนโดย นายเพ็ง คนลาว เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๖๒ แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับนรก สวรรค์ แต่ยังคงความงดงามไม่แพ้ที่อื่น




    [​IMG]
    ๔. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนวรวิหาร

    ชาติภูมิ ท่านเจ้าคุณพระราชสิทธิมงคล ( สวัสดิ์ จิตตะทส ) เกิดวันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๘ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๐ ณ บ้านเลขที่ ๑๕ หมู่ ๒ ตำบลราชคราม อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ นายอยู่ จิตตะทส มารดาชื่อ นางไหม จิตตะทส ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๓ คน เป็นหญิง ๒ คน ชื่อจันและอิน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง

    บรรพชา
    ครั้งที่ ๑ เมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้บรรพชาในงานฌาปนกิจศพของมารดา คลองเพศสามเณรอยู่ ๓ ปี
    ครั้งที่ ๒ หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดบ้านสร้าง ได้จัดบรรพชาให้อีกครั้งหนึ่ง จนอายุครบบวชท่านจึงทำการอุปสมบทให้

    อุปสมบท
    เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ณ วัดทองจันทริการามพระอุปัชฌาย์ พระครูนิเทศธรรมกถา เจ้าอาวาสวัดบ้านสร้าง พระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการกรีสัมมานัย
    เจ้าอาวาสวัดทองจันทริการาม พระนุสาวนาจารย์ พระครูนิเทศธรรมโกศล เจ้าอาวาสวัดพะยอม

    ปัจจุบันท่านเจ้าคุณพระราชสิทธิมงคลมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด พระนครศรีอยุธยา และเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุ ๘๙ ปี พรรษา ๖๙ ปี ท่านเป็นที่เคารพรักศรัทธา เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้า ประชาชน ครูบาอาจารย์ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง แม้บุคคลต่างศาสนา ต่างชาติ เช่น ชาวสิงคโปร์ก็เดินทางมาปฏิบัติธรรมและพักค้างคืนที่วัดศาลาปูนอยู่เป็นประจำ จนท่านได้เปิดสาขาวัดไทยในประเทศสิงคโปร์มีพระภิกษุไทยไปประจำเป็นสาขาของ วัดศาลาปูน ชื่อ ” วัดพุทธสันติธรรม “

    ขอบคุณที่มา : http://www.buddhawax.com



    [​IMG]
    ๕. หลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์

    วัดตูม ตั้งอยู่ริมถนนสายประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้เป็นที่สำหรับลงเครื่องพิชัยสงคราม วัดตูมได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เรื่อยมาและได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอาราม หลวงในรัชกาลที่ ๔

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินหลายครั้ง โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการทำพิธีลงยันต์และอักขระลงในธงพระครุฑผ่าห์เพื่อพระราชทานเป็นธงไชยเฉลิมพลแก่ทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญภายในวัดตูม คือ "หลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์"เป็นพระพุทธรูปสำริด ทรงเครื่องปางมารวิชัย โดยมีลักษณะพิเศษ คือ บนพระเศียรขององค์พระสามารถเปิดออกและมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดเวลา เชื่อกันว่าเป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาโรคภัยให้หายได้ และผู้มีขอพรมักจะประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะในด้านอาชีพหน้าที่การงาน

    ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดียวัดตูม
    </td> </tr> </tbody> </table><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"><tbody><tr><td>
    </td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="99%"><tbody><tr><td>
    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2011
  5. เดือนสาม

    เดือนสาม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +45
    จอง 1ที่ค่ะ (เมารถ) :VO
     
  6. HeartofDragon

    HeartofDragon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +285
    HeartofDragon จอง 1 ที่ (เมาสังขาร) ขอโด๊ป เอ็ม 100 = 1 โหล
     
  7. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รับทราบและปรับปรุงรายชื่อให้แล้วค่ะ

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
  8. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับทุกท่านที่ได้ร่วมกัน
    แสวงบุญและทำบุญสร้างกุศลทุกอย่าง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  9. kacher

    kacher เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    504
    ค่าพลัง:
    +235
    พี่กาแฟจองสองที่จร้า^^
     
  10. ปาริสุทธิ์

    ปาริสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +817
    น้องหญิงคะ 1 ที่ก่อนค่ะ
     
  11. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    รับทราบและปรับปรุงรายชื่อให้แล้วค่ะ

    (ว่าง ๓ ที่)
     
  12. toy384

    toy384 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +38
    จองงานเข้า/ออกนิโรธครูบาวิฑูลย์

    ขอจองชุดที่2 หนี่งที่, ชุดที่3 หนี่งที่ค่ะ
    สัมพันธ์ ส.ว.ค่ะ
     
  13. HeartofDragon

    HeartofDragon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +285
    ขอจองเพิ่ม 1 ที่ วันออกนิโรธกรรม ชุดที่ ๓ วันออกนิโรธกรรม
    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ก.ย. ๕๔

    --------------------------------------------------------------------

     
  14. HeartofDragon

    HeartofDragon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +285
    ได้โอนค่าทริป ชุดที่ ๒ (๑๗-๑๘ ก.ย) และ ชุดที่ ๓ (๒๕ ก.ย.) เรียบร้อย วันที่โอนเงิน ๒๑ ส.ค. ๒๕๕๓ เวลา ๕.๔๐ น.

    ---------------------------------------------------------------------

     
  15. KAMASA

    KAMASA Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +96
    จอง 2 ที่นั่ง ชุดที่ ๓ วันออกนิโรธกรรมครับ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ก.ย. ๕๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 สิงหาคม 2011
  16. จุติญาณ

    จุติญาณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +91
    จุติญาณ จองชุดที่ ๒ หนึ่งที่
    และชุดที่ ๓ หนึ่งที่ครับ
     
  17. รุจาภา

    รุจาภา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +30
    ชุดที่ ๒ ร่วมงานเข้านิโรธฯ /งานอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี หลวงปู่ครูบาอ่อน(๒ วัน ๑ คืน) 17-18 ก.ย. 2554

    จอง 2 ที่นั่งค่ะ คุณรุจาภา เตโชมงคล 081-4940399
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  19. ปาริสุทธิ์

    ปาริสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +817
    น้องหญิงคะชุดที่ 2 อีก 1 ที่ และชุดที่ 3 2 ที่ ค่ะ ขอบคุณ
     
  20. kacher

    kacher เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    504
    ค่าพลัง:
    +235
    ชุดที่ ๓ วันออกนิโรธกรรม

    พี่กาแฟจองเพิ่ม 2 ที่จ๊ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...