เว็บพลังจิต ประมวลภาพเยือนภูทอก ทอดผ้าป่าวัดป่าเมืองอีสาน 10-12 ธ.ค.54 P.20

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 28 กรกฎาคม 2011.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    กำหนดการเยือนภูทอก (๓) วันทืี่ ๑๐-๑๒ ธ.ค.๕๔

    [​IMG]
    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)


    ทริปธรรมเฉพาะกิจ (๑๑) วัดเจตียาคีรีวิหาร (ภูทอก) ไหว้พระอริยสงฆ์ ถวายผ้าป่าสามัคคี ๑๓ วัด ๖ เมืองอีสาน จ. บึงกาฬ-นครราชสีมา-ขอนแก่น-หนองบัวลำภู-อุดรธานี-สกลนคร วันที่ ๑๐-๑๒ ธ.ค. ๕๔ (๓ วัน ๒ คืน)


    กำหนดการเดินทาง
    โดยรถตู้ปรับอากาศ VIP ๑๐ ที่นั่ง

    วันเสาร์ที่ ๑๐ ธ.ค.๕๔ (กรุงเทพ-ขอนแก่น-หนองบัวลำภู-อุดรธานี)
    ๐๕.๐๐ น. จุดนัดพบ ปั๊มน้ำมัน ปตท.สนามเป้า
    - ตรวจสอบรายชื่อ
    - ล้อหมุน


    เดินทางกราบนมัสการพระอริยสงฆ์ และถวายผ้าป่าสามัคคี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> ครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน วัดป่ากล้วยไม้ดิน (สำนักสงฆ์อรัญวิโมกข์) อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ วัดป่าสุจิณโณ อ. บ้างฝาง จ. ขอนแก่น
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> หลวงปู่สาย เขมธมฺโม วัดป่าพรหมวิหาร อ. โนนสัง จ. หนองบัวลำภู
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตฺธมฺโม วัดป่าธรรมประดิษฐ์ อ. เพ็ญ จ. อุดรธานี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺทาทีโป วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

    ๒๐.๐๐ น. เข้าที่พัก พักผ่อนตามฺิอัธยาศัย

    วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธ.ค. ๕๔ (อุดรธานี-สกลนคร-บึงกาฬ-ภูทอก)
    ๐๕.๐๐ น. ตื่นทำธุระส่วนตัว
    ๐๖.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า
    ๐๖.๓๐ น. ล้อหมุน
    เดินทางกราบนมัสการพระอริยสงฆ์ และถวายผ้าป่าสามัคคี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่บุญมา คมฺภีรธมฺโม วัดป่าสีห์พนมประชาราม อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่เนย สมจิตฺโต วัดป่าโนนแสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่เณรคำ (พระมหาประดับ) วัดป่าประดับทรงธรรม อ. คำตากล้า จ. สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่อุดม ญานรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมาราม อ. พรเจริญ จ. บึงกาฬ
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงตาแยง สุขกาโม วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
    - กราบนมัสการหลวงตา
    - เข้าทีพัก จัดเก็บสัมภาระ
    - ไหว้พระ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมชมวิวมุมสูงของภูทอก
    - ร่วมสวดมนต์ทำวัตรเย็น หรือปฎิบัติธรรม (ตามอัธยาศัย)
    - พักผ่อน

    วันจันทร์ที่ ๑๒ ธ.ค. ๕๔ (ภูทอก-บึงกาฬ-กรุงเทพ)
    ๐๔.๐๐ น. ตื่นทำธุระส่วนตัว
    - ร่วมสวดมนต์ทำวัตรเช้า (ตามอัธยาศัย)
    - กราบนมัสการลาหลวงตา และกราบถวายผ้าป่า

    ๐๗.๓๐ น. ล้อหมุน
    เดินทางกราบนมัสการพระอริยสงฆ์ และถวายผ้าป่าสามัคคี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ (งดถวายผ้าป่า)
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม วัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต) อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ

    ๒๔
    .๐๐ น. เดินทางถึงกรุงเทพฯ โดยประมาณ

    ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่านละ ๓.๐๐๐ บาท
    (ราคานี้รวมค่าเดินทาง-ค่าทีี่พักรวมอาหารเช้า-ประกันอุบัติเหตุ)


    ทริปธรรมเฉพาะกิจ (๑๑) ปิดรับจองที่นั่งและโอนเงินในวันศุกร์ที่ ๒๕ พ.ย. ๕๔ เวลา ๒๐.๐๐ น. หรือจนกว่าที่นั่งจะเต็ม


    ท่่านที่ประสงค์จะร่วมเดินทาง กรุณาโอนเงินค่าพาหนะเดินทางตามจำนวนที่กำหนดข้างต้นเข้าบัญชีตามข้างล่างนี้ และมาโพสต์ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้และจำนวนเงินที่โอนให้ทราบด้วย

    ชื่อบัญชี : ณญาดา ศราภัยวานิช
    ธนาคาร : กรุงไทย ประเภทออมทรัพย์ สาขาบางบัวทอง
    เลขที่บัญชี : ๑๒๑-๐-๑๐๕๔๕-๔ (121-0-10545-4)
    โทรศัพท์ : ๐๘๑-๗๓๕๙๒๖๑ (081-7359261)


    ท่านที่สำรองที่นั่งหรือโอนเงินแล้วต่อมาประสงค์จะยกเลิกการเดินทาง ขอให้แจ้งภายในวันที่ ๒๔ พ.ย. ๕๔ หากไม่แจ้งภายในกำหนดดังกล่าว ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนเงินค่าเดินทางให้หากปรากฏว่าการยกเลิกล่าช้าของท่านทำให้ตัดสิทธิ์ของบุคคลอื่นและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้จัด

    ในการโอนเงินคืนจะมีค่าธรรมเนียมการโอน ๒๕ บาท ซึ่งจะหักจากยอดเงินค่าเดินทางของท่าน หากมีเงินเหลือหลังจากชำระค่าใช้จ่ายทุกส่วนแล้ว ผู้จัดขออนุญาตนำเงินคงเหลือทั้งหมดเข้ากองทุนบึงลับแลเพื่อใช้ในทุกกิจกรรมบุญต่อไป


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รายนามผู้ร่วมบุญ-ร่วมเดินทาง

    <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1"> [​IMG] รายนามผู้ร่วมบุญผ้าป่าสามัคคี
    ๑. คุณอาหลี_99 จำนวน ๓,๐๐๐ บาท (ต้นบุญเจ้าภาพเครื่องอัฐบริขาร ๑ ชุด น้อมรับไม้ขัดฟันหลวงปู่เคน)
    ๒. กองทุนบึงลับแล จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๓. หลาน ๆ สกุล "ศราภัยวานิช" จำนวน ๕๐ บาท
    ๔. คุณวีรศักดิ์ จำนวน ๑๐๐ บาท (อุทิศให้นายกิมซัว แซ่ตั้ง และนางจุ้ยงิ้ง แซ่เล้า)
    ๕. คุณ tom_tassanee จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๖. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๕๕๐ บาท
    (เครื่องอัฐบริขาร)
    ๗. คณะกัลยาณธรรมกฐินสามัคคี ๔ ภาค (ภาคอีสาน) จำนวน ๘,๓๐๐ บาท (วัดป่าสีห์พนมประชาราม ๒,๐๐๐ บาท-ผ้าไตรถวายวัดต่าง ๆ ๖,๓๐๐ บาท)
    ๘. คุณวารุนี และครอบครัว จำนวน ๑๑๑ บาท
    ๙. คุณ pat3112 จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๐. คุณ t1 จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๑๑. คุณนก จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๒. ชมรมมหาบารมี จำนวน ๑,๐๐๐ บาท

    ๑๓. คุณพีระสันห์-สมจิตร พิทักษ์ และครอบครัว จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๑๔. คุณเดือนสาม จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๑๕. คุณปาริสุทธิ์ จำนวน ๓,๐๐๐ บาท* (เครื่องอัฐบริขาร)
    ๑๖. คณะอัสนีตย์-เสาวนี จำนวน ๓,๐๐๐ บาท (เครื่องอัฐบริขาร)
    ๑๗. คุณเกสรมณีช์ จำนวน ๓,๐๐๐ บาท (เครื่องอัฐบริขาร)
    ๑๘. คุณ kuppa20 จำนวน ๘๐๐ บาท

    รวมเงินร่วมบุญ ณ วันที่ ๙ ธ.ค. ๕๔ จำนวน ๒๔,๖๑๑ บาท*





    [​IMG] รายนามผู้ร่วมเดินทาง
    ๑. คุณ ญ.ผู้หญิง จ่ายแล้ว ลว. ๒/๑๑/๕๔
    ๒. คุณ ๒๐๑๑
    * จ่ายแล้ว ลว. ๒/๑๑/๕๔
    ๓. คุณ thongchai394 จ่ายแล้ว ลว. ๒/๑๑/๕๔
    ๔. คุณ vena จ่ายแล้ว ลว. ๒/๑๑/๕๔
    ๕. คุณอาหลี 99 (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๒/๑๑/๕๔
    ๖. คุณอาหลี 99 (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๒/๑๑/๕๔
    ๗. คุณอาหลี 99 (๓) จ่ายแล้ว ลว. ๒/๑๑/๕๔ (มังสะวิรัติ)
    ๘. คุณจุติญาน (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๖/๑๑/๕๔ (มังสะวิรัติ)
    ๐. คุณจุติญาน (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๖/๑๑/๕๔ ขอถอนตัว ลว.๒๑/๑๑/๕๔ คืนเงินเต็มจำนวน
    ๙. คุณอัสนี* (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๗/๑๑/๕๔
    ๑๐. คุณอัสนี* (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๗/๑๑/๕๔
    ----------------------
    ๑๑. คุณเสาวนิตย์ (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๗/๑๑/๕๔
    ๑๒. คุณเสาวนิตย์ (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๗/๑๑/๕๔
    ๑๓. คุณเสาวนิตย์ (๓) จ่ายแล้ว ลว. ๗/๑๑/๕๔
    ๑๔. คุณเกสรมณีช์* (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๗/๑๑/๕๔
    ๑๕. คุณเกสรมณีช์ (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๗/๑๑/๕๔
    ๑๖. คุณเดือนสาม* จ่ายแล้ว ลว. ๘/๑๑/๕๔
    ๑๗. คุณ pete_thailand จ่ายแล้ว ลว. ๘/๑๑/๕๔ (ศีล ๘)
    ๑๘. คุณขวัญ09* จ่ายแล้ว ลว. ๙/๑๑/๕๔
    ๑๙. คุณ Piticha* (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๒๒/๑๑/๕๔
    ๒๐. คุณ Piticha (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๒๒/๑๑/๕๔
    ----------------------
    ๒๑. คุณ toy384 จ่ายแล้ว ลว. ๒๓/๑๑/๕๔
    ๒๒. คุณน้ำใส จ่ายแล้ว ลว. ๒๔/๑๑/๕๔
    ๒๓. คุณ HeartofDragon จ่ายแล้ว ลว. ๒๔/๑๑/๕๔
    ๒๔. คุณปาริสุทธิ์* (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๒๖/๑๑/๕๔
    ๒๕. คุณปาริสุทธิ์* (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๒๖/๑๑/๕๔
    ๒๖. คุณปาริสุทธิ์* (๓) จ่ายแล้ว ลว. ๒๖/๑๑/๕๔
    ๒๗ คุณปาริสุทธิ์ (๔) ขอชำระ ลว. ๑๐/๑๒/๕๔
    ๒๘. คุณปาริสุทธิ์ (๕) ขอชำระ ลว. ๑๐/๑๒/๕๔
    ๒๙. คุณกาแฟ (๑) ขอชำระ ลว. ๑๐/๑๒/๕๔
    ๓๐. คุณกาแฟ (๒) ขอชำระ ลว. ๑๐/๑๒/๕๔

    รวมจำนวน ๓๐ คน
    (เต็ม)




    :cool: หมายเหตุ
    ๑. * หมายถึง สมาชิกที่เป็น สว. หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เมารถ
    . แจ้งยกเลิกการเดินทางภายใน : วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พ.ย. ๕๔
    . ปิดรับการโอนชำระเงิน : วันศุกร์ที่ ๒๕ พ.ย. ๕๔ เวลา ๒๐.๐๐ น.
    ๔. ประกาศผังที่นั่ง : วันจันทร์ที่ ๒๘ พ.ย. ๕๔

    ๕.
    ให้สิทธิ์ที่นั่งตามสมาชิกที่ชำระเงินเข้ามาตามลำดับ และจะเปิดรับที่นั่งทดแทนในกรณีที่มีสมาชิกยกเลิกการเดินทางเนื่องจากงานเข้า และหรือพิจารณาจัดรถเพิ่มในกรณีที่มีสมาชิกแ้จ้งความประสงค์ร่วมเดินทางและชำระเงินเข้ามาครบ ๑๐ คน และในกรณีไม่ครบ ๑๐ คนแต่ประสงค์จะร่วมเดินทาง คันที่สมาชิกไม่ครบจะต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเพิ่มตามสัดส่วน ดังนี้
    - เดินทาง ๑๐ ที่นั่ง อัตรา ๓,๐๐๐ บาท/คน
    - เดินทาง ๘-๙ ที่นั่ง เก็บเพิ่ม ๓๐๐ บาท/คน*
    - เดินทาง ๖-๗ ที่นั่ง เก็บเพิ่ม ๔๐๐ บาท/คน*
    (* เก็บเพิ่มหน้างานในวันเดินทาง)

    ๖. สมาชิกท่านใดที่โอนชำระค่าเดินทางแล้วกรุณารักษาสิทธิ์ของท่าน โดยการโพสต์หรือส่ง SMS ที่เบอร์ ๐๘๑-๗๓๕๙๒๖๑ (081-7359261) แจ้งชื่อ-วัน-เวลาและจำนวนเงินที่โอนให้ทราบเพื่อปรับปรุงข้อมูล
    . สมาชิกทุกท่านจะต้องจัดส่งข้อมูลส่วนตัว พื่อใช้ในการทำประกันมายังผู้จัดภายในวันที่ ๑๖ ธ.ค.๕๔ ตามรายละเอียด ดังนี้
    ๑. นามแฝงที่ใช้ในเว็บ
    ๒. ชื่อ-สกุล-หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน-อายุ
    ๓. ที่อยู่-เบอร์โทรศัพท์
    ๔. ชื่อ-สกุล-เบอร์โทรศัพท์ของบุคคลที่สามารถติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน


    โดยทุกท่านสามารถจัดส่งข้อมูลเข้ามาได้ ๓ ช่องทาง
    ๑. หน้ากระทู้
    ๒. PM
    ๓. E-Mail : papa3107@gmail.com
    (ข้อมูลของทุกท่านจะถูกจัดเก็บไว้เป็นความลับ ไม่มีการเผยแพร่ ยกเว้น บริษัทประกันฯ หรือผู้ที่ต้องรับรู้ข้อมูล)

    ท่านใดที่ไม่จัดส่งข้อมูลภายในระยะเวลาที่กำหนด ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่จัดทำประกันให้



    __________________
    พลังจิตธรรมสัญจร ๕๔ (เดือนของพ่อ) [​IMG]
    ยบาร<wbr>มี[/COLOR]
    ๑๐-๑๒ ธ.ค. เยือนภูทอก ไหว้พระอริยสงฆ์ ผ้าป่าสามัคคี ๑๓ วัด ๖ เมืองอีสาน จ.บึงกาฬ
    ๑๗-๑๘ ธ.ค. งานออกนิโรธกรรมพระครูบาวิจิตร มนูญโญ จ.ตาก
    ๒๔-๒๕ ธ.ค. ๙ พระบาท นมัสการสักการะพระพุทธบาท ๙ รอยเมืองจันท์ จ.จันทบุรี
    เรียนเชิญร่วมบุญพิเศษเพื่อบูรณะวัดหลังน้ำลด ชดที่ ๑ น้อมรับวัตถุมงคล ๑๖ ม.ค.๕๕
    บันทึกความทรงจำ กับวันนี้....ที่บางบัวทอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2011
  3. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ๓๘ อานิสงส์ถวายสัพพทาน

    ๓๘ อานิสงส์ถวายสัพพทาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ
    ๑. ให้ของที่สะอาด
    ๒. ให้ของประณีต
    ๓. ให้ถูกกาล
    ๔. ให้ของที่สมควร
    ๕. เลือกให้
    ๖. ให้เสมอ ๆ
    ๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส
    ๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ
    สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา

    ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนายอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอาประธูป ประทีปคันธรสของหอม แล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใดเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตรนรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธามาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า

    สร้างพระพุทธรูป ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
    สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็จักได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
    บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
    บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป
    สร้างพระธาตุเจดีย์ ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป

    ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์
    ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
    ให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
    สร้างเจดีย์ทราย ก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
    สร้างกุฏีให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    สร้างอุโบสถให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป

    สร้างกฐินให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
    สร้างอารามให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
    สร้างพัทธสีมาให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป
    ได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
    บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป

    ภรรยา
    บวชสามีของตนให้เป็นสามเณร
    ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป
    สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป

    สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    สร้างรั้วล้อมอาราม ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอาราม ก็ัจักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    สร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป
    ถวายดอกไม้ธูปเทียน ก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป

    สร้างอัฏฐให้เป็นทาน
    ก็จักได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป
    ถวายจีวรเถราภิเษก ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    ถวายผ้าป่า ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ให้ฝาผนังและเพดานเป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    สร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป

    สร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัย ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    สร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓ กัลป
    สร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์

    สร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทาน
    ก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
    ถวายเสื่อสาดอาสนะ ก็จักได้อานิสงส์ ๔ กัลป
    ถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำ ก็จักได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป

    สร้างธรรมาสน์ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    สร้างเวจกุฏี ก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ก็จักได้บริวารหมื่นหนึ่ง
    ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ก็จักได้บริวาร ๓ หมื่น
    ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดา ก็จักได้บริวารหนึ่งแสน
    ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็จักได้บริวารโกฏิหนึ่ง
    ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำ ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป

    สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้ บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจสละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า
    อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้าถือตา ไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้าม สยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาดปรารถนาสมประสงค์ ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ยามา ตุสิตาโดยลำดับ จนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้ไปเกิดในเหตุที่ชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่ง มั่งมี เศรษฐีแล้วก็จักได้ไปมาบารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน พอจบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์สาม ส่วนบริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันต์

    ขอบคุณที่มา : ๓๘ อานิสงส์ถวายสัพพทาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  4. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักประวัติพระอริยสงฆ์ที่จะไปกราบในทริปนี้กันเถอะ.....

    [​IMG]


    ครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน
    วัดป่ากล้วยไม้ดิน
    อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา


    ครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ณ สถานีอนามัยสามพราน ตำบลท่าสละ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายสุภกิจ ทัพประเสริฐ และนางลำพัน สงวนทรัพย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่วัดสรรเพชญ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีฉายาว่า “พระพิพัฒน์วชิรมโน” โดยมีพระครูสิริชยาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    • พ.ศ. ๒๕๓๙ วัดสรรเพชญ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ท่านสอนกัมมัฏฐานให้แก่ชาวบ้านตั้งแต่บวชได้เพียงแค่ ๓ วัน เนื่องจากสมัยท่านเป็นฆราวาส ได้ศึกษาพื้นฐานการปฏิบัติมาก่อนแล้ว

    • พ.ศ. ๒๕๔๐ วัดหลวงพ่อเขียว อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากพระครูไพโรจน์ ธนารักษ์ และได้เดินทางไปธุดงค์ตามที่ต่าง ๆ

    • พ.ศ. ๒๕๔๑ วัดโบสถ์ อำเภอบ้านแพรก จังหวัพระนครศรีอยุธยา ท่านศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มขึ้น และแสดงธรรมแก่ผู้มาศึกษาธรรม ให้ปฏิบัติกัมมัฎฐานอยู่โดยตลอด และในปีเดียวกัน ที่วัดดงกลาง มัชฌิมา จังหวัดตาก ท่านได้สร้างโบสถ์จตุรมุข จำนวน ๑ หลัง

    • พ.ศ. ๒๕๔๓ วัดอ้อมแก้ว ตำบลไผ่หลิ่ว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ท่านปักกลดตรงบริเวณป่าช้าของวัด และค่อย ๆ เริ่มก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อเป็นสถานที่แสดงธรรมเทศนา ทุกวันศุกร์ท่านจะสอนกัมมัฏฐานให้แก่ชาวบ้าน มีประชาชนจำนวนมากมาเรียนกัมมัฏฐาน และทุก ๆ อาทิตย์ ท่านต้องเดินทางไปสอนกัมมัฏฐานที่กรุงเทพฯ ไม่เคยขาด ยกเว้นในช่วงธุดงค์

    ท่านปฏิบัติไม่เคยเห็นแก่เหน็ดเหนื่อย แม้เจ็บป่วยก็ไม่เว้น ท่านบอกว่า

    “กัมมัฏฐานและคำสั่งสอนจากพระพุทธองค์ คือ หัวใจของท่าน ไม่ต้องกลัวเหนื่อย เดี๋ยวตายก็หายเหนื่อยแล้ว จะทำให้ถึงที่สุด”

    ขอบคุณที่มา :
    แนะนำอริยสงฆ์ ครูบาเจ้าเพชร (ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว)
    เครดิตภาพ : ศูนย์พุทธศรัทธา
     
  5. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ
    วัดป่าสุจิณโณ
    อ. บ้างฝาง จ. ขอนแก่น



    ข้อความที่จะเขียนนี้ได้คัดมาจากเป็นเรื่องราวของพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นเรื่องธรรมประวัติและวิถีธรรม ปาฏิหาริย์ "หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ" แห่งวัดป่าศรีอุดมรัตนาราม อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี โดยได้คัดมาจากหนังสือ " เสียดายคนตายไม่รู้ธรรม " ฉบับ " เสียดายก่อนดาย หากไม่ได้สั่งสมอริยทรัพย์ สุดยอดธรรมปฏิบัติภาวนา " ชึ่งเป็นอีกผลงานหนึ่งของคุณโจ หรือคุณ " ภัธกานต์ กิ้มทอง " ศิษย์คนหนึ่งที่เข้ามาคลุกคลีในวงพระปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น จนเลื่อมใสศรัทธาแล้วนำประวัติท่านมาเขียนให้ผู้อ่านได้ทราบกัน

    ในหนังสือนี้มีหลายเรื่องอัศจรรย์ปาฏิหาริย์ ของหลวงปู่ถวิล สุจิณโณ แต่ผมแดนโลกธาตุขอนำมาพิมพ์ลงแค่นี้ก่อนนะครับแค่เรื่องนี้เรื่องเดียวเพราะรู้สึกว่าประวัติท่านมากพอควร...


    ท่านที่สนใจไปหาชื้อมาอ่านได้ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป โดย " คุณโจ " ได้เขียนไว้ คุ้มมากนะครับภายใน ๑ เล่มนี้มีประวัติละเอียดของหลวงปู่ถวิล สุจิณโณ และหลวงปู่สว่าง โอภาโส สองพระอริยเจ้าแห่งวัดป่าศรีอุดมรัตนาราม หนังสือเล่มนี้เพียงแค่ราคา ๑๙๙ บาทเท่านั้นเอง ครับคุ้มมากนะครับ...


    แต่จะนำเรื่องราวในหนังสือตอนหนึ่งมาเกี่ยวกับการไปอุ้มโยมแม่ในนรกของหลวงปู่ถวิล สุจิณโณ ดังนี้ครับ....


    ในคราวหนึ่งหลวงปู่ถวิล สุจิณโณ ได้ไปเจริญธรรมออกวิเวกเที่ยวธุดงค์กรรมฐานเจริญจิตภาวนาจนจิตสงบ กระแสจิตของท่านก็ได้ไปพบเมืองแห่งหนึ่ง เป็นเมืองที่เร่าร้อน ดูแล้วผู้คนช่างไม่มีความสุขเอาเสียเลย มองลงไปก็เห็นเป็นแต่ขุมน้ำเดือดพุ่งปุด ๆๆ ผู้คนทั้งหลายได้ถูกเจ้าหน้าที่บังคับให้ได้ต้องลงไปในที่นั้น เมืองนี้เองที่ถูกขนานนามว่า "นรกภูมิ"


    หลวงปู่ถวิลได้มองดูก้ได้พบผู้หญิงคนหนึ่ง หลวงปู่จำได้ดีว่าคือ " นางเฝีย " ผู้เป็นโยมแม่ของท่าน เหตุที่มารดาของหลวงปู่ที่ต้องมาตกนรกนั้นก็เพราะโทษแห่งการสาวไหม ได้ฆ่าตัวดักแด้หลายหมื่นชีวิต หลวงปู่ได้เห็นโยมมารดาของท่านตกอยู่ในสถานการร์อันหาความสุขมิได้เช่นนั้น จึงได้บอกจ่ายมบาลว่า " งั้นอาตมาขอบิณฑบาตรเถอะ "


    ว่าแล้วหลวงปู่ จึงได้เหาะลงไปอุ้มโยมมารดาของท่านขึ้นมาจากขุมนรกที่มีน้ำเดือดอาบทั่วร่างกายขึ้นมา พออุ้มโยมแม่ขึ้นมาจากขุมนรกแล้ว จะไปหาเสื้อผ้าที่จะมาให้โยมแม่ใส่ก็ไม่มี หลวงปู่จึงได้รำพึงว่า

    " เราเองก็เคยได้ทานเสื้อผ้า ตั้งแต่บวชมานี่ ทานเสื้อผ้าเราก็ยังทำอยู่นะ " " โน่นนะของท่าน ห้องที่อยู่สุด ๆ นั่นแหละห้องของท่าน " เจ้าหน้าที่เมืองนรกชี้บอกหลวงปู่

    เมื่อหลวงปู่ได้เดินไปตามเส้นทางจนสุดทาง ตามคำบอกของเจ้าหน้าที่เมืองนรกแล้ว ท่านก็ได้พบกับห้องหนึ่ง ประตูนั้นก็เปิดออกมา ปรากฏว่าได้มีแต่เสื้อผ้าเก่า ๆ แล้วก็นำมาซักได้นำมาแจกทานให้ญาติโยมได้นุ่งห่มกัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของใดที่เคยให้ทานไว้ทั้งเสื้อผ้า นาฬิกา ในระหว่างที่หลวงปู่ได้มองไปยังห้องต่าง ๆ ที่ถูกจัดเป็นสัดเป็นส่วน ภายในห้องต่าง ๆ ก็เต็มไปด้วยเสื้อผ้าสวย ๆ งาม ๆ ที่เจ้าของอยู่ในเมืองมนุษย์ได้สร้างสมไว้ หลวงปู่จึงหยิบเอาผ้าขาวในส่วนที่เป็นของท่านส่งให้แก่ผู้เป็นมารดานุ่งห่ม


    ในระหว่างที่หลวงปู่ได้ท่องไปในแดนนรกภูมินั้น ท่านได้เห็นมนุษย์ทั้งหญิงและชายเปลือยกายล่อนจ้อน ต่างพากันปีนป่ายขึ้นต้นงิ้วหนาม ครั้นวิ่งขึ้นต้นไม้ก็ถูกสับหัว อีแร้งอีกาก็คอยจิกศรีษะ พอปีนขึ้นต้นงิ้วได้สักพักต้นงิ้วก็น้อมตัวลงมา ชายหญิงเหล่านั้นก็ถูกเจ้าหน้าที่ใช้เหล็กแหลมทิ่มแทงไปตามอวัยวะต่าง ๆ เว้าแหว่งเลือดไหลทั้งองคชาติของผู้ชาย ส่วนผู้หญิงช่องคลอดก็ถูกสับเป็นแผลเหวอะหวะเลือดสาดไหลกระเช็นออกมาอย่างเจ็บปวดทรมาน ในจำนวนคนที่อยู่ในนั้นมีมากมาย นี่เป็นเหตุเนื่องมาจากปกติไม่ชอบผิดศีลข้อที่ ๓ ข้อกาเม สุมิจฉาจาร ขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในสามีภรรยาของผู้อื่นที่มีเจ้าของแล้ว และลูกเมียผู้อื่น
    ที่มิใช่ของตัว

    ผมก็ขออนุโมทนากับผู้อ่านทุกท่านหวังว่าเรื่องราวของหลวงปู่ถวิล สุจิณโณ คงมีประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อนนะครับในทางธรรมปฏิบัติ นี่เป็นเรื่องจริงในธรรมปฏิบัติของพระอริยเจ้า คือหลวงปู่ถวิล นี่เอง


    ในหนังสือเล่มนี้ยังน่าอ่านอีกมากครับหลายเรื่องจริงด้วยกัน ทั้งอิทธิปาฏิหาริย์

    ถ้าท่านผู้อ่านอยากอ่านให้ไปหาซื้อได้ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไปนะครับ ....

    ถ้าข้าพเจ้าได้พิมพ์ตก หรืออย่างไรก็ขอให้องค์หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ ได้อดชึ่งโทษภัยอันนี้แก่ข้าพเจ้าด้วย รวมทั้งท่านผู้รู้ผู้อ่านทั้งหลายอโหสิให้แก่ข้าพเจ้าด้วยนะครับ


    อนุโมทนาบุญครับ


    ขอบคุณที่มา : เว็บลานธรรมจักร

     
  6. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่สาย เขมธมฺโม
    วัดป่าพรหมวิหาร
    อ. โนนสัง จ. หนองบัวลำภู


    ๏ อัตโนประวัติ

    ในยุคปัจจุบัน หากเอ่ยนามพระสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีบารมีธรรมและเมตตาธรรมสูงของเมืองไทย ย่อมปรากฏนามพระอริยสงฆ์อยู่หลายรูปด้วยกัน อาทิเช่น หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย, หลวงพ่อสีทน กมโล วัดสิรินธรวราราม (วัดภูพร้าว) อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี, พระอาจารย์เสวก คุณสังวโร วัดป่าดอนยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เป็นต้น


    รวมทั้งพระอาจารย์ด้านวิปัสสนาธุระที่เลื่องชื่อแห่งเมืองหนองบัวลำภู
    “หลวงปู่สาย เขมธมฺโม” เจ้าอาวาสวัดป่าพรหมวิหาร บ้านภูศรีทอง ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบในสายกัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระสงฆ์ที่ได้คุณธรรมชั้นสูง บำเพ็ญเพียรตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่ายปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็นเป็นร่มโพธิ์ทองของบรรดาพุทธศาสนิกชน ย่อมเป็นที่รู้กันอย่างดียิ่งในหมู่สาธุชนชาวพุทธ

    หลวงปู่สาย เขมธมฺโม มีนามเดิมว่า สาย แสงมฤค เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ ณ บ้านกุดน้ำใส ต.กุดน้ำใส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ คุณพ่อทอก และคุณแม่เคน แสงมฤค


    ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนวัดบ้านนาชม ต.แสนสุข อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ก่อนลาออกมาช่วยครอบครัวประกอบสัมมาอาชีพ


    ๏ การอุปสมบทครั้งแรก

    ในช่วงวัยหนุ่ม ได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเดิมที่จังหวัดร้อยเอ็ดไปอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี และได้สมรสกับนางปาน ผายม มีบุตรด้วยกัน ๒ คน โดยท่านได้หาเลี้ยงครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพทำนาและเลี้ยงปลาขาย เมื่ออายุได้ ๔๘ ปี จึงได้หันเหเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อันเนื่องมาจากท่านได้ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ


    ตอนแรกท่านคิดว่าคงจะเป็นเพราะภูตผีเจ้าที่เจ้าทางมาทำให้ป่วย ตามความเชื่อของคนแถบนั้น จึงได้ทำเครื่องเซ่นไปไหว้ผีเจ้าที่เจ้าทาง แต่ปรากฏว่าอาการป่วยไม่ดีขึ้น จึงฉุกคิดว่าไม่ใช่การกระทำของภูตผีดังที่เข้าใจ ท่านคิดหาสาเหตุอื่นที่ทำให้ป่วย ดำริขึ้นมาได้ว่าครั้งหนึ่งเคยป่วยมาก่อน ครั้งนั้นได้เคยบนเอาไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะบวชแก้บน ต่อมาอาการป่วยหายไปเอง แต่ท่านยังไม่ได้บวช ทำให้ท่านคิดว่าอาจจะเป็นเพราะได้บนบานเอาไว้ แต่ไม่ยอมบวชแก้บน จึงทำให้ต้องกลับมาป่วยอีก เมื่อคิดได้ดังนี้ ท่านจึงตัดสินใจบวชแก้บน โดยเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดโยธานิมิต ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีหลวงปู่อ่อนตา เขมงฺกโร เจ้าคณะอำเภอหนองวัวซอ (ในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์


    ภายหลังเข้ารับการอุปสมบทแล้ว อาการป่วยของท่านก็ได้หายเป็นปลิดทิ้ง แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นการบวชเพื่อแก้บนก็ตาม ท่านก็หมั่นปฏิบัติภาวนาอยู่ไม่ขาด การบวชในครั้งนี้ ท่านครองเพศบรรพชิตอยู่ได้นานถึง ๖ พรรษา ก่อนลาสิกขาออกมา สาเหตุเนื่องเพราะมีคนบอกว่าการบวชแก้บนจะต้องสึก ถ้าไม่สึกจะต้องมีอันเป็นไป เพื่อความสบายใจ ท่านจึงขอลาสิกขามาใช้ชีวิตเพศฆราวาส กลับไปอยู่กับครอบครัวเหมือนเดิม


    ๏ การอุปสมบทครั้งที่ ๒

    หันกลับมาใช้ชีวิตในเพศฆราวาสได้ไม่นาน ต่อมานายสาย แสงมฤค เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลก ตัดสินใจขอบวชอีกเป็นครั้งที่ ๒ และนำเรื่องนี้ไปปรึกษาครอบครัวก่อน ซึ่งภรรยาและบุตรต่างยินดีไม่ขัดข้องในความประสงค์ของท่าน ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ณ พัทธสีมาวัดบุญญานุสรณ์ (วัดป่าหนองวัวซอ) ต.หนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ.หนองบัวลำภู โดยมี
    พระครูประสิทธิ์คณานุการ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุวรรโณปมคุณ เป็นพระกรรมวาจารย์ และ พระครูโสภณคณานุรักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ เขมธมฺโม ” แปลว่า “ ผู้มีธรรมอันเกษม ” อ่านประวัติเพิ่มเิติม คลิก

    ขอบคุณที่มา : เว็บลานธรรมจักร
     
  7. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตฺธมฺโม
    วัดป่าธรรมประดิษฐ์ (สาขาวัดป่าแก้วชุมพล)
    อ. เพ็ญ จ. อุดรธานี


    ๏ อัตโนประวัติ
    หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม เกิดเมื่อวันพุธที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ณ บ้านศรีฐาน ต.กระจาย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (บ้านศรีฐานนั้นปัจจุบันเป็น ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร) โยมบิดาชื่อ นายบุญหนา โยมมารดาชื่อ นางบุปผา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน เป็นผู้ชาย ๓ คน เป็นผู้หญิง ๔ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖

    การศึกษาเบื้องต้น
    เมื่ออายุได้ ๗ ปีได้เข้าโรงเรียนประถม ชื่อโรงเรียนศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร เข้าโรงเรียนอยู่ ๕ ปีเพราะสมัยนั้นมีชั้นมูลด้วย เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่อออกจากโรงเรียนแล้วได้ช่วยพ่อแม่ทำนาอยู่หนึ่งปี

    การบรรพชาและอุปสมบท
    เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๙๕ เมื่ออายุ ๑๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีฐานใน ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ได้เรียนนักธรรมอยู่ ๒ ปี สอบได้นักธรรมชั้นโท แล้วได้ติดตามครูบาอาจารย์ไปทางจังหวัดสกลนคร

    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ สอบนักธรรมเอกได้ ที่สำนักเรียนวัดเจริญสมณกิจ (วัดหลังศาล) บ้านบางงั่ว ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต (บวชเป็นสามเณรอยู่ ๗ ปี)

    ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีมงคลเหนือ ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร โดยมีท่านเจ้าคุณมุกดาหารโมลี เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์คำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ญัตติเป็นพระเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒

    ขอบคุณที่มา :
    ประวัติหลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล
     
  8. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    พระอุดมญาณโมลี
    (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
    วัดโพธิสมภรณ์
    อ.เมือง จ.อุดรธานี



    หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป หรือพระอุดมญาณโมลี เป็นพระมหาเถระสายพระป่ากรรมฐานศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺต มหาเถระแม่ทัพธรรมแห่งอีสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เป็นพระผู้มากด้วยเมตตาที่ได้รับความลื่อ มใสศรัทธา และเป็นแบบอย่างอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนชาวอีสานมาอย่างยาวนาน ด้วยยึดหลักธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง มีพลังเกื้อหนุนจากธรรมะของครูบาอาจารย์ที่คอยสนับสนุนตลอดมา ปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่จึงเป็นครูของชีวิต ที่คณะศิษยานุศิษย์ภาคภูมิใจยิ่ง

    หลวงปู่จันทร์ศรี มีนามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ตรงกับวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีกุน ณ บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบุญสาร และนางหลุน แสนมงคล ก่อนที่โยมมารดาจะตั้งครรภ์ ในคืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ นั้น ฝันเห็นพระ ๙ รูป มายืนอยู่ที่ประตูหน้าบ้าน พอรุ่งขึ้นตรงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๓ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ได้เห็นพระกัมมัฏฐาน ๙ รูปมาบิณฑบาตยืนอยู่หน้าบ้าน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงรีบจัดภัตตาหารใส่ภาชนะ ไปนั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าพระเถระผู้เป็นหัวหน้า ยกมือไหว้ แล้วใส่บาตรจนครบทั้ง ๙ รูป แล้วนั่งพับเพียบประนมมือกล่าวขอพรว่า

    ดิฉันปรารถนาอยากได้ลูกชายสัก ๑ คน จะให้บวชเหมือนพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ

    พระ เถระก็กล่าวอนุโมทนา หลังจากนั้นอีก ๑ เดือน นางหลุน แสนมงคล ก็ได้ตั้งครรภ์ และต่อมาก็คลอดบุตรชายรูปงามในวันอังคารที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔

    ปัจจุบัน หลวงปู่จันทร์ศรี สิริอายุได้ ๙๘ พรรษา ๗๘ (เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต) และที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.)

    การบรรพชาและอุปสมบท
    ด.ช.จันทร์ศรี แสนมงคล มีแววบวชเรียนตั้งแต่เมื่อครั้งเยาว์วัย ด้วยโยมบิดา-โยมมารดาได้พาไปใส่บาตรพระทุกวัน จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ในบางครั้ง ด.ช.จันทร์ศรี จะนำเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันทั้งชายและหญิง ๗-๘ คน ออกไปเล่นหน้าบ้าน โดยตนเองจะเล่นรับบทเป็นพระภิกษุเป็นประจำ

    อายุได้ ๘ ขวบ โยมบิดาเสียชีวิตลง จนอายุได้ ๑๐ ปี โยมมารดาจึงนำไปฝากไว้กับเจ้าอธิการเป๊ะ ธัมมเมตติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี, เจ้าคณะตำบลโนนทัน และเป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนประชาบาล โดยรับไว้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด อยู่รับใช้ได้เพียง ๑ เดือน เจ้าอธิการเป๊ะนำเด็กชายเข้าเรียนภาษาไทย ตั้งแต่ชั้นประถม ก.กา จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ เจ้าอธิการเป๊ะเห็นว่ามีความสนใจในทางสมณเพศ จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ วัดโพธิ์ศรี บ้านศิลา ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๐ สามเณรจันทร์ศรี หมั่นท่องทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน และพระสูตรต่าง ๆ จนชำนาญ อีกทั้งได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรเขมร จนอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว แล้วมาฝึกหัดเทศน์มหาชาติชาดกทำนองภาษาพื้นเมืองของภาคอีสาน แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมถึง ๓ ปี จากนั้นได้ร่วมเดินทางกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์ลี สิรินฺธโร ออกไปแสวงหาความสงัดวิเวกตามป่าเขา และพักตามป่าช้าในหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อเข้ากรรมฐานและศึกษาอสุภสัญญา ปฏิบัติธุดงควัตร ๑๓ ตามแบบพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานอย่างเคร่งครัด

    ครั้นต่อมาได้ ขึ้นไปแสวงหาวิโมกขธรรมบนภูเก้า อ.โนนสัง จ. หนองบัวลำภู เลยขึ้นไปที่ถ้ำผาปู่ จ.เลย วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ. อุดรธานี พักที่วัดหินหมากเป้ง และได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว พักที่โบสถ์วัดจันทน์ ๗ วัน แล้วกลับมาหนองคายแล้วเข้าอุดรธานี

    ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยมีพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญญาพโล เป็น พระอนุสาวนาจารย์ มีพระอาจารย์กรรมฐานจำนวน ๒๕ รูปนั่งเป็นพระอันดับ ท่านได้รับนามฉายาว่า จนฺททีโป อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้มีแสงสว่างเจิดจ้าดั่งจันทร์เพ็ญ

    อุปสมบท ได้เพียง ๗ วัน ท่านก็ได้ติดตามพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระกรรมฐานผู้เคร่งวัตรปฏิบัติแห่งวัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายกรรมฐานท่านพระอาจารย์มั่น เจ้าสำนักวัดป่านิโครธาราม ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เดินรุกขมูลคืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในธุดงควัตร ๑๓ ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ก่อนกราบลาหลวงปู่เทสก์เพื่อขอไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมต่อในกรุงเทพฯ อ่านเพิ่มเติม คลิก

    ขอบคุณที่มา : เว็บลานธรรมจักร
     
  9. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่บุญมา คมฺภีรธมฺโม
    วัดป่าสีห์พนมประชาราม
    อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร


    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม เกิดเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ที่บ้านขาม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เป็นบุตรนายเข่ง และนางชาดา ธิอัมพร


    อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมืองอุดรฯ โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทเสร็จได้ไปอยู่จำพรรษา ศึกษาข้อวัตรปฏิปทากับ หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม วัดพระธาตุฝุ่น อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    ครั้นออกพรรษาได้จาริกธุดงค์เข้ากราบรับข้ออรรถข้อธรรมจากพระเถระผู้ใหญ่ ศิษย์ในองค์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต หลายองค์ อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ. หนองบัวลำภู หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรฯ เป็นต้น และวิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ เปลี่ยนที่จำพรรษาเป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๙ พรรษา

    พ.ศ. ๒๕๒๓ จำพรรษาที่วัดป่าสีห์พนมประชาราม จวบจนกระทั่งปัจจุบัน

    ขอบคุณที่มา : กองทุนสัจธรรมเพื่อเผยแพร่ธรรม
     
  10. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    วัดใหม่บ้านตาล
    อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร


    อัตโนประวัติ
    นามเดิมที่โยมคุณตาตั้งให้ ชื่อ คำบ่อ พวงสี เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๗๔เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะแม ณ บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายทอง และนางภู่ พวงสี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ เป็นบุตรคนที่ ๑

    ๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    ในปฐมวัย ได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่ศาลาวัดศรีษะเกษ บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่อจบแล้ว โยมบิดา-โยมมารดาจะให้บวชเป็นสามเณร จึงตอ
    บท่านไปว่า ยังไม่บวช จะอยู่ทำงานไปอีกสักระยะหนึ่งก่อนจึงจะบวช โยมบิดา-โยมมารดา ท่านก็ไม่ว่าอะไรแม้แต่คำเดียว

    ตั้งแต่วันนั้นก็ทำหน้าที่การงานช่วยบิดามารดาให้ดีที่สุด จะไม่ทำให้ท่านเป็นทุกข์เพราะเรา ตระกูลนี้ไม่เจริญเพราะเราก็จะไม่ให้เสื่อมเพราะเรา ตระกูลเจริญเพราะเราก็จะไม่ให้เสื่อมเสียเพราะเรา นี้เป็นความรู้สึกลึก ๆ อยู่ในหัวใจของข้าพเจ้า จนบิดามารดาไว้เนื้อเชื้อใจ จะซื้อจะ
    ขายอะไร ที่จะต้องใช้เงินทองจำนวนมาก ท่านจะมาถามแทบทุกครั้ง ถ้าข้าพเจ้าตกลงอย่างไร ท่านก็จะเอาอย่างนั้น เพราะความไว้เนื้อเชื้อใจในตัวของข้าพเจ้า

    ท่านทั้งสองเป็นพุทธมามกะ เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา เพราะเชื่อว่าความดีก็มีเหตุ ความชั่วก็มีเหตุ ความดีก็เกิดจากการกระทำดีนั้น ความชั่วก็เกิดจากการกระทำชั่วนั้น ฉะนั้นท่านทั้งสองจึงพยายามสร้างความดี ทำความดี ตามกำลังกายกำลังทรัพย์ กำลังปัญญาของท่าน จนกระทั่งท่านทั้งสองจากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับ


    ฉะนั้น ตระกูลพวงสีนี้จึงเป็นตระกูลเคารพนับถือบวรพระพุทธศาสนาอย่างไม่ลืมเลือนไปจากหัวใจ ในตระกูลพวงสีนี้ก็นับว่าโชคดีที่ยึดเอาคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักปฏิบัติในการครองเรือน จึงทำให้ชีวิตความป็นอยู่ของตระกูลพวงสีพอกินพอใช้ไม่รวยและก็ไม่จน พอมีพอกินตามสภาพคนบ้านนอก


    ๏ ชีวิตเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

    เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ปีมะโรง อายุได้ ๒๑ ปี วันนั้นคุณตามาที่บ้านประมาณ ๑ ทุ่ม ท่านถามว่ากินข้าวเสร็จ
    หรือยัง เลยบอกท่านว่ายัง ท่านเลยบอกให้รีบไปกินข้าว วันนี้จะพาไปมอบนาคที่วัดตาลนิมิต บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร แบบนี้เขาเรียกว่าแบบจู่โจมไม่ให้รู้ตัว โยมบิดา-โยมมารดาไม่บอกให้ทราบ แต่ข้าพเจ้ากลับรู้สึกดีใจ จะได้หมดหนี้บุญคุณของท่านเสียที หนี้บุญคุณของบิดามารดา ยังฝังอยู่ในจิตใจไม่หลงลืมตลอดมา
    ถ้ายังไม่ได้บวชให้ท่านก่อนแล้ว ก็จะไม่แต่งงานเป็นอันขาด เพราะได้ยินญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ตาของเธอเขาดีใจมากเพราะได้หลานคนแรกเป็นผู้ชาย ท่านบอกว่าท่านได้กำไรแล้ว คำว่ากำไรคงหมายถึงความดีเท่านั้น คำพูดของท่านคำนี้จึงไม่ลืมเลือนไปจากจิตใจของข้าพเจ้าตลอดมา จนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อไปอยู่วัดป็นนาคแล้ว ก็ได้มีเพื่อนคนหนึ่งได้ตามไปเพื่อจะบวชเหมือนกัน เราก็ดีใจเพราะได้เพื่อน เมื่อเพื่อนไปเป็นนาคอยู่ด้วยกันได้ ๓ วันก็มีเรื่องให้แตกกัน เนื่องจากหลวงพี่สงฆ์ให้ไปช่วยงานที่บ้าน อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ชวนให้ไปด้วยกัน แกก็ไม่ไปตาม สุขเพราะความมีเพื่อนก็เลยหายไปอย่างง่าย ๆ แต่ข้าพเจ้าได้พูดคุยกับครูบาอาจารย์แล้วก็ต้องไป

    คิดว่าไปไหนก็ต้องมีพระเป็นเพื่อน ไปหาพระก็ต้องมีพระเป็นเพื่อน ไปหาคนก็ต้องมีคนเป็นเพื่อน และไปช่วยสร้างพระอุ
    โบสถที่ยังไม่แล้วเสร็จ ออกเดินทางประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่วัดเจริญราษฎร์บำรุง บ้านมาย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร มีทั้งหญิง ชาย คนหนุ่ม คนแก่ จำนวนมากช่วยงาน แต่อยู่ไปประมาณเดือนมีนาคม ครูบาอาจารย์อาจมองเห็นว่าจะมองว่าใกล้ไฟ มันร้อนใกล้ค้อนมันเจ็บ ท่านเลยลัดคิวบวชเป็นสามเณรให้

    ท่านก็ได้จับบวชเป็นสามเณรที่โบสถ์น้ำเรียกว่า อุทกุกเขปสีมา เป็นสามเณรจนกระทั่งเดือนเมษายน พระอุโบสถที่สร้างก็เสร็จ ทำพิธีพัทธสีมา แล้วทำพิธีบวช โดยมีพระมหาเถื่อน อุชุกโร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระลี ฐิตธัมโม เป็นพระ
    กรรมวาจารย์ และพระโง่น โสรโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๕ เวลา ๐๙.๔๕ น. ณ วัดเจริญราษฎร์ เสร็จแล้วก็เดินทางกลับมาที่วัดตาลนิมิต อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร อ่านเพิ่มเติม คลิก

    ขอบคุณที่มา :
    เว็บลานธรรมจักร
     
  11. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]



    หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวโธ

    วัดป่าภูมิพิทักษ์
    อ. สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


    หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวโธ
    ท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งขององค์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันอายุ ๘๒ ปี ประวัติโดยละเอียดยังไม่ค้นพบ
     
  12. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่เนย
    สมจิตฺโต

    วัดป่าโนนแสนคำ
    อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร


    “พระครูวิมลสีลาภรณ์” หรือ “หลวงปู่เนย สมจิตฺโต” มีนามเดิมว่า เนย มูลสธูป เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ณ บ้านกุดแห่ ตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี (จังหวัดยโสธร ในปัจจุบัน) โยมบิดาชื่อ นายเอี่ยม มูลสธูป โยมมารดาชื่อ นางสุรีย์ มูลสธูป มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๙ คน ครอบครัวมีอาชีพทำไร่ทำนา

    ช่วงชีวิตในวัยเด็ก เมื่ออายุ ๗ ปี ได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านกุดแห่ อายุ ๘ ปี ป่วยเป็นโรคท้องเรื้อรัง ทำให้ขาดการเรียนอยู่ ๓ เดือน พออายุได้ ๑๑ ปี เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วออกมาช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาตามประเพณี ด้วยในสมัยนั้นการเรียนภาคบังคับอยู่ที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เท่านั้น สำหรับการที่จะเรียนต่อให้สูงขึ้นนั้นต้องเดินทางไปเรียนต่อยังโรงเรียนต่าง ถิ่นต่างอำเภอ พออายุได้ ๑๖ ปี ก็กลับมาช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาตามเดิม ด้วยความขยันหมั่นเพียรเต็มกำลังความสามารถ


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท
    พออายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ โยมบิดา-มารดา พร้อมทั้งเจ้าภาพผู้ที่จะถวายผ้าป่า นำท่านไปมอบถวายให้เป็นศิษย์
    ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ซึ่งเป็นศิษย์พระกรรมฐานรุ่นใหญ่ของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระองค์สำคัญ

    ท่านได้ฝึกขานนาคอยู่เป็นเวลา ๓ เดือนเต็ม จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ เขตวิสุงคามสีมาวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมี
    พระครูภัทรคุณาธาร (บุญ โกสโล ป.ธ. ๔) วัดพรหมวิหาร ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุนทรศลีขันธ์ (พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระสมุห์อุ้ย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้เข้ารับฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ในขณะนั้น อยู่เป็นสม่ำเสมอและบ่อย ๆ อ่านเพิ่มเติม คลิก

    ขอบคุณที่มา : เว็บลานธรรมจักร
     
  13. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่เณรคำ (พระมหาประดับ)

    วัดป่าประดับทรงธรรม
    อ. คำตากล้า จ. สกลนคร


    นามของหลวงปู่คือ พระหลวงพ่อประดับ ปริญฺญาโณ หรือพระมหาประดับ
    ยังไม่ค้นพบประวัติ แต่สามารถเข้าไปรับชมรูปภาพหลวงปู่เพิ่มเติมได้ที่ คลิก

    ขอบคุณที่มา : http://www.thapana.net
     
  14. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่อุดม ญาณรโต

    วัดป่าสถิตย์ธรรมาราม
    อ. พรเจริญ จ.หนองคาย


    ชาติกำเนิด
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต ท่านเกิดในตระกูลชาวนา บิดาและมารดาท่านเป็นชาวนา หาปูหาปลากินตามธรรมชาติ ท่านเกิดเมื่อประมาณวันที่เท่าไรท่านก็ไม่สามารถบอกได้ ท่านเล่าว่าคนสมัยก่อนไม่ค่อยจำกัน ท่านบอกได้แต่ปีที่เกิด และเดือนที่ท่านเกิดคือ ประมาณวันอังคารที่ ๒ เดือนพฤษภาคม ปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙ อยู่ในสกุล เชื้อขาวพิมพ์ ลักษณะรูปร่างของท่าน สันทัด สีผิวดำแดง โดยมีโยมบิดาชื่อ นายแว่น เชื้อขาวพิมพ์ และมารดาชื่อนางบับ เชื้อขาวพิมพ์ มีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด ๔ คน รวมหลวงปู่ คือ
    ๑. นางสม เชื้อขาวพิมพ์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๒. หลวงปู่อุดม ญาณรโต
    ๓. นายพรหมา เชื้อขาวพิมพ์
    ๔. นางลับ เชื้อขาวพิมพ์

    ชีวิตวัยเยาว์
    ชีวิตในสมัยเด็ก ท่านก็เหมือนเด็กชาวนาทั่วไป บิดามารดาทำนา ท่านก็ไปช่วยทำนา หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ท่านชอบในเพศบรรพชิตมาก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์เดินผ่านมา ท่านก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นมาเองตั้งแต่วัยเด็ก นี่ก็เนื่องมาจากโยมบิดาและมารดาของท่านได้พาปฏิบัติศาสนกิจต่อพ่อแม่ครูบา อาจารย์ในพุทธศาสนา เช่น ครูบาอาจารย์ในสมัยท่านพระอาจารย์มั่น บิดามารดาท่านมักพาไปปฏิบัติศาสนกิจมาด้วยโดยตลอด เช่น หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ว.ป่าสาลวัน หลวงปู่มหาปิ่น ซึ่งเป็นน้องชายของหลวงปู่สิงห์ เป็นต้น ท่านเล่าว่าโยมบิดาท่านเคยได้บวชเณรอยู่ และสึกออกมามีครอบครัว ส่วนมารดาของท่านก็เข้าวัดทำบุญอยู่เป็นปกตินิสัย จึงทำให้ท่านมีความสนิทสนมและใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอดนั่นเอง

    บรรพชา
    เนื่องจากในวัยเด็ก ท่านเห็นพระภิษุสงฆ์แล้ว เกิดความปีติเลื่อมใสในสมณะสงฆ์ (มีความสุขเมื่อได้เห็นพระสงฆ์) ท่านคงมีความคิดที่อยากออกบวชอยู่ภายในใจมาโดยตลอด จากนั้นเมื่อท่านเริ่มโตเป็นหนุ่มท่านเคยได้อ่านหนังสือสวดมนต์และปฏิบัติ สมาธิภาวนาของหลวงปู่สิงห์ ขัตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ซึ่งทำให้ท่านจับจิตจับใจ มีจิตใจเข็มแข็งเด็ดเดี่ยว และมั่นใจในการที่จะได้บวชถือคลองเพศสมณะ ท่านได้ช่วยบิดามารดาทำนา หาปูหาปลา ตามประสาชาวโลก ท่านเล่าว่าปูปลาสมัยก่อนหาง่ายมาก ตัวก็ใหญ่โตทั้งนั้น ท่านเคยดำน้ำเพื่อหาปลา น้ำลึกมาก ๆ หลายเมตรอยู่ ทำให้ท่านเลือดไหลออกมาจากหู (หูหนวก) ท่านมีอาการหูหนวกอยู่แรมเดื่อนกว่าจึงจะหายเหมือนเดิม ท่านบอกว่าชีวิตฆราวาสนั้นเป็นทุกข์ ต้องทำบาป สร้างกรรมเวรอยู่โดยตลอด จนในที่สุดเมื่อท่านมีอายุครบ ๒๓ ปี ท่านจึงได้ขอบิดามารดาของท่าน เข้าบรรพชาอุปสมบท ในวันที่ ๒๒ เมษายน ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่มัน ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส มรณะภาพนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูอรุณสังฆกิจ (มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ. วานรนิวาส จ. สกลนคร และพระครูพิพิธธรรมสุนทร (พระคำฟอง เขมจาโร) วัดสำราญนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ฉายาทางภิกษุว่า ญาณรโต (ซึ่งแปลว่าผู้ทรงไว้ซึ้งญาณ) และในปีนั้นนั่นเอง ท่านได้เดินทางไปร่วมพิธีเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์ของท่านทั้งสองด้วย ท่านบอกว่างานศพหลวงปู่มั่นใหญ่โตมาก มีพระกรรมฐานมากมายเต็มไปหมด โดยสมัยก่อนวัดป่าสุทธาวาสยังคงมีสภาพเป็นป่าดงพงไพรอยู่ มีต้นไม้ใหญ่มากมายไม่เหมือนสมัยปัจจุบันที่เต็มไปด้วยหมู่บ้านเต็มไปหมด (ข้อมูลตามพรรษานี้ เป็นข้อมูลที่อัดและทอดเทปจากการสนทนาถาม-ตอบกับหลวงปู่อุดม ญาณรโต เมื่อท่านอายุ ๘๒ ปี)

    พรรษาที่ ๑-๒ (พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๓) ท่านอยู่กับพระอุปัชฌาย์ พระครูอรุณสังฆกิจ (มหาเถื่อน อุชุกโร) ที่วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    พรรษาที่ ๓-๕
    (พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๗)
    ท่านเดินธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และกลับมาอยู่ที่วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์

    พรรษาที่ ๗-๑๕
    (พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๐๖)
    วัด บ้านนาโสก อ.นาแก ต.บ้านแก้ง จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านญาติของท่านและเป็นบ้านเกิดของท่านเองต่อจากนั้นท่านได้ไปพัก อาศัยอยู่กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม ตอนนั้นหลวงปู่ลี ท่านอยู่วัดศรีชมพู ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    พรรษาที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๕)
    ท่านธุดงค์ไปอยู่ทางภาคเหนือบ้าง เช่น สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่เรื่อยมา โดยท่านได้ไปพบกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ หลวงปูตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง, หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท จ.ลำปาง โดยช่วงระยะเวลาที่ธุดงค์ในแถบภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้น ท่านมีสหธรรมมิกที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน คือ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา และหลังจากที่ท่านไปธุดงค์ที่เชียงใหม่กลับมาท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดป่าสถิตธรรมวนาราม ต.ศรีชมพู อ.พรเจริญ จ.หนองคาย จนกาละสมัยปัจจุบันนี้ (นี้เป็นเพียงประวัติย่อ ๆ เท่านั้นส่วนรายละเอียดปีกย่อยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ประวัติหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม )

    ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่ได้ไปพำนักอาศัย และฟังธรรม
    ครู บาอาจารย์เท่าที่หลวงปู่จำได้และเล่าให้กระผมได้ฟังมานั้น ในอดีตที่ผ่านมาแล้วทั้งหลาย ในบางคราวท่านก็อาจจะลืมไปบ้าง ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ ก็อาจจะไม่ละเอียดมากนักเพราะองค์หลวงปู่เอง ท่านเป็นพระเถระผู้พูดน้อยมาก เป็นจริตนิสัยอยู่แล้ว ส่วนตัวข้าพเจ้าจะก็ต้องพยายามสอบถามท่าน เท่าที่ท่านท่านพอจะจำได้นั้น มีก็ดังนี้ต่อไปนี้
    ๑. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    ๒. หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    ๓. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    ๔. หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.เชียงใหม่
    ๕. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่า<wbr>ไตรวิเวก สุรินทร์
    ๖. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ๗. เจ้าคุณแดง วัดป่าประชานิยม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    ๘. หลวงปู่เอี่ยม วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์

    การเดินธุดงค์
    ท่านเล่าว่าตั้งแต่โยมบิดาของท่านเสียชีวิตด้วยโรคชรา ตอนอายุ ได้ ๗๓ ปี ก่อนท่านออกเดินธุดงค์ และมารดาท่านก็มาเสียชีวิตด้วยโรคชราเช่นกัน เมื่อตอนอายุได้ ๗๙ ปี หลังจากที่ท่านธุดงค์กลับมาจาก จ.เชียงใหม่ ท่านเล่าว่าตอนที่ท่านได้ไปพำนักอยู่เพื่อฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋งนั้น ท่านเกิดความประทับใจมาก หลวงปู่แหวนท่านเทศน์แบบง่าย ๆ สั้น ๆ แต่มีคุณภาพมาก ๆ คำพูดของท่านลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก น่าเลื่อมใสมาก ๆ ซึ่งในเวลานั้นหลวงปู่ลี วัดเหวลึก ท่านก็ได้ไปร่วมฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน และกับองค์ท่านด้วย ท่านอยู่ฟังธรรมกันประมาณ ๒-๓ คืน จาก นั้นท่านได้เดินทางไปจังหวัดลำปางและเพชรบูรณ์ โดยเดินเท้าไป บางทีฆราวาสเห็นก็อาสาพาไปส่งบ้าง ท่านใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ เดือนเศษ โดยท่านเดินทางผ่านจังหวัด สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิถต์ พิจิตร และเพชรบูรณ์ และใช้เวลาเดินทางจากเพชรบูรณ์ไปเชียงใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางประมาณอีก ๒ เดือน ท่านเล่าว่าตอนเดินทางผ่าน จ.สุโขทัย ได้พบฆราวาสที่กินเจ คนแถวนั้นมักใส่ขนมปัง และน้ำตาลอ้อย โดยบางครั้งเขาจะนำขนมกับข้าวสุกใส่ให้เต็มบาตรเลย ไม่มีกับข้าวคาวเลย ท่านฉันทีแรก ๆ ก็อร่อยดี แต่หลายวันเข้ามันชักไม่อร่อย โดยในตอนนั้นท่านได้เดินทางด้วยเท้าธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ไพบูรณ์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา ซึ่งท่านทั้งสองสนิทสนมและคุ้นเคยกันอยู่เป็นอย่างดี

    การปฏิบัติธรรม
    โดยปกติหลวงปู่อุดมท่านชอบเดินจงกรม และนั่งสมาธิภาวนาเพื่อปฏิบัติทางจิตของท่านอยู่โดยตลอด ท่านบอกว่า หากวันไหนไม่ได้เดินจงกรมแล้วหล่ะก็เดือดร้อนไม่ได้เลยนะ จิตจะเศร้าหมองทันที สมัยที่ท่านอยู่ที่เชียงใหม่ ท่านปฏิบัติธรรมอยู่นั้น จิตของท่านเกิดความสว่าง มีความสุขมาก จิตตกถึงฐานของจิต เข้าสู่พื้นเดิม ท่านเปรียบเหมือนการสักผ้า ถ้าผ้ามันลาย พื้นเดิมของจิตมันก็ลาย ถ้าผ้ามันดำ จิตพื้นเดิมมันก็ดำ (สำนวนของหลวงปู่อุดม) ท่านบอกว่ามันถึงฐานของมัน มีความสุขมากไม่มีอะไรจะมีความสุขเท่า มันมีความปีติ อิ่มอกอิ่มใจมาก ท่านจึงเอาตรงนี้มาเป็นอารมณ์ และค้นหาเข้าไปในจิตต่อจนถึงที่สุดของใจ ท่านเล่าว่ามันมีปัญญามากมายหลายอย่างเกิดขึ้นมา ท่านบอกว่าท่าน อดนอน อดอาหารเพื่อทำความเพียรภาวนาอยู่ ๕ วัน ๕ คืน ท่านบอกว่า อดนอนนี่ทุกข์ยิ่งกว่าอดอาหารอีก แต่เพราะว่ามีปีติอยู่ ท่านจึงสามารถทำได้ ภายหลังจากวันที่ ๕ วันผ่านไป จิตของท่าน ก็เบาสบาย ได้กำลังใจ และส่วนกำลังกาย ก็ยังแข็งแรงดีอยู่ เวลาธรรมเกิดขึ้นมา ๑๐๐ % ท่านนั่งสมาธิไปได้จนถึงแจ้งเลย (เช้าเลย) การปฏิบัติของท่านในเวลา ๖ โมงเย็น จนถึง ๕ ทุ่ม ท่านมักจะเดินจงกรม และในเวลา ๕ ทุ่มขึ้นไป ท่านจะนั่งสมาธิภาวนาไปเลื่อยจนบางทีถึงสว่างก็มี ในคราวที่ใจของท่านรวมลงจนถึงสภาวะเดิมของจิต ท่านเล่าว่ามีความสุขมาก ๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นนั้น เหมือนกับอยู่ตรงหน้า สามารถยื่นมือแทบจะจับได้ต่อหน้าต่อตานี้เลยทีเดียว จิตมันไม่ท้อไม่ถอย กระจ่างหมดทุกอย่าง มันหาใจ แก้ใจตัวเองได้หมดทุกอย่าง ในเวลาฟังธรรมพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพียงนิดหน๋อยเท่านั้น จิตท่านก็สว่างเลย ท่านบอกว่าจิตท่านเห็นธรรมที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นท่านพำนักอาศัยอยู่กับ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโมนั่นเอง ท่านยังเล่าต่ออีกว่า หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านจะเป็นพระที่เทศน์ตรงไปตรงมามาก จนในบางครั้งดูแล้วอาจจะไม่ไพเราะ แต่ท่านก็บอกว่า ผู้มีปัญญาก็ต้องเลือกฟังให้ถูกกับจิตของตนเอง อันไหนดีก็นำมาปฏิบัติให้ถูกกับจิตของตน ในยามที่ท่านเข้าไปนวดแขน นวดขาให้กับหลวงปู่ตื้อนั้น หลวงปู่ตื้อท่านจะเทศน์ให้หลวงปู่อุดมฟัง หลวงปู่อุดมท่านเล่าว่าจับจิตจับใจมากเลยทีเดียว ทำให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ของหลวงปู่ตื้อมากมายยิ่งขึ้นเลยทีเดียว องค์หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านขุดดิน ฟันต้นไม้ ต้นกล้วยได้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว สำหรับพระต้องปรับเป็นอาบัติ ส่วนองค์หลวงปู่ตื้อนั้นท่านคงอยู่เหนือสมมุตไปแล้ว เพราะในคราหนึ่งหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ท่านห้ามหลวงปู่ตื้อไม่ให้ทำเช่นนี้ แต่หลวงปู่ตื้อกลับหันมากล่าวกับหลวงปู่แหวนว่า ไม่ต้องมาสอนเฮาหรอกน่า เราพ้นแล้ว (จิตของหลวงปู่ตื้อท่านหลุดพ้นไปแล้วนั่นเอง)

    เรื่องราวประวัติโดยย่อ ขององค์หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมมาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย นี้ ข้าพเจ้าได้รับความกรุณาเมตาจากองค์หลวงปู่ เป็นผู้เล่าประวัติของท่านเองทั้งหมด เนื่องจากข้าพเจ้าเองเห็นว่าองค์หลวงปู่ ก็มีอายุมากแล้ว โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ นี้ ท่านก็มีอายุถึง ๘๓ ปี พรรษา ๖๐ แล้ว และในช่วงเวลานี้ธาตุขันต์ขององค์หลวงปู่อุดม ญาณรโตนั้น ก็สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เวลาท่านเดินต้องมีพระคอยดูแลอยู่โดยตลอด เป็นผลสืบเนื่องมาจากท่านเพิ่งเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังเมื่อประมาณ ปลายปี ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งจริง ๆ แล้วท่านเคยผ่าตัดกระดูกสันหลังมา ๓-๔ ครั้ง และในปัจจุบันนี้ ๒๕๕๒ หลวงปู่ก็มีอาการกระดูกข้อเข่าของท่านขาดน้ำหล่อเลี้ยง ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๕๑ ท่านได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯลฯ และโรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพฯลฯ หมอวินิจฉัยว่า ข้อเข่าของท่านเสื่อมต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายกระดูกข้อเข่าใหม่ แต่เนื่องจากท่านมีอายุมากถึง ๘๓ ปี จึงมีความเสี่ยงมากในการผ่าตัด กระผมเห็นว่าองค์หลวงปู่เป็นพระเถระซึ่งอยู่ในต่างจังหวัด ไกลถึงจ.หนองคาย และหลวงปู่เป็นพระซึ่งไม่เคยเที่ยวบอกบุญกับญาติโยมคนใดเลย กระผมจึงกราบขอประวัติขององค์หลวงปู่มาลง เพื่อให้ญาติโยมทั้งหลายได้อ่านดู พิจารณากันเพื่อยังให้เกิดศรัทธาและเป็นศิริมงคลแก่ท่านทั้งหลาย และยังเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบไปด้วย เพราะปัจจุบันนี้พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบนั้นล้วนแล้วแต่ค่อย ๆ ดับขันขันธ์ลาโลกไปอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันนี้ องค์หลวงปู่อุดม ญาณรโต ท่านก็มีสุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรงตามอาการที่กล่าวไว้ในข้างต้นนี้

    ขอบคุณที่มา :
    คุณเรวัตร หมั่นเสนา ฆราวาสผู้ดูแลอุปัฐฐากองค์หลวงปู่
     
  15. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงตาแยง สุขกาโม

    วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)
    อ. ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

    ประวัติวัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) คลิก

    เรื่องเล่าหลวงตาแยง ในงานบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมหลวงปู่ฟัก สนฺติธมฺโม ณ วัดเขาน้อยสามผาน จันทบุรี

    เมื่อวันที่ ๑๔ มิ.ย.ที่ผ่านมา หลวงตาแยง วัดภูทอก ได้เดินทางไปกราบสรีระของหลวงปู่ฟัก (พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม) หลังจากที่หลวงตาแยงได้นำสวดพระอภิธรรม ถวายสังฆทาน และทอดผ้าบังสุกุลแล้วจึงได้เดินทางกลับ โดยมีญาติโยมวัดไปส่งท่านที่รถ พอขึ้นรถ ปรากฎประตูรถไม่สามารถล็อคได้ และรถก็สตาร์ตไม่ติดอีกด้วย ท่านจึงเปิดประตูรถลงมาอีกครั้ง ญาติโยมที่รอส่งท่านจึงถามหลวงตาแยง ซึ่งท่านก็บอกแปลกรถล็อคไม่ได้และก็สตาร์ตไม่ติด
    โยมจึงพูดขึ้นว่าสงสัยหลวงปู่ฟักไม่อยากให้หลวงตาแยงไป

    หลวงตาแยงจึงได้ยกมือขึ้นไหว้ไปทางที่ตั้งสรีระหลวงปู่ฟัก พร้อมอธิษฐานว่า
    ท่านอาจารย์ครับผมได้ทำถวายหมดแล้ว ไม่ว่าจะสวดอภิธรรม ถวายสังฆทานและทอดผ้าไตร ผมขอโอกาสลาท่านอาจารย์กลับก่อนนะครับ

    แล้วหลวงตาแยงก็ขึ้นรถอีกครั้ง และคราวนี้รถสามารถล็อคได้และสตาร์ตติด
    หลวงตาแยงท่านกล่าวว่า ท่านอาจารย์ฟักเมตตาเรามาก เราน้ำตาตื้น

    ทั้งหมดนี้เป็นคำบอกเล่าจากองค์หลวงตาแยงเองครับ

    ขอบคุณที่มา : เว็บลานธรรมจักร
    และ
    http://topicstock.pantip.com
    (เล่าโดยคุณ im Hero Member)

     
  16. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่ทุย
    วัดป่าดานวิเวก (วัดแสงอรุณ)
    อ. โซ่พิสัย จ. หนองคาย

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]
    หลวงปู่ทุย
    เป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิด ไปเติบโตที่ อ. สว่างดินแดน จังหวัดสกลนคร บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุยังน้อย สมัยบวชเรียนเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นรุ่นน้องของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งหลวงตามหาบัวเป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ที่มีปฏิปทาของพระป่าในสมัยโบราณที่ถือธุดงควัตร ๑๓ อย่างแน่นแฟ้น และเป็นผู้ปกปักรักษาป่าอย่างถวายชีวิต ซึ่งหลวงปู่ทุยได้เจริญรอยตาม หลังจากที่หลวงตามหาบัวสร้างวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ท่านก็มาจำพรรษาอยู่ที่นี่ช่วงหนึ่ง

    หลวงปู่ทุยได้ประมวลเรื่อง "พระป่า สมัยกรุงรัตนโกสินทร์" ไว้ ตอนหนึ่งว่า พระธุดงคกรรมฐาน ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ป่าเขาลำเนาไพรได้ถูกทำลายลง ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเคยเป็นสถานที่บำเพ็ญศีลบำเพ็ญธรรม ถูกทางกฎหมายบ้านเมืองครอบครองจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพราะเป็นยุคเป็นสมัยโลกาภิวัฒน์โลกาธิปไตยทั่วโลกดินแดน ทรัพยากรที่สำคัญ ๆ ซึ่งเป็นที่สัปปายะถูกทำลายให้ลดน้อยลง เนื่องจากคนเกิดเป็นจำนวนมาก ๆ ไม่มีมีที่อยู่อาศัยหาเลี้ยงชีพ โดยพระธุดงค์สายพระอาจารย์มั่น เป็นพระป่านิสัยชินกับหลักธรรมชาติ ตามนิสัยของท่านรักธรรมชาติมาก ท่านจึงชอบสงวนที่ป่าเขาลำเนาไพร มีมากมีน้อยท่านไม่ค่อยทำลาย

    หลังจากท่านฝึกกรรมฐานจนสำเร็จ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล จ. อุดรธานี (ปัจจุบันคือ จ.หนองบัวลำภู ) ก็แนะนำให้ท่านธุดงควัตรมาที่ดงสีชมพูนี้เมื่อปี ๒๕๐๙ ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่สีแดงที่คอมมิวนิสต์ยึดครองอยู่ ท่านอยู่ที่นี่ได้สองปีก็ตั้งวัดป่าดานวิเวกขึ้นในปี ๒๕๑๑ ชื่อของวัดมาจากพื้นที่แห่งนี้เป็นดานหินทราย ส่วนชื่อที่เป็นทางการ คือวัดแสงอรุณ

    ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยพื้นที่ป่าหลายส่วนรวมกัน ๒,๔๐๐ ไร่ ส่วนพื้นที่ของวัดเองประมาณ ๑๔ ไร่ เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เช่าโดยถูกต้องตามกฎหมาย รวมกันพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่ให้วัดดูแลอีก ๗๐๐ ไร่ และพื้นที่ สปก. อีก ๑,๔๐๐ ไร่ เดิมเป็นพื้นที่ซึ่งชาวบ้านปลูกมันสำปะหลัง แล้วกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ก็ยกให้หลวงปู่ทุยดูแล ท่านก็ชวนชาวบ้านใน ๓ ตำบล อ.โซ่พิสัย ปลูกป่าใหม่ขึ้นมา ทั้งไม้ประดู่ ชิงชัง เต็ง รังจนไม้เติบใหญ่ขึ้นเป็นป่าใหม่อายุ ๑๔ ปีแล้ว พื้นที่ทั้งหมดนี้ท่านถวายเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในหลวงทรงครองราชย์ ๖๐ ปี ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ชาวบ้านทุกคนจะได้ช่วยกันดูแล นอกจากนี้ท่านยังหาแหล่งน้ำให้ชาวบ้านไว้ใช้ในการเกษตรอีกด้วย

    สำหรับวัดป่าดานวิเวกไม่มีสิ่งก่อสร้างใด นอกจากศาลาใหญ่หลังหนึ่งและกุฏิที่อยู่ห่าง ๆ กันไปเท่าที่จำเป็น อาสนะของพระสูงกว่าพื้นดินเพียงคืบเดียว หลวงปู่ทุยท่านมีปฏิปทาว่าจะไม่สร้างวัตถุถาวรใด ๆ เกินความจำเป็น มุ่งปลูกป่าอย่างเดียว กฎข้อหนึ่งในสิบข้อของวัดนี้ คือห้ามตัดไม้ใด ๆ จนกว่าไม้นั้นจะล้มเองจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้ และการใช้ประโยชน์จากไม้นั้นต้องเป็นไปเพื่อสาธารณะประโยชน์เท่านั้น คือนำไปใช้ในการทำศาลา โรงเรียน สะพาน แล้วแต่ชุมชนนั้นจะช่วยกันพิจารณา

    ปกติวัดป่าดานวิเวกจะมีการทำบุญประทายข้าวเปลือกเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี โดยที่ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกมาทำบุญร่วมกันแล้วถวายพระโดยไม่ต้องใช้เงิน ประเพณีนี้กำนันสัญญาเล่าว่า วัดอื่นไม่มี มีที่นี่ที่เดียว หลวงปู่ทุยท่านตั้งใจพาปฏิบัติแบบโบราณ ยึดกับของเก่า ไม่ใช้เทคโนโลยี ท่านบอกว่า เทคโนโลยีเข้ามาจะเป็นผลเสีย คนสมัยนี้วิ่งเร็วเกินตัวเองไปมากอันตราย

    กำนันสัญญาเล่าเพิ่มเติมว่า หลวงปู่ทุยท่านไม่ขอรับตำแหน่ง หรือสมณศักดิ์ใด ๆ ท่านบอกว่า ขอเป็นพระเฉย ๆ ก็พอแล้ว สำหรับพระใหม่ที่จะมาบวชต้องมาอยู่ให้หลวงปู่ทดสอบก่อน ๒ เดือน ไม่ได้บวชกันง่าย ๆ และเมื่อบวชแล้วท่านให้เดินเท้าเปล่าตลอด พระทุกรูปจึงเท้าหนา และถือบิณฑบาตทุกวัน ไม่มีเว้น นอกจากเจ็บป่วยจริง ๆ พระรูปไหนอ้วนท่านจะเรียกไปคุยแสดงว่าขี้เกียจภาวนา

    [/FONT]"หลวงพ่อทุยท่านจะรับเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสท่านไม่สะดวกที่จะให้พัก เพราะท่านจะเน้นเอาใว้สำหรับให้พระได้ปฏิบัติธรรมภาวนา ช่วงเช้าฆราวาสทำบุญตักบาตร ฟังธรรมได้ทุกวัน หลังจากนั้นจะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ที่จะต้องบำเพ็ญภาวนา"

    ฆราวาสสามารถไปภาวนาได้ กุฏิของโยม (ผู้ชายจะอยู่บริเวณรอบนอก) ระเบียบก็คล้าย ๆ วัดป่าทั่วไป คือฉันมื้อเดียว เน้นภาวนา และช่วยพระทำกิจวัตร (ปัดกวาด, จัดอาหาร, ช่วยที่โรงฉันน้ำร้อน) โดยเฉพาะการภาวนา ท่านมักจะเดินมาดูว่ามา "ภาวนา" จริง หรือมา "ภาวนอน" ถ้าเห็นว่าเอาแต่นอนก็จะถูกไล่เก็บกระเป๋าทันที

    ข้อห้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ ห้ามบุคคลใดก็ตามถ่ายรูปตัวท่านและภายในวัด เพราะท่านไม่เห็นประโยชน์ และท่านก็สั่งไปทางหน่วยงานราชการว่าไม่ต้องให้ยศให้ตำแหน่งแก่ท่าน และทางวัดก็จะไม่รับกฐิน เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายจีงไม่ต้องใช้เงิน
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]

    ขอบคุณที่มา :
    [/FONT]หลวงปู่ทุย วัดป่าดานวิเวก
     
  17. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม
    วัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต)
    อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ


    อัตประวัติย่อ พระครูสิริธรรมวัฒน์ (พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม)
    ท่านอาจารย์ทองพูล สิรกาโม เป็นพระกรรมฐานรุ่นแรก แห่งกองทัพธรรมสายท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ โดยพระเถระรุ่นนี้ มีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่คำตัน พระครูอุดมศีลวัฒน์ วัดป่าสถิตย์ธรรมมาราม พระครูปัญญาวรากร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม โดยเฉพาะท่านอาจารย์ทองพูลกับท่านอาจารย์จวน ทั้ง ๒ องค์ มีความสนิทสนมกันมาก

    ท่านอาจารย์ทองพูล เดิมชื่อหนูพูล นามสกุล เอนไชย เกิดที่บ้านเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อนายเคน มารดาชื่อนางสุภี เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๗ คน

    ตั้งแต่วัยเด็กท่านอาจารย์ทองพูลมีลักษณะนิสัยสุขุมเยือกเย็น พูดน้อย อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ญาติพี่น้อง มีจิตเมตตา ท่านอาจารย์ได้บรรพชาอุปสมบทครั้งแรก เป็นพระสงฆ์ในฝ่ายมหานิกายที่วัดท่าเดื่อ โดยมีพระอุปัชฌาย์สิงห์ (ปัจจุบันคือ พระครูนรสีสาสน์ธำรง รองเจ้าคณะอำเภอวานรนิวาส)

    การบวชครั้งนั้นเป็นการบวชในงานบุญประเพณีของผู้ที่ท่านอาจารย์คุ้นเคย และต่อมาท่านอาจารย์ทองพูลได้พบกับพระอาจารย์สีโห เขมโก ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์หลวงปู่มั่น และเป็นพระเถระรุ่นเดียวกับหลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ฝั้น โดยท่านอาจารย์ทองพูลได้เปลี่ยนนิกายใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุต โดยมี่พระอาจารย์เจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์สวัสดฺ เป็นพระกรรมวาจาจาร มีฉายาว่า สิริกาโม เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕

    นับตั้งแต่การอุปสมบท ท่านอาจาย์ทองพูล ได้ตั้งจิตแน่วแน่ในการปฏบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และถึงขั้นที่เรียกได้ว่ามอบกายถวายชีวิต โดยการออกธุดงค์หาสถานที่วิเวกเพื่อเร่งความเพียร บำเพ็ญภาวนา เพียงพรรษาแรกท่านอาจารย์ได้ถือเนสัชชิธุดงค์ คือการไม่นอน ไม่ยอมให้หลังแตะกับพื้นตลอดพรรษาและอดอาหารควบคู่กันไป ท่านอาจารย์ทองพูลยังป่วยอาพาธเป็นไข้มาเลเรียอย่างหนัก แต่ท่านอาศัยธรรมโอสถขันติธรรมเพ่งเวทนาที่เกิดขึ้นจนไข้มาเลเรียหายไปเอง

    สำหรับวัดสามัคคีอุปถัมภ์แห่งนี้ ท่านอาจารย์ทองพูลได้เดินทางมาในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๒ ครั้งแรกยังเป็นแค่ภูดิน อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอบึงกาฬ โดยชาวบ้านเรียกภูดินแห่งนี้ว่า ภูกระแต เนื่องจากมีสัตว์พวกกระรอก กระแต รวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ อาศัยอยู่ชุกชุมตามสภาพที่เป็นป่าดงทึบ รกครึ้ม

    เมื่อท่านอาจารย์มาถึงบริเวณภูกระแต ในคืนแรกท่านจำวัดใต้ต้นบก และ ๓-๔ วันต่อมา ชาวบ้านได้ทำเพิงพักนั่งร้าน และกุฎิชั่วคราวแบบง่าย ๆ ทำด้วยไม้ไผ่ป่า จากนั้นท่านอาจารย์จึงได้พัฒนาวัดเรือยมาจวบจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับแรงศรัทธาสามัคคีร่วมใจจากคณะลูกศิษย์ลูกหาทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา

    ขอบคุณที่มา :
    http://www.watpa.com
     
  18. เดือนสาม

    เดือนสาม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +45
    โอนเงินค่ารถให้แล้วนะคะ วันที่ 8/11/54 เวลา 17:18 จำนวน 3008 ค่ะ (เมารถค่ะ)
    (กรณีฉุกเฉิน ถ้ารถมาทางบางนา-ตราด ขอขึ้นตรงโลตัสทางเข้าราม2 ได้มั๊ยคะ)fishh_
     
  19. benyapa

    benyapa ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,088
    ค่าพลัง:
    +5,431
    จะขอฝากปัจจัยไปถวายแด่องค์ครูบาอาจารย์ได้ถึงเมื่อไรคะ สาธุค่ะ ดีจัง เสียดายไปด้วยไม่ได้อีกแล้วอ่ะค่ะ
     
  20. Piticha

    Piticha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +2,057
    คุณหญิง พี่มาตัดสินใจยังไม่ได้ค่ะ เพราะน้องน้ำกำลังมาเยือนพี่มาค่ะ พระราม 2 ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ด่านสุดท้ายค่ะ ปริมาณน้ำไม่รู้ขนาดไหนค่ะ
    หากพีมายังพอมีวาระบุญ ประกอบกับที่นั่งยังว่างอยู่ พี่มาจะรีบตัดสินใจในทันทีค่ะ ตอนนี้สับสนค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...