เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 26 ธันวาคม 2011.

  1. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ------ทิฎฐิทัศนะที่เป้นไปเพื่อทุกข์นิโรธ พระวจนะ" พระโคดมผู้เจริญ ทิฎฐิคตะไรไร ของพระโคดมมีอยู่หรือ?.....วัจฉะ สิ่งที่เรียกว่า ทิฎฐิคตะ นั้น ตถาคต นำออกหมดสิ้นแล้ว วัจฉะ....สัจจะที่ ตถาคตเห็นแล้วนั้น มีอยู่ว่า รูป เป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ การดับไปแห่งรูปเป็นอย่างนี้....เวทนาเป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นของเวทนาเป็นอย่างนี้ การดับไปของเวทนาเป็นอย่างนี้....สัญญาเป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งสัญญเป็นอย่างนี้ การดับไปแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้...........สังขารเป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ การดับไปแห่งสังขารเป็นอย่างนี้.........วิญญานเป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งวิญญานเป็นอย่างนี้ การดับไปแห่งวิญญานเป็นอย่างนี้ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ทั้งนี้เพราะความสิ้นไป ความจางคลาย ความดับไม่เหลือ ความสละ ความสลัดคืน ซึ่งความสำคัญหมายทั้งปวง ความต้องการทั้งปวง อหังการมมังการมานานุสัยทั้งปวง ดังนี้--ม.ม.13/244/247:cool:
     
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075


    มันจ่อตรงจิตรู้ ถูกไหม ที่รู้สึกว่าเป็นเรา

    ใส่ใจพิจารณาตรงจิตรู้นั้นก็ได้ครับ สภาพธรรมที่กำลังรู้อยู่ขณะนั้น

    เป็นนายจิตตินนท์หรือไม่ มีจิตตินนท์ในรู้นั้นจริงหรือไม่

    มันมีรูปร่างลักษณะที่บอกเป็นคนสัตว์หรือไม่

    หรือเป็นแค่สภาพรู้ที่ที่อุปทานเข้าไปยึดอยู่ ว่าเป็นเรารู้

    แต่การจะไปคลายเลย โดยรู้ว่าไม่มีอะไรเป็นเรา ย่อมไม่ใช่ฐานะครับ


    มีพระสูตรบทนึง ท่านอุปมาว่า พ่อค้าเนื้อจูงโคเข้าโรงฆ่า ก่อนฆ่าโคนั้นยังเรียกว่าโค

    ครั้นพอฆ่าโค กลับไม่เรียกว่าโค แต่เรียกว่าเนื้อ

    ครั้งชำแระเนื้อ นี้ไส้ นี้กระเพราะ นี้เลือด นี้หนัง ไม่เหลือความเป็นโคอีกต่อไป


    ที่จริง ควรได้รูปนามก่อน รู้ว่านี้คือ ลักษณะ การรู้ลักษณะได้ชื่อว่ารู้ปรมัตถ์

    ช้าแต่ชัวร์ เอาแบบย่อนะ

    เช่น โกรธ ต้องรู้จักลักษณะโกรธ

    ไม่ใช่แค่รู้สึกตัว หรือรู้ชื่อ พวกนี้ เป็นรู้สมมุติ

    รู้จัก รูปนาม ในความเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์

    คำว่าสติ ไม่ใช่รู้สึกตัวขึ้นมาเฉยๆ หรือรู้ว่านี่โกรธ มันไม่ใช่กุศล และปัญญาครับ

    แต่สติ ระลึกได้ว่า มันเป็นนาม มันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ จากการประจักษ์ลักษณะธรรมนั้นจริงๆ

    สำคัญมาก ถ้าจะคลายความไม่ใช่กู ของกู ออกไป


    ทีนี้เมื่อปัญญามีรูปนามเป็นอารมณ์ มันชัดเจนขึ้น

    ก็จะสาวไปเห็นที่ดับไปแล้วมีธรรมใหม่ปรากฏขึ้นมา แล้วก็ดับไปแล้วมีธรรมใหม่ปรากฏ

    เช่น ตาเห็น ใหม่ๆอาจจะลงใจเลย

    แต่พอละเอียดขึ้น จะเห็นเป็นรูป กระทบ เกิดผัสสะด้วยลักษณะที่ปรากฏจริงในปัจจุบัน

    แล้วเกิดรู้สึก เกิดจำได้ เกิดตัดสินอารมณ์ เกิดปรุงแต่ง เกิดธาตุให้เคลื่อนวจี เคลื่อกาย

    พูดย่อๆคือ รู้ความเป็นปัจจัย ปัญญาปฏิจสมุปบาทเริ่มตรงนี้

    ทีนี้สังเกตุดีๆ ลักษณะความสืบต่อ นามเกิดรูป รูปเกิดนาม นามเกิดนาม

    พวกนี้ก็เป็นลักษณะปรมัตถ์ที่รู้ได้ ไม่ต้องไม่นึกคิดอะไร แต่เข้าใจเอง

    สิ่งที่กำลังจะดับไปและกำลังเกิดอยู่ เป็นลักษณะไม่เที่ยง

    จะเห็นไตรลักษณ์ตรงนี้


    ตั้งแต่ปัญญารู้รูปนามขึ้นมา มันจะชัดขึ้น แทงได้ตลอด แทงได้ทั้งวัน

    อย่าไปจงใจเอาตัวกูเข้าไปรู้กู แต่ให้สติเกิดขึ้นเอง คือให้อนัตตาไปรู้อนัตตา


    แล้วที่ตามองนั้น ให้พิจารณาดีๆ จับหลักให้ได้

    เห็นขณะหนึ่ง นึกคิดจำได้ขณะหนึ่ง เป็นคนละขณะกัน

    ขณะรู้ทางตาเป็นกิจของจักขุวิญญาณ แต่ขณะระลึกได้ว่ากำลังเห็น เป็นกิจของมโนวิญญาณ เกิดดับสลับกันอยู่

    หลายคนไปติดตรงมโน หรือ จิตรู้ที่เรียกกันนี้ เลยเห็นว่ามันเที่ยง เป็นเรา ของเราขึ้นมา

    ที่เข้าใจธรรมทั้งหมดนี้ เรียกว่าปัญญา ที่เกิดจากเข้าไปรู้ลักษณะที่ปรากฏ

    ไม่ใช่นึกเอา หรือดึงสัญญามาทบทวน ^^

    งงมั๊ย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มกราคม 2012
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    มีที่ไหนลุง เรียนเพื่อให้แจ้ง เขามีแต่ แจ้งแล้ว แต่เพราะ ขาด พระสัพพัญุตญาณ
    ทำให้ ไม่สามารถมีญาณ บัญญัติศัพท์ ได้ พอจะเรียกก็ เอ๊อะ พอจะกล่าวก็ เอ๊อะ

    ดังนั้น อภิธรรม ทุกคำล้วนกลั่นออกมาจาก พระสัพพัญญุตาญาณ ของ บุคคลที่
    เป็น พระพุทธเจ้า เท่านั้น กลั่นออกมาเพื่อให้สาวก ได้รับไปใช้ตาม เป็นพระมหา
    กรุณาธิคุณยิ่ง

    ส่วนคนไม่รู้ พอจะเจอศัพท์อภิธรรมก็เอ๊อะ อ๊ะ อาศัย ความเอ๊อะ อ๊ะ ไม่รู้ว่าจะ
    เรียกว่าอะไร ไม่มีพระญาณแบบพระพุทธเจ้า ก็เหมาหน้าตาเฉยว่า อภิธรรมเป็นขยะ

    มันจะเป็น ขยะ ได้อย่างไรกัน ในเมื่อ พระอรหันต์ท่านไหน มาพิจารณาตาม ท่านก็ โอโห้

    ถ้ามันเป็นคำของสาวกนะลุง หรือ คำของคนที่ไม่รู้ มาเขียนนะลุง ป่านนี้ โดนกวาดทิ้ง
    ไปหมดแล้ว

    ดังนั้น ใช้สามัญสำนึกบ้าง !!!

    อย่าให้ กบฏศาสนาธรรมภูติ เขาอาศัยความเอ๊อะอ๊ะที่มีเป็นปรกติในสาวก มาทำลาย
    ลงานชิ้น ป.เอก (พระสัพพัญญู ที่พระองค์ท่านประทานไว้ให้)


    * * * *

    อย่าลืมนะครับ อภิธรรมนั้น พระพุทธองค์กล่าวถึงอย่างน้อย 7 คัมภีร์ แม้ว่าภายหลัง
    จะมีการ ยุบ รวม แยก จนดูเหมือนมีมากขึ้น เราก็ไม่อาจรู้ได้ว่า มาจากสาวก หรือ
    มาจากพระสัพพัญญกล่าวไว้กับสาวก แล้ว สาวกมารวบรวมภายหลัง

    แต่อย่างไรก็ดี ศัพท์บัญญัติที่ พวกสาวกได้ยินแล้ว เอ๊อะ ได้ยินแล้ว อ๊ะ ภูมิไม่ถึง
    นี่ แน่ใจหรือว่า มันจะเป็น ศัพท์ที่เกิดจากการแต่งของคนไม่รู้ มาแต่งแต้มเอาไว้

    แล้วถ้า อภิธรรม เป็น คำของตถาคต หละ
    มันปรกติเลยนะครับ ที่ทุกคนได้แต่ อ่านตาม ไม่ว่า จะอรหันต์ หรือ ปุถุชน

    รักษาเอาไว้ ยังไงก็ดีกว่า ไปอ้างว่า อรหันต์เท่านั้น รักษาได้ เพราะ ฐานะ
    ตรงนี้ยังไงก็เท่ากันคือ เป็น ผู้รับมาจำไว้ เท่านั้น ไม่ได้ต้องการอะไรไปมาก
    กว่า รับมาจำไว้

    ส่วนคนจะเห็น อาการของจิต แล้ว อาศัย บัญญติที่เขารักษาไว้ให้ มาโอ้โห นี่ก็
    ว่กันไปตามประโยชน์ของเขา ซึ่งสุดท้ายประโยชน์ก็คืนกลับแก่ผู้รักษา (หลัก
    เจตนาสร้างกรรมดีไง )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2012
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471

    อ้าว อ้าว แพททริก ไปทำอีท่าไหนหละนี่ ผลงานเริ่มชัดเจน++(plus plus)
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เนาะ เนาะ ....

    * * * *

    ต่อ ยังมันส์


    แล้ว อภิธรรมคำภีร์ นี่ ธรรมฤทธิ์สูงนะครับ ใครได้ยินแล้ว เกิดการ มืด ทึบ สั่น
    สะเทือนนี่ อย่าไปมองว่า ตัวเองโดนใครข่ม

    ให้มองไปที่ ธรรมฤทธิ์ของ อภิธรรม ไปเลย

    มีอย่างไร

    ก็ ขนาดสัตว์เดรัจฉานเช่น ค้างคาว ได้ยินเข้า ยังถูกทำให้ ความมืด ทึบ ตีบ ตัน สั่น
    สะเทือน ตั้งแต่ พุทธันดรก่อนหน้า ( อภิธรรม มีทุก สมัยนะ กบฏศาสนาธรรมภูติ)

    ข้ามมาพุทธันดรเดียว เรียกว่า เกิดตายแค่อีกสองชาติ ก็ บรรลุอรหันต์ไปเลย

    ดังนั้น ได้ยินอภิธรรม แล้ว จิตใจ สั่นสะเทือน มืดทึบ สั่น นี่ ยิ้มรับได้เลย

    อย่ามัวแต่เห็นว่า ถูกทำร้าย ไม่ใช่นะ ไม่ใช่
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เป็นชาวพุทธควรจะศึกษา ไม่ควรปฏิเสธ

    เพราะสภาพธรรมต่างๆที่พุทธองค์พบแล้วบัญญัติ ตั้งชื่อ จำแนกออกมานั้น

    ไม่ใช่ฐานะของ สาวก จะทำได้

    ซึ่งสภาพวะธรรมเหล่านั้นมีอยู่ หยิบให้ดูไม่ได้

    แต่ระลึกกันได้ ด้วยการศึกษาถึงความหมายของชื่อต่างๆ ที่พุทธองค์ใช้แสดงธรรม

    ทีนี้เมื่อเข้าใจลักษณะที่พุทธองค์จำแนก สติย่อมระลึกได้

    เมื่อระลึกได้ ก็เจริญสติปัฏฐานได้ถูกต้อง

    เช่น คำว่า สัญญาขันธ์

    คนศึกษาความหมายมา หรือ รู้ความหมายมา ย่อมระลึกได้ถึงลักษณะ ว่าขณะนี้มีอยู่หรือไม่มีอยู่

    ฉันใด ฉันนั้น
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ^
    ^
    ดีที่รู้ว่าเป็นคำถามที่คิดขึ้นมาถามเอง จะได้ถามความเห็นได้ถูกคน

    การตั้งคำถามคิดเองเออเองขึ้นมาแบบนี้ คนตอบคงลำบากใจน่าดูเลยนะ จะบอกให้

    รู้ได้ยังไงว่าเข้าใจแบบนั้น เมื่อถามว่า "ภาวะตัดดับ(ดับวูบ วูบลง) หรือ

    สว่างโพรง ราวกับโลกทั้งโลกมีแต่จิตนั้น ไม่มีอุปทานใดแล้ว"คล้ายๆกับ.....

    ที่บอกว่าถามเอง แสดงว่าต้องรู้วิธีวางจิตเพื่อเข้าสู่ภาวะตัดดับนั้น

    คำตอบที่จะตอบมานั้น จะเป็นการตอบคำถามที่ถามต่อๆมาไปด้วยในตัว

    ที่สำคัญว่าต้องตอบตามตรงกับสภาวะที่ตนรู้ตนเห็น

    อย่าเบี่ยงออกนอกประเด็น รับรองว่า ได้คำตอบแน่นอน

    ส่วนคำถามต่อมานั้น อกุศลจิต กุศลจิต มรรคจิต ผลจิต เป็นจิตดวงเดียวกันหรือไม่?

    อกุศล+จิต เท่ากับ อกุศลจิต กุศล+จิต เท่ากับ กุศลจิต

    มรรค(ทางเดิน)+จิต เท่ากับ มรรคจิต ผล+จิต เท่ากับผลจิต

    อกุศล กุศล มรรค ผล เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นที่จิตใช่หรือไม่?

    อรรถกถาจารย์ท่านกล่าวไว้ชัดเจนแล้วว่า อาการของจิตเกิดขึ้นได้ที่ละขณะใช่หรือไม่?

    หรือที่เรียกว่าจิตเกิด(รับ)อารมณ์ได้ที่ละอารมณ์ใช่หรือไม่?

    อกุศลเกิดขึ้นที่จิต จิตรู้มั้ย? กุศลเกิดขึ้นที่จิต จิตรู้มั้ย?

    จิตเดินทางอยู่(มรรค) จิตรู้มั้ย? ถึงที่หมายแล้ว จิตรู้มั้ย?

    คำตอบอยู่ในนี้แล้วว่าจิตมีกี่ดวง? อาการของจิตมีกี่ดวง?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  8. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    เฉียดๆครับพี่หลง คือพอเรารู้กระทบ ขณะจะยกปรุง ตรงนี้จะชัดขึ้น กำลังดีความรู้ชัด
    สบัดออก ยกปรุงเลือกได้ครับ อธิบายเยอะๆได้ครับ ตั้งใจอ่านครับ ขอบคุณครับ
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ(อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์(อีกปริยยายหนึ่ง) พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมคิด(เจเตติ)ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริถึง(ปกปุเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมีจิตปักลงไป(อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาน เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญานย่อมมี เมื่อวิญญานนั้นตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้วการก้างลงแห่ง นาม รูป ย่อมมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.......... ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึง สิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีใจฝังลงไป(อนุสัย) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาน เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญานย่อมมี เมื่อ วิญญานนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่ง นามรูป ย่อมมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาย เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้---นิทาน.สํ.16/79/147(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ อาการที่ทุกข์เกิดจากอาหาร พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหารสี่อย่างเหล่าใหนเล่า สี่อย่างคือ อาหารที่หนึ่งคือ อาหารคือคำข้าว หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม อาหารที่สองคือ ผัสสะ อาหารที่สามคือ มโนสัญเจตนา อาหารที่สี่คือ วิญญาน ภิกษุทั้งหลาย อาหารสี่อย่าง นี้แล มีอยู่ เพื่อ ความตั้งอยู่ได้แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด.............ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหารคือ( คำข้าว ผัสสะ มโนสัญเจตนา วิญญาน) วิญญานก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในอาหารคือ( คำข้าว ผัสสะ มโนสัญเจตนา วิญญาน) วิญญานตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ในที่ใด การก้าวลงแห่ง นามรูป มีอยู่ในที่นั้น การก้างลงแห่ง นามรูป มีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญสังขารมีอยู่ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น การบังเกิดในภพใหม่มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป มีอยู่ในที่ใด ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่ามีโศก ธุลี และ มีความคับแค้น ดังนี้................. ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างย้อม หรือ ช่างเขียน เมื่อ น้ำย้อมคือ ครั่ง ขมิ้น คราม หรือ สีแดงอ่อน ก็ จะพึงเขียนรูป สตรี หรือ รูปบุรุษ ลงที่แผ่นกระดาน หรือ ฝาผนังหรือผืนผ้า ซึ่งเกลี้ยงเกลา ได้ครบทุกส่วน อุปมานี้ฉันใด.....ภิกษุทั้งหลาย อุปไมย ก็ฉันนั้น คือ ถ้า มีราคะ มีนันทิ มีตัณหาในอาหารคือ (คำข้าว ผัสสะ มโนสัญเจตนา วิญญาน) วิญญานก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในอาหารคือ (คำข้าว ผัสสะ มโนสัญเจตนา วิญญาน) วิญญานก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในอาหารคือ(คำข้าว ผัสสะ มโนสัญเจตนา วิญญาน) วิญญานที่ตั้งอยู่ได้เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ในที่ใด การก้าวลงแห่ง นามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น การก้าวลงแห่ง นามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ก็มีอยู่ในที่นั้น การบังเกิดภพใหม่ มีอยู่ ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติชราและมรณะต่อไป มีอยู่ในที่ใด ภิกษุทั้งหลายเราเรียกว่า ที่มีโศก มีธุลี และมีความคับแค้น ดังนี้แล---นิทาน.สํ.16/122-123/245-247.:cool:
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    วิญญาน ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้ เพราะมี นันทิ ราคะ มีตัณหา ในอาหาร สี่อย่างเหล่านั้น วิญญานตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้ และ ก้าวลง สู่นามรูป(การรับรู้ ว่ามี นามรูป).....?
     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ไม่ใช่เรื่องคิดเอง เออเอง หรือตรรกะอะไรหรอก

    มาถึงสภาวะนี้ ต้องเจอกันทุกคน ^^

    ไม่ได้ให้มาถามต่อเน้อ เป็นปัญญาที่ท่านต้องไปพิจารณาเอง



    ก็เอาสิ่งที่ธรรมภูติย้อนถามชาวบ้านอยู่ว่า โน่นนี่ดับ แล้วอะไรที่ไปรู้ว่ามันดับ ถ้าไม่ใช่จิต

    เจตสิกหรืออาการจิต มันแยกออกจากจิต เป็นอิสระจากขันธ์ ๕

    หรือจะว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต อย่างที่ธรรมภูติเข้าใจเอาเองนั้น

    ก็ในเมื่อหลุดแล้ว เหลือแต่รู้ผ่องใสอย่างนั้น

    ก็อะไรเล่าที่รู้ว่ามันผ่องใส

    อะไรเล่าที่จดจำความผ่องใส จดจำความรู้นั้น

    อะไรเล่าที่ปรุงให้สงบ เบาอยู่ขณะนั้น

    อะไรเล่าที่รู้สึกอยู่ รู้อยู่ แล้วเอามาเป็นทิฏฐิ

    ที่เด่นดวง ผ่องใส รู้อยู่อย่างนั้น ความรู้สึกเป็นกูอยู่ถูกไหม จิตเราของเรา ถูกไหม

    พวกนี้น่ะ แน่ใจแล้วหรือ ว่าอิสระ หลุดจากขันธ์๕ หรือ คิดเอาเอง ว่าขันธ์๕ ไม่ใช่ขันธ์๕

    นี่เป็นการขยายคำถามอีกทีนะครับ จะได้ไม่ออกนอกประเด็น

    แน่นอนจิตย่อมรู้ แล้วที่รู้ลักษณะที่ถามไปข้อแรก

    เข้าใจว่าอาการจิตของธรรมภูติ หลุดไป หายไป เหลือแต่จิตผ่องใส ดวงเดียวนั้น

    มันเป็นความสงบอันเกิดจากความตั้งมั่นของสมาธิ ถูกไหม

    ทีนี้ อาการสงบ อาการนิ่ง อาการเฉยนั้น ท่านไม่คิดหรือว่า

    นั้นก็คืออาการของจิตเหมือนกัน ถ้าจะว่ากันเรื่อง เจตสิก ^^


    ฉนั้นแล้ว ตอบเน้นๆไปเลย
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พี่หลง ว่า ถ้า ละตัณหาได้แล้ว จะ เหลือ อะไร จะมั่นหมายว่าอะไรเป็นอะไร(ยากไปใหมครับ แต่อยากลองถามดู เพื่อ....)....ถ้าคิดว่าคำถามนี้ไม่ถูกก็ต้องขออภัย:cool:
     
  14. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ไม่มีเรารู้กระทบนะครับ ขณะกระทบก็เป็นนาม

    รู้กระทบก็เป็นนาม ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะนั้นแล้วดับไป

    โดยมากเวลาถูกกระทบมักจะลงใจ ตัดสินเป็นคนสัตว์ เห็นสมมุตติเป็นของจริงทันที

    โดยไปปรุงและเสพกันเรียบร้อย แล้วค่อยมารู้สึกกันตรงนั้นครับ

    รู้ไว้เลยว่า ขณะนั้นอกุศลรับประทานอยู่


    เรื่องความชัดแล้วแต่ ไม่เจาะจงว่าต้องรู้ฐานไหนก่อน

    สติมันรู้ขึ้นมาฐานไหนก็ ก็พิจารณาฐานนั้นก็ได้

    เช่น ถ้าไปรู้สึกตัว หรือรู้เวทนา ก็ต้องรู้ลักษณะที่กำลังเสวยอารมณ์ที่ดี หรือไม่ดีในขณะนั้น

    ไม่ใช่ไปรู้สุข หรือ รู้ทุกข์

    เมื่อรู้ว่านี่เป็นลักษณะของเวทนา ไม่ใช่เราที่ไปสุข ไปทุกข์ มันก็เป็นวิปัสสนาภูมิแล้วครับ

    จิตที่เสพกามมันก็ค่อยๆคลายออก เป็นกุศลจิตในขณะนั้น

    เวทนากาย มากับธาตุ อาจจะระลึกต่อลงไปก็ได้ ที่รู้สึกว่าเป็นแขนนั้น

    ยังมีความเป็นแขนเราอยู่ ให้ระลึกลงไปที่รู้สึกนั้น ว่ามีแข็งไหม มีหนักๆไหม มีเย็นไหม

    นั้นเป็นลักษณะของธาตุ รู้ชัดลงไป แข็งก็เป็นลักษณะของธาตุดิน

    ในธาตุดินเป็นเราหรือ ของเราหรือ

    ระหว่างธาตุ กับ รู้ธาตุก็เป็นคนละขณะที่รู้ เป็นคนละส่วนกัน

    หากเวทนาแรงในขณะนั้น ก็จะเห็นเวทนาใจ ความเจ็บปวดที่ใจยึด ต่างจากใจรู้ ต่างจากรู้ธาตุ

    มันก็เป็นคนละขณะ คนละส่วนกัน ไม่มีความเป็นเรา

    จนเหลือที่มโนจิตที่รู้ธรรมต่างๆ ขณะนั้นเกิดพร้อมปัญญา

    พิจารณาต่อไปเลย ที่รู้นี้ใช่เราหรือ แค่วิญญาณขันธ์ หรือแค่ปัญญาเจตสิก

    เมื่อก่อนไม่มี ตอนนี้มี แล้วก็จะไม่มีอีก ใช่ของเที่ยงไหม

    ที่บรรยายไม่ใช่สิ่งนึกคิด แต่เป็นการเห็นลักษณะธรรมนั้นจริงๆ



    ทีนี้ เมื่อรู้แล้วว่า รูปนามเป็นอย่างไร คลายความติดข้องได้อย่างไร

    เมื่อสภาวะธรรมเกิด สติจะระลึกสภาพธรรมนั้นว่าคืออะไร ได้เร็วขึ้น ชัดขึ้น วางได้ว่องไวขึ้น


    ต่างจากสติรู้ตัว รู้สมมุติ หรือ รู้ตรงๆไหม
     
  15. huayhik

    huayhik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    181
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,131
    ขอประทานโทษทุกท่านด้วยนะครับ..ผมเห็นต่างว่า วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ 5 ไม่ใช่จิต.... แต่หากว่า จิตกับวิญญาณหรือวิญญาณธาตุ หมายอย่างเดียวกันได้

    จิตนั้นไม่มีตัวตนจริงแต่จิตนั้นเป็นอมตะ ผมคิดอย่างนี่ว่า พระอรหันต์จบกิจลงไม่มีขันธ์ 5 แล้ว ถ้าหมายวิญญาณขันธ์คือจิตจิตก็ต้องไม่มีด้วย ตัวพุทธะแท้ก็ต้องไม่มีด้วยใช่ไหม...

    วิญญาณขันธ์ นั้นรับรู้เช่นกันแต่ตัวรู้ในขันธ์คืออะไร และจิตที่เป็นตัวรู้เช่นกันคือรู้อะไร...

    ดังคำเทศของหลวงพ่อพระราชพรหมยานตอนหนึ่งว่า...

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานอธิบายขันธ์5

    วันนี้ก็พูดกันถึงมหาสติปัฏฐานสูตรในด้านธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน วันนี้ก็มาพูดกันถึงขันธ์ ๕ ตามพระบาลีว่า ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ เป็นต้น แปลใจความตามพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรภิกษุ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ดังกล่าวต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้เนืองๆ ว่า อย่างนี้รูป และความเกิดขึ้นของรูป ความดับไปของรูป แล้วก็พิจารณา เวทนา พิจารณาถึงความเกิดขึ้นของเวทนาและก็ความดับไปของเวทนา

    เป็นอันว่า ขันธ์ ๕ ในมหาสติปัฏฐานสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสก็คือขันธ์ ๕ ปกติที่เราเคยศึกษากันมานั่นเอง ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป คือสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา เวทนา ก็คือความเสวยอารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขาร ได้แก่ อารมณ์ที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว นี่เราเรียกกันว่าบุญหรือบาป ถ้าบุญก็หมายความถึงความดี บาปก็หมายความถึงความชั่ว สำหรับคำว่า วิญญาณ แปลว่าความรู้สึก ได้แก่ความรู้สึก หนาว ร้อน หิว กระหาย เผ็ด เปรี้ยว เค็ม ของอ่อน อย่างนี้เป็นต้น

    ความว่าวิญญาณนี้ พระมักจะเทศน์บวกไปกับจิต ชักจะยุ่งเหมือนกัน คำว่าวิญญาณเดี๋ยวนี้เขาเรียกว่าประสาท เขาใช้ประสาโท โดยแยกไปกับจิต วิญญาณกับจิตนี่ มันคนละตัว จำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามเรื่องวิญญาณก็บอกเขาด้วยว่า วิญญาณไม่ใช่จิต เราก็มารู้กันว่ารูปเราสามารถจะเห็นได้ด้วยตาเนื้อ เราหมายถึงมหาภูตรูปนะ อีกพวกหนึ่งอุปาทานรูปนี่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ มีความรู้สึกกระทบ อย่างเสียงและกลิ่นเป็นต้น ท่านถือว่า เป็นกลิ่นเหมือนกัน แต่ว่าสำหรับรูปในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ ท่านต้องการรูปที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ นี่จัดว่าเป็นรูป เพราะสามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2012
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ยังละไม่ได้ครับ ยังไม่ใช่ฐานะที่จะตอบได้ ^^

    ได้แต่รู้ว่ามันเกิด บางทีก็ร่วมวงกับมัน ถ้าสติปัฏฐานเกิดก็ไม่ไปเอากับมัน

    รู้ว่าต้องสำรวมอินทรีย์ ด้วยการเจริญอายตนะต่อไป....


    แพททริกมีความเห็นอย่างไรหรอ
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ผ้ม มีความเห็นว่า...การมั่นหมายสิ่งใดใดว่าเป็นอะไร...ขึ้นมา เกิดจากตัณหาเป็นเหตุ...จริงจริงไม่มีอะไรหรอกครับ...กลัวพี่หลงลืมไปให้ความสำคัญกับอย่างอื่นมากกว่า(แต่อย่างอื่นก็สำคัญไม่ใช่ไม่สำคัญ)... หมายถึง เรา ปฎิบัติ เพื่อ การละกิเลสตัณหา เป็นสำคัญ ใช่ใหมพี่:cool:เพราะ วิญญาน(ความรู้) ตั้งอยู่ได้ มีอยู่ได้เจริญอยู่ได้ เพราะอนุสัยความใส่ใจ ในอารมณ์ การหมายมั่นจึงเกิดขึ้นมา....ตามกฎอิทิปัจจัยตา..สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนั้นดับ เพราะความดับของสิ่งนั้น...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2012
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ถ้าอย่างนั้น การปฏิบัติเพื่อ การละกิเลสตัณหา เป็นเหตุให้เกิดการหมายมั่นจึงเกิดขึ้นมาอย่างนั้นหรือ

    ขยายหน่อยสิ


    เข้าใจว่าประโยคที่แพททริกกว่านั้น เป็นภูมิผู้ละแล้วพึงจะกล่าวได้

    ก็อนุโมทนาในธรรมที่แพททริกประจักษ์ด้วย ^^
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    อนุสัยนอนเนื่องจากเวทนา กิเลสตัณหา อาสวะ...เป็นสมุทัยใช่ใหมครับ....ไม่ใช่ภูมิอะไรหรอกพี่ อาจจะเรียกว่าหญ้าปากคอกก็ได้.....คือหมายถึง อยากบอกพี่หลงว่า เวลาภาวนาไป(แบบใหนก็แล้วแต่) เราคงไม่ได้หมายมั่นว่าเรารู้อะไร(รู้นะดี) แต่ หมายมั่นว่า ตัณหาเราละได้มากกว่า ใช่ใหมครับ:cool: จะว่า ยังไงดี คือ คล้ายคล้ายพระ นั่นแหละ ท่านมีทาง(อาจจะเป็นมรรค)ให้เราเห็น ทั้งการพูด การอยู่... ทางนั้นอยู่ในกรอบมากกว่าเราบางอย่างท่านทำ บางอย่างท่านไม่ทำ(อันนี้อย่าซีเรียสนะครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2012
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ในเวลาขณะภาวนา ไม่มีกิเลสอะไรก็ได้
    บางทีก็เหลือแต่ อารมณ์จะเอาให้ถึงที่สุด (คือวาง)
    คือทิ้งสมมุติไป ไม่ว่าจะดีไม่ดี ไม่เอา
     

แชร์หน้านี้

Loading...