เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 26 ธันวาคม 2011.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    หลานแพท ช่วยให้ความกระจ่างกับลุงด้วยว่า

    การละกิเลส ตัณหา อุปาทานนั้น เค้าละกันที่ไหน?

    การรู้ลักษณะ เรียกว่าสัญญา การรู้สภาวะะรรมจากการภาวนาเรียกว่าปัญญาใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  2. huayhik

    huayhik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    181
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,131
    ศาสนาพุทธดำรงอยู่ได้เพราะคุณแห่ง พระพุทธ พระธรรม พระอริยะสงฆ์...

    ขอคุณท่านมากนะครับ...ประโยชน์หลายจริงๆครับที่ได้สนทานากับท่าน../ยิ้มๆ..ความพ้นทุกข์เป็นสุดในพุทธแล้ว..มุ่งด้วยกันครับ..เจริญในธรรมครับ...

    ต้นไม้ก็รู้อยู่ว่าต้นไม้เพียงเด็ดมาเพียงใบ กิ่ง มันก็คืออันเดียว...(เพียงผมยังเป็นผู้โง่อยู่)
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในบ้านภัณฑคามแล้ว
    ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า มาไปกันเถิดอานนท์
    เราจักไปยังบ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร
    ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนครแล้ว
    ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น
    ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ เหล่านี้
    พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังต่อไปนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
    นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
    พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
    แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
    นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น
    พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
    นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่หนึ่งนี้ไว้ ฯ

    [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่าสงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น
    ข้าพเจ้าได้ฟังมาได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ
    พระศาสดา ดังนี้
    พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
    แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของ
    พระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย
    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น
    เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา
    ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
    พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทแลพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
    แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตรเทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และพระเถระเหล่านั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย
    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตรเทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูกต้องแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น
    เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
    ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
    พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทแลพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
    แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
    ในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
    นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น
    พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
    นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ฯ
    ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ในโภคนครนั้น
    ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้
    ปัญญา
    สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ
    คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๒๙๖๓ - ๓๐๒๔. หน้าที่ ๑๒๑ - ๑๒๓.
    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    ^
    ^
    มหาประเทศ ๔ คือพระพุทธพจน์ที่ทรงวางหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน

    เพื่อป้องกันและปกปักรักษาคำสอนพระองค์ที่ได้ทรงกล่าวไว้ดีแล้ว

    ไม่ให้ปฏิรูปไปด้วยมหาประเทศ๔นี้

    เป็นหลักที่วางไว้อย่างชัดเจน แม้อรรถกถาจารย์เองยังต้องเคารพในคำสั่งสอนนี้

    และได้รจนาเพื่อปกป้องพระวจนานี้ไว้เช่นกัน แต่กลับมีพวกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระสูตรนี้อย่างมากมาย

    ธรรมะข้อนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไว้

    ด้วยมีพระญาณเล็งเห็นการณ์ไกลว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเสียแล้ว

    พุทธบริษัท ๔ จะได้มีหลักตัดสินว่า ธรรมวินัยข้อใดที่ใช่,

    ธรรมวินัยข้อใดที่ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระองค์

    ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงที่อานันทเจดีย์ บ้านโภคนคร ดังนี้คือ

    “ถ้ามีภิกษุมากล่าวอ้างว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น
    ครั้นแล้วให้พึงเรียนบทและพยัญชนะให้ดี แล้วนำไปสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    (แสดงว่าพระอภิธรรมปิฎกยังไม่มีในพุทธกาล)

    ถ้าหากลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
    นี่ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคย์แน่นอน และภิกษุนี้จำผิดมาแล้ว ดังนั้น
    พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

    แต่ถ้าสอบสวนลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า

    นี่เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคย์แน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว”

    จากมหาประเทศ ๔ ที่ได้ทรงแสดงในพรรษาสุดท้าย แสดงว่าพระพุทธองค์มีพระญาณแลเห็นการณ์ไกล
    จึงได้ทรงวางหลักเพื่อให้พุทธบริษัทได้ใช้ สำหรับวินิจฉัยธรรมของพระองค์ซึ่งมีอยู่มากมายได้

    ถ้าหากมีผู้บัญญัติธรรมะข้ออื่นแปลกปลอม เพิ่มเติม ดัดแปลง หรือตัดทอนให้ผิดไป
    เกินไป เพี้ยนไป คลาดเคลื่อนไปจากเดิมแล้ว จะได้มีหลักสำหรับตัดสินอย่างถูกต้อง

    แถมตอนท้ายพระสูตรพระพุทธองค์ยังทรงเน้นย้ำชัดๆไม่ต้องตีความว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อผลมาเทียบเคียง

    นำพาให้จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

    หลักฐานอีกประการหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ โดยทรงปรารภถึงพระสาวกในมหาปรินิพพานสูตรว่า

    “โยโว อานนฺท ธมฺโม จ เทสิโต วินโย จ ปญฺญตฺโต โส มม อจฺจเยน สตฺถา” แปลว่า
    “ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย
    ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแทนเรา ปกครองท่านแทนเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว”

    ใครคิดจะเป็นปฏิปักษ์กับองค์พระศาสดา คงต้องตั้งหลัก วางเกณฑ์ในจิตใจตนเองเสียใหม่ให้ดีๆนะจ๊ะ


    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  4. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    รู้ เห็นจริงที่ไหน รบที่นั่น
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หึๆๆ น่าจะรบกับตัวเองมากกว่าว่าไหม รบกับใจที่ไม่สงบนิ่ง และใจที่ไม่สงบนิ่งเพราะมันอยากวิ่งไปตามที่มันต้องการ และเหตุที่มันต้องการเพราะมันไม่รู้ว่าจริงๆแล้วนั่นมันทำให้ทุกข์ต่างหาก ศัพท์ต่างๆที่บัญญัติไว้เพื่อให้เห็นรายละเอียดของมันก็เท่านั้นบางคน...ไม่รู้จักรายละเอียด แต่บางคนก็มีรายละเอียดในตนเองคือเมื่อเห็นรายละเอียดด้วยตนเองก็ไม่ต้องไปเทียบเคียงกับอะไรอีก เป็นผู้ไม่มีความลังเลและสงสัยในธรรมของพระศาสดาไง
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ......ผมว่า ทำไม พระท่านว่า ทุกข์ ต้องกำหนดรู้....คือต้องรู้ก่อนว่าทุกข์ คืออะไร?ใครว่า ง่าย ว่าทุกข์คืออะไร(ทุกข์อริยสัจ) มันไม่ง่ายที่จะรู้เลย...ทีนี้การ ภาวนา เพื่อการพ้นทุกข์ เท่านั้น จะไปเอาอะไรอีกล่ะ(แต่ไม่แน่ สำหรับคนที่ไม่เห็นทุกข์อริยสัจ)...ตัณหากิลส คือตัวการสร้างทุกอย่างขึ้นมา (ตัณหา ปัจจัยให้เกิด อุปาทาน).....เมื่อดำเนินตามมรรคเข้าถึงความดับทุกข์ก็จบ.....อะไรที่กล่าวไปไม่ถึง ผมไม่สามารถกล่าวได้.....:cool:
     
  7. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    รู้ เห็น ณ.ขณะกระทบ กำลัง ความรู้พอ ละตรงนั้น
     
  8. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    ถ้า" หน้าแข้ง กระทบก้านคอต่อพอดีเลยนี่"..จะมีกำลังความรู้ละได้ไหม..หือ หือ ไอ้จิตจำนนท์:':)@
    หากคุณจิตจำนนท์..ตามอาการได้ทัน ผมนับถือ สภาวะตรงนี้ มันจะละทันไหม.. และเขาเรียก "รู้ซ้อนรู้" หรือว่า "รู้แล้วเลือน..วะซั่น"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2012
  9. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ผมบอกได้เท่านี้ครับ
    ปฎิบัติตามคำตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว เป็นที่สุดแล้ว
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    มันก็ไม่แน่นะปู่ "สับ" ตอนแรกแรก อาจจะยกการ์ดตั้งรับก่อน สักดอกสองดอก(มีสวนบ้าง) แต่....หลายหลายครั้งเข้า....อาจจะเดินหนี ดื้อ ดื้อ ก็:cool:ได้................
     
  11. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    เออตอบ เล่นสำนวนอยู่นั่นแหละ..เงา กับ เบลอ.. นี่เป็นหนึ่งเลยนะมึ๊งงง..นี่ไงเขาเรียก "รู้ซ้อนรู้" ว้อยย..เจ้า peatrix..:mad::boo:
     
  12. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    แต่คุณmug.. พูดไปจนจบแล้วเลยมรรคไปแล้วยัง..มาบอกไม่สามารถกล่าวได้ ..ปีใหม่นี่mugยังไม่สร่างรึ ไอ้ peatrix..:':)@
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เห็นภาพชัด :cool:
     
  14. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ที่ชี้ให้ชัดคงไม่ได้ ปู่ต้องปฏิบัติเอง
    เล่าได้เท่าที่รู้ การตามดู รู้ เห็นแต่แรกเปรียบเหมือนเราอ่านบันทึกตัวเราเอง
    ให้รู้ จนเข้าใจด้วยตนเอง แต่ตรงนี้ไม่มีกำลังพอ ต้องพร้อมทั้งศีล สติ สมาธิ ปัญญา
    ลงปัจจุบัน จสามารถละความยึดมั่นได้ตามกำลังและความรู้ ตรงนี้ทุกข์จะไม่เกาะเลย
    แต่ทุกข์ยังมีเรื่อยๆ
     
  15. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    ถ้าโดนไป1 ดอก แบบข้างบนนั่นนะ..mug ไม่ต้องละหรอก..ลาได้เลย.
    ...เพราะ mug..จะละไม่ทัน:':)'(..เพราะ mug มึงมีแต่สติ..หลอกๆ ถิรสติ ..ของmugไงไอ้จิตจำนนท์..!:':)@
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พรหมทัณฑ์
    เอามาจากกระทู้ อาแปะ
    อาจเอามาปรับใช้
    กับคนที่คิดว่าผ่านสภาวธรรมมาเยอะเป็นศิษย์พระพุทธเจ้าเหลือเกิน


    อานนท์ อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องฉันนะ เธอเป็นพระที่ดื้อดึง มีทิฏฐิมานะมาก
    ไม่ยอมฟังใคร ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อใคร เพราะถือดีว่าเคยเป็นข้าเก่าของเรา
    เคยใกล้ชิดเรามาก่อนใครๆ หมด เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
    ขอให้สงฆ์ลงพรหมฑัณฑ์แก่พระฉันนะ คือปรารถนาจะทำจะพูดสิ่งใด หรือ
    ประสงค์จะอยู่อย่างไร ก็ให้เธอทำเธอพูดและอยู่อย่างอัธยาศัย
    สงฆ์ไม่ควรว่ากล่าวตักเตือนอะไรเธอ นี่เป็นวิธีลงพรหมทัณฑ์
    คือการลงทัณฑ์ที่หนักที่สุดแบบอริยะ
    พระอภิธัมมัตถสังคหะ 9 ปริจเฉท โดย อ.บุญมี เมธางกูร <!-- google_ad_section_end -->
     
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    โพสต์แล้ว ก็สงสัยเอง
    พรหมทัณฑ์ จะผ่าน เมตตา กรุณา มุทิตา ก่อนอุเบกขา
    เหมือนพรหมวิหารไหม

    แบบนี้นับว่าใช้ได้หลายแง่มุม
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075

    เป็นปัญญาสิ ถ้ามันไปเห็นสภาพธรรมนั้นจริงๆ ประจักษ์จริง ว่าเป็นทุกข์ ว่าไม่เที่ยง ว่าเป็นเพียงขันธ์ ธาตุ อายตนะ ไม่ใช่ตัวตน


    ก็กล่าวอยู่ในทางสติปัฏฐานนั่นแล

    มันมีอยู่หลายบรรพ หลายภูมิ แล้วแต่ปัญญาชำนาญบรรพไหนก็พิจารณาบรรพนั้น

    ที่กล่าวสติปัฏฐานในชีวิตประจำวัน เพราะ อกุศลเกิดมากกว่ากุศล

    โทสะ โมหะ โลภะ กุกุจจะ อหิริ อิสสา วิจิกิจฉา อุธัจจะ ถีนะ ฯลฯ

    มันสับเปลี่ยน หมุนเวียนเกิดดับ ตามปัจจัยอยู่ทุกเวลา

    ถ้าพิจารณารวมๆ จะทราบว่า เป็นการรู้จักทุกข์ รู้จักลักษณะของทุกข์

    แล้วดับมันตรงที่เกิดเสีย เข้าใจหรือ

    สะกิดให้ไปพิจารณาอนิจจังจังเลย :cool:

    พึงทราบว่า ส่วนมากจะพูดรูปนามเป็นหลักใหญ่ก่อน ไม่ว่าคุยกับใครก็ตาม

    เพราะไม่ได้รูปนามปริเฉท แล้วไปรู้ ไปเร่งในปัญญาญาณสูงขึ้นไปย่อมไม่ใช่ฐานะ

    ทีนี้ชี้ให้ลงให้รู้ตรงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ก็ให้รู้ลงลักษณะธธรรมนั่นซึ่งเป็นปรมัตถ์ธรรม

    ไม่ใช่ไปรู้สมมุตติบัญญัตติ หรือเอาความเป็นเราไปรู้ เป็น คน สัตว์

    และถูกต้องครับ การรู้ลักษณะนี้ ยังเป็นสมถะอยู้

    แต่ปัญญาที่เห็นสภาพธรรม แล้วเข้าใจนั้น

    ขณะนั้น สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นถูกต้อง และสัมมาสังกัปปะ คือ พิจารณาถูกต้อง มันเกิดอยู่

    ก็ในสภาพธรรมนั้นมันมีอยู่แล้ว ๒ ลักษณะ

    คือ สามัญลักษณะ ลักษณะความเป็นไตรลักษณ์

    วิเสสลักษณะ ลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นๆ

    ปัญญาเกิดเพราะเข้าไปรู้จักลักษณะ แล้วเข้าใจลักษณะธรรมนั้นๆ ตามปัญญาในวิปัสสนาภูมิ

    นี้คือ ลักษณะธาตุ ขันธ์ อายตนะ อินทรีย์ อริยะสัจ

    ปัญญาเกิดเพราะการพิจารณาเป็นอารมณ์ เป็นปัญญาญาณ

    ปัญญาตรงนี้ มันเป็นอารมณ์พิจารณาทั้งวัน

    ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนไม่รู้จักอนิจจัง ยังไม่เห็นอนิจัง จักไม่กล่าว ไม่พิจารณาอนิจจัง

    พอเห็นลักษณะความไม่เที่ยง มันมองอะไร พิจารณาอะไรมันก็ไม่เที่ยงเป็นอารมณ์ จนกว่าจะเกิดสภาพธรรมอื่นอีกจึงวางสิ่งนั้นลงได้


    ทีนี้การลงวิปัสสนาภูมิ เป็นการรู้ถูก พิจารณาถูก และวางถูก

    ก็การรู้ลักษณะต่างของ จิต เจตสิก รูป นั่นแล

    คือรู้จักลักษณะทุกข์ ทุกขลักษณะ หรือ ทุกข์สภาวะ ซึ่งเป็นทุกข์สัจจะ

    ไม่ใช่รู้แค่ลักษณะนี้ เรียกอย่างนี้ หรือไปนั่งนึกเอาว่ามันคืออะไร แบบนี้เป็นถูกต้อง


    ทีนี้เข้าเรื่อง สิ่งที่แพทริกชี้แนะ เรื่อง อนิจจัง ถูกไหม

    ความกำหนดรู้ทุกข์ ความไม่เที่ยง ของความมีอยู่ แล้วเปลี่ยนไป ดับไป เป็นปัจจัยให้สิ่งอื่นที่ยังไม่เกิดได้เกิด

    พวกนี้มันก็อยู่ในลักษณะสภาวะธรรมที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ จะรู้ก็ต้องรู้จากลักษณะธรรมจริงๆ

    เมื่อแทงตลอด ในลักษณะนั้นพิจาณาต่อไปสิ ว่าธรรมนั้นใช่เราไหม ควรยึดว่าเป็นเราไหม เป็นอนัตตาไหม




    ทั้งหมดนี้ต่างกันมาก

    อยู่ๆจะให้พิจารณา ไตรลักษณเลย ย่อมไม่ใช่ฐานะ อาจไม่ถูกก็ได้

    ควรเป็นไปตามลำดับขั้นที่เข้าใจได้ มันมีญาณของมันอยู่

    นี่พูดไรซ้ำๆเรื่องแนวทาง จนเข้าใจในว่านายหลงเนียวแน่นในทาง อาจจะน่าเบื่อ

    ก็ถือว่าแลกเปลี่ยนก็แล้วกัน
     
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขยายหน่อยสิ :cool:
     
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ที่พี่หลงกล่าวก่อนหน้านั่นล่ะครับ
    แค่ปฎิบัติได้ บ้าง
     

แชร์หน้านี้

Loading...