ใจ เป็นมหาเหตุ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อโศ, 13 เมษายน 2012.

  1. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    สมฺมาทิฏฺฐิ คือ ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองกลั่นกรองดู หาสิ่งที่จิตหลงยึดถือสำคัญผิด
    เข้าใจว่านั่นเป็นเรา นี่เป็นของเรา มันเป็นความหลงผิดของใจ
    ปัญญาจึงต้องตามแก้ให้เห็นตามความเป็นจริง

    ท่านจึงสอนให้พิจารณากาย ทั้งข้างนอกข้างใน ข้างบนข้างล่าง ภายในกายนอกกาย
    พิจารณาให้ละเอียดทั่วถึง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจน

    “มคฺค อริยสจฺจํ” คือ เครื่องมือปราบกิเลสทุกประเภท
    สติปัญญา เป็นเครื่องมือที่ทันกลมารยาของกิเลส
    เครื่องแก้ความหลง วุ่นวาย ความยึดมั่นถือมั่นของใจ
    ฟาดฟันลงไปพิจารณาลงไป จนความจริงเปิดเผยขึ้นมา ปัญญาลงหยั่งถึงความจริง
    ไม่มีคำว่า “บุคคล“ คำว่า “สัตว์” คำว่า “เขา,เรา” ไม่มี
    ความเสกสรรเหล่านี้เป็นเรื่องจอมปลอม ที่เกิดจากกิเลสจอมหลอกลวง

    จิตที่ถูกกดถ่วงเพราะอำนาจ “อุปาทาน”
    เกิดความเห็นผิดของจิตด้วยอำนาจของกิเลส
    ย่อมถูกสติปัญญาเป็นผู้ถอดถอน นี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา
    เนื้อเป็นเรา เอ็นเป็นเรา กระดูกเป็นเรา เป็นของเรา
    อวัยวะทุกชิ้นทุกส่วนเป็นเราเป็นของเรา
     
  2. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    คำว่า บุคคล คน สัตว์ เรา เขา นั้นเป็นสมมุตติ

    คำว่า ไม่มี บุคคล คน สัตว์ เรา เขา นั้นก็ยังเป็นสมมุตติ โดยเข้าไปเปรียบกับสภาวะ แบบผลักไส

    คำว่า สภาวะนั้นมีอยู่ แต่ก็อยู่อย่างสภาวะ รูปและนาม

    คำว่า รูปและนาม นั้นมีลักษณะ ที่เกิดดับคือลักษณะของรูปนาม มิใช่สภาวะของรูปนามเอง

    ฉนั้นแล้ว รูปนามจึงมีความสูญเป็นลักษณะ
     
  3. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    คำว่า บุคคล คน สัตว์ เรา เขา นั้นเป็นสมมุตติ

    ถูกต้อง

    คำว่า ไม่มี บุคคล คน สัตว์ เรา เขา นั้นก็ยังเป็นสมมุตติ โดยเข้าไปเปรียบกับสภาวะ แบบผลักไส

    อะไร คิอ การเปรียบสภาวะแบบผลักไส ใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด ใช้อะไรเป็นตัวตัดสิน

    คำว่า สภาวะนั้นมีอยู่ แต่ก็อยู่อย่างสภาวะ รูปและนาม

    ถูกต้อง

    คำว่า รูปและนาม นั้นมีลักษณะ ที่เกิดดับคือลักษณะของรูปนาม มิใช่สภาวะของรูปนามเอง

    อะไรเป็นตัวบอกถึงรูปและนาม นั้นมีลักษณะ ที่เกิดดับ แต่มิใช่สภาวะของรูปนามเอง


    ฉนั้นแล้ว รูปนามจึงมีความสูญเป็นลักษณะ

    แล้วทำไมรูปนามจึงมีความสูญเป็นลักษณะ

     
  4. ช่อม่วง

    ช่อม่วง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +312
    ฉนั้นแล้ว รูปนามจึงมีความสูญเป็นลักษณะ

    แล้วทำไมรูปนามจึงมีความสูญเป็นลักษณะ



    มารออ่านคำตอบด้วย ค่ะุ สงสัยเหมือนกัน
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ๑ อะไร คิอ การเปรียบสภาวะแบบผลักไส ใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด ใช้อะไรเป็นตัวตัดสิน

    ๒ อะไรเป็นตัวบอกถึงรูปและนาม นั้นมีลักษณะ ที่เกิดดับ แต่มิใช่สภาวะของรูปนามเอง

    ๓ แล้วทำไมรูปนามจึงมีความสูญเป็นลักษณะ


    ตอบว่า

    ๑ หากกำหนดรู้ โดยนั้นเป็นเรา นั้นไม่ใช่เรา ข้อนั้นเป็นการผลักไสสมมุติ โดยเอาสมมุติเข้าไปกระทำ จึงไม่พ้นสมมุติ

    ๒ รูปนามเป็นสภาวะปรมัตถ์ ในสภาวะนั้นมีลักษณะ ลักษณะของรูปนามคือไตรลักษณะ มีธรรมชาติเกิดดับ
    ที่เกิดดับคือลักษณะของรูปนาม ข้อนี้เป็นทุกขสัจจะ

    ๓ ความไม่ติดข้อง

    ถามกลับ

    ๑ จะคลายความติดข้องในรูปนนามได้อย่างไร

    ๒ ความเกิด ความดับ เกิดที่ไหน

    ๓ ใจ เป็นมหาเหตุ จริงหรือ
     
  6. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    สวัสดีค่ะ มาตามอ่านเป็นระยะ ขออนุโมทนาค่ะ
     
  7. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ๑ หากกำหนดรู้ โดยนั้นเป็นเรา นั้นไม่ใช่เรา ข้อนั้นเป็นการผลักไสสมมุติ โดยเอาสมมุติเข้าไปกระทำ จึงไม่พ้นสมมุติ
    ข้อนั้นเป็นการผลักไสสมมุติ โดยเอาสมมุติเข้าไปกระทำ จึงไม่พ้นสมมุติ ในเมื่อที่เจ้าของเองยังติดสมมุติอยู่ แล้วจะเอาวิมุตติที่ไหนมาแก้ เพราะที่บอกว่ารู้วิมุตติรู้ปรมัธถ์ มันเป็นความรู้ภาคความจำ ไม่ใช่ภาคปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง ถ้ารู้แจ้งวิมุตติจะไปแก้สมมุติเพื่ออะไร ในเมื่อยังไม่เกิดวิมุตติ การเอาสมมุติละเอียดแก้สมมุติหยาบมันถูกต้องอยู่แล้ว ถ้าไม่รู้สมมุติอยู่ๆเอาวิมุตติมาแก้เลย มันเป็นเรื่องเพ้อฝัน ทั้งๆที่ยังติดสมมุติ ยังดีกว่าสำคัญผิดว่า พ้นสมมุติแล้ว

    รูปนามเป็นสภาวะปรมัตถ์ ในสภาวะนั้นมีลักษณะ ลักษณะของรูปนามคือไตรลักษณะ มีธรรมชาติเกิดดับ ที่เกิดดับคือลักษณะของรูปนาม ข้อนี้เป็นทุกขสัจจะ
    กฏไตรลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา มีธรรมชาติเกิดดับเหมือนกัน รู้อย่างหนึ่งย่อมเข้าใจอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน

    รูปนาม
    มีธรรมชาติเกิดดับ ความไม่ติดข้องเป็นใจที่ไปรู้ทันธรรมชาติเกิดดับของรูปนาม ตัวรูปนามมีธรรมชาติเกิดดับ มิใช่มีธรรมชาติสูญ ความสูญเกิดจากใจที่ไม่ไปติดข้องสำคัญผิดหลงในรูปนาม

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2012
  8. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ๑ หากกำหนดรู้ โดยนั้นเป็นเรา นั้นไม่ใช่เรา ข้อนั้นเป็นการผลักไสสมมุติ โดยเอาสมมุติเข้าไปกระทำ จึงไม่พ้นสมมุติ
    ข้อนั้นเป็นการผลักไสสมมุติ โดยเอาสมมุติเข้าไปกระทำ จึงไม่พ้นสมมุติ

    ในเมื่อที่เจ้าของเองยังติดสมมุติอยู่ แล้วจะะเอาวิมุตติที่ไหนมาแก้ เพราะที่บอกว่ารู้วิมุตติรู้ปรมัธถ์ มันเป็นความรู้ภาคความจำ ไม่ใช่ภาคปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง ถ้ารู้แจ้งวิมุตติจะไปแก้สมมุติเพื่ออะไร ในเมื่อยังไม่เกิดวิมุตติ การเอาสมมุติละเอียดแก้สมมุติหยาบมันมิถูกต้องหรือ ทั้งๆที่ยังติดสมมุติ ยังดีกว่าสำคัญผิดว่า พ้นสมมุติแล้ว

    คำตอบนี้ ยกเอาเองถูกไหม ^^

    ใส่ใจตรงอารมณ์กระทบเถิด สิ่งแรกที่รู้สึก ตัดสินเป็นสมมุตติเสมอ
    สติพิจารณารู้รูปนาม รู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ไม่นาน ก็จะรู้อีกสิ่งหนึ่งที่ปัญญาติดข้อง
    ไม่นานก็จะทราบความเป็นปัจจัย สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    เมื่อรู้รูปกระทบ ไม่นานจะรู้ธาตุ ไม่นานจะรู้อีกธาตุ ไม่นานจะรู้ปัจจัย ไม่นานจะรู้ลักษณะทุกขสัจจะ

    หากสำคัญที่นามกระทบ จะรู้ที่เวทนา ไม่นานปัญญาจะรู้ ความมั่นหมาย ไม่นานจะรู้สังขารปรุงแต่ง ว่าจิตมีโลภะ จิตมีโทสะ จิตไม่มีโลภะ จิตไม่มีโทสะ

    ที่เกิดแล้วดับไปเป็นลักษณะของรูปนาม ที่ค่อยๆดับลง ปัญญาพิจารณาความเกิด ความดับ

    ในความเกิดมีตัณหา ในความดับเป็นนิโรธใน อริยะสัจหากพิจารณาในภูมิอริยะสัจสี่

    ไม่นาน ปัญญาเห็นแจ้งก้าวข้ามนิวรณ์ไปพิจารณาโพชงค์ ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายกุศล
    คลายความสงสัย คลายความยึดมั่น คลายความติดข้องลงชั่วขณะ เป็นตทังคปหาน


    ขยายคำว่า สมมุติละเอียดแก้สมมุติหยาบหน่อยสิ



    รูปนามเป็นสภาวะปรมัตถ์ ในสภาวะนั้นมีลักษณะ ลักษณะของรูปนามคือไตรลักษณะ มีธรรมชาติเกิดดับ ที่เกิดดับคือลักษณะของรูปนาม ข้อนี้เป็นทุกขสัจจะ
    กฏไตรลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา มีธรรมชาติเกิดดับเหทือนกัน รู้อย่างหนึ่งย่อมเข้าใจอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน

    ถูกตรงที่รู้อย่างหนึ่งย่อมเข้าใจอย่างหนึ่ง แต่ธรรมชาติ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาไม่เหมือนกัน

    ขยายหน่อยสิ พิจารณาไตรลักษณ์อย่างไร ทำไมถึงเหมือนกัน^^

    รูปนาม
    มีธรรมชาติเกิดดับ ความไม่ติดข้องเป็นใจที่ไปรู้ทันธรรมชาติเกิดดับของรูปนาม ตัวรูปนามมีธรรมชาติเกิดดับ มิใช่มีธรรมชาติสูญ ความสูญเกิดจากใจที่ไม่ไปติดข้องสำคัญผิดหลงในรูปนาม



    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สูญโดยปัญญาเข้าไปพิจารณา
    มิใช่ด้วยอำนาจสมาธิ เพื่อสลัดความติดข้อง ^^

    ถาม ใจเป็นของเที่ยงหรือไม่
     
  9. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    สำนวนดี แต่ติดสมมุติเยอะไปหน่อย
    อะไรไม่จำเป็นก็ตัดออกบ้างก็ได้ ^^
     
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    "ใจ" เป็นของไม่เที่ยง แต่หากไม่ก่อเกิดความรู้สึกให้"จิต"รับรู้ สิ่งทั้งหลายก็ไม่เกิด

    ทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้น "ใจ" เป็นเหตุให้เกิด พี่ อโศ กล่าวได้ถูกต้องแล้วครับ

    ตัวอย่างง่ายๆ คือ หากไม่เกิดความรู้สึก จะเป็นอย่างไร

    สาธุครับ
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    .......................ทำไมใช้คำว่าสูญ ครับ..ในเมื่อเข้าใจ กฎอิทิปัจจัยตา-------------------------พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูป ขันธิ์ เวทนาขันธิ์ สัญญาขันธิ์ สังขารขันธิื และ วิญญานขันธิ์เล่า พระเจ้า ข้า ...............ภิกษุ มหาภูติสี่อย่าง เป็นเหตุปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธิ์ ---ภิกษุ ผัสสะ(การประจวบของ อายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาน) เป็นเหตุปัจจัยเพื่อการบัญญัติเวทนาขันธิ์---ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัยเพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธิ์----ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัยเพื่อการบัญญัติ สังขารขันธิ์---ภิกษุ นามรูป แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญานขันธิ์----อุปริ.ม.14/102/124.:cool:
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ................น่า จะ เป็น ยถาภูตาญานทัศนะ(เห็นความจริงแท้) เกิด นิพพิทาญาน(เบื่อหน่าย) วิราคะ และ วิมุติญานทัศนะ...มากกว่าครับ:cool:
     
  13. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เคยคุยกันแล้วนี่ ^^

    ถ้าเข้าใจตรงกัน รู้ทัศนะกัน ก็ไม่จำเป็นต้องขยาย :cool:
     
  14. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    เพราะไม่มีภูมิ จึงไม่ีรู้จัก คำว่า "สมมุติหยาบ สมมุติละเอียด"
    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งสมมุติที่แก้สมมุติ
    แต่เป็นสมมุติละเอียด เพราะเป็นฝ่ายกุศล แตกต่างสมมุติหยาบที่เป็นฝ่ายอกุศล
    นิพพาน เป็นสภาวะที่ไม่ได้แบก ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นเครื่องมือแก้กิเลสเข้าไปด้วย
    เมื่อข้ามฝั่งก็ไม่ได้แบกเรือแพไปด้วย ทิ้งไว้ที่ฝั่ง


    รู้ชื่อกิเลส รู้ชื่อธรรม แต่กิเลสไม่ถลอกปอกเปลือกสักตัว เพราะไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
    เพราะไม่เคยนั่งสมาธิ ปัญญาจึงเกิดจากการเอาแต่อ่านตำรา ตีความตัวอักษร
    นั่งเทียน ตรึกนึกคิดจินตนาการมั่วเอาเอง ว่าตนเองรู้ รู้รูปนาม รู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
    ทราบความเป็นปัจจัย สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    จิตมีโลภะ จิตมีโทสะ จิตไม่มีโลภะ จิตไม่มีโทสะ
    ทังหมดเป็นปัญญาของคนอื่น ไปขโมยธรรมจากการอ่าน เหมาว่าเป็นของตนเอง
    รู้แต่ชื่อ ปฏิบัติไม่เป็น ก็เท่านั้น เอาไว้คุยอวดโก้ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2012
  15. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    จะวิจารณ์คนอื่น ถ้าไม่มีภูมิจากการลงมือปฏบัติ
    ไม่เคยนั่งสมาธิ ทำความเพียร มันเหมือนพวกเอาแต่ด่าวิจารณ์คนอิ่น
    ทั้งๆที่ ตัวเองไม่เคยลงมิอปฏิบัติ สมาธิไม่เคยนั่งมาเป็นปี
    ดูๆ แล้ว เหมือนพวกปัญญาอ่อน ไม่รู้จักตัวเอง

    จะให้ผมมาตอบพวกที่ไม่ลงมือปฏบัติ ไม่เคยนั่งสมาธิ ไม่ทำความเพียร เอาแต่ด่าวิจารณ์คนอิ่น
    เอะอะอะไรก็.... รู้รูปนาม รู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี รู้รูปกระทบ นามกระทบ เย็น ร้อน อ่อนแข็ง บ้าบอปัญญาอ่อน
    ผมขี้เกียจตอบ ขี้เกียจพิมพ์ ไร้สาระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2012
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ท่านอโศ กล่าวดีแล้ว
    พวกเสียงนกเสียงกา มันก็โหวกเหวกไปตามประสา
    ส่วนผม ช่วงนี้หมั่นไส้ พวกนกพวกกานี้ เลยไม่อยากจะเอ่ยธรรม ให้เป็นอาหารของมาร
    ให้มันฉลาดกันไปตามยถากรรมของพวกมัน
     
  17. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    การ รู้รูปนาม รู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    รู้รูปกระทบ นามกระทบ เย็น ร้อน อ่อนแข็ง ของพวกนี้
    คือ การอ่านตำรา ตีความหมาย นั่งเทียน จินตนาการเอาเอง
    ไม่ต้องทำความเพียร นั่งสมาธิ เดินจงกรม อะไรทั้งสิ้น

    ช่างเป็นปัญญาที่้เลิศมาก ไม่ต้องลงทุนทำความเพียร
    อ่านมาก รู้มาก จำมาก เก่งมาก พ้นทุกข์้เร็ว
    แค่รู้ตามอรรถ พยัญชนะ บาลี โดยไม่ต้ิองลงมือปฏิบัติ
    ก็ได้ชื่อว่า รู้แจ้งเห็นจริงบรรลุธรรมโดยการอ่านจำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2012
  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ขออนุญาติ สนทนาต่อนะครับ..
    หลังจากปฎิบัติไปตามขั้นตอนต่างๆตามที่กล่าวนี้..ตั้งแต่ลืมตาตื่นนอน..ยกเว้นช่วง ทำงานผมเข้าใจว่า ใช้อิทธิบาท 4 และการจะหยุดในแต่ละัวันก็ตอนนอนหลับ(ยกเว้นบางกรณีที่ไปต่อสู้ในความฝัน)...

    ที่นี้ประเด็นที่ 1..ในช่วงระยะเวลาระหว่างวันนั้น..หากไม่มีการกระเพื่อมใดๆ..เราควรที่จะต้อง...รักษาความว่างให้เป็นอารมย์ปกติหรือไม่...หรือ..ในความว่างนั้นก็เป็นอารมย์เฉยเป็นส่วนในขั้นของการเดินปัญญาเหมือนกัน..
    และประเด็นที่ 2 การตรวจสอบผลการปฎิบัตินั้น...เราใช้กิเลส ตัวรัก โลภ โกรธ หลง ที่ลดน้อยลงหรือเพิ่มขึ้นเป็นดัชนี้ในการชี้วัดผลการปฎิบัติของเราได้หรือไม่อย่างไร..
    ไม่ทราบคุณ อโศ มีความเห็นอย่างไรกับทั้ง 2 ประเด็นที่กล่าวมา
    ขอบคุณครับ...
     
  19. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830


    ในช่วงระยะเวลาระหว่างวันนั้น..
    หากไม่มีการกระเพื่อมใดๆ..เราควรรักษาความว่างให้ใจเป็นปกติ
    หากมีสิ่งเข้ามากระทบสัมผัส ใจรู้เท่าทันพิจารณาสิ่งที่เข้ากระทบสัมผัส

    ในความว่างนั้น เป็นอารมย์เฉย ไม่ได้เป็นส่วนในขั้นของการเดินปัญญา
    เป็นขั้นของการเจริญสติ และรักษาอารมณ์สมาธิ


    การตรวจสอบผลการปฎิบัตินั้น...เราใช้กิเลส ตัวรัก โลภ โกรธ หลง ที่ลดน้อยลงหรือเพิ่มขึ้นเป็นดัชนี้ในการชี้วัดผลการปฎิบัติของเราได้หรือ ไม่อย่างไร

    ถูกต้อง
     
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    -ขออนุญาติสนทนา ในกระทู้นี้สักนิดนะครับ

    ในช่วงระยะเวลาระหว่างวันนั้น..
    หากไม่มีการกระเพื่อมใดๆ..เราควรรักษาความว่างให้ใจเป็นปกติ
    หากมีสิ่งเข้ามากระทบสัมผัส ใจรู้เท่าทันพิจารณาสิ่งที่เข้ากระทบสัมผัส

    ตรงเราควรรักษาความว่างให้ใจเป็นปกติ ผมว่าตรงนี้เป็นการทรงสมาธิครับ หากเป็นธรรมชาติรู้จริง จะเป็นเองคือรู้กระทบสัมผัส ทันบ้างไม่ทันบ้าง พิจารณาในข้อเขียนอาจจะต่างกันบ้าง ความเห็นผมว่า ผู้ปฏิบัติรู้กันได้ครับ

    ตรงสีชมพูนี้ พออ่านดีดี ก็จะมีความเห็นแย้งที่ว่า อยู่ๆจะเป็นเองได้อย่างไร ส่วนนี้จึงขอกล่าวไว้สำหรับผู้ปฏิบัติที่ทราบชัดถึงอาการรู้บังคับ ด้วย สติ สัมปชัญญะ รู้จักการควบคุมใจได้แล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...