ธรรมะ..ธรรมชาติ..สภาวะธรรม..และการนำไปใช้..โดย..หลวงปู่ พุธ ฐานิโย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 18 เมษายน 2011.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ธรรมะเทศนา​

    โดย ​

    หลวงปู่ พุธ ฐานิโย​

    วัดป่าสาละวัน
    อ.เมือง จ.นครราชสีมา​


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1454068/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. banmabe

    banmabe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +102
    ขอบคุณค่ะ:cool:
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 1)

    อ่ะ ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย

    วันนี้รู้สึกว่า เป็นโอกาสดี ที่อาตมะ ได้มีโอกาสมาพบกับท่านนักศึกษาธรรมะ
    และนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

    ความจริง ธรรมะ ในด้านการศึกษา ซึ่งเรียกว่า ปริยัติธรรมนั้น

    เข้าใจว่า ท่านทั้งหลายก็คงได้เรียน และ ได้ศึกษามามากต่อมากแล้ว

    ทุกหนทุกแห่ง ก็มี สถานที่ศึกษาอบรมธรรมะ

    แล้วก็เรียนธรรรมะ ฟังธรรรมะกันมามาก
    บางที่ก็เคยไปฟังเทศน์ในวัด
    พระเจ้า พระสงฆ์ ท่านก็แสดงธรรมให้ฟัง

    แต่ฟังๆไป ก็รู้สึกว่า

    แต่ละท่านก็แสดงธรรมได้กว้างขวาง พิศดาร
    และ ละเอียด ละออดีมาก บางทีก็รู้สึกว่าสับสน
    จับต้นชนปลายไม่ถูก

    ไม่ทราบว่า เราจะหยิบเอาอันใดมาเป็นหลัก ปฏิบัติ
    เพราะผู้แสดง ก็มุ่งที่จะให้ผู้ฟังเข้าใจนั้นเอง

    ใครมีภูมิ เพียงใด ขนาดไหน ก็แสดงออกอย่างเต็มที่
    เต็มความสามารถของตนเอง

    ธรรมะ ในคัมภีร์ พระไตรปิฎก กล่าวกันว่า มีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์
    84,000 พระธรรมขันธ์นี่ไม่ใช่ของน้อย มาคิด คิด ดูแล้วก็น่าหนักใจ

    84,000 พระธรรมขันธ์นี่ เราจะ นำมาปฏิบัติอย่างไร
    ถ้าเราจะเข้าใจธรรมะ ในหลักคัมภีร์ ในหลักปริยัตินั้น
    มีมากมายกว้างขวางเหลือเกิด

    แต่ถ้าเราจะสรุปให้มันสั้นๆ เข้า

    เราก็จะได้ความว่า
    ธรรมะ ถ้าจะมีคำถามว่าธรรมะคืออะไร
    เราจะได้คำตอบว่า ธรรมะ คือ กายกับใจ

    แต่บางท่าน ถ้าใครบอกว่า ธรรมมะ คือ กายกับใจ แล้ว
    ท่านจะเถียงคอเป็นเอ็น
    ท่านว่า กาบกับใจไม่ใช่ ธรรมะ มันเป็น สภาวะธรรม

    ทีนี้ ในเมื่อพูดถึงหลัก พระอภิธรรม จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    พูดถึงรูป ก็คือเรื่องของ กาย
    จิต ก็คือ เรื่องของจิตของใจนั้นเอง
    แต่บางท่านก็บังอาจว่า ธรรมะไม่ใช่ กายกับใจ

    แต่ความจริง ถ้าใครจะถามว่า ธรรมะคืออะไร เราก็จะได้คำตอบว่า
    ธรรมะคือกายกับใจ

    เพื่อจะทำความเข้าใจกับบรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลาย
    ความหมายของคำว่า ธรรมะ คือ คำสั่งสอน ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

    เราพอที่จะแยกเป็นประเด็นใหญ่ ๆได้สองประเด็น
    คือ
    1. ธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ศีล สมาธิ ปัญญา ที่มีความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ เต็มที่
    จะมีได้ในสมัยที่ พระพุทธเจ้า อุบัติเกิดขึ้นในโลกเท่านั้น
    นอกเหนือไปจากนั้น

    อย่างดี ก็มี กระท่อน กระแท่น ไม่เป็นหมวด เป็นหมู่ ไม่เป็นระเบียบ
    ไม่พอที่จะจับเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อดำเนินจิตไปสู่ มรรคผลนิพพานได้

    แม้แต่การทำสมาธิภาวนา ก็มีมาในสมัยก่อนพุทธกาล

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 2)

    ในพุทธประวัติก็ยังมีหลักฐานยืนยันอยู่ว่า เมื่อท่านชายสิทธัตถะ
    เสด็จออก บรรพชา

    ในระยะแรกก็ไปเรียน สมาธิ
    ในสำนัก อุทกดาบส แหล่ะ อาราฬดาบส

    อันนี้ ก็สอดแสดงว่า หลักการปฏิบัติ สมาธิ มีก่อนพุทธกาล
    แต่ในตอนนี้ จะยังไม่พูดถึง

    หลักธรรมะ ที่เป็น คำสอน ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ดังที่เราได้ยิน ได้ฟังกันมา อันนี้เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง
    ทีนี้ ธรรมะ อันเป็น ฝ่าย สภาวะธรรม ซึ่งได้แก่ กายกับใจ นั้น
    นอกจากจะได้แก่ กายกับใจแล้ว ยังมี สถานะการณ์ แหล่ะ สิ่งแวดล้อม
    สิ่งที่เราประสพอยู่เป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของสภาวะธรรมทั้งนั้น

    โดยที่สุด แม้ วิชาความรู้ที่เราเรียนมา ไม่ว่าศาสตร์ไหน สาขาไหนทั้งนั้น
    เป็นเรื่องของ สภาวะธรรม

    รวมความแล้วว่า สิ่งใด ที่เราสามารถรู้กันด้วยจิตใจ
    สิ่งนั้น คือ ธรรมะ อันเป็นสภาวะธรรม เรียกกันว่า ธรรมะทั้งนั้น

    ถ้าเราทำความเข้าใจ ในธรรมะคำสั่งสอน
    ในสองแง่ สองประเด็น ในที่กล่าวมานี้
    เราจะเข้าใจแจ่มแจ้ง

    ทีนี้การเรียนธรรมะ หรือ การปฏิบัติธรรมะ
    การเรียนธรรมมะ ก็ คือ เรียนให้รู้เรื่องของกายแหล่ะใจ
    การปฏิบัติธรรมะ ก็ ปฏิบัติอยู่ที่กายแหล่ะใจ ไม่ใช่ที่อื่น

    เช่น อย่าง กาย เวทนา จิต ธรรม ในหลัก มหาสติปัฏฐาน
    ก็เป็นเรื่องของ กายกับใจ

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในหมวดเบญจขันธ์
    ก็เป็นเรื่องของกาย แหล่ะใจ

    เรื่อง ปฏิจสมุปบาท ก็เป็นเรื่อง ปรมัตถ์
    เป็นเรื่องของจิตใจ กับเรื่องของกิเลส ก็เป็นเรื่องของกายเรื่องของใจทั้งนั้น

    ทีนี้ กฎธรรมชาติของสภาวะธรรม ที่เราจะเรียนให้รู้
    ก็อยู่ในหลัก ของพระไตรลักษณ์

    ทุกสิ่งทุกอย่าง มีความหมุนเวียนเปลี่ยนแปร อยู่ตลอดเวลา
    แม้แต่ความคิดของเรา ขณะนี้ ก็ยังรู้สึกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา

    ความเปลี่ยนแปลงของความคิด พระพุทธเจ้า บัญญัติ เรียกว่า
    อนิจจัง คือความไม่เที่ยง

    ความไม่ทรงอยู่ตลอดกาลของความคิด พระองค์บัญญัติ ว่า ทุกขัง
    คือ ความทนอยู่ไม่ได้

    ความที่ความคิดอันนั้นดำรงค์อยู่ตลอดกาลไม่ได้
    พระพุทธเจ้า บัญญัติ ว่า อนัตตา

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็น กฏธรรมชาติ ของสภาวะธรรม ที่จะพึงเป็นไป
    ไม่ว่าอะไรทั้งนั้น ที่มีอยู่ ในโลก ในจักรวาลนี้
    อยู่ในกฎ ของ อนิจจัง ทุก ขัง อนัตตา ทั้งนั้น

    สิ่งใด ที่เราปราถนา ไม่สมหวัง ก็ อนิจจัง
    ปราถนาแล้วสมหวัง ภายหลังมีอันเสื่อมศูนย์ไป ก็ อนิจจัง
    ไม่ว่าอะไรทั้งนั้น ที่เป็นไป
    โดยที่เราไม่ชอบใจ เราถือว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ธันวาคม 2012
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 3)

    แม้แต่กฎของนักวิทยาศาสตร์เขาก็ว่า
    ในจักรวาลนี้ ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ตั้งแต่ อณู ปรมาณู
    จนกระทั่ง มวลสารที่เกาะกลุ่มกัน เป็นก้อนใหญ่โต
    กฎ ธรรมะชาติของเค้า
    เค้ามีปรากฎการณ์ขึ้นในเบื้องต้น
    ทรงตัวอยู่ชั่วในขณะหนึ่ง
    ในที่สุดแล้ว ย่อม สลายตัว
    อันนี้คือ กฎ ธรรมะชาติ ของสภาวะธรรมที่จะพึงเป็นไป

    กายกับใจของเราก็เป็น สภาวะธรรม เพราะกายกับใจของเรา
    มีความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ทีนี้

    ความเปลี่ยนแปลงอันนี้ มีมาตั้งแต่เกิด
    คนเราเมื่อเกิดมาแล้ว มีความเจริญเติบโต
    เติบโตด้วยเนื้อหนัง
    เติบโตด้วยวิชาความรู้
    เติบโตด้วยตำแหน่งการงาน
    เติบโตด้วยทรัพย์ สมบัติหลักฐาน

    ความเจริญสิ่งนี้ คือ ความเปลี่ยนแปลง
    ความเปลี่ยนแปลงอันนี้ ก็เรียกว่า อนิจจัง ไม่เที่ยง เหมือนกัน
    แต่ความไม่เที่ยงในข้างฝ่ายที่เป็นไปเพื่อความเจริญนั้น ทุกทุกคนชอบ

    แต่ถ้าหากว่า ในตรงกันข้าม

    ทางร่างกายก็เจริญเติบโตไม่เต็มที่ เป็นโรคภัยไข้เจ็บ กระจอกงอกง่อย
    วิชาความรู้ก็ไม่สมบูรณ์ หรือ อยากจะเรียน มันสมองก็ไม่ให้ ไม่อำนวย
    ทำงาน ทำการ ไม่สมประสงค์ ผิดพลาด
    หลักฐาน ง่อนแง่น คลอนแคลน

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มีความเปลี่ยนแปลงไปในข้างฝ่ายเสื่อม
    เปลี่ยนทางข้างฝ่ายเสื่อม เข้าเรียกว่า อนิจจังเหมือนกัน ไม่เที่ยงเหมือนกัน
    แต่สิ่งใด ที่มันเปลี่ยนแปลง ในข้างที่ เป็นข้างฝ่ายเสื่อม ทุกคนไม่ชอบ

    ที่เราไม่ชอบก็เพราะว่า เรายึดสิ่งนั้น ว่าเป็นของ ของเรา
    ควรจะเป็นไปตามความต้องการของเรา แต่โดยกฎธรรมะชาติแล้ว มีหรือ
    ทุก สิ่งทุกอย่าง ที่จะเป็นไป ตามความปราถนาของเรา ทั้งหมด เป็นไปไม่ได้

    แม้แต่ การงานที่ท่านทำอยู่ ในปัจจุบัน บางทีก็ผิดพลาด
    หม้อไฟฟ้าที่ตั้งเอาไว้ดีดี บางทีประสบอุบัติเหตุ ระเบิดขึ้นมา ก็ได้

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนแต่ความเปลี่ยนแปลง ของสภาวะธรรมทั้งนั้น
    อันนี้เป็นการดูความเปลี่ยนแปลง ของของสภาวะธรรม
    ซึ่งเป็นเรื่องของปัจจุบัน


    โดยอาศัย ค่าที่ว่า สภาวะธรรม คือ กายกับใจ
    สถานการณ์ แหล่ะ สิ่งแวดล้อม มีความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา

    เปลี่ยนอยู่ ทุกลมหายใจเปลี่ยนอยู่ทุกขณะจิต
    แหล่ะเราก็ได้รับความดีใจเสียใจ ได้รับความสมหวัง ผิดหวัง อยู่ทุกขณะจิตเช่นเดียวกัน

    ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะอาศัยว่า เรายึดสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นของ ของเรา
    ในเมื่อเรายึด ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ว่าเป็นของของเรา

    ของของเรา มีอันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราไม่ชอบ เราก็เกิดทุกข์
    ที่เราเกิดทุกข์ เพราะอะไร
    เพราะเราขาด สติ สัมปชัญญะ ประการ หนึ่ง

    แล้วเรายังไม่รู้ซึ้ง เห็นจริง ตามกฎ ของธรรมชาติ

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราพูดได้ เราคิดได้

    แต่ว่า จิตใจของเรามันยังไม่รู้ซึ้ง เพราะเรายังขาด สติ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 4)

    เพราะฉะนั้น เราจำเป็นจึงต้อง อบรม สติ สัมปชัญญะ ตัวนี้
    ให้มีพลังงานเข้มข้นขึ้น เพื่อจะได้ สร้าง สมรรถภาพ ทางจิต ให้มีความเข้มแข็ง
    สามารถ ที่จะต่อต้านกับเหตุการณ์ต่างๆ
    หรือ สามารถที่จะรักษาสภาพจิต ให้ดำรงอยู่ในความเป็นปกติ ได้ตลอดกาล

    ดังนั้น ตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา
    ท่านจึงมีอุบาย วิธีใหญ่ ๆ สำหรับการฝึกจิต ซื่งเรียกว่า อบรม หรือ ปฏิบัติสมาธิ


    ที่เราเข้าใจโดยทั่วๆไป ก็คือ
    การปฏิบัติ
    สมถะกรรมฐาน
    วิปัสนากรรมฐาน นั้นเอง

    ทีนี้ เรามาพูดถึง เรื่องการปฏิบัติ สมถะกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน

    เมื่อซักครู่นี้ ก็มีผู้มาถามเรื่อง สมถะ วิปัสนา กรรมฐาน
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

    เราจะเจริญ วิปัสนากรรมฐานได้ ในช่วงใด ในขณะใดของจิต

    อันนี้เป็นปัญหาที่เราจะต้องทำความเข้าใจกัน
    แต่ความจริง คำว่า สมถะก็ดี วิปัสนาก็ดี เป็นแต่เพียง วิธีการ

    ผู้ที่ปฏิบัติด้วย วิธีการเพ่งกสิณ หรือ การบริกรรมภาวนา
    เรียกว่า
    ปฏิบัติ ตามวิธีของสมถะ

    ผู้ที่ปฏิบัติโดยการใช้ ความคิด พิจารณา ในสิ่งต่าง ๆ
    ที่เราสามารถจะนำมาพิจารณาได้ ด้วยความมี สติ สัมปชัญญะ

    หรือ

    เราจะกำหนดรู้ที่จิต คอยดูความคิดที่จะเกิดขึ้น
    ในขณะจิตนั้นๆ แล้ว ทำ สติ ตามรู้ ความคิด
    ได้ชื่อ ว่าเป็น การปฏิบัติ ตามวิธีการ ของ วิปัสนา

    ทั้งวิธีการ ของ สมถะ แหล่ะ วิปัสนา ทั้งสองอย่างนี้

    จุดมุ่ง อยู่ที่การทำจิต ให้มีความ สงบ เป็น สมาธิ
    เพื่อจะได้ มี สติ ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริง ในสภาวะธรรมตามความเป็นจริง

    แต่โดยเนื้อหาความเป็นจริงแล้ว
    ทั้งวิธี สมถะ
    ทั้งวิธี วิปัสนา

    เป็น วิธีการฝึกอบรมสมาธิด้วยกันทั้งนั้น

    ในเมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิลงไปเพราะการปฏิบัติ สองแบบนี้ สอง วิธีนี้

    สภาพจิต ที่เป็น สมาธิ มีแนวโน้มเป็นอย่างเดียวกันหมด
    ต่างแต่ วิธีการ

    ถ้าหากท่านจะทำความเข้าใจ ว่า
    สมถะก็ดี วิปัสนาก็ดี
    เป็นแต่เพียง วิธีการเท่านั้น

    ไม่ได้หมายความว่า

    เราจะต้องทำสมาธิให้ได้สมถะ ได้ฌาน ได้ญาณ แล้วจึงเจริญวิปัสนา
    ไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น

    เท่าที่ได้ทดสอบดูด้วยตนเอง

    ในบางครั้ง เราตั้งใจว่า จะบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ
    ทำจิตให้ สงบ พอเป็นที่สะบาย เท่านั้น ก็พอแล้ว จะเอากันเพียงแค่นี้

    แต่เมื่อทำลงไปจริงๆแล้ว พุทโธ พุทโธ ไป
    พอจิต สงบลงไป แทนที่เค้าจะไปนิ่งอยู่เฉยๆ
    กลับเกิดความคิดพรั่งพรูขึ้นมาอย่างกับน้ำพุ

    นี่ ประสบการณ์จริงมันเป็นอย่างนี้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 ธันวาคม 2012
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 5)

    แต่บางครั้ง ตั้งใจ พิจารณา อนิจัง ทุกขัง อนัตตา
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง แทบเป็น แทบตาย

    อยากจะให้จิตมันเดิน ก้าวไปสู่ ทางแห่ง วิปัสนา
    เมื่อมัน สงบลงไปแล้ว มันก็ นิ่ง สว่างอยู่เฉยๆ ไม่มีความคิดอ่าน
    นี่ ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนี้

    เท่าที่เรามีความคิดเห็นขัดแย้งกัน
    สมถะ คืออย่างไร
    วิปัสนา คืออย่างไร กันอยู่

    เข้าใจว่า การปฏิบัติ สมาธิภาวนา ยังไม่ถึงขั้น
    เข้าใจว่าคงจะไปยึด เอาแบบตำหรับ ตำรา มาขัดแย้งกันมากกว่า

    เพราะฉะนั้น

    ถ้า ท่านทั้งหลายตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรม
    เพื่อให้ได้คุณธรรมเป็นที่สะบายใจ
    หรือให้ได้ สติ ปัญญา สำหรับแก้ไขปัญหา ชีวิตประจำวัน ของท่านได้อย่างแท้จริง

    อยากจะขอบอกว่า เลิกเชื่อคนอื่นเสี๊ยะ

    ถ้าไม่เชื่อคนอื่นแล้ว ไปเชื่อใคร ... เชื่อตัวเองซิ๊

    อย่างสมมุติ ว่า ท่านจะตั้งใจบริกรรมภาวนา ยุบหนอ พองหนอ
    สัมมาอะระหัง พุทโธ ก็ดี ท่านยึดหลักอันใดเป็นหลัก บริกรรมภาวนา
    ก็เอาสิ่งนั้นอย่างจริงจังลงไป ไม่ต้องไปหยิบโน้น วางนี่ หยิบโน้น วางนี่

    จะบริกรรมภาวนา ก็บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธไป
    จนกระทั้ง จิต มันบริกรรมภาวนาเอง โดยไม่ได้ตั้งใจ

    ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ เว้นแต่เวลาพูดกับคิด
    จะท่องพุทโธ ไว้ประจำจิต ทุกลมหายใจก็ยังได้

    นอกจากจะท่องพุทโธแล้ว เรายัง สามารถจะท่อง ยุบหนอ พองหนอ
    สัมมาอะระหังได้ทั้งนั้น

    ตามที่เราเข้าใจกัน สายการปฏิบัติ สมถะ วิปัสนาอันเป็นสายใหญ่
    ก็คือ
    สายพุทโธ ยุบหนอ พอง หนอ สัมมาอะระหัง

    ในบางครั้งบางท่าน บางอาจารย์ ก็นำเรื่องวิธีการเหล่านี้ มาขัดแย้งกัน

    บางทีก็ ภาวนาพุทโธ ก็ได้แต่เพียง สมถะ แค่นั้นแหล่ะ
    ยุบหนอ พองหนอ ก็ได้แต่เพียง สมถะ แค่นั้นแหล่ะ

    ฟังๆดูแล้ว
    มันก็ออกจะสับสนอยู่


    ทีนี้

    ในเมื่อมันมีความสับสนอย่างนี้ มันก็ทำให้ เป็นที่หนักใจ เป็นที่ ลังเล สงสัย
    ของผู้ที่กำลังเริ่มจะ ตั้งต้น ปฏิบัติใหม่ ไม่ทราบว่าจะเอาตามแบบของใคร

    สำหรับ ในโอกาส นี้
    อาตมะ ขอยืนยัน ว่า ทุกแบบ ถูกต้อง และ ใช้การได้ทั้งนั้น
    ที่นั่งฟังอยู่เวลานี้ บางท่านอาจะปฏิบัติมาแบบ สัมมาอะระหัง
    บางท่านอาจจะพุทโธ
    บางท่านอาจจะยุบหนอ พองหนอ
    ทุกแบบ ดังที่กล่าวมานี้ ใช้การได้ทั้งนั้น ขอให้ท่านเอาจริง เพียงอย่างเดียว

    แบบ แหล่ะ วิธีการ ดังที่กล่าวมานี้
    จะใช้การไม่ได้ ก็ต่อเมื่อ ท่านไม่แน่ใจ

    ถ้าหากว่า ท่านจะแน่ใจ จะเอาแบบไหนก็ได้
    นอกจากคำว่า
    ยุบหนอ พองหนอ
    สัมมาอะระหัง

    จะเอาแบบไหน คำไหนได้ทั้งนั้น

    แม้แต่ว่า ขณะนี้ ท่านอาจจะคิดถึงใครซักคนหนึ่งอยู่ที่บ้าน
    นั่งฟังเทศน์แล้ว ใจมันก็แว๊ป ไปคิดถึงคนอยู่ที่บ้าน

    เอาชื่อของคนที่บ้านมาบริกรรมภาวนาเสียเลย
    แล้วมันก็เป็นอุบายที่จะทำจิตให้ สงบ เป็น สมาธิได้ ถ้าเราเอาจริง

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 6)

    อย่างในบ้างครั้งบางที พระภิกษุหนุ่ม ไปภาวนาอยู่ในป่า
    จิต มันวิตกถึงเจ้าสาว ภาวนาพุทโธสักเท่าไหร่ มันไม่อยู่

    มันวิ่งไปเรียก ชื่อของคนที่มันคิดถึง คนที่มันชอบ
    ลองผลสุดท้ายเอาชื่อของเค้ามาบริกรรมภาวนาเสียเลย
    เสร็จแล้วมันก็ทำให้จิต สงบได้

    เพราะ มันติดอยู่แล้ว พอไปนึกถึงซักประเดี๋ยวมันก็ติด
    ติดแล้วมันก็เกิดความสงบ ปล่อยวางสิ่งอื่นหมด
    สามารถที่จะสร้างมโนภาพขึ้นมา เป็น ภาพนิมิต

    มองเห็นผู้ที่ระลึก นึกถึงนั้น เป็น ตัว ยืน ตระหง่านอยู่ต่อหน้า
    เพราะอาศัย ความที่จิตมีความสงบ จะทักไปที่ตรงไหน เนื้อหนัง มันฟังลงไปหมด
    ลงผลสุดท้ายยังเหลือแต่โครงกระดูก


    ในเมื่อทักว่า อืม คนสวยนี้ โครงกระดูก มันก็สวย
    พอทักไป โครงกระดูกมันก็สลายตัวไป ไม่มีอะไรเหลือ

    นักภาวนา ท่านนั้น ก็ได้ สติ สัมปชัญญะ
    เมื่อตื่นจากภวังค์ จากสมาธิมาแล้ว
    ก็ได้ สติ ปัญญา รู้ขึ้นมาว่า เราจะเอา ความรักไปวางไว้ที่ไหน
    คนที่เรารักนั่น มันสลายตัวไปแล้ว มันหาตัว หาตนไม่ได้

    เราจะเอาความรักของเราไปวางไว้ที่ไหน มันไม่มีที่รองรับแล้ว
    พอเสร็จแล้ว
    มันก็ได้ สติ ปัญญา แก้ไขปัญญา จิตใจของตัวเองได้

    เพราะฉะนั้น เรื่องหลัก แหล่ะวิธีการภาวนานี่
    ท่านผู้ใด ยึกหลักใด แบบไหน เป็นหลักการบริกรรมภาวนา

    หรือ

    พิจารณาก็แล้วแต่ ให้ยึดหลัก ของท่านให้มั่นคง อย่ามัวไปเชื่อแต่คนอื่น

    พระพุทธเจ้าท่านก็ยังกล่าวออกตัวว่า

    อักขาตาโร ตถาคตา
    พระตถาคตเจ้าเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น

    แล้วทีนี้ สาวกในสมัยปัจจุบัน นี่
    ใครเอ่ย จะสามารถ มาประกาศ ท้าทาย ว่า
    ฉั๊น
    สามารถที่จะสอนคนให้บรรลุนิพพานได้เร็วไว

    แม้ แต่พระพุทธเจ้า ท่านก็ยังออกตัวอยู่แล้ว ใครจะไปเก่งกว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้
    นี่ อาตมะก็ได้พูดมา บางทีมันอาจจะออกนอกประเด็น ไปเสียแล้ว

    ท่านทั้งหลาย มุ่งที่ อยากจะได้หลักการปฏิบัติ
    มีผู้มาถามว่า

    วันนี้ หลวงพ่อจะพูดเรื่องอะไร ก็ให้คำตอบไปว่า

    จะพูดเรื่อง

    การทำสมาธิ ในชีวิตประจำวัน หรือ เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน


    การทำสมาธิ เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน
    เรามีหลักการที่จะพึงยึดเป็นหลักปฏิบัติได้ 3 แบบ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  9. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    ยาวไปอ่านไม่ไหว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2012
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    เหมือนได้อาหารทั้งน้ำทั้งเนื้อ

    ครบ อิ่ม อร่อย สารอาหารเพียบ

    คนกินเท่านั้นล่ะถึงจะอิ่ม
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 7)

    แบบที่ 1

    ขอให้ท่านพยายามฝึกหัด ทำ สติ ตามรู้ การ ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
    ทุกลมหายใจ ไม่ว่าท่าน จะขยับไปทางไหนให้มี สติ

    วิธีทำ ก็ คือว่า

    ทำสติ ระลึกรู้ ลงที่จิตของเรา
    ก่อนที่เราจะเดินไปไหนมาไหน
    ทำสติ ระลึกรู้ลงที่จิต รู้ไว้ที่จิต เพียงอย่างเดียว

    เช่น อย่างท่านตั้งใจจะว่า จะเดินมาทำงาน อ่ะอึ๊มๆ พอเกิดมีความตั้งใจ กำหนดสติรู้ที่จิตปั๊ป
    ทีนี้ เมื่อท่านตั้งใจ ทำสติรู้ที่จิตแล้ว ท่านก้าวขาเดิน จิตเค้าย่อมรู้เพราะจิตเป็นผู้สั่งให้เดิน

    เมื่อท่านจะหยุด จิตย่อมรู้เพราะจิตเป็นผู้สั่งให้หยุด
    เวลาท่านยืน จิตย่อมรู้เพราะจิตเป็นผู้สั่ง
    เวลาท่านนั่ง จิตรู้ เพราะจิตเป็นผู้สั่ง
    เวลานอน จิตรู้ เพราะจิตเป็นผู้สั่ง

    การรัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ก็เช่นเดียวกัน จิตเค้าเป็นผู้รู้ เป็น ผู้สั่ง
    อันนี้มันเป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
    มันเป็นภาระจำยอม ที่เราจะต้องทำอยู่แล้ว

    เมื่อสิ่งเหล่านี้

    มันเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราฉวยโอกาสฝึกหัด ทำ สติ รู้ตามสิ่งเหล่านี้
    ฝึก หัด ทำ สติ รู้ ตามรู้ ทุกวาระจิต ทุกลมหายใจได้ ยิ่งดี
    การฝึกสมาธิแบบนี้ ท่านอาจจะไม่ต้องเสียเวลานั่ง

    ไม่ต้องไปนั่งเข้าห้องกรรมฐาน 7 วัน 15 วัน
    เพียงแต่ฝึก ทำสติ ตามรู้ การ ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกลมหายใจเท่านั้น

    การปฏิบัติเพียงแค่นี้ โอกาสที่จิต จะสงบ ลงเป็น สมาธิ อย่างแท้จริง
    จะมีได้มั๊ย แหล่ะเมื่อไหร่

    โดยวิสัย ของผู้ฝึกหัด ทำสติ ตามรู้ สิ่งดังกล่าว เมื่อเวลาเค้านอนลงไป
    คนเราจะนอนหลับปุ๊ป เลยทีเดียวไม่ได้
    ก่อนที่จะหลับก็ต้องมีการคิดโน่น คิดนี่จิปาถะ

    โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง

    ท่านทั้งหลายเป็น นักธุรกิจ ย่อมจะมีความคิดสับสน ภายในสมอง
    ก่อนที่จะนอนหลับทุกคืน เมื่อเกิดมีความคิด สับสนเกิดขึ้น
    เราฝึกทำสติ ตามรู้ ความคิด ที่กำลังคิดอยู่ในขณะนอน

    ทำสติตามรู้ความคิดไปจนกว่าจะนอนหลับ ในบางครั้งเมื่อหลับ
    หลับแล้วก็หลับมืดไปอย่างธรรมดา
    แต่เมื่อฝึกหัด นาน นาน เข้า พอเกิดความหลับ ปั๊บ ลงไป จิต จะสงบเป็น สมาธิ มีความสว่างไสว เกิดขึ้น

    ดัง ตัวอย่างในบางท่านที่อยู่ในพระนครนี่ เค้าเป็น นักธุรกิจ

    ซึ่งอยู่ในวัยหนุ่ม วัยสาว
    เค้าบอกกับอาตมะว่า อยากจะทำสมาธิ แต่ไม่มีเวลานั่ง
    จะทำอย่างไร

    ก็แนะให้เค้าทำ สติ ตามรู้ การ ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกลมหายใจ
    ในระยะ 15 วัน แรก เค้ารายงานผลไปว่า
    เวลานี้ สะบายมาก สติ ทำหน้าที่ตามรู้ การ ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำพูด คิด เอง โดยไม่ได้ตั้งใจ

    หลัง จากนั้นอีก ซัก 15 วัน เค้ารายงานผลไปว่า

    เมื่อคืนนี้

    พอนอนหลับลงไปแล้ว จิตเป็น สมาธิ สว่าง ไสว
    แล้วปรากฎว่า มีกายอันหนึ่งเดินออกจากกายเดินไป เที่ยวไปในป่า
    เข้าไปในป่าช้า แล้วไปยืนเพ่ง ดูหลุมฝังศพ
    อีกซักพักหนึ่ง ซาก ศพ ลุกขึ้นมา จากหลุมฝังศพ
    แล้ว มากระโดดกอด เค้าก็สลัดซากศพออกไป
    แล้ว เอามือไปบีบคอซากศพนั้น

    ฉีกเนื้อหนังมันโยนทิ้ง ทีละ ชิ้น สองชิ้น จนกระทั่งหมด
    พอโยนทิ้ง ชิ้น สุดท้ายแล้ว ทุกสิ่ง ทุกอย่าง หายไปหมด
    ยังเหลือแต่ จิต สงบ สว่างไสว ลอยเด่นอยู่บน นภากาศ
    อีกซักพักหนึ่งร่างของเค้า ร่างเดิมของเค้า ปรากฎตัวขึ้นมาให้เห็น
    แล้ว ก็มาแสดงอาการ ขึ้นอืด เน่าเปื่อย ผุ พัง จนกระทั่งสลายตัวไม่มีอะไรเหลือ

    พอจิต ถอนจากสมาธิมา พอรู้สึกว่ามีกาย
    จิตมันก็อธิบายให้ตัวเองฟังว่า นี่ คือ การตาย
    ตายแล้วก็ต้องเน่า เน่าแล้ว ก็ อ่า ปฏิกูลน่าเกลียด

    ในเมื่อ สลายตัวไป ก็แยกส่วนออกเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ
    หาสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ในร่างไม่มี
    มีแต่ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ คลุมกันอยู่เท่านั้น

    ก็เป็นเหตุให้เค้ารู้
    1. รู้ ความตาย
    2. รู้ อสุภะกรรมฐาน
    3. รู้ ธาตุกรรมฐาน
    4. รู้ อนัตตา

    ในร่างกาย ของตัวตน

    เพราะเค้าเห็น ว่า ร่างกายนี้ สักแต่ว่า ธาตุ 4
    หาสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่ได้ มันก็รู้ อนัตตา เท่านั้นเอง

    นี่ คนที่ไม่เคยนั่งสมาธิเลย
    เพียงแต่ทำ สติ ตามรู้ การ ยืน เดิน นั่งนอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิดเท่านั้น
    ยังสามารถ ปฏิบัติธรรม รู้ธรรม เห็นธรรม ได้ขนาดนี้


    ที่นี้ ในหลัก มหาสติปัฏฐานก็มี การเจริญสติบรรพะ
    ยืน เดิน นั่งนอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
    ให้ ทำสติ ตามรู้ อยู่ ทุกขณะจิต

    เป็นการปฏิบัติ สมถะ วิปัสนากรรมฐาน แบบสากล

    โดยไม่มีอุปสรรค์ ใดใด มาขัดข้อง
    แม้ว่าท่านทั้งหลายขนาดที่ทำงานอยู่
    เอางานที่ทำอยู่ในปัจจุบันเป็นอารมณ์
    เขียนหนังสือ เอาการเขียนหนังสือเป็นอารมณ์
    ทำอะไรอยู่เอาสิ่งนั้นๆ เป็นอารมณ์

    เพียงแต่ ทำสติ สัมทับเข้าให้ชัดเจนลงไป เท่านั้นเอง
    เป็นการปฏิบัติธรรมได้ทุกขณะจิต
    อันนี้เป็น วิธีการอันหนึ่ง

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ธันวาคม 2012
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 8)

    วิธีการที่ 2

    อาศัย การบริกรรมภาวนา กับ การกำหนดตามรู้ความคิด
    วิธีการก็คือว่า
    ถ้าหากท่านมีการไหว้พระสวดมนต์เจริญเมตตา หรือ เจริญพรหมวิหาร
    ก็ทำตาม กิจวัตรที่เคยทำ

    พอเสร็จแล้ว จะนั่งขัดสมาธิหรือนั่งเก้าอี้ก็ได้ ตามสะบาย
    แล้วก็นึกในใจ ท่องบริกรรมคาถาอันใด อันหนึ่ง ไว้ในใจ
    จะเป็น คำว่าพุทโธ ก็ได้ หรือ อะไรก็ได้ ที่ท่านถนัด

    แล้วก็ ตั้งใจ ท่อง บริกรรมภาวนาอยู่อย่างนั้น
    เช่น พุทโธ พุทโธ พุทโธ เป็นต้น

    ถ้าหากว่า ใจของท่านจะอยู่กับพุทโธ ตลอด 24 ชั่วโมง ก็ปล่อยให้มันอยู่ไป
    ท่องพุทโธ จนถึงกระทั่งรู้สึกว่า
    ใจของเราท่องพุทโธ เอง โดยไม่ได้ตั้งใจ ใจมันก็นึกถึงพุทโธ เอง
    สติ ก็ตามรู้เอง ทุกสิ่งทุกอย่างมันพร้อมเป็นอัตโนมัติ พอเหมาะ พอดี

    แล้ว ใจจะท่อง พุทโธ อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ก็ปล่อยให้มันท่องอยู่อย่างนั้น

    แม้จิตจะยังไม่ สงบ มีปิติ มีความสุข อะไรเกิดขึ้นก็ตาม
    เอาผลเพียงแค่ว่า ถ้าใจของเรามีที่ยึด ซะอย่างหนึ่ง อย่างเหนียวแน่น
    มันเป็น อุบายวิธี ที่จะพรากความคิดที่วุ่นวาย
    เข้ามารวมอยู่จุดเดียว คือพุทโธ

    ในเมื่อ จิตใจ มาอยู่กับพุทโธ เพียงจุดเดียว
    นานๆเข้า จิตก็จะเกิดมีความสงบ

    การที่จิต ท่องพุทโธ เอง
    มี สติ สัมปชัญญะ รู้เองโดยอัตโนมัติ
    ผู้ภาวนาได้ องค์ ฌานที่ 1 กับองค์ฌานที่ 2ไว้เป็นทุนแล้ว
    คือ วิตก กับ วิจาร

    ในเมื่อ จิต มี วิตก กับ วิจาร
    ปิติ แหล่ะความสุข จะไม่เกิดขึ้น ย่อมเป็นไปไม่ได้
    เมื่อปิติ แหล่ะ สุข เกิดขึ้น
    ความสงบจิต ซึ่งเรียกว่า สมาธิ ย่อมเกิดขึ้น
    มันจะมีผลสืบเนื่องกันไปเป็นลำดับอย่างนี้

    แต่ ในบางครั้ง บางขณะ

    ถ้าหากว่า ท่าน ท่องคาถา พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่
    ถ้าจิต ของท่านทิ้งพุทโธ ปั๊บ ไปคิดถึงอย่างอื่น

    ส่วนมากเราจะได้ยินว่า

    เมื่อจิตทิ้งพุทโธ แล้ว ให้เอากลับมาหาพุทโธ อีก

    ทีนี้ อาตมะ จะขอแนะนำ วิธีแปลก ๆ
    ซึ่งอาจจะแปลก สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยทดสอบ
    แต่สำหรับ อาตมะเอง หรือ ครูบาอาจารย์อื่นๆ
    ที่ท่านทดสอบมาแล้ว ก็ไม่เห็นเป็นของแปลก

    เมื่อเราท่อง คาถา บริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธอยู่
    ถ้าจิตจะอยู่กับพุทโธ ก็ปล่อย ให้เค้าอยู่เรื่อยไป
    ถ้าเค้าไม่อยู่เค้าทิ้งพุทโธเสีย ไปคิดถึงอย่างอื่น ก็ปล่อยให้เค้าคิดไป

    แต่เรา ทำ สติ ตามรู้ไป เรื่อยๆ

    สิ่งที่จิต ของเราจะไปคิดถึงนั้น ก็ไม่มีอื่น
    นอกจากเรื่อง

    การงานที่เราทำอยู่ อันเป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน

    ถ้าใครเป็นนักทำบัญชี พอจิต ทิ้งพุทโธแล้วมันจะไปนึกถึงเรื่องบัญชี

    ใครเป็น นักวิชาการ ใดๆ ก็ตาม เมื่อจิต ทิ้งพุทโธ แล้ว
    มันจะไปนึกถึง วิชาการนั้นๆ

    พอมันนึกถึงอะไรก็ปล่อยให้มันคิดไป แล้วทำ สติ ตามรู้ ไปเรื่อยๆ
    เมื่อ สติ สัมปชัญญะตัวนี้ ตามทันความคิดเมื่อไร

    เราจะรู้สึกว่า

    ภายในจิตของเราเนี๊ยะ มันแยกกันเป็น สองมิติ

    มิติหนึ่ง คือ ความคิด คิดไม่หยุด
    อีก มิติหนึ่ง ตัวสติ จะตามรู้ อยู่ไม่หยุดเหมือนกัน

    ความคิดยิ่งเร็วขึ้น สติ ยิ่งแจ่มใสขึ้น
    ลงผลสุดท้าย มันก็จะเกิด มี ปิติ มีความสุข
    แหล่ะ สงบ เป็น สมาธิได้ เช่นเดียวกัน กับบริกรรมภาวนาอย่างอื่น
    อันนี้เป็นหลัก วิธีการที่ สอง

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ธันวาคม 2012
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 9)

    ส่วน วิธีการที่สามนั้น

    เมื่อท่านมีความจำเป็น จะต้องคิดเรื่องอะไร
    จะเป็นเรื่องเกียวกับเรื่อง ธุรกิจการงานที่ท่านทำอยู่ก็ตาม
    ให้ถือว่า การใช้ความคิดนั้น เป็นการพิจารณากรรมฐานทันที


    เช่น อย่างในที่นี่ บางท่าน อาจจะ มีความรู้ ในหลักวิชาการแตกต่างกัน
    บางท่านอาจจะรู้ วิศวะไฟฟ้า
    บางท่านอาจจะรู้ ทางวิทยาศาตร์
    บางท่านอาจจะรู้ ทางกฎหมาบ หรือ
    บางท่านอาจจะรู้ ทางวิชาทางอื่นๆ

    เมื่อท่านจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับเรื่อง วิชาการของท่าน
    ยกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ขึ้นมาคิด มาพิจารณา แล้วทำ สติ ตามรู้ ไปในความคิดนั้นๆ
    ในทุกโอกาสที่ท่านใช้ความคิด
    ให้คิดด้วย ความมี สติ สัมปชัญญะ

    โดยเอาความคิดเป็นอารมณ์ของกรรฐานโดยทันที

    ในทำนองนี้ จะสามารถ ทำให้ท่าน มีจิต เป็น สมาธิ มี สติ สัมปชัญญะ
    ในเมื่อเราใช้ วิชาการนั้นๆ มาเป็นอารมณ์ ในการคิด
    แล้วถือว่า การคิดนั้น คือ การปฏิบัติกรรมฐาน
    เราจะได้ สติ สัมปชัญญะ สนับสนุนกิจการที่เราทำอยู่ ในเรื่องของชีวิตประจำวัน

    เมื่อก่อนนี้ เคยมีลูกศิษย์ ไปบวชอยู่ที่วัด เป็นคนทำงานไฟฟ้า

    อ่ะ อึ๊มๆ

    เค้าเป็นพวกประเภท อ่า ช่างเครื่อง ติดตั้ง เครื่องเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าต่างๆ

    มีอยู่ คราวหนึ่ง เค้าไปรับคำสั่ง ให้ไปติดตั้ง เครื่องไฟฟ้า ที่จังหวัดอุบลฯ

    เครื่องนั้นเป็นเครื่องใหม่
    ซึ่งเค้าเองก็ยังไม่มีความชำนาญเพียงพอ

    ไปกับเพื่อนกันก็ไปคิด ที่จะทำ ทำแล้ว มันก็ไม่สำเร็จ
    จนกระทั่งเกิดท้อแท้ใจขึ้นมา
    กำลังจะทำรายงานส่งคืน ขอช่างคนใหม่ไปทำ

    แต่คนที่เคยไปบวชกับอาตมะที่วัด
    เค้าบอกว่า ไหนลองให้ทำสมาธิดูซิ
    ขอเวลาอีกซักคืนหนึ่ง

    พอเสร็จแล้วเค้าก็เข้าทำสมาธิ ตามแบบที่เค้าเคยฝึกมา
    พอเกิด จิต สงบ ลงไปแล้ว เกิด ภาพนิมิต
    เกี่ยวกับเครื่อง ที่เค้าไปทำนั้นขึ้นมาในสมาธิ
    ในเมื่อเค้ารู้เห็นอย่างนั้น เค้าก็รีบบันทึกเอาไว้ ตื่นเช้ามาก็ไปทำ
    ทำก็สำเร็จ ตามที่ต้องการ

    อันนี้เป็นหลักฐานอันหนึ่ง

    สมาธิ ที่สนับสนุนกิจการอยู่ได้


    เมื่อไม่นานมานี้ มีนักธุรกิจอยู่ท่านหนึ่ง ไปหาอาตมะที่วัด
    ไปบอกว่า
    ผมจะมาขอขึ้นครูกรรมฐาน กับ พระคุณเจ้า

    อาตมะ ก็บอก ถามว่า คุณมีอาชีพอะไร
    เค้าบอกว่า เค้ามีอาชีพในทางประดิษย์ สิ่งของขาย

    ไหนลองเล่าดูซิ
    ในขณะ ที่คุณคิดประดิษย์สิ่งของอยู่นั้น มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

    เค้าก็เล่าให้ฟังว่า สมมุติว่า ผมจะสร้างตุ๊กตา ซักตัวหนึ่ง
    ผมก็คิดว่า ควรจะทำศรีษะมันอย่างนั้น ทำแขน ทำขา
    ส่วนประกอบ อย่างนั้น อย่างนั้น
    พอคิดไปแล้ว จิตมันวู๊บไปพักหนึ่ง
    เกิดความสว่างขึ้น มองเห็นภาพตุ๊กตาที่จะสร้างขึ้น
    เสร็จแล้วก็ไปทำตามภาพนิมิต ที่มองเห็น
    เสร็จออกมาก็เป็นที่ชอบใจของลูกค้า

    อาตมะก็เลยบอกว่า คุณ ไม่ต้อง มาขึ้นครูกรรมฐาน กับฉั๊นหรอก
    คุณเก่งแล้ว

    ฉั๊น ภาวนามาตั้งแต่อายุ 14 ปี เดี๋ยวนี้ 65 ปีแล้ว
    ยังประดิษย์ของขายอย่างคุณไม่ได้

    คุณทำกรรมฐานของคุณเรื่อยไป
    ถ้าคุณอยากจะให้กรรมฐานของคุณ
    มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ให้คุณมีศีล 5 ซะ

    รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์สะอาด แล้วก็คิด ประดิษย์สิ่งของ ของคุณต่อไป

    แล้ว คุณจะรู้ ความจริง ของธรรมะเอง


    อันนี้เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง ของบุคคลผู้
    สามารถทำสมาธิให้เกิดประโยชน์ แก่ ชีวิตประจำวันได้

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ธันวาคม 2012
  14. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    กินเยอะมันจะจุกจะอ้วนเอานะ
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    คนอิ่ม เขารู้เองว่าอิ่ม
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ตอนที่ 10)

    ในบรรดา ท่านทั้งหลายที่นั่งฟังธรรมอยู่นี่ อาตมะขอยืนยันว่า
    ท่านเคยฝึกสมาธิมาแล้ว
    แหล่ะได้ใช้สมาธิให้เกิดประโยชน์ แก่ ชีวิตของตัวเองมาแล้วทุกท่าน

    ท่านฝึกสมาธิอย่างแท้จริงมาแต่เมื่อไหร่
    ตั้งแต่ท่านเริ่มเรียนหนังสือตัวแรก

    แต่ครูผู้สอนหนังสือท่าน เค้าไม่ได้บอกว่าท่าน เค้าฝึกสมาธิท่าน
    แหล่ะท่านก็ไม่รู้ว่าท่านฝึกสมาธิ
    แต่แท้ที่จริง มันเป็นการฝึกสมาธิตั้งแต่เริ่ม เรียนหนังสือมาทีเดียว

    เมื่อท่านไม่มีพลังสมาธิ เรียนจบปริญญามาได้อย่างไร
    เมื่อไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่โตสำเร็จได้อย่างไร
    เมื่อไม่มีสมาธิ ปกครองคนหมู่มากได้อย่างไร

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

    งานเกี่ยวกับไฟฟ้าเนี๊ยะ เป็นเรื่องที่จะต้องใช้สมาธิอย่างหนัก
    ท่านผู้ที่เก่ง ในทางไฟฟ้านี่ เก่งสมาธิมาแล้ว
    แต่ยังไม่รู้สึกตัว ว่า ตัวเองได้ฝึกสมาธิ แหล่ะ ได้ทำสมาธิ
    และได้ใช้สมาธิ ให้เกิดประโยชน์มาแล้ว เพราะ ไม่มีผู้บอก

    ทั้งนี้ก็เห็นจะเป็นว่า เราเข้าใจว่าโลกกับธรรม มันหันหลังให้กัน
    เราเคยได้ยิน พระท่านเทศน์ว่า คดีโลก กับ คดีธรรม

    ในเมื่อเราตีความหมายของคำว่า คดีโลก คดีธรรม ไม่แตก
    เราก็เลยเข้าใจว่า โลกกับธรรม ต้องหันหลังให้แก่กัน

    แต่ โดยหลักธรรมะชาติของความเป็นจริงแล้ว

    เรื่องของโลก เป็นอารมร์ สิ่งรู้ ของจิต เป็น สิ่งระลึกของ สติ
    โลกนี้เอง เป็นผู้แสดง ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ให้เรารู้
    โลกนี้เองเป็นอารมณ์ ที่มาแหย่ จิตใจของเรา ให้เกิดอารมณ์ ความสุข แหล่ะ ความทุกข์
    โลกนี้แลเป็นฐานที่ตั้งแห่งการฝึกจิต

    รวมความแล้วว่า

    การฝึกจิต ในเรื่องเกี่ยวกับ สมาธิ เราอาศัย กายกับใจ เป็นหลัก

    ทำสติ ระลึกรู้อยู่ในกายเรื่ยกว่า กายานุปัสนา สติปัฏฐาน

    กำหนดรู้ สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้น กับกาย กับใจ เรียกว่า เวทนานุปัสนา สติปัฏฐาน

    กำหนด ทำ สติ ตามรู้ การคิดอ่านของตัวเอง เรียกว่า จิตตานุปัสนา สติปัฏฐาน

    การที่เอาจิต จดจ่อ พิจารณา จ้องดูอยู่ กับ อารมณ์ที่เกิด-ดับ อยู่กับจิต
    แหล่ะ ความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิต ธรรมอันใด ที่มันเป็นอุปสรรค์ ต่อการปฏิบัติ

    เช่น

    จิต ใจที่ใฝ่หาความสุข เรียกว่า กามฉันทะ นิวรณ์
    หรือ พยาบาท จิตใจที่คิด ตัดตอน ผลประโยชน์ในการปฏิบัติ
    ความลังเล สงสัยในการปฏิบัติ ว่าจะเอาจริง หรือ ไม่จริง

    เราเอาจิตใจ จดจ่อ พิจารณารู้อยู่อย่างนี้เรียกว่า ธรรมานุปัสนา สติปัฏฐาน

    เมื่อเรากำหนดจิตของเรา หลับตากำหนดจิต ปั๊บ ลงไป
    เราก็รู้ทันที ว่าเรายังมีกายอยู่

    สติ ระลึกรู้ อยู่ที่กาย ก็เรียกว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน
    เมื่อสติ กำหนดรู้ สุข ทุกข์ ที่เกิดขึ้นที่กาย ก็เรียกว่า เวทนานุปัสนา
    สติ ตามกำหนดรู้ ความคิดอ่าน ซึ่งเกิด- ดับ อยู่กับจิต เรียกว่า จิตตานุปัสนา
    สติ กำหนดรู้ ความหงุดหงิด งุ่นง่าน ในการที่จะปฏิบัติ
    หรือการทำงาน เรียกว่า ธัมมานุปัสนา สติปัฏฐาน

    นี่ ถ้าเรากำหนดเอาอย่างนี้ เราจะมองเห็นธรรมได้อย่างง่ายๆ
    แม้ว่าเราอาจจะกำหนดจิต คอยจ้องดู ความคิดอ่าน ที่เกิดขึ้น ดับไป อยู่ทุกขณะจิต
    เมื่อเราเอาความคิดเป็นสิ่งรู้ เอา สติ ระลึกรู้อยู่กับความคิดนั้น
    จะทำให้ สติ สัมปชัญญะของเรา มีสมรรถภาพ มีพลังงานเข้มแข็งขึ้น

    เพราะโดยธรรมชาติของจิต ถ้ามีสิ่งรู้ สติ มีสิ่งระลึก

    ความมั่นใจ แหล่ะ สติ สัมปชัญญะ จะเพิ่มพลังงานขึ้นทุกที
    เมื่อเรามี สติ สัมปชัญญะ ดีแล้ว
    เราสามารถที่จะรู้ความเปลี่ยนแปลง ของความคิด
    ในแง่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เมื่อเรามี สติ สัมปชัญญะ แก่กล้า ขึ้น กลายเป็นตัวปัญญา
    เราสามารถที่จะกำหนดรู้ได้ว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิต

    สิ่งใด ที่ทำให้เราพอใจ ยินดี สิ่งนั้นเป็น อิฏฐารมณ์
    มีแนวโน้ม ให้เกิด กามะตัณหา

    ถ้า สิ่งใด เกิดขึ้นเราไม่พอใจ เป็น อนิฏฐารมณ์ มีแนวโน้มให้เกิด วิภวตัณหา

    ถ้าเราไปยึด ความยินดี แหล่ะ ความยินร้าย ทั้งสองอย่าง
    มันก็กลายเป็น ภวตัณหา

    เมื่อจิต ของเรามี กามะตัณหา ภวตัณหาอยู่พร้อม
    สุขทุกข์ ย่อมเกิดขึ้น ตามวาระของกิเลส แหล่ะ อารมณ์จะอำนวยผลให้

    ความสุข แหล่ะ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับจิตนั้นเอง
    ถ้าเรามี สติ สัมปชัญญะ พร้อม
    เราก็ สามรถที่จะรู้ได้ว่า นี่คือ อริยสัจจ์ ที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้

    อันนี้ ถ้าเรา ทำสติ กำหนด ตามรู้ จิต แหล่ะ อารมณ์ ของเรา
    เราจะได้ความรู้ปรากฎขึ้นมาอย่างนี้

    เมื่อได้ความรู้ปรากฎเด่นชัดขึ้นมาอย่างนี้

    ก็เรียกว่า

    เรารู้ธรรม เห็นธรรม ตามแนวทาง ที่ พระพุทธเจ้าสอน
    วันนี้ขอกล่าวบรรยายธรรมมะ พอเป็น คติเตือนใจ ของบรรดาท่านผู้ฟัง
    ก็เห็นว่า สมควรแก่กาละเวลา จึงขอยุติด้วยประการฉะนี้


    จบไฟล์นี้เพียงเท่านี้

    นิพพาน นิพพาน นิพพาน
     
  17. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    โยคาเว ชายะเต ภูริ

    ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ
     
  18. boy thanawat

    boy thanawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +288
    ขอบคุณมากครับ
     
  19. จีรัชญ์

    จีรัชญ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +143
    ขอบพระคุณมากค่ะ ^^ อิ่มพอดีค่ะ ไม่เยอะเกินไป ไม่น้อยเกินไป
     
  20. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ธรรมะเป็นของเก่า

    คนโพสก็คนเก่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...