ทำอย่างไรดีกับสมาธิแบบหัวตอ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย saturday_rainy, 7 มกราคม 2013.

  1. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    จากประสบการณ์ที่ผมได้พูดคุยมากับหลายท่านโดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่
    หลายท่านอยากได้ธรรมกันแต่ไปนั่งสมาธิทีไรนิ่งอย่างเดียวไม่รับรู้อะไรเลย
    หรือบ้างก็บอกว่าติดสบาย ไม่เห็นอาการในสมาธิสักอย่าง แต่ลึกๆนั้นอยากเจริญภาวนาด้วยกันทั้งสิ้น
    ถ้าเป็นท่านมีแนวทางให้ความรู้แก่ท่านเหล่านี้อย่างไรครับ
     
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,942
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เอ.......ฟังจากคำถาม นี่ ไม่ใช่คำถามเลยนะครับ

    จขกท เล็งไปว่า ปู่ๆป้าๆ เหล่านั้น เกิดปัญหาในการภาวนา

    แต่ หากคำถามเป็นไปตามนี้ ผมกลับมองว่า ปัญหาไม่เกิด

    แถม ยังภาวนาได้อยู่แล้ว

    คือ การภาวนาเนี่ยะ มันจะต้องมีสภาพการ ทวนกระแส

    การทวนกระแสนั้น หาก ทวนมาพิจารณา "ตน" เอา "ตน"
    นำส่ง เพียรเผา เพียรปรารภ ตรงนี้แปลว่า ภาวนาเกิดอยู่
    ไม่ได้หายไปไหน จึงไม่มีปัญหา และ ไม่ต้องแก้

    ถ้าเมื่อไหร่ ปู่ๆ ป้า ท่าน ปรารภว่า

    "นั่งสมาธิทีไรนิ่งอย่างเดียวไม่รับรู้อะไรเลย" เนี่ยะ พูดแบบนี้ เพราะว่า
    รู้ว่าไม่รู้ หรือ รู้ในสิ่งที่พ้นบัญญติ ไม่มีชื่อเรียก เนี่ยะ ภาวนาสุดยอด
    แต่ต้อง รู้ว่าไม่รู้อะไรเลย เฉยๆ นะ ไม่ใช่ รู้ว่าไม่รู้แล้วไปกระวนกระวาย
    ใจ อันนั้น จะไม่ใช่ ไม่รับรู้อะไรเลย แต่ จะเป็น อาการคว้าอะไรไม่ถูก
    ( อาการ คว้าอะไรไม่ถูก มันมีแรงทยานอยาก เจืออยู่ แต่ถ้า รู้ว่าไม่รู้
    ตรงนี้ จะมี ผู้รู้เด่นอยู่ และเพราะไม่มีแรงทยานอยาก จึงรู้ที่ไม่รู้ พอ แล้ว
    จะเป็นการ ฟังธรรมตลอดเวลาเสียด้วยซ้ำ )

    หรือ

    "บ้างก็บอกว่าติดสบาย" อันนี้พอกล้อมแกล้ม ดีกว่าไม่ภาวนา แต่ถ้า
    เห็นจริงๆว่า มี "ตน" ติด สบาย ก็ผลิกเลย ภาวนาสุดยอด

    "ไม่เห็นอาการในสมาธิสักอย่าง" อันนี้ก็ต้องบอกว่า ใช้ได้เหมือกัน คือ เอา
    ตัวสมาธิมาพิจารณา เอาเจตสิกที่เป็นตัวสมาธิมายกขึ้นเป็นตัวพิจารณาถูกรู้
    ถูกดู จะคล้ายๆรู้ที่ไม่รู้ แต่ อันนี้รู้ที่เจตสิกที่ประกอบการภาวนา อาการทางสมาธิ หรือ ธาตุ
    หรือ อินทรีย์ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ จิตเกิดการแสวงหา ถ้าไม่มีอาการ ก็แปลว่า ไม่มี
    การแสวงหา ซึ่งก็ดีอยู่แล้ว จิตเป็นหนึ่ง ถ้า อาการเกิด จิตจะเป็นสอง

    "แต่ลึกๆนั้นอยากเจริญภาวนาด้วยกันทั้งสิ้น" อันนี้ ก็ใช้ได้ เพราะโดยหลัก
    การเขาเรียกว่า " ศรัทธาเจตสิก สหรคต กับ วิริยะ " ก็ให้ ยกดู การเพียร
    ปรารภนี้ไปตรงๆ คนที่ปรารภแบบนี้ สังเกตเลย หน้าจะใส จิตผ่องใส เลื่อม
    ใส สว่างมาที่กาย แทบจะปรกติ


    สรุปว่า ปู่ๆ ป้าๆ ตามคำถาม ท่านเหล่านั้น ไม่มีปัญหา ดูเหมือนไม่มีปัญหา

    ปัญหา จึงอยู่ที่ ผู้ถาม ที่ไม่เข้าใจ การภาวนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2013
  3. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,942
    ค่าพลัง:
    +1,253
    จขกท จะยังไง ก็แล้วแต่

    หาก ต้องการ ช่วยเหลือผู้สูงอายุจริงๆ เราจะมีภูมิธรรมหรือไม่ อันนี้ไม่จำเป็น

    เราไม่ต้องใช้ภูมิธรรมอะไรเลย ในการช่วย ผู้สูงอายุ ที่เป็น ญาติสนิท

    ย้ำว่า ต้องญาตสนิท ในตระกูลตน นะ ญาติโก โหติกา ของคนอื่น ปล่อยให้
    เป็นเรื่องของ ขุนไกร กับ แม่ดาวเรืองไป

    แต่ถ้าเราเป็น ญาติสนิท วิธีช่วย ง่ายนิดเดียว คือ หมั่นเข้าหา หมั่นเข้าปรนิบัติ
    ให้ท่านได้รับความสุขกาย สุขใจ เขากอด เข้าหอมแก้มท่าน ไปเลย ไม่ต้องอาย

    ทั้งนี้ หากท่านๆเหล่านั้น ท่านมี ภูมิธรรมบางประการ ภูมิธรรมนั้นจะ ชักน้ำท่าน
    ไปสู่ บริษัท ที่ถูกต้อง สมควรแก่ท่าน หาก วัยยังให้ แรงยังมี ท่านก็เลือกทาง
    เลือกออกจากเรือน ไปสู่ บริษัท ที่สมควรแก่ท่านเอง ...พอท่านไปอยู่ บริษัทที่
    ถูกแล้ว เดี๋ยวก็ "เห็นสมณะ" อันถือได้ว่า เป็นมงคลอย่างหนึ่งเอง พอเห็น
    มากๆเข้า หากภูมิธรรมที่มีนั้นไม่จริง ก็จะได้รับการ ถ่ายทอดความจริงจาก สมณะ
    เราลูกหลานก็หมดห่วง ส่งท่านไปได้เจอครูดีมันก็จบ( ใช้หนี้หมดอีกต่างหาก )

    แต่ถ้า ภูมิธรรมมีจริง ก็ไม่มีอะไรจะต้องห่วง

    แต่ถ้าท่านไม่มีภูมิธรรมใดๆเลย การที่มีลูกหลานมาปรนนิบัติ เอาอกเอาใจ
    ตรงนี้ก็ถือว่า สมควรแก่ท่านอยู่ดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2013
  4. nai_Prathom

    nai_Prathom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +694
    "ไม่เห็นอาการในสมาธิสักอย่าง" อันนี้ก็ต้องบอกว่า ใช้ได้เหมือกัน คือ เอา
    ตัวสมาธิมาพิจารณา เอาเจตสิกที่เป็นตัวสมาธิมายกขึ้นเป็นตัวพิจารณาถูกรู้
    ถูกดู จะคล้ายๆรู้ที่ไม่รู้ แต่ อันนี้รู้ที่เจตสิกที่ประกอบการภาวนา อาการทางสมาธิ หรือ ธาตุ
    หรือ อินทรีย์ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ จิตเกิดการแสวงหา ถ้าไม่มีอาการ ก็แปลว่า ไม่มี
    การแสวงหา ซึ่งก็ดีอยู่แล้ว จิตเป็นหนึ่ง ถ้า อาการเกิด จิตจะเป็นสอง


    ขออนุญาตถามสักนิด จิตเป็นสองนี่ มันดีหรือไม่ดียังไงอ่ะครับ?

    บางทีผมทำสมาธิไปแล้ว ไม่เห็นอะไรในสมาธิเลย แต่เวลาใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป ก็ไปเห็นแง่มุมธรรมะยังงี้ พอจะใช้ได้ไหม?
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานสมาธิ และปฏิบัติในรูปแบบมามากพอสมควรแล้ว ให้เจริญสติอย่างเดียว ครับ ลองดูธรรมะของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช ดูครับ
     
  6. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    ถ้าเป็นผม จะคุยให้ลึกว่า ที่ว่าสบายนั้น ได้ถึงไหน
    แต่ก่อนอื่น ผมจะบอกก่อนว่า ถ้าได้สมาธิก็ถือว่าดีมากแล้วครับ
    มีมนุษย์ไม่กี่คนในโลกนี้หรอกครับ ที่ได้สมาธิจนจิตสบาย
    เรียกได้ว่า ถ้าเป็นผมตายไปตอนนั้นเลยก็ไม่เสียดาย

    อย่าลืมว่าจิตคบหากับกิเลสมายาวนาน เราสามารถละได้ชั่วเวลาหนึ่งนับว่าเยี่ยมยอด
    และอย่าลืมว่า การจะเข้าสู่พระนิพพานได้อยู่ที่กำลังใจเป็นสำคัญ
    ถ้าคุยไปคุยมา ก็ต้องถามว่าอยากนิพพานจริงหรือเปล่า
    ถ้ายังไม่อยากนิพพาน ก็นั่งไปเหอะ
    มันก็ยังดีกว่าไม่ได้นั่ง เป็นกำลังให้กับชาติภพต่อๆไปได้
    แต่ถ้าอยากจะพิจารณาเป็นวิปัสสนา ก็ให้ไปศึกษาบังสกุลเป็นบังสกุลตาย
    เอาอารมณ์(คือจิตสบายๆ)แบบสมาธิหัวตอนั่นแหละมาพิจารณา
    ขั้นแรกให้ขึ้นเป็นสัญญาก่อน จากนั้น ใช้สมาธิหัวตอนั่นแหละพิจารณาบทสวด
    จนขึ้นใจ วนเวียนอยู่ในหัว พิจารณาไปมา โดยพิจารณาเข้าหาตัว
    คือเราก็จะมีอาการประหนึ่งดังในคำสวดนั้นๆนั่นแล

    แต่ถ้าต้องการจะนิพพาน ต้องคุยกันยาว และอาจจะไม่ใช่วิสัยของเราๆท่านๆจะแนะได้
    ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ที่ท่านเข้าถึงมรรคถึงผลแล้วละครับ
    แนะนำผิด... คนแนะอาจจะมีกรรมติดตัวไปซะอีก อันนี้ต้องระวัง

    แต่ถ้ายุ่งยากนักนะครับ ผมว่าเอางี้ดีกว่า นึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วคิดว่าจะไปอยู่กับพระพุทธเจ้าที่พระนิพพาน นึกแค่นี้แหละ แล้วก็ตัดโลกให้หมด แก่แล้วนี่ น่าจะพิจารณาได้ง่าย วัดใจได้ง่าย ถ้ายังห่วงไอ้แดง ไอดำ อยู่ ก็ไม่ต้องอะไรมาก ก็ถามไปเลยว่าจะตายเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ ถ้าตายวันนี้จะเอายังไง... ต้องดูกำลังใจนะครับ นี่วัดกำลังใจ กำลังใจยังห่วง เราก็ให้พิจารณาเล็กๆน้อยๆ ให้เห็นความเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดา
    ไม่ธรรมดายังไงไหว ก็แก่ให้เห็น เจ็บให้เห็นอยู่แล้ว เพื่อนๆ ญาติๆ ก็ตายให้เห็นอยู่แล้ว เอาแค่นี้พอ พิจารณามากปวดหัวเปล่าๆ ใช้กำลังสมาธิพิจารณา แล้วมันจะเกิดปัญญา นำหน้าคนแนะนำไปโดยไม่รู้ตัว
     
  7. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    ต้องหาครูอาจารย์ ที่ฝึกสติปัฎฐานสี่ และวิปัสสนาได้แล้วครับ นั่งสมาธิมานานแล้ว
    สมาธิคือการพักผ่อน วิปัสสนาคือการทำงาน ต้องฝึกวิปัสสนาจึงจะเิกิดปัญญา
    รู้เห็นตามจริง หาคลิปการสอนของครูอาจาย์ไปเปิดให้พวกผู้เฒ่าได้ดูก็น่าจะดีครับ
     
  8. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    ปีใหม่ไปเนกขัมมะมาครับ ก็มีคุยกับคุณป้าท่านที่มาอบรมบ้าง แม่ชีก็เยอะ ฆาราวาสก็มากบางคนไปมาหลายวัด วัดนี่ท่านให้กำหนดเครื่องหมายขาวใสเป็นกสิน นึกเท่าไหร่ก็ไม่ออก นึกได้สักพักก็นิ่งไปแล้ว ก็ถามพระแล้วให้ทำอย่างนี้ ท่านก็ตอบว่าแล้วแต่วาสนาที่ฝึกอบรมมา
    ผมเองก็ว่ามีส่วนเพราะผมก็ไม่มีความรู้อะไรไปแนะนำก็ปฎิบัติไปเรื่อยๆ ตามที่บอก
    แม่ชีท่านอายุ 60 แล้วบอกมาปฎิบัติตอนแก่ อยากรู้อยากเห็นเหลือเกินนี่ก็ไม่รู้จะอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่
     
  9. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    เฮ้ย... ยังมีคนเชื่อว่าสมาธิคือการพักผ่อนจริงๆเหรอเนี่ย
    (สัมมา)สมาธิคืออริยมรรค จะเป็นการพักผ่อนได้อย่างไร
    เป็นกิจกรรมต่อสู้กับกิเลส เพื่อสภาวะว่างเว้นจากกิเลสชั่วคราว
    เป็นการเตรียมจิตให้ควรแก่งาน(คือวิปัสสนา)

    สมถะกรรมฐาน ๔๐ นี่บิดนิดเดียวเข้าวิปัสสนาได้ง่ายมากเลยนะครับ
    แต่ต้องทำให้ถึงทำให้เป็น
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ก็เข้าใจนะ แต่ คุณอย่าไป เอาอายุ ของท่านมาเป็นเงื่อนไข ในการสร้างภาพ

    เพราะ โดยหลักของการภาวนาแล้ว สัตว์ทุกชนิด มีอายุ เท่ากัน คือ
    เกิดแล้วตาม ตายแล้วเกิด 1 ขณะจิต เหมือนๆกัน อายุสั้นเพียงหนึ่ง
    ขณะจิตเหมือนกัน ไม่ยิ่ง ไม่หย่อน ไปกว่ากัน

    การที่เราไปเห็น ท่านมีอายุเยอะ เอา ความมีบุญกุศล ( ผู้มีราตรีนาน -- ผู้
    ไม่เคย ฆ่าสัตว์ หรือมีกรรมทางการตัดรอนชีวิตสัตว์มีน้อย ) เรากลับเอา
    สิ่งที่เป็นกุศล มากล่าวให้เป็น อกุศล

    เราไปตำหนิเชิงว่าท่านแก่ ท่านภาวนาร่อแร่ๆ น่าสมเพช เวทนา อันนี้
    เราโดน สัญญาวิปลาสที่กุมจิตเราเอง เหมือนปลาที่ไม่รู้วิถีพ้นน้ำ ยัง
    อุตสาห์ไปหาเรื่องตำหนิสิ่งอื่นๆ

    เรื่องนี้ ผมเคยสดับมาว่า

    มี พระสมัยพุทธกาลท่านหนึ่ง ท่านมีกรรมในการตัดรอนน้อย ท่านจึงมี
    อายุยืน มีอายุ 120 ปีแล้ว แล้วก็พึ่งเดินเข้ามาบวช

    ท่านมาเรียนอยู่สองสามครั้ง ขยันเข้าหาพระพุทธองค์ สุดท้าย ก็สำเร็จ
    อรหันต์ ( คนนอกศาสนา มีอายุเยอะ จะ ต้องบวชผ้าขาว ร่ำเรียนไปก่อน)

    นี่ขนาดอายุ 120 ปี เข้าไปแล้ว ยังเรียนแป๊ปเดียว ก็สำเร็จได้

    หลายคนได้ยินเรื่องนี้แล้ว ก็อาจจะ ยกให้เป็นเรื่อง พุทธวิสัย

    แต่พระที่ท่านเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง ท่านชี้กลับมาที่ ตัวพระผู้มีอายุ ต่างหาก
    ที่มีเหตุปัจจัย ดูเบาไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2013
  11. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    ภาวนามยปัญญา...ปัญญาที่ได้จากการภาวนา ด้วยหลัก มหาสติปัฏฐาน
    ฝึกให้มีสติใน กาย เวทนา จิต ธรรม ระลึกรู้ รับรู้ที่ฐานทั้ง 4 จนเป็นสมาธิ

    เมื่อเป็นสมาธิ ก็จะรู้เห็นได้ ตามความเป็นจริง...... ทำอาเองนะ
    อย่าไปหาอ่านแล้วรู้เลย มันเป็นเพียง สัญญาที่รู้ด้วยการอ่าน ฟัง และ
    คิดเอาเอง ไม่สำเร็จหรอก พระพุทธะท่านสอนไว้ดีแล้ว ไม่ต้องไปหาวิธีอื่นหรอก .
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ที่จริงต้องกล่าวว่าดี ที่มีฌานสมถะเป็นฐาน เป็นเครื่องอยู่สบาย
    การจะขึ้นวิปัสสนา ผู้มีฌานย่อมทำได้ง่ายเพราะมีกำลังดีเป็นบาทฐาน และไม่ควรติดอยู่แค่สมถะ
    การวิปัสสนานั้น เป็นการตามรู้ธรรมชาติตามจริงของรูป(กาย)และนาม(จิต) มีสติปัฏฐานสี่เป็นทางสายเอก การฝึกสติตามรู้ขันธ์ห้า จะเห็นว่ารูปนามนั้นมีธรรมชาติเป็นไตรลักษณ์เกิดและดับอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องอาศัยทั้งสติสมาธิและปัญญาในการตามรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องตามรู้ด้วยความเป็นกลาง อุเบกขา ด้วยฐาน กาย เวทนา จิต ธรรม
    สามารถอ่านในวิปัสสนาญาณ 16 ได้ค่ะ


    แม้นในพระอริยะก็เรียกฌานว่าเป็น ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม

    ...ดูก่อนจุนทะ ฌานธรรมเหล่านั้น เราตถาคตไม่เรียกว่าเป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยเจ้าเลย แต่ฌานธรรมเหล่านั้น เราตถาคตเรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม (ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน) ในวินัยของพระอริยเจ้า.
    [๑๐๓] เพราะเหตุที่วิหารธรรมคือฌานของภิกษุผู้มีอธิมานะ ไม่เป็นสัลเลขวิหารธรรม เพราะไม่เป็นบาทของวิปัสสนา ด้วยว่า เธอเข้าฌาน ครั้นออกจากฌานแล้ว หาได้พิจารณาสังขารทั้งหลายไม่ แต่ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมของเธอเป็น (เพียง) ทำให้จิตเป็นเอกัคคตาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงทรงจำแนกรูปฌานและอรูปฌานไว้ และต่อไปนี้ เมื่อจะทรงแสดงเรื่องนั้น และสัลเลขธรรมนั้นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า อิธ โข ปน โว ดังนี้.

    บาทของวิปัสสนา

    [๑๐๔] ก็เหตุไฉน ธรรมทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้นเท่านั้น นอกจากสมาบัติทั้ง ๘ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเป็นสัลเลขธรรม?
    เพราะธรรมทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้น เป็นบาทของวิปัสสนาที่เป็นโลกุตระได้.
    อันที่จริง สมาบัติทั้ง ๘ ของคนภายนอก (พุทธศาสนา) ทั้งหลายเป็นบาทของวัฏฏะเท่านั้น. แต่ในศาสนา (พุทธ) แม้สรณคมน์ ก็พึงทราบว่าเป็นบาทของโลกุตตรธรรมได้ตามพระสูตรนี้โดยเฉพาะ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้นเล่า (ที่จะเป็นไปไม่ได้).
    อนึ่ง ทานที่บุคคลถวายแก่ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะในศาสนา (พุทธ) มีผลมากกว่าทานที่ให้แก่คนนอกศาสนาที่ได้สมาบัติ ๘ แม้มีอภิญญา ๕ ก็ตาม. เพราะว่าในทักขิณาวิภังคสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อความนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่า ทักขิณามีผลคูณด้วยแสนโกฏิ ทายกพึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนาผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย. แต่ทักขิณามีผลนับไม่ถ้วน คำนวณไม่ถูก ทายกพึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. จะกล่าวถึงทำไมสำหรับพระโสดาบัน.
    ความจริง ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ในทักขิณาวิภังคสูตรนั้น พระองค์ทรงประสงค์เอาตั้งแต่การถึงสรณะเป็นต้นไป.
    นี้เป็นการประกอบความตามพระบาลีในพระสูตรนี้ก่อน.
    ส่วนในการพรรณนาความตามลำดับบท พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    บทว่า อิธ นี้เป็นคำแสดงเรื่องมีการไม่เบียดเบียนเป็นต้น.
    คำว่า โข ปน เป็นเพียงนิบาต.
    คำว่า โว เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
    ก็ในคำว่า อิธ เป็นต้นนี้ มีเนื้อความโดยย่อดังต่อไปนี้.

    ดูก่อนจุนทะ เธอทั้งหลายควรทำการขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ) ในเรื่องการเบียดเบียนเป็นต้นนี้นั้น ที่เราตถาคตกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า คนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสโดยสังเขปอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงขยายความให้พิสดาร จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า คนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน แต่เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันในเพราะเรื่องนี้ เธอทั้งหลายควรบำเพ็ญสัลเลขธรรมดังที่ว่ามานี้.
    ในจำนวนคำเหล่านั้น คำว่า ปเร (คนเหล่าอื่น) ได้แก่ ผู้ใด ใครก็ตามที่ประกอบสัลเลขธรรมนี้เนืองๆ.
    ข้อว่า วิหึสกา ภวิสฺสนฺติ (จักเป็นผู้เบียดเบียนกัน) ความว่า จักเป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องเบียดเบียนทั้งหลาย เช่นด้วยฝ่ามือหรือด้วยก้อนดินเป็นต้น.
    ข้อว่า มยเมตฺถ อวิหึสกา ภวิสฺสาม (เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันในเพราะเรื่องนี้) ความว่า ส่วนเราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันในเพราะเรื่องที่เป็นเหตุให้คนอื่นเขาเบียดเบียนกันอย่างนี้เท่านั้น คือเราทั้งหลายจักอยู่กันโดยไม่ให้เกิดความเบียดเบียนกันขึ้น.
    บทว่า อิติ สลฺเลโข กรณีโย (เพราะเหตุอย่างนี้ การขัดเกลากิเลสเป็นสิ่งที่ควรทำ) ความว่า เธอทั้งหลายควรทำสัลเลขธรรมอย่างนี้. และการไม่เบียดเบียนกันนั่นเอง พึงทราบว่าเป็นสัลเลขธรรมในที่นี้ เพราะว่าการไม่เบียดเบียนกันจะขัดเกลาคือตัดการเบียดเบียนกันได้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า สัลเลขะ. ในทุกข้อก็มีนัยนี้.
    แต่มีความแปลกกันอย่างนี้ (คือ) ทิฏฐิในคำว่า ปเร มิจฺฉาทิฏฺฐี (คนอื่นจักเป็นผู้มีความเห็นผิด) นี้พึงทราบว่า พระองค์ตรัสทิฏฐิไว้โดยทรงรวมมิจฉาทิฏฐิข้อสุดท้ายของกรรมบถ (อกุศลกรรมบถ ๑๐) กับมิจฉาทิฏฐิข้อต้นของมิจฉัตตะ (ความเป็นผิด) เข้าด้วยกัน.
    อนึ่ง สัมมาทิฏฐิในฐานะที่ตรัสไว้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีความเห็นถูกในเพราะเรื่องนี้ กับกรรมบถ ในคำว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตในเพราะเรื่องนี้ เป็นต้นนี้จักมีชัดแจ้งในสัมมาทิฏฐิสูตรโดยพิสดาร
    ส่วนมิจฉาทิฏฐิในมิจฉัตตะเป็นต้นจักแจ้งชัดในเทฺวธาวิตักกสูตร (ข้างหน้า).

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100&p=1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2013
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาสี่อย่างเหล่านี้มีอยู่ สี่อย่างอย่างไรเล่า สี่อย่างคือภิกษุทั้งหลาย มีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฎฐิธรรม(ทิฎฐธมมสุขวิหาร)ภิกษุทั้งหลายมีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่ง ญานทัสนะ(ญานทัสนะปฎิลาภ)ภิกษุทั้งหลาย มีสมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ(สติสมปชญญ)ภิกษุทั้งหลาย มีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ(อาสวกขย)...............ภิกษุทั้งหลายสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป้นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฎฐิธรรม นั้นเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากะรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกมีผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริยผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌานแล้วแลอยู่เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนเข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป้นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฎบิธรรม...........................ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา อันเจริยกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญานทัสนะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในกรณีนี้ กระทำไว้ในใจซึ่งอาโลกสัญญา อธิฐฐานทิวาสัญญา ว่า กลางวันฉันใดกลางคืนฉันนั้น กลางคืนฉันใดกลางวันฉันนั้น เธอมีจิตอันเปิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ไม่มีอะไรห่อหุ้ม ยังจิตที่มีแสงสว่างทั่วพร้อมให้เจริญอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญานทัสนะ..................................ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา อันเจริยกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติ สัมปชัญญะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป ก้เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ สัญญาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ วิตกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไปก้เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุทั้งหลายนี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติ สัมปชัญญะ.............................ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ นั้นเป้นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้มีปรกติตามเห็นความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธิ์ทั้งห้า ว่ารูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดของรูปเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญาเป้นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่่างนี้ ความดับไปแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญานเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งวิญญานเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือ สมาธิภาวนา 4อย่าง---จตุกก.อํ.21/57/41.:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2013
  14. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,816
    ค่าพลัง:
    +15,099
    ในเบื้องตันครูบาอาจารย์ ให้เราเร่งบริกรรมภาวนาเร็วๆ
    พุธโธๆๆๆๆๆๆๆ.....ให้ถี่ไปเรื่อยๆ ครับ :cool:
     
  15. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ถึงขั้นรู้ รู้หมดจะปิดได้ไง
    ผู้ที่รู้มาแล้ว ละมาแล้วทำไมจะไม่รู้ สมาธินอนตายเป็นสมาธิ
    ที่เอาแต่ติดสุขของสมาธิ มากไปกว่านั้นก็นั่งนิ่งเข้าฌาน
    แบบก้อนหิน สะสมแต่พลังจิต แต่ไม่มีปัญญาเอาพลังจิต
    มาฆ่ากิเลส ผู้ที่เพ่งรูปฌาน อรูปฌานเป็นอารมณ์
    ย่อมติดกับ ดักของผู้รู้ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายอันมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เรียกว่าต่อมผู้รู้ ที่เป็นดวงจิต เป็นขอบของจิต เป็นจุดเล็กๆของจิต ถ้ายังดับรูปนามด้วยอาการอย่างนี้ไม่ได้ ท่านนั้นจะเอาจิตไปเกิดในพรหมโลก
    เธอผู้มาพิจารณาอย่างนี้ อยู่แบบนี้ สำเนียกไว้ว่า ผู้ที่มาพิจารณา อนิจจังทุกขัง อนัตตา ย่อมทำลายรูปฌาน และอรูปฌาน ผู้นั้นได้ชื่อว่า ใกล้ต่อโลกุตตระธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...