62.ล่องใต้...ชมเกาะ เลาะหาด

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 21 พฤษภาคม 2013.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ๖๒

    ล่องใต้...ชมเกาะ เลาะหาด


    a.gif

    คราวนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มาภาคใต้แบบเต็มๆ ตัว แต่ก็ไม่ได้ถึงกับลงใต้สุดชายแดน ทุกทีที่เคยมาก็มาแค่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไกลสุดตรงเขาตะเกียบ...


    ก่อนวันจะล่องใต้...


    นั่งทำงานอยู่ พี่ที่ทำงานก็คอยแต่จะแหย่ว่า “หัวหน้า ระวังเมาเรือนะ เพราะตอนที่ไป ลงเรือเล็ก คลื่นแรงมาก นึกว่าจะตายเสียแล้ว” เอาหล่ะสิ สร้อยฟ้ามาลาก็ว่ายน้ำไม่เป็น เกิดมาก็ไม่เคยเมาเรือ เมื่อตอนไปเกาะเสม็ดก็ไม่เมาเรือ แต่เมายาแก้เมาเรือแทน กินแล้วมึนไปครึ่งวัน เพราะว่ากลัวจะเมาเรือ จึงกินดักไว้ก่อนปรากฏว่า ทะเลราบเรียบ เรือโคลงเคลงบ้างตามคลื่นทะเลเล็กๆ น้อยๆ และอีกอย่างชักใจไม่ดีเพราะเขาบอกว่า ลงเรือเล็ก แล้วลงทะเลเนี่ยะนะ ตายหล่ะหว่า ถ้าคลื่นแรงอย่างที่เขาว่า คงจะตายแน่ๆ แต่ทำไงได้กลับตัวไม่ทันแล้ว เป็นไงเป็นกัน...


    a.jpg
    นาเกลือ จังหวัดสมุทรสงคราม



    ที่ผ่านๆ มา ไปเที่ยวทะเลทีไร ถ่ายรูปมา ดำมืดตึด ทั้งๆ ที่ แสงแดดจ้าขนาดหนัก แล้วล่องใต้ครั้งนี้ ก็ไม่ได้มีเวลาและโอกาสมากันง่ายๆ จึงเปิดตำราจากกูเกิ้ล หาวิธีการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ โดยเฉพาะทะเล ให้ภาพสว่างใส วิธีแรกคือใส่ฟิวเตอร์ ND CPL เมื่อสำรวจราคาดูแล้วก็แพงปาดเหงื่อ แต่ที่ใช้อยู่กับหน้าเลนส์ขนาด ๗๗ มิลลิเมตร ก็เป็นฟิวเตอร์แบบ UV ราคาเกือบๆ ๑,๕๐๐ บาท เลยไปอ่านคุณสมบัติของฟิวเตอร์ที่ใส่อยู่ก็พอใช้ได้น่ะ....
    และอีกวิธีคือ ใช้โหมด M ให้ปรับค่ารูรับแสงหรือ f ที่ ๘ – ๑๓ สปีดชัตเตอร์ที่ประมาณ ๒๐๐ ISO ๑๐๐ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแสง อ่ะจดๆๆๆ ตามที่เขาบอกมา... แล้วก็ถึงเวลาไปลุยกัน ทะเล ทะเล....


    a.jpg
    แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม

    ออกจากกรุงเทพมหานครประมาณหกโมงเย็นโดยรถบัสสองชั้น ๓ คัน มีเพื่อนไปด้วยกันหลายคนแต่ส่วนมากไม่รู้จักกันหรอก หุ หุ นั่งรถไปหลับไป…



    ..............................................................

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2684782/[/MUSIC]

    ..............................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    เช้าวันแรก...

    ไปเช้าที่จังหวัดภูเก็ต รถวิ่งข้ามสะพานสารสิน ๒ ทีแรกนึกว่าจะข้ามสะพานสารสินเดิมแต่พอหาข้อมูลจึงได้รู้ว่าสะพานสารสินเดิมไม่ได้เปิดให้รถขึ้นแล้ว แต่ปรับปรุงเป็นที่สำหรับนักท่องเที่ยวเดินและมีหอชมวิวอยู่กลางสะพานและรถก็ไม่ได้จอดให้ชมวิวทั้งไปและกลับ ก็อดไป...

    คณะของเรามุ่งตรงสู่ตัวเมืองภูเก็ต ไปทานข้าวเช้ากันที่โรงแรม ชื่อโรงแรมอะไรไม่รู้ไม่ได้จำมา อาหารมื้อนี้เป็นบุฟเฟ่ต์...


    [​IMG]

    ช่วงอาหารเช้านี้พอมีเวลาให้ไปถ่ายรูปได้บ้าง ก็สะพายกล้องเดินถนนหน้าโรงแรมได้แป๊บเดี๋ยวซึ่งตอนนี้มีฝนหยดเล็กๆ ท้องฟ้าครึ้มๆ ก็ไม่รู้ว่าที่ครึ้มนี้ ครึ้มเพราะเมฆฝนหรือว่าครึ้มเพราะเพิ่งจะเช้า แหงนหน้าดูท้องฟ้ามีเมฆพอสมควร เป็นที่ทราบๆ กันดีว่า กล้องกับฝนไม่ถูกโรคกันเพราะจะเกิดความชื้นและราที่เลนส์ แต่ด้วยว่ามาถึงแล้วต้องได้ภาพบ้างก็เลยดื้อฝ่าละอองฝนถ่ายรูป...

    [​IMG]

    แล้ว ๔ วันต่อจากนี้ไปขออย่าได้มีฝนเลยเห็นข่าวเมื่อวันก่อนฝนตกหนักน้ำท่วมที่กระบี่ก็อยู่ไม่ไกลกันมากกับภูเก็ต ถ้าฝนตกทุกวัน เซ็งแน่ๆ เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคใต้ขึ้นชื่อว่า ฝนแปดแดดสี่ คือ ฝนแปดเดือน แดดสี่เดือน แล้วสร้อยฟ้ามาลาจะเจอฝนแปด หรือว่าแดดสี่หล่ะ มีลุ้น ขึ้นต้นก็เจอฝนซะแล้ว...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6623_2b.jpg
      IMG_6623_2b.jpg
      ขนาดไฟล์:
      500.9 KB
      เปิดดู:
      919
    • IMG_6624_2b.jpg
      IMG_6624_2b.jpg
      ขนาดไฟล์:
      475.4 KB
      เปิดดู:
      918
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6632_1a.JPG
      IMG_6632_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      490.6 KB
      เปิดดู:
      938
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]




    ที่ตัวเมืองภูเก็ตนี้มีตึกเก่าๆ ตั้งเรียงรายอยู่สองฟากถนนเป็นช่วงๆ บางช่วงก็เป็นตึกแบบใหม่ๆ แต่ที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ตคือตึกที่มีสถาปัตยกรรมแบบ ชิโน – โปรตุกีส(Sino-Portuguese) ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสองประเภทคือ ตึกแถว หรือ "เตี้ยมฉู่" และคฤหาสน์หรือ "อั่งม้อหลาว อั่งม้อหลาว เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน "อั่งม้อ" แปลว่า ฝรั่ง หรือชาวต่างชาติ ส่วนคำว่า "หลาว" แปลว่า ตึกคอนกรีต อั่งม้อหลาว ก็คือคฤหาสน์แบบฝรั่งที่นายหัวเหมืองแร่ของ ภูเก็ตสร้างเป็นที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น โดยบ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นตามแบบชิโน-โปรตุกีส โดยช่างชาวจีนจากปีนัง ก็คือ บ้านชินประชาของพระพิทักษ์ ชินประชา นายเหมืองต้นตระกูลตัณฑวนิชตั้งอยู่ถนนกระบี่ ถือว่าเป็นต้น แบบของบ้านคหบดีจีนที่กระจายอยู่ทั่วทั้งเมืองภูเก็ต ตึกแถวเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย ลักษณะ ลึกและแคบ ชั้นล่างแบ่งพื้นที่ใช้สอยไปตามความลึกได้ถึงห้าส่วนด้านหน้าเป็นร้านค้าหรือสำนักงาน ถัดไปเป็น ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องครัว ภายในอาคารมักมีฉิ่มแจ้ หรือบ่อน้ำบาดาลหนึ่งบ่อและเจาะช่อง ให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าอาคาร ตึกแถวในภูเก็ตจึงเย็นสบาย ส่วนที่ชั้นสองเป็นห้องนอนหน้าตึกแถวมีทาง เดินเท้า ทำเป็นช่องซุ้มโค้งเชื่อมกันไปตลอด ทั้งแนวตึกแถว เรียกว่า อาเขต (arcade) โดยมีชั้นบนยื่นล้ำ ออกมา เป็น หลังคากันแดดกันฝนซึ่งตกเกือบตลอดปี นับเป็นสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับ สภาพภูมิอากาศอีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทรของเจ้าของบ้านกับผู้สัญจร ที่ชั้นสองด้านหน้าอาคารเน้นการเจาะช่องหน้าต่างเป็นซุ้มโค้งคูหาละสามช่อง ขนาบข้างด้วยเสาแบบกรีกและโรมัน บนพื้นผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นทั้งแบบจีนและตะวันตกผสมกันอย่างลงตัว...

    ก็อีกหล่ะนะ รถไม่ได้จอดให้ถ่ายรูปเพราะไม่อยู่ในโปรแกรม จึงต้องฉกชิงจังหวะกันบนรถนี่หล่ะ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0238_1a.jpg
      IMG_0238_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      553.7 KB
      เปิดดู:
      893
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]


    ช่วงสายๆ นี้คณะของเราไปแวะชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านบางโรง ซึ่งข้อมูลตรงนี้ไม่ได้ประสานกับทางเจ้าของพื้นที่ไว้ ทีแรกคิดว่าสถานที่ที่จะไปดูคือป่าชายเลนและมีการบรรยายสรุปจากชุมชนก่อน ชุมชนที่นี่ส่วนมากเป็นชาวมุสลิมซึ่งคนในชุมชนเวลาไปศึกษาดูงาน เขาไม่เคยถือว่าเป็นพุทธหรือมุสลิม เขาเข้าไปดูหมด วัดก็เข้าไปดูไม่ได้แบ่งว่านี่พุทธว่านี่มุสลิม เพราะถือว่านั่นคือ “ความรู้” ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ถ้าเป็นที่อื่นชาวชุมชนก็จะร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐ เช่น อบต. อบจ. อำเภอ แต่ชุมชนที่นี่ไม่ใช่ ที่นี่ชาวชุมชนจะแก้ปัญหาของชุมชนเอง เพราะชุมชนนั่นแหล่ะจะรู้ปัญหาของตัวเองดี แล้วปัญหาก็เป็นของชุมชนทำไมต้องให้ทางภาครัฐเดือดร้อน นั่นคือการสอนให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้(ตอนนี้หันกลับมามอง ชาวกรุงเทพมหานคร ศิวิไลซเซชั่น มีอะไรๆ ก็ร้องเรียนภาครัฐตลอด ไม่ยอมช่วยเหลือตนเองก่อน ยกตัวอย่างที่เคยรู้ๆ มานะ... หมาตาย... ตอนเลี้ยงก็เลี้ยงได้ มีเจ้าของ พอตอนมันตาย หาเจ้าของไม่ได้ ก็โทรศัพท์เข้ามายังภาครัฐให้ช่วยเก็บซากหมาให้หน่อย, หรือว่าบางบ้านยกพื้นมีใต้ถุน ดันทิ้งขยะลงใต้ถุนบ้านแล้วไม่มีปัญญาเก็บ ก็ร้องเรียนบอกว่าชุมชนที่ตัวเองอยู่นี้มีแต่ขยะไม่ยอมเข้ามาเก็บขยะ อ้าว ทิ้งเอง อะไรเอง แต่เก็บเองไม่เป็น, หรือว่าหน้าบ้านฉันไม่สะอาดมีแต่เศษขยะ หญ้าก็รกขึ้นหน้าบ้านทำไมภาครัฐไม่รู้จักมาทำความสะอาด อ้าวก็หน้าบ้านตัวเองทำไมไม่รู้จักดูแลหล่ะ มัวแต่ขอยืมมือของคนอื่นเข้ามาช่วย นี่แหล่ะคือการไม่พึ่งพาตนเอง อะไรๆ ก็จะให้แต่ภาครัฐเข้ามาช่วย ทั้งๆ ที่เรื่องแต่ละเรื่อง ตัวเองเป็นผู้ทำขึ้นทั้งนั้น หรือว่าภาครัฐมีแต่นโยบายโอบอุ้มโอ๋ประชาชนจนตอนนี้จะเป็นง่อยช่วยเหลือตัวเองไม่เป็นกันอยู่แล้ว สอนแต่สิทธิประโยชน์ที่ตนเองที่จะได้แต่ไม่นึกถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม นั่นคือ ความเห็นแก่ตัว (แรงนิดนึง แต่เป็นเรื่องจริงในสังคมเมือง) การบรรยายกินเวลามากและทางคณะก็ไม่ทราบว่าป่าชายเลนต้องเดินเข้าไปอีก ๗๐๐ เมตร จึงหมดเวลากันพอดี สรุปคือ อดดูป่าชาเลนกับลิงแสม ถ้าอยากดูป่าชายเลนไปดูแถวๆ ชายทะเลกรุงเทพ หรือสมุทรสาครก็มีนะ มีลิงด้วย ตรงนี้ผู้บรรยายบอกเคล็ดลับว่าถ้าเจอลิงอย่ามองหน้ามันเพราะว่ามันคิดว่าเราจะไปหาเรื่องมันและมันจะจู่โจม ให้เราเดินเฉยๆ อย่าไปมองมัน ตรงนี้จึงคิดว่าคนที่มองหน้ากันไม่ได้คงติดนิสัยเดิมที่มาจากลิงนี่เอง...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6693_1a.jpg
      IMG_6693_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      441.5 KB
      เปิดดู:
      841
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    พวกเราออกจากบ้านบางโรงเป็นเวลาเกือบสิบเอ็ดโมง จึงต้องไปเติมพลังงานกันก่อนที่จะเป็นลมแดด เพราะฝนหายหมดแล้วเหลือแต่ดวงอาทิตย์(คำขอเป็นจริง อิ อิ)... หน้าตาอาหารกลางวัน มีดังนี้....


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6696_1a.jpg
      IMG_6696_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      406.7 KB
      เปิดดู:
      1,009
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6698_1a.jpg
      IMG_6698_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      411.5 KB
      เปิดดู:
      824
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6701_1a.jpg
      IMG_6701_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      446.8 KB
      เปิดดู:
      870
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6702_1a.jpg
      IMG_6702_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      469.3 KB
      เปิดดู:
      869
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6705_1a.jpg
      IMG_6705_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      469.7 KB
      เปิดดู:
      969
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ที่ต่อไป จะไปดูและไปช็อปปิ้ง คือ การเก็บรังนก, การเลี้ยงไข่มุกและเครื่องประดับ แต่ที่นี่เขาห้ามถ่ายภาพ เพราะกลัวความลับรั่วไหลไปสู่คู่แข่งทางการค้า(คิดเอง หุ หุ) จึงไม่มีภาพมาให้ชมกัน... อดเห็นภาพไปอีกหนึ่งที่


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0239_1b.jpg
      IMG_0239_1b.jpg
      ขนาดไฟล์:
      625.1 KB
      เปิดดู:
      922
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  14. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    ขอข้าวสวยสักจาน ... อยากกินแกงคั่วหอย ไข่เจียว

    .
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529

    ไข่เจียวเค้าจองแล้วนะพี่ปอฯ....
    สาม - สี่วันนี้อยู่ได้เพราะไข่เจียวที่แหล่ะ
    อย่างอื่นทานไม่ค่อยเป็น...
     
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    งั้นไปที่ต่อไปดีกว่า แถวๆ ตำบลเชิงทะเล ที่นี่ไปดูการทำผ้าบาติก ผ้าพื้นเมือง

    ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียนแต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ
    คำว่าบาติก (Batik) หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ติก” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ


    [​IMG]

    วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน (wax- writing) ดังนั้นผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก
    แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อนแล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซียอีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็มาจากพืชที่มีในอินโดนีเซียแท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลายก็เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาสตร์ชาวดัตช์ก็สรุปไว้ว่า การทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย จากการศึกษาของบุคคลต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่นๆ นอกจากอินโดนีเซียแต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกันตามวิธีการทำผ้าของชาติต่างๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสันผ้าบาติกของอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่น ในทางกลับกันในระยะต่อมาการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียได้รับการเผยแพร่ไปยังชาติอื่นๆ ส่วนการทำผ้าโสร่งบาติกนั้น คงมีกำเนิดจากอินโดนีเซียค่อนข้างแน่นอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6756_1a.jpg
      IMG_6756_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      403.7 KB
      เปิดดู:
      2,126
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วิวัฒนาการการทำผ้าบาติกในอินโดนีเซีย การทำผ้าบาติกในระยะแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงหรือทำเฉพาะในวัง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่า น่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ ผู้ที่ทำบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนา ใน คริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ประชาชนชวาได้ปรับปรุงวิธีการทำผ้าบาติก แก้ไขวิธีการผสมสี แต่ทั้งนี้ วิวัฒนาการมาจากความรู้ดั้งเดิม ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ การทำผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่าน และถือว่าการทำผ้าบาติกเป็นศิลปะในราชสำนัก โดยมีสตรีในราชสำนักเป็นผู้ผลิต ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า “คราทอน” (kraton) เป็นผ้าบาติกที่นิยมเขียนด้วยมือ (batik tulis) แต่เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้นและมีลูกค้ามากมาย การทำผ้าบาติกก็ได้ขยายวงกว้างขึ้น การผูกขาดโดยครอบครัวสุลต่านก็สิ้นสุดลง ศิลปะการทำผ้าบาติกได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนโดยทั่วไป ผ้าบาติกในระยะแรกมีเพียงสีครามและสีขาว ในศตวรรษที่ ๑๗ ได้มีการค้นพบสีอื่นๆ อีก เช่น สีแดง สีน้ำตาล สีเหลือง สีต่างๆ เหล่านี้ได้มาจากพืชทั้งสิ้น ต่อมาก็รู้จักผสมสีเหล่านี้ทำให้ออกเป็นสีต่างๆ ภายหลังจึงมีการค้นพบสีม่วง สีเขียว และสีอื่นๆ อีกในระยะต่อมาปลายศตวรรษที่ ๑๗ ได้มีการสั่งผ้าลินินสีขาวจากต่างประเทศเข้ามา นับเป็นการก้าวหน้าในการทำผ้าบาติกอีกก้าวหนึ่ง โดยเฉพาะเทคนิคการระบายสีผ้าบาติก เพราะเริ่มมีการใช้สีเคมีในการย้อม การระบายสีซึ่งสามารถทำให้ผลิตผ้าบาติกได้จำนวนมากขึ้น และได้พัฒนาระบบธุรกิจผ้าบาติกจนกลายเป็นสินค้าส่งออก ใน ปี ค.ศ.๑๘๓๐ ชาวยุโรปได้เลียนแบบผ้าบาติกของชวา และได้ส่งมาจำหน่ายทีเกาะชวาและในปี ค.ศ.๑๙๔๐ ชาวอังกฤษได้พยายามเลียนแบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมาจำหน่ายในเกาะชวาเช่นเดียวกัน

    [​IMG]


    ตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ได้มีการทำเครื่องมือในการพิมพ์ผ้าบาติก โดยทำเป็นแม่พิมพ์โลหะทองแดงซึ่งเรียกว่า “จั๊บ”(cap) ทำไห้สามารถผลิตผ้าบาติกได้รวดเร็วขึ้น ต้นทุนก็ถูกลง ทดแทนผ้าบาติกลายเขียนแบบดั้งเดิม การทำผ้าบาติกด้วยแม่พิมพ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในลักษณะของ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ประชาชนก็เริ่มทำผ้าบาติกเป็นอาชีพมากขึ้น การผลิตผ้าบาติกจากเดิมที่เคยใช้ฝีมือสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียว เริ่มมีผู้ชายเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการพิมพ์เทียนและการย้อมสี สำหรับการแต้มสีลวดลายยังใช้ฝีมือสตรีเช่นเดิม ความนิยมในการใช้ผ้าบาติกโดยเฉพา ะ ในเกาะชวา เมื่อก่อนใช้กันเฉพาะสตรีและเด็กเท่านั้น ต่อมาได้ใช้เป็น
    เครื่องแต่งกายของหนุ่มสาวมี ๓ ชนิด คือ
    ๑. โสร่ง(Sarung) เป็นผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ขนาดของผ้าโสร่ง โดยทั่วไปนิยมผ้า หน้ากว้าง ๔๒ นิ้ว ยาว ๒ หลาครึ่งถึง ๓ หลาครึ่ง ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษ ส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” หมายถึง ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกัน
    ๒. สลินดัง(salindang) หมายถึง ผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า “ผ้าทับ” เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับเป็นกรอบหรือชาย ผ้าสลินดัง มีความยาวประมาณ ๓ หลา กว้างประมาณ ๘ นิ้ว สตรีนิยมนำเอาผ้าสลินดังคลุมศีรษะ
    ๓. อุเด็ง(udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพ - บุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า “ซุรบาน” สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศรีษะและปิดหน้าอกเรียกว่า “คิมเบ็น ” (kemben) ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ผ้าคลุมไม่ปิดบ่าและไหล่ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนัก เพื่อจะได้เคลื่อนไหวได้สะดวก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6766_1a.jpg
      IMG_6766_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      416.9 KB
      เปิดดู:
      812
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    สำหรับผ้าสลินดัง ภายหลังได้ทำขนาดให้ยาวขึ้นนั้น โดยใช้ผ้าหน้ากว้าง ๔๒ นิ้ว ยาว ๔ – ๕ หลา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายอื่นๆได้ การใช้ผ้าบาติกได้นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งบุรุษ สตรี เด็ก จนกลายเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติ แม้กระทั่งเครื่องแบบนักเรียน นับเป็นความ พยายามของคนรุ่นต่อมา ที่ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการทำผ้าบาติกให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านอื่นๆ จนกลายเป็นสินค้าที่ถูกใจชาวต่างชาติ ได้จัดจำหน่ายเป็นสินค้าออก ซึ่งทำให้ผ้าบาติกและเทคนิคการทำผ้าบาติกแพร่หลายออกไปสู่ประเทศอื่น ปัจจุบันอินโดอินเซียได้มีการส่งเสริมให้ผลิตผ้าบาติกในระบบอุตสาหกรรม โดยผนวกเอาเทคนิคการทำผ้าบาติกแบบดั้งเดิมซึ่งเขียนเทียนด้วยเครื่องมือที่ เรียกว่า “จันติ้ง” (Canting) ผสมกับกระบวนการพิมพ์เทียนด้วยแม่พิมพ์ที่ทำด้วยโลหะทองแดง (Cap , Print , Block) รัฐบาลอินโดนีเซียได้วางนโยบายในการค้นคว้า ปรับปรุงผ้าบาติก โดยตั้งเป็นหน่วยงานที่
    เรียกว่า “ศูนย์พัฒนาบา - ติกแห่งรัฐยอกยาการ์ตา ( Balai Pene ltian Batik Kerajian –Yogyakarta) การพัฒนาด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคนิคในการผลิตผ้าซึ่งมีลวดลายผ้า แบบใหม่มองคล้ายผ้าบาติก แต่ความจริงเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบซิลค์สกรีน (silk screen) ซึ่งมีลักษณะลวดลายคล้ายผ้าบาติก งานเลียนแบบชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมชาวอินโดนีเซียนิยมผ้าบาติกชนิดเขียนด้วยมือ และจัดว่าเป็นบาติกชั้นสูง (classical- batik) แต่ก็มีราคาแพงกว่าบาติกที่ใช้ระบบการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ทองแดง การทำผ้าบาติกนอกจากจะเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว ปัจจุบันศิลปินชาวอินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้ทำผ้าบาติกในลักษณะของงานจิตรกรรม (painting) และแพร่หลายไปยังศิลปินชาวยุโรปและอเมริกา

    ก็เป็นเรื่องราวความเป็นมาของผ้าบาติกให้ได้ทราบกัน....




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6794_1a.jpg
      IMG_6794_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      533.1 KB
      เปิดดู:
      2,092
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6792_1a.jpg
      IMG_6792_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      510.2 KB
      เปิดดู:
      781
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ที่ตำบลเชิงทะเลนี้ท่านนายก อบต.ได้ชวนให้ไปดูพระอาทิตย์ตกที่แหลมพรหมเทพ ซึ่งแต่เดิมกำหนดการไม่มีในตาราง ท่านนายกฯ บอกว่าถ้าไม่ดูเท่ากับมาไม่ถึงภูเก็ตนะเออ... งานนี้เข้าทางเรา จากที่รู้สึกผิดหวังเล็กน้อยถึงเกือบมากที่กำหนดการนี้ไม่มีในแผนการเดินทาง แต่ด้วยคำพูดของท่านนายก อบต.จึงทำให้เกิดแรงผลักดันให้ได้ไปดูดวงอาทิตย์ตกน้ำป๋อมแป๋มที่แหลมพรหมเทพ...


    แต่ แต่ แต่ว่า...ตอนนี้เวลาบ่ายสามโมงครึ่ง จากที่ทางไกด์ได้เช็คเวลาดวงอาทิตย์ตกกับกรมอุตุนิยมวิทยาว่าประมาณหกโมงสามสิบแปดนาที มีเวลาเหลืออีกมาก ช่วงนี้จึงได้ไปดูการทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่นี่ไม่ได้ห้ามถ่ายรูปแต่เกิดอาการไม่อยากถ่ายเพราะหมดแรง อากาศร้อนมากๆๆๆๆ....



    [​IMG]

    การแกะเม็ดมะม่วงหิมพานต์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6806_1a.jpg
      IMG_6806_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      437.6 KB
      เปิดดู:
      2,410
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...