ประสบการณ์ทำสมาธิของผม

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย lerkiat, 6 พฤษภาคม 2013.

  1. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ผมขอแชร์ประสบการณ์ในการทำสมาธิของผมไว้ในบอร์ดแห่งนี้
    เพื่อให้ ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ได้ ประเมินลและช่วยเสนอแนะเพิ่มเติม เผื่อว่าผมจะนำความรู้ ปัญญาที่ได้ไปพัฒนาตนเองสืบไป

    .....
    ประสบการเดิม..ผมไม่เคยไปเรียน หรือฝึกสมาธิ กับสำนักฯ ใดๆ มาก่อน
    ความรู้ที่ได้ ล้้วนเกิดจากการอ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทป ฟังซีดี คำสอนของอาจารย์ต่างๆที่สอนไว้ในที่ต่างๆ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต มีการสนธนากับเพื่อนๆที่สนใจในแนวทางนี้บ้างเป็นบางครั้ง

    ดังนั้น การปฏิบัติสมาธิของผมจึงเป็นไปในแนวทาง สะเปะสะปะบ้าง

    ผมตื่นแต่เช้า ราวๆ ตีสาม ตีสี่ ทุกวััน เพื่อตื่นขึ้นมาทำสมาธิ(ทำด้วยตนเองที่บ้าน)

    หลักการของผม...
    นั่งด้วยท่าขัดสมาธิ(ไม่ทราบว่า เป็นขัตสมาธิเพชรหรือไม่)
    เท้าขวา ทับเท้าซ้าย มือขวา ทับมือซ้าย ตัวตั้งตรง หลับตา(ในความมืด)
    เมื่อหลับตาลด ใต้เปลือกตาก็มืดสนิททันที ครั้งแรกผมจะนำจิต(เข้าใจว่าอย่างนั้น)มาจดจ่อไว้ที่ปลายจมูก หรือระหว่างคิ้ว(แล้วแต่..)
    แรกๆ จิตมันไม่ค่อยอยู่กับที่(ปลายจมูก) มันมักจะเผลอวิ่งไปเที่ยวที่นั่นที่นี้ เราต้องพยายามคอยดึงจิตกลับมาไว้ที่เดิมตลอด พอนิ่งอยู่ที่เดิมซักพัก มันก็วิ่งออกไปอีก บางครั้งมันก็คอยจิตนาการ สร้างเรื่องราวให้ขบคิดไปเรื่อยเปื่อยครับ
    (ผมคิดว่า ตอนนี้ ตัวเองคงยังไม่มีสมาธิอะไรหรอก เพราะมันแว็บไปแว็บมา วิ่งไปวิ่งมา)

    แต่พอฝึกนั่งนานวันเข้า ผมกลับพบว่า...
    เมื่อหลับตาลง ใต้เปลือกตาดำมืดสนิท เมื่อเราเพ่งจิตแน่นิ่งไปที่ปลายจมูกได้ที่แล้ว(ครั้งแรก มีการบริกรรมพุทโธ หรือดูลมหายใจเข้าออก พอนานเข้าคำบริการมันหายไปเอง ลมหายใจมันเบา เราไม่รู้สึกตัวแล้ว)มันเกิดเส้นแสง วิ่งไปมา คล้ายแดดระริกเต้นระบำใต้เปลือกตา เมื่อเราเพ่งเส้้นแสงเหล่านั้นไปเรื่อยๆ
    เราพบว่า เส้นแสงเหล่านั้น เริ่มหยุดนิ่ง แต่ละเส้นมารวมกันเป็นเส้นใหญ่มากขึ้น
    ปรากฏการณ์ช่วงนี้ ไม่ใช่ว่าเกิดง่ายๆ นะครับ ผมฝึกหลายครั้งจนชำนาญ ที่จะสามารถบังคับเส้นแสงเหล่านี้รวมกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มันรวมกันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
    และนิ่งมาก สุดท้ายมันจะรวมเป็นเป็นรูปวงกลมเล็กๆ นิ่งอยู่กับที่
    ผมฝึกทุกวันครับ เมื่อชำนาญแล้ว เวลาผมเข้าสมาธิแต่ละครั้ง ก็สามารถเข้าถึงจุดนี้ได้เร็วมาก แป็บเดียวก็สามารถกำหนดแสงให้เป็นวงกลมได้ทันที

    พัฒนาการต่อมา ผมพยายามตั้งจิตไว้ที่วงกลมนี้ พยายามบังคับให้มันขยายเข้าขยายออก(หมายถึงขนายใหญ่ ขนาดเล็กได้)ผมทำจนชำนาญ
    ปรากฏการณ์ช่วงนี้ของผม จิตผมนิ่งมา แม้แต่ลมหายใจก็ไม่รู้สึกตัวเลย

    เมื่อผมขยายวงกลมแสงสว่างเข้าออกได้ ผมเริ่มพยายามเคลื่อนวงกลมแสงนี้ให้เคลื่อนไปตามร่างกายส่วนต่างๆ เคลื่อนไปตามลำคอ หน้าอก ท้อง แขน ขา ทำจนชำนาญ(ผมทำจนชำนาญ แล้วผมก็ออกจากสมาธิ)ผมไม่ได้เร่งตัวเองมากนัก ผมทำทุกวัน

    เมื่อผมเคลื่อนดวงแสงสว่างได้คล่องแล้ว ที่นี้ผมเริ่มขยายวงกลมนี้ให้ใหญ่ๆ ขึ้น
    จนถึงจุดหนึ่ง มันจะสว่างโพร่งขึ้นมาทั้งหมด ตอนนี้ใต้เปลือกตาของผมจะสว่างคล้้ายๆ กลางวััน ไม่มืด มันเป็นแสงสว่างนวลใจคล้ายแสงจันทร์ยามค่ำ

    ความสว่างของแสง ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าตัวเองตัวเบาหวิว ร่างกายขยายใหญ่ขึ้น เหมือนมีอีกร่างหนึ่งเกิดขึ้น แต่ร่างที่เกิดขึ้นใหม่นี้ มีความโปร่งใส ใหญ่กว่าร่างเดิม เหมือนคล้้ายแก้ว ครอบร่างเดิมไว้ ภาพที่เกิดขึ้น(เมื่อเรามองร่างตัวเอง)คล้ายกับเรากำลังมองลงจากภูเขา ทีนี้ผมเกิดรู้สึกกลัวขึ้นมาทันที ผมพยายามเอาจิตออกไปห่างจากร่างเล็กน้อย(ประมาณมองเห็นร่างเดิมได้)ผมก็กลับเข้ามาอีก

    สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ คือ จิตมันนิ่งมาก(ได้ยินเสียงภายนอก แต่ว่าไม่กระทบต่อการทำสมาธิของผมเลย) ตัวเบา ร่างขยายเล็ก-ใหญ่ได้ มีแสงสว่าง
    ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความปลื้มปิติมาก ผ่อนคลาย ลมหายใจแผ่วเบา ไม่ปวดเมื่อยไม่ว่าจะนั่งนานเพียงใด

    มีครั้งหรือสองครั้ง หลังจากทีี่เกิดแสงสว่างขึ้นใต้เปลือกตา มันมีภาพบางอย่างเกิดขึ้น จำได้ว่า(เมื่อคายออกจากสมาธิแล้ว)ภาพมันค่อยๆ ก่อตัวขึ้นจากเส้นแสงเล็กๆ เหล่านั้น แล้วก็รวมตัวเป็นภาพที่ชัดขึ้นๆ แต่ไม่ได้ชัดเหมือนภาพจากกล้องถ่ายรูป แต่ชัดแค่ให้รู้ว่าเป็นอะไรเท่านั้น ครั้งนั้นผมเห็นภาพบ้านในป่า แต่ดูจากสภาพป่าแล้ว ผมคิดว่าบ้านหลังนั้นอยู่เมืองนอก ไม่รู้ประเทศอะไร ทั้งๆที่ในชีวิตผมยังไม่เคยไปต่างประเทศเลย

    ภาพอย่างนี้เกิดขึ้นกับผมสองครั้ง เมื่อเกิดภาพแล้ว ผมยังบังคับตัวเองว่า ยังไม่ให้จิตท่องเที่ยวไปสำรวจรายละเอียดหรือท่องเที่ยวไปทางอื่นมากกว่านี้ ผมใช้จิตเพ่งดูภาพที่เกิดขึ้นสักพัก ผมก็พยายามนำจิตกลับมาไว้ที่แสงสว่างวงกลม
    แล้วค่อยหรี่วงกลมสว่างให้ดับไป ใต้เปลือกตาของผมก็มืดกับมาเหมือนเดิม แล้วผมก็มาดูที่ลมหายใจ(ตอนนี้กลับมานับรู้ลมหายใจได้อีกครั้ง)แล้วผมก็ค่อยลืมตาๆ ออกจากสมาธิ

    ผมทำเช่นนี้บ่อยๆ

    สิ่งที่ได้จากการทำสมาธิ
    จิตใจผมนิ่งมาก ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน
    แต่ละวันมีสิ่งมากระทบมากมาย แต่ว่า มันทำอะไรเราไม่ได้เหมือนก่อน
    ผมไม่ค่อยโกรธแล้ว(ยังมีอยู่) แต่ความถี่ในความโกรธน้อยลง แต่ก่อนโกรธบ่อย โมโห ชอบตะคอกใส่หน้าคนอื่นบ่อยๆ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้ว

    มีความนิ่งเฉยกับสิ่งที่มากระทบมากขึ้น ไม่ค่อยยินดียินร้ายกับสิ่งรอบข้างมากนัก มีสมาธิในการทำงานมาก

    กลางวัน..ไม่ค่อยง่วงเหงาหาวนอน มีความสบาย ไม่เพลีย หลังจากออกสมาธิ

    ดังนั้น ทุกวันี้ ผมก็ยังทำสมาธิอยู่ตลอด

    ไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง ฌานมากนัก ไม่ว่า ฌาน 1-4 ก็ตาม
    ผมอยากจะสอบถามผู้มีประสบการณ์หน่อยว่า อาการที่พบนี้ มันคือปรากฏการณ์อะไร ช่วยอธิบายแบบไม่ต้องมีศัพท์มากนัก ให้เข้าใจง่าย
    เพราะผมไม่ด้ตั้งใจว่าจะทำสมาธิ ให้เข้าถึงฌานสมาบัติ หรือญาณ หรือนิพพานอะไร ผมคิดว่ามันยังไกลอยู่
    แต่สิ่งที่ผมได้จากการทำคือ มันทำให้ผมสงบมากขึ้น
    ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง เหมือนแต่ก่อนมากนัก หมายความว่ามันลดลงเยอะครับ ไม่ค่อยทุกข์แล้ว

    ผมจะเข้ามารอคำตอบจากท่านผู้รู้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2015
  2. ธรรมะนำสุข

    ธรรมะนำสุข เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +606
    ผมก็ขออนุโมทนาบุญกับการปฏิบัติดีของคุณครับ ตอนนี้ผมก็กำลังปฏิบัติอยู่ แต่ก็ทรงตัวบ้างไม่ทรงตัวบ้าง ท้อใจบ้าง
    ผมอยากจะทราบว่าคุณปฏิบัติถึงขนาดนี้ใช้ระยะเวลาเท่าไรครับ เพราะผมอาจจะขาดความเอาจริงเอาจังถึงไม่ค่อยก้าวหน้าเลย
    แต่ผมมั้นใจได้ว่าคุณต้องมีกำลังใจที่ก้าวหน้าและมั่นคงแน่ๆครับ สาธุ..
     
  3. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น(ขณะทำสมาธิ) คือ
    1. ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของลมหายใจ จากลมหายใจหยาบ มีเสียง หรือรู้สึกได้ว่ามีกระแสลมเข้า-ออก จากจมูก หลอดลม ปลอด ทรวงอก และคลายออกมา เป็นกระแสของลม แต่เมื่อจิตมันตั้งมั่นได้ดีแล้ว เราจะไม่รู้สึกว่าเราหายใจเลย ลมที่กระทบริมฝีปากก็ไม่อาจรู้สึกได้ เสียงที่ได้ยินข้างนอก ก็ไม่อาจทำลายจิตที่ตั้งมั่นที่แสงสว่างวงกลมได้

    2. อาการเมื่อยๆ ที่เกิดจากการนั่งนานๆ มันหายไป(มันเกิดขึ้น แต่เราไม่อาจรับรู้ว่ามันปวดเมื่อยก็ได้)
    3. อาการที่จิตเราจับที่แสงสว่างวงกลม มันนิ่ง และควบคุมได้นานขึ้น
    4. อาการที่เรารู้สึกว่าร่างกายไม่สัมผัสพื้น(ตัวเบา) ขณะที่นั่งสมาธิ ลำตัวเราจะตรงมาก(ไม่หลังโก่ง เวลาเรานั่งสมาธิแล้วเผลอหลับไป ตัวเราจะงอลงเรื่อยๆ)
    5. แสงสว่างวงกลม จะไม่วุบวาบ เหมือนฝึกครั้งแรก มันจะเป็นวงกลมชัดมาก เมื่อถึงที่หรือจังหวัดแล้ว มันจะโพร่งขึ้นทันที คล้ายกับลืมตาเลย


    น่าจะเป็นผลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน คือ มีสมาธิมากขึ้น
    ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประจำวัน
    1. ไม่ขับรถเร็วเหมือนก่อน แต่ก่อนแบบว่า รถไม่แรงพอ เดี๋ยวนี้แค่ 80 กม./ชม มันก็จะพยายามเตือนตัวเองตลอดว่า เร็วไปแล้วนะ แสดงว่าสติมี สมาธิเป็นฐาน
    2. ไม่โกรธใครง่ายๆ แต่ก่อนเป็นคนเจ้าอารมณ์ ฉุนเฉี่ยวง่าย
    3. ไม่ค่อยว่าให้ใคร เหมือนแต่ก่อน แต่ก่อนชอบว่าให้คนนั้นคนนี้
    4. ไม่ฆ่าสัตว์แล้ว เพราะเวลาจะฆ่า ก็นึกขึ้นมาได้ทุกที มีหลายครั้งมีงูเข้าบ้าน เราก็แค่เอาไม้เขี่ยให้มันออกไปเท่านั้น
    5. ให้อภัยคนได้มากขึ้น เวลาเกิดเรื่องอะไรผิดพลาดไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร ก็มักจะบอกตัวเองเสมอว่า ไม่เป็นไร บอกตัวเองอย่างนี้บ่อยๆ เราก็ไม่โกรธ ไม่เครียด ปัญหามันเลยลดลงมากเลย


    จริงๆ ยังมีผลอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้ชีวิตเราไม่ต้องขวนขวายอะไรมากมายนัก ส่วนใหญ่มักจะเอาออกจากตัวมากกว่า เช่น ให้ทานมากขึ้น ไม่สะสมทรัพย์สมบัติที่ไม่จำเป็น ไม่กินเยอะ ไม่เที่ยวเยอะ
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ผมขอแชร์ประสบการณ์ในการทำสมาธิของผมไว้ในบอร์ดแห่งนี้
    เพื่อให้ ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ได้ ประเมินลและช่วยเสนอแนะเพิ่มเติม เผื่อว่าผมจะนำความรู้ ปัญญาที่ได้ไปพัฒนาตนเองสืบไป

    +++ ผมจะตอบไปตามเหตุปัจจัย ตามที่คุณบรรยายมานะครับ

    หลักการของผม...
    นั่งด้วยท่าขัดสมาธิ(ไม่ทราบว่า เป็นขัตสมาธิเพชรหรือไม่)
    เท้าขวา ทับเท้าซ้าย มือขวา ทับมือซ้าย ตัวตั้งตรง หลับตา(ในความมืด)

    +++ เนื้อหาของการนั่งนั้นอยู่ที่ "สบายและมั่นคง" เพื่อตัดนิวรณ์ (อุปสรรค) อย่างหยาบ ๆ ลง และเพื่อความราบรื่นในการฝึก

    เมื่อหลับตาลด ใต้เปลือกตาก็มืดสนิททันที ครั้งแรกผมจะนำจิต(เข้าใจว่าอย่างนั้น)มาจดจ่อไว้ที่ปลายจมูก หรือระหว่างคิ้ว(แล้วแต่..) แรกๆ จิตมันไม่ค่อยอยู่กับที่(ปลายจมูก) มันมักจะเผลอวิ่งไปเที่ยวที่นั่นที่นี้ เราต้องพยายามคอยดึงจิตกลับมาไว้ที่เดิมตลอด พอนิ่งอยู่ที่เดิมซักพัก มันก็วิ่งออกไปอีก บางครั้งมันก็คอยจิตนาการ สร้างเรื่องราวให้ขบคิดไปเรื่อยเปื่อยครับ
    (ผมคิดว่า ตอนนี้ ตัวเองคงยังไม่มีสมาธิอะไรหรอก เพราะมันแว็บไปแว็บมา วิ่งไปวิ่งมา)

    +++ ผมเรียกมันว่าเป็นระยะของการ "ตั้งใข่ทางกรรมฐาน" ย่อมล้มลุกคลุกคลานไปจนกว่าจะเริ่มตั้งมั่นได้

    แต่พอฝึกนั่งนานวันเข้า ผมกลับพบว่า...
    เมื่อหลับตาลง ใต้เปลือกตาดำมืดสนิท เมื่อเราเพ่งจิตแน่นิ่งไปที่ปลายจมูกได้ที่แล้ว(ครั้งแรก มีการบริกรรมพุทโธ หรือดูลมหายใจเข้าออก พอนานเข้าคำบริการมันหายไปเอง ลมหายใจมันเบา เราไม่รู้สึกตัวแล้ว)มันเกิดเส้นแสง วิ่งไปมา คล้ายแดดระริกเต้นระบำใต้เปลือกตา

    +++ ขณะที่จิตสงบถึงจุดหนึ่ง (อุปจาระสมาธิ = ใกล้เป็นสมาธิ หรือ ใกล้ฌานสมาบัติ) เปลือกตาจะเปิดเผยอขึ้นมาเอง ให้ดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง หากเป็นนักฝึกแบบธรรมดาเปลือกตาก็จะเปิดขึ้นมาเฉย ๆ แต่ถ้าหากเป็นอริยะชนแล้ว ก็จะมีอาการยิ้มน้อย ๆ ประกอบไปด้วยทั้ง ๆ ที่ไร้เจตนาในการยิ้ม ท่านเรียกอาการนี้ว่า จิตยิ้ม ซึ่งเป็นข้อแตกต่างกัน

    +++ ขณะที่เปลือกตาเผยอเปิดขึ้นมานั้น จะเกิดอาการ เส้นแสง วิ่งไปมา คล้ายแดดระริกเต้นระบำใต้เปลือกตา ได้ หากคุณไม่ใส่ใจในจุดนี้ จิตของคุณจะพัฒนาเข้าสู่สมาธิ (ฌาน) ได้ และอาจมีโอกาสไปถึงที่สุดแห่งกองลมได้ด้วยเช่นกัน

    เมื่อเราเพ่งเส้้นแสงเหล่านั้นไปเรื่อยๆ เราพบว่า เส้นแสงเหล่านั้น เริ่มหยุดนิ่ง แต่ละเส้นมารวมกันเป็นเส้นใหญ่มากขึ้น

    +++ ในขณะนั้น ๆ จิตคุณเริ่มละเอียดมากขึ้น จนเปลือกตาหยุดการสั่น (vibration) ได้แล้ว เส้นแสงเหล่านั้น จึงเกิดเสถียรภาพและกลายตัวเป็นเส้นใหญ่มากขึ้น

    ปรากฏการณ์ช่วงนี้ ไม่ใช่ว่าเกิดง่ายๆ นะครับ ผมฝึกหลายครั้งจนชำนาญ ที่จะสามารถบังคับเส้นแสงเหล่านี้รวมกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มันรวมกันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และนิ่งมาก สุดท้ายมันจะรวมเป็นเป็นรูปวงกลมเล็กๆ นิ่งอยู่กับที่

    +++ คุณฝึกมาถึงจุดนี้จนชำนาญ จึงสามารถใช้ความทรงจำ (สัญญา) ดึงภาพนั้น ๆ มาได้ และฝึกต่อจาก ความจำภาพ (สัญญา) นั้น ๆ ไปโดยตรง ซึ่งเป็นกระบวนการในการฝึกแบบเดียวกันกับ กสิณ หรือ การเพ่งจิตให้เห็นพระพุทธรูป สรุปโดยเนื้อหาแล้ว เป็นแบบเดียวกัน

    ผมฝึกทุกวันครับ เมื่อชำนาญแล้ว เวลาผมเข้าสมาธิแต่ละครั้ง ก็สามารถเข้าถึงจุดนี้ได้เร็วมาก แป็บเดียวก็สามารถกำหนดแสงให้เป็นวงกลมได้ทันที

    +++ คุณได้กำหนด กสิณ ตามแบบฉบับของตัวคุณเองแล้ว

    พัฒนาการต่อมา ผมพยายามตั้งจิตไว้ที่วงกลมนี้ พยายามบังคับให้มันขยายเข้าขยายออก(หมายถึงขนายใหญ่ ขนาดเล็กได้)ผมทำจนชำนาญ ปรากฏการณ์ช่วงนี้ของผม จิตผมนิ่งมา แม้แต่ลมหายใจก็ไม่รู้สึกตัวเลย

    +++ นี่เป็นมาตรฐานของการฝึก กสิณ ตรงนี้กล่าวได้ว่า คุณฝึกมาในหนทางแห่งกสิณ

    เมื่อผมขยายวงกลมแสงสว่างเข้าออกได้ ผมเริ่มพยายามเคลื่อนวงกลมแสงนี้ให้เคลื่อนไปตามร่างกายส่วนต่างๆ เคลื่อนไปตามลำคอ หน้าอก ท้อง แขน ขา ทำจนชำนาญ(ผมทำจนชำนาญ แล้วผมก็ออกจากสมาธิ)ผมไม่ได้เร่งตัวเองมากนัก ผมทำทุกวัน

    +++ ตรงนี้ก็เช่นกัน แต่โชคดีที่ คุณใช้กสิณให้จำกัดอยู่ภายในกาย จึงทำให้อาจมีโอกาสได้ มหาสติทางกายได้

    เมื่อผมเคลื่อนดวงแสงสว่างได้คล่องแล้ว ที่นี้ผมเริ่มขยายวงกลมนี้ให้ใหญ่ๆ ขึ้น จนถึงจุดหนึ่ง มันจะสว่างโพร่งขึ้นมาทั้งหมด ตอนนี้ใต้เปลือกตาของผมจะสว่างคล้้ายๆ กลางวััน ไม่มืด มันเป็นแสงสว่างนวลใจคล้ายแสงจันทร์ยามค่ำ

    +++ ตรงนี้ ของหลวงพ่อโต พรหมรังสี ท่านขยายกสิณให้เต็มร่าง แล้วละลาย ดวงหรือวงกสิณ ทิ้งไป จึงกลายเป็น ร่างคือกสิณ หรือจะว่า กสิณคือร่าง ก็ได้ จากนั้นท่านก็วางอุปกรณ์ (กสิณเป็นอุปกรณ์ในการฝึกชนิดหนึ่ง) ลง แล้วใช้ร่างโดยตรง

    ความสว่างของแสง ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าตัวเองตัวเบาหวิว ร่างกายขยายใหญ่ขึ้น เหมือนมีอีกร่างหนึ่งเกิดขึ้น แต่ร่างที่เกิดขึ้นใหม่นี้ มีความโปร่งใส ใหญ่กว่าร่างเดิม เหมือนคล้้ายแก้ว ครอบร่างเดิมไว้ ภาพที่เกิดขึ้น(เมื่อเรามองร่างตัวเอง)คล้ายกับเรากำลังมองลงจากภูเขา ทีนี้ผมเกิดรู้สึกกลัวขึ้นมาทันที ผมพยายามเอาจิตออกไปห่างจากร่างเล็กน้อย(ประมาณมองเห็นร่างเดิมได้)ผมก็กลับเข้ามาอีก

    +++ ตรงนี้ของคุณเดินมาในทางเดียวกันกับของ หลวงปู่โต พรหมรังสี แต่โดยมาตรฐาน เมื่อจิตละเอียดจนถึงจุดหนึ่งแล้ว จะเกิดปรากฏการณ์คล้าย "พระแก้วในครอบแก้ว" เพียงแต่ในขณะนั้นคุณ "อยู่" นอกครอบแก้วและ "อยู่ในกายจิต" ซึ่งสามารถขยายให้ใหญ่เล็กได้ ตามใจปรารถนา เช่นเดียวกันกับ การขยายกสิณของคุณนั่นเอง

    สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ คือ จิตมันนิ่งมาก(ได้ยินเสียงภายนอก แต่ว่าไม่กระทบต่อการทำสมาธิของผมเลย) ตัวเบา ร่างขยายเล็ก-ใหญ่ได้ มีแสงสว่าง ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความปลื้มปิติมาก ผ่อนคลาย ลมหายใจแผ่วเบา ไม่ปวดเมื่อยไม่ว่าจะนั่งนานเพียงใด

    +++ ในขณะนั้น ๆ คุณ "อยู่" ในร่างและ จิตคุณก็ "อยู่" ในร่างด้วยเช่นกัน เป็น "พระแก้วในครอบแก้ว" แต่ทั้งหมดของคุณ "อยู่" ภายใน เมื่อทั้งหมด (กาย+ความรู้สึกกาย+จิต+ความรู้สึกจิต = กาย+เวทนา+จิต+ธรรมารมณ์) อยู่ในที่เดียวกันแล้ว สรรพสิ่งที่ "อยู่" ภายนอกทั้งหมด จะไม่มีอิทธิพลกับคุณเลย ส่วนเรื่องการ ขยาย-ย่อ ของร่างจิตนั้น อธิบายไว้แล้วในย่อหน้าข้างบน

    มีครั้งหรือสองครั้ง หลังจากทีี่เกิดแสงสว่างขึ้นใต้เปลือกตา มันมีภาพบางอย่างเกิดขึ้น จำได้ว่า(เมื่อคายออกจากสมาธิแล้ว)ภาพมันค่อยๆ ก่อตัวขึ้นจากเส้นแสงเล็กๆ เหล่านั้น แล้วก็รวมตัวเป็นภาพที่ชัดขึ้นๆ แต่ไม่ได้ชัดเหมือนภาพจากกล้องถ่ายรูป แต่ชัดแค่ให้รู้ว่าเป็นอะไรเท่านั้น ครั้งนั้นผมเห็นภาพบ้านในป่า แต่ดูจากสภาพป่าแล้ว ผมคิดว่าบ้านหลังนั้นอยู่เมืองนอก ไม่รู้ประเทศอะไร ทั้งๆที่ในชีวิตผมยังไม่เคยไปต่างประเทศเลย

    +++ ให้ทำบันทึกไว้ เพราะบางทีมันใช้เวลานานกว่าตัวคุณจะอยู่ในสถานการณ์ของบ้านนั้น ของผมบางทีนานมากอาจจะกว่า 12-20 ปีกว่าเหตุการณ์จะเกิด จนผมเลิกใส่ใจมันไปแล้ว

    ภาพอย่างนี้เกิดขึ้นกับผมสองครั้ง เมื่อเกิดภาพแล้ว ผมยังบังคับตัวเองว่า ยังไม่ให้จิตท่องเที่ยวไปสำรวจรายละเอียดหรือท่องเที่ยวไปทางอื่นมากกว่านี้ ผมใช้จิตเพ่งดูภาพที่เกิดขึ้นสักพัก ผมก็พยายามนำจิตกลับมาไว้ที่แสงสว่างวงกลมแล้วค่อยหรี่วงกลมสว่างให้ดับไป ใต้เปลือกตาของผมก็มืดกับมาเหมือนเดิม แล้วผมก็มาดูที่ลมหายใจ(ตอนนี้กลับมานับรู้ลมหายใจได้อีกครั้ง)แล้วผมก็ค่อยลืมตาๆ ออกจากสมาธิ

    +++ เป็นวิธีการฝึกที่ถูกต้องคือ เข้าทางไหนก็ออกทางนั้น ตรงนี้เป็นเบื้องต้นของ วสี มีแต่ผลดีไม่มีผลเสียใด ๆ

    ผมทำเช่นนี้บ่อยๆ

    สิ่งที่ได้จากการทำสมาธิ
    จิตใจผมนิ่งมาก ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน แต่ละวันมีสิ่งมากระทบมากมาย แต่ว่า มันทำอะไรเราไม่ได้เหมือนก่อน ผมไม่ค่อยโกรธแล้ว(ยังมีอยู่) แต่ความถี่ในความโกรธน้อยลง แต่ก่อนโกรธบ่อย โมโห ชอบตะคอกใส่หน้าคนอื่นบ่อยๆ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้ว มีความนิ่งเฉยกับสิ่งที่มากระทบมากขึ้น ไม่ค่อยยินดียินร้ายกับสิ่งรอบข้างมากนัก มีสมาธิในการทำงานมาก กลางวัน..ไม่ค่อยง่วงเหงาหาวนอน มีความสบาย ไม่เพลีย หลังจากออกสมาธิ

    +++ ในขั้นตอนนี้ ยังอยู่ในอิทธิพลของ จิตสงบ (สมถะสมาธิ) น่าจะยังอยู่ในทางขาไป (อุบัติ = ยิ่งฝึกยิ่งเกิด = เจริญ) ยังไม่ใช่ทางขากลับ (วิบัติ = ยิ่งฝึกยิ่งพบความไม่แน่นอน = เสื่อม) กระบวนการนี้ เป็นวงจรการทำงานของจิต วงจรใหญ่ อาจใช้เวลาหลายสิบปี กว่าจะเริ่มจับพิรุธได้ (หากโชคดีที่สามารถรู้ได้ในชาตินี้) ผู้ที่เคยผ่านทางขากลับมาแล้วจะรู้ดี แล้วจะเริ่มเปลี่ยนการฝึกจากการ ตั้งจิตมั่น (สมาธิ) มาเป็น ตั้งสติมั่น (วิปัสสนา) แทน

    ดังนั้น ทุกวันี้ ผมก็ยังทำสมาธิอยู่ตลอด

    ไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง ฌานมากนัก ไม่ว่า ฌาน 1-4 ก็ตาม
    ผมอยากจะสอบถามผู้มีประสบการณ์หน่อยว่า อาการที่พบนี้ มันคือปรากฏการณ์อะไร ช่วยอธิบายแบบไม่ต้องมีศัพท์มากนัก ให้เข้าใจง่าย เพราะผมไม่ด้ตั้งใจว่าจะทำสมาธิ ให้เข้าถึงฌานสมาบัติ หรือญาณ หรือนิพพานอะไร ผมคิดว่ามันยังไกลอยู่ แต่สิ่งที่ผมได้จากการทำคือ มันทำให้ผมสงบมากขึ้น ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง เหมือนแต่ก่อนมากนัก หมายความว่ามันลดลงเยอะครับ ไม่ค่อยทุกข์แล้ว

    +++ ตอนนี้ยังไม่เห็นหรอกครับ มันยังเป็นวงจรขาไป ยังไม่ใช่ขากลับ แต่ทั้งหมดของคุณ "อยู่ในฌาน" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนการที่จิตสงบระงับนั้น เป็นเพราะอำนาจของ ฌานสมาบัติ กดข่มอยู่นั่นเอง

    ผมจะเข้ามารอคำตอบจากท่านผู้รู้ครับ

    +++ จนกว่าคุณจะเปลี่ยนการฝึกจากการ ตั้งจิตมั่น (สมาธิ) มาเป็น ตั้งสติมั่น (วิปัสสนา) แทน แล้วเริ่มเรียนรู้ กระบวนการในการทำงานของจิต ตามความเป็นจริงอย่างถ่องแท้ จนสิ้นสงสัยในความเป็นจิต และความเป็นตัวคุณ นั่นเอง
     
  5. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    ธรรมชาติยังไม่รู้เรื่องฌาน จะมาสอนคนอื่นเรื่องฌานซะงั้น เหอะๆ สร้างไอดีเที่ยวแต๋วดีกว่าไหม ? ไอดีเงาตดไปไหนแล้ว ?

    สีที่เจ้าของกระทู้เห็นไม่ได้มีแค่สีเดียว แต่ยังไม่อีกหลายสี(ไปอ่านเรื่องอภิภายตนะภายในจะเข้าใจ)ต้องกำหนดทิ้งยกไตรลักษณ์ แล้วจะเห็นอีกหลายสี(สิ่งที่ยังไม่เคยเห็น)
    ส่วนถ้าญานทรรศนะเปิดดี อาจจะเห็นกายซ้อนในตน คือธรรมกายตนและของผู้อื่น เทวดา เปรต พระอรหันต์ได้เป็นต้น
    และนีั่่แหละจะทำให้เห็นว่าใครคุณธรรมขนาดไหนหรือเต็มไปด้วยขยะ ภายนอกสงบภายในเต็มไปด้วย ? เหอะๆ เป็นปัจจัตตังแต่คนที่ถึงจริงย่อมรู้ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2013
  6. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ


    ...................
    ก่อนอื่นต้องขอกล่าวคำอนุโมทนาสาธุ สำหรับคำแนะนำจากคุณ ธรรม-ชาติ
    ที่ได้ให้คำแนะนำ ให้ความรู้ แก่ผมในเรื่องราวเกี่ยวกับสมาธิที่ผมถ่ายทอดไว้ก่อนหน้านี้

    แม้ว่า บางถ้อยบางตอน ผมอ่านแล้วจะไม่เข้าใจ นั่นหมายความว่า ความรู้ในเรื่องดังกล่าวผมยังไม่ถึง ดังนั้นผมจึงไม่อาจทราบได้ว่า คำแนะนำเหล่านี้ถูกหรือผิด แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับผม
    สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อผมพบสิ่งที่ไม่เข้าใจ ก็เป็นหน้าที่ของผมที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมให้รู้แจ้งในเรื่องดังกล่าวในโอกาสต่อไปภายหน้า

    มีศัพท์บางคำที่ผมไม่อาจเข้าใจ หรือเข้าใจยังไม่แจ่มแจ้ง ผมก็ต้องค้นคว้าต่อไปเพื่อให้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น

    ทีี่่คุณ ธรรม-ชาติ บอกว่า การทำสมาธิของผมเป็นแบบเพิ่งกสิน และสามารถขยายแสงสว่างวงกลมเล็ก ใหญ่ได้ จนกระทั่งสว่างโพล่งขึ้นนั่น คล้ายการทำสมาธิแบบ หลวงพ่อโต พรหมรังสี

    ข้อนี้ทำให้ผมสนใจการทำสมาธิแบบนี้ึขึ้นมา
    ผมจึงเรียนถามว่า จะหาหนังสือ หรือเทป ซีดี หรือวิธีการทำสมาธิแบบหลวงพ่อโต พรหมรังสี ได้จากที่ไหนบ้าง ช่วยแนะนำให้ผมหน่อยครับ เผื่อเป็นธรรมทานแก่ผมด้วย

    ความจริงก่อนหน้านี้ ผมไม่เคยคิดว่า จะฝึกทำสมาธิตามแบบหรือแนวของอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่งเลย เพียงแต่บอกกับตัวเองว่า ขอทำสมาธิก่อนเท่่านั้น
    ในส่วนเริ่มที่บอกว่า กำหนดจิตไว้ปลายจมูกหรือระหว่างคิ้วนั้น ก็เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็กที่ครูอาจารย์เคยให้ทำสมาธิในห้องเรียน ในสถานที่ต่างๆที่ครูให้ทำ ก็จำหลักการไว้เพียงเท่านี้
    ส่วนปรากฏการณ์อื่นๆ นั้น ผมไม่เคยได้เรียนรู้จากที่ไหนเลย
    เมื่อคุณ ธรรม-ชาติ มาให้คำแนะนำว่า เป็นแบบนั่นแบบนี้ ทำให้ผมเริ่มแปลกใจตัวเองว่า ทำไม มันถึงเกิดปรากฏการณ์เช่นนั้นขึ้นกับตัวเองได้

    ก็ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งที่เป็นกำลังใจให้คำแนะนำดีๆ ไว้ ณ ที่นี้

    มีอีกหลายคำที่ผมยังไม่เข้าใจ เช่น วสี ฯลฯ

    อ้างจากถ้อยคำนี้..ของคุณ
    +++ ตอนนี้ยังไม่เห็นหรอกครับ มันยังเป็นวงจรขาไป ยังไม่ใช่ขากลับ แต่ทั้งหมดของคุณ "อยู่ในฌาน" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนการที่จิตสงบระงับนั้น เป็นเพราะอำนาจของ ฌานสมาบัติ กดข่มอยู่นั่นเอง

    ...
    ผมไม่เข้าใจคำว่า "วงจรขาไป ยังไม่ใช่ขากลับ"
    "ทั้งหมดของคุณ "อยู่ในฌาน" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว"

    ขอให้คุณธรรมชาติ ช่วยขยายความเป็นธรรมทานให้ผมอีกนิดหนึ่งครับ
    หมายความว่า ผมอยู่ในฌาน อย่างนั้นหรือครับ คำว่าฌาน มันทำให้ผมรู้สึกว่ามัน "มันเป็นไปได้จริงหรือ" ที่ผมสามารถเข้าฌานได้แล้ว
    แต่ผมก็ไม่ได้ลิงโลดใจอะไรไปกับฌานที่คุณว่านะครับ เพราะผมเคยอ่านที่ไหนสักที่มาว่า "อย่าไปหลงในฌาน" ใช่หรือไม่ แต่ถ้าผมรู้ว่าตัวเองมีสมาธิในฌานเหมือนที่คุณว่ามา มันก็เป็นกำลังใจในการทำให้ผมมุ่งมั่นต่อไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง ไม่ได้หวังอะไรไปมากกว่าที่เป็น ทำได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นครับ

    ขอบคุณ คุณธรรม-ชาติ อีกครั้งนะครับ
    ผมคงไม่สนใจว่า คุณจะรู้เกี่ยวกับฌานจริงหรือไม่ หรือปฏิบัติได้จริงหรือไม่นั่น ไม่ใช่สิ่งที่ผมจะต้องไปคิด ไปหาหลักฐานอะไร ผมแค่ได้รับคำแนะนำดีๆ จากคุณ ผมก็ถือว่า ผมมีกัลยาณมิตรที่ดีเพิ่มอีกคนแล้วครับ
     
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ผมจึงเรียนถามว่า จะหาหนังสือ หรือเทป ซีดี หรือวิธีการทำสมาธิแบบหลวงพ่อโต พรหมรังสี ได้จากที่ไหนบ้าง ช่วยแนะนำให้ผมหน่อยครับ เผื่อเป็นธรรมทานแก่ผมด้วย

    +++ เรื่องวิธีการทำสมาธิแบบหลวงพ่อโต พรหมรังสี นั้นนับว่าเป็นเหตุบังเอิญสำหรับผมที่ไปเจอเข้า คือ ในช่วงที่ผมกำลังสนใจในการค้นคว้าการทำสมาธิอยู่นั้น ผมบังเอิญได้อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับ วิธีทำสมาธิของหลวงพ่อโต พรหมรังสี ซึ่งจัดพิมพ์โดย ชมรมหนึ่ง แต่ผมไม่ได้จำชื่อชมรมนั้นไว้ จำได้ว่าเป็นลักษณะของ pocket book ปกอ่อน หนาประมาณ 1 เซนต์เท่านั้น เจอในแผงลอยหนังสือที่วางขายข้างถนน ซึ่งเป็นเรื่อง 30 กว่าปีมาแล้ว ที่ผมจำได้เพราะวิธีของหลวงพ่อโต มีลักษณะเด่นที่ไม่เหมือนใครคือ "การละลายกสิณ" ซึ่งผมไม่เคยเจอในที่ใดมาก่อน จึงทำให้ผมจำได้มาจนทุกวันนี้

    +++ ใจความในหนังสือโดยคร่าว ๆ คือ ให้กำหนดกสิณ จนติดตา ติดใจ จากนั้นจึง ขยาย-ย่อ แล้วจึงกำหนด ใกล้-ไกล จนได้ดังใจทุกอย่าง จากนั้น "ให้น้อมนำกสิณเข้าสู่ตัว" แล้ว "ละลาย วงหรือดวง กสิณ" ออกจนกลายมาเป็นตนเอง จึงได้สภาพเป็น "ตนคือกสิณ หรือ กสิณคือตน" ดังนั้น กสิณของหลวงพ่อโตจึงไม่ได้อยู่ภายนอก แต่อยู่ในตน เรียกได้ว่า "เพ่งตน" หรือจะเรียกว่า "ตนในตน" หรือ "กายในกาย" นั่นเอง

    +++ และจากวิธีของคุณที่กล่าวมานั้้น

    "เมื่อผมขยายวงกลมแสงสว่างเข้าออกได้ ผมเริ่มพยายามเคลื่อนวงกลมแสงนี้ให้เคลื่อนไปตามร่างกายส่วนต่างๆ เคลื่อนไปตามลำคอ หน้าอก ท้อง แขน ขา ทำจนชำนาญ(ผมทำจนชำนาญ แล้วผมก็ออกจากสมาธิ)ผมไม่ได้เร่งตัวเองมากนัก ผมทำทุกวัน

    เมื่อผมเคลื่อนดวงแสงสว่างได้คล่องแล้ว ที่นี้ผมเริ่มขยายวงกลมนี้ให้ใหญ่ๆ ขึ้น
    จนถึงจุดหนึ่ง มันจะสว่างโพร่งขึ้นมาทั้งหมด ตอนนี้ใต้เปลือกตาของผมจะสว่างคล้้ายๆ กลางวััน ไม่มืด มันเป็นแสงสว่างนวลใจคล้ายแสงจันทร์ยามค่ำ

    ความสว่างของแสง ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าตัวเองตัวเบาหวิว ร่างกายขยายใหญ่ขึ้น เหมือนมีอีกร่างหนึ่งเกิดขึ้น แต่ร่างที่เกิดขึ้นใหม่นี้ มีความโปร่งใส ใหญ่กว่าร่างเดิม เหมือนคล้้ายแก้ว ครอบร่างเดิมไว้ ภาพที่เกิดขึ้น(เมื่อเรามองร่างตัวเอง)คล้ายกับเรากำลังมองลงจากภูเขา ทีนี้ผมเกิดรู้สึกกลัวขึ้นมาทันที ผมพยายามเอาจิตออกไปห่างจากร่างเล็กน้อย(ประมาณมองเห็นร่างเดิมได้)ผมก็กลับเข้ามาอีก"

    +++ ทุกอย่างสอดคล้องกับใจความในหนังสือเล่มนั้นผม "วางรูปแบบทิ้งไป" และ "พิจารณาแต่เฉพาะเนื้อหาเท่านั้น" วิธีการของคุณคือวิธีการที่ ฝึกกสิณจนได้ กายในกาย นั่นเอง
    ==========================================================
    ผมไม่เข้าใจคำว่า "วงจรขาไป ยังไม่ใช่ขากลับ" "ทั้งหมดของคุณ "อยู่ในฌาน" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว"

    +++ ผมจะอธิบายคำว่า "ฌาน" ก่อน "ฌาน" คือระดับความลึกของจิตที่ตั้งมั่นจนเป็นสมาธิ จนพ้นจากสภาพของนิวรณ์ 5 ประการคือ 1. ความชอบ 2. ความไม่ชอบ 3. ความลังเลใจ 4. ความฟุ้งซ่าน 5. ความง่วงซึม เมื่อสภาพของการฝึกสมาธิของคุณ ปราศจากสิ่ง 5 ประการนี้แล้ว ท่านเรียกมันว่า "อัปปนาสมาธิ" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ฌาน" นั่นเอง

    +++ อาการของ "ฌาน" จำแนกได้เป็น 4 ระดับ

    +++ ระดับแรกเรียกว่า "ฌานที่ 1" คือปรากฏการณ์ ที่คุณ "อยู่" กับการฝึก เช่น การเคลื่อนกสิณของคุณไป ๆ มา ๆ ในร่างกายนั้น คือ ยังมีคุณและอุปกรณ์ในการฝึกของคุณ (กสิณ) อยู่ คำศัพท์ที่ใช้คือ วิตก และ วิจารณ์ สามารถกล่าวได้ว่า ยังมี object และ subject อยู่ นั่นเอง

    +++ ระดับสองเรียกว่า "ฌานที่ 2" คือปรากฏการณ์ ที่คุณ "วาง" object ไปแล้ว เหลือแต่ปรากฏการณ์ของการเสพอารมณ์ล้วน ๆ เช่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน พอใจในสภาวะที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ ไม่ต้องการแสวงหาอารมณ์ หรือ ธรรมารมณ์ อื่นอีก

    +++ ระดับสามเรียกว่า "ฌานที่ 3" คือวิวัฒนาการจากอารมณ์ของ ฌานที่ 2 มาเป็นอาการของความสุข เป็นอาการของ โล่ง โปร่ง เบา สบาย ใสเหมือนแก้ว

    +++ ระดับสี่เรียกว่า "ฌานที่ 4" คือวิวัฒนาการจากอารมณ์ของ ฌานที่ 3 มาเป็นอาการของการวางเฉย จิตสงบนิ่ง เฉยอยู่อย่างเดียว อาจเป็นอารมณ์ เฉย รู้ ว่าง ก็ได้ แต่เป็นอาการที่เรียกว่า เด่นอารมณ์เดียว และอยู่อย่างนั้น

    ขอให้คุณธรรมชาติ ช่วยขยายความเป็นธรรมทานให้ผมอีกนิดหนึ่งครับ
    หมายความว่า ผมอยู่ในฌาน อย่างนั้นหรือครับ คำว่าฌาน มันทำให้ผมรู้สึกว่ามัน "มันเป็นไปได้จริงหรือ" ที่ผมสามารถเข้าฌานได้แล้ว

    +++ คำว่า "ฌาน" นั้น คนส่วนใหญ่จะพูดกันจนเกินขอบเขตแห่งความเป็นจริง จนกลายเป็นว่า เกินวิสัยมนุษย์ที่จะทำได้ แต่ความเป็นจริงแล้ว "ฌาน" เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติทางจิต ที่จิตทุกดวงมีขีดความสามารถที่จะทำได้ เท่าเทียมกันทุกดวง

    +++ เมื่อคุณเทียบปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวคุณ กับสิ่งที่ผมอธิบายมาแล้ว ก็จะทราบชัดเจนได้ด้วยตัวคุณเองว่า คุณ "อยู่ในฌาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว" จริงหรือไม่

    แต่ผมก็ไม่ได้ลิงโลดใจอะไรไปกับฌานที่คุณว่านะครับ เพราะผมเคยอ่านที่ไหนสักที่มาว่า "อย่าไปหลงในฌาน" ใช่หรือไม่ แต่ถ้าผมรู้ว่าตัวเองมีสมาธิในฌานเหมือนที่คุณว่ามา มันก็เป็นกำลังใจในการทำให้ผมมุ่งมั่นต่อไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง ไม่ได้หวังอะไรไปมากกว่าที่เป็น ทำได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นครับ

    +++ คำว่า "อย่าไปหลงในฌาน" นั้น เป็นคำพูดของผู้ที่อยู่ใน "วงจรขากลับ" คือบุคคลเหล่านั้น ได้เคยประสพกับปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า "ฌานเสื่อม" มาแล้ว และรู้ชัดเจนว่า "ฌานเสื่อม" นั้นเป็นทุกข์ และ "ฌาน" ยังไม่ใช่หนทางออกจากทุกข์อย่างแท้จริง ส่วนผู้ที่ยัง ชื่นชอบกับความมหัศจรรย์ของ "ฌาน" นั้น ผมจัดว่ายังอยู่ใน "วงจรขาไป" ใน ฌาน อยู่จนกว่าประสพการณ์ใน ฌาน จะอิ่มตัว และแสวงหาหนทางออกจากทุกข์ในแนวทางใหม่ คือ "เปลี่ยนการฝึกจากการ ตั้งจิตมั่น (สมาธิ) มาเป็น ตั้งสติมั่น (วิปัสสนา) แทน แล้วเริ่มเรียนรู้ กระบวนการในการทำงานของจิต ตามความเป็นจริงอย่างถ่องแท้ จนสิ้นสงสัยในความเป็นจิต และความเป็นตน" นั่นเอง
    ====================================================
    มีอีกหลายคำที่ผมยังไม่เข้าใจ เช่น วสี ฯลฯ

    +++ วสี หมายถึง ความคล่องแคล่วทางจิต ที่สามารถกำหนดให้เข้าสู่ ฌาน ชั้นใดก็ได้ หรือ รู้วิธีและขั้นตอนในการ เดินจิต ให้เข้าสู่สมาธิใน ฌาน สมาบัตินั้น ๆ ตัวอย่างของการเดินจิต จาก รูปฌาณ สู่ อรูปฌาน จนถึงปรากฏการณ์ที่กล่าวว่า "จิตเดิมแท้เปล่งประการประภัสสร" นั้นผมเคยโพสท์เอาไว้นานแล้ว อยู่ข้างล่างนี้

    +++ ส่วนเรื่องที่ผมจะรู้จัก ฌาน หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่คุณต้องพิจารณาเอาเอง และขอให้คุณเอาตัวให้รอดจากเจตนาแอบแฝงของผู้ที่ไม่ประสงค์ดี ที่จะส่งผลลัพธ์ออกมาในรูปของ การทำลายการปฏิบัติธรรมของคุณ เอาไว้ด้วยนะครับ

    +++ ตัวอย่างของการเดินจิต จาก รูปฌาณ สู่ อรูปฌาน จนถึง "จิตเปล่งรังสี" นั้น ดูได้จากที่นี่

    [URL="http://palungjit.org/posts/6880777[/URL]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2014
  8. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +1,844
    อรูปฌาน

    ทำนิมิตให้เล็กหรือใหญ่ได้ เป็นฌานที่๔ ซึ่งเป็นรูปฌาน(ฌานที่อาศัยรูป)
    ที่ว่ามาตอนท้ายคุณเข้าสู่อรูปฌานที่๑ (ฌานที่ไม่อาศัยรูป)หรือฌานที่๕ ครับ
    ที่คุณพูดมาทั้งหมดผมขอวิจารณ์ว่าคุณเป็นผู้มีสมาธิสูงมาก หากปฏิบัติถูกที่ถูกทางคุณมีโอกาสถึงพระอริยะบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งอย่างแน่นอน แต่หากผิดทางคุณจะได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ผมเองปฏิบัติมาหลายแนว หลายวิธีและวันหนึ่งขณะปฏิบัติแบบพุทโธผมสามารถมองทะลุโบชถ์ได้ ต่อมาไม่นานผมก็เจอเวทนาอย่างรุนแรงจนต้องหยุดปฏิบัติไปหลายปี ผมกลัวคุณจะพลาดและเป็นอย่างผม
    การปฏิบัติโดยทั่วไปทุกอย่างเป็นฌานทั้งหมด แต่สุดท้ายมาตายที่ฌาน๕เป็นส่วนใหญ่ แม้นแต่พระบางองค์ที่ประกาศตัวว่าเป็นพระอรหันต์ ก็ปฏิบัติมาถึงแค่ฌาน๕เท่านั้น แต่เป็นฌาน๕ที่เต็มอนุภาพ ของคุณผมประมาณ ๕-๑๐ เปอร์เซ็นของฌาน๕
    ผมปฏิบัติแบบเพ่งฌานสมาบัติโดยตรง วิธีคือเพ่งจี้อยู่ระหว่างลูกนัยตาทั้งสองข้าง(ไม่ใช่ระหว่างคิ้วนะครับ) หรือจุดดั้งจมูกหัก ภาษาธรรมเรียกว่าจุดมโนทวาร หลวงปู่อาจารย์ใหญ่ท่านสำเร็จด้วยวิธีนี้ รายละเอียดผมได้โพสต์ในหัวข้อพุทธศาสนาของผู้เริ่มต้น-ฌานสมาบัติเป็นธรรมสูงสุดของพุทธศาสนา ของเวปนี้
    คุณจะปฏิบัติแบบใดก็ทำไปเถิดครับ ขออนุโมธนาสาธุการด้วยครับ แต่หากคุณมีปัญหาติดขัดในการปฏิบัติ ให้คุณคิดถึงวิธีที่ผมบอกนะครับ แก้สภาวะได้ทุกสภาวะครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2013
  9. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    ส่วนตัวผมคิดว่าท่าน lerkiat มีของเก่ามาค่อนข้างเยอะนะครับ สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองจนถึงระดับนี้ ต้องขอชมว่าเยี่ยมมากเลยครับ

    แต่ผมอยากจะขอเสริม แนะนำตามที่ท่าน ธรรม-ชาติ ได้เขียนไว้ในตอนท้ายครับ
    คุณมีพื้นฐานสมาธิที่ดีอยู่แล้ว จะเป็นรากฐานที่ดีต่อไปสำหรับการเจริญวิปัสสนา อยากให้คุณลองเจริญวิปัสสนา หลังจากที่คุณเพิ่งเสร็จจากการทำสมาธิ คิดว่าน่าจะเกิดผลดีต่อคุณอย่างมากเลยครับ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นรากฐานของกันและกัน
     
  10. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +628
    การทำวิปัสสนาอย่างมากก็สงเคราะห์ได้ถึงแค่ ฌานที่6 วิญญานัญจายตนะฌาน คือสภาวะที่รู้อย่างไม่มีภพชาติที่จะสิ้นสุดหยุดลงได้เลย ส่วนมากนักวิปัสสนาจะทำได้สิ้นสุดมาถึงแค่นี้ หลวงปู่สาวกโลกอุดร เทศน์ว่า ควรจะทำให้สูงขึ้นไปอีก ให้ถึง ฌานที่ 9 ที่เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ เพื่อที่จะได้ดับกิเลสความคิดปรุงแต่งลง ให้เป็นสมุทเฉทปหาน ซึ่งเป็นการพ้นทุกข์ เข้าสู่สภาวะนิพพาน จึงนำมากล่าวเสริมเพิ่มเติมให้แก่ผู้มีบารมีธรรมทั้งหลายถ้าสนใจ ก็ขออนุโทนาด้วยครับ
     
  11. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    ผมคิดว่าเรื่องฌาณกับเรื่องดับกิเลศเป็นคนละเรื่องกันนะครับ ต่อให้ได้ฌาณระดับไหน ถ้าไม่มีการเจริญปัญญา วิปัสสนา ก็ไม่มีทางที่จะตัดกิเลสออกจากจิตได้ แน่นอนครับการได้ฌาณแสดงว่ามีสมาธิที่ดี จิตที่นิ่งเปรียบเสมือนมีดที่คมพร้อมที่จะตัดกิเลศได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้สมาธิอยู่ในฌาณระดับสูงถึงจะสามารถตัดกิเลสได้ การพิจารณานั้นใช้แค่ขั้นอุปจารสมาธิหรือปฐมฌาณก็เพียงพอ แต่(อีกครั้ง)ถ้าท่านใดมีความสามารถทำสมาธิได้ในระดับสูงก็ถือเป็นการดีครับ
     
  12. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +628
    งั้นไว้ให้ผู้ที่มีคำอธิบายมาอธิบายตอบคุณในเรื่องนี้นะครับ lufhtiaf
     
  13. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    ยินดีครับ
     
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    การเดินจิตในอรูปฌาน ด้วย มหาสติปัฏฐาน 4

    เรื่องของ รูปฌาน ผมจะยกเอาไว้ไม่กล่าวในที่นี้ ผมจะขึ้นต้นที่ เอกัคตารมณ์ แบบตรง ๆ คือ อารมณ์เดี่ยวที่โดดเด่นเป็นเอก และเสวยอารมณ์อยู่อย่างนั้น อันเป็นอาการของ ฌาณ 4 หากอารมณ์ที่เด่นเป็นเอกในขณะนั้นเป็น อุเบกขา ก็มักจะปรากฏมีร่างกายประกอบอยู่ด้วย แต่จิตจะอยู่กับอารมณ์เท่านั้น ไม่สนใจการมีอยู่ของร่างกาย

    จากการไม่สนใจการมีอยู่ของร่างกาย และจิตจับเกาะอยู่กับธรรมารมณ์แต่เพียงอย่างเดียวนั้น ก็จะรู้ได้ว่า ธรรมารม์นั้นไม่มีขอบเขต หรือจะใช้ภาษาว่า ไม่มีประมาณก็ได้

    ผู้ที่ฝึกมาทาง มหาสติปัฏฐาน 4 ในชั้น ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน สมควรฝึกเดินจิตในระดับ เอกัคตา สู่ เอกัคตา ได้โดยง่าย ๆ ดังนี้้

    1. หลังจากเข้าสู่ อุเบกขา หรือตามภาษาชาวบ้านที่เรียกว่า เฉย ๆ อยู่นั้น จากสภาวะของมหาสติจะสามารถรู้ได้ว่า มันเป็นอาการ เฉยอยู่ ว่างอยู่ นั่นเอง
    2. ให้เข้าสู่ ธรรมารมณ์ ที่เรียกว่า อาการ ว่างอยู่ อันนั้น อาการว่างนี้ ยังเป็นอาการ ว่างที่มีสภาพ เพียงแต่สภาพของมัน ไม่มีขอบเขตเท่านั้นเอง จริง ๆ แล้วผู้ที่เข้าสู่ตรงนี้ได้ จะไม่ค่อยใส่ใจกับภาษาบาลีเท่าไรนัก เพียงแต่รู้ได้ว่า มันว่าง ๆ อยู่ เท่านั้นเอง ซึ่งจะตรงกับคำศัพท์ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ (อายตนะเสพความว่าง)
    3. จากอาการ ว่างอยู่ นั้นมันก็ยังมีอาการ ว่างอยู่รู้อยู่ ประกอบอยู่ด้วยกัน ให้เดินจิตเข้าสู่ อาการ รู้อยู่ แล้วอยู่กับมันชั่วครู่ ก็จะเป็น วิญญาณัญจายตนะ (อายตนะเสพอาการรู้) นั่นเอง
    4. จากอาการ รู้อยู่ แต่ไม่มีอะไรให้ถูกรู้นั้น ให้เดินจิตสู่ อาการไม่มีอะไร ตรงนั้นก็คือ อากิญจัญญายตนะ (อายตนะเสพอาการโล่งที่ไม่มีอะไร)
    5. เมื่อไม่มีอะไรให้รู้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปรู้อะไร อะไรจะเกิด อะไรจะดับ ก็ไม่ใส่ใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น สัญญาขันธ์ จึงเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อายตนะตั้งอยู่ด้วยตน ไม่เสพอะไรเลย) นั่นแหละ

    ให้สังเกตุง่าย ๆ อย่างหนึ่งว่า อรูปฌาน ต่าง ๆ ทั้งหมดนั้น ลงท้ายด้วยคำว่า ยตนะ ทั้งหมด เพราะมันยังเป็นสภาพของ อายตนะ ที่เป็นของคู่กับ ผัสสะ อยู่ดีหนีไม่พ้นนั่นแหละ ทั้งหมดเป็นเรื่องของ อายตนะที่เดินจิตไป ๆ มา ๆ ระหว่างผัสสะที่ผสมกันอยู่ และให้ธรรมารมณ์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งธรรมารมณ์ที่ผันแปรจาก เอกัคตา สู่ เอกัคตา ทั้งหมดนี้ เป็นเครื่องยืนยันอย่างดีว่า ธรรมารมณ์ ทั้งมวลยังผันแปรเป็นอนิจจังอยู่นั่นเอง

    หากผู้ที่ฝึก มหาสติปัฏฐาน รู้ถึงตรงนี้แล้ว ให้พยายามสังเกตุ อาการก่อตัวขึ้นของชั้น ธรรมารมณ์ ก็จะรู้ได้เองว่า อวิชชา มีสภาพการมาเป็นอย่างไร นะครับ
     
  15. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ฌานเป็นการดับกิเลสโดยตรงครับแต่ปัจจุบันโดยทั่วไปจะรู้และสอนกันในระดับฌานที่๔เท่านั้น ในระดับตั้งแต่ฌานที่ ๕ จนถึงฌานที่ ๙ มีคนรู้จริงและสอนได้จริงมีกันไม่กี่คนครับ ในส่วนที่จะดับกิเลสนั้นเป็นระดับฌานที่๙ เพียงฌานเดียว
    ที่คุณพูดมาไม่ใช่แค่คุณคิดเอาเองหรอกครับในตำรากว่ากันอย่างนั้น แต่ผมให้แง่คิดไว้นิดหนึ่งครับ สมถะคืออุบายให้ใจสงบ วิปัสนาเป็นอุบายให้เรืองปัญญา ให้คุณพิจารณาความหมายของวิปัสสนาให้ดีนะครับ จะไม่มีความหมายว่าดับหรือตัดกิเลสนะครับ และที่เป็นตัวอย่างอาจารย์สายวิปัสสนาที่ต้องสึกขาก็มีหลายท่าน
    ระดับปัญญาก็มี ๒ ระดับครับ ๑.ปัญญาทางโลกก็เป็นปัญญาทั่วๆไปเป็นปัญญาระดับพิจารณา รวมทั้งปัญญาในวิปัสสนาด้วย ๒.ปัญญาญาณหยั่งรู้ ปัญญานี้จะมีก็ระดับพระอรหันต์เท่านั้น จะรู้อะไรก็หยั่งรู้ได้ทั้งหมด โลก จักรวาล คน สัตว์ พืช แผ่นดินไหว เกิดอย่างไรรู้ได้ทั้งหมด
    มีลูกศิษย์หลวงปู่ที่สำเร็จพระอรหันต์แล้วและผมก็ฟังธรรมและสนธนากับท่านมาแล้ว ท่านกล่าวถึงปัญญาญาณว่าจะรู้อะไรก็เข้าฌานนิโรธปัญญาเขาจะหยั่งรู้เรื่องนั้นไปเอง ปัญญาโลกีย์ทำอย่างนี้ไม่ได้ครับ แต่ท่านก็อยู่ปรกติดูอย่างไรก็ไม่ทราบว่าท่านเป็นอะไร และท่านก็บอกเสมอว่าท่านไม่ได้เป็นอะไร
    กิเลสมีการสร้างสมมาไม่รู้กี่ล้านชาติภพมันจะมีความแข็งแกร่งสักปานใด เหตุใดคุณจึงคิดว่าจะใช้สมาธิเพียงเล็กๆน้อยไปปราบมันได้ครับ ระดับอัปนาสมาธิเบื้องต้นก็ยังไม่สามารถจะปราบมันได้เลย ต้องใช้อัปนาสมาธิขั้นสูงสุดจึงจะปราบมันได้ ตรงนี้ผมยกสภาวะของผมเข้าเปรียบเทียบได้
    การปราบกิเลสนั้นมี ๔ ระดับครับ ๑.พระโสดา ๒.พระสกิทาคา ๓.พระอนาคามี ๔.พระอรหันต์ ไม่ใช่ว่าปฏิบัติไปแล้วค่อยๆหมดไปนะครับ พระพุทธเจ้าก็ได้แสดงไว้เป็น ๔ ระดับ การปฏิบัติทางฌานสมาบัติก็เป็นอย่างนี้ การดับหรือตัดกิเลสก็อยู่ที่ฌานที่ ๙ เพียงที่เดียวเท่านั้น จึงต้องสมาธิระดับอัปนาสมาธิขั้นสูงสุดครับ
    ผมให้แง่คิดอีกประการหนึ่งในประวัติพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้จะเจอกับนิมิตต่างๆ ในฌานสมาบัตินิมิตอย่างนี้มีในฌานที่ ๖ - ๘ ครับ ในวิปัสสนาไม่มีใช่ไหมครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  16. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +628
    หลวงปู่เคยเทศน์ไว้ว่า วิปัสนาเป็นเบื้องบาท ขององค์ฌาน เช่น การพิจารณาอาการสามสิบสอง เป็นวิปัสนาและสถมะควบคู่กันไป โดยอัตโนมัติ เมื่อผ่านอุบายแห่งการเรืองปัญญาในโลกียะไปแล้ว จึงยกอารมณ์ขึ้นเพ่งฌานอีกทีหนึ่ง คนส่วนมากเปรียบเสมือนขนโค ทำกันไม่ค่อยถึง ฌานที่9 อย่างมากก็สิ้นสุดหยุดลงแค่ฌานที่ 8 จึงหาพระอรหันต์ได้ยากยิ่งในปัจจุบัน พอทำไม่ถึงก็พากันสอนว่า เรื่องฌานเป็นเรื่องต่ำ ไม่สามารถตัดกิเลสได้ ต้องทำวิปัสสนาเท่านั้นเพื่อให้เกิดปัญญา ใช้ปัญญาไปตัดกิเลสอะไรทำนองนี่ แต่หารู้ไหมว่าปัญญาที่ว่านั้นมิใช่ปัญญาโลกุตระ แต่เป็นเพียงปัญญาทางโลกียะเท่านัั้น ปัญญาโลกุตระนั้นจะเกิดต่อเมื่อหลังบรรลุฌานที่ 9 ปัญญาโลกุตระที่รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง จึงจะเกิด สิ่งที่หลวงปู่สอนไม่ได้ให้ทิ้งวิปัสสนา แต่ให้ทำให้เป็นเบื้องบาทไว้เสียก่อนให้มีพื้นฐานเสียก่อน แล้วจึงเพ่งฌานต่อ ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ฌานและปัญญามีในผู้ใด ผู้นั้นปฏิบัติใกล้ถึงนิพพานเทียว"
     
  17. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +628
    การเพ่งเป็นการรวบรวมกำลังสติให้มีมาก ให้คมกล้า เป็นเสมือนพลังปรมณูมโนมยิทธิ คนละอย่างกับของหลวงพ่อฤาษีลิงดำนะครับ การเพ่งฌานกับสติปัฏฐานสี่ ก็เป็นหลักแห่งการปฏิบัติเพื่อตัดกระกิเลสโดยตรงเลยทีเดียว การเพ่งสติ เป็นการรวบรวมกำลังสติ ซึ่งเป็นฝ่ายกุศล และจะมีกิเลสซึ่งเป็นฝ่ายอกุศล ตอนที่เรามีสติมากฝ่ายกุศลก็เกิดขึ้น พอเผลอหลงลืมสติก็จะเป็นกิเลสซึ่งเป็นฝ่ายอกุศลเกิดขึ้นมาแทนที่ อย่างนี้เสมอ จึงควรเพ่งสติรวบรวมให้มากเพื่อให้เกิดพลังสตินทรีย์ฌาน เพื่อใช้ในการตัดกระแสกิเลสซึ่งมันเหนียวแน่นยิ่งกว่าโคตรเพชรโคตรเหล็กไหลเสียอีก จะนำมากล่าวเสริมอธิบายไว้เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ยังสงสัยอยู่
     
  18. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    ท่านผู้สนใจ ลองอ่านข้อความเหล่านี้ดูครับ เป็นข้อความที่มีที่มาที่ไป จากบุคคลที่เชื่อถือได้ว่าเป็นอริยะบุคคลโดยแท้

    Credit : www.nkgen.com/438.htm

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหลวงตา มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    "หลักใหญ่ให้จิตสงบได้นั้นแหละของดี เพียงจิตสงบเท่านั้นก็ตัดความกังวลวุ่นวาย ซึ่งเคยประจำจิตเสียดแทงจิตออกได้โดยลำดับลำดา จนถึงกับเป็นขั้นสบาย เพราะฉนั้นผู้ภาวนาเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว จึงมักขี้เกียจในการพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยปัญญา นอนจมอยู่กับสมาธินั้นเสียไม่ออกพินิจพิจารณา สุดท้ายก็เข้าใจว่าความรู้ที่แน่วแน่แห่งความเป็นสมาธิของตนนั้นเป็นมรรคผลนิพพานไปเลย ในข้อนี้ผมเคยเป็นแล้ว จึงได้นำมาอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ ว่าสมาธิต้องเป็นสมาธิ ปัญญาต้องเป็นปัญญา เป็นคนละสัดเป็นคนละส่วน เป็นคนละอันจริงๆ ไม่ใช่อันเดียวกัน หากเป็นอยู่ในจิตอันเดียวกันนั่นแล เป็นแต่เพียงไม่เหมือนกัน.............ผู้ที่เป็นสมาธิ ถ้าไม่ออกพิจารณาทางด้านปัญญา จะเป็นสมาธิอย่างนั้นตลอดไป จนกระทั่งวันตาย ก็หาเป็นนิพพานได้ไม่ หาเป็นปัญญาได้ไม่ ต้องเป็นสมาธิอยู่ตลอดไป นี่ละท่านจึงสอนให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา มีความจำเป็นอย่างนี้ให้ทุกๆท่านจำไว้ให้แม่นยำ นี่สอนด้วยความแม่นยำด้วย สอนด้วยความแน่ใจของเจ้าของ เพราะได้ผ่านมาแล้วอย่างนี้ ติดสมาธิก็เคยติดมาแล้ว.............."
    (จาก หลักเกณฑ์การปฏิบัติสมาธิ - ปัญญา (๓ พฤษภาคม ๒๕๔๑) โดย พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    มีผู้ไปกราบเรียนหลวงปู่(หมายถึง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เรื่องสมาธิว่าปฏิบัติได้ดีอย่างยิ่ง เหลือแต่ความสุข สุขอย่างยิ่ง เย็นสบาย แม้จะให้อยู่อย่างนี้นานเท่าไรก็ได้
    หลวงปู่ยิ้มแล้วพูด
    "เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละ ยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน ให้ละสุขนั้นเสียก่อน แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป"
    (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม หน้า๔๙๕)

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านพุทธทาส ที่กล่าวแสดงทั้งสมถกรรมฐานหรือสมาธิ และสมถวิปัสสนา
    "........ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญก็ได้ เอากุศลก็ได้ สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับคนโน้นคนนี้ที่โลกอื่น ตามที่ตนกระหาย จะทำให้เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิเพื่อการไปเกิดในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมันนั่นเอง(webmaster-บุญ แปลว่า ความใจฟู ความอิ่มเอิบ) ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตรายแก่เจ้าของถึงกับต้องรับการรักษาเป็นพิเศษ หรือรักษาไม่หายจนตลอดชีวิตก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่าสมาธิเช่นนี้ มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุด ก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสารตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนสมาธิที่มีความมุ่งหมาย เพื่อการบังคับใจตัวเองให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้างกิเลสอันกลุ้มรุมจิตให้ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฏฐิอันจรมาในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็นทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึงตรงกันข้ามจากสมาธิเอาบุญ"
    (จาก บุญ กับ กุศล โดย ท่านพุทธทาส)

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี
    ในหนังสือส่องทางสมถวิปัสสนาของหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี ได้มีกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ทั้ง ๒ ทาง คือแบบสมถะหรือสมาธิล้วนๆ และอีกแบบหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า แนวนี้เดินสมํ่าเสมอกว่าแนวสมถะล้วนๆ คือ แนวสมถวิปัสสนา กล่าวคือ การใช้สมาธิเป็นบาทฐานของวิปัสสนานั่นเอง ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้
    "บริกรรมหรือเพ่งอย่างนั้นเหมือนกัน(หมายถึงเหมือนสมถะ) แต่ไม่ให้จิตสงบ คือน้อมจิตให้เข้าไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว(webmaster - เช่นในข้อธรรม หรือนิมิตอันดีงามถูกต้องเช่น อสุภหรือธาตุ) เพ่งพิจารณานิมิตนั้นให้เป็นธาตุหรือเป็นอสุภ ยกขึ้นสู่(การพิจารณาด้วยปัญญาใน)ไตรลักษณ์เป็นต้น เมื่อเห็นชัดแล้วจิตจะรวมลงไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว หรือจะเป็นสมาธิ หรือจะเกิดปัญญาให้สลดสังเวชก็ได้ พูดย่อๆ เรียกว่า หัดสมถะเป็นไปพร้อมกันกับวิปัสสนา" (ก็คือ สมถวิปัสสนา)
    (จาก ส่องทางสมถวิปัสสนา)
    ส่วนใน โมกขุบายวิธี ก็มีกล่าวไว้เช่นกันถึงการปฏิบัติแต่สมถะแต่ฝ่ายเดียว จนยังให้โทษ
    "ฌาน ได้แก่ การเพ่ง และเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว จะเป็นกสิณ หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ข้อสำคัญจะต้องให้จิตจับจ้องอยู่ในเฉพาะอารมณ์อันนั้นเป็นใช้ได้ เบื้องต้นจะต้องตั้งสติควบคุมจิตให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างแน่นแฟ้น เมื่อจิตถอนออกจากอารมณ์อื่นมารวมอยู่ในอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เสวยความสุขอันไม่เคยได้รับมาแต่ก่อน จิตก็จะยินดีและน้อมเข้าไปสู่เอกัคคตารมณ์อย่างยิ่ง เรียกว่า เพ่งเอาความสุขอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์เป็นอารมณ์ของฌานต่อไป จนเป็นเหตุให้เผลอตัวลืมสติไปยึดมั่นเอาเอกัคคตาว่าเป็นของบริสุทธิ์และดีเลิศ จิตตอนนี้จะรวมวูบเข้า ภวังค์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับเผลอสติ หรือลืมสติไปเสียเลยอยู่พักหนึ่ง แล้วจึงรู้สึกตัวขึ้นมา แต่ผู้ที่เคยเป็นบ่อยและชำนาญแล้ว จะมีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกันแต่เป็นไม่แรง และนิมิตหรือความรู้อะไรจะเกิดก็มักเกิดในระยะนี้ เมื่อนิมิตและความรู้เกิดขึ้นแล้ว จิตที่อยู่ในเอกัคคตานั้นจะวิ่งตามไปอย่างง่ายดาย จิตที่อยู่ในเอกัคคตารมณ์เป็นของเบาและไวต่ออารมณ์มาก(อารมณ์ จึงหมายถึง ไวต่อสิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวในการกระทบเช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิดต่างๆ - webmaster) ที่เรียกว่า จิตส่งใน เป็นภัยต่อผู้เจริญฌานอย่างยิ่ง บางทีอาจทำให้เสียผู้เสียคนไปก็มี ฌานมีเอกัคคตารมณ์เป็นเครื่องวัดในที่สุด แต่ไม่มีปัญญาจะพิจารณาสังขารให้เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณได้ กิเลสของผู้ได้ฌานก็คือมานะแข็งกระด้างทิฐิถือรั้นเอาความเห็นของตัวว่าเป็นถูกทั้งหมด คนอื่นสู้ไม่ได้ เรื่องนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของฌานหรือทิฐินิสัยเดิมของแต่ละบุคคลอีกด้วย ผู้ที่ผ่านเรื่องนั้นมาด้วยกันแล้วหรือมีจิตใจสูงกว่าเท่านั้นจึงจะแก้และแสดงให้เขาเห็นจริงตามได้ ถ้าแก้ไม่ตกก็เสียคนไปเลย"
    จาก โมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    การฝึกหัดสมถะ (ที่เรียกว่า ฌาน สมาธิ) นี้ ความประสงค์ที่แท้จริงทางพุทธศาสนา ก็คือต้องการความสงบแห่งจิต เพื่อรวบรวมกำลังใจ ให้มีความเข้มแข็งอยู่ในจุดเดียว (ที่เรียกว่าเอกัคคตารมณ์) อันเป็นมูลฐานให้เกิดความรู้ความฉลาด สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมทั้งหลายด้วยญาณทัสสนะ และขจัดสรรพกิเลสบาปธรรมทั้งปวงให้สิ้นไป มิใช่เพียงเพื่อจะนำไปใช้ด้วยเหตุอื่นภายนอก มีการนำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ เป็นต้น แต่เป็นการชำระใจให้ผ่องใสโดยเฉพาะจากนิวรณ์ ๕ เป็นต้น แต่เมื่อหัดให้ชำนาญแล้ว จะนำไปใช้ในทางใดก็ได้ตามประสงค์ ถ้าหากการใช้นั้นไม่ทำให้เกิดโทษแก่ตนและคนอื่น
    จาก เทสโกวาท โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หน้า ๘๔

    ปัญญาวิปัสสนา
    วิปัสสนาเป็นยอดเยี่ยมของปัญญาในพระพุทธศาสนา เป็นคู่กับสมถะคือสมาธินั่นเอง
    ท่านผู้รู้บางท่านถือว่าสมถะเป็นเรื่องหนึ่ง วิปัสสนาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้เจริญสมถะไม่ต้องเจริญวิปัสสนา เมื่อเจริญสมถะแก่กล้าแล้ว จึงค่อยเจริญวิปัสสนา ความข้อนั้นไม่จริง
    ตามความเป็นมา ผู้เจริญสมถะมักต้องเจริญวิปัสสนาเป็นคู่กันไป เช่น เจริญสมถะต้องพิจารณาธาตุ ๔ อินทรีย์ ๖ เป็นต้น
    จาก สิ้นโลก เหลือธรรม โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หน้า ๕๗

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก หลวงพ่อชา สุภัทโท
    คำถาม - ขอให้(หลวงพ่อชา)อธิบายเพิ่มที่ว่าสมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนาหรือปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน
    นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆ นี่เอง สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) นี้ ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ภาวนา จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะและอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐาน ช่วยให้เกิดปัญญาหรือวิปัสสนาได้ ในที่สุดแล้วจิตก็จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่หรือเดินอยู่ในเมืองวุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่า ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็น คนคนเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนา ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน
    อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมพูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไป และเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องทำอะไร พิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัว ของท่านเอง
    ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูกเหยียดหยาม หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง
    คำถาม - ในการปฏิบัติของเรา จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่
    ไม่ ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง(เอกัคคตา) แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่
    จาก หลวงพ่อชา สุภัทโท ตอบปัญหาธรรม
     
  19. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    รบกวนคุณฐสิษฐ์929 ที่ไม่เห็นด้วยกับบทความที่ผมได้เอามาลงไว้ ได้โปรดชี้แจงถึงสภาวะธรรม หรือสิ่งที่ควรจะเป็น ที่แตกต่างออกไป จากเส้นทางที่ผมได้ศึกษามาในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตามที่คุณฐสิษฐ์929 เห็นว่าควรจะเป็นด้วยครับ เพื่อเป็นวิทยาทานให้ผู้มีความรู้น้อยได้พอทราบในสิ่งที่แตกต่างออกไป ตามทางสายกลางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยครับ

    ขอบคุณครับ
     
  20. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมปฏิบัติมาหลายแบบแล้วครับผมก็รู้ว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ แต่พูดมากกว่านี้ก็พูดมาแยะแต่ก็ไม่มีใครเชื่อ
    ที่ผมโต้แย้งคุณเพราะไม่ต้องการให้คุณไปยึดติดว่าอะไรถูกต้องแน่นอน หากว่าสิ่งที่เชื่อนั้นถูกต้องแน่นอนก็เป็นความโชคดีของคุณ หากว่าไม่ใช่ละ ก็คุณนั้นละจะเสียโอกาสครับ ที่ได้ที่เสียก็คุณเองทั้งนั้น
    ผมเข้าฌานวันละหลายชั่วโมง ผมปฏิบัติได้เกือบตลอดเวลา แม้นขณะที่พิมพ์นี้ผมก็เข้าฌานอยู่ แต่ก่อนอะไรถูกหรือไม่ถูกก็ไม่รู้ แต่เมื่อมาปฏิบัติทางฌานสมาบัติได้ประมาณ ๓ ปีมานี้ จึงได้รู้ว่าว่าอะไรจริงหรือไม่จริงครับ
    ผมเคยโพสต์เรื่องฌานเป็นธรรมสูงสุดของพุทธศาสนานี้ มีผู้เข้าตอบโต้สอบถามผมก็สามารถอธิบายจนทุกคนเขาไม่ตอบโต้หรือสอบถามเข้าไปอีก
    ปัจจุบันผมปฏิบัติอยู่ในชั้นอรูปฌาน ซึ่งแตกต่างจากตำรา แต่อาจารย์หลายท่านก็อธิบายอรูปฌานได้ตามตัวหนังสือหรือตามตำราเท่านั้น เป็นไปไม่ได้ที่พระอรหันต์ท่านจะอธิบายธรรมผิด
    ลองเข้าไปดูว่าธรรมสูงสุดเช่นว่านิโรธธรรม เรียกเต็มๆว่าฌานนิโรธสมาบัติ เขามาถึงตรงนี้หรือไม่อย่างไร
    ปฏิจจสมุทปบาท เขาสามารถอธิบายออกเป็นรูปธรรมออกจากตัวหนังสือได้หรือไม่ ที่ชาวบ้านฟังแล้วเข้าใจได้ทันที
    ปฏิสัมภิทาญาณนั้นแท้จริงคืออะไร ความจริงแล้วก็คือนิโรธธรรมหรือพระนิพพานนี้ละ แต่ตำราก็บอกว่าพระอรหันต์มี ๔ แบบ บางแบบได้ บางแบบไม่ได้ ซึ่งความหมายก็มีพระอรหันต์บางแบบได้นิพพาน บางแบบไม่ได้นิพพาน และพระอรหันต์ในยุคนี้หลายท่านก็อธิบายตามตำราที่ว่ามานี้
    พระอรหันต์ของจริงผมว่าดูยากมากครับ แต่ของไม่จริงสำหรับผม ผมว่าผมดูได้ไม่ยากเลย
    ผมเองมีภาระทางโลกที่ต้องกระทำอีกระยะหนึ่ง จึงต้องอยู่ในสภาวะอย่างนี้ หากภาระทางโลกของผมสิ้นสุด ผมก็คงเข้าทางธรรมเต็มตัว ก็คงไม่มีโอกาสมาโต้แย้งกับคุณหรือใครอีก
    ที่พูดมาทั้งหมดก็อย่ามาเชื่อหรือไม่เชื่อ จนกว่าคุณจะพิสูจน์ด้วยตัวคุณเอง จึงเชื่อในสิ่งที่คุณพิสูจน์แล้วเท่านั้น
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...