##ประวัติและรูปหายากพระกรุวังวารี## ประวัติพระกรุวังวารี ออกวัดน้ำซับ ลพบุรี หน้า 16

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย rak_tza, 22 มิถุนายน 2013.

  1. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    พระกรุวังวารี
    วันนี้ผมขอแนะนำทุกท่านให้รู้จักพระกรุวังวารี ท่านผู้อ่านอาจจะยังไม่คุ้นชื่อนัก แต่ปัจจุบันชื่อกรุนี้ได้ถูกกล่าวถึงมากขึ้น ด้วยเหตุผลทางพุทธศิลปะที่งดงาม และพุทธคุณในทุกๆด้านที่ผู้ได้ครอบครองต่างประจักษ์ และพยายามสืบค้นหาเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของ ก่อนที่ทุกท่านจะอ่านบทความแนะนำของผมนั้นขอให้ทุกท่านทราบว่าบทความนี้ ผมได้รวบรวมจากประสบการณ์ที่พบเห็นด้วยตัวเอง การสอบถามจากผู้รู้ และมีการแสดงข้อคิดเห็นของผมลงไปด้วย ถ้าท่านใดพอจะรู้ในรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่าที่ผมลง หรือมีข้อคิดเห็นประการใด พื้นที่ตรงนี้ยินดีเป็นอย่างยิ่งในการรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกๆท่าน และถ้าผิดพลาดประการใดผมขออภัยท่านผู้รู้มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
    พระกรุวังวารีนั้น แตกกรุครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2536 ที่วัดวังวารี จ.พิษณุโลก ดินแดนแห่งพระกรุดินเผา นางพญา ติดอันดับเบญจภาคีของเมืองไทย เล่ากันว่าเมื่อมีการสร้างวัดขึ้น ได้นำพระนางพญาจากวัดนางพญามาใส่ในเจดีย์ต่างๆ ใส่สถูปต่างๆ เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี เจดีย์ต่างๆซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำถูกแม่น้ำกัดเซาะ พังทลายลงมาชาวบ้านในระแวกนั้นจึงมีโอกาสได้เห็นไหจำนวนมากอยู่ที่ใต้ฐานเจดีย์ ซึ่งในนั้นมีพระนางพญา พระซุ้มกอ และพระลีลาอยู่ในไห ไหที่พบนั้นมีหลายรูปแบบ เท่าที่ผมเคยเห็นมีไหขนาดเล็กเป็นไหสี่หู (ความสูงและความกว้างประมาณ 11x11 ซม.) บนฝาไหจะมีพระนางพญาและพระซุ้มกอติดอยู่ ในบางไหฝาจะมีเฉพาะพระนางพญา ไหขนาดกลางหูทั้งสี่ข้างเป็นหัวพญานาค (ความสูงและความกว้างประมาณ 23x23 ซม.) ไหทรงสูงคล้ายแจกัญ (ความสูงและความกว้างประมาณ 23x11 ซม. สำหรับไหทรงสูงนี้กะด้วยสายตาครับ) ด้านข้างจะเป็นหัวช้างหรือมีลวดลายต่างๆ และไหขนาดใหญ่ซึ่งลักษณะจะคล้ายไหขนาดกลางแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าและด้านข้างมีหูสี่หูกะโดยสายตาแล้วมีความสูงและความกว้างประมาณ 30x30 ซม.
    1.jpg 2.jpg
    [​IMG][​IMG]
    ซ้าย: ไหขนาดใหญ่ ขวา: ขนาดกลาง
    3.jpg 4.jpg
    [​IMG][​IMG]
    ซ้าย: ไหขนาดกลาง ขวา: ลักษณะของฝาไหขนาดกลาง
    5.jpg 6.jpg
    [​IMG][​IMG]
    ไหขนาดเล็ก
    7.jpg
    [​IMG]
    ภาพรวมบนสุดคือไหขนาดใหญ่ ด้านซ้ายและขวาคือไหขนาดกลาง ตรงกลางคือไหขนาดเล็ก


    ไหถูกทาด้วยดินที่มีลักษณะคล้ายดินเหนียวผสมทรายแต่เนื้อจริงของไหนั้นเป็นเนื้อดินสีดำแกร่งมากเมื่อเคาะไหจะได้ยินเสียงเหมือนเคาะโอ่งมังกร เมื่อเปิดฝาไหออกภายในจะมีพระบรรจุอยู่โดยถูกผสมไว้กับดินคล้ายๆกับดินเหนียวผสมทราย เข้าใจว่าเพื่อรักษาองค์พระที่อยู่ภายในให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ไหทั้งหมดนี้พบพระนางพญาอยู่มาก ซึ่งพระนางพญานั้นเท่าที่ผมเคยพบผมขออนุญาตจัดเป็นพิมพ์ใหญ่ แบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง และเข่าตรง พิมพ์เล็กเป็นพิมพ์เดียวกับพระนางพญากรุนางพญา แบ่งเป็นพิมพ์เล็กเข่าโค้ง และเข่าตรง ซึ่งพิมพ์เล็กนั้นอาจจะมีเยอะกว่านี้และอาจจะมีพิมพ์เท่ากับพระนางพญากรุนางพญา เพราะลักษณะเนื้อและพิมพ์ทรงของพระนางพญาพิมพ์เล็กนั้นเหมือนกับพระนางพญากรุนางพญา รองลงมาคือพระซุ้มกอ ส่วนพระลีลานั้นมีท่านผู้รู้เล่าว่าพบบนฝาไหแจกัญ และพระพุทธชินราชที่พบบนฝาไหขนาดกลาง ขนาดโดยประมาณของพระนางพญาสูง 3.5 ซม. กว้าง 2.5 ซม. หนา 1.3 ซม. (สำหรับพิมพ์ใหญ่) สูง 3.5 ซม. กว้าง 2.4 ซม. หนา 0.6 ซม. (สำหรับพิมพ์เล็ก) พระซุ้มกอสูง 2.9 ซม. กว้าง 2.0 ซม. หนา 0.3 ซม. พระปางลีลาสูง 8.4 ซม. กว้าง 2.5 ซม. หนา 1.5 ซม. และพระพุทธชินราชสูง 8.0 ซม. กว้าง 4.9 ซม. หนา 0.4 ซม. ซึ่งรายละเอียดของพระแต่ละพิมพ์ผมจะได้กล่าวต่อไปในวันข้างหน้า
    8.jpg 9.jpg
    [​IMG][​IMG]
    ซ้าย: ลักษณะของพระที่อยู่บนฝาไห ขวา: ลักษณะไหที่ล้างดินออกแล้ว​

    [​IMG][​IMG]

    [​IMG][​IMG]
    10.jpg 11.jpg 12.jpg 13.jpg
    พระปางลีลากรุวังวารี


    [​IMG][​IMG]

    [​IMG]
    14.jpg 15.jpg 16.jpg
    พระนางพญากรุวังวารีพิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง

    [​IMG][​IMG]

    [​IMG]
    17.jpg 18.jpg 19.jpg
    พระนางพญากรุวังวารีพิมพ์เล็กเข่าโค้ง


    20.jpg 21.jpg
    [​IMG][​IMG]
    พระซุ้มกอกรุวังวารี
    22.jpg
    [​IMG]
    ภาพ card error เพราะตอนแรกไม่ได้ขออนุญาติถ่าย เสียเป็นสิบรูปเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018
  2. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    พระพุทธชินราชขนาดใหญ่พบบริเวณกึ่งกลางของฝาไหขนาดกลางและใหญ่มีศิลปะที่สวยงามตรึงตาตรึงใจสำหรับผมเป็นอย่างมาก ไหเล็กนั้นจะมีพระอยู่ประมาณ 8-15 องค์ (รวมพระที่ติดในฝาไหด้วย) ไหกลางมีพระอยู่มากกว่า 50 องค์ ไหใหญ่ว่ากันว่ามีพระอยู่ประมาณ 300 องค์ ส่วนไหแจกัญนั้นมีพระอยู่ประมาณเท่าใดผมยังไม่มีข้อมูลครับ
    1.jpg
    [​IMG]
    พระพุทธชินราช กรุวังวารี

    2.jpg
    [​IMG]
    เปรียบเทียบขนาดของพระกรุวังวารีแบบต่างๆ​

    พระนางพญากรุวังวารีที่พบนี้มีพุทธศิลป์ที่อ่อนช้อย ส่งางาม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของพระนางพญา จ.พิษณุโลก ลักษณะพิมพ์ของพระสวยงามเช่นไรนั้นขอให้ท่านศึกษาจากรูปเลยนะครับผมจะไม่ขอบรรยายมาก เพราะความงดงามนั้นปรากฎแก่สายตาท่านอยู่แล้ว แต่ด้วยที่ความสามารถในการถ่ายภาพของผมมีน้อยนักจึงอาจทำให้ภาพมีรายละเอียดตกหล่อนไปบ้าง สีไม่เหมือนของจริงบ้าง สำหรับรูปที่ได้มานั้นผมก็พยายามเต็มกำลังแล้วครับ เท่าที่ผมพิจารณาเป็นพระเนื้อดินเผาผสมเม็ดแร่สีแดง ดำ และสีขาว สีของพระนางพญาที่พบมีตั้งแต่สีดำเข้มสีนี้พบน้อยมาก แดงเข้มออกดำ สีแดงส้ม และสีส้ม ผมเข้าใจว่าสีที่แตกต่างกันนี้อาจมาจากพระที่มีการโดนเผาที่ชั้นแตกต่างกัน พระชั้นที่โดนเผามากๆจะมีสีเข้ม และอ่อนลงเรื่อยๆตามลำดับของการโดนไฟ เช่นเดียวกับพระนางพญาทั่วไป ที่พบในพิษณุโลก
    3.jpg
    [​IMG]
    ลักษณะสีเนื้อดินของพระนางพญากรุวังวารีพิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง (องค์ที่ 1, 2 และ 5 จากทางซ้าย) พิมพ์เข่าตรง (องค์ที่ 3 และ 4 จากทางซ้าย)
    4.jpg
    [​IMG]
    ลักษณะสีเนื้อดินของพระนางพญากรุวังวารีพิมพ์เล็กเข่าตรง (องค์ที่ 1 จากทางซ้าย) พิมพ์เข่าโค้ง (องค์ที่ 2 จากทางซ้าย)

    นอกจากนั้นยังพบพระนางพญาเนื้อสีขาวแต่จะพบน้อยมากๆซึ่งตัวผมเองก็ยังไม่มีโอกาสได้เห็น ลักษณะเนื้อของพระกรุวังวารีพิมพ์ใหญ่ นั้นค่อนข้างหยาบอาจจะด้วยส่วนผสมและแร่ที่พบได้ทั่วทั้งองค์พระ ลักษณะองค์โดยรวมมีความอิ่มเอิบ จากที่ได้สอบถามผู้รู้นั้นท่านกรุณาเล่าให้ฟังว่ามีการนำเนื้อพระกรุวังวารีไปตรวจอายุด้วยเทคนิคการอ่านอายุจากคาร์บอน-14 พบว่าอายุนั้นนานมากกว่า 300 ปีขึ้นไป เนื้อพระกรุที่แห้งได้อายุ มีเม็ดแร่แซมทั่วองค์ และคราบกรุชวนให้หลงไหลส่องได้ไม่เบื่อเลย ลักษณะการตัดองค์พระมีเส้นให้เห็นร่องรอยการตัด รอยการกดพิมพ์ และด้วยเนื้อพระมีเม็ดแร่แซมอยู่เวลาตัดจึงมีเม็ดแร่เหล่านี้จึงหลุดออกบ้าง ทำให้เกิดหลุมขรุขระที่เป็นเอกลักษณ์ และลายการตัดที่บางองค์จะเห็นชัดเจน และบางองค์จะเห็นบางๆ เป็นรอยขนานในทิศทางเดียวกัน ส่วนเนื้อของพระกรุวังวารีพิมพ์เล็กเนื้อจะมีความละเอียดกว่า ลักษณะองค์โดยรวมมีความเพรียวบางกว่า พิมพ์ใหญ่ กล่าวได้ว่าทั้งเนื้อและพิมพ์ของพระนางพญาพิมพ์เล็กนั้นเหมือนกับพระนางพญากรุนางพญา เพราะสันนิษฐานว่าถูกนำมาไว้ในกรุนี้ด้วย และเป็นพิมพ์ที่พบน้อยในพระกรุวัดวังวารี รายละเอียดเดี๋ยวมาว่ากันอีกทีตอนหลังนะครับ รับรองว่าจะพาส่องกันจนเพลินตาแน่นอน

    [​IMG][​IMG]
    5.jpg 6.jpg
    หวังเป็นอย่างยิ่งครับว่าเนื้อหาที่โพสนี้จะช่วยให้เพื่อนๆได้รู้จักพระกรุดีๆของจังหวัดพิษณุโลกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งกรุ สำหรับเนื้อหาเปิดบอร์ดขอไว้เท่านี้ก่อนถ้ามีข้อมูลดีๆของพระกรุนี้ผมจะพยายามนำมาลงให้ได้อ่านเพื่อให้ได้ศึกษากันต่อไปครับ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018
  3. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    สารบัญ ประวัติพระกรุวังวารี ล่าสุดของกระทู้มีดังนี้ครับ
    1. ประวัติพระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 1, 2
    2. สายแร่ทองคำที่พบในองค์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 9
    3. จำนวนไหใหญ่ที่พบ หน้า 1 ลำดับกระทู้ 19
    4. เงาะถอดรูป การล้างไหเล็กและพระที่อยู่ภายใน หน้า 2 ลำดับกระทู้ 24
    5. ร่วมแชร์ประสบการณ์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 18, หน้า 2 ลำดับกระทู้ 32, หน้า 13 ลำดับกระทู้ 252,255
    6. รอยตัดข้างพระนางพญากรุวังวารี หน้า 2 ลำดับกระทู้ 34
    7. เจาะลึกพระซุ้มกอกรุวังวารี หน้า 3 ลำดับกระทู้ 53
    8. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์ใหญ่กรุวังวารี หน้า 5 ลำดับกระทู้ 82
    9. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์เล็กกรุวังวารี (พิมพ์เดียวกันกับกรุนางพญา) หน้า 6 ลำดับกระทู้ 114, 115
    10. เจาะลึกพระปางลีลากรุวังวารีพิมพ์ใหญ่ หน้า 7 ลำดับกระทู้ 123
    11. สรุปชนิดของพระและพิมพ์พระกรุวังวารี (เท่าที่ผมเคยพบ) หน้า 7 ลำดับกระทู้ 132
    12. ปฐมกำเนิดแห่งพระนางพญา พิษณุโลก หน้า 7 ลำดับกระทู้ 140
    13. พุทธคุณของพระกรุวังวารี หน้า 8 ลำดับกระทู้ 148
    14. มวลสารในพระกรุวังวารี หน้า 9 ลำดับกระทู้ 162, หน้า 15 ลำดับกระทู้ 284
    15. ไหบรรจุพระ กรุวังวารี (เท่าที่ผมเคยพบ)หน้า 11 ลำดับกระทู้ 202
    16. พระเนื้อหายาก (เท่าที่ผมเคยพบ)หน้า 11 ลำดับกระทู้ 213, พระนางพญา องค์ดำ หน้า 13 ลำดับกระทู้ 247
    17. การแต่งผิวพระกรุเนื้อดินให้ดูมันวาว หน้า 12 ลำดับกระทู้ 229
    18. พระกรุวังวารี ออกวัดน้ำซับ จ.ลพบุี หน้า 16 ลำดับกระทู้ 312
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2016
  4. Kate_Kate

    Kate_Kate Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2013
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +72
    สวยมากๆค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่นำมาให้ศึกษา ยังไม่มีเลย สงสัยจะต้องรีบตามหา^^
     
  5. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณที่ติดตามอ่านเหมือนกันครับ
     
  6. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    เร็วนี้จะนำรูปไหเล็กหลังล้างเสร็จมาให้ดูกันเต็มๆครับ ไหล้างดินเสร็จมีความสวยงามมาก
     
  7. abcd

    abcd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +1,500
    เข้ามาศึกษาด้วยคนครับ
     
  8. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณครับที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม
     
  9. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    วันนี้จะมาว่ากันด้วยแร่ทองที่มีอยู่ในองค์พระกรุวังวารี มีผู้รู้หลายท่านบอกว่าเนื้อหามวลสารของพระกรุนี้มีแร่ทองผสมอยู่ด้วย ผมนั้นก็ดูแร่ทองไม่เป็น แต่เท่าที่พิจารณาก็เห้นว่ามีแร่สีทองๆอยู่บนองค์พระจริง ภาพที่ถ่ายให้ดูนี้อาจจะไม่ชัดนัก พยายามหาจุดที่กล้องพอจะถ่ายติด แต่ถ้าส่องกันจริงๆจะแวววาว มากครับ บางองค์จะพบมากพบน้อยต่างกัน หรือบางองค์อาจจะส่องไม่เจอเลยก็เป็นได้ครับ
    1.jpg 2.jpg
    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018
  10. เด็กวังแดง

    เด็กวังแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +3,328
    ขอคุณครับสำหรับข้อมูลดี หามานานแล้วครับ มีอะไรดีๆมาเล่าสู่กัน.....บ้างนะครับ
     
  11. Kravinkreeat

    Kravinkreeat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2012
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +153
    มีให้บูชาไหมครับ
     
  12. thth

    thth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    537
    ค่าพลัง:
    +887
    สวยงามครับ
     
  13. เอ๋เชียงใหม่

    เอ๋เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +1,791
    สวยงามมากครับ ขอบคุณที่นำมาให้ดูครับ
     
  14. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณมากครับพี่เด็กวังแดง มาเป็นกำลังใจให้น้องๆเสมอ
     
  15. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอเป็นทาง PM ละกันครับ เพราะกระทู้นี้ผมอยากจะให้เป็นกระทู้เพื่อการศึกษา ขอบารมีพระกรุวังวารีคุ้มครองครับ
     
  16. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณมากๆเลยครับที่เข้ามาแวะชมแวะศีกษา
     
  17. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมชม
     
  18. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    คำพูดของอาจารย์ฆารวาสท่านหนึ่งที่ผมเคารพนับถือท่านเป็นผู้ที่มีสมาธิจิตที่แก่กล้ามากพูดถึงพระกรุวังวารีไว้ว่า "พระกรุนี้ต้องมีบุญนะถึงจะได้ครอบครองพุทธคุณท่านสูง มีแล้วเอาขึ้นคอตั้งใจอธิษฐานถ้าไม่มากเกินไปนักจะได้สมปรารถนา"
    3.jpg
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018
  19. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ข้อมูลล่าสุดที่รู้มาคือไหขนาดใหญ่ของกรุวังวารี ที่พบนั้นมีทั้งสิ้น 9 ไหด้วยกันครับ
    เอาแค่ตัวไหเองก็มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความศักดิ์สิทธิ์มากแล้ว นี่ยังไม่นับรวมถึงพระข้างในนะครับ

    4.jpg
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018
  20. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    เชิญแวะชมแวะศึกษากันก่อนครับ ว่างๆนะนั่งลงรูปไหเล็กหลังล้างไห สวยมากเลยครับ พร้อมกับองค์พระที่อยู่ภายใน
     

แชร์หน้านี้

Loading...