78.ไหว้พระ ๙ วัด ฝั่งธนบุรี

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 19 มิถุนายน 2015.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3951_1a.JPG
      IMG_3951_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      747.7 KB
      เปิดดู:
      637
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3955_1a.JPG
      IMG_3955_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      907.5 KB
      เปิดดู:
      600
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3958_1a.JPG
      IMG_3958_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      742.1 KB
      เปิดดู:
      524
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เสมาใหญ่หน้าพระอุโบสถ
    เสมานี้มีหนังสือขอมจารึกสยาม ภาคที่ ๑ จารึกกรุงสุโขทัยศาสตราจารย์ ยอซ เซเดส์ ชำระแปรพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ ความว่าแผ่นศิลาจารึกที่ฝังไว้หน้าพระอุโบสถวัดอินทารามนั้น เป็นศิลาจารึกสมัยสุโขทัย อำเภอเมือง เข้าใจว่าได้มาจากเมืองสุโขทัยเก่าชำรุด มีอักษรประมาณ ๒๕ บรรทัด เป็นภาษาไทยล้านนา ศักราชไม่ปรากฏ เนื่องด้วยอักษรได้ขาดเลือนหายไปเสียเป็นส่วนมากอ่านไม่ได้ความ ทางราชการกรมศิลปกรจะนำมาไว้ที่หอพระสมุดแห่งชาติครั้งหนึ่งแต่พิจารณาถึงผลที่จะได้รับยังไม่เป็นผล จึงมิได้นำไป ใจความโดยย่อเข้าใจกันว่า เป็นการจารึกสถาปนาวัดใดวัดหนึ่งนำมาไว้วัดอินทารามสมัยกรุงธนบุรี แต่อีกแห่งหนึ่งเขียนไว้ว่า เสมานี้มีอักษรขอมจารึก แต่ได้ความว่าเป็นตำรายา เมื่อกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ เสด็จมาที่วัดนี้ทรงคิดจะเอาไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติคราวหนึ่ง แต่ท่านเจ้าคุณพระทักษิณคณิศรได้ตั้งฝังปูนไว้เสียแล้ว สูง ๕๙ เซนติเมตรครึ่ง กว้าง ๑ เมตร ๑๘ เซนติเมตรครึ่ง และที่ถัดเสมาเข้ามาไปมีศิลาอาสน์หนาใหญ่ เป็นศิลาอาสน์ของพระยาศรีสหเทพทำขึ้น
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3966_1a.JPG
      IMG_3966_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      921.6 KB
      เปิดดู:
      597
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ตอนนี้ หมดเรี่ยวหมดแรงที่จะเดินแล้ว เพลียมากจากการถูกแดดเผามาครึ่งค่อนวัน แต่ยังเหลืออีก ๒ วัด ต้องทนต่อไป เดินๆๆๆ ลงเรือ ไปวัดที่ ๘....
     
  7. modpong

    modpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,609
    ค่าพลัง:
    +17,933
    ................
    ....ผมชอบ..เรื่อง..วัดอรุณฯ..มากทั้งภาพและเรื่อง..ลงได้ละเอียดครบถ้วน
    ...ดีมากครับ.............
    ...............
    ...ส่วนเรื่อง..วัดหงส์ฯ..นั้นเสียดายมาก..รูปพระพุทธรูปทอง..ที่ผมว่าพระองค์นี้..
    เรียกว่า..นอกจากจะมีพุทธลักษณะ..ที่เรียกว่า..เกือบเหมือน..หลวงพ่อสุโขทัไตรมิตร..แบบเป๊ะๆ..เลย..แสดงว่า..คงสร้างยุคเดียวกัน..และ..ไม่แน่อาจสร้างในคราวเดียวกัน..ก็เป็นไปได้..
    .............ภาพ..มันเล็กไปครับ..ทำให้ไม่ได้เห็นความสวยงามเท่าที่ควร..
    ...ทั้งๆที่..ของจริงสวยงามมาก....ผมเห็น..คุณสร้อยฟ้า..ถ่ายภาพพระพุทธรูป
    ..องค์อื่นเอามาลงที..ตั้งหลายรูป..แต่องค์นี้ทำไม..ถ่ายน้อยจัง....
    ..........
    .....เพราะว่าสนใจ..และ..ชอบนะครับ..ถึง..ได้บอกกล่าว..
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536


    ขอบคุณจ่ะ คุณลุง...

    คุณลุงสังเกตและกล่าวได้ถูกต้องแล้วจ่ะ ในเรื่องของพระพุทธรูปทองคำ เผลอๆ อาจเป็นพระพี่พระน้องก็ได้ ซึ่งพุทธลักษณะเหมือนกันแล้วยังเป็นทองคำเหมือนกันอีก แต่เสียดายประวัติศาสตร์ของเราช่างอ่อนแอเหลือเกิน ไม่มีใครบันทึกเรื่องราวไว้เลย...

    พอดี คณะท่านที่ร่วมทริป ท่านๆ กำลังไหว้พระอยู่จึงแทรกเข้าไปถ่ายรูปใกล้ๆ พระพุทธรูปทององค์นี้ไม่ได้อ่ะจ่ะ แล้วตอนนั้นเลนส์ที่ถือในมือก็เป็นเลนส์ไวด์ สุดความสามารถของเลนส์แล้วอ่ะจ่ะ วันนั้นก็ไม่ได้พกเลนส์เทเลไปด้วย จึงถ่ายได้ในระยะแค่นี้เองอ่ะจ่ะคุณลุง...
     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    วัดที่ ๘ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระอารามหลวง

    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ ณ ที่ราบลุ่มบางกอกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ริมคลองหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดหน้าวัดอรุณราชวรารามและกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน เนื่องจากวัดตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่านที่แยกไปจากคลองบางหลวงอีกทีหนึ่ง ชื่อของวัดจึงถูกเรียกขานตามตำบลที่ตั้งว่า วัดปากน้ำ ซึ่งชื่อนี้มีปรากฏเรียกใช้ในจดหมายเหตุโบราณหลายฉบับ แต่ได้พบชื่อของวัดที่แปลกออกไปในแผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๕๓ และ พ.ศ.๒๔๗๔ ว่า วัดสมุทธาราม แต่ไม่เป็นที่นิยมเรียกขานกันอย่างนั้น คงเรียกว่า วัดปากน้ำ มาโดยตลอด
    ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีการขุดคลองภาษีเจริญที่ข้างวัดด้านทิศตะวันตก วัดจึงมีลำน้ำหลักล้อมอยู่ทั้ง ๓ ด้าน ส่วนด้านใต้เป็นคลองเล็กแสดงอาณาเขตของวัดในสมัยก่อน วัดปากน้ำ เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง (ระหว่าง พ.ศ.๒๐๓๑ – ๒๑๗๒) สถาปนาโดยพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏพระนามแน่ชัด เป็นวัดประจำหัวเมืองธนบุรีปรากฏในตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาว่าเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา อันหมายถึงพระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสีทรงสถาปนาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น หลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานภายในวัดมีอายุย้อนไปถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้พบร่องรอยคลองเล็กด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของวัด ที่โบราณขุดไว้เป็นแนวเขตที่ดินของวัดหลวงสมัยอยุธยา ที่ตั้งของวัดปากน้ำจึงมีลักษณะเป็นเกาะรูปสี่เหลี่ยมมีน้ำล้อมอยู่ทุกด้าน สถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุที่อยู่คู่วัดมาเช่น หอพระไตรปิฏก ตู้พระไตรปิฎกทรงบุษบก ล้วนเป็นฝีมือช่างหลวงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และตัวพระอุโบสถก็ใช้เทคนิคการก่อสร้างในสมัยนั้น ได้ค้นพบนามเจ้าอาวาส 1 รูป ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์(พระเจ้าเอกทัศ) คือ พระครูธนะราชมุนี วัดปากน้ำ ได้มีบทบาทสำคัญมาแต่โบราณเพราะได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงที่อยู่นอกกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดสำคัญประจำหัวเมืองหน้าด่านทางทะเล

    สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังได้พระราชทานทรัพย์ในการบูรณปฏิสังขรณ์
    ในจดหมายเหตุสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคถวายผ้าพระกฐินหลวง ณ วัดปากน้ำ ตลอดรัชกาลวัดปากน้ำได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด คือ ได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการซ่อมหลังคาพระอุโบสถคราวหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และให้คงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทางวัดได้รับพระบรมราชานุญาตบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เกือบทั้งอารามโดยให้อนุรักษ์ศิลปะเดิมไว้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์นำพระกฐินหลวงมาถวายตลอดรัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ ๖ วัดปากน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมลง ไม่มีเจ้าอาวาสประจำพระอาราม มีแต่ผู้รักษาการที่อยู่ในอารามอื่น ทางเจ้าคณะปกครองได้ส่งพระสมุห์สด จนฺทสโร จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งท่านได้กวดขันพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญได้มีการสอนสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมตั้งสำนักเรียนทั้งนักธรรมและบาลี สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ทำให้พระภิกษุสามเณร และสาธุชนเข้ามาขอศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก วัดจึงเจริญขึ้นมาโดยลำดับ กลายเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรม และเป็นศูนย์กลางการศึกษาบาลี ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์มาโดยลำดับ สมณศักดิ์สุดท้ายในพระราชทินนามที่ พระมงคลเทพมุนีแต่ผู้คนทั่วไปรู้จักและเรียกขานนามท่านว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ ในสมัยสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส (ในกาลต่อมาท่านได้รับพระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) วัดปากน้ำได้รับการปรับปรุงทัศนียภาพและบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ช่างได้เปลี่ยนสถาปัตยกรรมเครื่องบนเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เกือบทั้งอาราม แต่ตัวรากฐานและอาคารยังคงเป็นของโบราณแต่เดิมมา

    ถึงสมัยพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำรูปปัจจุบัน วัดปากน้ำได้พัฒนาอย่างมากในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคในนามวัดปากน้ำเป็นจำนวนมาก และการปฏิบัติภาวนาตามแนวหลวงพ่อวัดปากน้ำก็ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีสถานที่ปฏิบัติ คือ หอเจริญวิปัสสนาเป็นเอกเทศ และมีผู้เข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมากทุกวัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4001_1a.JPG
      IMG_4001_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      593.8 KB
      เปิดดู:
      561
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    สิ่งสำคัญในวัด

    พระอุโบสถ
    เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทย หลังคาลด ๒ ชั้น มีมุขเด็จหน้าและหลัง มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เป็นหัวนาค หน้าบัน ซุ้มหน้าต่างและประตูหน้าหลังประดับด้วยลายดอกไม้ บานประตูเขียนลายรดน้ำเป็นรูปต้นไม้ ผนังภายในเขียนลายประแจจีนโดยรอบ

    ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาส ได้ต่อเติมมุขด้านหน้า โดยขยายออกมา เพื่อประกอบสังฆกรรม และเป็นสถานที่ฟังธรรมของอุบาสกอุบาสิกาในวันธรรมสวนะ (วันพระ)

    พระประธานในพระอุโบสถ
    เป็นของเก่าคู่มากับวัด เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐๘ นิ้ว พุทธลักษณะศิลปะอยุธยา พระพักตร์คล้ายกับพระมงคลบพิตรในวิหารมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นปูนปั้นอยุธยาตอนกลาง รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม บุด้วยทองคำบริสุทธิ์ พระนามว่า พระพุทธมหามงคล บนฐานชุกชีมี

    พระพุทธรูปบริวารประดิษฐาน ดังนี้
    พระพุทธนรสีห์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี พระราชทาน
    พระพุทธรูปปางสมาธิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทาน
    พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ๒ องค์ เป็นของเก่าคู่พระประธาน
    พระพุทธรูปปางฉันสมอ และปางประทานพร พระนามว่า โคตโมพุทโธ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    พระวิหาร มี ๓ หลัง คือ
    หลังที่ ๑ อยู่ทิศเหนือของพระอุโบสถ ลักษณะทรงโรง มุงกระเบื้อง ขนานกับพระอุโบสถ หน้าบันประดับลายปูนปั้น มีกำแพงแก้วกั้นเป็นขอบเขต
    หลังที่ ๒ และ ๓ อยู่ด้านขวา และด้านซ้ายพระอุโบสถ เรียกว่า วิหารสมเด็จ ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าบันก่ออิฐถือปูน ปั้นลวดลายติดกระเบื้อง

    พระวิหารคด
    เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทย ประดับช่อฟ้า ใบระกา ผนังภายใน
    เป็นที่บรรจุอัฐิ ประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นสมัยอยุธยา จำนวน ๑๔ องค์

    หอไตร หรือ หอพระไตรปิฎก สร้างสมัย
    กรุงศรีอยุธยา อยู่ในสระน้ำ เป็นไม้จำหลักทั้งหลังและบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยบูรณะอนุรักษ์ของเดิมไว้ ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ หอไตรอยู่ในสภาพทรุดโทรม จึงมีการบูรณะใหม่ทั้งหลัง ถอดแบบของเดิม ทำลวดลายเหมือนเดิม ฝาผนังด้านนอกลงรักปิดทองทึบทั้งหลัง ผนังด้านในเขียนภาพ บนฝ้าเพดานทั้งด้านในและด้านนอกปิดทองทึบ เสาทุกต้นติดกระจกประดับลาย และจารึกอักษรไว้ด้านนอกทางทิศใต้ว่า เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก พระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐

    ศาลาการเปรียญ มี ๒ หลัง
    หลังเดิมเป็นอาคารทรงไทยโบราณ ทำด้วยไม้สัก หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง หลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับลวดลายปูนปั้น ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณศาลาหลังเดิมชื่อว่า ศาลาสด สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๘
    มีรูปปั้น หุ่นขี้ผึ้งพระมงคลเทพมุนี ประดิษฐานบนมหาธรรมาสน์ชั้นบน

    หอระฆัง มี ๒ หลัง หลังเดิมตั้งอยู่
    ระหว่างพระวิหารและพระอุโบสถ เป็นของโบราณคู่กับวัด และรักษาอยู่ในสภาพเดิม มีลวดลายปูนปั้นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา ยอดทำเป็นทรงแหลมคล้ายมีมุขสี่ด้านเป็นรูปโค้งกลีบบัว หลังใหม่ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ

    ธรรมาสน์ไม้จำหลัก สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ใต้กระจังปฏิญาณเป็นลายหน้ากระดาน บัวหงายบัวคว่ำ มีลูกแก้วที่ท้องไม้ ใต้บัวคว่ำเป็นแข้งสิงห์ขนาดยาวใต้ลงมาเป็นรูปครุฑยุดนาคแบกอยู่ ๔ มุม ตรงกลางของ ๔ ทิศ เป็นรูปนรสิงห์
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิรมิต
    เป็นสถานที่ประดิษฐานสังขารของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ


    รูปหล่อโลหะพระมงคลเทพมุนี ประดิษฐาน ณ หอสังเวชนียมงคลเทพนิมิต ประดิษฐานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ หน้าตัก ๓๐ นิ้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3503_1a.JPG
      IMG_3503_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,381
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล
    ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เวลา ๐๖.๐๙ น.
    เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมผสมทรงกลม มีรูปทรงที่แตกต่างจากเจดีย์โดยทั่วไป เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะยุครัตนโกสินทร์กับศิลปะยุคล้านนาเข้าด้วยกัน โดยที่ตอนล่างตั้งแต่ส่วนกลางลงมาถึงฐานพระมหาเจดีย์เป็นศิลปะยุครัตนโกสินทร์ ตอนบนตั้งแต่ส่วนกลางขึ้นไปถึงยอดพระมหาเจดีย์ เป็นศิลปะยุคล้านนา ซึ่งมีต้นแบบมาจากเจดีย์วัดโลกโมฬี จังหวัดเชียงใหม่ สูงจากฐานถึงยอด ๘๐ เมตร กว้าง ๕๐x๕๐ เมตร ส่วนปลียอดพระมหาเจดีย์นี้หุ้มด้วยทองคำหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม โดยมีวัตถุประสงค์แห่งการสร้าง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในมงคลวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ และเพื่อบูชาพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล ได้รับการออกแบบเป็น ๙ ชั้น และให้มีพื้นที่ใช้สอยบริเวณด้านในของส่วนฐานล่างพระเจดีย์ ๕ ชั้น ขนาดกว้าง ๕๒ เมตร รอบตัว
    ชั้นที่ ๕ : ประดิษฐานเจดีย์แก้ว พระบรมสารีริกธาตุ ดวงแก้ว พระจตุรเถร หลวงพ่อทองคำ
    ชั้นที่ ๔ : ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทองคำองค์ใหญ่
    ชั้นที่ ๓ : ประดิษฐานพระพุทธรูป และสิ่งของบางส่วน ถือเป็นพิพิธภัณฑ์
    ชั้นที่ ๒ : สำหรับปฏิบัติธรรม
    ชั้นที่ ๑ : พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3987_1a.JPG
      IMG_3987_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      988.8 KB
      เปิดดู:
      536
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3996_1a.JPG
      IMG_3996_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      854.8 KB
      เปิดดู:
      495
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ทำบุญไหว้พระที่วัดปากน้ำเสร็จแล้ว สมาชิกผู้ร่วมเดินทางไหว้พระบางท่านก็โบกมืออำลาแยกทางที่วัดปากน้ำ บางคนก็กลับบ้าน บางคนก็อยู่ถือศีล สวดมนต์เย็นที่วัดปากน้ำต่อเลย ก็สาธุกับทุกท่านด้วยที่ร่วมเดินทางกันมาถึงวัดที่ ๘ แต่ว่าคนที่เหลือก็ยังมุ่งต่อไปยังวัดสุดท้าย วัดที่ ๙
     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    วัดกำแพง บางจาก

    วัดนี้ สร้อยฟ้ามาลา เคยทำกระทู้ไว้แล้ว ขอคัดลอกมาลงอีกรอบหนึ่ง คงไม่ว่ากระไร(มั้ง)....

    วัดกำแพง(คลองบางจาก) เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ในเขตธนบุรี โดยพื้นที่แถบเดิมเรียกว่า เมืองบางกอก หรือ เมืองธนบุรี เป็นวัดขนาดเล็กที่มีการวางผังได้อย่างลงตัว แต่ยังคงรักษาสภาพดั้งเดิมของโบราณสถานไว้ได้เกือบครบถ้วนทั้งสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถแม้จะทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จากการพิจารณาอย่างคร่าวๆ พบว่าศิลปะสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานที่สร้างหรือบูรณะขึ้นในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีรูปแบบทางศิลปะที่ทรงคุณค่ามากอย่างพระอุโบสถ พระวิหารหรือเจดีย์ แม้แต่ในรายละเอียดอย่างลวดลายงานปูนปั้นที่บ่งบอกถึงฝีมือเชิงช่างชั้นสูงมีความงดงามไม่เป็นรองที่ใด ในส่วนงานจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ ก็เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นด้วยแนวคิดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาจเป็นความโชคดีที่วัดกำแพงแห่งนี้ตั้งอยู่ค่อนข้างลึกจากเส้นทางคมนาคมประกอบกับเป็นวัดขนาดเล็กจึงไม่ค่อยได้รับความสนใจทำให้ยังคงสามารถรักษาสภาพดั้งเดิมไว้ได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายหากปล่อยปละละเลยไปโดยไม่เก็บข้อมูลต่างๆ ไว้เพื่อประโยชน์สำหรับประชาชน นักศึกษาหรือชนรุ่นหลังให้ทราบถึงประวัติความเป็นมา รูปแบบศิลปะ และความสำคัญของมรดกทางศิลปะของชาติอันมีค่า ณ วัดกำแพงแห่งนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...