อายตนะทั้ง ๖ เช่นมีตาเห็นรูป เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 5 มกราคม 2016.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    อายตนะทั้ง ๖ เช่นมีตาเห็นรูป เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ ?

    จะใช้อายตนะให้เกิดภาวนายังไงครับ
    ขอบคุณครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    มีอะไรเป็น วิหารธรรม หละคร้าบ ต้องบอกตรงนี้ก่อน

    ถึงจะ พาจิตเคลื่อนไป โดยไม่จมไปข้าง กามสัญญา เสียก่อน ได้ มี อินทรีย์สังวรณ์ เป็นศีล
    มีการไม่เข้าหา กามสัญญา เป็นทาน

    มีจิตตั้งมั่น เข้าไปกิน พักกาด(กามคุณ5) ของนายสวย(พญามาร) โดยที่ เจ้าของสวย
    หาตัวไม่เจอ ไม่รู้ร่องรอย การมา การไป
     
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ไม่มีครับ จับจด
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ดีที่รู้ ที่ว่า มี "ความจับจด" เป็นวิหาร

    ในทางบาลี เรียกว่า "สัพพโลเกอนภิรตสัญญา" ( การกำหนด จะไม่หลง
    เพลินในโลก -- แสวงหา อริยสัจจ อยู่ )

    ก็สังเกตไปเลย เวลา ตากระทบอะไร มันจะ เพลิน ...พอกำหนดรู้ว่า ตามันเพลิน
    แล้ว สะบัดหน้าหนี อันนี้เป็น วิภวตัณหา เผลอเพลิน เป็น ภวตัณหา หากตา
    เพียงแต่กระทบ เป็นผัสสะ อันนี้ อาศัย กามสัญญา เข้าเสพอยู่ เช่น เห็นไฟ
    แดงแล้วหยุดรถ เห็นทางเท้าแล้วเดินบนทางเท้าไม่ลงไปเดินบนถนน ฯลฯ

    มีการกำหนดอยู่ ในการเข้าเสพ กามคุณ5(ขยาย 5 แล้วนะ ไม่ใช่ ตาอย่างเดียว)

    เพื่อให้มาเจอ "ใจ" (ที่จะเข้า พอใจ ไม่พอใจ และ เฉยๆ)


    งง ไหม

    ถ้าไม่ งง พึงกำหนดรู้ จิตที่เข้าเสพ กามคุณ5 อยู่แล้ว หนีไม่ได้ ถึงหนีได้
    ก็ไม่เกิน7วัน(เพราะต้องกินข้าว)

    ถ้าไม่ งง พึงกำหนดรู้ จิตที่เข้าเสพ กามคุณ5 หนีด้วยกำหนด "ความไม่เพลิน"
    แต่.....ติดขอบรั้วใหญ่ๆ พวกโลกเที่ยง ไม่เที่ยง จิตเที่ยง ไม่เที่ยง ฯลฯ หรือเปล่า

    ถ้าไม่ติดรั้ว มีการระวัง ไม่เผลอเพลิน

    เหลืออีก กิจเดียว คือ " จิตปรกตินี่แหละ " ที่มัน ปรากฏอยู่แล้ว ไม่ต้องทำ

    แค่กำหนดรู้ อริยสัจจ ลงไปตรงๆ จะเห็นแล้ว ไฟคือราคะ ไฟคือโทษะ ไฟคือโมหะ

    เพราะ ราคะ โทษะ โมหะ ทำให้ แทนที่จะเสพพอยังชีพ กลายเป็นเสพแบบถือเอา
    เป็นของตน เป็นตน
     
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    คห.ผมว่า ใจน่ะ มันเหนือเวทนาไปอีกนะ
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เนี่ยะๆ มี การวาดภาพ " จิตเที่ยง " เอาไว้ก่อน

    ภาวนาแบบนี้ ต่อให้ได้ฌาณ8 ก็ เสร็จ เจ้าของสวนพักกาด อยู่ดี
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ๑. เมื่อจมกามตามปกติ
    ภิกษุทั้งหลาย! ชาวสวนผักมิได้ปลูกผักด้วยคิดว่า
    "เนื้อในป่าทั้งหลายจะได้กินผักที่เราปลูกนี้แล้ว
    จะได้มีอายุยืน รูปร่างสวยงาม มีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน" ดังนี้;
    แต่ได้คิดดังนี้ว่า
    "เนื้อในป่าทั้งหลาย จะเข้ามาสู่สวนผักอันเราปลูกแล้ว กินอยู่อย่างลืมตัว
    ครั้นเข้ามากินอยู่อย่างลืมตัว จักถึงซึ่งความเลินเล่อ
    ครั้นเลินเล่ออยู่ จักถึงซึ่งความประมาท
    ครั้นประมาทแล้ว
    จักเป็นสัตว์ที่เราพึงกระทำได้ตามความพอใจในสวนผักนั้น" ดังนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาเนื้อทั้งหลาย ฝูงเนื้อพวกที่หนึ่งได้เข้าไปสู่สวนผัก
    ที่ชาวสวนผักปลูกไว้ กินอยู่อย่างลืมตัว
    เมื่อเข้าไปกินอยู่อย่างลืมตัว ก็ถึงซึ่งความเลินเล่อ
    ครั้นเลินเล่อแล้ว ก็ถึงซึ่งความประมาท
    ครั้นประมาทแล้ว
    ก็เป็นสัตว์ที่เจ้าของสวนผักพึงกระทำได้ตามความพอใจในสวนผักนั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
    ฝูงเนื้อพวกที่หนึ่งเหล่านั้นก็ไม่พ้นไปจากกำมือแห่งเจ้าของสวนผัก.

    ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
    สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งได้ เข้าไปสู่โลกามิส เหล่าโน้น
    ซึ่งเป็นเหมือนกับสวนผักอันมาปลูกไว้ บริโภคอยู่อย่างลืมตัว
    ครั้นเข้าไปบริโภคอยู่อย่างลืมตัว ก็ถึงซึ่งความมัวเมา
    ครั้นมัวเมาอยู่ ก็ถึงซึ่งความประมาท
    ครั้นประมาทอยู่
    ก็เป็นผู้ที่มารพึงกระทำได้ตามความพอใจในโลกามิส
    ซึ่งเป็นเหมือนกับสวนผักแห่งมารนั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
    สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนี้ จึงไม่พ้นไปจากอิทธานุภาพแห่งมาร.

    ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนี้
    ว่ามีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่หนึ่งนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้มีเพื่อให้รู้เนื้อความนั้น :
    คำว่า "สวนผัก" นั้นเป็นชื่อแห่งกามคุณทั้งห้า.
    คำว่า "เจ้าของสวนผัก" นั้น เป็นชื่อของมารผู้มีบาป.
    คำว่า "พวกพ้องของเจ้าของสวนผัก" นั้น เป็นชื่อของบริษัทแห่งมาร.
    คำว่า "ฝูงเนื้อ" นั้น เป็นชื่อของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.
    ๒. เมื่อจมกามครั้งที่สอง
    ภิกษุทั้งหลาย! เนื้อพวกที่สอง
    (รู้ความวินาศของเนื้อจำพวกที่หนึ่งโดยประการทั้งปวงแล้ว) มาคิดกันว่า
    "ถ้าอย่างไร เราเว้นการกินผักซึ่งเป็นโภชนะ
    อันตรายเหล่านี้โดยประการทั้งปวงเสีย เข้าไปอยู่ในราวป่ากันเถิด" ดังนี้.

    เนื้อเหล่านั้น เว้นการกินผัก ซึ่งเป็นโภชนะอันตรายเหล่านั้นโดยประการทั้งปวงแล้ว
    เข้าไปอยู่ในราวป่าแล้ว:

    ครั้งถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนเป็นเวลาที่หมดหญ้าและน้ำ
    ร่างกายก็ถึงซึ่งความซูบผอมอย่างยิ่ง
    เมื่อมีร่างกายซูบผอมอย่างยิ่ง กำลังอันแกล้วกล้าก็หมดไป
    เมื่อกำลังอันแกล้วกล้าหมดไป
    ก็ย้อนกลับมาสู่ถิ่นแห่งสวนผักที่เจ้าของสวนผักปลูกไว้อีก.

    ฝูงเนื้อเหล่านั้น ได้เข้าไป กินผักในสวนผักอย่างลืมตัว
    เมื่อเข้าไปกินอยู่อย่างลืมตัวก็ถึงซึ่งความเลินเล่อ
    เมื่อเลินเล่อก็ถึงซึ่งความประมาท
    เมื่อประมาทก็เป็นสัตว์ที่เจ้าของสวนผักกระทำได้ตามความพอใจในสวนผักนั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
    ฝูงเนื้อพวกที่สองนั้นก็ไม่พ้นไปจากกำมือแห่งเจ้าของสวนผัก.

    ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย สมณพราหมณ์จำพวกที่สอง
    (รู้ความวินาศของสมณพราหมณ์จำพวกที่หนึ่งโดยประการทั้งปวงแล้ว)
    มาคิดกันว่า
    "ถ้ากระไร เราเว้นจากโลกามิสซึ่งเป็นเสมือนการบริโภคเหยื่อโดยประการทั้งปวงเสีย
    เว้นจากโภชนะอันตราย แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ในราวป่ากันเถิด" ดังนี้.

    สมณพราหมณ์เหล่านั้น เว้นจากโลกามิส อันเป็นเสมือนการบริโภคเหยื่อ
    โดยประการทั้งปวง เว้นโภชนะอันตราย พากันเข้าไปอยู่ในราวป่า แล้ว.

    สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีผักสากะเป็นภักษาบ้าง มีผักสามากะเป็นภักษาบ้าง
    มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีเปลือกไม้เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง
    มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีเมล็ดผักกาดเป็นภักษาบ้าง
    มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเง่าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร
    ยังอัตภาพให้เป็นไป เป็นผู้บริโภคผลตามที่มีอยู่โดยธรรมชาติ;

    ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน เป็นเวลาที่หมดผักหมดหญ้าหมดน้ำ
    ร่างกายก็ถึงซึ่งความซูบผอมอย่างยิ่ง
    เมื่อมีร่างกายซูบผอมอย่างยิ่ง กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป
    เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม
    เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อม ก็ ย้อนกลับมาหาโลกามิส
    ซึ่งเป็นเสมือนกับสวนผักอันมารปลูกไว้เหล่านั้นอีก.

    สมณพราหมณ์เหล่านั้น เข้าไปบริโภคอยู่อย่างลืมตัว
    ครั้นเข้าไปบริโภคอยู่อย่างลืมตัว ก็ถึงซึ่งความมัวเมา
    ครั้นมัวเมาอยู่ ก็ถึงซึ่งความประมาท
    ครั้นประมาทแล้ว ก็เป็นผู้ที่มารพึงกระทำได้ตามความพอใจในโลกามิส
    อันเป็นเสมือนสวนผักของมารนั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
    สมณพราหมณ์แม้พวกที่สองนี้ก็ไม่พ้นไปจากอิทธานุภาพแห่งมาร.

    ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สองนี้
    ว่ามีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่สองนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.
    ๓. เมื่อเฉไปติดบ่วงทิฏฐิ
    ภิกษุทั้งหลาย! ฝูงเนื้อพวกที่สาม
    (รู้ความวินาศของเนื้อจำพวกที่หนึ่งและจำพวกที่สอง โดยประการทั้งปวงแล้ว)
    มาคิดกันว่า
    "ถ้าอย่างไร เรา อาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ใกล้ ๆ สวนผัก ของเจ้าของผักนั้น
    ครั้นอาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ใกล้ ๆ สวนผักนั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปกินผักนั้นอย่างลืมตัว
    เมื่อไม่เข้าไปกินอย่างลืมตัวอยู่ ก็ไม่ถึงซึ่งความเลินเล่อ
    เมื่อไม่เลินเล่ออยู่ ก็ถึงซึ่งความไม่ประมาท
    เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่เป็นสัตว์ที่ใคร ๆ จะพึงทำอะไร ๆ ได้ตามความพอใจ
    ในสวนผักของเจ้าของผักนั้น" ดังนี้.

    ฝูงเนื้อเหล่านั้น (ก็ประพฤติกระทำความคิดนั้น).

    ภิกษุทั้งหลาย! ความคิดได้เกิดแก่เจ้าของสวนผักกับบริวารเหล่านั้นว่า
    "ฝูงเนื้อพวกที่สามเหล่านี้ คงจะมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงเหมือนมีฤทธิ์เป็นแน่
    ฝูงเนื้อพวกที่สามนี้ คงจะเป็นสัตว์พิเศษชนิดอื่นเป็นแน่
    มันจึงมากินผักที่เราปลูกนี้ได้. และเราก็ไม่เข้าใจการมาการไปของมัน.
    ถ้ากระไรเราพึงล้อมซึ่งที่นั้นโดยรอบ
    ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลาย
    เราคงจะได้เห็นที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สาม อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน" ดังนี้

    ชนเหล่านั้นได้ทำการล้อมพื้นที่ปลูกผักนั้นโดยรอบ
    ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลายแล้ว.

    ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าของสวนผัก และบริวาร
    ก็หา พบที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สาม อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน.

    ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล ฝูงเนื้อแม้พวกที่สามนั้น
    ก็ไม่พ้นไปจากกำมือของเจ้าของสวนผัก.

    ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย สมณพราหมณ์จำพวกที่สาม
    (รู้ความวินาศของสมณพรามหมณ์จำพวกที่หนึ่งและที่สอง โดยประการทั้งปวงแล้ว)
    มาคิดกันว่า
    "ถ้ากระไร เราจะ อาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ใกล้ ๆ โลกามิส
    ซึ่งเปรียบเสมือนสวนผักของมาร
    ครั้นอาศัยอยู่ในที่ซุ่มซ่อนนั้นแล้ว จักไม่เข้าไปบริโภคโลกามิส
    อันเป็นเสมือนสวนผักแห่งมารนั้น อย่างลืมตัว
    ครั้นไม่เข้าไปบริโภคอย่างลืมตัวอยู่ ก็ไม่ถึงซึ่งความมัวเมา
    เมื่อไม่มัวเมาอยู่ ก็ไม่ถึงซึ่งความประมาท
    เมื่อไม่ประมาทอยู่ ก็เป็นผู้ที่มารจะพึงกระทำตามความพอใจไม่ได้อยู่ในโลกามิส
    อันเป็นเสมือนสวนผักแห่งมารนั้น" ดังนี้.


    สมณพราหมณ์เหล่านั้น (ก็ได้ประพฤติกระทำตามความคิดนั้น )
    ก็แต่ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้เป็นผู้มีทิฏฐิ ขึ้นมาแล้วอย่างนี้
    ว่า "โลกเที่ยง" ดังนี้บ้าง;
    ว่า "โลกไม่เที่ยง" ดังนี้บ้าง;
    ว่า "โลกมีที่สุด" ดังนี้บ้าง;
    ว่า "โลกไม่มีที่สุด" ดังนี้บ้าง;
    ว่า "ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น" ดังนี้บ้าง;
    ว่า "ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น" ดังนี้บ้าง;
    ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก" ดังนี้บ้าง;
    ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก" ดังนี้บ้าง;
    ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี" ดังนี้บ้าง.;
    ว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้" ดังนี้บ้าง
    ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล สมณพราหมณ์
    แม้พวกที่สามนี้ ก็ไม่พ้นไปจากอิทธานุภาพแห่งมาร.

    ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สามนี้ว่า
    มีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่สามนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.



    ๔. เมื่อพ้นจากบ่วง
    ภิกษุทั้งหลาย! ฝูงเนื้อพวกที่สี่
    (รู้ความวินาศของเนื้อพวกที่หนึ่ง พวกที่สอง
    และพวกที่สาม โดยประการทั้งปวงแล้ว) มาคิดกันว่า
    "ถ้าอย่างไร เราอาศัยซุ่มซ่อนอยู่ในที่ซึ่งเจ้าของสวนผักและบริวารไปไม่ถึง
    ครั้นอาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ในที่ซึ่งเจ้าของสวนผักและบริวารไปไม่ถึง
    จะ ไม่ลืมตัวเข้าไปกินผัก ที่เจ้าของสวนผักปลูก จะไม่ถึงซึ่งความเลินเล่อ
    เมื่อไม่เลินเล่อ จักไม่ถึงซึ่งความประมาท
    เมื่อไม่ประมาทแล้ว ก็ไม่เป็นสัตว์ที่ใคร ๆ พึงทำอะไร ๆ ได้ตามความพอใจ
    ในสวนผักของเจ้าของผักนั้น. ฝูงเนื้อเหล่านั้น (ก็ประพฤติกระทำตามความคิดนั้น)

    ภิกษุทั้งหลาย! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เจ้าของสวนผักกับริวารเหล่านั้นว่า
    "ฝูงเนื้อพวกที่สี่เหล่านี้ คงจะมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงเหมือนมีฤทธิ์เป็นแน่
    ฝูงเนื้อพวกที่สี่นี้คงจะเป็นสัตว์พิเศษชนิดอื่นเป็นแน่
    มันจึงมากินผักที่เราปลูกนี้ได้. และเราก็ไม่เข้าใจการมาการไปของมัน.
    ถ้ากระไร เราพึงล้อมซึ่งที่นั้นโดยรอบ
    ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลาย
    เราคงจะได้เห็นที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สี่ อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน" ดังนี้.

    ชนเหล่านั้นได้ทำการล้อมพื้นที่ปลูกผักนั้นโดยรอบ
    ด้วยเครื่องล้อมชนิดทัณฑวาคุระใหญ่ ๆ ทั้งหลายแล้ว.

    ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าของสวนผักและบริวารไม่ได้พบที่ซุ่มซ่อนของฝูงเนื้อพวกที่สี่
    อันเป็นที่ซึ่งมันแอบเข้ามากิน.

    ภิกษุทั้งหลาย! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เจ้าของสวนผักและบริวารว่า
    "ถ้าเราทำฝูงเนื้อพวกที่สี่ให้แตกตื่นแล้ว มันก็จะทำให้ฝูงอื่นแตกตื่นด้วย
    ด้วยการทำอย่างนี้ ฝูงเนื้อทั้งปวงก็เริศร้างไปจากผักที่เราปลูกไว้
    ถ้ากระไรเราพึงทำความพยายามเจาะจง (ทำความแตกตื่น) แก่เนื้อพวกที่สี่" ดังนี้

    ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าของสวนผักและบริวาร
    ได้ทำความพยายามเจาะจง (ทำความแตกตื่น) แก่ฝูงเนื้อพวกที่สี่แล้ว.

    ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
    ฝูงเนื้อพวกที่สี่นั้นก็พ้นไปจากกำมือของเจ้าของสวนผัก.

    ภิกษุทั้งหลาย! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สี่
    (รู้ความวินาศของสมณพราหมณ์จำพวกที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม
    โดยประการทั้งปวงแล้ว) มาคิดกันว่า
    "ถ้ากระไร เรา อาศัยที่ซุ่มซ่อนอยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง
    ครั้นอาศัยซุ่มซ่อนอยู่ในที่นั้นแล้ว จะ ไม่ลืมตัวเข้าไปบริโภคโลกามิส
    ซึ่งเป็นเสมือนสวนผักที่มารปลูกไว้
    เมื่อไม่ลืมตัวเข้าไปกิน ก็ไม่ถึงซึ่งความมัวเมา
    เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ถึงซึ่งความประมาท
    เมื่อไม่ประมาท ก็จักเป็นผู้ที่มารไม่ทำอะไร ๆ ได้ตามความพอใจในโลกามิส
    ซึ่งเป็นเสมือนสวนผักที่มารปลูกไว้" ดังนี้.
    [ ตรงเนี่ยะ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ]

    สมณพราหมณ์เหล่านั้น (ก็ได้ประพฤติกระทำตามความคิดนั้น)

    ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
    สมณพราหมณ์พวกที่สี่นี้ ก็พ้นไปจากอิทธานุภาพของมาร.

    ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สี่นี้ ว่า
    มีอุปมาเหมือนฝูงเนื้อพวกที่สี่นั้น. ฉันใดก็ฉันนั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย! ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึงนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
    จึงเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่

    ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า
    ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย
    มารกำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร
    ไปแล้วสู่ที่ซึ่งมารผู้มีบาปมองไม่เห็น..................ฯลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2016
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024

    เคยเรียนมานะ เค้าให้วาดภาพแบบนี้ ก็พยายามจะเชื่ออยู่
    กายเป็นปฏิกูล เวทนาเป็นทุกขํ จิตเป็นอนิจจํ ธรรมเป็นอนัตตา
    สติให้กำหนดรู้ เข้าไปเห็น
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    แล้ว ปฏิบัติจริง เป็นแบบไหน

    1. ทำสัญญา นำไปก่อน ( ปัญญานำสมาธิ ) แล้วเห็น การพ้น การพรากออกจาก กามสัญญา ราคะ โทษะ โมหะ

    2. หรือ กระทบแล้ว ใช้กำลังจิต ละออก ( สมาธินำปัญญา ) แล้วเห็น การพ้น การพรากออกจาก กามสัญญา ราคะ โทษะ โมหะ


    3. หรือ ไม่เลือก วิธีการ จิตมี ฉันทะในการภาวนา มันเห็น วิธีการใด เหมาะ
    แก่เวลา ก็ทำอันนั้น ( ภาวนาแบบ สมถะควบวิปัสสนา )


    4. หรือ เห็นอยู่ว่า ยังไงก็ทุกข์ ใช้วิธีไหนก็ทุกข์ มีแต่จิตฝุ้ง ไม่ซ่านไปใน กิเลส
    ก็ ซ่านไปในธรรมะปฏิบัติ ( ภาวนาแบบ จิตมี กำลังสมาธิมาหลายชาติ พ้น
    อยู่ แต่ จิตมันฝุ้ง เพราะ เวรกรรมบางอย่าง มากั้นไว้ พวกนี้ คือ พวกมาเรียนธรรม
    ด้วยการ ไล่กระทืบพระ อริยูปวาโท เป็นส่วนใหญ่ ) [ กลุ่มนี้ หากยังถือ จิตเที่ยง นิพพานเป็นเมือง(ปรินิพพานแล้ว พระพุทธองค์ยังอยู่/ไม่อยู่ อยู่ก็ไม่ใช่ ไม่อยู่ก็ไม่ใช่) อันนี้จะไม่เห็น ติดอยู่อย่างนี้แหละ ภาวนาไม่ขึ้น ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2016
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    น่าจะเป็น แบบอ่านมาก แต่ปฏิบัติจริงน้อย
    ไหลตามโลกธรรม สังวรอิทรีย์น้อย
    อริยูปวาโท ในใจบ่อยๆ เลยมีจิตฟุ้งซ่านครับ ก็เลยจับจดๆไป

    ปล.เดี๋ยวอ่าน ย่อย ที่คุณโพสมาซักพักก่อนนะ นานตอบหน่อยนะ
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ถ้าปรารภ จับต้องได้ว่า "อริยูปวาโท ในใจบ่อยๆ" อันนี้ สติมันเกิด นะ

    ดังนั้น "อริยูปวาโท ในใจบ่อยๆ" มีสติไประลึกตามอยู่ จะถือว่า ไม่เกิดอกุศล
    จึงพ้น วิบาก(ในภพใหม่ ชาติใหม่ ) ที่ผ่านมา มันพยายามจะปรากฏ เพื่อดึง
    กลับให้ไปติด

    ให้กำหนดจิต ตรงนี้ไปเลย จิตตรงนี้ ยังไม่ติดไฟ พ้นไฟ แล ไฟ อยู่

    จิตฝุ้งซ่าน เป็น วิบากของจิต เป็นของเก่า หากไม่ยินดี ยินร้าย ข้าม
    พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก จิตจะมี "สติ" อยู่

    จิตมีสติอยู่ ย่อมมีอุเบกขาอยู่

    มีอุเบกขาอยู่ สติบริสุทธิอยู่ แม้น พื้นจิตจะเต็มไปด้วย ความร้อน(ฝุ้งซ่าน)


    ตรงนี้


    หากภาวนาถูก เป็นสติปัฏฐาน และ ไม่เอา อามิส( เอาอาการจิตเป็นสุข
    เพื่อ ฌาณฤาษี) จิตมันจะเป็น นิรามิสสุข เป็น ปัสสัทธิ

    ให้กำหนด จิตที่โคจรแบบนี้ นี่แหละ โพชฌงค์7 อัน ไม่มีใครแสดงได้
    มาก่อน มีแต่ จิตผู้ภาวนาเท่านั้น ที่จะ เห็นได้ ฟังได้ ตรงนี้ เพียงผู้เดียว
    ไม่มีผู้อื่น สอนสิ่งนี้ได้ มันเงียบสนิท สงบ [ ที่เหลือจะเป็น การภาวนาให้มากๆ เพื่อให้จิต เลื่อมใส สัมมาสมาธิ ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2016
  12. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2016
  13. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ^
    กามคุณ ๕

    อารมณ์ ๕ ที่เกิดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ บัญญัติธรรมเรียกว่า “กามคุณ ๕” เพราะผู้ที่ได้ประสบอารมณ์ ๕ นี้แล้ว ชอบใจ ดีใจ ติดใจ เข้าไปฝังแน่นอยู่ในใจ เห็นเป็นคุณทั้งหมด หากจะเห็นโทษของมันอยู่บ้างบางกรณี แต่ก็ยากนักที่เอาโทษนั้นมาลบล้างคุณของมัน ฉะนั้นเหมาะสมแล้วที่เรียกว่า “กามคุณ”

    ปุถุชนผู้เยาว์ปัญญา เมื่อได้ประสบอารมณ์ทั้ง ๕ นั้นแล้วจึงหวานฉ่ำ เหมือนแมลงวัน หลงใหลในน้ำผึ้ง ติดทั้งรสทั้งกลิ่น จะบินหนีก็เสียดาย ผลที่สุดคลุกเคล้าเอาตัวไปจม ลอยอยู่ในนั้น กามคุณเป็นหลุมฝัง ของปุถุชนผู้เยาว์ปัญญา โดยความสมัครใจของแต่ละบุคคลโดยแท้

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2016
  14. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    สรุปแว้

    เอามาแปะ ไปงั้นๆ ไม่เคารพธรรม ไม่เคยนำไปปฏิบัติให้เกิดผล

    แปะ ไปเรื่อยๆ

    แปะ ไปเรื่อยๆ

    แปะ ไปเรื่อยๆ
     
  16. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ศึกษาแผนที่อยู่ครับ
     
  17. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    www.youtube.com/watch?v=lWh5-60E07s&index=85&list=PL_4BkEyJ4ugtwmuYeQR-aq0FaeeLz9vXp

    อายตนะ ๖
    พระธรรมเทศนาหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย​


    www.youtube.com/watch?v=gOcIJ0sJxV0&index=64&list=PL_4BkEyJ4ugvPmcO9T_r_yNR7uf3Z9R3s

    ตัณหาเกิดที่อายตนะ ๖
    พระธรรมเทศนาหลวงปู่พุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา​


    www.youtube.com/watch?v=WSF3ip2EvX4

    อายตนะ
    พระธรรมเทศนาหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    วัดบรรพตคีรี(ภูจ้อก้อ) จ.มุกดาหาร​



    www.youtube.com/watch?v=xl1csJ8eStk

    อายตนะภายนอก ภายใน พิจารณาเพื่อรู้ตามความเป็นจริง
    พระธรรมเทศนาหลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    วัดอรัญญวิเวก (บ้านปง) อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่​



    www.youtube.com/watch?v=CBKlrAnYxVg

    อายตนะภายนอกภายใน (๐๔ เม.ย. ๒๔)
    พระธรรมเทศนาหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย​



    www.youtube.com/watch?v=TuCbU4MX8fA&list=PL_4BkEyJ4ugtwmuYeQR-aq0FaeeLz9vXp&index=87

    วิธีหัดสมาธิ (๑๑ ธ.ค.๒๕)
    พระธรรมเทศนาหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย​



    ปล.แก้ไขรวมมาแปะไว้หน้าแรก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2017
  18. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    www.youtube.com/watch?v=4YBqwo8cnS8&index=91

    มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนา อายตนบรรพ
    พระธรรมเทศนาหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤๅษี) วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี​


    www.youtube.com/watch?v=yPhLEFTZBok

    ธัมมานุปัสสนา อายตนะและสังโยชน์
    พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก​



    ปล.รวมมาแปะไว้หน้าแรก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2017
  19. ABT

    ABT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ใช้อายตนะ ทั้ง 6 ในการเดินสติ ว่าอะไรกระทบก่อน รู้วาง ตาเห็น วาง ไม่วางปรุงแต่งว่าสวยหรืไม่สวย หูได้ยินเสียง รู้ วาง ไม่วาง จะปรุงว่าเพราะ หรือไม่เพราะ จมูก ได้กลิ่น รู้ วาง ไม่วางจะปรุง ว่าหอม หรือเหม็น ลิ้น สัมผัสรส รู้ วาง ไม่วาง จะปรุงว่า อร่อย ไม่อร่อย กาย สัมผัส รู้ ร้อนหนาว แล้ววาง ไม่วางจะปรุงว่าเป็นอย่างอื่น ใจ สัมผัสรู้ รู้แล้ววาง ไม่วาง จะปรุงเป็นอย่างอื่น เมื่อสติพร้อม สมาธิ พร้อม จึงเดินปัญญา ได้ ผมถึงแค่พยามรู้ครับ แล้ววาง ครับ แต่ก็ไม่ทัน เขารับไวมาก สมถะยังไม่นิ่งพอ รู้ทันก่อนจึงเดินปัญญาได้ไม่งั้นโดนหลอกอีกรอบแล้วเราไม่ทัน ครูบาอาจารย์ที่ชี้แนะได้หายากครับ ขออนุโมทนา
     
  20. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    สนใจที่ว่า เดินปัญญา พี่ Chanj มีความคิดเห็นเช่นไรครับ แนะนำบ้างครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...