ขอเชิญร่วมบุญฉลองพระพุทธรูปรับวัตถุมงคล

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 1 มีนาคม 2016.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    ขอเชิญร่วมบุญถวายจตุปัจจัยและเครื่องถวายไทยธรรม ในพิธีการถวายพระพุทธรูป พระพุทธเลื่อนฤทธิ์รัตนมุนีสนั่นตรีโลกนาถ ขนาดหน้าตัก ๖๐นิ้ว โดย จะนำไปประดิษฐานที่วัดกลางคลองสิบ ซึ่งเดิมจะนำไปถวายให้ ณ โรงเรียน เพชรวิทยาคาร จังหัดชัยภูมิ แต่ทางโรงเรียนบอกว่าพระองค์ใหญ่เกินไปจึงไม่ขอรับ และการนี้ ทางวัดกลางคลองสิบ ปทุมธานี ท่านแสดงเจตน์จำนงในการรับพระพุทธรูปไว้ โดยพระพุทธลักษณะปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ผสมศิลปะของปาละอินเดียและ เชียงแสนสิงห์หนึ่งของล้านนาไทย มีต้นแบบจากหลวงพ่อดำ โดยจะนำไปมอบให้ในวันที่26มีนาคม 2559 เพื่อเป็นการฉลองพระพุทธรูป จะมีการถวายสังฆทานและไทยธรรมแด่พระสงฆ์ วัดกลางคลองสิบ ปทุมธานีทั้งวัด
    จึงขอบอกบุญมายังผู้ศรัทธาทุกท่าน โดยจะบอกบุญตั้งแต่วันนี้จนถึง วันที่ 25มีนาคม๒๕๕๙นี้เท่านั้น ผู้ร่วมบุญตั้งแต่ 100บาทขึ้นไปจะได้รับพระพิฆเนศ เนื้อผงข้าวเสก เสกโดย หลวงปุ่เรือง อาภัสสะโร อาศรมเขาสามยอด มอบให้ คนละ 1 องค์ และพระบรมสารีริกธาตุท่านละ๑ชุด ครับ
    ทั้งหมดนี้เปิดให้ร่วมบุญเพียง 100ชุด หมดแล้วหมดเลยนะครับ
    ท่านใดสนใจ
    ร่วมบุญได้ที่ร่วมบุญได้ที่ บัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสยามสแควร์ ภูชิชย์ สุรรัตน์ เลขที่บัญชี 0384312810 เบอร์โทร 0809044789หรืออีเมล์ mkjoni.law@gmail.com
    พระพุทธรุปที่จะถวาย
    [​IMG]
    สนทนากับท่านเจ้าอาวาส วัดกลางคลองสิบ
    [​IMG]
    พระพิฆเนศที่แจกเพื่อร่วมบุญ
    [​IMG]
    ทางโรงเรียนปฏิเสธการรับมอบพระพุทธรูป
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  4. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    ได้โอนเงินเข้าบัญชี 240 บาทเพื่อทำบุญ ตอน 14.53 ขอไม่รับวัตถุมงคลค่ะ ขอขอบคุณที่ทำให้ดิฉันได้ร่วมทำบุญต่อเนื่อง มณฑรัตน์ (Mathura-palungjit.org)
    อนุโมทนาบุญครับ [ /SIZE]
     
  5. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438

    อนุโมทนาบุญคุณมณฑารัตน์
     
  6. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  7. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  8. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  9. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  10. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  11. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  12. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  13. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,320
    ค่าพลัง:
    +4,770
    นายจาตุรงค์ คงทะ
    ร่วมบุญถวายจตุปัจจัยและเครื่องถวายไทยธรรม
    ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลผลบุญที่ได้กระทำแล้วในครั้งนี้
    ขออุทิศบูชาแด่คุณพระพุทธ
    คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ที่แผ่พระบารมีในหมื่นโลกธาตุ แสนโกฎิจักรวาลนี้

    ขออุทิศแด่บิดา มารดา ญาติ สหาย และผู้มีพระคุณของข้าพเจ้าที่ล่วงลับไปแล้วทุกชาติ

    แด่พระสยามเทวาธิราข และบุรพกษัตริย์ไทยทุกพระองค์
    แด่ท้าวจาตุมหาราชทั้งสี่ และเทพ พรหม ทุกสวรรค์ชั้นฟ้า

    แด่พญายมราชทุกพระองค์ แด่นายนิรยบาลทุกตน

    แด่อมนุษย์ทุกตนและแด่ดวงวิญญาณทุกดวง ที่สถิตย์อยู่ ณ ที่นี้ก็ดี
    ที่พักอาศัยของข้าพเจ้าก็ดี หรือในสถานที่ทั่วไป

    แด่เจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้าทั้งในชาตินี้ และในอนันตชาติที่ผ่านมา

    ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านี้ โปรดตั้งจิตให้เป็นกุศล
    และร่วมอนุโมทนาในส่วนบุญที่ข้าพเจ้าได้อุทิศแล้วนี้

    ขออนุภาพแห่งบุญนี้จงมีผลมาก มีอานิสงส์ไพศาล จงบังเกิดแด่
    ท่านทั้งหลายเหล่านี้ นั้บตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเถิด

    พุทธประสิทธิ์ ธรรมประสิทธิ์ สังฆประสิทธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  15. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฏก ตอน เนื้อนาที่ไม่เกิดบุญ
    [​IMG]
    เนื้อนาที่ไม่เกิดบุญ

    ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงประกอบด้วยองค์ห้า เป็นช้างไม่คู่ควรแก่พระราชา
    ไม่เป็นราชพาหนะได้ ไม่นับว่าเป็นของคู่บารมีของพระราชา. องค์ห้าอะไรเล่า ?
    องค์ห้าคือ ช้างหลวงในกรณีนี้ เป็นช้างที่ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย, ไม่อดทน
    ต่อเสียงทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย,
    ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อออกศึก ได้เห็นหมู่พลช้างก็ดี, หมู่พลม้าก็ดี,
    หมู่พลรถก็ดี, หมู่พลราบก็ดี, (ของฝ่ายข้าศึก) แล้ว ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย
    ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อออกศึก ได้ยินเสียงหมู่พลช้างก็ดี, หมู่พล
    ม้าก็ดี, หมู่พลรถก็ดี, หมู่พลราบก็ดี, ได้ยินเสียงกึกก้องแห่งกลอง
    บัณเฑาะว์ สังข์และมโหระทึกก็ดี, แล้วก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจ
    จะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อออกศึก ได้กลิ่นมูตรและกรีส (ปัสสาวะ
    และอุจจาระ) ของช้างทั้งหลาย ชนิดที่เป็นชั้นจ่าเจนสงครามเข้าแล้ว ก็ระย่อ
    ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า
    ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อออกศึก เมื่อไม่ได้รับการทอดหญ้า
    และน้ำมื้อหนึ่งหรือสองมื้อ สามมื้อ สี่มื้อ หรือห้ามื้อ แล้วก็ระย่อ ห่อหด
    ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า
    ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไร
    เล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อออกศึก ถูกศรที่เขายิงมา
    อย่างเร็วกะทันหันเข้าหนึ่งลูก หรือสองลูก สามลูก สี่ลูก หรือห้าลูกแล้ว
    ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้
    ชื่อว่า ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยเหตุ
    ห้าอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรแก่ของบูชา ไม่ควรแก่ของต้อนรับ
    ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรทำอัญชลี ไม่เป็นเนื้อนาบุญของโลก
    อย่างดีเยี่ยม. เหตุห้าอย่างอะไรกันเล่า ? เหตุห้าอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้
    เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย, ไม่อดทน
    ต่อกลิ่นทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ติดใจยินดีในรูปอันเป็นที่ตั้ง
    แห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. !
    ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ติดใจยินดีในเสียงอันเป็น
    ที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ
    อย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ติดใจยินดีในกลิ่นอันเป็น
    ที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ
    อย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ติดใจยินดีในรสอันเป็นที่ตั้ง
    แห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้
    ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไร
    เล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ติดใจ
    ยินดีในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลาง
    อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยเหตุห้าอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรแก่ของบูชา ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรทำอัญชลี ไม่เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างดีเยี่ยมเลย.

    _______________

    ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๗๖/๑๓๙,
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญฉลองพระพุทธรูปรับวัตถุมงคล.561939/
     
  16. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  17. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  18. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  19. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
  20. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฏก ตอน หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์
    [​IMG]
    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,
    พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์,
    และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น, ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ความเกิด เป็นทุกข์, ความแก่เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์,
    ความตาย เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไรร่ำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,
    ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ ; กล่าวโดยสรุปแล้วปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย !ตัณหา เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย !ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่, ที่มีประมาณเล็กน้อย มีอยู่, ที่คลายช้า มีอยู่,และที่คลายเร็ว มีอยู่.
    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ความเป็นต่างกันของทุกข์.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ย่อมถึงความหลงใหล หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่า “ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ความทุกข์มีความหลงใหลเป็นผล หรือมิฉะนั้น ก็มีการแสวงหาที่พึ่งภายนอกเป็นผล. ภิกษุทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ผลของทุกข์.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย !ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, ได้แก่
    สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
    สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
    สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
    ภิกษุทั้งหลาย ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์,
    พึงรู้จักผลของทุกข์,พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น,
    เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล.
    ที่มา หนังสือ อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น หน้า254
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๓๖๙ ข้อที่ ๓๓๔
     

แชร์หน้านี้

Loading...