ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    14 ตุลาคม 2545
    ความตั้งใจของตน เป็นผลประโยชน์เกิดขึ้นได้ มีเกิดขึ้นได้ ดีเกิดขึ้น บุญเกิดขึ้น
    ชั่วเกิดขึ้น บาปเกิดขึ้น

    เจตนาหํ กมฺมํ ภิกขาล อหํ วทามิ
    เจตนาความจงใจของเกิดขึ้นจากความตั้งใจ
    จึงให้คิดอ่านในตนของตนอย่าให้เสียประโยชน์

    ชาติชีวิตนี้ได้พบปะศาสนาของพุทธแล้ว ให้ตั้งใจให้ดี
    คำสอนขององค์พุทธะมีอยู่ ปราชญ์บัณฑิตผู้ชี้ทางมีอยู่
    ยุคนี้ศาสนาพุทธของพระพุทธเจ้าโคตมะ ยังมีอยู่ครบถ้วน
    เราต้องใส่ใจให้มาก
    หากตกไปในยุคสุญญกัปป์แล้ว ดีไม่เกิดได้ในสันดานของสัตว์โลก
    เหตุเพราะไม่มีผู้แนะนำพร่ำสอน

    เดี๋ยวนี้ ใจเราถือบุญเอาไว้
    ถือบาปเอาไว้ เมื่อถือมันจึงลำบากและเดือนร้อนได้
    เราผู้เกิดมา
    จึงได้มาเสาะหาหนทางแก้ไขความดีและความชั่วนี้
    เกิดมาก็เพื่อขัดเกลาปฏิปทาของตน
    เกิดมาก็เพื่อขจัดสิ่งใด ๆ อันจะพาให้เกิดในโลก
    เพราะ
    สถานะการเกิดในโลกนี้เกิดได้หมด อยู่ทั่วไปหมดอาวาสชาติของสัตว์โลก
    หน้าที่สำคัญนั้นให้สนใจแก่ธรรม
    ให้ใส่ใจในธรรม

    อย่ามั่วแต่ใส่ใจ การเมา-การหา
    เราเมา - เราหา - เราทุกข์ อยู่อย่างนี้เอง จึงยังไม่พ้นทุกข์
    ให้ขวนขวายแก้ไขตนเอง
    อย่าเมาเกินไป อย่าหลงเกินไป
    จริงอยู่ตรงนี้ เดี๋ยวนี้
    เราปุถุชน คนมืด คนหนา ก็ให้อาศัยปุถุชนนี้เองแก้ไขปุถุชนของตน อย่าลุอำนาจของปุถุชน
    ท่านผู้ได้ธรรมได้สุขนั้น ไม่เกี่ยวข้องอะไรอันใดทั้งหมด
    มีกายใจ เป็นธรรม เสียทั้งหมด
    นิจจํ - เที่ยงแท้
    สุขํ เป็นสุข
    อนัตตา
    เรานั่งภาวนาอยู่นี้ ไม่ต้องคิดไปนั่นนี่
    ให้รู้ตัวเองว่า กาย - 1 -
    ใจ - 1 -
    กายอยู่ส่วนกาย ใจอยู่ส่วนใจ
    ใจเป็นผู้รู้ รักษากายอยู่
    หากยังจับใจไม่เป็น ก็ให้บริกรรม ผูกมัดใจไว้ก่อน ให้รู้ว่าใจอยู่ของใจเช่นนี้
    การทำภาวนาให้ยินดีพอใจ สะสมเรื่อย ๆ ไป
    เราทำผ่านมาแล้วเท่าใด กี่ชีวิต
    ต่อไปภายหน้าเราจะทำอีกเท่าใด จึงจะผ่านจะพ้นทุกข์
    ตั้งใจของตน
    ตั้งใจของตนให้ถูกต้อง
    ครั้นหาก ใจเราอยู่ได้
    ใจเราตั้งได้
    บุญกุศลเกิด
    สุขสงบเกิด
    องค์ฌานเกิด
    วิชชาเกิด
    ณาณทัสสนาเกิด
    ปัญญาเกิด
    และธรรมะเกิดขึ้นในตัวมันเอง เป็นเอง รู้เอง เห็นเอง แจ้งเอง ขั้นแรกมันต้องเป็นโลกียธรรมเสียก่อนเพราะโลกียธรรมนี้ เป็นฐานของโลกุตตรธรรม

    พยายามให้เป็นคนดี ทำดี
    อย่าได้เป็นคนชั่ว ทำชั่ว
    ฝักใฝ่ตั้งใจของตน
    มีสติ
    อดทน
    ขยันหมั่นตั่งใจ
    ไม่ประมาท

    ตั้งใจ ภาวนาของตน
    อย่าเป็นคนขี้คร้าน
    .......................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญ ( โดย หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญ ( ตอนสุดท้าย )
    14 ตุลาคม 2545
    18.30-20.30 น.

    เราทุกคน บุญยังไม่พอ ปัญญาตาใจยังไม่พอ
    ปัญญาภายในอันพาแก้ไขยังไม่พอ
    ให้เราทุกคนจงคิดอ่านในตนของตน

    ปัญญาภายนอกนั้นเป็นวิชาของโลกอันเกิดจาก สุตตะ
    เกิดจาก จินตะ

    ปัญญาภายในได้แก่ใจอันสงบ
    ใจอันสงบละเอียดสุดแล้วจึงรู้ช่องทาง ในการแก้ไขของตนได้

    ผู้มีปัญญาจึงแก้ไขตนเองได้ว่า อะไรพาเกิด
    การเกิดมานี้ บางชีวิตก็น่าพอใจ
    บางชีวิตก็ไม่พอใจในตนเอง
    พอใจเพราะได้สุข - สุคติสวรรค์พรหมโลก
    ไม่พอใจเพราะได้ทุกข์ยากลำบาก ตกนรกเดรัจฉาน

    เกิดมาแล้วต้องเป็นอยู่เช่นนี้ ทุกชีวิตก็เป็นทุกข์
    อยู่ด้วยทุกข์
    จบท้ายด้วยทุกข์
    ด้วยเหตุนี้ ทุกข์จึงมีอยู่ประจำ
    ทุกข์นี้เองที่พาให้ลุ่มหลง มัวเมา ดีใจ เสียใจ เพลิดเพลิน พอใจ ไม่พอใจ
    ในชีวิตที่ไม่คิดอ่านในการดีการชั่ว
    ก็มีแต่ กิน-เล่น-หา-เมา ชั่วก็เกิดได้ง่าย
    เราทุกคนเดี๋ยวนี้ให้คิดอ่านของตน
    เพิ่มบุญกุศล

    บุญมากจิตใจก็ดีความตามพร้อม ตั้งมั่นได้
    หากไม่อบรมจิตนี้ จิตย่อมฟุ้งซ่าน
    จึงให้ใส่ใจดูแลการอบรมจิต - คบคนเช่นใด
    - ชอบร่วมคนเช่นใด
    คนมีธรรมหรือคนมีชั่ว

    ตลอดมา-อ่านมา เราทุกคนล้มลุกคลุกคลานทุลักทุเลกันเรื่อยมา ลุ่ม ๆ ดอน มาตลอด
    จึงให้ตั้งใจให้มากเข้าไว้
    เดี๋ยวนี้ ธรรมมะของพระพุทธะมีอยู่ให้ใช้ปัญญา
    ระลึกไว้เป็นอารมณ์
    เราทำสมาธิภาวนา กายนั่งอยู่
    ใจผู้รู้สึกอยู่ในกายนี้
    ให้จดจ่อคิดบริกรรมอยู่ตลอด
    นี่เองคือการฝึกหัดใจ
    การรักษาตนของตน
    การฝึกหัดใจของตน ให้ทำทุกวัน พยายามตลอดไป
    เพราะหนทางการจะพ้นจากทุกข์มีอยู่
    ตั้งใจเถิด...........
    ................................................................................................................................
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    19 ตุลาคม 2545
    ให้ตั้งใจว่าเราจะทำดี จะไม่ทำความชั่วใด ๆ
    ภาวนา เป็นความดี
    ไหว้พระสวดมนต์ เป็นความดี
    รักษาศีล เป็นความดี
    เมตตา เป็นความดี
    เคารพอ่อนน้อม เป็นความดี
    เลี้ยงบิดา-มารดา เป็นความดี
    ระลึกถึงพระรัตนตรัย เป็นความดี
    ระลึกพิจารณา เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เป็นความดี
    ทำความดีไว้เป็นอารมณ์อยู่เสมอ เรียกว่า อารัมณปัจจัยโย

    จึงให้คิดอ่านในตนของตน
    การเกิดมาในโลกนี้ การทำดีนั้นมีน้อย แต่ที่เป็นความชั่วนั้นมาก แม้แต่ผู้จะแนะนำพร่ำเตือนก็มีน้อย
    ปราชญ์บัณฑิต มีน้อย
    พระพุทธองค์ทรงอุบัติขึ้นในโลกก็น้อยห่างกันมาก
    เราทำความดีของตนเอาไว้แต่เดี๋ยวนี้
    รู้ทำดี รู้รักษาตัวเอง ฝักใฝ่ในนิสสัยปัจจัย ใกล้ชิดคนดี หมั่นฝึกฝนอบรมตนของตน ให้ดำเนินไปในนิสสัยปัจจัย ให้ฉลาด คิดอ่าน
    พยายามเพิ่มความดี อย่าเพิ่มความชั่วไว้ให้แก่จิต
    อย่าไปเอาพวกคนพาลมาเป็นแบบย่าง
    คนไม่ดีคนพาล คนทราม ก็ปล่อยให้ตามเรื่องของเขา
    ตั้งใจของตน
    ตั้งใจนับตั้งแต่ชีวิตนี้ตลอดต่อไป
    เพราะ 1. เกิดมาเรามิได้เป็นคนมาโดยตลอด
    2. เรามิได้ทำความดีอย่างต่อเนื่อง
    3. เรามิได้รู้ดีหรือรู้ชั่วเช่นนี้ตลอดไป
    ฉะนั้นจึงให้ตั้งใจเพราะ เราถือเอาบุญแลบาปเป็นของตน ส่วนของใด ๆ ในโลก ไม่มีใครเอาไปได้สักสิ่งอัน
    ให้เข้าใจว่า บาปมันพาทุกข์
    บุญมาพาให้สุข
    ปุถุชน ต้องทำอยู่เช่นนี้ หลงอยู่
    มืดอยู่
    เมาอยู่
    เพลินอยู่
    ส่วนท่านผู้ได้สำเร็จนั้น ท่านอยู่กับธรรมทั้งกายทั้งใจ หมดเชื้อบุญเชื้อบาป
    อยู่ ณ ธรรมมะสภาวะรู้แจ้งอย่างหนึ่ง
    เดี๋ยวนี้เราฝึกให้ใจมันตั้ง
    ก็เพื่อให้สามารถละคลายทำลายในทุกข์ทั้งหลายได้
    เอาสติจับผู้นึกคิดนั้นไว้
    รักษาผู้รู้นึกคิด
    รักษาไม่อยู่ เผลอไป ตั้งใจใหม่
    ตั้งใจ กาย มีอยู่
    ใจมีอยู่
    ................................................................................................................................
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    20 ตุลาคม 2545

    ตั้งใจของตน
    ระลึกพุทโธ อยู่เสมอในใจ
    เพราะใจของเรามันของยาก

    ผู้จะได้สำเร็จนั้น ท่านแก้ไขไปเสียทุกอย่าง
    ไม่เกี่ยวข้องในเครื่องกังวลอันใด แต่...ผู้จะแก้ไขได้นั้นต้องเป็นผุ้มีบารมีแก่กล้า
    สัตว์ผู้บารมีแก่กล้าได้ก็เพราะอาศัยการบำเพ็ญมานาน
    จนกระทั่งถึงยุคสมัยของพระโพธิสัตว์จะลงมาตรัสเป็นองค์พุทธเจ้านั้น ท่านก็ตรวจตราหมู่สัตว์โลกเสียก่อนว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง
    บริษัทบริวารบารมีแก่กล้าหรือยัง
    อินทรีย์แก่กล้าแล้วหรือยัง

    เมื่อเห็นว่าพร้อมแล้ว จึงลงมาตรัสรู้จุติเกิดในคันภะมารดา เพราะครั้นตรัสรู้แล้วก็จักพร่ำสอนได้ง่าย
    เรียกว่า มีผู้สำเร็จได้ง่ายรออยู่ก่อน

    1. หมู่สุขวิปัสฺสโก
    พวกสำเร็จได้ง่าย มีปัญญาพอสำเร็จ แก้ไขเอาเฉพาะตัว มิได้ไปห่วงอาลัยใคร สำเร็จแล้วแล้วไป

    2. หมู่เตวิชโช พวกวิชชา 3 หมู่นี้ต้องได้ วิชชา 3 จนชำนาญ เรียนวิชชาจนจบ อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ทั้ง กสิณ ฌาน และองค์ญาณ ต้องชำนาญ เพราะต้องพร่ำสอนเอาผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง ศิษย์หา หมู่นี้ต้องบำเพ็ญมามาก เกิดตายไว้มากในโลก

    3. หมู่ฉพัภิญโญ หมู่วิชชา 6
    เรียนวิชชาละเอียดมากขึ้นกว่าหมู่วิชชา 3 ทำงานมากกว่า ช่วยสัตว์โลกได้มากกว่า

    4. หมู่ปฏิสัมภิทา 4 เรียนจนชำนาญแจ่มแจ้งในปฏิสัมภิทา 4
    อรรถถ้อยคำวาจาพูดธรรม
    ภาษาใด ๆ ในโลก
    ปฏิกาณ การเทศนาโต้ตอบ
    หมู่ปฏิสัมภิทา 4 เหมือนกันกับหว่านแหเอาปลา แล้วแต่จะได้บางครั้งมีผู้สำเร็จมาก
    บางครั้งมีผู้สำเร็จตามน้อย
    พวกเราเดี๋ยวนี้
    ไม่รู้จักกิริยาอาการใด ๆ ของใจ
    ยังไม่รู้ - หนทางที่จะรู้ได้ ก็คือ การเจริญสมถะทำความสงบให้มันเกิดขึ้นก่อน
    จนจิตสงบตั้งอยู่ ตั้งรู้อยู่ได้
    - นานเข้าก็จะรู้ได้ในตนของตน
    ในหนทางของตน

    จากนั้นก็ให้ตั้งใจขัดเกลาตนของตนให้เจริญ ให้ถูกต้อง แม่นยำต่อไป
    - นั่นคือ การเดินวิปัสสนา
    ให้ชำนาญ แกล้วกล้า จนเป็นผู้ แจ้งรู้ใน
    กาย-เวทนา-จิต-ธรรม
    - จนที่สุดแก้ไขความยึดถือใด ๆ ได้ แม้แต่ในจิตของตน จนเป็นธัมโม

    ให้รู้จักแก้ไขตนของตน
    แก้ไขให้หมดจด จนรู้หนทาง จนรู้ช่องต่อไปของตน
    ผู้เดินในวิปัสสนาญาณ ก็ต้องเจริญอีกมาก ทำอีกมาก ทำจนแยบคาย นับนานหลายภพหลายชาติ
    เดี๋ยวนี้ ต้องตั้งจิตให้เป็นสมถะ ทำให้สงบ
    ทำให้จิตตั้ง
    ให้รู้จิต ดูจิตอย่างเดียว
    นานไปต่อไปก็รู้เรื่องของตนได้

    จึงให้รักษาปฏิปทาของตนให้ผ่องใส
    หนทางของสวรรค์
    หนทางของพรหม
    พรหมโลกียะ ยังยึดถือในตนของตนอยู่
    พรหมโลกุตตระ หมดเชื้อการยึดถือ

    คำว่า “พรหม” หมายความว่า จิตตั้งอยู่ในอุเปกขาเอกัคคตา
    จิตยังยึดอยู่ในอุเปกขา
    คือ พรหมวิหารเปกขา จิตตั้งอยู่ในอารมณ์อันนี้จนกว่าจะเสื่อมไป เรียกว่า ฌาณเสื่อม ก็จุติลงมาเกิดอีก

    เราเดี๋ยวนี้
    นั่งภาวนาอยู่ จิตฟุ้งซ่านบุญกุศลมีน้อย
    จึงต้องทำความเพียร แต่พอมาทำก็ไม่ละเอียดไม่ติดต่อ
    ต่อเนื่องกันไป
    ชีวิตทำความดีก็ไม่ต่อเนื่อง
    ความเป็นปุถุชนของตนก็มาก
    บุญ บาป ทั้งสองก็ยังละมิได้
    ผู้บุญแรงนั้นเขาได้ทำไว้มาก เจริญมามาก
    อดโกรธ
    อดโลภ
    อดหลง
    สะสมกำลัง
    สะสมบ่มอินทรีย์
    รักษากาย วาจา ใจ วัตถุสิ่งของใด ๆ ให้ถูกต้อง
    ให้เป็นบุญอยู่เสมอ

    กรรมความชั่วของตนนั้นไม่ทำ
    ทำแต่กรรมความดี สะสมตั้งใจในธรรม
    รักษาความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้องดีงาม ตรงต่อหนทางแห่งความพ้นทุกข์
    ผู้มีปัญญาท่านรักษาของตนเช่นนี้
    พอมาเจริญภาวนาก็เป็นง่าย ได้ง่าย เจริญง่าย ก้าวหน้าเร็ว
    ตัวเราเดี๋ยวนี้ หากแต่ยังไม่ตั้งเวลา
    ก็ต้องตั้งใจทำความดี บำเพ็ญต่อไป
    ให้มี ศรัทธาความเชื่อ
    ให้มีสติ
    ให้มีวิริยะ ให้อดทน
    ให้มีปัญญา
    เรียกว่า ให้ฝึกฝนตนของตน
    แปลว่า บำเพ็ญบารมีความดี จึงให้ตั้งใจ ใฝ่ใจให้มาก

    เวลาเดี๋ยวนี้ บุญของเรา
    ปัญญาของเรา
    ธรรมมะของเรา
    หน้าที่ให้สะสมกันไป ทำกันไป ตั้งใจกันตลอดต่อไป
    ทำไปจนกว่าจะเอาชนะได้
    ทำสมถะ
    เจริญวิปัสสนา
    ให้รักษาจิตของตนให้ถัดถี่
    อดทน
    ตั้งใจ
    ให้เป็นงานในหน้าที่ของจิต
    .......................................................................................................................................
    โอวาทธรรมของหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ

    วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

    จัดพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ
    โดย
    กองทุนธัมฺมสวนะ คณะศายานุศิษย์

    มหาปุญโญวาทเล่ม 1


    ....................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญ ( โดย หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อรรถธรรมคำแก้ว

    อรรถธรรมคำแก้ว ( บทนำ )
    คำปรารภ
    หนังสืออรรถธรรมคำแก้วซึ่งเป็นการรวบรวมธรรมที่หลวงปู้จามมหาปุญโญได้แสดงธรรมในโอกาสต่างๆซึ่งบางคำก็เหมือนเป็น “วรรคทอง” ของท่านเลย เพราะท่านได้พูดบ่อยๆ ก็เพื่อเป็นการเตือนสติและอบรมปัญญาแก่ลูกศิษย์ทั้งหลาย ทั้งฆารวาส ญาติโยม-พระเณร อยู่เสมอ เป็นการย้ำเตือนเพื่อไม่ให้เกิดความประมาท และละเลยการปฏิบัติ บางคราวมีลูกศิษย์มาขอบวช ท่านก็พยายามเตือนว่าการบวชปฏิบัติไมใช่ของที่จะทำเล่นๆแค่ตดใส่ผ้าเหลอง แล้วก็สึกออกไปกินเหล้า บวชมีหลายบวช ทั้งดีและไม่ดี ตามลักษณะดังต่อไปนี้ บวชหลบ, บวชลี้, บวชตามประเพณี, บวชหนีสงสาร, บวชผลาญข้าวสุก, บวชสนุกตามเพื่อน, บวชเปื้อนศาสนา, บวชหาบุญใหญ่, บวชไปนิพพาน

    ในการนี้ อาตมาภาพขออนุโมทนาในกุศลเจตนาคณะผู้รวบรวมขึ้นชื่อว่าการให้ (ธรรมเป็นทานย่อมชนะการให้ทั้งปวง) เพราะเป็นการให้ของที่เป็นประโยชน์ ทั้งผู้ให้และผู้รับ
    ด้วยความยินดียิ่ง
    พระเพชร อรุโณ
    ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖

    ถ้อยคำนำทาง
    ข้าพเจ้าได้รวบรวมโอวาทธรรม คติธรรม สุภาษิต คำคม ที่ออกมาจากผอบแห่งวาจาของหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ จากที่ท่านเล่าสู่กันฟัง แสดงให้ฟัง แนะนำ ชี้แจง ในต่างวาระต่างโอกาส นับแต่อยู่ร่วมกับองค์ท่าน มาแต่เล็กแต่น้อย จนวันนี้
    ให้เข้าใจว่าคำพูดวาทะขององค์ท่าน มีภาษาอยู่หลายสรรพสำเนียง มีทั้งภาษาผู้ไทย ภาษาคำเมือง ภาษากลาง ภาษาอีสาน ปะปนกันอยู่ ที่เป็นเช่นนี้เพราะองค์ท่านได้ผ่านไปในท้องถิ่นนั้นจึงได้เก็บภาษาเอาไว้แต่ก็ได้แปลศัพท์เอาไว้บ้าง พอได้แนวทางในการทำความเข้าใจ

    ส่วนโอวาทธรรมนั้นได้รวบรวมจากที่องค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้เมตตาแสดงไว้ในระหว่างพรรษาปี ๒๕๔๖
    เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า องค์ท่านเป็นบุคคที่หาได้ยากยิ่งผู้หนึ่งควรที่เราทั้งหลายจะได้กราบไหว้บูชา และเรียนรู้คุณธรรมอันเป็นธรรมมงคลนี้ ต่อไป


    สวัสดี
    พระธมฺมธโร ( แจ๋ว )
    ผู้รวบรวม
    ๒๕๔๖



    [​IMG]
    บรรดาสานุศิษย์ที่อยู่ร่วมสำนัก และได้รับคำสอนขอบองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตเถรต่างยกย่องเชิดชูองค์ท่านเหนือเกล้าว่าเป็น " พระบูรพาจารย์ " ผู้ขจัดความมืดมน เป็นดุจผู้ยังประทีปให้สว่างไสวในที่มืด ได้ยึดหลักธรรมที่องค์ท่านให้ไว้เป็นเนติแบบอย่างดำเนินรอยตาม และยอมรับโดยดุษฎีด้วยหลักเหตุผลอันงดงามที่ต่างเคยสัมผัสองค์ท่ายพระบูรพาจารย์ว่า

    สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ
    ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพา ความสะอาดพึงได้รู้ได้ด้วยการทำงาน
    สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา

    ปัญญาธรรมขององค์ท่านพระอาจารย์มั่น ถือเป็นอมตานุสสรณียธรรม มูลมรดกชิ้นเอกที่หาผู้แสดงได้ยากในปัจจุบัน
    กุลบุตรกุลธิดา ผู้มาสุดท้ายภายหลังพึงน้อมรับสารธรรมนี้ มาประพฤติให้สมกับได้อัตภาพฐานะความเป็นมนุษย์ ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นบูรพาจารย์ผู้ให้เมตตาธรรมโดยแท้ สมกับนามมคธฉายาท่านว่า

    ภูริทตฺโต : " ผู้ให้ปัญญาประดุจดั่งแผ่นดิน "

    พ.ศ. ๒๔๘๙
    ณ เสนาอาสนะป่าบ้านหนองผือ ต. นาใน อ. พรรณานิคม
    จ. สกลนคร

    หลวงปู่จามไปพักที่วัดบ้านนาในกับหลวงปู่หลุย จันทสาโร ต่อจากนั้นหลวงปู่หลุยจึงพาหลวงปู่จามเข้ากราบหลวงปู่มั่น ซึ่งพักอยู่บ้านหนองผือนาใน แล้วเรียนท่านว่า “ สามเณรจาม ตอนนี้บวชเป็นพระแล้วครับกระผม ”
    หลวงปู่มั่นกล่าวว่า “ บวชแล้ว เพราะท่านมีนิสัยนักบวช ” หลวงปู่มั่นจึงให้โอวาทแก่หลวงปู่จามว่า “ เมื่อก้าวมาสู่หนทางแห่งความดี ต้องเดินหน้าสู้ทน ตายเป็นว่า ( ตายเป็นตาย ) อยู่เป็นว่า ( อยู่เป็นอยู่ ) เหตุเพราะทางอื่นนั้นปราศจากความร่มเย็น ไม่เป็นความสุข อันนี้ความดีจะเป็นผลของตน ผู้เดินอยู่ในทางนี้ตลอดไปนั้น จิตใจก็อยู่ใกล้ธรรมอยู่กับธรรมไม่ละทิ้งความดี ตนก็จะเป็นผู้ราบรื่น ร่มเย็น ผาสุกอยู่ได้ในปฏิปทาแห่งตน ”
    ต่อจากนั้นหลวงปู่มั่นก็เทศนาต่อไปว่า “ ให้ตั้งใจเจริญพุทธคุณ ตามรอยบาทของพระพุทธเจ้า ถือด้วยใจ ปฏิบัติด้วยใจ เจริญพุทธเนตฺติ ด้วยการประพฤติเพื่อความหนักแน่นในธรรม ผู้ถึงพระพุทธเจ้าด้วยหัวใจเท่านั้นที่เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัยอยู่ได้
    อตฺตทนฺตํ ฝึกตนด้วยดี หนาแน่นด้วยพุทธคุณทั้งหลาย
    สมาหิตํ มีใจมั่นคง หนักแน่นสมเป็นบรมครู
    เทวาปินํ นมสฺสามิ เทพเทวาทั้งหลายก็นอบน้อม
    พฺรหฺมมุนาปิ ปสํสิโต แม้พรหมก็สรรเสริญ ชาวโลกก็นิยม
    อรหนฺตสมฺมาสมฺพุทโฺธ เป็นพระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นเอง ตกแต่งมาด้วยตนเอง เป็นผู้ประมาณตนมาด้วยธรรมโดยตลอด
    จิตของท่านผู้เข้าสู่นิพพานได้นั้น ท่านก็กำหนดรู้จิตรู้ใจของท่านเช่นกัน แต่ให้รู้เฉพาะ การบุญ การบาป การทุกข์ การโทษ สารธรรม และอสารธรรมเท่านั้น
    รู้ด้วยการวางใจใน การทาน การศีล การสมาธิ การปัญญา

    รู้ด้วยการวางใจในสัตว์ ในบุคคล ในตัวตน ในเรา ในเขา ในเทพเทวา ในหมู่พรหม ในหมู่นรกเปรตผี

    กำหนดรู้จนได้ หมายเป็นว่ารู้ แต่ไม่ถือรู้ ไม่ถือจิต ไม่ถือใจวางใจคืนแก่อนัตตาธรรม

    วางใจไว้ดุจแผ่นดินเหมือนแผ่นดินวางต่อการรองรับสรรพสิ่ง

    แม้ภพ แม้วิภพ ก็วางคืนแก่ภพและวิภพ
    เป็นเช่นนี้ก็เป็นผู้เข้าสู่นิพพานได้ ”
    เมื่อเทศน์จบหลวงปู่มั่นหันมาสำทับว่า “ ท่านจามเข้าใจไหม จำไว้ให้ดีนะ ”
    เมื่อลากลับไปที่วัดบ้านนาใน หลวงปู่จามซาบซึ้งในคำสอนนี้ด้วยความปีติสุขใจยิ่ง พยายามทบทวนจำไว้ให้ขึ้นใจ จะได้ไม่ลืม เพราะถือว่าคำสอนนี้เป็นกุญแจสำคัญแห่งชีวิตนี้
    ต่อมาก็ได้มีโอกาสฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นในวาระครั้งสำคัญ โดยหลวงปู่จามได้อธิษฐานจิตถามหลวงปู่มั่นล่วงหน้าไว้ ๔ ครั้ง ปรากฏว่าหลวงปู่มั่นทราบด้วยญาณทัศนะและเทศนาในเรื่องที่ต้องการทราบ
    ครั้งที่ ๑ หลวงปู่จามมีความสงสัยว่า “ คนที่ได้ธรรมะเป็นอย่างไร ทำไมถึงได้ธรรมะ ปฏิบัติอย่างไร ” จึงอธิฐานถามท่านหลวงปู่มั่น
    คืนวันนั้นหลวงปู่มั่นยก “ หิริโอตฺตปฺป ” ขึ้นมาเป็นหัวข้อแสดงพระธรรมเทศนา อธิบายธรรมะไว้ดังนี้
    “ บุคคลผู้ทรงธรรม มีธรรมบริสุทธิ์ สะอาด มีใจมั่นคงในธรรม เป็นบุคคลผู้ได้ธรรม รู้ธรรมทั้งหลายได้ชื่อว่าเป็นสัตตบุคคล
    “ หิริโอตฺตปฺปสมปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา
    สนฺโตสปฺปุริสาโลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร ”
    หิริธรรม เป็นอัชฌัติกาธรรม เป็นธรรมภายใน มีตัวเป็นใหญ่ ละอายแก่ตัว ละอายบาป ละอายชั่ว

    หิริธรรม ขาวสะอาดตั้งอยู่ได้เพราะเป็นผู้มีสติ มีขันติธรรม นี่ส่วนภายใน ส่วนภายนอกนั้นเป็นบุคคลผู้คำนึงในชาติตระกูลของตน อายุวัยของตน หนทางข้างหน้า ปฏิปทาของตน

    ผู้ทรงหิริธรรมจึงเป็นผู้กล้าหาญเด็ดเดี่ยว

    โอตฺตปฺธรรม เป็นพหิทธาธรรม เป็นธรรมภายนอก มีผู้อื่นเป็นเหตูอ้าง มีโลกเป็นเหตุอ้าง กลัวต่อผลของความชั่ว กลัวต่อบาปกรรมทุกข์โทษ นี่ส่วนภายใน แต่ส่วนภายนอกนั้นเป็นบุคคลผู้มีโสรัจจธรรม เป็นผู้สงบต่อกิเลสทั้งปวง อีกทั้งเป็นผู้คำนึงในธรรมของตนอยู่เสมอ เกรงแก่ใจของบุคคลอื่น กลัวต่อคำติเตียนของประชุมชน เกรงต่อท่านผู้รู้ แม้ในที่สุดอาชญาจองจำให้โทษแก่ร่างกาย เป็นต้น

    ผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะนี้จึงเป็นผู้ทรงศีลทรงวินัย ตั้งอยู่ในสังวร เมื่อตั้งอยู่ในสังวรธรรมแล้ว อวิปปฏิสาร ( ความไม่เดือดร้อน ) ความเดือดร้อนใดๆก็เป็นอันตัดขาดไป

    เมื่อเป็นผู้หาโทษไม่ได้แล้ว ความปราโมทย์ ความปีติ ปัสสัทธิ สุขสมาธิธรรม ก็เกิดได้ตามมา เมื่อธรรมเหล่านี้สมบูรณ์ในตนแล้ว ความรู้ในธรรมทั้งหลาย ความรู้เห็นเป็นจริงตามธรรมก็ปรากฏขึ้นมา เป็นของเฉาะแก่ตน

    รู้ อัชฌัตตพหิทธาธรรม ธรรมอันมีภายนอกและภายใน บังเกิดโยนิโสมนสิการ พิจารณาโดยไตรลักษณญาณแห่งตนจนเป็นไปได้ถูกทางถูกธรรม

    นิพพิทา ความเบื่อหน่ายเกิดขึ้นแล้ว วิราคะความคลายตนออก เพิกกิเลสออกไป จึงเป็นวิมุตติบุคคล เป็นบุคคลผู้หลุดพ้น วิสุทธิ ผู้บริสุทธิ์โดยแท้

    ผู้วิสุทธิทั้งนอกทั้งใน ทั้งภายนอกและภายในจึงเป็นผู้ได้ธรรม เป็นพระอรหันต์เจ้าแน่แท้

    ส่วนผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณวุ่นวาย ด้วยกิเลสคลุกเคล้าอยู่ด้วยตัณหา บ้าหน้าบ้าหลังอยู่กับอุปาทานอยู่ตราบใด เหตุไฉนจึงจะเป็นสัตตบุคคลผู้ได้สุกกธรรมได้

    หิริโอตตัปปะ เป็นต้นทางของธรรม ผู้ขาดหิริโอตตัปปะ ย่อมทำบาปได้วันยังค่ำ ”
    พระสงฆ์ที่พักอยู่ตามสถานที่ต่างๆ จะมารวมตัวกันฟังธรรมเสมอ เมื่อหลวงปู่มั่นเทศนาจบลงก็หันหน้ามองไปที่หลวงปู่จาม แล้วถามเป็นเชิงปรารภว่า
    “ เป็นอย่างไรท่านจาม ผู้ได้ธรรมเป็นอย่างนี้เข้าใจไหม ”
    หลวงปู่จามตอบว่า “ เข้าใจครับกระผม ”
    บรรดาพระสงฆ์ที่นั่งฟังก็หันมามองหลวงปู่จามกันทั้งหมด

    เมื่อหลวงปู่จามกลับไปที่พักก็รีบนั่งภาวนาเพื่อทบทวนคำสอนของหลวงปู่มั่น เพื่อให้จำไว้อย่างขึ้นใจ
    ครั้งที่ ๒ หลวงปู่จามอยากรู้เรื่อง “ พระธรรมวินัย ว่าธรรมอย่างหยาบ ธรรมอย่างกลาง ธรรมอย่างละเอียด เป็นอย่างไร ” จึงได้กำหนดจิต อธิษฐานถามหลวงปู่มั่น และหลวงปู่จามก็คิดนึกในใจต่อไปว่า “ อยากรู้ถึงปฏิปทาภพชาติของตนเองด้วย ”
    ในคืนนั้นหลวงปู่มั่นได้เทศนาดังนี้
    ท่านยกหัวข้อธรรมขึ้นว่า
    “ หีนาธมฺมา มชฺฌิมาธมฺมา ปณีตาธมฺมา ” แล้วอธิบายธรรมและวินัยควบคู่กันไปให้รู้เข้าใจกระจ่าง และได้แจกแจงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเที่ยงคืนพอดี
    ครั้งที่ ๓ หลวงปู่จามอยากรู้เรื่องอภิธรรม พอตอนกลางคืน หลวงปู่มั่นก็เทศนาเริ่มต้นที่มูลกัจจายนะ จากนั้นก็แสดงพระอภิธรรมจนเป็นที่เข้าใจได้ลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง
    ครั้งที่ ๔ มี ๒ เหตุการณ์ที่สำคัญกล่าวคือ

    เหตุการณ์แรก มีพระผู้เฒ่าหลวงพ่อหลวงตาเข้าไปศึกษาธรรมะกับหลวงปู่มั่น มีพระผู้เฒ่าองค์หนึ่งนิสัยโลภ แสดงออกทางโลภอาหารเป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน

    หลวงปู่มั่นก็เทศนาเรื่อง “ ความโลภทำให้เสียธรรม ” เป็นอุบายไล่พระหลวงพ่อองค์นี้ ต่อมาในวันรุ่งขึ้นพระองค์นั้นก็หายไป ไม่กล้ามาฟังธรรมและพักอาศัยอีกต่อไป

    เหตุการณ์ที่สอง หลวงปู่จาม เกิดข้อสงสัยว่าเราเองก็ทำความเพียรอย่างจริงจังมากแต่ไม่ค่อยได้ผลดีตามที่ปรารถนา พระองค์อื่นก็คงเป็นเช่นเดียวกับเราคงมีอีกไม่ใช่น้อย จึงอธิษฐานจิตถามหลวงปู่มั่นไว้ล่วงหน้า

    หลวงปู่มั่นได้เทศนากัณฑ์แรกจบไปก็เริ่มเทศนาเตือนสติในตอนท้ายว่า “ เอาจริงเอาจังเกินไป หรือขวนขวายพยายามพากเพียรมากไปแต่ขาดปัญญา ก็เป็นเหตุให้ใจดิ้นรนอยากได้ อยากเป็น อยากเห็น อยากสำเร็จ อยากบรรลุธรรม

    โลโภธมฺมานํ ปริปนฺโถ ความอยากของตนจึงเป็นอุปสรรคของตน จึงให้ดูใจดูตนของตนด้วยสติปัญญา ”

    เมื่อเทศน์จบหลวงปู่มั่นก็หันหน้ามาถามหลวงปู่จาม แล้วถามว่า “ เป็นอย่างไรท่านจาม ความโลภเป็นอย่างนี้เข้าใจไหม ”
    หลวงปู่จามตอบอย่างเคารพนอบน้อมเป็นที่สุดว่า “ เข้าใจซาบซึ้งเป็นที่สุดครับกระผม ”
    ..................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือ อรรถธรรมคำแก้ว วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( หลวงปู่จาม ) ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อรรถธรรมคำแก้ว ( ตอนที่ 1 )
    พ่อแม่ครูบาอาจารย์ตามลำดับพรรษา
    รายนาม อุปสมบท/ญัตติ
    ๑.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐

    ๒.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐

    ๓.หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๓ - ๒๔๓๕ (ญัตติ)

    ๔.หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖

    ๕.หลวงปู่บุญ ปญฺญาวุโธ พ.ศ. ๒๔๔๙

    ๖.หลวงปู่จูม พนฺธุโล ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๒

    ๗.พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม) ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙

    ๘.พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) พ.ศ ๒๔๖๑ (ญัตติ)

    ๙.พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พ.ศ ๒๔๖๖ (ญัตติ)

    ๑๐.พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสฺรังสี ) ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖

    ๑๑.หลวงปู่บุญมา ฐตเปโม ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗

    ๑๒.หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๖๗ (ญัตติ)

    ๑๓.หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗

    ๑๔.หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘(ญัตติ)

    ๑๕.หลวงปู่ขาว อนาลโย ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘(ญัตติ)

    ๑๖.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘(ญัตติ)

    ๑๗.หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พ.ศ. ๒๔๗๐ (ญัตติ)

    ๑๘.หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ (ญัตติ)

    ๑๙.พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ (ญัตติ)

    ๒๐.หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พ.ศ. ๒๔๗๑

    ๒๑.หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ (ญัตติ)

    ๒๒.พระครูญาณทัสสี (หลวงปู่คำดี ปภาโส) ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ (ญัตติ)

    ๒๓.พระญาณสิทธาจารย์(หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒

    ๒๔.หลวงปู่ซามา อจุตฺโต ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๓ (ญัตติ)

    ๒๕.พระธรรมวิสุทธิโสภณ (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗

    ๒๖.พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒

    ๒๗.หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒

    ๒๘.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม) ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕

    ๒๙.พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ ๒๔มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๖(อุปสมบทใหม่)

    ๓๐.พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗

    ๓๑.หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ญัตติ)​
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]อรรถธรรมคำแก้ว ( ตอนที่ 2 )
    คนเรามันจนความดี
    มันไม่จนความชั่ว
    จนความชั่วนั้นมันดี
    ................................................................................................................................
    บทภาวนาประจำ ของ หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ
    พุทธานุภาเวนะ
    ธัมมานุภาเวนะ
    สังฆานุภาเวนะ
    สีลานุภาเวนะ
    จาคานุภาเวนะ
    เมตตานุภาเวนะ
    เทวดานุภาเวนะ
    ................................................................................................................................
    ที่สูงเป็นดำ
    ที่ดำเป็นขาว
    ที่สั้นเป็นยาว
    ที่มั่นเป็นคลอน
    ที่หย่อนเป็นตึง
    ชั่วเป็นผี
    ดีเป็นคน
    จนเป็นทาส
    ฉลาดเป็นครู
    อวดรู้เป็นพาล
    ..........................................................................................................................
    1.
    พระพุทธเจ้าผู้เห็นทุกข์แล้วพ้นได้
    พระอรหันต์ผู้เห็นตามแล้วพ้นได้
    พระอริยเจ้าผู้เรียนตามแล้วปลดเปลื้องออกได้
    เหลือไว้แต่ตัวเราพวกเราเดี๋ยวจะอย่างใด
    .........................................................................................................................

    ปากนั้นอู้ธรรม
    ใจนั้นดำเหมือนมินหม้อ
    (อู้ - พูด, มินหม้อ – เขม่าติดหม้อ)
    ............................................................................................................................

    อยู่วัดสามปี ตีหัวจัวน้อย
    (จัว – สามเณร)
    ...........................................................................................................................

    คนดีเหมือนไม้ผลดก
    วันศีลไม่ละ วันพระไม่เว้น
    .............................................................................................................................

    วันพระไม่ขะลำ วันคำไม่เว้น
    (ขะลำ – เว้น, วันคำ – วันโกนวันพระ)
    ...........................................................................................................................
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บทภาวนาประจำภพชาติ
    พุทโธ โหมิ
    ธมฺโม โหมิ
    สงฺโฆ โหมิ
    นิพพาน ปจฺจยฺโย โหนฺตุ
    ...........................................................................................................................

    ครั่งใกล้ไฟ ไขใกล้แดด
    ใบบอนใกล้หนาม น้ำตาลใกล้มด
    หนุ่มใกล้สาว หรือจะอดอยู่ได้
    ...........................................................................................................................

    สันดานแมงภู่ บ่อยู่อ้อยอิ่ง
    สันดานแมงพิ้ง อ้อยอิ่งต่อยตอม
    (แมงพิ้ง - แมลงหวี่)
    สันดานแมลงวันใจมันถึงคูถ
    สันดานแมงผึ้งใจมันถึงน้ำหวานเกสร
    ...........................................................................................................................
    2.
    บาปไม่เห็น เป็นตนเป็นตัว
    บุญไม่เห็น เป็นตนเป็นตัว
    ใจไม่เห็น เป็นตนเป็นตัว
    แต่เป็นของมีฤทธิ์
    3.
    อย่าทำแบบโลก
    ให้ทำแบบธรรม
    ...........................................................................................................................

    เยียะหื้อเปิ้นฮัก ยากนักจักหวัง
    เยียะหื้อเปิ้นชัง กำเดียวก็ได้
    (ทำให้เพิ่นรัก, ทำให้เพิ่นชัง, กำเดียว - ขณะครู่เดียว)
    ...........................................................................................................................

    หลงตัวลืมตาย
    หลงกายลืมแก่
    หลงกามคุณลืมพ่อแม่
    ไม่มีพอ เพราะพอไม่เป็น
    ความพอ ไม่มีในโลก
    โลกคือ ใจนี้มีกิเลส
    ...........................................................................................................................

    บทรำลึกก่อนภาวนา
    พุทโธ เม นาโถ
    ธมฺโม เม นาโถ
    สงฺโฆ เม นาโถ
    นิพพาน ปจฺจยฺโย โหนฺตุ
    ...........................................................................................................................

    เสียเงินเสียคำ ฮิหาได้
    เสียน้ำใจ๋ จะหาไหนมาม่อ
    ( ฮิ – ก็, หาก , ม่อ -ที่ไหน)
    ...........................................................................................................................

    อยากมีความฮู้
    อย่าหลบหลู่ครูอาจารย์
    อยากเป็นหนี้ ให้เป็นนายหน้า
    อยากเป็นขี้ข้า ให้เป็นนายประกัน
    ...........................................................................................................................
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เฮาแฮงน้อย อย่าไปหาบหนัก
    กอนแอวบ่หัก คีงหลังจะก่อง
    (เราแรงน้อย, กอนแอว – บั้นเอว, คีงหลัง – สันท่อง, ก่อง - โก่ง)
    ...........................................................................................................................
    4.
    ข้าวเปลือกแกะเปลือกออกเป็นข้าวสาร
    ไม่งอกขึ้นฉันใด
    ใจเราก็ฉันนั้น
    หากแกะเปลือกอันห่อหุ้มใจออกไปได้
    ก็เป็นดวงใจอันบริสุทธิ์
    ให้รู้จักชำระกากของใจออกไป
    ...........................................................................................................................
    อยู่คนเดียวอย่างสงบ
    ดีกว่าคบพบปะคนพาล
    เด็กน้อย บ่ฮู้หนาว
    หนุ่มสาว บ่ฮู้ไข้
    คนเฒ่า บ่ฮู้ตาย
    (บ่ฮู้ - ไม่รู้)
    เฒ่าแก่แล้ว บ่ต้องมาสอน
    ไม้ขอนนอนมันตึงบ่ดัง
    (ตีไม้ขอนนอนมันไม่ดัง)
    ...........................................................................................................................
    5.
    ฝึกฝนตนเอง
    สะสมความดี
    ให้เป็นนิสสัยปัจจัยเอาไว้
    เหตุ ปจฺจยฺโย
    ทำเหตุอันใดไว้
    ย่อมได้รับผลเป็นปัจจัยอันนั้น
    ...........................................................................................................................

    ฟ้าฮ้องก่อนฝน
    คนเมาก่อนเหล้า
    (ฮ้อง – ร้อง)
    ไม่มีสิ่งใด ไม่ใช่ การศึกษาเรียนรู้โลก
    สิบปีอาบน้ำบ่หนาว
    ซาวปีแอ่วสาวบ่ก๊าน (20ปี)
    สามสิบปีบ่หน่ายสงสาร
    สี่สิบปีทำงานเหมือนฟ้าผ่า
    ห้าสิบปีสาวน้อยด่าบ่เจ็บใจ
    หกสิบปีไอเหมือนฟานโปก (ฟานร้องโปกๆ)
    เจ็ดสิบมะโฮกเต็มตัว (มะโฮก – ตกกระ)
    แปดสิบหัวเหมือนไห้ (หัวเราะเหมือนร้องไห้)
    เก้าสิบบ่ดีจักอย่าง
    ร้อยปีไข้ก็ตายบ่ไข้ก็ตาย
    ...........................................................................................................................
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    6.
    อย่าถือความเห็นผิด
    อย่าถือทิฎฐิอันผิด
    ในความเห็นใดๆต้องวางให้หมด
    ตนของตน
    จึงจักรู้ธรรมะของเราตถาคต
    ...........................................................................................................................
    เมียไต่ความผัว
    จัวไต่ความพระ
    มันไม่ดี
    (จัว – สามเณร)
    คบสมภารชวนไปชั้นฟ้า
    คบพ่อค้าอายุยืนหมื่นปี
    คบลัชชีตายวันนี้วันพรุ่ง
    (ลัชชี – ผู้มียางอาย)
    ...........................................................................................................................
    7.
    การภาวนาชื่อว่ารักษาสมบัติของตน
    ภาวนารักษาใจให้อยู่ได้
    รักษาใจให้ตั้ง
    ใจตั้งแล้ว จึงรู้จักธรรมะ
    ใจตั้งแล้ว บุญกุศล เกิดขึ้น
    ใจตั้งแล้ว สุขสงบ เกิดขึ้น
    ใจตั้งแล้ว เย็นอกเย็นใจ เกิดขึ้น
    ใจตั้งแล้ว ความสว่าง เกิดขึ้น
    ใจตั้งแล้ว รู้ความรู้เหตุรู้ผลรู้ธรรม
    ฉะนั้นให้รีบทำภาวนา
    ...........................................................................................................................
    ครูบาเฒ่า (พระเถระ)
    พระเจ้าเก่า (พระพุทธรูป)
    เจ้าเมิงจี (จี – น้อยหนุ่ม)
    อัคคีน้อย
    อย่าได้ประมาท
    แรง เหมือน มด
    อด เหมือน แร้ง
    แรง ดั่ง กา
    กล้า ดั่ง หญิง
    ...........................................................................................................................
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    8.
    รูปนามกายใจนี้
    พิจารณาเป็นวิปัสสนา
    จิตผู้รู้ จิตผู้เข้าใจ จิตผู้รู้จัก
    ทุกข์เพราะสังขาร
    สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
    อย่าไปยึดมั่นในสิ่งมิใช่ตนมิใช่ตัว
    ปล่อยวาง
    รูปจิต เจตสิก ปล่อยคืนแก่โลกหมด
    ดับสังขารได้จึงได้นิพพาน
    คนได้เข็ญใจคอมันซ่าน
    คนขี้คร้านบ่ทำการงาน
    ถ่อยคนพาลบ่ฮู้จักธรรม
    ดอกทองกวาวสีมันงามหายกลิ่น
    รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ
    ไม่รู้ไม่ชี้เป็นหนี้เขาจนตาย
    บวชหลบบวชลี้
    บวชหนีสงสาร
    บวชผลาญข้าวสุก
    บวชสนุกตามเพื่อน
    บวชเปรื้อนศาสนา
    บวชปูบวชปลา
    บวชมาม่าไวไว
    ...........................................................................................................................
    9.
    บัณฑิตทั้งหลาย
    จึงสอนให้เจริญบริกรรม
    ระลึก พุทโธก็ดี ธัมโมก็ดี สังโฆก็ดี
    ระลึก ถึงความเกิด – แก่ – เจ็บ – ตาย ก็ดี
    ระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี
    ระลึกถึงร่างกายก็ดี
    เหล่านี้เป็นบริกรรม คือเป็นเครื่องผูกมัด มิให้จิตแตกซ่านไปในที่อื่น
    ให้รู้อยู่กับอารมณ์อันนั้น
    จดจ่ออยู่อย่างนั้น
    ...........................................................................................................................

    น้ำเข้ากับน้ำ
    น้ำมันเข้ากับน้ำมัน
    ดินเข้ากับดิน
    สนุกอย่านอน (อย่านอนใจ)
    เมียวอนอย่ายิน (อย่ายินดี)
    หากินอย่าคร้าน (อย่าเกียจคร้าน)
    เข้าบ้านอย่าอาย (อย่าเอียงอาย)
    ผีตายอย่าขี้เหลียด (อย่ารังเกลียด)
    เพิ่นเคียดอย่าเคียดปัง (ปัง – โต้ตอบ)
    เพิ่นชังอย่าชังตอบ
    ...........................................................................................................................
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    10.
    ร่างกายมันตายแต่ใจมันไม่ตาย
    สรีระร่างกายอันนี้มีแต่คร่ำคร่ำไปทุกวันๆ ชำรุดไปทุกขณะ
    จะเอาสาระอะไรกับมันก็มิได้
    อย่าบำรุงแต่กายเกินไป
    ให้บำรุงใจนี้ให้มาก บำรุงด้วยธรรมะ
    ใจรับธรรมะนั้นมันอิ่ม มันอิ่มไปนาน
    กายนี้กินแล้วถ่าย ถ่ายแล้วกิน กินแล้วหา
    หามาแล้วกิน หมดแล้วก็หามาอีก
    ตั้งแต่เก่าแก่ดึกดำบรรพ์เป็นต้นมาใครๆตายแล้วไม่เห็น
    ได้เอาอะไรไปสักอย่าง
    ...........................................................................................................................
    เฮือนใกล้กว้าน (กำนัน ผู้ใหญ่ ผู้มีอิทธิพล เจ้านาย)
    บ้านใกล้วัด
    เป็นทุกข์เสี้ยงอย่าง (ทุกข์สุดๆ)
    เอาลูกเขามาเลี้ยง
    เอาเมี่ยงเขามาอม
    ...........................................................................................................................

    11.
    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
    ก็ธรรมะอันเก่านี้
    พระวินัยอันเก่า
    พระสูตรอันเก่า
    พระอภิธรรมอันเก่า
    เรามาฝึกฝน ก็ตั้งใจ
    มาตั้งใจเรียนรู้ต่อยอดของเก่า
    เรียนให้จบให้ได้ในชาติชีวิตนี้
    ...........................................................................................................................

    แม่หญิง
    แม่ญาง
    แม่กะถางนางไข่
    แม่ไต่ความผัว (ไต่ความ – เถียง)
    แม่ขนครัวลงล่าง (ย่าง – เดิน)
    แม่ย่างเหมือนเหาะ
    แม่เลาะเลียบรั้ว
    แม่ตูดตะกั่ว
    เคราะห์กระทำ กรรมข้อน
    เวรคอบ กระตอบเถิ่ง (มาถึง, ได้รับผล)
    (ข้อน – รวม, คอบ – ตอบแทน)
    ...........................................................................................................................
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    12.
    เดี๋ยวนี้พวกเกิดมาได้พบปะศาสนาของพุทธะ
    หน้าที่ของพวกเราควรคิดอ่านพิจารณาเพิ่มเติมความดี คือบุญกุศลของตน
    อย่าเข้าใจว่าบาปไม่มี
    อย่าเข้าใจว่าบุญไม่มี
    อย่าเข้าใจว่าโลกหน้าไม่มี
    อย่าเข้าใจว่าโลกนี้ไม่มี
    อย่าเข้าใจว่านรกไม่มี
    อย่าเข้าใจว่าสวรรค์ไม่มี
    อย่าเข้าใจว่าพรหมไม่มี
    อย่าเข้าใจว่าพระนิพพานไม่มี
    พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอริยเจ้า ท่านเป็นมาท่านพร่ำสอนมาเป็นลำดับๆ
    ผู้บารมีพร้อมทำความดีได้ถึงที่สุดก็หลุดพ้นไปได้
    คิดอ่านให้ดีเถิด
    ...........................................................................................................................
    เด็กน้อยเป็นพญา
    หลวงตาเป็นสมภารเจ้าวัด
    อยู่ไม่เป็นสุขได้
    นาสองเหมิง
    เมิงสองเจ้า
    ผัวขี้เหล้า
    ข้าวหมูกวน (หมูป่ารบกวนนาข้าว)
    มันเป็นทุกข์
    (เหมิง – หนองน้ำขนาดใหญ่, เมิง – เมือง, เจ้า – เจ้าแผ่นดิน)
    ...........................................................................................................................

    13.
    ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    เราหาช่องทางปลดเปลื้องมันออกไป
    โลภก็มาจากหลง
    โกรธก็มาจากหลง
    หลงเพราะขาดปัญญา
    หลงเพราะขาดธรรมะ
    หลงเพราะขาดความสงบ
    สอนตัวเจ้าของให้มาก เตือนตัวเองให้มาก
    แม้มันยากแสนยากก็ให้พยายาม
    ...........................................................................................................................

    พ่อขี้ยา
    นาตีนบ้าน (แปลงที่นาอยู่ติดที่พักอาศัย)
    มันเป็นทุกข์
    หมอผึ้ง (คนปีนผึ้ง)
    หมอตาล (คนขึ้นตาล)
    แม่มาน (คนมีท้อง)
    ควาญช้าง
    หมอทอย (คนขึ้นไม้)
    ลอยน้ำ (ว่ายน้ำ)
    ความตายติดตามทุกย่างก้าว
    ...........................................................................................................................
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    14.
    สมถะ คือ จิตอยู่
    จิตตั้ง
    กรรมฐาน คือ ปฏิภาค อสุภะ กสิณ อนุสฺสติ
    พรหมวิหาร ปฏิกูล ธาตุ ฌาน
    วิปัสสนา คือ ทุกขํ
    อนิจจํ
    อนตฺตา
    อุคคหโกศล เป็นฐานของวิชชา
    ปฏิภาคโกศล เป็นฐานของความรู้จริงเห็นจริงตามจริง
    ผู้จะเห็นธรรมะใจต้องตั้งอยู่ในธรรมสังเวชเสียก่อน
    ...........................................................................................................................
    ศิษย์สมภาร หลานเจ้าวัด
    มันดื้อ มันพาล
    มันไม่ยอมฟังคำของใครๆ
    ความดีต้องไม่ให้มีโทษ
    เพราะ ความดีนั้นเป็นธรรมะ
    ...........................................................................................................................
    ช่างเหล็กต้องตีเหล็ก
    ช่างปั้นหมอต้องตีหม้อ
    ครูอาจารย์หวังดีต่อลูกศิษย์ต้องตี
    ช้างมันดุเอาขอสับ
    เพื่อให้ดีงามเชิดหน้าชูตา
    ...........................................................................................................................
    15.
    สมบัติอันหายากที่สุด
    วิชชา
    ปัญญา
    ธรรมะ
    มรรค
    ผล
    นิพพาน
    สมบัตินี้ใครก็ทำให้ใครก็มิได้
    ...........................................................................................................................
    อยากดูวัดให้ดูถาน
    อยากรู้สมภารให้ดูเณร
    (ถาน – ห้องน้ำห้องส้วม)
    กินข้าวให้มันได้ความคิด
    อย่าเมากิน อย่าเมาคิด
    ให้รู้จักตนเอง
    ...........................................................................................................................
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    16.
    เราภาวนานี้ให้
    รู้จักกายตน
    รู้จักใจตน
    รู้พลธรรม
    รู้ว่าจิตมันตั้งยาก
    รู้อุบายแก้กาย แก้ไขใจ
    ตั้งใจให้ดี เสพสร้องความดี หลีกหนีความชั่ว
    ยึดถือเอาอินทรียธรรมเป็บาท
    ...........................................................................................................................

    คบคนพาล พาลพาไปหาผิด
    คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
    คบคนจน พาตัวเราตกต่ำ
    (คนจนความดี)

    นักปฏิบัติ 3 จำพวก
    1.มีหวัง
    2.หมดหวัง
    3.ไม่หวัง
    ...........................................................................................................................

    17.
    เรื่องดีเรื่องชั่ว
    เรื่องทุกข์เรื่องสุข
    ล้วนเป็นเรื่องของโลก
    เราจะเป็นโลก หรือจะเป็นธรรม

    18.
    อดทนไว้ก่อน
    ทุกข์ก็ทน
    สุขก็ทน
    ทนต่อบุพกรรมทุกอย่าง
    ให้เรารู้ว่าอยู่ตรงกลางของสุขทุกข์
    ...........................................................................................................................

    โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ไม่ได้
    มันจมไม่ลง
    ช้างอวดงา
    หมาอวดเขี้ยว
    เงี้ยวอวดดาบ
    (เงี้ยว – ไทยใหญ่ ;พระไทยใหญ่ชอบสะพายไปไหนมาไหนเสมอ)
    ...........................................................................................................................
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    19.
    หาความดีใส่ตนของตนด้วยเน้อ
    อย่ามัวเมาหลาย
    อย่าเอามัวเมา มาเป็นประมาณในชีวิต เมาชีวิต เมาวัย เมาลูกหลาน เมากินเมาอยู่ เมาโลก เมาวิชชาความรู้ เมาอยู่เมาหา
    ศรัทธามันพาให้เห็นทุกข์เห็นตัวเอง
    สุตตะ พาให้เกิดความรู้ความใจ
    อดทน พาเอาชนะสิ่งใดๆได้
    วิริยะ พาให้พ้นทุกข์ได้
    ปัญญา รักษาตัวรักษาตนได้
    ...........................................................................................................................

    จดจำไว้ให้ดี
    วิจารณ์ด้วยเหตุผล
    นำหน้าคนด้วยความประพฤติดีงาม

    อย่าเหยียบแผ่นดินผิด
    หาบน้ำไม่เป็นมันหกเรี่ยราด
    ...........................................................................................................................
    20.
    คนหาเสพด้วยสมาคมกับคนดี
    เป็นอยู่ไม่เบียดเบียนใครมีเจ้าของเป็นต้น
    ไม่เบียดเบียนธรรมะของพระพุทธเจ้า
    หมั่นระวังรักษาตัวให้สะอาด
    เหมือนหม้อน้ำหากข้างในมีน้ำพร่องไปมันก็จะกระฉอกออกได้
    หากมันเต็มเปี่ยมยกไปเคลื่อนไปน้ำก็อยู่ได้
    ใจที่เต็มด้วยธรรมะ ก็ทรงอยู่ได้เป็นองค์พระธรรม

    21.
    ดีมันเกิดขึ้นแล้วก็รักษาเอาไว้
    ชั่วมันรุกล้ำใจก็ใช้ปัญญาแก้ไข
    อย่าให้ตกนรก
    ...........................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือ อรรถธรรมคำแก้ว วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( หลวงปู่จาม ) ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]อรรถธรรมคำแก้ว ( ตอนที่ 3 )
    กินน้ำตาลเคลือบยาขม
    ดีกว่ากินขนมเคลือบยาพิษ
    ....................................................................................................................

    หญิงสามผัว
    จัวสามโบสถ์
    ร่มไม้ใกล้ทาง
    อย่าห่างจากธรรม
    ....................................................................................................................

    22.
    การฝึกฝนอบรมธรรมะ ให้เกิดขึ้นในใจนี้
    อย่าเข้าใจว่ามันหนักเกินกว่ากำลังของตน
    พอใจในการปฏิบัติ จดจ่อพากเพียร ใคร่ครวญ คิดอ่านแก้ไข
    ใช้ปัญญากำกับ
    อย่าอยาก
    อย่าโกรธให้เจ้าของ
    อย่าน้อยใจ
    ทำไปเท่าที่ตนทำได้
    อกุศล อุปสรรค ตัวขัดขวางมันมีอยู่ก็เรื่องของมัน เรื่องของความตั้งใจเป็นเรื่องของเรา
    เล็กน้อยก็ต้องเอา สะสมเรื่อยไป
    ....................................................................................................................

    สวรรค์ นรก ก่อนตายทั้งนั้น
    ....................................................................................................................

    หัวโล้นญาดลำ หัวดำญาดเทศน์ (ญาด - แย่ง)
    ไม้คดมีประโยชน์
    สำหรับเทียบไม้ต้นตรง
    ....................................................................................................................

    23.
    ท่านอาจารย์แหวน เทศน์ว่า “พุทโธ ทำเมา
    ธรรมโม ทำเมา
    สังโฆ ทำเมา”
    ดูเหมือนทุกวันนี้มันชัดเจน
    อยากสำเร็จก็เมา
    อยากได้ก็เมาศึกษาปริยัติก็เมา ปฏิบัติก็เมา
    พระสงฆ์สังโฆพาเมา เมาโลกเมาเงินเมาหาเมาขอ
    24.
    อย่าเอาความเกียจคร้านมาทำความดี มันไม่เจริญ
    บาปเป็นกำลังของใจพาให้ใจเศร้าหมองเรื่อยๆ
    ใจเศร้าหมองไปนรก
    ใจมีบุญเป็นกำลังไปสวรรค์
    ใจได้องค์ฌานไปพรหมโลก
    ใจได้ธรรมะพาให้ถึงนิพพาน
    ....................................................................................................................
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปลวกตัวน้อย
    มันทำบ้านอยู่ใหญ่โต
    แข็งดีต้องไม่หัก
    อ่อนดีต้องไม่ขาด
    ....................................................................................................................
    25.
    กรรมก็หาบ
    บาปก็หาม
    เวรก็คอน
    โทษก็หิ้วหนัก อะไรกันนักหนา
    ไม่รู้ตัวเองอย่างนี้ เมื่อใดมันจะพ้นทุกข์ได้

    26.
    มีบุญกุศล
    มีหิริโอตตัปปะ
    มีศีลมีวินัย
    มีธรรมมีปัญญา
    มีได้มันต้องฝึกหัดฝึกฝน
    มันต้องเป็นของน้อยไปสู่ของมาก
    จากของยากๆต่อไปมันหากง่ายเอง
    ....................................................................................................................

    ถ้อยคำนำฉลาดและโง่ออกมาแสดง
    อย่าหวังสบายก่อนทำ
    ความสบายมันอยู่หลังงาน
    ....................................................................................................................

    27.
    หน้าที่ของผู้ฝึกหัด
    1. กราบไหว้คารวะอ่อนน้อม
    2. สดับรับฟัง
    3. จาคะในปัจจัยทั้ง4
    4. พิจารณาตนของตน
    5. ฝักใฝ่ในกรรมฐาน
    6. สะสมปัญญา
    ปัญญามรรคนำออกจากโลก
    ปัญญาญาณพาให้รู้จักแก้ไขตัวเอง

    28.
    ทำดีของพวกเรามันต้องบังคับ
    ทนต่อความเกลียดคร้าน ความเมาหลับเมานอน
    อยากนอนไม่ให้มันนอน
    อยากเลิกไม่ให้มันเลิก ทรมานมันเอาไว้
    ....................................................................................................................

    งามอยู่ที่ผี
    ดีอยู่ที่ละ
    หายโง่
    หายบ้า
    หายเมา
    ก็หายจากโลก
    ....................................................................................................................
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    29.
    ท่านหลวงปู่ขาว ทำบุญอุปถัมภ์ค้ำชูบำรุงศาสนาของพระพุทธเจ้าสิขี ต่อมาได้เกิดอีกล้านชาติ เป็นคนเป็นเทวดาสลับสับเปลี่ยนกันมา จนมาเกิดในศากยสกุล แล้วบวชเป็นพระใหม่เข้าเป็นศิษย์ของพระเทวทัต พระใหม่เห็นผิดง่ายยังไม่รู้อะไร จนพระอัครสาวกไปช่วยเหลือเอาไว้ กลับมาหาพระพุทธเจ้ายังไม่ได้สำเร็จ มาเกิดใหม่บ้านบ่อชะเนง หัวตะพาน ได้เมียได้ลูกมาบวชใหม่ชีวิตสุดท้าย ได้โสดาบันอยู่แม่ปั๋ง เชียงใหม่ มาได้สำเร็จอยู่ถ้ำกลองเพล แก้ไขตัวเองหลุดพ้นไปได้
    โทษของการเข้าหมู่คนพาลทำให้สำเร็จยาก เนิ่นช้าเคยได้พบปะพูดคุยกันอยู่บ้านแม่หนองหาน ท่านสอนให้ระวังให้ดีในมาตุคาม เอาให้ดีนะๆ ไม่รักษาตัวเองสู้เขาไม่ได้นะจามนะ
    ....................................................................................................................

    ชนะตัวเองเป็น
    ก็พ้นจากทาส

    30.
    ท่านผู้ได้ธรรมะแล้ว
    ขี้เกียจขี้คร้านไม่มี
    สงสัยไม่มี
    เมาหลับเมานอนไม่มี
    เมากามไม่มี
    คิดร้ายปองร้ายไม่มี
    แต่…เราปุถุชนนี้มีเต็มอัดแน่นอยู่

    31.
    นักบวชตัวแทนพระสงฆ์ยุคใหม่
    พระทันสมัย อยากได้ของ อยากได้เงิน
    อยากได้คน อยากได้ยศ
    โทรทัศน์ โทรศัพท์ หนังสือพิมพ์
    สิ่งเพลินหลงใดๆ อีสาว
    ต้องยกให้เขาทั้งหมด
    ธรรมวินัย ศีลสิกขารู้อยู่ เรียนอยู่ แค่ไม่รักษา

    32.
    ทุกข์หายไปเพราะรู้จักใจตน
    ใจที่ไม่ยึดถืออันใด
    ใจที่ปราศจากอุปทาน
    ใจที่ไม่ห่วงอันใดอีกแล้ว
    33.
    ความตั้งใจของตนนี้
    จะเป็นผลเป็นประโยชน์แก่ตนของตน
    เพราะเป็นเจตนาหาสุขในโลกทั้งสอง
    จึงชื่อว่าบัณฑิต
    เพราะ เป็นผู้ละเว้น
    เป็นผู้รู้หนทาง
    เป็นผู้รู้นรกสวรรค์ รู้บุญรู้บาป รู้คุณโทษ
    การตั้งใจนี้ เองเป็นวิชาที่ยากสุดในโลก
    แต่ไม่พ้นการตั้งใจไปได้

    34.
    พระพุทธเจ้าโปรดเอาสาวกด้วยอุบายหลายอย่าง
    เป็นต้นว่าโปรดเอาด้วยฤทธิ์ปาฏิหาริย์
    โปรดเอาด้วยสอนให้รู้
    โปรดเอาด้วยวิชชา
    โปรดเอาด้วยเหตุผล
    โปรดเอาด้วยธรรม
    โปรดเอาด้วยการขู่ให้ทำ

    35.
    ความหลงมัวเมาของสัตว์ในโลก
    นี้ไม่รู้จบหรอก
    อีกทั้งหาประโยชน์อะไรก็มิได้
    36.
    ชีวิตใดจิตมีกำลังในการทำความดี
    ก็สามารถจักเอาชนะความชั่วใดๆได้
    ชีวิตใดหากจิตมีกำลังอ่อนก็ทำชั่วไว้มาก
    ผู้ที่ท่านตั้งใจอยู่เสมอนั้น ทำอะไรท่านก็ทำด้วยปัญญา
    ฝักใฝ่ตั้งใจให้เป็นคนใจสูงอยู่เสมอ

    37.
    ใช้ปัญญา รู้ดีรู้ชั่ว รู้นรกรู้สวรรค์ รู้หนทางหลุดพ้น
    ใช้ธรรมะรักษาจิตให้อยู่กับความดี
    ดำเนินไปในหนทางของมรรค

    38.
    บุญกุศล
    ความสงบสุข
    องค์ฌาน
    ปัญญาญาณ
    ธรรมะ
    มรรค
    เหล่านี้เราทุกคนต้องศึกษาเรื่อยไป

    39.
    ความเจริญก็เจริญมาจากความดี
    ความเสื่อมก็เสื่อมมาจากความชั่ว
    เราชอบให้ตนเสื่อมหรือชอบให้ตนเจริญ
    40.
    หิริโอตตัปปะ ให้มีอยู่ประจำตัวประจำใจ
    จึงสามารถทำดี และรักษาความดีเอาไว้ได้
    ทรงตัวอยู่ได้ ทรงคุณธรรมอยู่ได้
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    41.
    การจะแก้ไขตนเองต้องชัดเจน
    การชำระจิตใจ
    การละอุปาทาน
    การทำหน้าที่ของการบำเพ็ญ
    จึงจะเป็นหนทางอันชัดเจนได้

    42.
    เราไม่ประมาท
    เก็บเบ็ดเตล็ดเล็กน้อยสะสมเรื่อยไป
    พากเพียร ใส่ใจ
    พิจารณาในภพชาติของตนให้ได้

    43.
    อย่าเมาหลายในตัวบุคคล
    ครูบาอาจารย์พาไปนรกมันมากนะ
    อย่าว่าเป็นนักบวชแล้วดีไปหมด
    เวลาไปตกนรก ผู้เราถือเป็นครูอาจารย์ อยู่ข้างล่างเราลงไปอีก
    คบคนคบนักบวชให้ระวังให้ดี

    44.
    กายเป็นของโลก ใจเป็นของโลก เรียนไปไม่จบ
    กายเป็นรูปของพระธรรม
    ใจเป็นใจของพระธรรม อันนี้จบพรหมจรรย์

    45.
    ผู้ที่ได้สำเร็จนั้น เหมือนเม็ดข้าวสาร
    เหมือนกับเพชรที่เจียระไนแล้ว
    เชื้อของการเกิดหมดไป กิเลสาวะทั้งหลายหมดไป

    46.
    ใจดวงนี้นับแต่เกิดเป็นตัวเป็นคนมามันฟุ้งซ่านอยู่ตลอด
    ชีวิตที่จะมาฝึกหัดให้มันตั้งอยู่ได้มันมีน้อย
    ฉะนั้นการที่จะเอาสำเร็จให้ได้นั้นมันยากยิ่งนักหนา

    47.
    ลาภ ยศ สุข ทรัพย์ สรรเสริญ ความสมบูรณ์ในชีวิต
    ทุกข์ยาก ตกอับ ยากจนเข็ญใจ ถูกความเสื่อมขาดแคลนในชีวิต
    ดี สุข บุญกุศล
    บาปกรรมชั่วทุกข์โทษ
    สิ่งเหล่านี้มันมีอยู่คู่กับเกิดตาย
    ปรุงแปลงอยู่เสมอในใจของเรา
    ใจอยู่ในรูปอันใด ก็ไม่พ้นในสิ่งเหล่านี้ เว้นเสียแต่ว่า
    ใจนั้นเป็นใจอันบริสุทธิ์เท่านั้น

    48.
    อย่ามาถามหาความสำเร็จ
    มันยังนาน – ยังอีกไกล ในหนทางของตน
    อย่าด่วนอยากได้
    ทำเรื่อยไป ทำดีเรื่อยไป ภาวนาเรื่อยไป

    49.
    กัลป์นี้เป็นภัทรกัลป์
    พระพุทธเจ้ามาตรัสแล้ว 4 พระองค์เหลือไว้
    องค์หนึ่ง พระศรีอริยะ จะมาตรัสอยู่อินเดีย
    แล้วมาตั้งศาสนาอยู่จังหวัดพิษณุโลก
    แต่เดี๋ยวนี้คำสอนทุกประการของพระพุทธเจ้าโคตมะอยู่ครบสมบูรณ์ ใส่ใจของตน

    50.
    ให้รู้ใจอยู่ รู้ว่าใจมันกระทบกับอะไรอยู่ - สุขทุกข์
    - บุญบาป
    - ปัญญาธรรม
    - มรรคผล
     

แชร์หน้านี้

Loading...