พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม

ในห้อง 'ห้องแสดงวัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย วะระปัญญ์, 12 พฤศจิกายน 2018.

  1. วะระปัญญ์

    วะระปัญญ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2018
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +53
    ...ในข้อเขียนบางส่วนของ คุณวิม อิทธิกุล เขียนลงในบทคาวม พระสมเด็จ
    เมื่อ 26 เมษายน 2513 / หน้าที่ 15 ว่า
    " ...... พิมพ์ทรงเกศบัวตูม มีลักษณะกึ่งกลาง ระหว่างพิมพ์ทรงเจดีย์ (บางบล็อคพิมพ์)
    กับพิมพ์ทรงสังฆาฏิ ลักษณะที่ควรสังเกตุมี:
    -ลักษณะพระเกศป้อมสั้น โคนใหญ่คล้ายพระเมาฬี
    -สัดส่วนขององค์พระ ขนาดเท่าทรงสังฆาฏิ ไม่โปรงชลูดเหมือนพิมพ์ทรงเจดีย์
    -พระพาหา(แขน)ทั้งสองข้าง ไม่เบียดชิดลำองค์พระ เหมือนพิมพ์เจดีย์
    -การทอดพระพาหา มีอาการงอ พระกัปประ (ศอก) ไม่เหมือนพิมพ์สังฆาฏิ
    โดยทั่วไป การทอดพระพาหา ของพิมพ์สังฆาฏิ มักจะลาดมนไม่ได้ส่วน
    การงอศอกของพิพม์เกศบัวตูม คล้ายไปทางพิมพ์ฐานแซม แต่พระพาหาล่ำและสั้น
    กว่าพิมพ์ซานแซม
    -พระกรรณมีลักษณะเป็นหูบายศรี แต่ติดไม่ชัดลางเลือน
    -พระอังสาและอุระไม่ปรากฏเป็นร่องลึก ไม่เหมือนพิมพ์สังฆาฏิ
    พระบางองค์พิมพ์ที่กดติดชัด จะปรากฏเป็นริ้วสังฆาฏิพาด
    จากพระอังสาซ้ายไปขวา
    -ช่วง(กว้าง)ระหว่างฐาน ทำนองเดียวกันกับพิมพ์สังฆาฏิ ต่างที่ฐานทุกชั้น มีความหนากว่า
    ฐานชั้นกลาง มีลักษณะลาดคมขวาน และบางบล็อคที่ติดชัด จะแสดงหัวฐานเป็นเท้าสิงห์........"

    ...พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม องค์นี้พิมพ์ทรงถูกต้อง เนื้อหาดูง่าย
    ฐานชั้นล่าง หัวฐานซ้าย และเส้นซุ้ม ดานบนพระเกศ พิมพ์แตก พื้นผิวภายในเส้นซุ้ม
    เป็นรอยขยุกขยิกไม่เรียบ เข้าใจว่า เนื้อมวลสารที่เตรียมกดพิมพ์ขณะนั้น คงแฉะน้ำไปหน่อย จึงปรากฏรอยเหนอะให้เห็นขอบขวาองค์พระ เห็นเส้นบังคับแม่พิมพ์ชัดเจน ถ้านายช่างตัดตามเส้นบังคับพิมพ์ องค์พระก็จะมีลักษณะคอดกลาง ดูไม่งาม จึงตัดกินเนื้อที่ออกไปนิดหนึ่ง นี่เป็นความชาญฉลาดของช่าง
    ..ด้านหลังเรียบสวยงามมาก พระองค์นี้ คงอยู่ในกรุไม่นาน มีคราบราขี้กรุติดมานิดหน่อย
    ภาพนี้ถ่ายจาก Samsung Note4 เชิญชมครับท่าน วิพากวิจารณ์ได้เต็มที่...

    BKP_BT01.jpg BKP_BT02.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...