Unseen เมืองบาดาล

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 26 ตุลาคม 2005.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    เมืองบาดาล

    อยู่ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

    <IMG src="http://www.hamanan.com/tour/kanchanaburi/muangbadan/muangbadannew.jpg">

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>[​IMG] ฤดูกาลท่องเที่ยว
    ... เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน เป็นช่วงที่น้ำในเขื่อนลดลงต่ำสุด
    </TD></TR><TR><TD class=mc8 align=right bgColor=#f1f8ff colSpan=2> </TD></TR><TR><TD class=mc9 colSpan=2>[​IMG] ค่าธรรมเนียมเข้าชม
    ... ไม่เสียค่าเข้าชม แต่ต้องเช่าเรือไปชม ราคา 500 บาท / 10 ท่าน / เรือ 1 ลำ
    ... เช่าเรือได้ที่ แพซองกาเรียน้อย และ ซองกาเลียรีสอร์ท


    [​IMG] การเดินทาง :-

    [​IMG]
    แผนที่การเดินทางไปยังเมืองบาดาล

    [​IMG] ทางรถยนต์ :-
    [​IMG] จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเพชรเกษม ( ทางหลวงหมายเลข 4 ) มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี

    [​IMG]
    จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสายปิ่นเกล้า - นครชัยศรี ( ทางหลวงหมายเลข 338 ) มุ่งหน้าสู่นครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี

    [​IMG] ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่านแยกนครชัยศรี

    [​IMG]
    จากแยกนครชัยศรี ขับตรงไป โดยจะผ่านแยกบ้านแพ้ว ผ่านสะพานไปตัวเมืองนครปฐม ผ่านแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้นจะถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ( สะพานนี้จะอยู่เลนซ้ายสุด )

    จากแยกนครชัยศรี - สะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี.. ระยะทางประมาณ 24.4 กิโลเมตร

    หมายเหตุ..
    ตามแยกต่างๆ ไม่ต้องเลี้ยวนะครับ ให้ขับตรงไป
    ให้ไปขึ้นสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี


    ระยะทางจากแยกนครชัยศรี - แยกบ้านแพ้ว ประมาณ 8.5 กม.
    ระยะทางจากแยกบ้านแพ้ว - สะพานไปตัวเมืองนครปฐม ประมาณ 0.5 กม.
    ระยะทางจากสะพานไปตัวเมืองนครปฐม - แยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 6.4 กม.
    ระยะทางจากแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี - สะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 9 กม.


    [​IMG] เมื่อถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ให้ท่านขับขึ้นสะพานไป หลังลงสะพานแล้ว จากนั้นขับตรงไปประมาณ 11.2 กิโลเมตร ท่านจะพบสี่แยก ( แยกซ้ายไปบ้านโป่ง ตรงไปไปถ้ำค้างคาว เลี้ยวขวาไปกาญจนบุรี ) ให้ท่านเลี้ยวขวา แล้วขับตรงไป ประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงตัวอำเภอท่ามะกา จากนั้นให้ขับตรงไปประมาณ 18.5 กิโลเมตร จะถึงแยกซ้ายไปตัวอำเภอท่าม่วง ไม่ต้องเลี้ยว ให้ขับตรงไปประมาณ 11.1 กิโลเมตร จะผ่านศาลากลางจังหวัด ซึ่งอยู่ด้านขวามือของท่าน จากนั้นขับตรงไป ประมาณ 2.4 กิโลเมตร จะผ่าน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลาง เขต 1 ( ททท ) ซึ่งอยู่ด้านขวามือของท่าน เลยจาก ททท ไปประมาณ 200 เมตร ทางด้านขวามือของท่าน คือ สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นขับตรงไปประมาณ 3.9 กิโลเมตร ท่านจะผ่านแยกซ้ายมือเข้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไม่ต้องเลี้ยวให้ขับตรงไป จากแยกซ้ายเข้าสะพานข้ามแม่น้ำแควขับตรงไปประมาณ 2.6 กิโลเมตร ท่านจะพบสี่แยก ถ้าตรงไปจะไปน้ำตกเอราวัณ + เขื่อนศรีนครินทร์ ให้ท่านเลี้ยวซ้ายที่แยกนี้ มุ่งหน้าสู่อำเภอไทรโยค เมื่อเลี้ยวซ้ายแล้ว ให้ขับตรงไป ( ไม่ต้องเลี้ยวที่แยกไหนนะครับ ขับตรงอย่างเดียว มุ่งหน้าสู่อำเภอทองผาภูมิ ) ประมาณ 135.7 กิโลเมตร ( หลักกิโลเมตรที่ 125 ทางหลวงหมายเลข 323 ) ท่านจะพบสามแยก ( ตรงไปไปอำเภอทองผาภูมิ + เขื่อนเขาแหลม ถ้าเลี้ยวขวาไปอำเภอสังขละบุรี )ให้ท่านเลี้ยวขวามือไป สังขละบุรี

    [​IMG] เมื่อเลี้ยวขวามือแล้ว ขับไปตามเส้นทาง ซึ่งเป็นทางลัดเลาะตามไหล่เขา เป็นทางโค้ง ต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง ประมาณ 74 กิโลเมตร จะถึง สังขละบุรี เลยตัวอำเภอสังขละบุรีประมาณ 1 กิโลเมตร ให้ท่านสังเกตทางด้านซ้ายมือ จะมีป้ายชื่อที่พัก ซองกาเลีย รีสอร์ท ให้ท่านเลี้ยวซ้ายเข้าไปจอด ณ ลานจอดรถ จากนั้นสามารถติดต่อขอเช่าเรือไป เมืองบาดาล ได้จากซองกาเลียรีสอร์ท

    ...รถเก๋งไปได้นะครับ ...เป็นทางลาดยางตลอดเส้นทาง..

    ...คิดว่าไปไม่ถูกโทรมาที่ 0-1629-3354...โจ ( เจ้าของเว็บหามานานดอทคอม )


    [​IMG] ทางรถโดยสารประจำทาง :-
    [​IMG]
    จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ กรุงเทพฯ - กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยสามารถนั่งรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี แล้วไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี

    [​IMG] จากนั้นนั่งรถสายกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี ( รถไม่มีแอร์ ) แล้วไปลงที่ท่ารถสังขละบุรี ใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองถึงสังขละบุรีประมาณ 4 ชั่วโมง จากนั้นต่อรถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ค่ามอเตอร์ไซต์รับจ้าง 10 บาท ไปที่ ซองกาเลีย รีสอร์ท จากนั้นสามารถติดต่อขอเช่าเรือไป เมืองบาดาล ได้จากซองกาเลียรีสอร์ท


    [​IMG]
    ใช้บริการรถ ของบริษัท เอเซียไทรโยคเดินรถ จำกัด ตั้งอยู่ที่ตัวเมือง
    * อัตราค่าโดยสาร รถตู้ปรับอากาศ 118 บาท, รถปรับอากาศใหญ่ 151 บาท
    * เวลารถ 7.30-16.30 น ทุก 1 ชั่วโมง
    * ระยะเวลาเดินทาง ประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที
    * จากท่ารถสังขละบุรี นั่งรถมอเตอร์ไซต์ 10 บาท ไปยัง ซองกาเลีย รีสอร์ท


    หมายเหตุ รถปรับอากาศชั้น 1 สายกรุงเทพ - กาญจนบุรี ค่าโดยสาร 79 บาท
    ................. รถปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพ - กาญจนบุรี ค่าโดยสาร 62 บาท

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา : hamanan.com



    ภาพถ่ายจากเมืองบาดาล :- 24 ตุลาคม


    <IMG src="http://www.hamanan.com/tour/kanchanaburi/muangbadan/muangbadan.jpg">

    โบสถ์จมน้ำ



    <IMG src="http://www.hamanan.com/tour/kanchanaburi/muangbadan/muangbadan6.jpg">

    ภาพภายในโบสถ์จมน้ำ




    <IMG src="http://www.hamanan.com/tour/kanchanaburi/muangbadan/muangbadan4.jpg">

    เจดีย์จมน้ำ

    <IMG src="http://www.hamanan.com/tour/kanchanaburi/jadeephuttakaya/jadeephuttakaya.jpg">

    เจดีย์พุทธคยา


    <IMG src="http://www.hamanan.com/tour/kanchanaburi/sapanmone/sapanmone4.jpg">

    สะพานมอญ


     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    โบสถ์ตอนน้ำลด
    [​IMG]
    โบสถ์..ด้านหน้า
    [​IMG]
    เศียรพระพุทธรูป
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    โบสถ์..ด้านข้าง

    [​IMG]

    ต้นไม้


    [​IMG] สถานที่ใกล้เคียง
    [​IMG] สะพานมอญ
    [​IMG] เจดีย์พุทธคยา
    [​IMG] วัดวังก์วิเวการาม ( วัดหลวงพ่ออุตตมะ )

    ช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ..น้ำในเขื่อนจะลดลง..ทำให้เห็นโบสถ์..เต็มหลัง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2005
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    สวยมาก อยากไปเที่ยวจังเลยอ่ะตา
    สวย จริง ๆ ไม่เคยรู้เลยว่ามีที่แบบนี้ในเมืองไทย
     
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ตาก้อเพิ่งรู้ ตอนที่นั่งหารายละเอียดอ่าน เพื่อจะนำเสนอเนี๊ยะแหล่ะแป้ง ไปกาญจน์ก็บ่อยมาก..กกก...ชอบรูปที่ 2 อ่ะ..ดูให้ความรู้สึก "ขลัง" และอีกหลายๆความรู้สึก...
     
  5. hexidecimal

    hexidecimal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,026
    ค่าพลัง:
    +1,637
    คนถ่าย ถ่ายเก่งแฮะ ทำให้อยากไปซะแล้ว
     
  6. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    อืม...ครับ
     
  7. coolz

    coolz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,594
    ค่าพลัง:
    +1,337
    สวยมากเลย อยากไป อยากรู้ประวัติ
     
  8. คุณจ๋า

    คุณจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +166
    อีกมุมมองหนึ่งของ "เมืองบาดาล" สังขละบุรี

    http://www.trekkingthai.com/cgi-bin/webboard/print.pl?content=4112&board=trip

    อีกมุมมองหนึ่งของ "เมืองบาดาล" สังขละบุรี
    <HR><HR>

    [​IMG]

    อันนี้คัดลอกบทความมาอีกทีน่ะล

    "
    ใครๆ ก็คงอยากจะเห็นว่า 'เมืองบาดาล' ที่อยู่ในแผนโปรโมท ของการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ตามแคมเปญ Unseen Thailand นั้น เป็นอย่างไร แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า เบื้องหลัง ก่อนที่"เมืองบาดาล"จะกลายเป็นเมืองใต้น้ำในวันนี้ แท้จริงแล้ว คือเมืองที่ท่วมท้น ไปด้วยน้ำตา และความอยุติธรรม

    ผืนน้ำกว้างไกลมีความหมายแห่งชีวิตและเรื่องราว


    เล่าขานตำนานเมืองสังขละบุรี

    อยู่ใต้ผิวน้ำชัวนิจนิรันดร์ราวเมืองบาดาล

    ใครจะเชื่อว่า คราใดเมื่อน้ำลดเมืองบาดาลทั้งเมืองก็ปรากฏให้ทุกคนเห็น

    หรือใครจะดิ่งดำลงไปก็จะเห็นลวดลายแสนวิจิตรของวิหารแห่งเมืองใต้บาดาล

    เมืองบาดาล เขื่อนเขาแหลม จ.กาญจนบุรี

    นี่คือคำโฆษณาในคู่มือ Unseen in Thailand ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่บรรยายความน่ามหัศจรรย์ของเมืองบาดาลในเขื่อนเขาแหลม จ.กาญจนบุรี

    เจ้าหน้าที่ ททท.ภาคกลางเขต 1 บอกเล่าอย่างไม่เป็นทางการถึงสาเหตุที่เลือกสถานที่ดังกล่าว "ททท.ส่วนกลางสั่งมาว่าให้สำรวจดู จริงๆ มีที่อื่นแต่ไปยาก เราเลยเลือกที่นี่ ที่มันออกมาสวย เพราะ ททท. ใช้ช่างภาพมืออาชีพถ่าย แต่ไม่รู้ว่าหลวงพ่ออุตตมะคิดอย่างไร (ที่วัดวังวิเวการามที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นวัดของท่านที่จมน้ำด้วยเขื่อนแล้วตอนนี้มาถูกโปรโมทเพื่อการท่องเที่ยว)

    เมืองบาดาลทั้งเมืองที่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์...มนุษย์ยุคนี้

    "มันเคยมีความยิ่งใหญ่ ถ้าเราเก็บเอาไว้จะมีค่ามากกว่าเขื่อนหลายหมื่นหลายพันเท่า" วีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ เริ่มเล่าย้อนความหลังก่อนการสร้างเขื่อนเขาแหลม

    วีรวัธน์ ซึ่งช่วงที่สร้างเขื่อนนั้น เขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร บอกว่า สภาพของกาญจนบุรี มีแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำแควน้อยกับแควใหญ่ มีต้นน้ำตรงบริเวณชายแดนไทย-พม่า คือ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อต้นน้ำมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เมื่อมีแม่น้ำสมบูรณ์ก็ถูกจ้องไว้สร้างเขื่อน ทั้งแควน้อย-แควใหญ่จึงถูกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สร้างเขื่อนทั้งสองแคว แควใหญ่เป็นเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนท่าทุ่งนา แควน้อยเป็นเขื่อนเขาแหลม สภาพเดิมของทั้งสองแควเป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์มีชุมชนอยู่ริมน้ำทั้งสองสาย ภูมิปัญญาของชุมชนทำให้บริเวณทั้งแควน้อย แควใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์มาก

    อำเภอสังขละบุรีเก่า (ซึ่งปัจจุบันถูกน้ำท่วมไปหมดทั้งอำเภอ) อยู่ติดแม่น้ำแควน้อยสองฝั่ง ฝั่งตะวันตกเรียกว่า 'ฝั่งมอญ' ฝั่งตะวันตก คือ 'ฝั่งไทย' กับ 'กะเหรี่ยง' มีสะพานลวดสลิงเป็นสะพานแขวน

    "ตอนเช้ามืด ถ้าเรานั่งกินกาแฟริมแม่น้ำแควน้อยตรงคอสะพานอยู่ฝั่งไทย-กะเหรี่ยง มองไปฝั่งมอญจะมีหมอกเต็มไปหมด บรรยากาศแบบนั้นสวยมาก ซึ่งเราหาไม่ได้อีกแล้ว ณ วันนี้" วีรวัธน์ เล่า

    ความยิ่งใหญ่ของพื้นที่บริเวณนั้น คือ เป็นเส้นทางเดินทัพตั้งแต่สมัยปลายอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรียกว่า 'สามสบท่าดินแดง' มีการรบพุ่งอยู่หลายครั้ง ตั้งแต่ไทรโยคถึงสังขละบุรี ริมแม่น้ำแควน้อยจะมีเจดีย์สมัยอยุธยาตั้งเรียงรายเต็มไปหมด เท่าที่เคยเห็น คาดว่า หลายร้อยเจดีย์ เจดีย์จะเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ๆ ถ้าเราเก็บไว้ในสมัยนั้น ไม่ให้ถูกทำลายจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่มาก

    อีกพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เส้นทางรถไฟสายมรณะจากเมืองกาญจนบุรีเข้าไปในพม่า ซึ่งเป็นการเดินทัพของญี่ปุ่น แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์บริเวณดังกล่าวหายไปหมดแล้ว จมหายไปกับการสร้างเขื่อนเขาแหลม

    "น่าแปลกที่ขณะนี้ เรามานั่งภูมิใจกับซากวัดวังวิเวการามที่เป็นวัดของหลวงพ่ออุตตมะเก่า ว่าเป็นเมืองบาดาล จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่เป็น Unseen in Thailand แต่สิ่งที่ผมเล่าตั้งแต่ต้นมันยิ่งใหญ่กว่าหลายหมื่นหลายพันเท่า แต่มันได้จมหายไปกับโครงการเขื่อน"

    เมืองบาดาลอีกหลายแห่ง และที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่

    "การสร้างเขื่อนเขาแหลม วัตถุประสงค์หลักเพื่อการผลิตไฟฟ้าและเพื่อการท่องเที่ยว เพราะในขณะนั้น เขื่อนเป็นเรื่องแปลกใหม่ในกลุ่มนักสร้างเขื่อน ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถเอาชนะกระแสน้ำได้" หาญณรงค์ เยาวเลิศ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย กล่าวหลังจากที่ได้เห็นคู่มือ Unseen in Thailand ของ ททท.ว่า การประชาสัมพันธ์ Unseen in Thailand นั้น ททท.พูดไม่หมด ไม่ได้พูดความจริงว่า เหตุใดวัดนี้จึงต้องจมน้ำ เป็นเพราะความมักง่ายของนักสร้างเขื่อนใช่หรือไม่

    การที่เขื่อนเขาแหลม เป็น Unseen in Thailand ถือเป็นการประจานให้คนทั่วไปเห็นความเห็นแก่ได้ของการพัฒนา ว่า ได้ทำลายวัฒนธรรม ทำลายชุมชน ทำลายวิถีชีวิตของผู้คนอย่างสิ้นเชิง

    ใต้ท้องน้ำของเขื่อนเขาแหลม ไม่ใช่แค่วัดวังวิเวการามวัดเดียว แต่นับ 10 วัดที่จม เพราะการสร้างเขื่อน ขนย้ายไม่ทัน เมืองบาดาลแบบนี้จึงมีทุกเขื่อน เช่น เขื่อนกิ่วลม เขื่อนแม่กวง เขื่อนภูมิพล เขื่อนใหม่ๆ บางเขื่อนจมไปกว่า 20 วัด

    "ทุกปีระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนจะมีชาวบ้านพายเรืออาสาพาไปดู จริงๆ แล้วก็น่าคิดว่า ชาวบ้านอยากให้ไปดูความหายนะของเขื่อนที่ได้สร้างรอยแผลไว้" หาญณรงค์ กล่าวและพูดถึงการเสนอโครงการเขื่อนสาละวิน 2 เขื่อนบริเวณชายแดนไทย-พม่าของ กฟผ.ด้วยว่า ประเทศไทยไม่เคยสรุปบทเรียนของกระแสการพัฒนา

    ที่เขื่อนเขาแหลม เป็นหินปูน มีถ้ำมากมาย เช่นเดียวกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ที่จะก่อสร้างเขื่อนสาละวิน แม่ฮ่องสอนและจังหวัดใกล้เคียง เป็นอีกสถานที่ที่มี Unseen in Thailand อีกมากมาย ทั้งถ้ำผีแมน เมืองปาย ฯลฯ แต่กำลังจะถูกทำลายเพื่อเป็น Unseen in Thailand อีกแบบที่มาจากการทำลายของมนุษย์ ซึ่งเป็นเหรียญสองด้านอย่างชัดเจน

    "ของดีๆ ที่เรามีอยู่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ไม่เคยออกมาปกป้องรักษา พอชาวบ้านออกมาค้าน ก็มองเฉยๆ คนที่ค้านก็ถูกหาว่าเป็นพวกขัดขวางการพัฒนา ทั้งๆ ที่เป็นโครงการที่ทำลายชุมชน ทำลายวัฒนธรรม ทำลายวิถีชีวิต สร้างความแตกแยก"

    เรามีสิ่งที่ดีอยู่แล้วมากมาย ถ้าจะมีการสร้างเขื่อนใหม่ๆ จะต้องศึกษาให้ชัดเจนว่า อะไรจะหายไปบ้าง พร้อมกับเสนอทางเลือกที่ดีกว่า ไม่ใช่ทำลายแล้วไม่สามารถเรียกคืนได้ ดังเช่นกรณีเขื่อนเขาแหลม

    "ต้องเปรียบเทียบกับคุณค่าที่ กฟผ.มักอ้างเรื่องพลังงาน แต่สิ่งที่เจ้าหน้าที่ กฟผ.ได้โบนัส 12 เดือนเมื่อปีที่แล้ว ไม่เคยแจ้งกับประชาชนเลย เทียบไม่ได้กับจิตใจ วัฒนธรรมที่สูญเสียไป แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักพัฒนาไม่เคยคิดถึง"

    การท่องเที่ยวเชิงปัญญา VS การท่องเที่ยวเชิงโฆษณา

    "การจัดการท่องเที่ยวของเรา มักจะไม่ได้เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ ท่องเที่ยวเชิงปัญญา แต่เป็นการท่องเที่ยวเชิงโฆษณา เป็นการท่องเที่ยวที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการอนุรักษ์หวงแหน เพื่อไม่ให้เกิดการทำลายต่อไป" มุมมองของ บุญส่ง จันทร์ส่องรัศมี ประธานกลุ่มปฏิรูปสื่อภาคประชาชนกาญจนบุรี อีกผู้หนึ่งที่เห็นตั้งแค่ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดกาญจนบุรี จนมาถึงความร่ำรวยเขื่อนของจังหวัดที่มีเขื่อนถึงเก้าเขื่อน

    เขาเห็นว่า ทุกจุดที่ ททท.เข้าไป ถูกทำลายจนไม่เหลือร่องรอยประวัติศาสตร์เดิม เช่นที่ สะพานข้ามแม่น้ำแคว อันเป็นสะพานที่ทอดตัวผ่านป่าดงดิบ แต่การเข้ามาโปรโมทการท่องเที่ยว ทำให้จากป่าดงดิบเป็นป่าคอนกรีต จนเป็นอนุสาวรีย์ที่ไม่พึงปรารถนาอีกต่อไป

    "การท่องเที่ยวที่มีในบ้านเรา เป็นการท่องเที่ยวแบบผิดทิศผิดทาง" บุญส่ง คิดอย่างนั้น "ที่กำลังโฆษณากันอยู่ที่เขื่อนเขาแหลม เบื้องหลังเต็มไปด้วยความเจ็บปวดของคนตลอดสองฝั่งลุ่มน้ำแควน้อย โบราณสถานอายุนับร้อยปี ชนเผ่าต่างๆ วิถีชีวิตที่ต้องจมหายไปกับการสร้างเขื่อน หมู่บ้านเล็ก หมู่บ้านน้อยต้องอพยพโยกย้าย เท่าที่รู้มีแต่ความเจ็บปวดทั้งสิ้น มีคราบน้ำตาของคนเป็นจำนวนมาก"

    ก่อนที่บุญส่งจะตบท้ายว่า ไม่รู้ว่า การประชาสัมพันธ์ของ ททท.ให้ไปดูเมืองบาดาลจะไปถึงตรงนั้นหรือไม่... ถึงจุดที่ชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมาเป็นการทำลาย...ถ้าทำได้จึงจะถือเป็นการท่องเที่ยวเชิงปัญญา

    ชีวิตของผู้เสียสละ...เพื่อเมืองบาดาล

    สุดหลังเขาคละเคล้าด้วยน้ำตาคน

    ที่แสนจนทนยากลำบากกาย

    จะแล้งฝนก็ทนทุกข์นิรันดร์ไป

    คือความหมายที่กล่าวถึงคนหลังเขา...

    ...คือความตายที่มาถึงคนหลังเขา

    อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เล่าให้ฟังว่า "ชาวบ้านที่นั่นใช้คำว่า ไม่ตายก็เหมือนตาย... เหมือนคนที่ตายแล้ว"

    สำหรับคนมอญในสังขละบุรีปัจจุบัน ส่วนใหญ่อพยพมาตั้งชุมชน เพราะลี้ภัยสงคราม ไม่มีสัญชาติไทย ทำให้คนเหล่านี้ไม่ได้ค่าชดเชยอะไรเลยจากการสร้างเขื่อนทั้งที่อพยพมาจากพม่า 40-50 ปีแล้ว

    "เขื่อนทำลายชีวิตของเขาจนเดี๋ยวนี้หลายชุมชนยังไม่มีที่ทำกิน ที่ทำกินน้ำท่วมไปแล้ว...สิ่งที่เราไปชมแล้วคิดว่าสวยงาม มันอยู่บนความทุกข์ของคนอื่นๆ ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องมากจนถึงปัจจุบัน คนจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน บางครอบครัวได้ที่จัดสรร ผมเคยมีโอกาสเข้าไปคุยกับหมู่บ้านที่จัดสรรให้ใหม่สองแห่ง คือ บ้านใหม่พัฒนา หรือห้วยมาลัย เป็นที่สำหรับคนสังขละบุรีเก่า เราได้ไปถามคนที่ถูกย้ายมาอยู่ที่บ้านใหม่พัฒนา เขาบอกว่าชีวิตของเขาลำบากมากหลังจากมีเขื่อนแล้ว ครอบครัวแตกสลาย ถูกย้ายไปอยู่ที่สูง ที่ทำกินไม่เหมาะสม ในบ้านมีผู้หญิงกับลูก ส่วนหัวหน้าครอบครัวต้องไปดิ้นรนทำมาหากินข้างนอก" วีรวัธน์ ให้รายละเอียด "เพราะฉะนั้นเวลาเราถามถึงเรื่องเขื่อน ชาวบ้านน้ำตาไหลทุกคน ร้องไห้คิดถึงความยากลำบาก คิดถึงบ้านของตัวเองที่เคยอุดมสมบูรณ์ริมแม่น้ำแควน้อย"

    ส่วนที่บ้านจองอั่ว หรือบ้านยางขาว เป็นชุมชนกะเหรี่ยงที่อยู่ตอนล่างของสังขละบุรี ผลกระทบที่ชุมชนได้รับ คือ เป็นหนี้เป็นสิน จากเดิมหมู่บ้านแห่งนี้เคยผลิตข้าวได้อย่างมากมาย สามารถเลี้ยงคนทองผาภูมิได้ทั้งอำเภอ แต่วันนี้ 80% เป็นหนี้ สภาพคล้ายกับบ้านใหม่พัฒนา คือ มีแต่คนแก่ ผู้หญิง เด็ก คนหนุ่มๆ ต้องไปหางานที่อื่น พื้นที่จัดสรรที่ กฟผ.ให้ครอบครัวละ 15 ไร่ เหมือนพื้นที่ร้าง เพราะสภาพดินไม่สมบูรณ์ เพาะปลูกไม่ได้ ทำให้ที่ดินกว่า 50% ตกเป็นของนายทุน

    ในปี 2537 รายงานของธนาคารโลก ผู้ให้เงิน*้ 99 ล้านดอลลาร์ในขณะนั้น เพื่อการสร้างเขื่อนเขาแหลมแก่ กฟผ.อ้างว่า เขื่อนเขาแหลมเป็นเพียงเขื่อนเดียวภายใต้เงิน*้ของธนาคารโลกที่ถือว่า ไปสู่เป้าหมายขั้นพื้นฐานของนโยบายของธนาคารโลก นั่นคือ "ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการสร้างเขื่อน"

    รายงานดังกล่าวอ้างอิงจากการศึกษาของฝ่ายประเมินผลการดำเนินงานของธนาคารโลกเองในปี 2538 ซึ่งการศึกษาดังกล่าวละเลยที่จะไม่ศึกษาผู้ที่ถูกอพยพจากการสร้างเขื่อนที่ไม่มีหลักฐานทางการ และยังไม่ใส่ใจต่อชะตากรรมของผู้ที่ถูกบังคับให้ไปอาศัยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังไม่สนใจที่จะฟังประสบการณ์ของผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในบ้านจัดสรรใหม่ทั้งห้าแห่ง รวมทั้งสิ้นกว่า 20% ของผู้อพยพทั้งหมดที่ต้องย้ายถิ่นไปที่อื่นหลังจากการสร้างเขื่อนได้สี่ปี

    การศึกษาของฝ่ายประเมินผลการดำเนินงานของธนาคารโลก อ้างว่า รายได้ของประชาชนที่ถูกอพยพจากการสร้างเขื่อนดีขึ้น ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับข้อมูลเชิงสถิติที่ปรากฏในรายงานฉบับเดียวกันที่ว่ากว่า 80% ของผู้ที่ถูกอพยพ ระบุว่า ตนเองมีภาวะทางเศรษฐกิจแย่ยิ่งกว่าก่อนการสร้างเขื่อน

    สิบแปดปีหลังจากถูกบังคับให้ย้ายถิ่นจากบ้านจองอั่วเดิมมาอยู่ในพื้นที่จัดสรรใหม่ เพื่อการสร้างเขื่อนเขาแหลม ปัญญา ขวัญประเสริฐศรี ผู้เฒ่าชาวกะเหรี่ยง ได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Watershed เมื่อปี 2541 ว่า เมื่อก่อนตอนที่อยู่บ้านเดิม (ก่อนการสร้างเขื่อน) เคยทำไร่ข้าวหมุนเวียนรอบบ้านตัวเอง ปลูกผลไม้ อยู่อย่างเพื่อพอมีพอกิน ไม่ต้องทำเพื่อเศรษฐกิจ เงินไม่มีความสำคัญเลย

    แต่เมื่อถูกบังคับให้อพยพมา พื้นที่เป็นหิน ยากแก่การเพาะปลูก ปีแรกพอทำการเกษตรได้ แต่ผลิตผลิตไม่ดีนัก ต้องใช้ปุ๋ย ใช้ยา แต่ต่อมายิ่งแย่ลง จนไม่มีปัญญาซื้อปุ๋ย ซื้อยา เดี๋ยวนี้ไม่ได้ปลูกข้าวแล้ว เพราะไม่คุ้ม ต้องซื้อข้าวจากตลาด บางบ้านเลิกปลูกข้าว ติดหนี้ ติดสิน ต้องออกจากพื้นที่ไปอาศัยอยู่กับญาติ

    "เมื่อก่อนไม่เคยใช้เงิน เรามีข้าวเพียงพอ มีผัก มีผลไม้รอบบ้าน มีสมุนไพร มียา มีปลา มีกุ้งจากลำน้ำ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่มีอะไรเลย เราต้อง*้เงิน" ปัญญา เล่า

    เมื่อถามถึง คำอ้างของหน่วยราชการและธนาคารโลกที่ว่าชาวบ้านมีรายได้ดีขึ้น พะตี (ลุง) ปัญญา ตอบว่า รายได้เพิ่มขึ้น เพราะเมื่อก่อนเราไม่ต้องพึ่งเงิน เราไม่ใช้เงิน แต่เดี๋ยวนี้เราต้องมีเงิน แต่มีน้อยและหายไปเร็ว

    "เมื่อก่อนคนแก่ๆ ของชุมชนเราบอกว่า วันหนึ่งข้าวจะหายไป พวกเราไม่เคยรู้ว่า วันหนึ่งเขื่อนจะมา แล้วเราจะถูกอพยพ ในที่สุดข้าวเราหายไปจริงๆ"

    พะตีปัญญา น้ำตาคลอเบ้า ก่อนจะพูดต่อไปว่า "คิดถึงความอุดมสมบูรณ์เมื่อก่อน ถ้าขอถามเจ้าหน้าที่ได้ ก็จะถามว่า ขอกลับไปที่เดิม ที่ที่พวกเราเคยอยู่ได้ไหม"

    ...ที่ซึ่งบัดนี้พวกคุณกำลังชื่นชมว่าเป็นเมืองบาดาลอันน่ามหัศจรรย์ ที่เกิดบนคราบเลือดและน้ำตาของพวกเขา...

    ...มีใบบอกจากทางการให้ย้ายบ้านไปหลังเขา จะสร้างเขื่อนเพื่อบรรเทา เอาน้ำใช้ยามกันดาร ทิ้งแหล่งน้ำอันอุดม ซานซมอยู่หลังเขา น้ำจากเขื่อนท่วมนาเรา บอกกล่าวไร้คนเหลียวแล...

    เจริญแล้วมีเขื่อนกั้นกักเก็บน้ำ มีสนามกอล์ฟสวยเป็นหลักฐาน บังกะโลใหญ่โต ทั้งบ้านพักพนักงาน เป็นสถานพักผ่อนของคนเมือง...
    "
     
  9. คุณจ๋า

    คุณจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +166
    พอดีไป search ในเนทแล้วเจอบทความข้างต้น...ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่นะคะ แต่อานแล้วรู้สึกเศร้าใจจังค่ะ
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    เศร้าค่ะ เสียใจกับผู้สูญเสียทุกท่าน

    ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย หวังว่าพวกเขาจะมีชีวิตที่ดีขึ้น
     
  11. Ninja-naruto-Pgems

    Ninja-naruto-Pgems เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    596
    ค่าพลัง:
    +193
    ไปพักที่แพด้วยสิคะแต่เมืองบาดาลเขาไม่ให้ผู้หญิงดำน้ำนะคะ ให้แต่ผู้ชาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...