สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ศีลทั้ง 3 ประการ

    14 มีนาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกฺขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพนฺติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วยศีลทั้ง 3 ประการ ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงประทานเทศนาเรียกว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นศีล ทางพุทธศาสนาต้องประสงค์ แม้ศีลตั้งแต่เป็นศีลต่ำลงไปกว่านี้ พุทธศาสนาก็นิยมยินดี เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง 3 ประการ ได้แสดงมาแล้ว

    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ประสงค์เอาศีล 5 ประการ

    ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ประสงค์เอาปาฏิโมกข์สังวรศีล และบริบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย เห็นศีลโดยปริยายเบื้องสูง

    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้สละอารมณ์ทั้งสิ้นหลุดขาดจากใจ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งของใจได้ นี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ

    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ทรงแนะนำให้ดำเนินถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อเข้าฌานใดฌานหนึ่งได้ เรียกว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปชัด และข้อปฏิบัติดำเนินถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ อันเป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง คือพระองค์ทรงแนะนำว่า ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ รู้ชัดในสัจธรรมทั้ง 4 นี้ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง

    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง ปัญญาโดยปริยาย เบื้องต่ำ เบื้องสูงนั้น ได้แสดงแล้วในสัปดาห์ก่อนๆ โน้น

    บัดนี้จักแสดงใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต่อจากศีล สมาธิ ปัญญา โดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงเป็นลำดับมา

    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง, อธิจิต แปลว่า จิตยิ่ง, อธิปัญญา แปลว่า ปัญญายิ่ง แปลตามมคธภาษาประกอบตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลายถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ในอันถือมั่นซึ่งศีลยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งจิตยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งปัญญายิ่ง ดังนี้ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ อย่างนี้แม้จริงอันเราทั้งหลายควรศึกษา แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายในเรื่องอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา สืบเป็นลำดับไป

    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง ศีลยิ่งนั้นเป็นไฉน ศีลตามปกติธรรมดาที่ได้แสดงมาแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูง ศีลยิ่งนะยิ่งกว่าเบื้องต่ำเบื้องสูงไปกว่านั้นหรือ ศีลยิ่งนะต้องเห็นศีล ไม่ใช่รู้จักศีล เห็นศีลทีเดียว ศีลโดยปกติสำรวมกาย วาจา เรียบร้อยดีไม่มีโทษ งดเว้นเบญจวิรัติ 5 ประการ ขาดจากจิตสันดาน บริสุทธิ์ดุจพระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระศาสดา นี่ศีลตามปกติธรรมดา ไม่ใช่อธิศีล นี่ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ศีลโดยปริยายเบื้องสูง เหมือนภิกษุสามเณรกำลังศึกษากันเช่นนี้ ปาฏิโมกข์สังวรศีล สำรวมตามพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยมารยาท เครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อและโคจร อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย นี่ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ไม่ใช่อธิศีล

    คือบริสุทธิ์ตลอดจนกระทั่งถึงเจตนา ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลจริงๆ ตรงตามวาระพระบาลีว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาความคิดอ่านทางใจนั่นแหละเป็นศีล รับสั่งดังนี้ นี่ก็เป็น “เจตนาศีล” ความคิดอ่านทางใจ ศีลมีแต่กายกับวาจา เจตนาก็เป็นศีล ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลอีก เป็นศีลด้วย แต่ว่ายังไม่ถึงอธิศีล อธิศีล ศีลที่เห็น ไม่ใช่ศีลที่รู้ เจตนาความคิดอ่านปกติสละสลวยเรียบร้อย ก็มาจากศีล ศีลเป็นดวงใสอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงศีลอยู่ภายในนั้น ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั่นแหละ ถ้าผู้ปฏิบัติไปถึงไปเห็น เป็นปรากฏขึ้นในศูนย์กลางกายมนุษย์ เห็นเป็นปรากฏขึ้น ศีลดวงนั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นอธิศีล เป็นอธิศีลแท้ๆ

    เมื่อรู้จักอธิศีลดังนี้ละก็ ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงนั้นเป็นปกติศีล ในศีลที่เห็นดวงใสในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั้นเขาเรียกว่าอธิศีล อธิศีลแปลว่าศีลยิ่ง ศีลที่ผู้ปฏิบัติและเห็น แล้วก็ใจของผู้ปฏิบัติก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่นบ้าง ไม่ล่อกแล่ก เหลวไหล เหลวไหลเลอะเลือน ใจเป็นหนึ่งลงไปกลางดวงศีลนั่น นั้นเป็นอธิศีลแท้ๆ ศีลนั่นจะบริสุทธิ์ ก็เห็นว่าบริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ก็เห็นว่าไม่บริสุทธิ์ จะ สะอาดเพียงแค่ไหนก็เห็น ไม่สะอาดแค่ไหนก็เห็น ขุ่นมัวเศร้าหมองก็เห็นทั้งนั้น ศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย อขณฺฑานิ อจฺฉิทฺทานิ อสพลานิ อกมฺมาสานิ เมื่อรักษาศีล ใจหยุดอยู่ในศีลนั้น ศีลไม่เป็นไปเพื่อกำลังต้องการ รักษาศีลจะให้รวยเท่านั้นเท่านี้ มั่งมีเท่าโน้น มั่งมีเท่านี้ ศีลเป็นไปด้วยกำลังเช่นนี้ไม่มี ไม่ประสงค์เป็นอธิศีล ส่วนอธิศีลนั้น เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงศีล ก็หยุดทีเดียว มุ่งแต่สมาธิต่อไป ไม่ได้มุ่งสิ่งอื่น “อธิศีล” ที่ปรากฏนั่นแหละผิดปกติธรรมดา

    เมื่อเห็นดวงศีลขนาดนั้นแล้ว ผู้มีปัญญาก็ไม่ได้ถอยออก ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็จะเข้าถึงดวงสมาธิ อยู่กลางดวงศีลนั่น เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ดวงขนาดนั้น นั่นสมาธิ ที่เห็นดวงนั้นแหละ ดวงอธิจิตละ จิตยิ่ง สมาธิยิ่งละ นั่นเป็นสมาธิยิ่ง ยิ่งกว่าที่ทำมาแล้ว เป็นมาแล้ว เห็นมาแล้ว นั้นเรียกว่าจิตยิ่ง

    จิตก็จะหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก เมื่อจิตหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ นิ่งพอถูกส่วนเข้า พอจิตที่หยุดนิ่งก็กลางของกลาง กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น ดวงปัญญา อีกดวงหนึ่งอยู่กลางดวงสมาธินั่น นั่นแหละปัญญาดวงนั้น เขาเรียกว่า “อธิปัญญา” อธิปัญญาแท้ๆ อธิปัญญาในตอนต้น ไม่ใช่ตอนปลาย มีตอนปลายอีก

    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง 3 ดวงนี้ นี่แหละเป็นธรรมถ่องแท้ในพุทธศาสนา เมื่อผู้ปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเข้าถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงอธิศีล เข้าถึงอธิจิต เข้าถึงอธิปัญญา ถ้าจะดำเนินต่อไปตามร่องรอยของพระพุทธศาสนา กลางดวงปัญญามีวิมุตติ กลางดวงอธิปัญญานั่นมีวิมุตติ วิมุตติอย่างไร วิมุตติหลุดทีเดียว หลุดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา ลงไปทีเดียว วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น กลางดวงวิมุตตินั้นจะเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะเป็นธรรมที่พึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริง หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นกายมนุษย์ที่นอนฝันออกไป เห็นปรากฏทีเดียวว่า อ้อกายนี้เองที่เรานอนฝันออกไป เห็นปรากฏนี้เอง ไม่ฝันแล้วก็ไม่เห็น ฝันจึงเห็น เห็นปรากฏกายที่นอนฝันออกไป นี่อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่หยาบนี้

    ยังมีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่ละเอียดนั่น ใจกายมนุษย์หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีลอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิตนั้นอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญานั่นอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ นี่เข้าถึง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอถูกส่วนเข้า เห็นอะไร เห็นอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ละเอียด ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายรูปพรหมละเอียด ใจกายรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายอรูปพรหมละเอียด ใจอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมา เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กเท่าไรตามส่วนของกายธรรมนั้น ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งดงามนัก นั่นแหละกายธรรม นั่นแหละเรียกว่า พุทฺโธ หรือเรียกว่าพุทธรัตนะ กายธรรมนั่นเอง เรียกว่าพุทธรัตนะ นี่ตรงนี้เป็นปัญหาอยู่ตรงนี้ เมื่อเราแสดงศีลของสามัญ สัตว์ที่ยังไม่เห็นหรือยังไม่รู้ เป็นสามัญศีล ไม่ใช่อธิศีล ศีลผู้ทำมี ทำเป็น ทำเห็น เป็นอธิศีล

    ตั้งแต่กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรม เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้ว ดวงศีลในกายธรรมยังมีอีก

    ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีลอีก ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายใหญ่กว้างแค่ไหน หน้าตักกว้างแค่ไหน ดวง ธรรมที่เป็นธรรมกาย กลมรอบตัว เหมือนยังกับลูกบิลเลียด กลมรอบตัว ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ยิ่งกว่านั้น ใสกว่านั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงศีลที่เห็นขึ้นในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเท่ากัน ดวงธรรมนั่นเท่าไร ดวงศีลนั่นก็เท่านั้น ดวง สมาธิก็เท่านั้น ดวงปัญญาก็เท่านั้น ดวงเท่ากันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นดวงนี้เป็นปัญหาสำคัญนัก ศีลนี้ เมื่อเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่ เมื่อเข้าถึงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่แล้ว ก็ควรจะขยับชั้นขึ้นไปใหม่

    ศีลที่แสดงมาแล้วนั้นเป็นปกติศีลไป หรือศีลขั้นต้น ยังไม่ถึงศีลเห็น นี่เป็นธรรมดา เป็นปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกาย พอไปเห็นดวงศีลในธรรมกายเข้า ใหญ่ขนาดวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ศีลขนาดนั้น ศีลที่ในกาย 8 กาย กายมนุษย์ตลอดจนกระทั่งถึงกายอรูปพรหมละเอียด 8 กายนั้น ควรเป็นปกติศีลเสีย ต้องขยับขึ้นดังนี้ ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เป็นอธิศีลไป สูงขึ้นขนาดนี้ นี่ได้แก่ คนปฏิบัติเป็นสูงขึ้นไปต้องจัดดังนี้ เป็นอธิศีล เพราะศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น ยิ่งกว่าดวงศีลในกายทั้ง 8 กายที่แล้วมา

    เข้าถึงกายธรรมแล้ว กายธรรมไม่ใช่กายในภพ เป็นกายนอกภพ

    กาย 8 กาย กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด เป็นกายในภพ กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด พวกนี้กายอยู่ในภพ กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด นี่เป็นกายอยู่ในรูปภพ กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด อยู่ในอรูปภพ กายเหล่านี้อยู่ในภพ ศีลก็ควรจะเป็น ปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ศีลในกายทั้ง 8 นั้น ก็เป็นปกติไป ดวงศีลที่ใส วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย นั่นเป็นอธิศีลแท้ๆ ไม่เคลื่อนละ คราวนี้ถูกแน่ละ

    ใจของกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ นั่นอธิจิตแท้ๆ เข้าถึงดวงอธิศีล ดวงอธิจิต ได้ดังนี้แล้ว กลางดวงอธิจิตนั่นก็เป็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน ดวงเท่าๆ กัน หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรมละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีก ดวงเท่าๆ กัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัวเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิตอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญาอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระโสดาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา หยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีกเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอก บัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระโสดาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระสกทาคา ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระอรหัตก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล ตรงนี้แหละเป็นปัญหาอยู่ที่เรียกว่าเป็นอธิศีล พอถึงพระอรหัตแล้ว อีกชั้นหนึ่ง หมดกิเลสเสียแล้ว ถ้าหากว่านี่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถ้าหากว่าเป็นอธิศีลจะซ้ำรอยกันไป ควรจะเป็นวิมุตติศีล เพราะท่านเป็นวิมุตติทั้งเรื่องเสียแล้ว พระอรหัตควรเป็นวิมุตติศีล แล้วดวงนั้นวัดผ่าศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว ศีลดวงนั้นเป็นวิมุตติศีล เป็นวิมุตติเสียแล้ว ท่านหยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติศีลนั้น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าวิมุตติจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติจิต ก็เข้าถึงวิมุตติปัญญา หยุดนิ่งอยู่ กลางดวงวิมุตติปัญญานั่น เข้าถึงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัตละเอียด หน้าตัก ขยายส่วนหน้าขึ้นไป 30 วา ทีเดียว กลมรอบตัวเท่าหน้าตักธรรมกายละเอียด ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไร ก็โตหนักขึ้นไป ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไรก็โตหนักขึ้นไป นับอสงไขยไม่ถ้วน ละเอียดขึ้นไปดังนี้ แต่ว่าต้องเดินไปแนวนี้ ผิดแนวนี้แล้วก็ไม่ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถูกแนวนี้ละก็ ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเป็นลำดับไป ถูกหลักนี้จึงจะไปนิพพานได้ เมื่อถึงพระอรหัตก็ไปนิพพานทีเดียว ทางอื่นไม่มีทางไป มีทางไปนิพพานเท่านั้น เมื่อถึงพระอรหัตแล้ว พระพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติถึงพระอรหัตแล้ว เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกแล้ว ท่านก็ส่องดูธัมมอุปนิสัยสัตว์ ว่านี่เราปฏิบัติมาถึงแค่นี้แล้วเราจะเคารพอะไร เราไม่เห็นมีใครควรเคารพใน 3 ภพ กามภพ เป็นกายมนุษย์ กายสัตว์นรก กายสัตว์เดรัจฉาน กายเปรต กายอสุรกาย หรือกายมนุษย์ก็ดีในภพมนุษย์ กายมนุษย์ กายทิพย์ในจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ในกามภพนี้ หย่อนกว่าเราทั้งนั้น ไม่ถึงเรา ท่านมาขยับขึ้นมาถึงรูปพรหม 16 ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรมหา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสรา ฯลฯ 11 ชั้นนี้ กายต่ำกว่าเราทั้งนั้น อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา นี่เป็นที่อยู่ของกายพรหม ต่ำกว่าเราทั้งนั้น ที่ไม่ได้มรรคผล จนไปถึงกายอรูปพรหม 4 ชั้น อากาสานัญจายตนภพ วิญญานัญจายตนภพ อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็ไม่ลดลงไปได้ เราสูงกว่าทั้งนั้น เราจะเคารพใคร สักการะใคร นับถือใคร จึงจะสมควร ท่านก็สอดธรรมกายพระอรหัตถอยออกไปนิพพาน มีเท่าไรๆๆ ก็เข้ากลางหนัก เข้าไป ถามพระพุทธเจ้าที่ไปนิพพานแล้วเก่าๆ มากน้อยมีเท่าไรรู้เรื่องหมด ว่าพระพุทธเจ้าเก่าๆ นับถือใคร บูชาใคร เคารพใคร มีตำรับตำรายืนยันเป็นเนติแบบแผนทีเดียว ท่านวางตำรับ ตำราไว้ว่า เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา, เย จ พุทฺธา อนาคตา, โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ, พหุนฺนํ โสกนาสโน, สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน, วิหรึสุ วิหาติ จ อถาปิ วิหริสฺสนติ, เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา, ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน, มหตฺตมภิกงฺขตา, สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ, สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ นี้เป็นตำรับ ตำรา พระพุทธเจ้าท่านดำริเมื่อได้ตรัสรู้แล้วว่า พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดในอดีตกาลที่ล่วงไปแล้วทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่ปรากฏในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคข้างหน้า พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ซึ่งยังความโศกของประชาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ สพฺเพ สทฺธมฺครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น เคารพสัทธรรมทีเดียว วิหรึสุ วิหาติ จ อถาปิ วิหริสฺสนฺติ พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด มีอยู่แล้วด้วย มีอยู่ในบัดนี้ด้วย ทั้งจะมีต่อไปในภายภาคเบื้องหน้าด้วย เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ที่เคารพสัทธรรมเป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เคารพสัทธรรมอย่างเดียว ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน เพราะเหตุนั้นบุคคลผู้รักตน สงสารตน ยินดีต่อตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพ สัทธรรม ควรทำการเคารพสัทธรรม นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรากฏอย่างนี้

    เคารพสัทธรรม เคารพอย่างไร เคารพไม่ถูก ไม่ใช่เคารพง่ายๆ ที่ได้เข้ากายพระอรหัต นี่มาอย่างไรล่ะ ใจก็ต้องหยุดนะซี เริ่มต้นก็ต้องหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล หยุดอีกนั่นแหละ พอเข้าถึงดวงสมาธิ ก็หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา พอเข้าถึงดวงปัญญา ก็หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก หยุดที่ใจหยุดนั่นแหละ ถูกละ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา หยุดอันเดียว เข้าดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละ หยุดในหยุดเรื่อยไป ก็เข้าถึง กายทิพย์

    ใจของกายทิพย์ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์อีก หยุดนั่นแหละสำคัญ หยุดนั่นแหละเป็นตัวสำเร็จ หยุดอันเดียวเท่านั้นแหละ ทางพุทธศาสนาเป็นเป้าหมายใจดำ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ หยุดอันเดียวถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวเท่านั้น ก็เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด

    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหม ใจกายรูปพรหมก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม หยุดอันเดียว เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวง วิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด

    พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ใจของรูปพรหมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละตัวสำเร็จ นี่แหละหัวใจเฉพาะพระพุทธศาสนาละ อย่าไปเข้าใจอื่นนะ เข้าใจอื่นเหลวละ ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม ใจของกายอรูปพรหมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ใจของกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุด อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายธรรม หยุดอันเดียว อย่าเลอะ ทางอื่นไม่ได้ พอหยุดเข้าได้ละก้อ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

    ใจของกายธรรมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมละเอียด

    ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด หยุดอันเดียว พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายพระโสดา ใจกายพระโสดาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายพระโสดาละเอียด

    ใจของกายพระโสดาละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระสกทาคา นี้ถ้าไม่หยุดแล้วเข้าไม่ถึงแท้ๆ ใจของกายพระสกทาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด

    ใจของกายพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวนั่นแหละ ก็เข้าถึงกายพระอนาคา ใจของกายพระอนาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด

    ใจของกายพระอนาคาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึง กายพระอรหัต ใจของกายพระอรหัตก็หยุดไม่ถอยเลย ไม่เขยื้อนทีเดียว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ไม่เขยื้อนทีเดียว เข้าถึงดวงวิมุตติศีล ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติศีล ก็เข้าถึงดวงวิมุตติสมาธิ ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติสมาธิ เข้าถึงดวงวิมุตติปัญญา หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ นั่นก็เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียด แบบเดียวกันอย่างนี้

    เมื่อรู้จักใจกลางพระศาสนาดังนี้ละก็ ปล้ำใจให้หยุดเท่านั้น ถูกทางไปพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา แต่ว่าต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องอาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา ถ้าไม่อาศัยทางนี้เดินละก้อ ไปไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา, อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่อาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา แล้วไปไม่ได้ ไปไม่รอดทีเดียว เหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางตำราไว้ว่า วินัยปิฎกคือศีลนั่นเอง ย่อลงใส่ศีลนั่นเอง สุตตันตปิฎก ย่อลง ก็จิต ที่เรียกว่าสมาธินั่นเอง ปรมัตถปิฎก ย่อลงก็ปัญญานั่นเอง ตรงกับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา, วิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา อันเดียวกันนั่นเอง นี่เป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา เป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้ ต้องทำให้ถูกอย่างนี้ เมื่อทำให้ถูกอย่างนี้ก็ถูกใจดำทาง พระพุทธศาสนา ถ้าไม่เดินทางนี้ก็ไม่ได้เรื่อง เอาหลักไม่ได้ เมื่อทำถูกต้องอันนี้ละก็ พบพระพุทธศาสนาก็ได้เรื่อง เอาตามหลักได้ ก็ถูกชายจีวรของพระพุทธเจ้าอยู่ ถ้าว่าทำไม่ถูกดังนี้ เหมือนอยู่คนละจักรวาล ถ้าว่าถูกหลักดังนี้แล้วดังนี้แหละ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ จริงอยู่อย่างนี้แหละ ท่านทั้งหลายควรศึกษา ไม่ศึกษาอย่างนี้ก็เอาตัวไม่รอด ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เปิดดูไฟล์ 5058098




    ปัญญาเบื้องต่ำและปัญญาเบื้องสูง


    4 มีนาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยาติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ ภิกฺขุ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในทางปัญญา ในวันมาฆบูชา ทางปัญญาเป็นขั้นปลายของศีล สมาธิ แต่ในวิสุทธิมรรค ในอัฏฐังคิกมรรค ได้แสดงปัญญาไว้เบื้องต้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป แสดงศีลไว้ในท่ามกลาง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว แสดงสมาธิไว้ในเบื้องท้าย สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ย่อลง ศีลอยู่เบื้องกลาง สมาธิอยู่เบื้องปลาย ปัญญาอยู่เบื้องต้น แต่ในลำดับของเทศนาอื่น พระองค์ทรงตรัสเทศนา ทรงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง ปัญญาเป็นเบื้องปลาย ที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา เป็นปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในครั้งนั้น ทรงตรัสเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เพราะปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เป็นผู้ชำนาญดีแล้วในเรื่องศีล สมาธิ แต่ว่าไม่ฉลาดในทางปัญญา ยังไม่คล่องแคล่วในทางปัญญา พระศาสดาทรงเห็นเหตุนั้น เป็นผู้รู้แล้วเห็นแล้ว จึงได้ทรงแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ทีเดียว เมื่อแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้งแล้ว ก็กลับมาแสดงศีลโดยปริยายท่ามกลาง สมาธิเป็นเบื้องปลายไป ครั้นจะไม่มาแสดงเรื่องศีล สมาธิ ก็จะแตกแยกกันไป หาเข้าเป็นแนวเดียวรอยเดียวกันไม่

    เพราะพุทธศาสนามีศีลเป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็นท่ามกลาง มีปัญญาเป็นเบื้องปลาย แม้พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปกระทำปฐมสังคายนา ก็เลยประชุมสงฆ์ทั้ง 500 พร้อมกัน พระมหาอริยกัสสปได้แสดงในที่ประชุม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า อิธ ภิกฺขุ ผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นความดับทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ และปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงเป็นลำดับไป

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ยกอริยสาวกขึ้นเป็นตำรับตำรา ก็เพราะพระอริยสาวกมีความไม่ยักเยื้องแปรผันแล้ว มีความรู้ความเห็นที่แน่นอนแล้ว ยกพระสาวกของพระตถาคตเจ้าตั้งแต่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค-สกิทาคามิผล, อนาคามิมรรค-อนาคามิผล, อรหัตตมรรค-อรหัตตผล 8 จำพวกนี้เป็นอริยสาวก ไม่ใช่เป็นปุถุชนสาวก ถ้าต่ำกว่านั้นลงมามีธรรมกาย แต่ว่าไม่ได้พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต อะไร นั่นสาวกชั้นโคตรภู พวกไม่มีธรรมกายมีมากน้อยเท่าใด เป็นสาวกชั้นปุถุชน เรียกว่า ปุถุชนสาวก สาวกที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลส ที่เป็นโคตรภูบุคคลน่ะ ปรารภจะข้ามขึ้นจากโลก จะเข้าเป็นอริยสาวกล่ะ เป็นอริยสาวกก็ไม่ใช่ เป็นปุถุชนก็ไม่เชิง ถ้ากลับมาเป็นปุถุชนก็ได้ เข้ากลับเป็นอริยสาวกก็ได้ ทั้งสองอย่างนี้เรียกว่าโคตรภู ท่านเหล่านั้นเป็นโคตรภู

    เพราะว่า ที่ท่านยกว่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เอาความเห็นความรู้ที่ตายตัวกัน ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ปัญญาที่แสดงแล้วน่ะ ที่แสดงนี่แหละ คำว่าปัญญานี้น่ะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ถ้าให้ฟังไปร้อยปีว่าปัญญาน่ะอะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร โตเล็กเท่าไหน อยู่ที่ไหน กลม แบน ยาว รี สี่เหลี่ยม อย่างไรกัน เอาเถอะ หมดทั้งประเทศไทย ถ้าว่าเข้าดังนี้ละก็ ไม่รู้เรื่องกันทีเดียวแหละ ได้ยันกันป่นปี้ เหตุนี้ ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ปัญญานี้ประสงค์อะไร ประสงค์ว่า อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามนั้นว่า ปิฎกทั้ง 3 วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เราจะยกปิฎกใดขึ้นก่อนจึงจะสมควร พระอรหันต์ทั้งหลายก็พร้อมกันว่าวินัยปิฎกเป็นข้อสำคัญอยู่ ถ้าว่าวินัยปิฎกยังครบถ้วน ผ่องใสแล้ว ศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองเพราะอาศัยวินัยปิฎก เมื่อจบวินัยปิฎกพระอริยกัสสปก็ถามอีก ในปิฎกทั้ง 2 คือสุตตันตปิฎกกับปรมัตถปิฎก ใครจะเป็นผู้วิสัชชนา ตกลงให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นพหูสูต พระองค์ทรงตั้งไว้เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าสาวกในพระพุทธศาสนา ให้วิสัชนาในสุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎกทั้งสองนี้ แต่ว่า ปรมัตถปิฎกเป็นข้อสำคัญ เป็นทางปัญญา วินัยปิฎกน่ะเป็นศีล สุตตันตปิฎกเป็นสมาธิ

    ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง 3 นี้จะเคลื่อนมิได้เลย เพราะศีลมีหน้าที่สำหรับปราบปรามชั่วด้วยกาย วาจา ฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม มุสาวาท ชั่วด้วยกายนี้ต้องอาศัยศีลสำหรับปราบความชั่ว อันนี้ ไม่ให้เข้าไปแตะต้องกับกายได้ ให้กายสะอาดผ่องใส ถ้าไม่มีศีลแล้วละก็ ปราบความชั่วด้วยกายอย่างนี้ไม่ได้ ฝ่ายสมาธิก็สำหรับปราบความชั่วทางใจ ความเกียจคร้านไม่ให้มีทางใจ หรือความพลั้งเผลอไม่ให้มีทางใจ หรือความไม่มั่นคงเหลวไหลลอกแลกไม่ให้มีทางใจ แก้ไขให้ใจมั่นคง ให้มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน ให้มีความเพียรอาจหาญ ไม่ครั่นคร้าม 3 อย่างนี้เป็นหน้าที่ของสมาธิ ส่วนปัญญาเล่ายังหาได้แสดงไม่ ที่แสดงแล้วนี่ทางศีลทางสมาธิ

    ปัญญาที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นตัวสำคัญนัก แต่ว่าไม่ค่อยจะได้แสดง ที่วัดปากน้ำนี่ สมภารผู้เทศน์นี้ได้มาจำพรรษาอยู่วัดปากน้ำนี้ 37 พรรษาแล้ว แต่ว่าในทางปัญญาไม่ค่อยแสดงมากนัก แสดงในศีล สมาธิ เป็นพื้นไป ทีนี้ตั้งใจจะแสดงในทางปัญญา ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยชอบนั้น โดยปริยายเบื้องสูงบ้าง จึงได้มีปุจฉาวิสัชนาเป็นลำดับไปว่า กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉนเล่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ปญฺญวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีปัญญา อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต เป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ ปัญญาที่รู้ความเกิดความดับนั่นเป็นตัวสำคัญ ปัญญาน่ะมีแต่รู้ ไม่ใช่เห็น ปัญญาที่เป็นแต่รู้ แต่เขาว่าเห็นด้วยปัญญา เห็นปัญญาไม่มีดวงตานี่ ถ้ามีดวงตาค่อยพูดเห็นกัน นี่ปัญญาจะมีดวงตาอย่างไร ไม่มีดวงตา แต่ว่าแปลกประหลาดอัศจรรย์เหลือเกิน เมื่อถึงพระอริยบุคคลแล้ว เป็นธรรมกายแล้ว ถ้ามารไม่ขวางนะ ความเห็นของตาไปแค่ไหน ความรู้ของทางปัญญาก็ไปแค่นั้น ความจำก็ไปแค่นั้น ความคิดก็ไปแค่นั้น

    ความรู้ ความคิด ความจำ ความเห็น 4 อย่างนี้แหละ 4 อย่างนี้เขาเรียกว่า ใจ 1 ความเห็น 2 ความจำ 3 ความคิด 4 ความรู้ 4 อย่างนี้แหละ หยุดเข้าเป็นจุดเดียว ซ้อนเป็นจุดเดียวเข้า เรียกว่า “ใจ” ดวงรู้มันซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ ดวงจำซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น มันเป็นชั้นๆ กันอย่างนี้ 4 อย่างนี้แหละ รวมเข้าเรียกว่าใจ ถ้าแยกออกไปละก็ เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกาย จำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิดนั่น ย่อมลงมาเท่าดวงตาดำข้างใน นั่นมีหน้าที่รู้ เรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั่น ดวงจิตเท่าลูกตานั่นดวงใจ เท่ากับเบ้าตานั่นดวงเห็น หมดทั้งร่างกายมี 4 อย่างเท่านี้ มี 1) ดวงเห็น ครอบอยู่ข้างนอกดวงจำ 2) ดวงจำ อยู่ข้างนอกดวงคิด 3) ดวงคิด อยู่ข้างนอกดวงรู้ 4) ดวงรู้ อีกดวงอยู่ข้างในดวงคิด เห็น จำ คิด รู้ 4 อย่างนี้แหละเป็นตัวสำคัญล่ะ

    เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง 4 อย่างนี้มาจากไหน ที่ตั้งของมันอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ดวงนั้น เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แท้ๆ กายมนุษย์จะเป็นอยู่ได้ก็เพราะอาศัยธรรมดวงนั้น ถ้าธรรมดวงนั้นไม่มีแล้วละก็ กายมนุษย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ดับ ถ้าธรรมดวงนั้นยังมีปรากฏอยู่ละก็ มนุษย์ไม่ดับ เป็นมนุษย์ปรากฏอยู่เหมือนกัน จะแก่เฒ่าชราช่างมัน พอดวงนั้นดับมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้ ต้องดับกัน ถ้าธรรมดวงนั้นผ่องใส มนุษย์ก็รุ่งโรจน์ผ่องใสเหมือนกัน ถ้าธรรมดวงนั้นขุ่นมัวเสีย มนุษย์ก็ซูบเศร้าไปไม่ผ่องใส ดวงนั้นเป็นสำคัญ ดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของเห็นของจำ ของคิด ของรู้ ดวงเห็นก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่อยู่ข้างนอก ดวงจำก็อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้ก็อยู่ข้างในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ในกลางของดวงคิดอีกทีหนึ่ง 4 ดวงอยู่นั่น ต้นเหตุอยู่นั่น ที่ออกมาปรากฏที่กายมนุษย์ก็ดี ที่หัวใจมนุษย์นี่ก็ดี ออกมาปรากฏอยู่เป็นดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ข้างนอกนี้ นี่เป็นดวงหยาบ นี่เป็นชั้นเป็นต้นเป็นปลาย นี่เป็นรากเง่า อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ในกลางดวงนั้นแท้ๆ

    อ้าย 4 ่ดวงนั้นแหละเรียกว่า ใจ ถ้าว่าหยุดเป็นจุดเดียวกันละก็ เอาละ ท่านยืนยันสมาธิมาแล้ว สมาหิตํ ยถาภูตํ ปชานาติ จิตตั้งมั่น หยุดเป็นจุดเดียวกัน รู้ตามความเป็นจริงทีเดียว ถ้าว่าไม่ตั้งมั่นก็ไม่เรียกว่าเป็นสมาธิ ตั้งมั่นแล้วก็เป็นสมาธิ นี่ได้แสดงมาแล้ว สมาธินี่แหละเป็นต้นของปัญญา ปัญญาที่จะมีขึ้นก็เพราะอาศัยสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ เข้าถึงสมาธิไม่ได้ก่อน มีปัญญาไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวสำคัญ เป็นปลาย เป็นของละเอียดมากทีเดียว ผู้ที่มีปัญญาเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ผู้ที่มีปัญญาต้องเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ปัญญาเป็นดวงอยู่ ปัญญาที่เป็นดวงอยู่นั่น จะต้องพูดให้กว้าง แสดงให้กว้างออกไป จึงจะเข้าเนื้อเข้าใจกันแท้ๆ ปัญญาเป็นดวงปลาย

    ธรรมในพระพุทธศาสนามีอยู่ 5 ดวง ถ้าว่าจะกล่าวถึงองค์ มี 10 ทสหิ องฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ 10 ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ องค์ 10 คืออะไร สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่ 8 องค์แล้ว สัมมาญาณ เป็นองค์ที่ 9 สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ 10 นี่มี 10 อย่างนี้ เมื่อผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ 10 ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ต้องมี 10 องค์ อย่างนี้จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าไม่เข้าถึงองค์ 10 อย่างนี้ เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ 8 องค์ย่อลงเป็น 3 สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นปัญญาไป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นศีลไป สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิไป ก็รวมว่าศีลอยู่กลาง สมาธิอยู่ปลาย ปัญญาอยู่ต้น แต่ว่าเมื่อมาถึงพระสูตรนี้เข้า ปัญญาอยู่ข้างปลาย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา องค์ 10 ย่อลงเหลือ 5 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นี่แหละหลักพระพุทธศาสนาละ

    ศีลน่ะ อยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ศีลถ้าว่าจะกล่าวตัวจริงละก็ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนั่นแหละ อยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด นี้แหละเป็นที่ตั้งของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้งนั้น ตลอดขึ้นไป 18 ดวง

    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด 8 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด [รวมเป็น] 10 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา-กายพระโสดาละเอียด [รวมเป็น] 12 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคา-กายพระสกิทาคาละเอียด [รวมเป็น] 14 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา-กายอนาคาละเอียด [รวมเป็น] 16 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต-กายพระอรหัตละเอียด [รวมเป็น] 18 กาย
    มีดวงธรรมทั้งนั้น ดวงโตขึ้นไปเป็นลำดับ เมื่อถึงธรรมกายโคตรภู ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้วดวงธรรมจะมีขนาดเท่าหน้าตักธรรมกาย ตลอดจนกระทั่งถึงเป็นพระอรหัต พระอรหัตหน้าตัก 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใส ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว อยู่ศูนย์กลางกายพระอรหัตนั้น นี่ให้รู้จักหลักนี้ก่อน

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในกลางดวงนี้ ดวงศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ดวงสมาธิก็อยู่ศูนย์กลางดวงศีลนั่นแหละ ดวงเท่าๆ กัน ดวงปัญญาก็อยู่ศูนย์กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงวิมุตติก็อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญานั่นแหละ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ กายมนุษย์ละเอียดก็อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น ถ้าต้องแสดงให้กว้างออกไปกว่านี้ ให้เข้าใจปัญญาชัดๆ อย่างนี้ละก็ จนกระทั่งถึงพระอรหัต ก็จะเข้ารู้จักปัญญาชัดๆ อย่างนี้ว่าปัญญามีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร

    เมื่อรู้จักดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา เช่นนี้แล้ว

    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะอีก เข้าถึงกายทิพย์
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เดินแบบเดียวกันนี้ทั้ง 18 กาย เดินไปแบบเดียวถึงพระอรหัตทีเดียว
    นั่นแหละต้องเดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะทั้งนั้น เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละเป็นหนทางนี่ ไม่ใช่ธรรมนี่ บอกเป็นหนทางนี่ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค หนทางมีองค์ 8 ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ก็พูดถึงหนทางนี่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทาง ถ้าว่าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีทางไป ไปนิพพานไม่ถูก ถ้าจะไปนิพพานให้ถูก ต้องไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนี่

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้จะแสดงในเรื่องปัญญา ดวงปัญญาของมนุษย์ก็ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ของมนุษย์ละเอียด ทิพย์-ทิพย์ละเอียด รูปพรหม-รูปพรหมละเอียด โตเป็นลำดับขึ้นไป ของอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด โตหนักขึ้นไป แต่ว่าถึงเป็นลำดับขึ้นไปเท่าไร ก็ยังไม่ถึงเท่ากายธรรม กายธรรมใหญ่มาก ดวงปัญญานั้นขนาดไหน ปัญญาน่ะออกจากดวงนั้น ธรรมดวงนั้นของปุถุชน ปัญญาของปุถุชนมัว ความเห็นมัวไม่ชัดนัก คล้ายๆ เปลือกๆ ปัญญา ไม่ได้ใช้กำเนิดของปัญญา ไม่ได้ใช้ปัญญาที่เป็นแก่น ใช้ปัญญาที่เป็นเปลือกๆ เท่านั้น ปุถุชนใช้ปัญญาผิวๆ เผินๆ ตัวเองก็ไม่เห็นปัญญา ไม่รู้จักว่ามันอยู่ที่ไหน และก็ไม่รู้จักว่ารูปพรรณสัณฐานมันเป็นอย่างไร เพราะไม่เห็น เพราะทำไม่เป็น พอทำเป็นแล้วจึงเห็น ทำเป็นน่ะเห็นปัญญาทีเดียวว่า ดวงโตเท่านั้นเท่านี้ อยู่ที่นั่นที่นี่ ใช้ถูกทีเดียว ถ้าว่าทำไม่เป็นแล้วไม่เห็นปัญญา เป็นแต่รู้จักปัญญาเท่านั้น ไม่เห็นมัน ปัญญาที่ว่า อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีปัญญา ปัญญานั่นดวงนั้นแหละ ประสงค์ดวงนั้น เรียกว่ามีปัญญาละ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิดความดับ ปัญญาก็ไม่ได้ดูอื่นนี่ ปัญญาน่ะมองดูแต่ความเกิดดับเท่านั้นแหละ หมดทั้งสากลโลกมีเกิดกับดับเท่านั้น รู้ชัดปรากฏชัดอยู่ว่าเกิดดับๆๆ เท่านั้น มีเกิดกับดับ ทั้งรู้ทั้งเห็นชัดทีเดียว เห็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น รู้อย่างไรก็เห็นอย่างนั้น เห็นกับรู้ ตรงกัน แต่ว่าเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ ตั้งต้นแต่มนุษย์ถึงรูปพรหมอรูปพรหม เห็นไม่ถนัดนักหรอก เห็นรัวๆ ไม่ชัดนัก เพราะเป็นของละเอียด เห็นความเกิดดับจริงๆ ตามนุษย์เรานี่ก็เห็น เอาไปเผาไฟเสียออกย่ำแย่เชียว ทิ้งน้ำ ฝังดิน เกิดดับๆ ทั้งนั้นแหละ หมดทั้งสากลโลก ตึกร้านบ้านเรือน ต้นไม้ ภูเขา สิ่งที่เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับ หมดทั้งนั้น เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้แหละ ไม่ใช่เห็นพอดีพอร้าย เราก็รู้ด้วยเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด รู้ชัดทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนปลาย รู้ได้ถี่ถ้วนดีทีเดียว นี้เรียกว่าปัญญา

    ปัญญาที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ ก็รู้เรื่องเหมือนกัน จะสิ้นไปแห่งทุกข์ด้วยวิธีอย่างไร ใช้ปัญญา แต่ว่ามัว ไม่ชัดทีเดียว เห็นโดยชอบที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันจริงแท้ หรือที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ เห็นจริงๆ รู้จริงๆ อย่างนี้ เห็นความสิ้นไป สิ้นไปแห่งทุกข์ทีเดียว ว่าทุกข์จะหมดไปได้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้ ถ้าไม่ถึงธรรมขนาดนี้ทุกข์หมดไปไม่ได้ นี้ความจริงก็รู้อยู่ชัด แต่ว่ารู้ด้วยปัญญา อย่างนี้รู้ด้วยปัญญา รู้อย่างชนิดนี้ เรียกว่า ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงนั้นขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ หมดทั้งก้อนกายเป็นตัวทุกข์แท้ๆ เกิดนี้เป็นทุกข์แท้ๆ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พวกนี้เป็นทุกข์แท้ๆ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ว่า อ้ายนี่ทุกข์แท้ๆ ทุกข์ทั้งก้อน พึงเห็นชัดว่าเป็นตัวทุกข์ทีเดียว ทุกข์แท้ๆ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ อ้ายทุกข์อันนี้เป็นผล ทำอะไรไม่ได้ เป็นทุกข์แท้ๆ ทั้งก้อนร่างกายนี้ เหตุให้มี เหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ให้รู้ชัดเห็นชัดเทียว กามตัณหา ความอยากได้ ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความไม่อยากให้มีให้เป็น นึกดูซี อยากได้อะไรเล่า ถ้าอยากได้ลูกสักคนซี เมื่อได้ แล้วเอามาทำไม เอามาเลี้ยงน่ะซี เมื่ออยากได้สัก 100 คนเล่า ให้เสีย 100 คนเทียว เอาแล้ว เห็นทุกข์แล้ว 100 ร้อยคน ต้องทำบริหารใหญ่แล้ว นี่ทุกข์แท้ๆ อยากได้ลูกนี่ อยากได้เมียสักคน อ้าวได้มาแล้ว เอามาทำไม อ้าวให้สัก 100 คนเชียว เอาอีกแล้ว เลี้ยงไม่ไหวอีกแล้ว เห็นทุกข์อีกแล้ว อ้าวอยากได้ไปซี เป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่อื่น เพราะกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อได้มาแล้ว ไม่อยากให้มันแปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ต้องแปรเป็นธรรมดา ไม่แปรไม่ได้ ต้องแปรอยู่เป็นธรรมดา เมื่อไม่อยากให้แปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ได้ฝืนกันล่ะ ได้ขืนกันล่ะ รู้ชัดๆ ซีว่าเป็นอย่างนี้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นทุกข์แท้ๆ

    ที่จะหมดไปสิ้นไป ไม่เป็นทุกข์ เราจะทำอย่างไร ต้องดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกข์เหล่านั้นจึงจะหมด ถ้าไม่ดับกามตัณหา ทุกข์ไม่หมดหรอก ถ้าดับเสียได้เป็นอย่างไร ถ้า ดับเสียได้ก็เป็นนิโรธนะซี นิโรธเขาแปลว่าดับ จะเข้าถึงซึ่งความดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องทำอย่างไร จะเข้าดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องเข้าถึงซึ่งมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง ไม่ใช่อื่น มรรคน่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง เดินไปทาง ศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์หยาบ

    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หลุดเสียแล้วกายมนุษย์หยาบ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียด หลุดไปแล้ว หมดทุกข์ไป อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ทุกข์หมด เข้ากายมนุษย์ละเอียด อย่างหยาบหมด เข้าถึงกายทิพย์ อย่างหยาบอย่างละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายรูปพรหม ส่วนโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม ส่วนราคะ โทสะ โมหะ หมด
    • เข้าถึงกายธรรม กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย หมด เข้าถึงกายธรรม เดินทาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระโสดา สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส หมด
    • เข้าถึงกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด
    • เข้าถึงกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด หมดกิเลส รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดไม่เหลือเลย เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม
    ที่พระองค์แนะนำให้รู้จักว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี วิราคธรรม เป็นยอดกว่าธรรมเหล่านั้น ถึงพระอรหัต ก็เข้าวิราคธรรมทีเดียว เป็นธรรมกายหน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่หมดทุกข์ แค่นี้หมดทุกข์ ทุกข์หมดไป สิ้นไป หาเศษ มิได้ นี่ดับทุกข์ได้จริงๆ อย่างนี้ เพราะดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าถึงวิชชา ดับ อวิชชาได้ทีเดียว นี่หลุดได้อย่างนี้นะ เมื่อหลุดได้อย่างนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในพระอรหัตยังมีไหมล่ะ ก็มีอยู่ซิ ทำไมจะไม่มีล่ะ ถ้าศีลไม่มี ท่านจะ บริสุทธิ์ได้ดีอย่างไร สมาธิมีไหมล่ะ สมาธิก็ดวงวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา ศีลก็เท่ากัน สมาธิ ก็เท่ากัน ปัญญาก็เท่ากัน นั่นแหละของพระอรหัต ท่านเรียกว่า โลกุตตรปัญญา เรียก ศีล สมาธิ ปัญญา ขั้นนั้นเป็นโลกุตตระอย่างสูง เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว พ้นจากสราคธาตุสราคธรรมไป เมื่อรู้จักชัดอย่างนี้แล้ว นี้แหละ ทางปัญญานี่แหละให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    ครั้นจะชี้แจงแสดงให้กว้างขวาง เวลาไม่จุพอ เสียงระฆังตีบอกเวลาอาราธนาให้สวด มนต์อีกแล้ว เหตุนี้ต้องย่นย่อในทางปัญญานี้ไว้พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวจฺเชน ด้วยอำนาจ ความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในเรื่องทางปัญญาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจง บังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ติลักขณาทิคาถา


    lphor_tesna_vn.jpg


    1 สิงหาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    อปฺปกา เตมนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
    อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ
    เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
    เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ
    กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องลักขณคาถา เครื่องหมายลักษณะ ของความจริง คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว (อนัตตา) ตามสภาพความเป็นจริงนี้ ที่นิยมใช้ในพระพุทธศาสนานัก เพราะแสดงความจริงทุกสิ่งทุกประการ ในลักษณะทั้ง 3 ประการนี้ เป็นภูมิของวิปัสสนา เป็นชั้นสูงเป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกคัมภีรภาพ เหตุนั้นที่จะ แสดงวันนี้ เพราะว่าลักษณะธรรมชั้นสูงนี้สมควรที่เป็นธรรมที่เป็นไปในปัญญา ไม่ใช่ทางศีล ไม่ใช่ทางสมาธิ เป็นทางปัญญาแท้ๆ เหตุนี้แล จะแปลเนื้อความตามวาระพระบาลีที่ได้ยกไว้ ในเบื้องต้น ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ เมื่อนั้นย่อม เหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้คือความหมดจดวิเศษ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีปกติไปสู่ฝั่งข้างโน้น ชนทั้งหลายเหล่านั้นมีประมาณน้อย อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ ส่วนชนนอกนี้ย่อม เลาะชายฝั่งนั่นแล เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ชนทั้งหลายเหล่าใดแล ประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวแล้วดี เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือพระนฤพาน ล่วงเสียซึ่งวัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่ง มัจจุ อันบุคคลข้ามได้ด้วยยากนัก กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต ผู้ดำเนิน ด้วยคติของปัญญา ละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น ดังนี้ นี่เนื้อความของบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไปว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ก็เมื่อบุคคลเห็นตามดังนี้ด้วยปัญญาของตนแล้ว ก็ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย นี้เป็นทางหมดจดวิเศษ นี่หนทางนี้เราต้องการ ให้พินิจพิจารณา ด้วยความรู้ความเข้าใจของตน นี่เป็นภูมิขั้นสูงนะ ไม่ใช่ภูมิขั้นต่ำ เห็นตาม ปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เห็นอย่างไรสังขารน่ะ คือ ปุญญาภิสังขาร สังขารที่บุญ ตกแต่ง อปุญญาภิสังขาร สังขารที่บาปตกแต่ง อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว

    ปุญญาภิสังขาร สังขารตกแต่งให้เกิดเป็นบุญขั้นมนุษย์นี่ ในชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล มนุษย์มีมากน้อยเท่าไร อยู่ในปุญญาภิสังขารทั้งนั้น ส่วนทิพย์ กายอุปปาติกกำเนิดเกิดเป็นกายทิพย์ในชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี 6 ชั้นนี้ นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร สวรรค์ทั้ง 6 ชั้นนี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร สังขารอันบุญตกแต่งทั้งนั้น รูปพรหมอีก 16 ชั้น พฺรหฺมปาริสชฺชา พฺรหฺมปโรหิตา มหาพฺรหฺมา ปริตฺตาภา อปฺปมาณาภา อาภสฺสรา ปริตฺตสุภา อุปฺปมาณสุภา สุภกิณฺหกา อสญฺญีสตฺตา เวหปฺผลา นี่ชั้นที่ 11 อสญฺญีสตฺตา เวหปฺผลา อยู่ในชั้นพรหมที่ 11 นี้ อวิหา อตปฺปา สุทสฺสา สุทสฺสี อกนิฏฺฐา นี้เรียกว่าชั้นสุธาวาส เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ขั้นพระอนาคามิมรรค-พระอนาคามิผล อยู่ในที่นี้ รูปพรหมทั้ง 16 ชั้นนี้เป็นปุญญาภิสังขาร ทั้งนั้น ส่วนอเนญชาภิสังขาร สังขารในอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ในอรูปพรหมทั้ง 4 นี้ก็จัดเป็นปุญญาภิสังขาร อีกเหมือนกัน ไม่ใช่ อปุญญาภิสังขาร

    อปุญญาภิสังขารต่ำกว่ามนุษย์ลงไป เรียกว่าอปุญญาภิสังขาร เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง 456 ขุม ลุ่มลึก ทุกข์ยาก ลำบากนัก ในอบายภูมิทั้ง 4 นี้ เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ฝ่ายสัตว์เดรัจฉาน ก็เห็นปรากฏว่าตัวใหญ่ ตัวเล็กตัวน้อย น่าสมเพชเวทนา เปรต อสุรกาย เราไม่เห็นด้วยตา เป็นแต่เขาเขียนรูปไว้ ให้ดู ถึงกระนั้นก็มีอยู่แท้ๆ สัตว์นรกเราก็ไม่เห็น เขาเขียนรูปไว้ให้ดูทั้งนั้น แต่ว่าเขาเห็นแล้ว เขาเขียนรูปให้ดู มีจริงๆ ไม่ต้องไปสงสัย เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เหล่านี้ สัตว์เดรัจฉาน เห็นปรากฏชัด นี้ได้ชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร

    อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว ตั้งแต่ อรูปสัตว์ อสัญญีสัตว์ ที่ชั่วคราวนะ ไม่หวั่นไหวชั่วคราวหนึ่ง นี้ตำรับตำราท่านยกเอาแค่นี้ แต่ว่า อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่ หวั่นไหว สังขารที่ไม่หวั่นไหวควรจะจัดสังขารที่บุญตกแต่งไม่ได้ บาปตกแต่งไม่ได้ ควรจะ เป็นอเนญชาภิสังขาร ส่วนโลกันต์นรกก็ไปหมกไหม้อยู่ในนั้น ไปทนทุกข์เวทนาอยู่ใน โลกันต์นรก นั่นจะจัดเป็นอเนญชาภิสังขารได้ไหมล่ะ ก็มันยังไปเกิดมาเกิดอยู่ ถ้านิพพาน ก็ได้ เป็น อเนญชาภิสังขาร ที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้ง 8 ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้ง 8 นี้เป็น อเนญชาภิสังขาร ได้ อเนญชาภิสังขาร เหล่านั้นก็มีหวั่นไหวอยู่ เคลื่อนไปมาอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ ธาตุล้วน ธาตุล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องอะไร นั่นแน่ควรจะเป็น อเนญชาภิสังขาร ธรรมล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสิ่งใด นั่นแน่ควรจะเป็นอเนญชาภิสังขาร แต่ว่า สังขารในที่นี้ ท่านประสงค์เอาอสัญญีสัตว์ อรูปสัตว์เป็น อเนญชาภิสังขาร ให้รู้จักหลักอันนี้

    สังขารเหล่านี้แหละเป็น อนิจฺจํ ไม่เที่ยงทั้งนั้น แปรผันไปหมด ปรากฏว่าจะเป็น ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อเนญชาภิสังขารก็ดี สังขารเหล่านี้ไม่เที่ยงทั้งนั้น ยักเยื้องแปรผันอยู่ปกติธรรมดา เหมือนมนุษย์ที่ยักเยื้องเป็นมนุษย์ สัตว์เดรัจฉานก็ยักเยื้อง ส่วนสัตว์เดรัจฉาน อสุรกายก็ยักเยื้องทั้งนั้น ที่เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร กายทิพย์ ทิพยกาย หรือพรหมกาย ส่วนอรูปพรหม กายเหล่านี้เป็นอเนญชาภิสังขาร และกายเหล่านี้ไม่เที่ยง มียักเยื้องแปรผันอยู่ ตามจริงเป็นอย่างนี้ ที่ไม่เที่ยงเป็นอย่างไร ก็มีเกิดขึ้น ท่ามกลางมีแก่ แปรไป ในอวสานที่สุดแตกสลายไป ไม่ได้เหลือตนแต่สักคนเดียว เบื้องต้นมีเกิดขึ้น ท่ามกลางมีแก่แปรไป อวสานที่สุดมีสิ้นสลายหายไป เอาจริงเอาจังไม่ได้สักอย่างหนึ่ง ดังนี้ เรียกว่าไม่เที่ยง นี่ในพระคาถาต้น เมื่อสิ่งที่ไม่เที่ยงที่เราเห็นเช่นนี้ เราจะเป็นอย่างไรบ้าง ใจคอก็สลด ใจไม่อยากจะได้ ไม่อยากจะเอื้อเฟื้อ ไม่อยากจะเกี่ยวข้อง เพราะมันไม่เที่ยง ยักเยื้องแปรผันไปเช่นนี้ เกี่ยวข้องก็เสียเวลาเปล่า คล้ายๆ กับหลอกๆ ลวงๆ เล่น ไม่จริงไม่จัง อะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ใจของเราก็ไม่เกี่ยวข้องในสังขารนั้นๆ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่เกี่ยว ก็ใจมันก็ไม่ติดในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ไม่ติด ไม่เกาะไม่ติด เมื่อไม่ติดแล้วใจไม่เกาะอะไรเลย ใจมันก็ว่างจากสังขารเหล่านั้น ไม่เกี่ยวเกาะในสังขารเหล่านั้น ใจก็ว่าง ใจว่างนั้นแหละ เป็น หนทางหมดจด ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ใจที่ว่างนั่นแหละเป็นหนทางหมดจด ว่างจากสังขาร เหล่านั้น ไม่เกี่ยวเกาะด้วยสังขารเหล่านั้น ไม่ติดในสังขารเหล่านั้น เรียกว่าใจหมดจด เป็น หนทางบริสุทธิ์ นี่แหละทางบริสุทธิ์ เป็นทางไปของพระอริยบุคคล ตั้งต้นแต่โสดา สกทาคา อนาคา อรหันต์ ไปทางนี้ ไปทางหมดจดนี้ ผู้ที่เป็นวิปัสสนาคามินี ย่อมเห็นแจ้งชัดเจนใน สิ่งที่ไม่เที่ยงทั้งหลาย เหล่านั้น เป็น วิปัสสนาคามินีเห็นแจ้งชัดอยู่ว่าสังขารเหล่านี้ ไม่เที่ยงจริงๆ

    เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นอย่างไร ในบาทที่ 2 รองรับลงไปว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่ทางหมดจดวิเศษอีกเหมือนกัน ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เห็นสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เป็นทุกข์จริงๆ นะ ไม่เป็นสุขหรอก ถ้ามีความเกิดแล้วก็เป็นทุกข์ มีเกิดเป็นเบื้องต้น มีแก่แปรไปในท่ามกลาง มีตายไปเป็น อวสาน เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว สังขารทั้งหลายเหล่านั้นล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่เป็นสุข สังขาร ดังกล่าวแล้วจะเป็น ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร สังขารที่เป็นไปใน ภพ 3 กามภพ รูปภพ อรูปภพ หรือ เป็นไปในวัฏฏะทั้ง 3 กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อเป็นสังขารแล้วจะได้เป็นสุขเป็นอันไม่มี ย่อมเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ก็เทวดาเขาว่าเป็นสุขอย่างไรเล่า เป็นสุขหลอกๆ ไม่ใช่สุขจริงๆ สุขหลอกลวงเหมือนสุข มนุษย์อย่างนี้แหละ ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะร่าเริงบันเทิงใจ ประเดี๋ยวหน้าดำคร่ำเครียด เสียอกเสียใจกันวุ่นวายแล้ว แตกกายทำลายนี้แล้ว เจ็บปวดขึ้นแล้ว ตึงตังเกิดขึ้นรบทัพ จับศึก ตายกันสิ้นแล้ว เป็นทุกข์กันจ้าละหวั่นแล้ว เหตุนี้ไม่เที่ยงอย่างนี้ ยักเยื้องแปรผันอยู่ อย่างนี้ แล้วก็เป็นทุกข์จริงๆ อยู่อย่างนี้ สิ่งไม่เที่ยงมีอยู่เท่าไรก็เป็นทุกข์อยู่เท่านั้น ไม่มี สุขเลย ก็เป็นเทวดาเขาว่าเป็นสุขนัก พรหมก็ว่าเป็นสุขนักอย่างไรเล่า ก็สุขชั่วคราว สุข ประเดี๋ยวๆ แล้วก็กลายไปเป็นทุกข์อีกต่อไป เมื่อเห็นจริงเช่นนี้ ไม่ติดไม่เกี่ยวด้วยสังขาร เหล่านี้เสียได้ละก้อ นั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษ ไม่เอาใจไปเกี่ยวกับสังขารเหล่านี้ เป็นหนทางหมดจดวิเศษ นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าของพระอรหันต์ ทางไปของพระอริยบุคคล ทางไปของพระโสดา สกทาคา อนาคา นี่เป็นทางไปอย่างนี้ นี่ได้ชื่อว่าเป็นทางหมดจด วิเศษ เป็นทางไปของวิปัสสนาญาณิกด้วย ที่จะไปสู่โสดา สกทาคาเหล่านั้นได้ ต้องอาศัย รู้จริงเห็นจริงในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นพระคาถาที่ 2

    คาถาที่ 3 ตามลำดับไปว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางหมดจดวิเศษ นี่ถึงจะจริง ละได้จริง เอาตรงนี้ แหละว่าธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ธรรมทั้งปวงน่ะอยู่ที่ไหน สังขารมีที่ไหน ธรรมมีที่นั่น สังขาร อยู่ที่ไหน ธรรมอยู่ที่นั่น ปุญญาภิสังขาร สังขารอันบุญตกแต่ง อปุญญาภิสังขาร สังขารอัน บาปตกแต่ง อเนญชาภิสังขาร สังขารมีสิ่งที่มิใช่บุญมิใช่บาปตกแต่งตามหน้าที่กัน ดังนี้ ธรรมทั้งปวงอยู่ในกายมนุษย์ด้วยกันทุกคน กายมนุษย์นี้ล้วนเป็นปุญญาภิสังขาร

    จะกล่าวถึง ธรรม ทั้งปวงต่อไป คือ เป็นดวงใส มนุษย์ได้มาด้วยความบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องพิรุธเลย พอแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์ ก็ติดดวงธรรม อันนั้น สำหรับให้เกิดเป็นมนุษย์ ได้ดวงธรรมดวงหนึ่งสำหรับเกิดเป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่เป็นกายมนุษย์ มีธรรมดวงเท่านี้ กายมนุษย์ละเอียดก็มีธรรมอีก ดวงหนึ่งเหมือนกัน จึงเป็นกายมนุษย์ละเอียด 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว กายทิพย์มีอีกดวงหนึ่งเหมือนกัน กลม 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว กายทิพย์ ละเอียดมีอีกดวงหนึ่ง 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัวเหมือนกัน กายรูปพรหม 5 เท่า ฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัวเหมือนกัน กายรูปพรหมละเอียด หกเท่าของฟองไข่แดง ของไก่ ใหญ่ กลมรอบตัวเหมือนกัน ใสอยู่กลางกายนั้น ส่วนกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าของ ฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัวเหมือนกัน ส่วนกายอรูปพรหมละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดง ของไก่ กลมรอบตัวเหมือนกัน ดวงธรรมนั่นแหละไม่ใช่ตัว เป็นที่อยู่ของตัว เป็นที่อาศัยของตัว เป็นที่ทำตัวให้ปรากฏอยู่ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว แต่ตัวสมมติทั้งนั้น

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ล่ะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นก็ไม่ใช่ตัว เหมือนกัน แต่ว่าให้ตัวอาศัย ให้ตัวอาศัย คือ กายมนุษย์ละเอียดอาศัย กายมนุษย์ละเอียด ก็ไม่ใช่ตัว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว ให้กายทิพย์อาศัยกายทิพย์ก็ ไม่ใช่ตัว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ตัว กายมนุษย์ๆ หมดทั้งร่างกายประกอบด้วย เบญจขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ไม่ใช่ตัวทั้งนั้น ส่วนธรรมที่ทำให้ เป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง ทั้งนั้น ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 บังเกิดขึ้นหรืออาศัยอยู่ได้ มันก็ไม่ใช่ตัว ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว ขันธ์ทั้ง 5 ของกายมนุษย์ละเอียดก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง แบบเดียวกัน แล้วก็ไม่ใช่ตัว เป็น อนัตตา ส่วนกายทิพย์ก็ประกอบด้วย เบญจขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง ส่วนดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ตัวเหมือนกัน แต่ว่ากายมนุษย์ที่เป็นตัว ก็ตัวโดยสมมติ ดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ เรียกว่าไม่ใช่ตัวนั่น ไม่ใช่ตัวแท้ๆ เป็นที่อาศัยของตัว เป็นที่อาศัยของ ตัว คือ กายมนุษย์ละเอียด

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว ส่วนเบญจขันธ์ทั้ง 5 ของกาย มนุษย์ละเอียด ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว ซึ่งเป็นกายทิพย์ กายทิพย์ก็ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น อนิจจัง ทุกขัง

    ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กายทิพย์ ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กายรูปพรหม รูปพรหมหมดทั้งร่างกายประกอบด้วยเบญจขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง

    ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กาย รูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดก็ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง

    ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง ประกอบด้วยเบญจขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัว เหมือนกัน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

    ส่วนดวงธรรมที่ให้เป็นกายอรูปพรหมเล่า ก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมละเอียดก็ประกอบด้วยขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง

    ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว ตัว เหล่านี้โดยสมมติทั้งนั้น ไม่ใช่วิมุตติ

    สูงขึ้นไปกว่านี้ เข้าถึงกายธรรม กายธรรมคราวนี้เป็นตัวหละ กายธรรมเป็นตัว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม กายธรรมนั่นแหละเป็นตัว กายธรรมนั่นแหละเป็น นิจจัง สุขัง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เป็นอัตตา ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย 8 กายเบื้องต้น ก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว จะเป็นอัตตายังไม่ได้ เพราะยังเป็นสมมติอยู่ กายธรรมของธรรมกาย ละเอียดที่อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอยู่นั่น เรียกว่ากายธรรมละเอียด กายธรรม ละเอียดนั้น แต่ว่าตั้งแต่กายธรรมไปสิบกาย กายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายโสดา-โสดาละเอียด, กายสกทาคา-กายสกทาคาละเอียด, กายอนาคา-กายอนาคาละเอียด เหล่านี้ยกเป็นตัวทั้งนั้น ควรยกเป็น นิจจัง สุขัง ทั้งนั้น ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย เล่า หมดทั้งก้อนนั่นแหละเป็นอัตตา เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา ส่วนกายพระอรหัต ถ้าถึง พระอรหัตละก้อ เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา แท้ๆ กายธรรมก็มีขันธ์เหมือนกัน แต่เป็นธรรมขันธ์ ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์เสีย มีธาตุเหมือนกัน เป็นวิราคธาตุ เป็นวิราคธรรม เป็นธรรมไปทั้งก้อน เพราะฉะนั้นกายธรรมพระอรหัต เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา หมดทั้งก้อน กายพระอรหัตละเอียดก็เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา หมดทั้งก้อน

    เมื่อรู้จักดังนี้แล้ว ก็นี่แหละถ้าจะไปนิพพานไปได้ทางนี้ ทางอื่นไปไม่ได้ ที่พระองค์ ทรงรับสั่งไว้ อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ตนเป็นเกาะ ตนเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา นาญฺญสฺสรณา ธรรมเป็นเกาะธรรมเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง ตน นั่นแหละเป็นเกาะ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง ธรรมนั่นแหละเป็นเกาะ ธรรม นั่นแหละเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง

    เมื่อมาถึงกายมนุษย์เข้า ก็มีตนมีธรรม ตนก็คือกายมนุษย์ นี่ ตนโดยสมมติ ธรรม ก็คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น พอถึงกายมนุษย์ละเอียด มีตนมีธรรมอย่างนั้นอีก ตนก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ธรรมก็คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นแหละ ส่วนกายทิพย์ก็แบบเดียวกัน กายทิพย์ละเอียดก็แบบเดียวกัน กายรูปพรหม ก็แบบเดียวกัน กายรูปพรหมละเอียดก็แบบเดียวกัน กายอรูปพรหมก็แบบเดียวกัน กาย อรูปพรหมละเอียดก็แบบเดียวกัน กายทั้ง 8 กาย มีตนมีธรรมแบบเดียวกัน

    ถึงพระธรรมกายทั้งสิบกาย ธรรมกายโคตรภู ธรรมกายนั่นแหละเป็นตนหละ เป็น ตนโดยวิมุตติด้วย ไม่ใช่สมมติด้วย กายธรรมนั่นเป็นตนหละ ดวงธรรมที่เป็นธรรมกาย กลม รอบตัว โตเท่าหน้าตักของธรรมกาย นั่นก็เป็นธรรมหละ กายธรรมละเอียดก็มีตนเหมือนกัน กายธรรมโสดาละเอียดก็มีตนมีธรรมแบบเดียวกัน กายธรรมสกทาคาละเอียดก็มีตนมีธรรม แบบเดียวกัน กายธรรมพระอนาคาละเอียดก็มีตนมีธรรมแบบเดียวกัน กายธรรมพระอรหัต ละเอียดก็มีตนมีธรรมเป็นแบบเดียวกัน แบบเดียวกันแท้ๆ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง จะไปพึ่งสิ่งอื่น นอกจากตนที่ทำให้เป็นตนนี้ไม่ได้

    แต่ว่ากายทั้งแปดอยู่ในภพนั้น ตนก็เป็นโดยสมมติ ธรรมก็เป็นโดยสมมติเหมือนกัน ไม่ใช่วิมุตติทั้งนั้น ส่วนตนและธรรมที่เป็นธรรมกาย โสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด สกทาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียด อนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด นี่แหละเป็นพวกวิมุตติทั้งนั้น แต่ไม่ใช่วิมุตติ ขาดเด็ดลงไป วิมุตติขาดเด็ดก็ได้แก่พระอรหัต ตนก็เป็นวิมุตติขาดเด็ดทีเดียว ส่วนธรรมก็ วิมุตติขาดเด็ดทีเดียว หมดจากสังโยชน์เบื้องต่ำเบื้องสูงหมด หลุดไปหมดทีเดียว นี่ได้ชื่อว่า เป็นตน เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา เข้าถึงพระอรหัตทีเดียว นี่แหละแน่แท้ไม่ต้องสงสัย เมื่อเข้าใจ ดังนี้ ท่านจึงได้เชิดชี้ตำรับตำราวางลงไว้ว่า อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน ใน บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีปกติไปถึงฝั่งคือพระนิพพาน ชนเหล่านั้นมีประมาณ น้อย ไม่ใช่ไปง่ายๆ ถึงพระอรหันต์แล้วจึงไปได้ ถึงธรรมกายแล้วไปได้ ถึงพระอรหันต์ ไปเลยไม่กลับ ถ้าถึงธรรมกายไปแล้วกลับ เหมือนวัดปากน้ำมีธรรมกายกันตั้ง 150 กว่า ไป นิพพานได้ทั้งนั้น ไปแล้วกลับ ไปแล้วกลับมา มีน้อยนักที่มีปกติไปสู่นิพพาน มีน้อยนัก อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ ส่วนชนนอกนี้ย่อมเลาะชายฝั่งแน่แลคืออยู่ฝั่งข้างภพนี้ ไม่ไปนิพพาน งุ่มง่ามอยู่ในฝั่งข้างนี้ ภิกษุสามเณรตั้งใจจะไปนิพพานกัน แต่ก็เลาะอยู่ชายฝั่ง นั่นเอง ไปไม่ได้กัน ไม่ถึงธรรมกายไปไม่ได้ ถึงธรรมกายแล้วก็ไปนิพพานได้ ไปไม่ได้แหละ เรียกว่าเลาะชายฝั่ง เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ส่วนชนทั้งหลายเหล่าใด มีปกติประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวชอบแล้ว ตามหลักของทางมรรค ผลไป อย่าให้เคลื่อนจากทางมรรคผลนั้น ได้ชื่อว่าปฏิบัติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคต เจ้ากล่าวชอบแล้ว เป็นทางมรรคผล ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่ให้ไป ทางนี้ ทางอื่นไม่มี มีทางเดียวเท่านี้ เป็นเอกายนมรรค เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ ใครปฏิบัติ ถูกต้องร่องรอยเช่นนั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพานแท้ๆ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ล่วงเสียซึ่ง วัฏฏะอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุอันบุคคลข้ามได้ยากนัก ล่วงวัฏฏะ นั้น กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ เป็นที่ตั้งของมัจจุ เพราะวัฏฏะเป็นที่ตั้งของมัจจุ ต้องตายอยู่ร่ำไป ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเรื่อย เมื่อเป็นเช่นนี้ ที่จะพ้นไปจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้ ได้ยากนัก ไม่ใช่เป็นของได้ง่าย หลักเป็นดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ควรแน่ ในใจของตัวเสียว่า วัฏฏะเป็นที่ตั้งของมัจจุนี้ มันเป็นตัวกิเลสแท้ๆ ถ้าเราไม่พ้นกิเลสตราบใด ละก้อ เราต้องเวียนว่ายตายเกิดในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่จบไม่แล้วล่ะ ต้องเข้าถึง ธรรมกายให้ได้ ไปดูนิพพานให้ได้ ถ้าไปดูนิพพานเห็นได้แล้วละก็ จะชอบใจสักเพียงไหน ไปดูที่นิพพานเป็นอย่างนี้ กามภพเป็นอย่างนี้ กามภพนั่นไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ ยังมีอบายภูมิ ทั้ง 4 ถ้าประพฤติผิดความดีคราวใดละก้อ เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็น อสุรกายบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง ต้องตกลงไปโน้น นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะกิเลสมันบังคับ ให้เป็นไป ต้องรับทุกข์ลำบากอย่างนั้น เมื่อรู้จักเช่นนั้นแล้ว ตั้งใจเสียให้แน่แน่วว่า เราจะ ดำเนินตามร่องรอยของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไปสู่มรรคผลนิพพานดีกว่า เป็นสุขพิเศษ ไพศาลนัก อื่นไม่มี ยิ่งกว่านิพพานเป็นไม่มี เมื่อรู้จักเช่นนี้ให้ตั้งใจหมายมั่นให้เราเห็นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว หลีกจากสังขารทั้งหลายที่ ไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายที่เป็นทุกข์ หลีกจากสังขารเหล่านั้นไปเสีย ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว หลีก จากธรรมที่ไม่ใช่ตัวไปเสีย เข้าถึงตัวให้ได้ เข้าถึงธรรมกายให้ได้ ธรรมกายเป็นตัว ธรรมกาย เที่ยง อื่นจากธรรมกายนั้น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่กายในภพ ส่วนธรรมกายนั้นเป็น นิจจัง สุขัง อัตตา นี่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งนั้น แต่ว่าจะไปทางธรรมกาย ต้องใจหยุด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ หยุดอยู่นั้นแหละ หยุดหนักเข้า เข้ากลางของหยุดนั่นไป ก็จะเข้าถึงกายมนุษย์ ละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด ไปทีเดียว นี่ไปทางนี้ ไปทางอื่นไม่ได้ ผิดทั้งนั้น ให้รู้จักหลัก อันนี้ ตั้งใจให้มั่น มาประสบพบพุทธศาสนา เราจะต้องดำเนินให้ถูกร่องรอยของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ให้ได้ จะได้ไปนิพพานในอัตภาพที่เป็นมนุษย์นี้ จะประสบความสุขสมมาดปรารถนา ที่ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่ เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกทั่วหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดย อรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม แต่ทำไมทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอนทุกครั้งไป ?


    ตอบ:

    ท่านมหาบอกว่า สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม ทำไมดิฉันทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอน ทุกครั้งไป ?

    อันนี้เป็นคำถามที่ดีครับ โปรดเข้าใจว่าจิตใจที่กำลังจะเป็นสมาธิที่แนบแน่น กับจิตใจที่กำลังจะหลับ มีอาการคล้ายกัน จิตใจที่ก่อนจะตายด้วย จิตใจที่กำลังจะเกิด จะดับ (คือตาย) จะหลับจะตื่น จะมีอาการอย่างนี้คือ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือพอดี จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาทำหน้าที่ต่อไป เช่นถ้าคนนอนหลับก็อาจจะทำหน้าที่ฝัน ถ้าคนจะตายก็ไปเกิด เพราะฉะนั้นอาการของใจคนที่จะเป็นสมาธิก็มีว่า จิตดวงเดิมที่ขุ่นมัวด้วยกิเลสนิวรณ์ก็จะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ก็จะลอยปรากฏขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ในอาการเดียวกันกับคนจะหลับ จิตดวงเดิมก่อนหลับก็จะตกศูนย์ ใจที่จะทำหน้าที่หลับ แล้วไปทำหน้าที่ฝันก็จะลอยขึ้นมา อาการตรงนี้จะมีอาการเคลิ้มๆ แต่ความเคลิ้มนั่นเพราะใจมารวมหยุดนิ่งโดยอัตโนมัติโดยธรรมชาติ ถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่นั่นเป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้าเผลอสติมันก็หลับ เพราะฉะนั้น อาการหลับกับอาการที่สมาธิกำลังจะเกิดแนบแน่น เป็นอาการเดียวกัน ต่างกันที่สติสัมปชัญญะ ยังอยู่หรือว่าเผลอสติ ถ้าเผลอสติก็หลับ เช่น เราตั้งใจว่าเราจะหลับ เราบริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ เราตั้งใจจะหลับ เราปล่อยใจให้เผลอสติพอจิตรวมกันหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์กลางกายที่นี่ก็จะหลับเลย

    เพราะฉะนั้นวิธีแก้โรคคนที่ใจฟุ้งซ่านนอนไม่หลับ ให้บริกรรมภาวนาเอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย สัมมาอรหังๆๆ ให้ใจรวมลงหยุดที่ศูนย์กลางกาย พอรวมแล้วเรากำหนดในใจว่าเราจะหลับ สติจะเผลอแล้วก็จะหลับได้โดยง่าย

    เพราะฉะนั้น คนทำสมาธิแล้วง่วง เพราะตรงนี้เผลอสติ ถ้าไม่เผลอสติ ทำใจให้สว่างไว้ ให้รู้สึกตัวพร้อมอยู่ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์จะรู้สึกมีอาการเหมือนหวิว นิดหน่อย แล้วใจดวงใหม่ จะปรากฏใสสว่างขึ้นมาเอง แล้วใจก็หยุดนิ่งกลางดวงใสสว่างนั่น ก็จะใสสว่างไปหมดเลย ไม่ง่วง ไม่ซึม เข้าใจนะ ถ้าใครนั่งง่วงหลับงุบงับๆ แล้วก็ให้พึงเข้าใจว่า ใจไม่เป็นสมาธิแล้วนะ กำลังเผลอสติจะหลับแล้ว ต้องพยายามอย่าเผลอสติ ให้มีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลสนิวรณ์อยู่เสมอ

    แต่ถ้าประสงค์จะทำสมาธิเพื่อให้หลับสนิท ก็กำหนดใจไปว่า เราจะหลับก็หลับ เมื่อทำบ่อยๆ แล้วเราจะกำหนดได้แม้แต่ว่าจะตื่นภายใน 1 ชั่วโมง เราจะตื่นภายใน 15 นาที เราจะ ตื่นภายในเวลาเท่าไร ก็จะเป็นไปตามนั้น
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    สังวรคาถา


    lphor_tesna_vn.jpg


    30 กรกฎาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ กุสีตํ หีนวีริยํ
    ตํ เว ปสหตี มาโร วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลนฺติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในสังวรคาถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภความสำรวม ระวัง เพราะเราท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย คฤหัสถ์บรรพชิตทุกท่านถ้วนหน้า เมื่อได้มา ปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ถ้าปราศจากความสำรวมระวังแล้วก็เป็นประพฤติปฏิบัติดีไม่ได้ ถ้าว่าไม่ปราศจากความสำรวมระวังแล้ว เป็นอันประพฤติดีได้ ปฏิบัติดีได้ เหตุนั้นเราท่าน ทั้งหลายควรตั้งอยู่ในความสำรวมระวัง ความสำรวมระวังนี้พระองค์ทรงรับสั่งนัก ตักเตือน อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ สามเณร ในธรรมวินัย เพื่อจะให้ตรงต่อมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าแม้ว่าปราศจากความสำรวมระวังแล้ว จะไปสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้ ต้องเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่รู้จักจบจักแล้ว ต้องเวียนว่ายข้องขัดอยู่ในวัฏฏะทั้ง 3 คือ กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ พ้นจากวัฏฏะไปไม่ได้ จะไปจากวัฏฏะได้ต้องอาศัยความ สำรวมระวัง ที่พระองค์ทรงรับสั่งตามวาระพระบาลีว่า สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ กุสีตํ หีนวีริยํ ตํ เว ปสหตี มาโร มารย่อมรังควานบุคคลนั้นได้ คือ สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ ผู้เห็นตามซึ่งอารมณ์อันงามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จัก ประมาณในโภชนะการบริโภคอยู่ กุสีตํ จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด คือไม่มีศรัทธา เกียจคร้าน หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ เหมือนลมเมื่อพัดมาแต่ เล็กน้อยเท่านั้น ต้นไม้ที่ใกล้จะทลายอยู่แล้ว ไปกระทบลมเข้าจากทิศ ทั้ง 4 ทิศแต่อย่างใด อย่างหนึ่ง ก็โค่นล้มลงไปง่ายๆ เพราะมันใกล้จะล้มอยู่แล้วนั้น อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ โภชนมฺหิ มตฺตญฺญุ ํ สทฺธํ อารทฺธวีริยํ ตํ เว นปฺปสหตี มาโร วาโต เสลํว ปพฺพตํ บุคคลผู้เห็นตามอารมณ์อันไม่งามอยู่ สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ เครื่องใช้สอยกินอยู่บริโภค มีศรัทธา ปรารภความเพียร นั้นแหละ มารรังควานไม่ได้ เหมือนลมซึ่งจะพัดภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหินให้สะเทือนไม่ได้ จกฺขุนา สํวโร สาธุ สำรวม นัยน์ตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ โสเตน สํวโร สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ฆาเนน สํวโร สาธุ สำรวมจมูกได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ ชิวฺหาย สํวโร สำรวมลิ้นได้ยังประโยชน์ ให้สำเร็จ กาเยน สํวโร สาธุ สำรวมกายได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ วาจาย สํวโร สำรวม วาจาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ มนสา สํวโร สาธุ สำรวมใจได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร สำรวมในทวารทั้ง 6 นั้นได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกษุผู้ สำรวมได้แล้วในทวารทั้งสิ้น สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วย ประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อจากนี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในสังวรคาถาเป็นลำดับๆ ไป เพราะว่าเป็น ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี เมื่อไม่มีความสำรวมแล้ว จะเป็นภิกษุที่ดี ไม่ได้ หรือจะเป็นสามเณรที่ดีก็ไม่ได้ หรือจะเป็นอุบาสกที่ดีก็ไม่ได้ เป็นอุบาสิกาที่ดีก็ไม่ได้ เพราะปราศจากความสำรวม ถ้าว่าสำรวมได้เสียแล้วก็เป็นคนดี ภิกษุก็เป็นภิกษุดี สามเณร ก็เป็นสามเณรดี อุบาสกก็เป็นอุบาสกดี อุบาสิกาก็เป็นอุบาสิกาดี เพราะความสำรวมเสียได้

    ผู้สำรวมได้-ไม่ได้ เป็นไฉน ผู้เห็นตามอารมณ์ที่งามอยู่ รูปก็น่าจะชอบใจ น่าปลื้มใจ น่าปีติ น่าเลื่อมใส ไปเพลินในรูปเสียแล้ว เสียงเป็นที่ชอบใจก็ชอบใจในเสียง เสียงอันน่า ปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ ร่าเริงบันเทิงใจ ไปเพลินในเสียงเสียแล้ว กลิ่นหอม เป็นที่นิยมชมชอบประกอบด้วยความเอิบอาบ ปลื้มปีติ ปลาบปลื้มในใจด้วยกันทั้งนั้น เอ้า! ไปเพลินในกลิ่นเสียแล้ว รสเป็นที่ชอบใจ ปลื้มปีติในรสนั้น ชอบเพลิดเพลินในรสนั้นๆ เอ้า! ไปเพลินในรสนั้นๆ เสียแล้ว สัมผัสเป็นที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจ ไม่อยากทิ้งไม่อยากขว้าง ไม่อยากห่างไป เหมือนนกกระเรียนตกเปือกตม เพลินอยู่ในสัมผัสนั้น ทิ้งสัมผัสไม่ได้ เพลิดเพลินในสัมผัสเสียแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นี่เรียกว่า โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่เกิด กับใจ นอนครึ่งคืนค่อนคืนไม่หลับ เพลิดเพลินอารมณ์ที่ล่วงไปเสียแล้วคราวนั้นๆ เพลิด เพลินนึกถึงอารมณ์ก็เพลินไปในเรื่องอารมณ์นั้นๆ อารมณ์ในปัจจุบันละก้อ เพลิดเพลิน เหมือนกัน จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้าเรื่อยทีเดียว จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้า เพลิดเพลิน อีกเหมือนกัน ถ้าไปเพลิดเพลินอารมณ์ดังนั้น ได้ชื่อว่าสำรวมไม่ได้ เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้

    เรียกว่าเพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ที่ชอบใจ หลงใหลในอารมณ์ที่ชอบใจ คลั่งไคล้ในอารมณ์ ที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจในอารมณ์ที่ชอบใจ เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้ เมื่อเพลิดเพลินเสียดังนี้ ละก้อ อินฺทฺริเยสุ อสํวุโต มันก็ไม่ระวังตา ไม่ระวังหู ไม่ระวังจมูก ไม่ระวังลิ้น ไม่ระวังกาย ไม่ระวังใจ ไม่ระวังอินทรีย์ทั้ง 6 อินทรีย์ทั้ง 6 เป็นตัวศีลสำคัญของพระภิกษุสามเณรทีเดียว ถ้าทอดธุระเสียแล้วก็เหลวไหลทีเดียว ถ้าไม่ทอดธุระละก็ใช้ได้ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ ไม่รู้จัก ประมาณในโภชนาหาร ไม่รู้จักบริโภคโภชนาหาร ถึงกับเป็นหนี้เป็นข้าเป็นบ่าวเขาเชียวหนา ไม่รู้จักบริโภคในโภชนาหารนะ คือไม่รู้จักประมาณใช้สอย หาเงินเท่าไรก็ใช้ไม่พอ หาเงิน เท่าไรก็หมด ใช้ไม่รู้จักประมาณ บริโภคก็ไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักประมาณในวันนี้ พรุ่งนี้ต่อไป ก็ไม่รู้จักประมาณ ต้องกู้หนี้ยืมสินเขาบริโภคใช้สอยไป นี่เพราะไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ในการบริโภค นี่ก็ร้ายกาจนัก หรือบริโภคเข้าไปแล้ว ไฟธาตุย่อยอาหารไม่สำเร็จ เกิดโรคภัย ไข้เจ็บขึ้น ถึงแก่เป็นอันตรายแก่ชีวิตทีเดียว นี่ต้องคอยระแวดระวัง โภชนาอาหารต้องระวัง มากทีเดียว ถ้าระวังไม่มากก็ให้โทษแก่ตัวไม่ใช่น้อย กุสีตํ จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึง เกลียด กุสีตํ เขาแปลว่า คนเกียจคร้าน คนไม่มีศรัทธา มาอยู่วัดอยู่วาก็นอนอืด อยู่บ้านก็ นอนอืด ไม่มีศรัทธาไม่เชื่อมั่นเข้าไปในพระรัตนตรัย เป็นคนปราศจากความศรัทธา เป็นคน เกียจคร้านเช่นนี้แล้วละก็ บัณฑิตเกลียดนัก ท่านถึงได้แปลว่า กุสีตํ ผู้จมอยู่ด้วยอาการอัน บัณฑิตพึงเกลียด คนมีปัญญาเกลียดนักคนเกียจคร้าน แต่ชอบสรรเสริญนิยมคนขยัน คนหมั่น ขยัน คนเพียร คนมีศรัทธาเลื่อมใส นั่นเป็นที่ชอบของนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลาย คนเกียจ คร้านเป็นไม่ชอบ หีนวีริยํ มีความเพียรเลว มีความเพียรเลวทำแต่ชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจต่างๆ ความเพียรใช้ไม่ได้ ถึงจะเพียรทำไปสักเท่าใด ก็ให้โทษแก่ตัว ไม่ได้ประโยชน์ แก่ตัว ในจำพวกเหล่านี้ได้ชื่อว่าไม่พ้นมาร มารย่อมรังควานได้ เป็นลูกมือของพญามาร มาร จะต้องการอย่างไรก็ได้สมความปรารถนาของมารทุกสิ่งทุกประการ จะให้ครองเรือนเสียตลอด ชาติ ไม่ขยันตัว จำศีลภาวนาได้ ก็ต้องเป็นไปตามอำนาจของมาร จะให้ไปดูมหรสพต่างๆ ตามใจมาร บังคับให้เป็นไปตามอัธยาศัยของมารแท้ๆ เหตุนี้แหละ เหมือนต้นไม้ทุพพลภาพ อยู่เต็มทีแล้ว น้ำก็เซาะเข้าไปๆ ใกล้จะพังอยู่เต็มทีแล้ว ร่องแร่งอยู่เต็มทีแล้ว ลมพัดไม่สู้แรง นักหรอก กระพือมาพักหนึ่งค่อยๆ ก็เอนไปแล้ว นั่นฉันใด พวกที่ไม่สำรวมเห็นอารมณ์งาม ไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่มีศรัทธา เป็นคนเกียจคร้าน พวกเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ พญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระ เป็นลูกศิษย์ของพญามาร มารจูงลากไปเสียตามความ ปรารถนา ฉันนั้น

    ส่วนลูกศิษย์ของพระอีกพวกหนึ่ง อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ เห็นตามอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เห็นว่าไม่งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เหล่านั้นเห็นว่าไม่งาม ไม่งามทั้งนั้น รูปเมื่อมีแล้วก็หาไม่ เกิดแล้วดับไป แปรผันอยู่เนืองนิจ อัตรา แม้จะงามก็ทำกิริยาหลอกลวงทั้งนั้น ตัวจริงไม่มี ตัวจริงของรูปงามไม่มี เสียงไพเราะ ก็ไม่มี เสียงหลอกลวงทั้งนั้น เป็นเสียอย่างนี้ กลิ่นจริงๆ ก็ไม่มี กลิ่นหอมหลอกลวงทั้งนั้น รสจริงๆ ก็ไม่มี รสหลอกลวงทั้งนั้น สัมผัสก็ไม่มี สัมผัสหลอกลวงทั้งนั้น ธรรมารมณ์ก็ไม่มี หลอกลวงทั้งนั้น เมื่อเห็นไม่งามอยู่ดังนี้ละก็ อินฺทฺริเยสุ สํวุโต ก็สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านยืนยันไว้ในท้ายบทนี้ว่าสำรวมนัยน์ตาได้ ยังประโยชน์ ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวม ลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ก็ยังประโยชน์ ให้สำเร็จหนักขึ้นไป นี่เป็นข้อสำคัญ ต้องสำรวมระวังไว้ ถ้าสำรวมระวังไม่ได้มันก็ให้โทษ

    ดังจะชักตัวอย่าง สำรวมตาไม่ได้ ชอบดู ชอบไปดูโน่นดูนี่ ในการไปดูเป็นอย่างไร บ้าง เป็นอันตราย รถชนก็มี ไปดูไฟไหม้เหยียบกันเหลวแหลกตายก็มี นี่เพราะอะไร ชอบดู ละซิ ชอบดูนั่น ร้ายนักหละ ในกลางค่ำกลางคืนเขาประหารซึ่งกันและกัน พลาดเนื้อพลาดตัว ถึงกับเขายิงตาย ฟันตาย แทงตายกันอเนกอนันต์สุดซึ้งจะพรรณา มีทุกบ้านทุกช่องไป นี่ เพราะระวังการดูไว้ไม่ได้ อยากดูอยากฟัง นี่เป็นข้อสำคัญอยู่ ให้สำรวมระวังไว้เถอะ ไม่ไร้ โทษนัก ต้องคอยระแวดระวังทีเดียว เพราะการดูเป็นคุณก็มี โทษก็มี ภิกฺขูนํ ทสฺสนาย ดูแลพระภิกษุไม่เป็นโทษ ดูแลหมู่พระภิกษุให้เล่าเรียนศึกษาคันถธุระ วิปัสสนาธุระ ดูแลเหมือนอย่างกับพ่อแม่ดูแลลูกนั้น อย่างนี้ไม่เป็นโทษ หรือพ่อแม่ดูแลลูกให้เล่าเรียน ศึกษาทำความดีต่อไป อย่างนี้ไม่มีโทษ การดูแลอย่างอื่น ดูแลมหรสพต่างๆ เสียเงินด้วย เสียเวลาด้วย ด้วยประการทั้งปวง เหตุนี้ต้องระแวดระวังทีเดียว ต้องสำรวมระวังรักษาทีเดียว ถ้าว่าระวังนัยน์ตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ระวังหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมระวัง จมูกได้อย่างเดียว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมระวัง กายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมระวังใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทีเดียว อินฺทฺริเยสุ สํวุโต สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย โภชนมฺหิ มตฺตญฺญุ ํ รู้จักประมาณในการบริโภคพอดี เรื่องนี้ ครั้งพุทธกาลก็ดี หลังพุทธกาลก็ดี แข่งขันกันนักในเรื่องรู้จักประมาณในการบริโภค บาง ท่านตวงเอาเครื่องตวงมาตวงบ้าง เอาแล่งตวงบ้าง หรือไม่เช่นนั้นก็วัดกำหนดอาหาร เท่านั้นเท่านี้บ้าง กำหนดด้วยข้าวสารบ้าง ด้วยข้าวสุกบ้าง บริโภคพอในเขตที่สำรวมของ ตนๆ ไม่ให้พ้นความสำรวมไปได้ ระวังอยู่ดังนี้ บางท่านเอาท้องเป็นประมาณ กุจฺฉิปฺปมาณํ ประมาณท้องอิ่มแล้วเป็นหยุดทีเดียว ไม่ให้เกินอิ่มไป สักคำเดียวก็ไม่ให้เกิน หรือ หย่อนอิ่มไว้สักคำ เผื่อน้ำไว้เล็กน้อยให้ท้องไม่อืด ให้ท้องไม่เฟ้อ ประสงค์ให้ธาตุย่อยง่ายๆ อย่างนี้เรียกว่ารู้จักสำรวม เช่นนี้แล้วก็รู้จักสำรวม ไม่สำรวมพอดีพอร้าย ของนี่เคยบริโภค ไหม เป็นประโยชน์แก่ร่างกายแค่ไหน บริโภคเข้าไปแล้วเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ให้ความ สุขแก่ร่างกายไหม ถ้าสิ่งใดให้ความสุขแก่ร่างกายก็รับสิ่งนั้นพออิ่มเท่านั้น สิ่งใดให้โทษทุกข์ แก่ร่างกายก็ไม่รับสิ่งนั้นเด็ดขาด ห้ามสิ่งนั้นทีเดียว เพราะกลัวจะไปประทุษร้ายร่างกาย สิ่งใดที่ให้โทษร่างกายก็งดสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดให้ประโยชน์แก่ร่างกายก็บริโภคสิ่งนั้น การบริโภค ไม่ใช่บริโภคทั่วไป ไม่ใช่ดีเสมอไป แม้ชอบใจแล้ว ไปวันหลัง เดือนหลัง ปีหลัง ก็ชอบใจก็ได้ เป็นอย่างคนแก่ชอบมะระ เด็กๆ ไม่ชอบ บอกว่าขม คนแก่ชอบมะระ ขมนี่ มันไม่เหมือนกัน อย่างนี้ มันต่างกันอย่างนี้ อย่างนี้เป็นตัวอย่าง บางท่านชอบอย่างนั้นอย่างนี้ นี่สังกัดหรือ จำกัดมิได้ แล้วแต่ธาตุธรรมของตนซึ่งจะเป็นไปอย่างไร เมื่อสะดวกแก่ร่างกายด้วยประการ ใดแล้ว ก็ให้สำรวมวิถี ให้รู้จักประมาณในการใช้นั้น ให้สมควรแก่ร่างกายนั้นๆ ให้ได้รับความ สุขพอสมควรแก่ร่างกายของตนๆ อันนี้แหละได้ชื่อว่ารู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่ใช่ใช้สอย แต่อาหารอย่างเดียวนะ ผ้าสำหรับใช้สอยก็ต้องรู้จักกระเหม็ดกระแหม่ ต้องรู้จักเปลือง รู้จักเก่า รู้จักเสียหาย ถ้าไม่รู้จักก็จักเป็นหนี้เป็นบ่าวเขาทีเดียวนะ เพราะเหตุว่าใช้ผ้านุ่งห่ม ไม่เป็น ไม่ใช่แต่ผ้านุ่งเท่านั้น ไม่ใช่ผ้านุ่ง อาหารเลี้ยงท้องเท่านั้น อื่นอีกที่จะใช้สอยต่อไป เสนาสนะที่นั่งนอน บ้านเรือนของตนด้วย เมื่อทรุดโทรมเข้าแล้ว ไม่ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ หรือใช้ให้ทำลาย ของถูกน้ำอย่าเอาน้ำไปราดไปทำเข้า ของนั้นก็ผุเสียหายไป ที่ผุเสียหาย ต้องแก้ทีเดียว ถ้าปล่อยให้ผุเสียหายเสียเงินต้องซ่อมแซมปฏิสังขรณ์อีก บ้านสำหรับอยู่พัก อาศัยก็ต้องดูแลและฉลาดในการใช้สอยบ้านช่องของตนนั้นๆ หยูกยารักษาไข้ก็เช่นเดียวกัน จะใช้ก็ใช้ในเวลาเป็นไข้ เมื่อไม่เป็นไข้แล้วไปใช้ยาก็ลงโทษ เสียค่ายา เสียยาเปล่า ไม่รู้จัก ประโยชน์ นี่ไม่รู้จักประมาณทั้งนั้น พวกรู้จักประมาณและก็ใช้ถูกกาลเวลาเสมอไปในผ้า สำหรับนุ่งห่มและเครื่องเลี้ยงท้อง เสนาสนะบ้านช่องสำหรับพักอาศัย หยูกยาสำหรับ รักษาไข้ ปัจจัย 4 สำรวมระวังเป็นอันอย่างชนิดนี้ ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สำรวม รู้จักใช้สอย รู้จักประมาณกาล ควรหรือไม่ควร ศรัทธา ความเชื่อ เมื่อประพฤติถูกเช่นนี้ เชื่อแน่ก็ได้รับ ความสุขแท้ๆ ไม่ต้องไปสงสัย เชื่อมั่นลงไปทีเดียว เชื่อมั่นลงไปเช่นนั้นละก้อ การประพฤติ ปฏิบัติในพระธรรมวินัยของพระศาสดาเล่าเชื่อมั่นทีเดียว เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริงอยู่ พระ ธรรมมีจริงอยู่ พระสงฆ์มีจริงอยู่ เราเข้ายังไม่ถึง หรือ เราเข้าถึงแล้ว จักรักษาให้มั่น อย่าให้ ฟั่นเฟือนต่อไป อย่าให้มัวหมอง ให้ผ่องใสหนักขึ้น ให้เข้าถึงจุดหมายปลายทางที่พระพุทธเจ้า ไปแค่ไหนก็ไปให้ถึงแค่นั้น หรือ เมื่อรู้จักทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์แล้ว ตั้งใจให้ แน่วแน่ๆ ไม่ให้คลาดเคลื่อน รักษาไว้ นั่งนอนยืนเดินให้เห็นเสมอไป ให้รู้แน่ว่าเราตายจาก มนุษย์ชาตินี้ ต้องไปเกิดที่นี่ ที่อยู่เป็นดังนี้ๆ เห็นปรากฏ ผู้ที่เขาตายไปแล้วก็เห็นปรากฏ ผู้ที่เขาเกิดมาแล้ว มีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ เพราะทำสิ่งอันใด เมื่อรู้ชัดดังนั้นก็ทำแต่ สิ่งที่ดี ชอบดีก็ทำแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ชั่วก็ไม่ทำต่อไป ดังนี้ได้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วยศรัทธา ความเชื่อ อารทฺธวิริโย ปรารภความเพียรอยู่เนืองนิจอัตรา ไม่ละเมินเหินห่างจากความ เพียร เมื่อรักษาศีล ก็เพียรรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่คลาดเคลื่อน เมื่อทำสมาธิก็เพียรทำสมาธิ ให้ยิ่งขึ้นไป เมื่อประกอบปัญญาก็ทำปัญญาให้รุ่งเรืองหนักขึ้นไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน ประกอบ ด้วยความเพียรอันนี้ หรือว่าเพียรต่ำลงไปกว่านั้น เพียรเลี้ยงอัตภาพร่างกายให้เป็นไปได้ สะดวก หรือเพียรแก้ไขใจ ให้เป็นไปได้โดยสะดวก ให้ถูกต้องร่องรอยทางไปของพระพุทธเจ้า อรหันต์ ดังนี้ก็ได้ชื่อว่า อารทฺธวีริโย ผู้ปรารภความเพียร ปรารภความเพียรอย่างนี้ใช้ได้ เมื่อทำได้ขนาดนี้ ท่านก็เชื่อชี้ว่ามารย่อมรังควานเขาไม่ได้ เพราะเขาเป็นผู้ตั้งอยู่ในความ มั่นคง เป็นเชื้อสายของพระสมณโคดม เป็นเชื้อสายของพระพุทธศาสนาทีเดียว ได้ชื่อว่า เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นลูกศิษย์ของพระยามาร มารรังควานไม่ได้ ทำอะไร ไม่ได้ ท่านจึงได้วางตำรับตำราไว้ จกฺขุนา สํวโร สาธุ สาธุ โสเตน สํวโร ฆาเนน สํวโร สาธุ ชิวฺหาย สาธุ สํวโร กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ มนสา สํวโร สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกขุ สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ เมื่อสำรวมระวังดีได้เช่นนี้ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ให้รู้หลัก พระพุทธศาสนาเป็นสำคัญอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้แล้ว เราจะต้องตั้งใจให้แน่แน่วบัดนี้ เป็นภิกษุก็ต้องตั้งอยู่ในศีล อยู่ในกรอบพระวินัย เป็นอุบาสก ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ สมาทาน ศีล ตั้งอยู่ในกรอบพระวินัยเหมือนกัน ศีล 5 ก็ต้องสำรวมระวังศีล 5 ให้ถูกร่องรอยเป็น อันดี ศีล 8 ก็ต้องสำรวมระวังศีล 8 ให้ถูกต้องร่องรอยเป็นอันดี ไม่ฉลาด ก็ต้องศึกษา เล่าเรียนให้เข้าเนื้อเข้าใจ ถ้าว่าศีล 10 ก็สำรวมระวังศีล 10 ให้ดี ถ้าไม่เข้าใจ ก็ต้อง ศึกษาให้เข้าเนื้อเข้าใจ ถ้าศีล 227 หรือเรียกว่า อปริยันตปาริสุทธิศีล ก็ตั้งอยู่ในศีลนั้น สำรวมระวังศีลให้ดี อย่าให้คลาดเคลื่อนจากศีล สำรวมระวัง

    จะสำรวมระวังอย่างไร

    สำรวมศีล ใจต้องอยู่ศูนย์กลางกายที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั่นแหละที่ตั้งของศีล ที่เกิดของศีลนั้น จะต้องอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมนั้นอยู่กลาง กายมนุษย์ ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มตรึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มตรึง ตรงกลางเส้นด้ายกลุ่มนั้นจรดกัน กลางกั๊กที่ตัดกันนั่นเรียกว่า “กลางกั๊ก” ตรงดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ เอาใจไปหยุดอยู่ตรงนั้น เอาใจหยุด ตรงนั้น ถ้าหยุดตรงนั้นไม่ได้ละก้อ ไม่ถูกความสำรวมหละ สำรวมไม่ถูกเสียแล้ว อยู่ตรง นั้นได้ ใจหยุดเสีย เอ้า! ตากระทบรูปฉาดเข้าให้ ใจก็หยุดเสีย พอตากระทบรูปฉาดเข้าให้ มันก็แลบแปลบเข้ามาถึงใจ หยุดนั่นเชียว ที่ใจหยุดนั่นเทียว บอกว่าเอาไม่เอาละ สวยยิ่ง เหลือเกิน ถ้าใจหยุดล่ะ อ้ายนี่เป็นพิษแก่ข้า ข้าไม่เอา หยุดเสียอย่างเก่า ไม่ขยับเขยื้อน ทีเดียว นี่สำรวมอย่างนี้ วิธีสำรวม หูกระทบเสียงแปลบเข้า อ้า! เป็นที่ปลาบปลื้มของใจจริง อย่างไร เอาหรือไม่เอา ไม่ได้ๆๆๆๆ ไปรักมันเข้าละก้อ มันเป็นอภิชฌา เดี๋ยวก็ไปเพ่งมัน เดี๋ยวก็เป็นโทมนัส เดี๋ยวก็ดีใจเสียใจกับเสียงหละ ไม่ได้การ ใจหยุดกึกเสีย ไม่เป็นไปตาม ความปลื้มใจ อิ่มในเสียงนั้น กลิ่นกระทบจมูกชาบเข้าให้ แล่นเข้าใจแปลบเข้าไปอีกเหมือนกัน อย่างไร กลิ่นนี้มันหอมชื่นใจนัก จะเอาหรือไม่เอา ใจก็หยุดกึกเสีย ไม่ได้อ้ายนี่ ถ้าว่าปล่อย ให้ อภิชฌา โทมนัส ถ้าไปติดมันเดี๋ยวก็ดีใจเสียใจหละ อ้ายนี่ ทำให้ดีใจเสียใจของเราให้ต่ำ ให้หยุดเสียให้ได้ อ้ายนี่เป็นข้าศึกต่อเราตรงๆ ไม่ใช่เป็นสภาคแก่เรา เป็นวิสภาค แก่เราแท้ๆ ใจก็หยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดนิ่ง กระทบรสฉาดเข้าไปอีก แหม! เป็นที่ชอบใจเสียจริงๆ อ้ายรสนี่สำคัญแท้ๆ ใจก็นิ่งเสียอีกไม่ข้องแวะ ไม่เหลียวแล ไม่ระวังระไว มันเป็นโทษแก่เรา ถ้าว่าขืนไปรักอ้ายรสนี้ละก็ เดี๋ยวความดีใจเสียใจมันต้อง ประทุษร้ายเรา ใจก็จะนิ่งอยู่ไม่ได้ มันก็จะฆ่าเราเสียเท่านั้น ไม่ได้ เราก็ไม่ไป นิ่งเสียอีก ใจนิ่ง อยู่นั้น เหมือนกันครานี้ ต่อไปสัมผัสกระทบร่างกาย เย็นร้อนอ่อนแข็ง เอ้า! ชอบใจหรือไม่ ชอบใจเล่า ที่ปลาบปลื้ม ที่เย็นใจ ที่สบายกายหละ ถูกเข้ามันนิ่มนวลชวนปลาบปลื้มทีเดียว ไม่ได้ ไปยุ่งกับอ้ายความสัมผัสไม่ได้ อ้ายนี่เข้ายุ่งกับมันเข้าประเดี๋ยวเถอะ พาโทมนัสมา ประทุษร้ายใจเรา ใจเราหยุดไม่ได้ เดี๋ยวเสียภูมิ ใจของเรานักปราชญ์ จะเป็นใจของคนพาล เสีย ก็ไม่ไป หยุดนิ่งเสียอีกเหมือนกัน เมื่อหยุดนิ่งเช่นนั้น ทั้ง 5 อย่างมารวมกันเป็นกลุ่ม กึ๊กเข้าให้อีก มากระทบอีกแล้ว ทั้งดีทั้งชั่วนั้นแหละ ไม่เข้าใจหละ ข้าไม่เป็นไปกับเจ้า ข้าใจ หยุดนิ่ง หยุดหนักเข้า หยุดในหยุดหนักเข้าไป ให้เลยเข้ามานี้ไม่ได้ ถ้าเลยเข้ามานี้ได้ ก็ขาดความสำรวม ถ้าขาดความสำรวมก็เป็นโทษ ใจก็เป็นโทษ เป็นโทษเป็นอย่างไร อภิชฌา เขาก็บังคับใจ เดี๋ยวก็ดีใจเสียใจ ถ้าหากว่าญาติพี่น้องวงศาลูกตายหรือเมียตาย ก็จะต้อง ร้องไห้โร่ไปเท่านั้นแหละ อภิชฌา โทมนัสบังคับเสียแล้ว ถ้าจะให้อภิชฌา โทมนัส บังคับไม่ได้ ก็จงทำใจให้หยุดเสีย ตายเราก็ตายเหมือนกัน เขาก็ตายเหมือนกันหมดทั้งสากลโลก ไม่เหลือ แต่คนเดียว ตายหมดกัน ถ้านิ่งอยู่ที่เดียวก็เห็นจริงอยู่อย่างนี้ เมื่อเห็นจริงมันก็ไม่ร้องไห้ ไม่เสียใจ ไม่โทมนัส ไม่ดีใจไม่เสียใจ เพราะสำรวมระวังไว้ได้ ถ้าสำรวมระวังไว้ไม่ได้ มันก็ เสียใจเท่านั้น ที่กระทบตัว ฆ่าตัวเองตาย อย่างนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำรวมไม่ได้ เพราะ นิดเดียวเท่านั้นแหละ มีพระดาบสคนหนึ่งแกอยู่ในป่าช้า ป่าชัฏทีเดียว อยู่มาหลายสิบปี วันหนึ่ง โลณมฺพิลเสวนตฺถาย ต้องการจะเสพรสเค็มรสเปรี้ยวเข้ามาแล้ว เข้าไปอยู่ในบ้าน ใกล้เคียงบ้านเขา ไปแสวงหาอาหารบาตรเหมือนพระบิณฑบาตดังนั้นแหละ ชาวบ้านเขาก็ ใส่แกงเหี้ยมาให้ถ้วยหนึ่ง ดาบสคนนั้น มหาโคธาเหี้ยใหญ่ตัวหนึ่งปฏิบัติแกดีอยู่ ด้วยว่า เป็นเหี้ยโพธิสัตว์ พอแกได้ฉันแกงเหี้ยไปถ้วยหนึ่ง รสมันดีเหลือเกิน กลับมาถามเจ้าของ ใน วันรุ่งขึ้นว่า แกงที่ให้ไปนั้นเป็นแกงอะไร รสมันอร่อยนัก ผู้เจ้าของที่เขาใส่แกงไปให้ เขาบอก ว่าแกงเหี้ยละซิ พระคุณเจ้า โอ้! นึกในใจ อ้ายเหี้ยมันมีรสชาติดีขนาดนี้เชียวหรือ อ้ายเหี้ย ที่ปฏิบัติเราอยู่ตัวหนึ่ง มันคงจะกินได้หลายวัน เราจะฆ่าอ้ายเหี้ยตัวใหญ่เสียเถอะ เราจะไม่ เอาไว้หละ นั่นแน่สำรวมไม่ได้หละ นี่มันสำรวมไม่ได้ มันติดรสเสียแล้วหละ ติดรสถึงกับ จะฆ่าไอ้เหี้ยเสียนั่นแน่ะ ไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ ไอ้ที่ฆ่าฟันกันตายอยู่โครมๆ นี้แหละ ฆ่าตัวเอง ตายบ้าง ฆ่าคนอื่นตายบ้าง ฟันแทงกันตายบ้าง เกิดรบรากันนะ ติดรสทั้งนั้นนะ ไม่ติดรส ก็ติดสัมผัส ไม่ติดสัมผัสก็ติดรูป ไม่ติดรูปก็ติดเสียง ไม่ติดเสียงก็ติดกลิ่น ไม่ติดกลิ่นก็ติดรส นี่แหละติดเหล่านี้ทั้งนั้น ที่ฆ่ากันตายร้ายนักทีเดียว ถ้าสำรวมไม่ได้ ร้ายนักทุกสิ่งทุกอย่าง หละ เป็นภัยหนักทีเดียว เหตุนี้ต้องตั้งอยู่ในความสำรวม แต่ว่าวิธีสำรวมบอกไว้แล้วนั้น ใจต้องหยุดอยู่กลางนั่นนะ หยุดนิ่งทีเดียว ต้องคอยระวังรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสใดๆ หรือ ธัมมารมณ์ใดๆ มันเล็ดลอดเข้าไปถึงที่ใจหยุดละก้อ มีรสมีชาติ รู้จักทุกคนแล้วว่ารสชาติ มันเป็นอย่างไร พอเวลามันเข้าไปเป็นอย่างไรล่ะ ไอ้รสชอบใจ รูปเป็นอย่างไรเล่า ก็เคยชอบ ใจรูปด้วยกันทุกคนนะ รสมันอย่างไรก็รู้จักกันทั้งนั้นแหละ นั่นแหละ มันเข้าไปเสียดแทงใจ ไอ้เสียงที่ชอบใจละ ไอ้เสียงที่ชอบใจก็รู้จักรสกันทุกคนแล้วว่าเป็นรสมันเป็นอย่างไร รู้จัก ทั้งนั้นแหละ เคยชอบใจเสียง ชอบใจกลิ่นละ ก็รู้จักด้วยใจทั้งนั้น ใจรู้กันทั้งนั้นแหละ เรียนแล้วด้วยกันทั้งนั้นแหละ เรียนอยู่เสมอแหละ กลิ่นรสนะ สัมผัสละ ก็รู้แล้วเหมือนกัน นี่รู้แล้วด้วยกันทั้งนั้น และถูกสัมผัสอยู่เสมอ นี่ธัมมารมณ์ที่เกิดกับใจก็นอนนิ่งอยู่ในมุ้ง คืน ยังรุ่ง ไม่หลับไม่นอน ก็คิดถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ผ่านไปแล้วบ้าง ที่ในปัจจุบันบ้าง ที่จะมาข้างหน้าบ้าง ไปนอนตรึกตรองอยู่นั่นนะ ความยินดีหละ ไม่ให้ความยินดีเข้าไปประทุษ ร้ายใจหยุดนิ่งเสีย ให้ใจหยุดเสีย หยุดนั้นแหละถูกต้องร่องรอยความประสงค์พระพุทธศาสนา ที่ได้แนะนำไว้ในครั้งก่อนๆ แล้วว่า อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา พระอริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้กระทำการสละปล่อยอารมณ์ รูปารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ ปล่อยหมดทีเดียว ลภติ สมาธึ ได้สมาธิแล้วใจหยุดนิ่ง นั่นแน่เราจะทำ การปล่อยอารมณ์เสีย อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา อริยสาวกในธรรมวินัยของ พระตถาคตเจ้านี้กระทำปล่อยอารมณ์ สละอารมณ์เสียได้แล้ว ลภติ สมาธึ จิตไม่เกี่ยวกับ อารมณ์ ใจไม่เกี่ยวกับอารมณ์ หยุดนิ่งทีเดียว ได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกกฺคตํ นิ่งหนักเข้า พอได้หนักเข้า แน่นหนาเข้าทุกที ก็ได้เอกัคคตาจิต นี่ต้องสำรวมอย่างนี้นะ จึงจะถูกต้องความ ประสงค์ใจดำของพระพุทธศาสนา สำรวมได้เช่นนี้จะเอาตัวรอดได้ เข้าถึงซึ่งสมาธิ เมื่อเข้าถึง ซึ่งสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นลำดับได้ ก็จะได้บรรลุมรรคผลสมมาดปรารถนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในสังวรคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ ต้นจนอวสานนี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า บรรดามาสโมสรเพื่อทำสวนกิจในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควร แก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]


    พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต



    1 ตุลาคม 2496

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    lphor_tesna_vn.jpg

    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา
    จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ จตุธา ปรมตฺถโต
    นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ.


    ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยปรมัตถเทศนา ซึ่งมีมาในพระปรมัตถปิฏก ยกอุเทศในเบื้องต้นขึ้นแสดงก่อน เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์แนะนำแก่ท่านทั้งหลายสืบไปเป็นลำดับๆ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา เริ่มต้นแห่งปรมัตถปิฎกนี้ว่า

    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา ในพระอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวโดยความประสงค์แล้ว ถ้าจะกล่าวโดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยปรมัตถ์ ก็จัดเป็น 4 ประการ (1) จิต (2) เจตสิก (3) รูป (4) นิพพาน, 4 ประการเท่านี้ พระพุทธศาสนามีปิฎก 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ที่ท่านทั้งหลายได้เคยสดับตรับฟังแล้วโดยมาก ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง ในพระปรมัตถ์ไม่ค่อยจะได้ฟังนัก วันนี้จะแสดงในพระปรมัตถปิฎก เพราะเวลานี้วัดปากน้ำกำลังเล่าเรียนพระปรมัตถปิฎกอยู่ ควรจะฟังพระปรมัตถปิฎกนี้ให้ชำนิชำนาญ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะได้จำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงตรัส

    ในเริ่มแรกเริ่มเบื้องต้น ทรงตรัสในดาวดึงส์เทวโลก ได้ทรงตรัสพระปรมัตถปิฎกนี้ สนองคุณพระพุทธมารดา และแก่หมู่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่พากันมาสดับตรับฟัง ทรงตรัสอยู่ถ้วนไตรมาสสามเดือน เมื่อเวลารุ่งเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธนิมิตให้ตรัสพระอภิธรรมปิฎก พระบรมครูทรงไปแสวงหาอาหารบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ไปฉันในป่าหิมพานต์ พระสารีบุตรเถรเจ้าไปปฏิบัติสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ วัน แล้วพระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกนั้นแก่พระสารีบุตร พระสารีบุตรก็นำเอาพระอภิธรรมปิฎกนั้นมาแก่มนุษย์ มนุษย์ทั้งหลายจึงได้สดับฟัง

    เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบพระปรมัตถปิฎกแล้ว เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในคราวนั้นพระองค์ทรงเปิดโลก ให้สัตว์นรก เทวดา มนุษย์ เห็นกันและกัน พร้อมกัน เห็นปรากฏเป็นมหัศจรรย์ ในครั้งนั้นพระพุทธาภินิหารเป็นมหัศจรรย์ สรรพสัตว์เหล่านั้นตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า อยากเป็นพระพุทธเจ้า จนกระทั่งมดดำแดง อยากเป็นพระพุทธเจ้ากันทั้งนั้น อันนี้เป็นความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น ที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้สดับในเนื้อความของปรมัตถปิฎก ณ เวลาวันนี้ นับว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ดังจะแสดงต่อไป

    ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ แปลว่า เนื้อความในพระปรมัตถปิฎกนั้น ถ้าจะกล่าวโดยเนื้ออันยิ่งใหญ่แล้ว กล่าวโดยปรมัตถ์ จัดเป็น 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน 4 ประการนี้เท่านั้นเรียกว่า พระปรมัตถปิฎก เป็นเนื้อความของพระปรมัตถปิฎกทีเดียว จำไว้ให้มั่น จิตถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง 89 ดวง หรือ 121 ดวง เจตสิก ถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง 52 ดวง นี่ส่วนเจตสิก รูปถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง 28 รูป มหาภูตรูป 4, อุปาทายรูป 24 รวมเป็น 28 นิพพานแยกออกไปเป็น 3 คือ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน นิพพานแยกเป็น 3 ดังนี้

    วันนี้จะแสดงในเรื่อง จิต เป็นลำดับ จิต 89 ดวง หรือจิต 121 ดวง ท่านจัดไว้ดังนี้ อกุศลจิต 12 ดวง อเหตุกจิต 18 ดวง กามาวจรจิต 24 ดวง รูปาวจรจิต 15 ดวง อรูปาวจรจิต 12 ดวง และโลกุตตรจิต 8 ดวง นี่เป็นจิต 89 ดวง จำไว้เสียให้มั่น คือ อกุศลจิต 12 ดวง อเหตุกจิต 18 ดวง 18 กับ 12 รวมกันเป็น 30 กามาวจร 24 รวมกันเข้าเป็น 54 ดวง รูปาวจรจิต 15 รวมกันเข้าเป็น 69 ดวง อรูปาวจรจิต 12 รวมกันเข้า เป็น 81 ดวง โลกุตตรจิต 8 ดวง รวมเข้าเป็น 89 ดวง ดังนี้ นี่โดยย่อ ถ้าโดยพิสดาร ต้องแยกโลกุตตรจิตออก ยกฌานขึ้นรับรองจิตทั้ง 8 ดวงนี้ คงเหลือจิต 81 ดวง จิต 89 ดวง ยกเอาโลกุตตรจิต 8 ดวงออกเสีย ยกฌานทั้ง 5 ขึ้นเป็นที่ตั้ง จิตเดินในฌานทั้ง 5 นั้น ฌานละ 8 ดวง คูณกับ 5 เป็น 40 ดวง จิต 81 ดวงเป็นโลกิยจิต ยกเอาโลกุตตรจิต 40 ดวง มาบวกกันเข้า 8 ก็รวมเป็นจิต 121 ก็จิต 81 ดวงนั่นเอง แต่ว่ายกเอาโลกุตตรจิต 8 ดวง ออกเสีย ถ้าว่าเอาโลกุตตรจิตมาเพียง 8 ดวง ก็เป็นจิต 89 ดวง ถ้าหากว่าโลกุตตรจิต 8 ดวงนั้นแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง 5 ก็เป็น 121 ดวง นี่รู้จักแล้วว่าจิตมีเพียงเท่านี้ จะชี้แจงแสดงจิตเป็นลำดับไป ให้จำไว้เป็นหลักฐานเป็นประธาน

    ต่อไปนี้จะแสดงคัมภีร์ปรมัตถ์ที่เป็นหลักเป็นประธานให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเข้าเนื้อเข้าใจแล้วนั้นยังไม่ถึงเนื้อธรรม เมื่อถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงล่ะ จงตั้งอกตั้งใจฟัง ยาก ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของละเอียดด้วย ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่อยู่กับคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ ต้องมีกิเลสบาง ปัญญาละเอียดทีเดียว จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจได้ ถ้าจะเทียบละก้อ ต้องเข็มเล็กๆ ด้ายเส้นเล็กๆ เย็บตะเข็บผ้าจึงจะละเอียดได้ ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้ ฉันใดก็ดี ปรมัตถปิฎกนี้เป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจ เหตุนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี

    ในอกุศลจิต 12 ดวงนี้นั้น แบ่งออกเป็น 3 จำพวก โลภมูล ความโลภ มี 8 ดวง โทสมูล ความโกรธมี 2 ดวง โมหมูล ความหลงมี 2 ดวง 8 กับ 4 รวมเป็น 12 ดวง นี้อกุศลจิต อกุศลจิตนี้แหละที่สากลโลก ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ที่จะทำความชั่วร้ายไม่ดีไม่งามก็เพราะอกุศลจิต 12 ดวงนี้แหละ ไม่ใช่ทำด้วยอย่างอื่นเลย ทำด้วยอกุศลจิต 12 ดวงนี้ทั้งนั้น ทำชั่วน่ะ เราต้องรู้ตัวเสีย ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว คำว่าที่เรียกว่าจิตน่ะมันเป็นดวงๆ ที่จะจัดนี้มีถึง 12 ดวง ดังนี้คือ

    จิตโลภ จัดเป็น 8 ดวง

    1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความ เห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง นี่ดวง 1
    2. จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือ ชักจูง นี้ดวง 1
    3. จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดโดยลำพังนี้ดวง 1 นี้ดวงที่ 3
    4. จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูง นี้อีกดวง 1 รวมเป็น 4 ดวง
    5. จิตที่เกิดประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้น โดยลำพัง นี้ดวง 1 เป็นดวงที่ 5
    6. จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง 1 เป็นดวงที่ 6
    7. จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ลำพัง นี้ดวง 1 เป็น 7 ดวง
    8. จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง 1 เป็น 8 ดวง
    นี้ชั้นหนึ่ง 8 ดวงนี้เป็นส่วนโลภะ ความอยาก

    จิตโกรธ จัดเป็น 2 ดวง

    1. จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง 1
    2. จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง 1
    จิตหลง ก็มี 2 ดวง

    1. จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง 1
    2. จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง 1
    รวมเป็น 12 ดวงด้วยกัน นี้เป็นอกุศลจิต 12 ดวงเท่านี้ ฟังยากไหมล่ะ ยากจริงๆ ไม่เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว ฟังเหมือนบุรุษคนหนึ่งนั่งกินข้าวอยู่ทีละคำๆ มันก็อิ่มเป็นลำดับขึ้นไป บุรุษคนหนึ่งนั่งกินลมอยู่เป็นคำๆ เข้าไป พอเลิกแล้วไม่อิ่มสักนิด อ้ายกินข้าวกินลมมันลึกซึ้ง อย่างนี้จริงไหม นี้ฟังเรื่องปรมัตถ์เหมือนกินลม ไม่มีเนื้อมีหนังเลย ไม่อิ่มไม่ออกเลยทีเดียว เห็นไหมล่ะ แต่รสชาติอัศจรรย์นักนะ อุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจฟัง

    จิตดวงที่ 1 ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นี่ต้องอย่างนี้ล่ะ จึงจะมีรส ค่อยมีรสหน่อย เราจะต้องพินิจพิจารณา หากว่าจิตของเราเองมันเกิดขึ้น มีความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง เออ อ้ายประกอบด้วยความเห็นผิดน่ะ เห็นอย่างไร ลักษณะเห็นผิดน่ะเหมือนเรายินดีมากในสิ่งที่ผิด เมื่อเราเห็นทรัพย์เข้าก้อนหนึ่ง ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของเขา ก็รู้เหมือนกันว่าเป็นของเขา แต่มันอยากได้เหลือทน ทรัพย์ก้อนนั้นมันใหญ่พอประมาณอยู่ ถ้าได้เข้าแล้วมันเลี้ยงชีพได้ตลอดสาย นับเป็นล้านๆ หรือนับเป็นแสนๆ ทีเดียว เมื่อไปเห็นทรัพย์เข้าเช่นนั้นแล้ว เราไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะเอาทรัพย์ก้อนนั้น หรือจะขโมยหรือจะลักเขา ไม่ได้คิดเลย พอไปเห็นทรัพย์ก้อนนั้นเข้า ในที่ที่ควรจะได้ เจ้าของเผลอ พอเห็นทรัพย์เข้าเท่านั้น ใจมันปลาบปลื้มยินดีอย่างชนิดปล่อยชีวิตจิตใจทีเดียวอย่างนี้ ความยินดีมากมันเกิดขึ้นเองแล้ว จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมากนั่นแหละ นี่ทรัพย์ก้อนนี้เราหยิบเอาเสีย ธนบัตรสักแสนหนึ่งไม่เท่าไร ถ้าใบละหมื่นก็ 10 ใบ เท่านั้น ใบละพันๆ ก็ 100 ใบเท่านั้น เป็นแสนหนึ่งเสียแล้ว เอ นี่จะเอาหรือไม่เอา นี่ความเห็นผิดเกิดขึ้น เอาได้ เราก็รวย พอเห็นผิดเกิดขึ้นเช่นนั้น ไม่ต้องมีใครชักชวนกระตุ้นละก้อ คว้าเอาทรัพย์ของเขาเข้าทีเดียว คว้าทีเดียวซ่อนทีเดียว นี่สำเร็จสมความปรารถนาของตัวแล้ว เอาไปได้สำเร็จ สมเจตนาด้วย และไม่มีใครรู้เห็นด้วย ทำสนิททีเดียว นี่แหละจิตดวงนั้นแหละเกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิดด้วย มันเห็นว่าของเขา ไม่ใช่ของเรา นี่มันไปลักของเขานี้จะไม่ผิดอย่างไรเล่า มันก็ผิดนะซี่ เกิดขึ้นตามลำพังของตัว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูง ไม่ว่าในป่าหรือในที่ลับใดๆ หรือในที่มืดใดๆ ก็ตามเถอะ เอาทรัพย์ของเขามาได้สมเจตนา ไม่แต่เพียงแสนหนึ่งนะ สตางค์หนึ่งก็ดี สองสตางค์ก็ดี ถ้าว่าเป็นของเขาละก้อ แบบเดียวกัน อย่างนี้ทั้งหมด ถ้าว่าจิตเกิดขึ้นโดยความยินดีเช่นนั้น ถือเอาของเขามาเช่นนั้น นี่แหละโลภมูลดวงหนึ่ง นี้เป็นดวงต้นเกิดขึ้น เป็นอกุศลทีเดียว เราต้องไปนรกแน่ ต้องได้รับทุกข์แน่ เชื้อจิตดวงนี้ ต้องได้รับทุกข์แน่ รับบาปแน่ทีเดียว นี่ที่จะทำบาปลงไปชัดๆ มันปรากฏแก่ตนดังนี้ นี่ดวงหนึ่ง

    ดวงที่ 2 ต่อไป จิตประกอบด้วยความยินดีมาก และเห็นผิดอีกเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง คราวนี้เห็นทองคำเข้าก้อนหนึ่ง หรือไปเห็นสายสร้อยเข้าเส้นหนึ่ง ราคานับแสนทีเดียว โดยเป็นของหลวงด้วย ราคานับแสนๆ ไม่ใช่ของราษฎร์ แต่ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดเขาเอามาซ่อนไว้ ไปเห็นเข้า หรือตกหล่นอยู่ อย่างหนึ่ง อย่างใดก็ตามเถอะ ไปเห็นเข้า รู้ทีเดียวนี่ไม่ใช่ของธรรมดา ราคามากทีเดียว เมื่อไปเห็นเข้า เช่นนั้นไม่กล้า เพราะรู้ว่าเป็นของหลวง มันไม่กล้าลักของหลวง กลัวติดคุกติดตะรางขึ้นมาเสียแล้ว ก็มากระซิบกับเพื่อนกัน เออ! ข้าไปพบของสำคัญไว้ที่นั่นแน่ะทำอย่างไรนี่ อยู่ที่นั่นแน่ะ ข้าไปพบเข้าแล้วจะทำอย่างไร อ้ายเพื่อนก็ว่า ทำไมไม่เอาเสียล่ะ เพื่อนกระตุ้นเข้าแล้วว่าทำไมไม่เอาเสียล่ะ พอว่าเท่านั้นแหละก็แพล็บไปเอามาสมความปรารถนา นี่ถูกกระตุ้น หรือชักจูงเข้าแล้ว ไปเอาของของเขามาแล้ว โดนอกุศลเข้าอีกดวงหนึ่ง นี้เป็นอกุศลสำคัญ นี้แหละเป็นโลภมูล เกิดจากความโลภ เป็นอกุศลร้ายกาจอย่างนี้หนา นี้ว่าถึงลักถึงขโมย ไม่ใช่ ลักไม่ใช่ขโมยอย่างเดียว ที่ชั่วละก้อ ทั้งนั้นแหละ แบบเดียวกัน ชักตัวอย่างให้เข้าใจ ให้เข้าใจ ว่าดวงจิตดวงนี้มันเป็นอย่างนั้น ให้รู้จักหลักนี้

    ดวงที่ 3 จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง ยินดีมากเมื่อไปเห็นสิ่งของของคนอื่นที่มีค่าเข้า ที่มีค่ามาก จะเป็นเงินทองหรือแก้วแหวนชนิดใดๆ หรือผ้านุ่งผ้าห่มชนิดใดๆ ก็ตามเถอะ เป็นวัตถุชนิดหนึ่งชนิดใดใช้ได้ จนกระทั่งสตางค์เดียวก็ใช้ได้ ใช้ได้ทั้งนั้น เมื่อไปเห็นเข้าแล้วก็รู้ว่าของนี่เจ้าของเขาพิทักษ์รักษาอยู่ เขาดูแลอยู่ เราไปพบทองเข้าหนักขนาดพันบาท นี่ก็มากอยู่หนักขนาดพันบาท แต่ว่าทองนี้ ถ้าเราเอาไปได้ เราก็ใช้ได้นาน ลงทุนลงรอนได้ ถ้าเราเอาไปไม่ได้เราก็จนอยู่แค่นี้ ถ้าเราเอาไปได้ละก้อ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เชียว ถ้าหากเขาจับเราได้ก็ต้องเข้าคุกตะรางไป ถ้าเขาจับเราไม่ได้ล่ะ เราก็ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิดอะไร เห็นว่าถ้าเราเอาไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่เรา เราไม่เอาไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เข้าใจว่าจะหลบหลีกพ้น แต่เราต้องได้รับผลชั่วเพราะเราขโมยเขา จะทำอย่างไรได้ ก็มันจนนี่ มันก็ต้องขอไปทีสิ คว้าทองนั้นเข้าก้อนหนึ่งโดยความยากจน มาเป็นของตัวแล้ว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูงเลย คิดตกลงในใจของตัวเอง เอาของของเขาไปดังนี้ แล้วก็รู้ด้วยว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นอกุศลเป็นโทษ เห็นก็ไม่ใช่เห็นผิด เห็นถูกนี่แหละเห็นว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นโทษ แต่ว่ามันจนเต็มที มันก็ต้องขอไปที ใจกล้าหน้าด้านเอาทีหนึ่ง มันก็เป็นอกุศลจิตเหมือนกัน อกุศลอีกนั่นแหละ ลักเขาขโมยเขาไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เห็นถูก นี้เป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ดวงที่ 3

    ดวงที่ 4 ก็แบบเดียวกันอย่างนั้นอีก จิตที่ประกอบด้วยความอยากมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด แบบเดียวกันกับเห็นทองอย่างนั้นแหละ เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ทีนี้เราเห็นเพชรสักเม็ดหนึ่งราคานับล้านแต่ไม่ใช่ของเราแบบเดียวกัน เออ! เมื่อไปเห็นเพชรเข้าเช่นนั้นแล้ว จะตกลงใจอย่างไรล่ะ ราคามันมากขนาดนี้เมื่อไรจะพบกันล่ะ แต่ยังไม่กล้า ที่จะเอาเพชรเม็ดนั้นด้วยกลัวเกรงอันตรายหรือกลัวติดคุกติดตะราง นำเอาเรื่องไปบอกพวกเพื่อนๆ พวกเพื่อนๆ บอกว่าทำไมจึงไม่เอา เอ็งนี่มันโง่เกินโง่อย่างนี้นี่ พอเพื่อนว่าเข้าเท่านั้น ก็ไปลักเพชรเม็ดนั้นได้สมความปรารถนา เอาไปเก็บไว้สมเจตนาของตน นี้ต้องมีผู้กระตุ้น หรือชักจูงเป็นจิตดวงที่ 4

    สี่ดวงนี้เป็นโลภมูลทั้งนั้น โลภมูลอีกสี่ดวงต่อมาเป็น 8 ดวง

    ดวงที่ 5 จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ แต่ว่าประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่มีความยินดีมากมายใหญ่โตนัก ได้ก็เอา ไม่ได้ก็แล้วไป พอสมควรแต่ว่ากิริยาแบบเดียวกัน นี่เป็นจิตดวงที่ 5

    ดวงที่ 6 จิตที่เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณแบบเดียวกัน และประกอบด้วยความเห็นผิด ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนา ก็แบบเดียวกันอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่ามันไม่ยินดีมากนัก ดวงก่อนยินดีมาก ดวงหลังยินดีพอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นเพราะความอยากได้พอประมาณ เช่น ไปเห็นทองหรือเพชรดังกล่าวแล้วแบบเดียวกัน ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงจึงจะสำเร็จความปรารถนา นี้เป็นดวงที่ 6

    ดวงที่ 7 จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นมีความอยากได้พอประมาณ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ก็แบบเดียวกัน ดังอธิบายมาก่อน นี่เป็นดวงที่ 7

    ดวงที่ 8 จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความอยากได้พอประมาณ ไม่มีความเห็นผิด แต่ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนาแบบเดียวกันนั่นแหละ นี้เป็นดวงที่ 8

    จิต 4 ดวงก่อนกับ 4 ดวงหลัง ไม่ได้ต่างจากกัน สี่ดวงก่อน จิตที่เกิดขึ้นด้วยความอยากมากยินดีมาก สี่ดวงหลังนี่ยินดีพอประมาณเท่านั้น เมื่อรู้จักจิต 8 ดวงนี้แล้ว มันก็อยู่ในตัวของเรานี่เองเกิดขึ้นแก่เราเอง เราเคยพบมานี่ อ้ายพวกนี้ เคยพบเคยปะอยู่บ้าง แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน วันนี้เราจะรู้จักมันล่ะ พอมีรสบ้าง แต่ว่ายังมีรสน้อยเต็มที กว้างกว่านี้ ยังจะมีรสมากว่านี้อีก แต่ว่าให้รู้จักเสียชั้นหนึ่งก่อนโดยย่อ

    จิตที่เป็นอกุศล จิตโทสะ มี 2 ดวง

    จิตโทสะดวงที่ 1 เกิดขึ้นโดยลำพัง อ้ายนี่อกุศลจิต เกิดขึ้นโดยลำพังมันเป็นอย่างไร อกุศลจิตเกิดขึ้นโดยลำพัง เช่น เราไปในสถานที่ใดๆ ก็ช่าง อยู่ในบ้านก็ช่าง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีอะไรทั้งหมด ใจมันโกรธ จิตดวงนี้เป็นจิตโกรธ มันโกรธขึ้นไม่มีใครทำอะไรเลย อยู่ดีๆ มันก็พลุ่งพล่านโกรธขึ้นอย่างนั้น ไม่มีใครว่าไม่มีใครทำอะไรทั้งหมด โกรธขึ้นมาก็มีอาการต่างๆ ใครจะพูดกระทบกระเทียบเข้านิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ก็แปลบๆ ขึ้นมาทีเดียว นั่นมันเรื่องอะไร ไม่มีใครรู้เรื่องของตัวเลย มันโกรธอยู่ในใจอย่างนั้นแหละ นี่โกรธขึ้นโดยลำพัง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีว่ากล่าวกระทบกระเทียบเลย มันเกิดขึ้น มันพลุ่งพล่านอยู่ภายในของตัวเอง อ้ายนี้แหละเขาเรียกว่าโทสจริต นี่แหละโทสจริตมันเกิดขึ้นอย่างนี้แหละ เกิดขึ้นโดยลำพัง

    จิตโทสะดวงที่ 2 มันเกิดขึ้นโดยมีคนชักจูงหรือกระตุ้นเตือน มีคนชักจูงหรือกระตุ้นขึ้น อ้ายนั่นมันยั่วให้โกรธน่ะซี สามียั่วให้ภรรยาโกรธบ้าง ภรรยายั่วให้สามีโกรธบ้าง หรือชาวบ้านยั่วให้โกรธบ้าง คนโน้นคนนี้ยั่วให้โกรธบ้าง ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง มีคนยั่วให้โกรธ เอารูปที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอาเสียงที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอากลิ่นที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอารสที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง ยั่วเข้ามันก็โกรธน่ะซี่ นั่นแหละมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงให้โกรธขึ้น

    จิต 2 ดวงนี้ก็ร้ายเหมือนกัน จิต 2 ดวงนี้เกิดขึ้นโดยลำพังดวง 1 เกิดขึ้นโดยมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงดวง 1 จิตเหล่านี้พออธิบายง่ายหรอก จิตโกรธนี่น่ะ

    จิตหลงนี่น่ะลึกซึ้งนัก จิตหลงมี 2 ดวง

    จิตหลงดวงที่ 1 เกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงใจ อ้ายนี่สำคัญอยู่ จิตหลงเกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงในใจ จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ในการครองเรือนของตนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง หรือไม่ได้ครองเรือนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ลังเล ไม่ตกลงในใจอย่างนั้นแหละร่ำไป อย่างนี้เขาเรียกว่าจิตหลง จะทำอะไรก็ไม่แน่นอนลงไป เข้าทำราชการก็ไม่แน่นอน แต่จะทำหรือไม่ทำก็ไม่แน่นอน ทำส่วนตัวก็ไม่แน่นอน ทำนา ทำไร่ ไม่แน่นอนทั้งนั้น ไม่ตกลงในใจ ถึงทำกิจการอันหนึ่งอันใดก็ไม่ตกลงในใจทั้งนั้น เมื่อสั่งการงานไม่ตกลงในใจอย่างนี้ มันลังเลอยู่เช่นนี้ มันก็ทำอะไรไม่ได้ มันก็หลงงมงายอยู่เช่นนั้น นี่เขาเรียกว่าจิตหลงมันเกิดขึ้น ลังเลไม่ตกลงในใจ สิ่งใดที่ลังเลไม่ตกลงในใจแล้ว พูดออกไปก็ดี ทำลงไปก็ดี มีผิดกับถูกสองอย่างเท่านั้น ถูกก็มี ผิดก็มี เพราะมันลังเล ไม่ตกลงในใจเสียแล้ว การที่จิตลังเลไม่ตกลงในใจน่ะ เช่น เรารักษาศีลอย่างนี้แหละไปเจอ ทรัพย์เข้าหรือสัตว์เข้าตัวใหญ่ๆ ที่ชอบอกชอบใจที่มีค่ามาก เราฆ่าลงไปเป็นอาหารของเราได้นาน เราลักเอาไป ก็เป็นอาหารได้นาน แต่เราไม่ตกลงในใจ เราจะรักษาศีลดี หรือรักชีวิตดี จะลักเขาดีหรือจะฆ่าเขาดี หรือว่าจะไม่ลักไม่ฆ่าเขาดี ถ้าไม่ลักไม่ฆ่าเขาเราก็อด เราก็จน ถ้าลักเขาฆ่าเขาได้ เราเลิกอดเลิกจน ลังเลไม่ตกลงในใจอย่างนี้ นี่เขาเรียกว่าจิตหลง มันระคนจิตหลงเข้าคละอยู่ด้วย ถ้าทำลงไปด้วยอำนาจจิตหลงอย่างนั้น ถ้าทำผิดมันก็ผิดไป ถ้าทำถูกมันก็ถูกไป แต่ว่าในที่นี้ประสงค์เอาที่ผิดเพราะว่าเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่กุศลจิต ประสงค์ที่ผิดฝ่ายเดียว เรียกว่าลังเลไม่ตกลงในใจ นี้เป็นจิตหลงดวง 1

    จิตหลงดวงที่ 2 อาการทำโดยฟุ้งซ่านน่ะ อ้ายนี่มันครึ่งบ้าครึ่งดี ลูกเต้าใกล้เคียง เหวี่ยงปึงลงไปให้ก็ตายเลย กำลังมันไม่สบายอกสบายใจ ทำโดยฟุ้งซ่าน ด้วยหลงเหมือนกัน เหมือนคนทำโดยฟุ้งซ่านทำมันแรงเกินไป ไม่ปรารถนาให้ตายหรอก มันไปตายเข้าก็เลยติดคุก นั่นเพราะทำด้วยจิตฟุ้งซ่าน นี้เป็นจิตหลงดวง 1

    จิตหลง 2 ดวงนี้สำคัญมาก ต้องคอยระแวดระวังสำคัญอยู่ ไม่ให้ไปทางถูก ให้ไปทางผิดร่ำไป

    นี้จิต 12 ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 เราตกต่ำเลวทรามลงได้ด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต 12 ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตารู้ขอบรู้เขตของมันแล้ว มันจะข่มเหงเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้วมันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว ฝ่ายความชั่วล่ะ เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว จิต 12 ดวงนี่แหละ

    ที่แสดงวันนี้แสดงแต่เพียง 12 ดวง เวลาไม่เพียงพอ แล้วต่อไปจะแสดงเป็นลำดับไป อเหตุกจิต กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรวิต พอหมดเรื่องจิตแล้วละก็จะแสดงรูป 28 มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 24 หมดรูปแล้วจะแสดงนิพพาน ให้เข้าเนื้อเข้าใจแตกฉานใน 4 อย่างนี้ให้ได้ เพราะวัดปากน้ำเริ่มลงมือเล่าเรียนกันแล้วใน 4 อย่างนี้ ภิกษุสามเณรเล่าเรียนกันแล้ว ที่แสดงนี้ก็เป็นอุปการะแก่ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาที่กำลังเล่าเรียนกันอยู่นี้ กำลังศึกษาอยู่ มีครูสอน พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้สอนปรมัตถปิฎกนี้ ผู้สอนปรมัตถ์ ไม่ใช่เล่นๆ หนา ต้องมีภูมิพอ ต้องมีการศึกษาพอ ถ้าไม่มีการศึกษาพอละก้อ ลูกศิษย์สู้ครู ถามกันเจ๊งแน่ทีเดียว ไม่ต้องสงสัยละ เพราะเป็นของที่ลึกซึ้งมาก ถามเจ๊งแน่ ถามติดแน่ทีเดียว เพราะฉะนั้นอุบาสกอุบาสิกาควรตั้งอกตั้งใจศึกษาเถิด

    ปรมัตถปิฎกเป็นเนื้อหนังพุทธศาสนาจริงๆ ส่วนวินัยปิฎกเป็นข้อห้ามข้อปรามไม่ให้ทำชั่วด้วยกายด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนสุตตันตปิฎก เป็นสายบรรทัด เป็นตัวอย่างว่าคนนั้นทำอย่างนี้เป็นสุขอย่างนี้ คนนั้นทำดังนี้ พ้นจากทุกข์ พ้นจากไตรวัฏ ไปสู่นิพพานอย่างนี้ นั่นเป็นหน้าที่ของสุตตันตปิฎก ไม่ใช่เนื้อหนังของธรรม ส่วนปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    a-jpg.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    รตนัตตยคมนปณามคาถา


    lphor_tesna_vn.jpg


    6 มีนาคม 2492

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
    นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต
    เอกิภูตมฺปนตฺถโต
    ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ
    อญฺญมญฺญาวิโยคาว
    พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา
    สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส
    อิจฺเจกาพุทฺธเมวิทนฺติ.
    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก



    อาตมาขอโอกาสแด่ท่านมหาชนทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตนๆ จึงได้อุตส่าห์พากันทรมานร่างกายในเวลาทำกิจทางศาสนา ทุกๆ ศาสนาล้วนแต่สอนให้ละความชั่วประพฤติความดีสิ้น ด้วยกันทุกชาติทุกภาษา

    ส่วนในทางพระพุทธศาสนา เวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระ และสวดสังเวคกถา ปสาทกถา ตามกาลเวลาเสร็จแล้ว ที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุเถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่ เพื่อจะได้รักษาเนติแบบแผนอันดีของสาธุชนในพุทธศาสนาไว้ ให้เป็นตำรับตำราสืบสายพระศาสนาไป

    บัดนี้ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย ฟังปณามคาถา ความนอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต อนาคต ปัจจุบัน และถึงเป็นที่พึ่ง โดยย่อ

    ความนอบน้อมมาจาก นโม “นโม” แปลว่า นอบน้อม เป็นบุคลาธิษฐาน คือ นอบน้อมด้วยกาย นอบน้อมด้วยวาจา นอบน้อมด้วยใจ นอบน้อมในพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์มีพระชนมายุอยู่ อุบาสกอุบาสิกาเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือกราบพร้อมด้วยองค์ 5 เข่าและศอกทั้ง 2 ต่อกัน ฝ่ามือทั้ง 2 วางลงให้เสมอกัน ก้มศีรษะลงให้หน้าจรดพื้นในระหว่างมือทั้ง 2 นั้น หรือในระหว่างที่เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น คอยฟังพระโอวาทานุสาสนีของพระองค์ ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาออกในระหว่างที่พระองค์ทรงรับสั่งอยู่ เป็นการรบกวนพระองค์ด้วยวาจา ให้เป็นที่ระแคะระคายพระทัย

    อนึ่ง เมื่อเข้าไปสู่ที่เฝ้า ไม่นั่งให้ไกลนัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ ด้วยต้องออกพระกำลังเสียงในเวลารับสั่ง ไม่นั่งให้ใกล้นัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยกายอันเป็นของปฏิกูล จะเป็นที่รำคาญพระนาสิกในเวลากลิ่นกายฟุ้งไป ไม่นั่งในที่เหนือลม ด้วยเคารพพระองค์ กลัวจะลมพัดเอากลิ่นกายที่ฟุ้งออกไปมากระทบพระนาสิกของพระองค์ ไม่นั่งในที่ตรงพระพักตร์นัก กลัวจะเป็นที่รำคาญพระเนตรทั้งสองของพระองค์ ไม่นั่งในที่เบื้องหลังนัก เกรงว่าพระองค์จะต้องหันพระพักตร์มากไปในเวลาจะทรงรับสั่ง ต้องนั่งในที่สมควรนอกจากที่ๆ แสดงมาแล้ว ในเวลาอยู่ในที่เฝ้า ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาให้เป็นที่รำคาญพระทัยแด่พระองค์ ดังนี้แล นอบน้อมด้วยกายในพระองค์

    ในเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ยังเหลือแต่เจดีย์ 4 เหล่า คือ บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ พุทธศาสนิกชนไปถึงที่เช่นนั้นเข้าแล้ว ในเมื่อกั้นร่ม ควรลดร่มลง ห่มผ้าปิด 2 บ่า ควรลดออกเสียบ่าหนึ่ง ในเมื่อสวมรองเท้าเข้าไป ควรถอดรองเท้าเสีย และเข้าไปในที่นั้นไม่ควรแสดงอึงคะนึงและไม่เคารพ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องแสดงเคารพอย่างจริงใจ ไม่ทิ้งของที่สกปรกลงไว้ เช่น ก้นบุหรี่ หรือชานหมาก น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่บริเวณนั้น เมื่อเข้าไปในที่นั้นเห็นรกปัดกวาดเสีย ถากถางเสีย เห็นไม่สะอาด ทำให้สะอาด เห็นผุพัง ควรแก้ไข ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ได้ก็ยิ่งดี ดังนี้เป็นความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยกาย โดยบุคลาธิษฐาน

    อนึ่ง นำเรื่องของพระรัตนตรัยไปสรรเสริญในที่นั้น แก่บุคคลนั้นอยู่เนืองๆ ดังนี้ ก็ชื่อว่า นอบน้อมด้วยวาจา

    และคิดถึงพระรัตนตรัยอยู่เนืองๆ ไม่ยอมให้ใจไปจรดอยู่กับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก คอยบังคับใจให้จรดอยู่กับพระรัตนตรัยเนืองๆ ดังนี้ ชื่อว่า นอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยใจ

    ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นองค์อรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายต้องว่าดังนี้ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง เช่น พระเถรานุเถระกระทำสังฆกรรม และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจะสมาทานศีล ก็ต้องว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” ถึง 3 หน จะว่าแต่เพียงหนหนึ่งหรือสองไม่ได้ หรือได้เหมือนกันแต่ว่าไม่เต็มรัตนตรัยทั้ง 3 กาล จะให้เต็มหรือถูกรัตนตรัยทั้ง 3 กาลแล้ว ต้องว่าให้เต็ม 3 หน หนที่ 1 นอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต หนที่ 2 นอบน้อมพระรัตนตรัยในปัจจุบัน หนที่ 3 นอบน้อมพระรัตนตรัยในอนาคต ทั้งหมดต้องว่า 3 หน จึงครบถ้วนถูกพระรัตนตรัยทั้ง 3 กาล

    รัตนตรัย แบ่งออกเป็น 2 คือ รัตนะ 1 ตรัย 1, รัตนะ แปลว่า แก้ว ตรัย แปลว่า 3 รัตนตรัยรวมกันเข้า แปลว่า แก้ว 3 พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธ ธรรมรัตนะ แก้วคือพระธรรม สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆ์ ทำไมจึงต้องเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาเปรียบด้วยแก้ว ที่ต้องเปรียบด้วยแก้วนั้น เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านในเรือนมาก ผู้นั้นก็อิ่มใจ ดีใจ ด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน ปลื้มใจของตนด้วยความมั่งมี แม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเล่า เห็นแก้วเห็นเพชรเข้าแล้ว ที่จะไม่ยินดีไม่ชอบนั่นเป็นอันไม่มี ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น ฉันใด รัตนตรัยแก้ว 3 ดวง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง 3 นี้ ก็เป็นที่ยินดีปลื้มใจของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ฉันนั้น

    พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริงๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้ว เป็นอันเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปฏิบัติเข้าใจตามปฏิบัติแล้ว เป็นแก้วจริงๆ ซึ่งนับว่าประเสริฐ เลิศกว่าสวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ ซึ่งมีในไตรภพ ลบรัตนะในไตรภพทั้งหมดสิ้น

    จะกล่าวถึงรัตนะในทางปฏิบัติ “ปฏิปตฺติ” แปลว่า ถึงเฉพาะ ผู้ปฏิบัติถึงเฉพาะซึ่งพระรัตนตรัย การถึงรัตนตรัยของผู้ปฏิบัติในยุคนี้ต่างๆ กัน ผู้ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาก็ถึงรูปพระปฏิมาในโบสถ์วิหารการเปรียญ ถึงพระธรรมในตู้ในใบลาน ถึงพระสงฆ์สมมติทุกวันนี้ ผู้ได้เล่าเรียนศึกษา รู้พุทธประวัติ ก็ถึงพระสิทธัตถราชกุมารที่ได้ตรัสรู้ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ที่ได้มาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงพระธรรมก็คือปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กับธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ให้ได้บรรลุมรรคผล ทั้งสิ้น ถึงพระสงฆ์ก็คือพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 จนถึงสุภัททภิกษุซึ่งเป็นปัจฉิมสาวกเวไนย

    ผู้มีสติปัญญา เป็นผู้เฒ่าเหล่าเมธา เล่าเรียนศึกษามาก การถึงรัตนตรัยของท่านลึกล้ำ ท่านคิดว่า “พุทธ” ก็แปลกันว่า ตรัสรู้ ตรัสรู้เป็นภาษาเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นเจ้า จึงแปลว่า “ตรัสรู้” ภาษาสามัญก็แปลว่า “รู้” เท่านั้น ท่านก็ทำขึ้นในใจของท่านว่ารู้นั่นเอง เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ถึงความรู้ของท่านที่ถูกดี ถึงธรรมของท่านความดีไม่มีผิด ถึงสงฆ์ของท่าน “สงฺเฆน ธาริโต” พระสงฆ์ทรงไว้ ตัวของเรานี้เองที่รักษาความรู้ถูกรู้ดีไม่ให้หายไป เป็นสงฆ์

    การถึงพระรัตนตรัยดังแสดงมาแล้วนี้ก็ถูก เหมือนต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กะเทาะ ก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่เปลือกก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กระพี้ก็ถูกต้นไม้ ถูกแต่ กะเทาะ เปลือก กระพี้ เท่านั้น หาถูกแก่นของต้นไม้ไม่

    การถึงพระรัตนตรัย ต้องเอากาย วาจา ใจ ของเราที่ละเอียด จรดเข้าไปให้ถึงแก่นพระรัตนตรัยจริงๆ รัตนตรัยซึ่งแปลว่า แก้ว 3 แก้วคือพระพุทธ 1, แก้วคือพระธรรม 1, แก้ว คือพระสงฆ์ 1 ได้ในบทว่า สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือพุทธ สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือธรรม สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือสงฆ์

    การเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องใช้กายวาจาใจที่ละเอียด ที่หยาบเข้าไม่ถึง กายที่ละเอียดซึ่งได้กับกายสังขาร วาจาที่ละเอียดซึ่งได้กับวจีสังขาร ใจที่ละเอียดซึ่งได้กับจิตสังขาร กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกซึ่งปรนเปรอกายให้เป็นอยู่ วจีสังขารคือความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขารคือความปรุงของจิตสำหรับใช้ทางใจ กายสังขารหยุด วจีสังขารก็หยุด จิตสังขารก็หยุด เป็นจุดเดียวกัน อยู่ที่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสดังกระจกส่องเงาหน้า กายวาจาใจที่ละเอียดจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมนั้น ก็หยุดพร้อมทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นับว่าหยุดเป็นจุดเดียวกัน ได้ชื่อว่าสังขารสงบ การสงบสังขารชนิดนี้ เด็กในท้องมารดาก็สงบ จึงอยู่ในที่แคบเป็นอยู่ได้ เทวดาใน 6 ชั้นทำได้ รูปพรหมและอรูปพรหมทำได้ เด็กในท้องก็นับว่าสังขารสงบ เทวดาก็นับว่าสังขารสงบได้ รูปพรหมและอรูปพรหมก็นับว่าสังขารสงบได้ การสงบสังขารเสียเป็นสุข สมด้วยคาถา 4 บาท ในบาทเบื้องปลายว่า “เตสํ วูปสโม สุโข” สงบสังขารเหล่านั้นเสียได้ นำมาซึ่งความสุข นี้สงบสังขารได้ตามสมควร เป็นทางทำตนให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    กายสังขารสงบคือลมหายใจหยุด วจีสังขารสงบคือความตรึกตรองหยุด จิตสังขารสงบคือใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ชื่อว่า สันติ ลมหยุดลงไป ในที่เดียวกันชื่อว่า อานาปาน ซึ่งแปลว่าลมหยุดนิ่งหรือไม่มี เมื่อสังขารทั้ง 3 หยุดถูกส่วนเข้าแล้ว เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยส่วนหนึ่ง เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้น เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตคิดว่าเป็นสุขเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเมื่อสติปัฏฐานทั้ง 3 ถูกส่วนพร้อมกันเข้า เกิดเป็นดวงใสขึ้นเท่าฟองไข่แดง หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกส่องเงาหน้านั่นแหละ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงนี้บางท่านเรียกว่าพระธรรมดวงแก้ว โบราณท่านใช้แปลในมูลกัจจายน์ว่า “ปฐมมรรค” ธรรมดวง นี้แหละคือ ดวงศีล เพราะอยู่ในเหตุว่างของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ไม่มีราคี ตาของกายทิพย์เห็น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ตรงกลางของดวงศีลนั้น ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่ พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็นดวงสมาธิ เอาใจหยุดนิ่ง ลงไปที่กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงปัญญาที่อยู่ในกลางดวงสมาธินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ทำให้ใจหยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติ ก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะที่อยู่ในกลางดวงวิมุตตินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสะก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายมนุษย์ เห็นตัวของกายมนุษย์ฉะนั้น ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แต่พอถูก ส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ว่างออกไป ตาของกายรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายทิพย์เห็นตนของกายทิพย์เองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายอรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเองฉะนั้น ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายธรรมก็เห็นกายของพระองค์เองอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายอรูปพรหม เห็นตนของตนเองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้เป็นวิธีที่ทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    เมื่อทำมาถึงกายธรรมหรือธรรมกายดังนี้แล้ว ก็รู้จักตัวตนชัดเจนโดยไม่ต้องสงสัย เพราะกายทั้ง 5 บอกตัวของตัวเอง กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้ง 4 กายนี้ บอกตัวเองอยู่ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเป็นแต่สมมติเท่านั้น รู้ได้เองว่ากายมนุษย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ชั่วคราวตามอายุขัยและวัย สิ้นปัจจัยคือบุญและบาปแล้วก็แตกสลายไป รู้ได้จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่แต่รู้เห็นด้วยตาของตนทุกๆ คนด้วยกันทั้งนั้น

    ส่วนกายทิพย์ หรือ รูปพรหม อรูปพรหม สิ้นอำนาจของบุญกรรม และรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็แปรไปเหมือนกายมนุษย์ ต่างกันแต่ช้าและเร็วเท่านั้น

    ส่วนกายธรรมหรือธรรมกายเป็นตัวยืนบอกความจริงว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว ส่วนกาย ทั้ง 4 เป็นตัวยืนบอกเท็จว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เท็จต่อความจริงอย่างนี้ เมื่อไม่รู้เห็นจริง จะรู้เห็นเท็จได้อย่างไร ต้องรู้จริงเห็นจริงเสียก่อน จึงย้อนมารู้จักเท็จได้ดังนี้

    ธรรมกายนี้เองเป็นพุทธรัตนะ ซึ่งแปลว่าแก้วคือพุทธะ เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้ว ก็ควรรู้จักธรรมรัตนะเสียทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นธรรมรัตนะ แต่เป็นส่วนโลกีย์ ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั้นเป็นโคตรภู ต่อเมื่อใด ธรรมกายเลื่อนขึ้นไปเป็นพระโสดาแล้ว ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดานั้นเองเป็นโลกุตตระ

    ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม แลกายอรูปพรหมเป็นโลกียมรรค เพราะกายทั้ง 4 นั้นเป็นโลกีย์ ธรรมจึงเป็นโลกีย์ไปตามกาย ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นโลกุตตระ เพราะธรรมกายของพระโสดาเป็นโลกุตตระ ธรรมจึงเป็นโลกุตตระไปตามกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ นี้เอง เป็นธรรมรัตนะ ซึ่งแปลว่า แก้วคือธรรม เมื่อรู้จักธรรมรัตนะแล้วก็ควรรู้จักสังฆรัตนะเสียทีเดียว ธรรมกายหรือกายธรรมหมดทั้งสิ้น ยกธรรมกายของพระสัพพัญญู และธรรมกายของพระปัจเจกพุทธเจ้าออกเสีย นอกจากนั้นเป็นธรรมกายของสาวกพุทธทั้งสิ้น มีมากน้อยเท่าใดเป็นสังฆรัตนะ แก้วคือสงฆ์

    การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยที่ถูกแท้นั้น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าๆ ฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันหมดทุกคน จำเดิมแต่อยู่ในท้องมารดา ใจของกุมารกุมารีจรดจี้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมนั้นทุกคน ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมมีว่างอยู่ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ใจของกุมารหรือกุมารีก็จรดอยู่ศูนย์กลางนั้น

    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว จงตั้งใจแน่แน่ว ให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด

    เพราะฉะนั้นพวกเราที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย จึงต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง ให้ตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ จึงจะถูกหลักฐานในพุทธศาสนา ทั้งถูกตำราของสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดด้วย สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดเข้าสิบไม่ถูก ก็ไม่ตกศูนย์ เมื่อไม่ตกศูนย์ก็ไปเกิดมาเกิดไม่ได้ ธรรมดาของเกิดแลตาย ต้องมีสิบศูนย์เป็นเครื่องหมายเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในภพ และนอกภพ การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยก็เหมือนกัน ต้องเข้าสิบศูนย์เป็นชั้นๆ ไป จึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ ดังแสดงมาตั้งแต่ต้นเป็นชั้นๆ มาแล้วทุกประการ

    รัตนะทั้ง 3 นี้ เป็นแก้วจริงๆ จังๆ แก้วที่มีในไตรภพนี้มีคุณภาพไม่เทียมทัน ส่วนแก้วในไตรภพที่มนุษย์ใช้อยู่บัดนี้ เพชรเป็นสูงกว่า หรือแก้วที่มีรัศมีเป็นของหายาก ไม่มีใครจะใช้กันนัก แก้วชนิดอย่างนั้น มีสีต่างๆ ถ้าสีนั้นเขียว ใส่ลงไปในน้ำ น้ำก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น ถ้าสีเหลือง น้ำก็เหลืองไปตาม ถ้าแดง น้ำก็แดงไปตามสีแก้ว ตกว่าแก้วสีอะไร น้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้นๆ นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไป ก็ต้องเป็นแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์

    พระเจ้าจักรพรรดิ์มีแก้ว 7 ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว แก้ว 7 ประการนี้เกิดขึ้นในโลกกาลใด มนุษย์ในโลกได้รับความสุข ปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นอยู่ อาศัยแก้ว 7 ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใดๆ ทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิ์สอนให้ตั้งอยู่ในศีล 5 กรรมบถ 10 ครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว ไม่มีตกไปอยู่ในทุคตติเลย

    แก้วทั้งหลายในโลกพิเศษถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่มีพิเศษเท่าแก้ว คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แก้วคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั้น ถ้าผู้ใดเข้าไปได้เข้าไปถึงแล้ว ลืมแก้วลืมสวรรค์ลิบๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น

    ผู้ที่จะเข้าไปได้ถึงแก้วทั้ง 3 นี้ ต้องดำเนินไปตามต้น กาย วาจา ใจ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ดังแสดงมาแล้วในเบื้องต้น จนถึงธรรมกาย คือให้ดำเนินไปตามโพธิปักขิยธรรม 37 ตั้งต้นแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม ไป แต่พอถึงธัมมานุปัสสนา ก็เห็นเป็นดวงใส ที่เรียกว่าดวงศีล ต่อแต่นั้นก็ถึงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งนับว่าเป็นที่รวมพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกรวมอยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ทั้งสิ้น เมื่อจับที่รวมของกายมนุษย์ได้แล้ว กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม ก็เหมือน กันดังแสดงมาแล้ว

    ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ เป็นวิธีให้เข้าถึงรัตนะทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอาการต่างๆ กัน ในเมื่อจับหลักยังไม่ได้ ต่อเมื่อจับหลักคือธรรมกายเสียได้แล้ว จะเห็นว่าไม่ต่างกัน เนื่องเป็นอันเดียวกันแท้ๆ

    สมด้วยกระแสบาลีในเบื้องต้นว่า “หมวด 3 ของรัตนะนี้ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ” แม้ต่างกันโดยวัสดุ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน เป็นของเนื่องซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมพระสงฆ์ทรงไว้ พระสงฆ์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เนื่องเป็นอันเดียวกันเป็นบรรทัดฐาน ดังแสดงทุกประการ พอสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้.
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    วิธีสร้างพระในใจตน
    เจริญพรท่านสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน

    เมื่อคราวที่แล้ว อาตมภาพได้กล่าวถึงการหาบุญได้ ใช้บุญเป็น ด้วยการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการงานในอาชีพ ด้วยสติปัญญาอันเห็นชอบ รอบรู้ทางเจริญแห่งชีวิตอันควรดำเนิน 1 รอบรู้ทางเสื่อมแห่งชีวิตอันควรงดเว้น 1 และด้วยการอบรมจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส อันเป็นทางเจริญปัญญาอันเห็นแจ้งในทางเจริญ และทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริงอีก 1 นี้เป็นไปตามหลักปฏิบัติพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ และได้ตรัสสอนไว้ดีแล้ว ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือเดือน 3 ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ภายหลังแต่ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว 9 เดือน ว่า

    สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.
    การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1 การบำเพ็ญแต่ความดี 1
    การทำจิตให้ผ่องใส 1 นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ดังที่อาตมภาพได้เคยอาราธนาพระคาถานี้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า คือ “พระโอวาทปาฏิโมกข์” มาแสดงแก่ญาติโยมสาธุชนอยู่เนืองๆ นั่นเอง เมื่อสาธุชนใดได้สดับพระสัทธรรมนี้แล้วนำไปประพฤติปฏิบัติตน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นคุณเครื่องกำจัดบาปอกุศลจากจิตตสันดาน ให้กลับบริสุทธิ์ผ่องใส เป็นบุญเป็นกุศล แล้วจะค่อยๆ แก่กล้าขึ้นเป็นบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ อนึ่ง บุญบารมีที่สาธุชนผู้ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ประกอบบำเพ็ญ สั่งสมไว้ดีแล้ว ก็จะติดตามให้ผลเป็นความเจริญและสันติสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ถึงมรรคผลนิพพาน อันเป็นบรมสุขและเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง ตามรอยบาทพระพุทธองค์ได้

    เมื่อครั้งที่แล้ว อาตมภาพได้ให้คำแนะนำวิธีเจริญภาวนาสมาธิ ขั้นต้นอย่างง่ายๆ ตามที่พระเดช-พระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านได้ปฏิบัติและสั่งสอนศิษยานุศิษย์ เพื่ออบรมจิตใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง และบริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ เครื่องกั้นปัญญา ควรแก่งานเจริญภาวนาเพื่ออบรมปัญญา และเป็นทางให้ “สร้างพระในใจตน” ได้ดีขึ้น

    ยังมีข้อสังเกตอีกว่า ใจที่สงบ ตั้งมั่นอยู่ตรงกลางดวงธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส ตรงศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมตรงนั้นแหละ เป็นใจที่บริสุทธิ์ผ่องใสและเป็นใจที่อ่อนโยนควรแก่งาน พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ปฏิบัติและสอนให้ปฏิบัติถึงธรรมกายถึงพระนิพพาน ตามรอยบาทพระพุทธองค์ ท่านได้เคยกล่าวว่า “ทะเลบุญอยู่ตรงนั้น” เมื่ออบรมใจให้สงบ ให้หยุดให้นิ่ง ตั้งมั่นดีตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ที่บริสุทธิ์ผ่องใสอยู่อย่างนั้น จะอธิษฐานสิ่งใดๆ ที่ชอบที่ควร และที่ไม่เกินวิสัยเหตุปัจจัย ย่อมสำเร็จได้ตามสมควรแก่ภูมิธรรม และบุญบารมีที่ได้เคยสั่งสมอบรมมา

    เพระฉะนั้น เมื่อจะประกอบบุญกุศลคุณความดี ก็ให้จรดใจนิ่งอยู่ตรงนั้น ให้เห็นใสบริสุทธิ์เข้าไว้ อยู่เสมอ เมื่อยามคับขัน ก็จงทำใจให้สงบ ให้หยุดให้นิ่ง ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้นแหละ ให้ใสสว่างเข้าไว้ แล้วอธิษฐานจิตในทางที่ดี ที่ชอบ กอปรด้วยคุณธรรม คือ ศีลธรรม แล้วบุญจะทำหน้าที่ปรุงแต่งชีวิตให้ดีขึ้นไปเอง นี้แหละที่ชื่อว่า “รู้จักหาบุญได้ ใช้บุญเป็น”

    ยิ่งถ้าปฏิบัติได้ถึงธรรมกาย ได้ฝึกเจริญภาวนาพิจารณาสติปัฏฐาน 4 คือ มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ดีแล้ว เจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ดียิ่งๆ ขึ้นไปเพียงใด ย่อมเป็นคุณเครื่องช่วยบำบัดทุกข์ และบำรุงสุข ให้แก่ทั้งตนเองและทั้งผู้อื่นได้มากเพียงนั้น และเพราะเหตุนั้นแหละ พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้เคยกล่าวกับศิษยานุศิษย์ว่า “ธรรมกายคนหนึ่ง ช่วยคนได้ครึ่งเมือง” ท่านประสงค์จะทราบผลดีจริงหรือไม่ ก็ต้องไปเข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติให้ได้ถึงธรรมกาย ก็จะสามารถรู้และได้ประสบการณ์ด้วยตนเอง

    เหล่านี้ คือ อานิสงส์ผลบุญจากการอบรมกาย วาจา ให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ การอบรมจิตใจให้สงบ และบริสุทธิ์ผ่องใส ก็คือการอบรมจิตใจให้เป็น “พระ” หรืออีกนัยหนึ่ง คือให้มีพระในใจตน นำชีวิตตนไปสู่ความเจริญและสันติสุข

    โดยนัยนี้ วิธีสร้างพระในใจตน ก็คือการศึกษาสัมมาปฏิบัติ อบรมกายและวาจา ให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษโดยทางศีล ให้ถึงอธิศีล คือ ศีลอันยิ่ง การศึกษาอบรมจิตใจให้สงบจากกิเลสนิวรณ์เครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจ อันจะเป็นอุปสรรคขวางกั้นปัญญา โดยทางสมาธิ ให้ถึงอธิจิต คือ จิตอันยิ่ง และการศึกษาอบรมปัญญาให้เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของธรรมชาติและสัจจธรรมตามที่เป็นจริงชื่อว่า อธิปัญญา คือปัญญาอันยิ่ง เหล่านี้ ร่วมเรียกว่า ไตรสิกขา คือการศึกษาอบรมกาย วาจา และใจ โดยวิธีการปฏิบัติธรรม 3 อย่าง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เจริญแก่กล้าขึ้นเป็นอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา อันมีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์แปดนั้นเอง

    การศึกษาสัมมาปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นนี้แหละ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องว่า เป็นการกระทำสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาพระพุทธองค์ ด้วยการบูชาอย่างสูงสุดยิ่ง ดังบาลีพระพุทธภาษิตมีมาในมหาปรินิพพานสูตร ว่าด้วยการบูชาพระตถาคต ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ 10 ข้อ 129 ว่า

    “โย โข อานนฺท ภิกฺขุ วา ภิกฺขุนี วา อุปาสโก วา อุปาสิกา วา ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารี โส ตถาคตํ สกฺกโรติ ครุกโรติ มาเนติ ปูเชติ ปรมาย ปูชาย ตสฺมาติหานนฺท ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา วิหริสฺสาม สามีจิปฏิปนฺนา อนุธมฺมจาริโนติ เอวญฺหิ โว อานฺนท สิกฺขิตพฺพํ.”

    “อานนท์ ! ผู้ใดแล เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่, ผู้นั้น ชื่อว่า สักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยบูชาอย่างยิ่ง; เพราะฉะนั้น อานนท์! (เธอทั้งหลาย) ในพระธรรมวินัยนี้ (พึงศึกษาว่า) เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่, อานนท์! เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล.”

    เพราะเหตุนี้ ท่านพระสิริมังคลาจารย์ จึงได้อรรถาธิบายพระพุทธดำรัสนี้ ในหนังสือมังคลัตถทีปนี ข้อ 69 ตอนที่ว่าด้วย “การบูชา” มีเนื้อความว่า ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องสัมมาปฏิบัติ ว่าเป็นการบูชาพระพุทธองค์ที่สูง กว่าอามิสบูชา คือ ยิ่งกว่าการบูชาพระพุทธองค์ด้วยทรัพย์สิ่งของมากมายนัก ก็เพราะเหตุว่า ถ้าพระพุทธองค์มิได้ตรัสไว้อย่างนี้แล้ว สืบต่อไปในอนาคต พระภิกษุทั้งหลายก็จักไม่เป็นผู้ปฏิบัติศีลและสมาธิให้บริบูรณ์ และก็จักไม่ปฏิบัติวิปัสสนาให้แก่กล้าพอที่จะเป็นเหตุปัจจัยแก่การบรรลุมรรคผลได้ต่อไป ก็จะได้แต่ชักชวนญาติโยมอุปัฏฐากให้ทำเพียงอามิสบูชาเท่านั้น นอกจากนี้ ท่านยังได้อธิบายเน้นไว้อีกว่า

    ก็ชื่อว่า อามิสบูชานั่น ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ชั่วกาลแม้เพียงดื่มยาคูอึกหนึ่ง, ความจริง วิหารพันหนึ่ง เช่น มหาวิหารก็ดี เจดีย์พันหนึ่ง เช่น มหาเจดีย์ก็ดี หาอาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ไม่; ผู้ใดทำ, อานิสงส์ก็มีแก่ผู้นั้นเท่านั้น. ส่วนสัมมาปฏิบัติ เป็นบูชาสมควรแก่พระศาสดา. เพราะสัมมาปฏิบัตินั้น พระองค์โปรดด้วย สามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วย.

    แต่ทั้งนี้ท่านผู้ฟังพึงเข้าใจว่า “อามิสบูชา” คือการบูชาด้วยทรัพย์สิ่งของ หรือการบริจาคทาน ก็มีผลานิสงส์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ทำให้บริบูรณ์ในทานกุศล ย่อมได้รับผลเป็นความเจริญรุ่งเรืองและสุขสมบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และเป็นทานบารมี ช่วยส่งให้ถึงนิพพานสมบัติ กล่าวคือ เป็นพื้นฐานและเป็นอุปการะแก่การบำเพ็ญบุญบารมีอื่นๆ ได้แก่ ศีลบารมี เนกขัมมบารมี เป็นต้น ให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นพลวปัจจัยให้สามารถปฏิบัติพระสัทธรรม ให้ถึงมรรค ผล นิพพาน ได้สะดวก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้แสดงนัยอันมาในอรรถกถามหาปรินิพพานสูตร ในหนังสือมังคลัตถทีปนี ข้อ 70 มีข้อความตอนท้ายว่า

    ฝ่ายคฤหัสถ์ผู้ทำเวร 5 อกุศลกรรมบถ 10 ไม่ชื่อว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. แต่ผู้ใด เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสรณะและศีล รักษาอุโบสถเดือนละ 8 ครั้ง ให้ทาน ทำการบูชาด้วยของหอม และการบูชาด้วยมาลา บำรุงมารดาบิดาและสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม ผู้นี้จึงเป็นผู้ชื่อว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

    แต่ถ้าเป็นเพียงการบูชาพระพุทธเจ้าหรือพระรัตนตรัยด้วยอามิสทานแม้ด้วยการสร้างมหาวิหาร หรือมหาเจดีย์อุทิศถวาย แต่ย่อหย่อนหรือขาดการปฏิบัติบูชาแล้ว เพียงอามิสบูชาเท่านั้นย่อมไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ ส่วนการบูชาด้วยการศึกษาสัมมาปฏิบัติ โดยทาง ทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล ให้เจริญขึ้นเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ให้ถึง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา อันเป็นเหตุปัจจัยให้ถึง ธรรมโคตรภู พระโสดา พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหัต และ/หรือ ถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันเป็นการสร้างพระในใจตน เป็นต้นเท่านั้น ที่จักดำรงพระพุทธศาสนาไว้ได้ พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญการปฏิบัติบูชา ยิ่งกว่า แต่เพียงการบูชาด้วยอามิสเท่านั้น

    เพราะเหตุนั้น ณ โอกาสนี้ อาตมภาพจึงจักได้กล่าวถึง “วิธีสร้างพระในใจตน” อันเป็นการปฏิบัติบูชา ด้วยการศึกษาสัมมาปฏิบัติ เพื่ออบรมกาย วาจา และใจ ให้เป็น “พระ” ให้มีพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ อยู่ในใจตน อันเป็นคุณธรรมที่ประเสริฐสูงสุด อยู่ ณ ภายในจิตใจของตน โดยทางศีล สมาธิ และปัญญา ต่อไป

    วิธีสร้างพระในใจตน ด้วยการศึกษาสัมมาปฏิบัติโดยทางศีล สมาธิ และปัญญา ให้ถึง อธิศีล คือ ศีลอันยิ่ง อธิจิต คือ จิตอันยิ่ง และอธิปัญญา คือ ปัญญาอันยิ่ง นั้นมีดังนี้

    1. อธิศีลสิกขา คือ การศึกษาอบรมความประพฤติปฏิบัติอย่างสูง ทางกาย และทางวาจา ด้วยความสังวรระวัง ให้ความประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามทำนองคลองธรรม คือ ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เพื่อประคับประคองความประพฤติปฏิบัติของตนให้บริสุทธิ์ คือให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ ไม่เป็นความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ให้เป็นไปเพื่อความไม่มีวิปฏิสาร คือให้ไม่มีความเดือดร้อนใจ และให้เป็นพื้นฐานแก่การฝึกอบรม อธิจิต คือ จิตอันยิ่ง ต่อไปด้วย

    คฤหัสถ์ อุบาสก อุบาสิกา พึงเป็นผู้รักษาศีลอย่างต่ำศีล 5 หรือสูงขึ้นไปถึงศีล 8 ให้บริสุทธิ์ สามเณรพึงเป็นผู้รักษาศีล 10 และพระภิกษุพึงเป็นผู้รักษาศีล 227 ให้บริสุทธิ์ด้วยความสังวรระวังความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยพุทธบัญญัติ ให้เป็นปาริสุทธิศีล คือ ศีลอันเป็นเหตุให้บริสุทธิ์หมดจด 4 ประการ ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ 1 อินทรียสังวรศีล คือ ความสำรวมอินทรีย์ 6 ได้แก่ การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย และธรรมารมณ์ มากระทบ ก็ไม่เคียดแค้นชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก และไม่หลงสยบติดอยู่ในอารมณ์ที่
    น่ารัก 1 อาชีวปาริสุทธิศีล คือ การเลี้ยงชีพโดยทางที่ชอบธรรม ไม่กบฏคดโกงเขาเลี้ยงชีวิต 1 และปัจจยสันนิสิตศีล คือ พิจารณาก่อนบริโภคปัจจัย 4 ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช อีก 1

    ผู้ใดศึกษา ทำความเข้าใจเหตุและผลที่พึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติในการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม คือ ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยอันพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว และประพฤติปฏิบัติตนทางกาย และทางวาจาให้บริสุทธิ์ คือ ให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ ให้เป็นไปเพื่อความไม่มีวิปฏิสาร คือ ให้ไม่มีความเดือดร้อนใจ และให้เป็นพื้นฐานแก่การอบรมอธิจิต คือ จิตอันยิ่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ศึกษาสัมมาปฏิบัติ ด้วยอธิศีลสิกขา

    เมื่อความประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา บริสุทธิ์และสงบไปถึงใจ ด้วยอธิศีลสิกขา จึงชื่อว่าเป็น ศีลวิสุทธิ คือความหมดจดแห่งศีล ซึ่งจะเป็นอุปการะสำคัญแก่การเจริญสมถวิปัสสนาต่อไป

    ผลของการปฏิบัติอธิศีลสิกขา คือ ความประพฤติปฏิบัติทางกาย และวาจา ที่บริสุทธิ์ คือ ที่เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ และที่สงบไปถึงจิตใจด้วย จึงเป็นคุณธรรม ณ ภายในจิตใจของพระผู้ประเสริฐ นี้เป็นวิธีสร้างพระในใจตน ข้อที่ 1

    2. อธิจิตสิกขา คือ การศึกษาอบรมจิตใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ถึงเกิดองค์คุณเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจและอุปสรรคขวางกั้นปัญญาให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส อ่อนโยนควรแก่งานอบรมอธิปัญญา คือ ปัญญาอันยิ่งต่อไป

    เหตุและผลของการอบรมจิตใจ ให้เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง หลักธรรมและวิธีการอบรมจิตใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ที่มีประสิทธิภาพสูง ถึงเกิดองค์คุณหรือองค์แห่งฌาน เครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ ให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส อ่อนโยน ควรแก่งานอบรมปัญญาอันยิ่งนั้นอาตมภาพได้บรรยายไปแล้ว “เรื่อง หาบุญได้ ใช้บุญเป็น (ตอนที่2)” เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมานี้ จึงจะไม่กล่าวรายละเอียดวิธีการปฏิบัติเบื้องต้นนั้นซ้ำอีก ณ โอกาสนี้ อาตมภาพจักได้กล่าวแนวทางศึกษาสัมมาปฏิบัติ อธิจิตสิกขา คือ การศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง ให้ถึงความหมดจดแห่งจิต ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ อันเป็นวิธีสร้างพระในใจตนขั้นที่ 2 และเป็นบาทฐานของวิปัสสนาต่อไป

    เมื่อครั้งที่แล้ว อาตมภาพได้บรรยายถึงวิธีเจริญภาวนาสมาธิเบื้องต้น ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติถึงธรรมกาย ตามรอยบาทพระพุทธองค์ และได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์เป็นเนติแบบแผน ทั้งในขั้นสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานไว้ และได้สั่งสอนถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏเป็นผลดีแก่ผู้ศึกษาและปฏิบัติด้วยอิทธิบาทธรรม ให้สามารถเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้สภาวธรรมและสัจจธรรมตามที่เป็นจริง ได้สะดวก และให้ผลแก่การดำเนินชีวิตเป็นความเจริญและสันติสุข เป็นที่ประจักษ์ตาและประทับใจแก่ศิษยานุศิษย์ ผู้ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้านี้ อย่างกว้างขวาง โดยมีหลักในการปฏิบัติภาวนาในขั้นต้นนี้ 3 ประการ คือ การใช้วิธีเพ่งกสิณแสงสว่าง ที่ได้ถึงอุคคหนิมิต คือ เห็นนิมิตเป็นดวงใสติดตา มาใช้เป็นบริกรรมนิมิตสำหรับผู้ฝึกปฏิบัติใหม่ โดยให้นึกเห็นเครื่องหมาย นิมิตหรือเป็นดวงแก้วกลมใสด้วยใจ นี้ประการ 1 ให้กำหนดบริกรรมภาวนา คือ ให้นึกท่องในใจ “สัมมาอะระหังๆๆๆ” ตรงกลางของกลางจุดเล็กใส กลางดวงกลมใสนั้นอีกทีหนึ่งพร้อมกับนึกน้อมพระพุทธคุณคือพระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า จากคำว่าสัมมาอะระหัง นั้นมาสู่ใจตน เป็นพุทธานุสติ อีกโสดหนึ่งด้วย นี้ประการ 1 และให้กำหนดฐานที่ตั้งของใจ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือนั้น เป็นจุดที่อยู่เหนือที่สุดและที่ตั้งต้นลมหายใจเข้าออก เพียง 2 นิ้วมือ ให้ผู้ปฏิบัติภาวนาได้มีสติพิจารณาเห็นลมหายใจเข้าออก เป็น อานาปานสติ อีกประการ 1

    ที่ศูนย์กลางกายตรงนี้ ยังเป็นที่ตั้ง “กำเนิดธาตุธรรมเดิม” ซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อมาตั้งปฏิสนธิวิญญาณในมดลูกมารดา และเจริญวัยเป็นกายและใจของมนุษย์หยาบ หรือกายเนื้อนั่นเอง ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เป็นที่ตั้งของธาตุละเอียดของ “กาย-ใจ” และ “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกายจากกายสุดหยาบ คือกายมนุษย์ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ถึงกายธรรม คือ “ธรรมกาย” ที่ใสบริสุทธิ์และมีรัศมีสว่าง นี่แหละคือ “พระในใจตน” ซึ่งผู้ใดปฏิบัติภาวนาได้เข้าถึง ได้รู้ ได้เห็น และได้เป็นธรรมกายนี้แล้ว เป็นความสงบสุขยิ่งนัก และยังให้สามารถอบรมปัญญา คือ พิจารณาเห็นสภาวธรรมและสัจจธรรมตามที่เป็นจริงได้ ด้วยการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้ ได้เป็นอย่างดี เป็นเหตุให้เจริญสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบในทางเจริญและทางเสื่อมของชีวิต ให้รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ กฎแห่งกรรมได้อย่างละเอียดชัดเจน และกว้างขวาง และสามารถยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านผู้อื่นให้สำเร็จได้ มากมายนัก ผู้ปฏิบัติได้เข้าถึง ได้รู้-เห็น และได้เป็นธรรมกายตามรอยบาทพระพุทธองค์เช่นนี้แล้ว ย่อมประจักษ์ในคุณค่าอย่างลึกซึ้งของการปฏิบัติพระสัทธรรมนี้ด้วยตนเอง เป็น ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ คือ อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งเห็นแจ้งเฉพาะตน คำว่า “วิญญูชน” ณ ที่นี้หมายถึง ผู้รู้จริงจากการศึกษาสัมมาปฏิบัติ โดยอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา อันมีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 เท่านั้น มิใช่ผู้รู้ที่สักว่าเรียนรู้จากตำรา หรือฟังเขามาเท่านั้น นี้ตรงกับการศึกษาวิจัยอย่างมีระบบ ด้วยการพิสูจน์ทดลองตามทางวิทยาศาสตร์ ที่ชื่อว่า “experimental research” ที่ให้สามารถได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่เชื่อถือได้ และที่ตรงประเด็น อย่างสมบูรณ์นั้นเอง การศึกษาสัมมาปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา จึงเป็นวิธีการศึกษาวิจัยด้วยการพิสูจน์ ทดลองโดยทางการปฏิบัติอย่างมีระบบ ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิบัติ จนได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ พระญาณเครื่องตรัสรู้อันยิ่ง มากว่า 2586 ปีแล้ว นี้คือของจริงในพระพุทธศาสนา พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็น สนฺทิฏฺฐิโก คือ เป็นธรรมที่ผู้ได้ศึกษาและปฏิบัติดีแล้ว พึงรู้เห็นได้ด้วยตน เป็น โอปนยิโก คือเป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่(ไว้ในใจ)ตัว เอหิปสฺสิโก คือเป็นธรรมที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด หรือควรแนะนำให้ผู้อื่นมาทดลองปฏิบัติดูให้รู้เห็นด้วยตัวเขาเอง

    นี้เป็นวิธีศึกษาสัมมาปฏิบัติ เพื่อสร้างพระในใจตน โดยทางศีล สมาธิ ปัญญา ถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต่อๆ ไปตามลำดับ

    ผู้สนใจในการศึกษาและปฏิบัติธรรมที่ให้ผลอย่างคุ้มค่า โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อสร้างพระในใจตน เพื่อนำชีวิตตนไปสู่ความเจริญและสันติสุข และถึงความพ้นทุกข์ได้จริง ก็ขอเชิญไปฝึกอบรมพระกัมมัฏฐาน รุ่นที่ 36 ปลายปีนี้ ระหว่างวันที่ 1-14 ธันวาคมนี้ ได้ที่ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ใน สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนิน-สะดวก จ.ราชบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างวันที่ 4-6 ธันวาคม จะเป็นการเจริญจิตตภาวนาเพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงคุณประเสริฐของเรา ด้วย จึงขอเชิญสาธุชนทุกท่าน ไปเข้าร่วมฝึกอบรมและปฏิบัติภาวนาธรรม “เพื่อสร้างพระในใจตน” โดยทั่วหน้ากัน สำหรับญาติโยมชายหญิงขอให้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดขาว ถือศีล 8 ตลอดระยะเวลาที่อยู่ฝึกอบรมภาวนาธรรมด้วย ติดต่อขอทราบรายละเอียดและสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่ ประชาสัมพันธ์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โทรศัพท์หมายเลข (032) 254-650, 253-352 ต่อ 220 ได้ทุกวันระหว่างเวลาทำงาน ส่วนพระภิกษุ จดหมายขอสมัครเข้ารับการอบรมไปที่ เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130

    อาตมภาพใคร่ขอเชิญชวนท่านสาธุชนทั้งหลาย ได้ตั้งใจละเว้นความประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดี ที่เป็นการผิดศีลผิดธรรม อันจะก่อให้เกิดโทษหรือเป็นความทุกข์เดือดร้อน ทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่นได้ในภายหลังเสีย และตั้งใจประพฤติปฏิบัติอยู่แต่ในคุณความดี ที่เป็นบุญกุศล อยู่ในศีลในธรรม อันจะยังผลให้เกิดประโยชน์สุข และเพื่อความพ้นทุกข์ แก่ตนเองและผู้อื่น ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อบูชาคุณพระรัตนตรัย และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ผู้ทรงเป็นหลักชัย ร่มโพธิ์ร่มไทร ของเราทั้งหลาย ให้พระองค์ท่านมีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน ให้มีพระพลานามัยสมบูรณ์ และทรงพระเกษมสำราญ ด้วยสิริราชสมบัติ สวรรค์สมบัติ ถึงนิพพานสมบัติ ตลอดกาลนาน

    ในมหามงคลสมัย พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราชนี้ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ใน สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ก็จะได้ร่วมกับคณะจังหวัดราชบุรี ซึ่งประกอบด้วยพระภิกษุ สามเณร และข้าราชการ คณะครูอาจารย์ นักเรียน/นักศึกษา พ่อค้า ประชาชนทั้งในจังหวัดราชบุรีและคณะพระภิกษุสงฆ์และญาติโยมสาธุชนผู้มาเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐาน จากทุกภาค เจริญจิตตภาวนาถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน เช่นที่เคยได้ปฏิบัติมาทุกปี

    เฉพาะในปีนี้ จะได้จัดให้มีการเจริญจิตตภาวนาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ระหว่างวันที่ 4-6 ธันวาคม จึงขอเชิญญาติโยมสาธุชนชายหญิง เข้าร่วมปฏิบัติธรรม โดยถือศีล 8 แต่งชุดขาว และเจริญภาวนาธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ระหว่างวันที่ 4-6 ธันวาคม นี้

    สำหรับพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาสาธุชนผู้ประสงค์จะเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐาน (รุ่นที่ 36) เต็มหลักสูตร ตั้งแต่วันที่ 1-14 ธันวาคมนี้ ก็ขอเชิญสมัครเข้ารับการอบรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    ท่านผู้ประสงค์จะเข้าร่วมปฏิบัติธรรมเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล ระหว่างวันที่ 4-6 ธันวาคมนี้ก็ดี หรือผู้ประสงค์จะเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐาน รุ่นที่ 36 เต็มหลักสูตร ตลอดระยะเวลา 14 วัน คือ วันที่ 1-14 ธันวาคมนี้ก็ดี จดหมายแจ้งความจำนงขอเข้ารับการอบรม ปฏิบัติภาวนาธรรม ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยระบุชื่อวัดหรือบ้านเลขที่ ตำบล ที่อยู่ และโทรศัพท์ (ถ้ามี) ให้ชัดเจน ส่งถึงเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130 ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    อนึ่ง เนื่องด้วยวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นวัดที่ปลอดบุหรี่ และยาเสพติดมึนเมาให้โทษเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ทุกชนิด ทางวัดจึงมีระเบียบไม่อนุญาตให้ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติภาวนาธรรมใด แจกจ่าย สูบ เสพ หรือ มี บุหรี่หรือยาเสพติดทุกชนิดในบริเวณวัดโดยเด็ดขาด จึงขอเรียน/ขอเจริญพร ผู้ประสงค์จะสมัครเข้ารับการอบรมเพื่อทราบ และเตรียมปฏิบัติตามระเบียบนี้อย่างเคร่งครัด สำหรับท่านที่ติดบุหรี่หรือยาเสพติดใด ขอให้เลิกละให้ได้ก่อนสมัครเข้ารับการอบรมด้วย

    ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้ฟังทุกท่าน เจริญพร

    พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ป.ธ.6 เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันที่ 15 พฤศจิกายน 2541
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQmBIID5doikdQOR5Gml_tlm9V3kjrZC8XgNnZjAyRnlhvUvdN1FPJ1IEKTQVuXTDtI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=fbb5339f5cf726521fd20b80da0dc5d8.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=ffb12da0cac6cbe6195d80d418046372.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQl7ee4AJAPq0Cm-3FWurbQDh7JwTm63OtqvN3KVld-vIizbXih7qNMbHwgGGNAVrpU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    อมตะธรรมพระอริยสงฆ์


    คราวหนึ่งหลวงพ่อรับนิมนต์ไปเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ งานทำบุญบ้านของคฤหัสน์ผู้หนึ่ง หลวงพ่อก็จัดพระไปอีก 8 รูป เมื่อหลวงพ่อนำขึ้นมนต์บทต่างๆ ในบทสวดมนต์ 12 ตำนาน พระบางรูปก็สวดได้หมดทุกบท บางรูปก็สวดได้บ้างไม่ได้บ้าง

    ถ้าพระส่วนใหญ่สวดได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร ยังไปได้พร้อมเพรียง แต่มีอยู่บทหนึ่ง ที่พระถึง 7 รูปสวดไม่ได้ เมื่อหลวงพ่อขึ้นบทนำ ก็มีพระครูวิเชียรธรรมโกวิทรูปเดียวที่สวดตามได้

    ลองนึกภาพแล้วกันว่า พระทั้ง 7 รูปนั้น จะรู้สึกอย่างไร? คงจะหวาดไปตามๆ กัน งานนี้เสร็จแน่แก้ตัวไม่ได้ หลวงพ่อจับได้แล้วว่าขี้เกียจท่องบทสวดมนต์

    หลังจากเจริญพระพุทธมนต์เสร็จ เจ้าภาพก็นำน้ำปานะใส่ถาดไปประเคนที่องค์ประธานก่อน แต่หลวงพ่อไม่ได้หยิบเพียงแก้วเดียว ท่านรับไว้ทั้งถาดเลยทีเดียว แล้วก็หยิบแก้วน้ำปานะหนึ่งส่งให้พระครูวิเชียรฯ ผ่านหน้าพระที่นั่งติดกับท่านไปอีกหลายรูป พร้อมกับพูดว่า...

    “เอ้าเชียร เราเหนื่อยกัน 2 คน ฉันกัน 2 คนนะ”

    หลวงพ่อสด จันทสโร
    วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    +++ มารเป็นคนแนะนำให้ทำ +++

    "วันนี้ที่ลงมาช้าเพราะเมื่อเช้าทำบัญชี เสร็จแล้วก็คัดลอกไฟล์ใหม่เพื่อที่จะเอาไปสำรองไว้ พอลบไฟล์เก่า #ปรากฏว่าไม่ได้ลบไฟล์เฉย ๆ เล่นลบโฟลเดอร์งานไป ๓ ปี หน้ามืดสนิท..! #บทจะโดนแกล้งนี่เขาแกล้งสาหัสจริง ๆ ก็เลยคิดหาวิธี จะทำอย่างไรดี ? ให้เขาหาเศษกระดาษที่ลงบัญชีเมื่อวาน เพิ่งจะทิ้งถังขยะ #ปรากฏว่าทิ้งของมาเป็นตะกร้าเลย เขาหาคืนได้แค่ ๓-๔ ชิ้น #เหมือนกับทันทีที่ทิ้งก็มีใครเอาไปกินอย่างนั้นแหละ เป็นไปได้อย่างไร ? มีคนกินเศษกระดาษด้วย ?

    ขึ้นไปนั่งเซ็งอยู่ข้างบน จะถามพ่อแม่ปู่ย่าตายายก็คงโดนถีบมากกว่า #เลยใช้วิธีนึกย้อนหลังว่าเมื่อวานเราทำอะไรบ้าง แล้วก็ไล่พิมพ์ไปเรื่อย #อาจจะขี้โกงหน่อย#แต่ก็ต้องทำ ไม่อย่างนั้นบัญชีก็ไม่เสร็จ บางคนเขาว่าอาตมาความจำดี #แต่ถ้าความจำช่วยไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีนี้แหละ นึกย้อนไปเมื่อวานเราทำอะไรบ้าง เมื่อคืนเราทำอะไรบ้าง เมื่อเช้าเราทำอะไรบ้าง #นึกได้ก็ลงไล่ไปเรื่อย ๆ ของเก่า ๒ ปีไม่ยากหรอก เพราะมีไฟล์สำรองอยู่ในฮาร์ดดิสก์ แค่ไปคัดลอกมาลงก็จบแล้ว #แต่ของที่ทำเมื่อคืนกับเมื่อเช้านี่ แหม...#ยังไม่ทันจะสำรองไว้ที่ไหนเลย #ดันลบไปซะก่อน

    ตอนแรกอาตมาก็สงสัยว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ นี่มารรู้ด้วยหรือ ? #ปรากฏว่าพ่อเจ้าประคุณหัวเราะก๊ากเลย #บอกว่าก็เขาเป็นคนสร้างเอง จะไม่รู้ได้อย่างไร ? สรุปแล้วเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทั้งหลายทั้งปวง #มารเป็นคนแนะนำให้ทำ เพื่อที่เราจะได้ยึดติดเยอะ ๆ อยู่กับเขา"

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน)
    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๘

    -------------------


    c_oc=AQl2lZMfk0Kd3K4A502sfLrDKDZRubNMm-IE1jBi21Q4f1yitNTNc7yFczgIOOM7GKg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQnAwT6ZX1gC2yT7oG86LY1YLpWDODZNGluOPCUuattq45RmOZ2TCBz-60TXGPpAO3Q&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    "...ใจ..."
    ...
    ต้องทำใจให้หยุดจึงจะเข้าภูมิของสมถะได้ ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ก็เข้าภูมิสมถะไม่ได้ สมถะเขาแปลว่าสงบ แปลว่าระงับ แปลว่าหยุด แปลว่านิ่ง ต้องทำใจให้หยุด ใจของเรา

    อะไรเรียกว่า ใจ
    #เห็นอย่างหนึ่ง
    #จำอย่างหนึ่ง
    #คิดอย่างหนึ่ง
    #รู้อย่างหนึ่ง
    ๔ อย่างนี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกัน
    นั่นแหละเรียกว่า #ใจ
    ______
    อยู่ที่ไหน? อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ คือ ความเห็นอยู่ที่ท่ามกลางกาย ความจำอยู่ที่ท่ามกลางเนื้อหัวใจ ความคิดอยู่ท่ามกลางดวงจิต ความรู้อยู่ท่ามกลางดวงวิญญาณ

    เห็น จำ คิด รู้ ๔ ประการนี้หมดทั้งร่างกาย ส่วนเห็นเป็นต้นของรู้ ส่วนจำเป็นต้นของเนื้อหัวใจ ส่วนคิดเป็นต้นของดวงจิต ส่วนรู้เป็นต้นของดวงวิญญาณ
    ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางดวงจิต
    ดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอก อยู่ในกลางเนื้อหัวใจ
    ดวงจำ กว้างออกไปอีกหน่อยหนึ่งเท่าดวงตาทั้งหมด
    ดวงเห็น อยู่ในกลางกายโตกว่าดวงตาออกไป
    นั่นเป็นดวงเห็น นั่นแหละ ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น นั่นแหละเรียกว่าเห็น
    เห็นอยู่ในธาตุเห็นนั้น
    ดวงจำ ธาตุจำอยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น ความจำอยู่ที่นั่น
    ดวงคิด ธาตุคิดอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น
    ดวงรู้ ธาตุรู้อยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น
    เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละ เอาเข้ามารวมเป็นจุดเดียวกัน เรียกว่า ใจ

    จาก หลักการเจริญภาวนาสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    .....
    #เพจวัดหลวงพ่อสดฯ
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=a2c124f2e7aad1b11f7c8b9dd1c870c6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    การเจริญภาวนาตามแนว "วิชชาธรรมกาย" นี้
    มีลักษณะเป็นแบบที่ใช้ “เจโตสมาธิ” เป็นบาท
    คือ สมาธิที่ประดับด้วย “อภิญญา” หรือ “วิชชาสาม”
    ถ้าบรรลุ "มรรคผล" โดยวิธีนี้
    เรียกว่าหลุดพ้นโดย “เจโตวิมุตติ”

    ในระหว่างที่ปฏิบัติ แต่ยังไม่ถึงขั้นบรรลุมรรคผล
    ก็จะยังได้ความสามารถในทาง "สมาธิ"
    ยังประโยชน์ทั้งทางโลก และทางธรรม
    ให้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติเป็นอันมาก

    นอกจากนี้ผู้ประสงค์จะเจริญภาวนาแบบ “ไตรลักษณ์”
    ก็จะสามารถเจริญได้โดยสะดวก
    เพราะการเจริญภาวนาตามแนว "วิชชาธรรมกาย" นี้
    มี “สติปัฏฐาน ๔” อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ
    สามารถจะยกเอา
    - กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    - เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    - จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    - ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    ทั้ง ณ ภายใน และภายนอก
    ขึ้นพิจารณาได้เสมอ
    เป็นทางให้ได้บรรลุมรรคผลทางปัญญา
    เป็นผลพลอยได้อีกด้วย

    จึงมิต้องวิตกกังวลว่า ...
    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้
    จะเป็นแค่ขั้น “สมถะ”
    โดยไม่มี “วิปัสสนา” แต่อย่างใด
    เพราะฉะนั้นขอท่านทั้งหลาย
    อย่าได้ลังเลสงสัยเลย

    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    คัดลอกข้อความ คุณสุรินทร์ เต็มอุดม

    c_oc=AQnR_oGrXILBKPMai_GEVrTSY9mZqzwABMIo9k-g9Omz7u3Lt1zeQk4v43xJq_xTOd8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    KRYFYQ&_nc_ohc=oGiu7Wiydq4AQlBzGBBsTT-nBRPBFSwxbmc86jLalByJXFGNkHqKkF-ng&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    วิทยา ทิพสงคราม
    2 ชม.
    #ภารสุตฺตกถา

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธาภาราหาโร จ ปุคฺคโลภาราทานํ ทุกฺขํ โลเกภารานิกฺเขปนํ สุขํนิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํอญฺญํ ภารํ อนาทิยสมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหนิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าว ปรารภซึ่งพระพุทธพจน์ แสดงในเรื่องภาระของสัตว์โลก สัตว์โลกทุกข์ยากในเรื่องภาระ ทั้งหลายเหล่านี้นัก จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี และคลี่ความเป็นสยามภาษา ตาม อัตโนมตยาธิบาย เพราะว่า เราท่านทั้งหลาย หญิงชาย คฤหัสถ์บรรพชิต ล้วนแต่ต้องมี ภารกิจหนักอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนลำเค็ญอยู่ต่างๆ ก็เพราะอาศัย ภาระเหล่านี้ ภาระเหล่านี้เป็นของสำคัญ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเห็นภาระอันใหญ่ยิ่ง ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงภารสูตรว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระหนักแท้ เป็นภาระโดยแท้ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล ก็บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถือภาระ ไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ วางภาระเสียเป็นสุขนิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ บุคคล วางภาระอันหนักแล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ฉวยเอาภาระอื่นมาเป็นภาระอีก สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ถอนตัณหาทั้งรากเสียได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่า นิพพานได้ ดังนี้ นี่ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ขยายความในเรื่องภาระหนักของสัตว์โลก หญิงชายคฤหัสถ์ บรรพชิตทุกถ้วนหน้า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์นี้ ที่มนุษย์อาศัยเรียกว่าขันธ์ 5 นี้แหละ จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องอาศัยขันธ์ 5อาศัยรูป คือ ร่างกาย อาศัยเวทนา คือความสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ อาศัยสัญญา คือ ความจำ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ อาศัยสังขาร คือ ความปรารถนาดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว อาศัยวิญญาณ คือ ความรู้แจ้งขันธ์ทั้ง 5 นี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ เป็นภาระอย่างไร เราต้องพิทักษ์รักษาเอาใจใส่ หยุดก็ไม่ได้ เวลาเช้า ตื่นจากที่นอนแล้วเราต้องล้างหน้าบ้วนปากให้มัน ไม่เช่นนั้นมันเหม็น ปวดอุจจาระปัสสาวะ ต้องไปถ่าย พอเสร็จแล้วมันจะรับประทานอาหาร ต้องไปหามาให้ ต้องการอะไร เป็นต้องไป เอามาให้ เมื่อไม่เอามาให้ ไม่ได้ อยากอะไรก็ต้องไปหามา ไม่ใช่แต่เท่านั้น ไม่ว่าอยากอะไร ต้องไปหาให้มัน ถ้าไม่มาให้ มันไม่ยอม นี่เป็นภาระอย่างนี้ เราต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างใน อัตภาพร่างกายนี้เป็นภาระทั้งนั้น มันอยากจะเห็นอะไร ต้องหาให้มัน ไม่สบายต้องแก้ไข ไปอีก ต้องนำภาระไปอย่างนี้ มันบอกว่าที่นี่อยู่ไม่สบาย ต้องหาที่อยู่ให้มัน มันจะอยู่ ตรงนั้นตรงนี้ตามเรื่องของมัน ต้องเป็นภาระทุกสิ่งทุกอย่างไปนี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ อย่างนี้ ยุ่งกับลูกหญิงลูกชายซึ่งเป็นภาระของพ่อแม่ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาก็เป็น ภาระของสมภาร ในบ้านในช่องทั้งครอบครัวเป็นภาระของพ่อบ้านแม่บ้าน ราษฎรทั้ง ประเทศเป็นภาระของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศ ข้าวของแพงเหล่านี้ก็เป็นภาระ ของผู้ปกครองประเทศ

    ภาระทั้งหลายเหล่านี้ไม่อัศจรรย์เท่าภาระของขันธ์ 5 นี้ ลำพังขันธ์ 5 นี้ จำเพาะตัว ของมันก็ยังไม่สู้กระไรนัก ผู้ใดไม่พอก็หาภาระเพิ่มอีก 5 ขันธ์ เป็น 10 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 20 ขันธ์ เป็น 25, 30, 35, 40 หนักเข้า ถึงร้อยพันขันธ์ ที่ทนไม่ไหว เพราะเหตุว่าภาระเหล่านี้มันหนัก ไม่ใช่ของเบา เมื่อมีภาระ เหล่านี้จะเป็นภาระ 5 ขันธ์ก็ดี ภาระอื่นจาก 5 ขันธ์ก็ดี ภาระเหล่านี้แหละ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลถือภาระนี้ไว้กี่ขันธ์ก็ช่าง บุคคลนำภาระนี้ไป บุคคลต้องนำทุกข์ของตัวไป เพราะมีขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถ้าว่าไปถือภาระ นี้ไว้ ตำรากล่าวว่าเป็นทุกข์ในโลก ถึงจะหมดขันธ์ 5 ก็อย่าถือมัน วางธุระเสีย ถ้าไปถือมัน ก็เป็นทุกข์ในโลก แปลว่า ถ้าถือภาระไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ ปล่อยวางภาระ เสีย ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้เป็นทุกข์ ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้ เป็นทุกข์ ปล่อยเป็นสุข นิกฺขิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห แม้ปล่อยภาระที่หนักเสียแล้ว ไม่ฉวยเอาภาระของคนอื่นเข้ามา ปล่อยขันธ์ 5 นี่ ไปเอา ขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไปเอาขันธ์ 5 นี่ ไปเอาขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไป เอาขันธ์ 5 โน่น นี่เรียกว่าไปเอาภาระอื่นเข้ามาถือไว้อีก ถ้าปล่อยเสียแล้วไม่ถือไว้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้สิ้นเชื้อทีเดียว นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่านิพพานได้ ดังนี้เราจะได้รับความสุข ก็เพราะปล่อยภาระเหล่านี้เสีย เราได้รับความ ทุกข์ก็เพราะถือภาระเหล่านี้ การที่ปล่อยไม่ใช่ของง่าย การที่ถือง่าย การปล่อยยากเหมือน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตัวนี้ ท่านก็เทศน์กันนักกันหนาว่าเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เราก็ไม่ยอมดีๆ เราก็เชื่อว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว แต่อย่างนั้นเราก็ต้องบริหารรักษา ของเรา ที่เราจะยอมลงความเห็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเหตุว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร ตลอดวิญญาณทั้ง 5 อย่างนี้เราต้องอาศัยทุกคน สัญญา สังขาร วิญญาณออกเสีย เราก็ ไม่มีที่อาศัย เราต้องอาศัยแต่ว่าอย่าไปถือมัน รู้ว่าอาศัยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เป็นไปตามสภาพอย่างไร เราไม่ควรยึดถือ ปล่อยตามสภาพของมันอย่างนี้ ทุกข์ก็น้อยลง ต่อเมื่อไรถือมัน มันก็เป็นทุกข์มาก เป็นภาระหนักขึ้น

    เหตุนี้พระองค์ทรงเห็นแล้วว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อย วางขันธ์ 5 ละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดปล่อยได้ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติ หมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ 5 ออกเป็น ชั้นๆ ไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ 5 จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกัน ไม่หลุด ไม่กรอกจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ 5 ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ 5 เราจะเห็นขันธ์ 5 เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์ รูปเรา เห็นได้ เวทนาเราก็เห็น หน้าตาแช่มชื่นดี เราก็รู้ว่าสุข เรื่องสัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ ไม่เห็น เราจะต้องเห็นทั้ง 5 อย่างจึงจะละได้วางได้ ถ้าไม่เห็นขันธ์ทั้ง 5 อย่าง ละวางไม่ได้

    ถ้าอยากเห็นขันธ์ 5 เราต้องถอดกายออกเป็นชั้นๆ ต้องถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ วิธีจะถอดขันธ์ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยาก หมื่นยากแสนยากทีเดียว แต่วิธี เขามีที่วัดปากน้ำ วิธีเข้ากายถอดขันธ์ คือ ทำจิตใจให้หยุดให้นิ่งที่กำเนิดเดิม ถอดขันธ์ออก ไปแล้วจึงเห็นขันธ์ ถอดขันธ์ 5 ของมนุษย์ออกจากขันธ์ 5 ของทิพย์ ถอดขันธ์ 5 ของ ทิพย์ออกจากขันธ์ 5 ของรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของรูปพรหมออกจากขันธ์ 5 ของ อรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของอรูปพรหมออกจากธรรมกาย เหมือนถอดเสื้อกางเกงอย่างนั้น แต่ว่าต้องถอดเป็น ถอดไม่เป็นก็ถอดไม่ได้

    วิธีถอดมี ต้องทำใจของตัวให้หยุดให้นิ่ง เห็น อย่างหนึ่ง จำอย่างหนึ่ง คิด อย่างหนึ่ง รู้ อย่างหนึ่ง หยุดนิ่งเหมือนอย่างกุมารน้อยอยู่ในท้องมารดา ใจหยุดที่กำเนิดเดิมคือศูนย์ กลางกายของกายมนุษย์ กำเนิดเดิมแค่ราวสะดือ เอาใจหยุดที่ตรงนั้น พอถูกส่วน ถูกที่เข้า เท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นดวงใส นั่นแหละเรียกว่า ปฐมมรรค หรือศีล เป็น ดวงศีลหยุดนิ่ง ต่อไป ถูกส่วนเข้า จะเห็น ดวงสมาธิ เข้าไปหยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ จะเห็น ดวงปัญญา หยุด นิ่งกลางดวงปัญญา เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งที่กลางดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เห็น กายทิพย์ กายมนุษย์-กายทิพย์หลุดจากกันแล้ว เห็นกายทิพย์แล้วเหมือนมะขาม กรอก กายมนุษย์เป็นเปลือกไป กายทิพย์เป็นเนื้อไป เป็นคราบงูที่ลอกออกไป เป็นเนื้อ มะขามใส เห็นชัดอย่างนี้ กายมนุษย์หลุดออกไป ขันธ์ 5 ของมนุษย์หลุดออกไป เหลือ กายทิพย์แล้วก็ทำวิธีอย่างนี้ วิธีถอดเข้าไปศูนย์ว่างของกลางกายทิพย์ แล้วก็ใจหยุดนิ่งที่ กลางกำเนิดของกายทิพย์ หยุดถูกส่วน เห็นเป็นดวงใส เรียกว่าดวงศีล ใจหยุดนิ่งกลาง ดวงศีลนั่นแหละ เห็นดวงสมาธิ ว่างกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา ว่างกลางดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ ว่างกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ จะเห็น กายรูปพรหม ถอดจากกายทิพย์อีกแล้ว เหมือนมะขามกรอกอีกแล้ว ทำเข้าสิบเข้าศูนย์ถูกส่วนในกายรูปพรหมเข้าอีก พอหยุดถูกส่วน จะเห็นดวงใส คือ ดวงศีล หยุดนิ่งกลางดวงศีล เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งกลาง ดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็น กายอรูปพรหม ถอดออกจากกายรูปพรหมเหมือนกับมะขามกรอกอีกแล้ว กายรูปพรหม เหมือนเปลือกมะขาม ทำอย่างนี้อีก เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ถูกส่วน ใจของกายอรูปพรหม พอ ถูกส่วน จะเห็นดวงใส ก็แบบเดียวกัน เป็นดวงศีล กลางว่างดวงศีล เห็นดวงสมาธิ กลาง ว่างดวงสมาธิ จะเห็นดวงปัญญา กลางว่างดวงปัญญา จะเห็นดวงวิมุตติ กลางว่างดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเห็น กายธรรม ถอดออก จากกายอรูปพรหม ใสเหมือนยังกับแก้ว ถอดเป็นชั้นๆ อย่างนี้ พอถึงกายทิพย์ก็มองดู กายทิพย์ กายมนุษย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เห็นชัดอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายมนุษย์ ถอดออกจากกายทิพย์นั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ถอดออกจากกายรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม ถอดออกจากกายอรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายอรูปพรหม ถอดออกจากธรรมกาย ออกเป็น 20 ขันธ์ ตัวคนเดียวถอดออกเป็น 20 ขันธ์ พญามารเขาสอนให้ถอด ถอดกายอย่างนี้เป็นพวกของข้า ถ้าไม่ถอดกายไม่ยอม พระพุทธเจ้าก็สอนพวกพุทธบริษัทถอดกายอย่างนี้แล้วก็เข้านิพพานไป ถอดกายเหลือแต่ กายธรรมอย่างนี้แหละ พญามารมันยอม เรียกว่านิพพานถอดกาย อย่างชนิดนี้ให้เห็นชัด อย่างนี้เป็นวิธีถอดกาย เรียกว่า เข้านิพพานถอดกาย นิพพานไม่ถอดกายยังมีอีก หากว่า เอาวิธีไม่ถอดกายมาเทศน์ในเวลานี้ ถูกนัตถุ์ยา เหตุนั้นต้องสอนวิธีถอดกายเสียก่อน วิชานี้ เป็นวิชาของพญามารสอนให้ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ถอดกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมออกเสีย กายธรรมก็ไม่มี แม้จะผจญกับพญามารก็สู้ไม่ได้ ที่เอานางธรณี บีบน้ำท่วม มารจมน้ำ มันทำเล่นๆ ทำหลอกเล่น ที่จริงที่แท้แพ้มัน ที่แท้ทีเดียวต้องนิพพาน ไม่ถอดกาย แต่ว่านี่มันยอมกันเข้ามามากแล้ว ต้องแสดงวิธีถอดกายไปพลางๆ ก่อน แล้วจึง จะสอนไม่ถอดกายต่อไป เมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นขันธ์ 5 ให้ถอดขันธ์ 5 เป็นชั้นๆ ดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีอะไรยึดถือ เพราะขันธ์ 5 ของมนุษย์ เป็นชาติของกาม กามก็อาศัยได้ในกายมนุษย์ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันเกาะอาศัยได้ ในกายมนุษย์ กายทิพย์ ส่วนกายรูปพรหม ภวตัณหาเกาะได้ กายอรูปพรหม วิภวตัณหามันเกาะอาศัยได้ ต่อเมื่อถึงกาย ธรรมแล้วตัณหาเกาะไม่ได้ มันเกาะไม่ถึง ตัณหาเกาะไม่ได้ในกายธรรม ตัณหาซาบซึม ไม่ได้ เราจะเอาน้ำหมึกรดกระจกเข้าไป มันก็ไม่เข้าไป กายธรรมก็เหมือนแก้ว เมื่อถึง กายธรรมแล้ว กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าไปไม่ได้เพราะเป็นเนื้อแก้วที่สนิท ละเอียดกว่า ไม่มีช่อง ไม่มีหนทางเอิบอาบซึมซาบได้เลย เหมือนกระดาษแก้ว ส่วนกาย มนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหมือนกระดาษฟาง มันเป็นที่ตั้งอาศัยของ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อถึงกายธรรมเสียแล้วเป็นแก้ว ตัณหาเข้าไปไม่ได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นกายธรรม กายธรรมนั่นเองที่ปล่อยจากกายอรูปพรหมไป ตัณหาอาศัยไม่ได้ ที่เรียกว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหได้ชื่อว่า ถอนตัณหาทั้งรากได้ ตัณหาอยู่แค่กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มีแก่นิพพาน เมื่อเข้าถึงนิพพานเสียแล้ว ก็ถอนโคนราก ของตัณหาหมดแล้ว ตัณหาไม่หยั่งรากเข้าถึงกายธรรมได้ เหตุฉะนี้เมื่อถึงกายธรรมแล้วหมด ตัณหาแล้ว ไม่มีความปรารถนาที่จะเข้ามาอาศัยกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ต่อไป จึงได้ชื่อว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้นแล้ว ชื่อว่านิพพานได้แปลว่า ดับสิ้นแล้ว คือ ดับสิ้นจากกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เพราะเหตุฉะนั้น ขันธ์ 5 เหล่านี้ที่กล่าวในตอนต้นว่าเป็นภาระสำคัญ เราต้องทุกข์ยากลำบากเวียนว่ายตายเกิด ก็ เพราะสลัดไม่ออก สลัดขันธ์ของมนุษย์ออกไปติดขันธ์ 5 ของทิพย์ สลัดทิพย์ออกไปติด ขันธ์ 5 ของรูปพรหม สลัดรูปพรหมออกไปติดขันธ์ 5 ของอรูปพรหม นั่นเหมือนกับ มะขามสด เปลือกกับเนื้อมันติดกันจะแกะเท่าใดก็ไม่ออก แกะเปลือกเนื้อติดเปลือกไปด้วย ขันธ์ 5 ที่จะละทิ้งจิตใจของมนุษย์ ละไม่ได้ เพราะเนื้อกับเปลือกติดกัน เพราะมันอยู่ใน กามภพ มนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้น เป็นตัวกามภพ จะละไม่ได้ จะไปอยู่รูปภพ มันก็มี ภวตัณหาอีก ติดภวตัณหาเป็นเปลือกอยู่อีก เมื่อหลุดจากภวตัณหา จากรูปภพได้ จะไปอยู่ อรูปภพ ก็วิภวตัณหา ไปติดตัณหาในอรูปภพ ต่อเมื่อใดถึงกายธรรมจึงหลุดได้ หลุดไม่มี ระแคะระคาย เป็นโสดา สกทาคา อนาคา อรหัต แตกกายทำลายขันธ์ก็ไปนิพพาน ทิ้งขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม แต่เรา ยังสงสัยอยู่บ้างในเรื่องขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ของทิพยเทวดา 6 ชั้นฟ้า จะเอามาใช้ในมนุษย์ ก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหม จะเอามาใช้กายมนุษย์ กายทิพย์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหมจะเอาไปใช้ในกายรูปพรหม กายทิพย์ กายมนุษย์ แต่ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ของภพไหนต้องอยู่ประจำภพนั้น ข้ามภพใช้ไม่ได้ เพราะอะไร? รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี ที่เป็นของมนุษย์จะเอาไปใช้ในภพทิพย์ไม่ได้ ทิพย์เป็นของละเอียด จะเอามาใช้ในภพมนุษย์ไม่ได้ ส่วนขันธ์ 5 ของรูปพรหม อรูปพรหม ก็แบบเดียวกัน สลับกันไม่ได้ เอาไปใช้ในนิพพานไม่ได้อีกเหมือนกัน นิพพานเขามีธรรมขันธ์ทั้ง 5 ซึ่งขันธ์ 5 ของเขามีเรียกว่า ธรรมขันธ์ ที่เรียกว่า ธรรมธาตุกายก็เรียกว่า ธรรมกาย ไม่เรียกว่ารูปกายเหมือนกายมนุษย์ทั้งหลาย ในนิพพานจะมีรูปธรรม นามธรรม อย่างกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มี เป็นของละเอียด เหตุฉะนี้ แหละพวกเรารู้ว่าขันธ์ทั้ง 5 ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้เป็นของหนัก แล้วให้ปลีกกายให้ดี ให้ถอดกายออกเป็นชั้นๆ อย่างนี้แล้วก็ลองปล่อยขันธ์ 5 เหล่านั้นเสีย ปล่อยทั่วๆ ไม่ใช่อย่างเดียว เหมือนอย่างจำศีลภาวนา ปล่อยลูกไว้ทางบ้าน แต่ลูกก็มีขันธ์ 5 ปล่อยได้ชั่วขณะชั่วคราว ถึงแม้ปล่อย ใจก็คิดตะหงิดๆ อยู่เหมือนกัน มันยึดถืออยู่ ไม่ปล่อยจริงๆ ต้องถอดเป็นชั้นๆ แต่ถอดเช่นนั้นยังเสียดาย น้ำตาตกโศกเศร้าหาน้อยไม่ ไม่ต้องของตัวถอดดอก เพียงแต่ของคนอื่น ก็ร้องทุกข์กันออกลั่นไป ถ้าของตัวถอดจะเป็น อย่างไร น้ำตาตกข้างใน เรียกว่าร้องไห้ช้าง คือร้องหึ่มๆ ถึงแก่เฒ่าชราก็ไม่อยาก ถึงเป็น โรคเรื้อรังก็ไม่อยากถอด อยากให้อยู่อย่างนั้น เสียดาย เพราะเหตุฉะนั้น การถอดขันธ์ 5 มันต้องถอดแน่ เราต้องหัดถอด เขามีวิธีให้ถอด ถอดเป็นชั้นๆ ถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ ถอดกายรูปพรหมออกจากกายทิพย์ ถอดกายอรูปพรหมออกจากกายรูปพรหม ถอดกายธรรมออกจากกายอรูปพรหม ถอดให้คล่อง เวลาถึงคราว เราก็ถอดคล่องชำนิ ชำนาญเสียแล้ว พอรู้ว่าจะตาย ส่งขันธ์ 5 มนุษย์ออกไป ข้าก็เอาขันธ์ 5 ของทิพย์ ชำนิ ชำนาญอย่างนี้แล้ว ก็ไม่มีความเสียดาย ถ้าไม่เคยถอดก็น้ำตาตก ร้องไห้กันอย่างขนานใหญ่ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นภาระหนัก ให้อุตส่าห์วางเสีย แม้ถึงจะยึดก็แต่ทำเนา เป็นของ อาศัยชั่วคราว เป็นของมีโทษ ดังภาชนะขอยืมกันใช้ชั่วคราว ของสำหรับอยู่อาศัย ชั่วครั้ง ชั่วคราว ร่างกายก็อาศัยชั่วคราวหนึ่ง อย่าถือเป็นจริงๆ ถือเป็นของอาศัยชั่วครั้งชั่วคราว เท่านั้น ถึงมีทุกข์บ้างก็หน่อยหนึ่ง ขันธ์ทั้ง 5 นี้เป็นภาระ จะต้องดูแลเอาใจใส่พิทักษ์รักษา เมื่อนำขันธ์ 5 คือภาระนี้ไป ถ้าว่าขืนยึด ปล่อยวางไม่ได้ในขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ในโลก ถ้าปล่อยวางได้เป็นสุข ขันธ์ถ้าปล่อยวางแล้ว ขันธ์อื่นๆ จะเอามาเป็นภาระไม่ได้ ถ้าเอามา เป็นภาระก็เป็นเชื้อเป็นที่ตั้งของตัณหา จะถอนไม่ออก ถ้าไม่เอาเป็นภาระแน่ จะถอนตัณหา ทั้งราก ปล่อยให้ถึงที่สุด ปล่อยได้ไปอยู่กับอะไร ต้องไปอยู่กับกายธรรม เมื่ออยู่กับกายธรรม ใจเหมือนอยู่ในนิพพาน สบายแสนสบาย แสนสำราญ

    ดังที่ได้แสดงมาใน ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภซึ่งแบบสำหรับให้ปล่อยวาง ขันธ์ 5 ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามอัตโนมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐ เราท่านทั้งหลาย สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิด แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอ สมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ สด จันทสโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    5ehg1Q&_nc_ohc=SjPsRys_ZcoAQnzH4vdE_HER-ZWjbJfFK9T8fqe85urKpwPRxzYbeCXgw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม


    เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายว่ากายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็อะไรเล่าเป็นแก่นสาร ถ้าเห็นว่าอ้ายเกิดนี่มันตัวทุกข์แท้ๆ เป็นทุกข์ทีเดียว อ้ายเกิดนี่มันตัวทุกข์แท้ๆ ไม่เพลินเสีย อ้ายเรื่องเกิดเป็นทุกข์ทีเดียว อ้ายเกิดไม่ใช่ลำพังเกิด เหตุให้เกิดมีอยู่คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นเหตุให้เกิด เมื่อไปเห็นเหตุที่เกิดแล้ว มันเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีดับ ที่ว่าเกิดไม่มีดับเลยน่ะเป็นอันไม่มี



    ภิกษุสามเณรเมื่อบวชเข้ามาในพระธรรมวินัยของพระศาสดาแล้ว ควรประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม เรียกว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน แปลว่าประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม เมื่อประพฤติสมควรแล้วต้องประพฤติขยับให้ยิ่งขึ้นไป อย่าให้หันหลังกลับ ได้ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน ประพฤติดียิ่งขึ้นไป ไม่ถอยหลังกลังกลับ อย่าให้เคลื่อนจากธรรมตามธรรมไว้เสมอ นี่เรียกว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรม ภิกษุสามเณรเช่นนั้นได้ชื่อว่า สักการะ ได้ชื่อว่าเคารพ ได้ชื่อว่านับถือ ได้ชื่อว่าบูชาตถาคต ซึ่งเราผู้ตถาคต ปรมาย ปฏิปตฺติปูชาย ด้วยปฏิบัติบูชาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อประพฤติตามให้สมควรเป็นเช่นนี้แล้วตั้งใจให้แน่วแน่



    ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นเป็นไฉน ?

    ภิกษุสามเณร สามเณรรักษาศีล 10 ไป ตั้งอยู่ในร่องของศีล 10 อย่าให้เคลื่อนร่องของศีล 10 ไป ให้อยู่ในรอยของศีล10 ให้อยู่ในเนื้อหนังของศีล 10 ให้บริสุทธิ์สะอาดตามปกติตามความเป็นจริงของศีล 10 ส่วนภิกษุล่ะ ต้องประพฤติอยู่ในศีลเหมือนกัน ในศีลที่มีตนมีอยู่เป็นจำนวนเท่าไร ให้อยู่ในกรอบของศีล ไม่พ้นศีลไป ให้อยู่ในรอยของศีล ให้อยู่ในร่องของศีล ไม่พ้นร่องรอยของศีลไป ประพฤติปฏิบัติดังนี้ ได้ชื่อว่าถูกต้องร่องรอยทางของศีล ตรงกับบาลียืนยันว่า สพฺพาปาปสฺส อกรณํ ไม่ทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ เป็นอัพโพหาริกอยู่ด้วย

    ให้ถูกต้องร่องรอยของสมาธิอีกต่อไป สมาธิเป็นตัวทำใจให้สงบ สละเสียจากอารมณ์ ไม่ให้เกี่ยวด้วยอารมณ์ ไม่ให้ติดด้วยอารมณ์ ปล่อยอารมณ์เหล่านั้นเสีย จนกระทั่งใจหยุดเป็นเอกัคคตาเรียก ว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นเอกัคคตาจิต เมื่อบริสุทธิ์ดังนี้แล้ว ก็อุตส่าห์พยายาม ให้ถูกร่องรอยของธรรมขึ้นไปอีก ไปอีกให้สูงยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จนกระทั่งเกิด ปฐมฌาน ใจสงัดจากกาม จากอกุศลทั้งหลายแล้ว เป็นไปกับด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ขึ้นสู่ปฐมฌาน เป็นดวงใสวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา กลมเป็นวงเวียน หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า แน่นอยู่กับฌาน ใจติดอยู่กับสิ่งนั้น แล้วก็ทำเป็นลำดับขึ้นไป เมื่อพบฌานดวงแรกเรียกว่า ปฐมฌาน ดังนี้แล้ว ให้เข้าถึง ทุติยฌาน ตติตยฌาน จตุตถฌาน ต่อไป อุตส่าห์ประพฤติไปดังนี้ เมื่อบรรลุฌานได้ขนาดนี้แล้วเป็นสมาธิขั้นสูง ศีล สมาธิ นี้เป็นตัวสำคัญอยู่

    ไม่ใช่พอแต่เท่านั้น ต้องใช้ปัญญาเข้าพินิจพิจารณา เมื่อเข้าถึงฌานแล้ว ก็พินิจพิจารณากายมนุษย์นี้แหละ กายมนุษย์ในภพทั้ง 3 กามภพ รูปภพ อรูปภพ พิจารณากายมนุษย์ทั้ง 8 กาย กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด พิจารณาทั้ง 4 ฐาน นี้เป็นเป็นหลักของมรรคผล หลักของมรรคผล พิจารณาทั้ง 4 ฐานนี้ แต่ว่าขึ้นสู่ปฐมฌานแล้ว พิจารณาหลักสูงอย่างนี้ละก็เต็มเหยียดเชียว ชักจะไม่ไหว ขยับสมาธิให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ให้สูงเป็นชั้นๆ ไป คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาน่ะจะต้องรู้จักความจริงของเบญจขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เห็นเป็นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว อย่างนี้ เรียกว่า ปัญญา

    เมื่อเราเข้าถึงร่องรอยของธรรมเช่นนั้นละก็ ตั้งอยู่ในธรรมให้มั่นคง รักษาธรรมให้มั่นคง ดำรงอยู่ในดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเทียว ยังเข้าถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะทีเดียว แล้วจะเข้าถึง กายมนุษย์ละเอียด

    • เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดแล้ว เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์ละเอียด จะเข้าถึง กายทิพย์
    • เมื่อเข้าถึงกายทิพย์แล้วเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ในกายทิพย์อีกจะเข้าถึง กายทิพย์ละเอียด
    • เข้าถึงกายทิพย์ละเอียดแล้ว เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าถึงกายรูปพรหม
    • เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหมแล้วก็แล้ว เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะในกายรูปพรหมแล้ว จะเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด
    • เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะในกายรูปพรหมละเอียดแล้ว จะเข้าถึงกายอรูปพรหม
    • เมื่อเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะในกายอรูปพรหม จะเข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด
    • เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะในกายอรูปพรหมละเอียดแล้ว จะเข้าถึงกายธรรม
    • เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้ว ตาธรรมกายก็เห็น กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ทั้ง 8 กายนี้ ทั้งเห็นทั้งรู้ เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณของธรรมกาย ญาณมีแค่นี้


    • แต่กายมนุษย์ ไม่มีญาณ มีแต่ดวงวิญญาณ
    • กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด ไม่มีญาณ มีแต่ดวงวิญญาณ
    • ในกายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ก็ไม่มีญาณ มีแต่ดวงวิญญาณทั้งนั้น
    • พอเข้าถึงกายธรรม กายธรรมละเอียด ก็มีญาณ
    ที่เรียกว่า "ญาณ" ก็แปลว่ารู้ "ดวงวิญญาณ" ก็แปลว่ารู้ ต่างกันโดยประการไฉน ?

    ธรรมที่เรียกว่า ดวงวิญญาณนั่นแหละ เล็กเท่าดวงตาดำข้างใน ใสเกินใส อยู่ในกลางดวงจิต บริสุทธิ์สนิทอยู่กลางดวงจิตนั้น

    ดวงจิตอยู่ที่ไหน หทยคูหาสยจิตฺตํ จิตมีถ้ำคือเนื้อหัวใจเป็นที่อยู่ อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงจิตอยู่ที่นั่น ดวงจิตอยู่ที่ไหน ดวงวิญญาณอยู่ที่นั่น

    ในกลางดวงจิตนั้น รู้อะไรก็รู้ตลอด

    • ตามากระทบรูปก็รู้ ดวงวิญญาณมันรู้
    • หูกระทบเสียง ดวงวิญญาณมันรู้
    • กลิ่นกระทบจมูก ดวงวิญญาณมันรู้
    • รสกระทบลิ้น ดวงวิญญาณมันรู้
    • กายกระทบสัมผัส ดวงวิญญาณมันรู้
    • ใจกระทบอารมณ์ ดวงวิญญาณมันรู้
    นั่นรู้อย่างหน้าที่ของดวงของดวงวิญญาณ รู้เพราะมีอายตนะ รู้ตามอายตนะ เหนืออายตนะไปนั่นรู้ไม่ได้ คนตาบอดรู้จักที่ปัสสาวะ ที่อุจจาระ ที่นอนที่กินของมันละก็ ไม่ต้องไปจูงมันดอก มันคลำของมันไปได้ อย่างคนตาบอดนั่นแหละฉันใด ความรู้ของดวงวิญญาณก็รู้อย่างคนตาบอดนั้น ตาเขาทำให้แล้ว หู เขาทำให้แล้ว จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาทำให้แล้ว ดวงวิญญาณก็ตรวจอายตนะทั้ง 6 นี้เท่านั้น ไม่มีหู ตา อะไรก็ไม่รู้ อ้ายผิดถูกมันก็ไม่รู้ อ้ายดวงวิญญาณเหมือนกัน มันเปื่อยของมันไปอย่างนั้นแหละ รู้ผิดเป็นถูก รู้ถูกเป็นผิดของมันไปตามเรื่อง ดวงวิญญาณเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา

    รู้ด้วยปัญญา รู้จริงรู้ชัด แต่รู้ด้วยญาณละก็อีกเรื่องหนึ่ง รู้ด้วยญาณนั้นน่ะรู้ด้วยธรรมกาย ญาณของธรรมกายเป็นอย่างไร โอ ผิดกันกับดวงวิญญาณ

    ใจของธรรมกายเป็นอย่างไร ใจของธรรมกายมีอย่างเดียวกัน เห็น จำ คิด รู้ 4 อย่าง เป็นใจ มีเห็น มีจำ มีคิด มีรู้ รู้นั้นก็ตรงกับดวงวิญญาณ อ้ายคิดนั้นก็ตรงกับดวงจิต อ้ายจำนั้นก็ตรงกับดวงใจ อ้ายเห็นนั้นก็ตรงกับดวงกาย เห็น จำ คิด รู้ หยุดเป็นจุดเดียวกันก็มีความรู้ นี้มันผิดกันตรงไหน มันเห็นเหมือนกัน จำเหมือนกัน คิดเหมือนกัน รู้เหมือนกัน ผิดกันตรงนี้

    พอถึงธรรมกายแล้ว ดวงเห็นขยายส่วนออกไป หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ดวงเห็นขยายออกไปวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่านั้น กลมรอบตัว เมื่อดวงเห็นแผ่ออกไปเท่าใดแล้ว ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ก็แผ่ออกไปเท่ากัน ดวงใจออกไปเท่าใด ดวงคิดก็แผ่ออกไปเท่ากัน ดวงคิดแผ่ออกไปเท่าใด ดวงรู้ที่เรียกว่าดวงวิญญาณ ตรงกับ ดวงวิญญาณของมนุษย์ ก็แผ่ออกไปเท่ากัน เท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว 4 ชั้นซ้อนกันอยู่ ชั้นนอกคือดวงเห็น ชั้นในเข้าไปคือดวงจำ ชั้นในเข้าไปคือดวงคิด ชั้นในเข้าไปคือดวงรู้ รู้นั้นต้องรู้ตรงนั้นแหละ เมื่อขยายส่วนเท่านั้นละก็ เขาเรียกว่า ญาณ ถ้ายังไม่ขยายส่วนละก็ เขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ ถ้าขยายส่วนออกไปรูปนั้นละก็เรียกว่า ญาณ ตั้งแต่มีธรรมกายก็มีญาณทีเดียว นี่ญาณกับดวงวิญญาณผิดกันดังนี้ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ไม่ใช่อันเดียวกัน คนละอันทีเดียว



    รู้อย่างเดียว รู้ด้วยวิญญาณกับรู้ด้วยญาณนั้นต่างกันอย่างไร ?

    ต่างกันไกล รู้ด้วยดวงวิญญาณ รู้เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา

    รู้ด้วยญาณนั่นรู้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ว่ามนุษย์มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    • กายมนุษย์ละเอียด ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    • กายทิพย์ ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    • กายทิพย์ละเอียด ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    • กายรูปพรหม ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    • กายรูปพรหมละเอียด ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    • กายอรูปพรหมละเอียด ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


    ที่รู้ด้วยญาณนั้นน่ะรู้ได้อย่างไร ?

    รู้ด้วยญาณ รู้ว่ากายมนุษย์ทั้งหยาบทั้งละเอียดเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เป็นอนิจจังเป็นไฉน ? ไม่คงทนอยู่ที่เปลี่ยนแปรผันไป

    เป็นทุกข์นั้นเป็นไฉน ถึงซึ่งความลำบาก ไม่สบาย เบญจขันธ์ทั้ง 5 มีอยู่ตราบใด ไม่มีความสบาย มีเย็น มีร้อนเป็นต้น เดือดร้อนอยู่เสมอ ด้วยความเบียดเบียน 6 อย่างนี้ เย็น ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ไม่มีสุข เบียดเบียนอยู่เสมอ รู้ว่าเบญจขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ เราจะบังคับได้ไหมล่ะ ให้เป็นสุข ไม่ให้เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร ที่ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครนั้นเรียกว่า ไม่ใช่ตัว เรียกว่าอนัตตา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่เช่นนี้ รู้ด้วยญาณ เห็นด้วยตาธรรมกาย

    เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายว่ากายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็อะไรเล่าเป็นแก่นสาร ถ้าเห็นว่าอ้ายเกิดนี่มันตัวทุกข์แท้ๆ เป็นทุกข์ทีเดียว อ้ายเกิดนี่มันตัวทุกข์แท้ๆ ไม่เพลินเสีย อ้ายเรื่องเกิดเป็นทุกข์ทีเดียว อ้ายเกิดไม่ใช่ลำพังเกิด เหตุให้เกิดมีอยู่คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นเหตุให้เกิด เมื่อไปเห็นเหตุที่เกิดแล้ว มันเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีดับ ที่ว่าเกิดไม่มีดับเลยน่ะเป็นอันไม่มี มีดับ ดับเป็นนิโรธ จะเข้าถึงซึ่งความดับไม่มี นี่เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ชัดด้วยญาณของธรรมกาย ถ้าว่าถูกส่วนเข้าถึงขนาดเช่นนี้ละก็ ธรรมกายโคตรภูจะกลับเป็นโสดา

    เมื่อตาธรรมกายพระโสดา ญาณธรรมกายของพระโสดาเห็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เห็นไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในกายทิพย์ เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ เห็นความดับทุกข์ เห็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ในกายทิพย์ละเอียดเข้าแล้ว ถึงขนาดเข้า จะกลับจากพระโสดาเป็นพระสกทาคา

    ตาธรรมกายพระสกทาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียดรู้ นัยน์ตาธรรมกายพระสกทาคา เห็นทุกข์ เ หตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ในกายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด ตามความเป็นจริงถูกลักษณะเข้า กลับเป็นพระอนาคา

    เมื่อตาของพระอนาคา ญาณของพระอนาคาเห็นรู้ ทุกข์สัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มัคคสัจ ในกายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียดหนักเข้า เห็นตามความจริงเข้าถูกหลักถูกส่วนเข้าจริงๆ ถึงขนาด ก็จะกลับจากพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นพระอรหัต

    เมื่อถึงพระอรหัตละเอียดแล้ว สีติภูโต เป็นผู้เย็นแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว กิจที่จะต้องทำไม่ต้องทำแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

    * พระเดชพระคุณ พระภาวนาโกศลเถร (สด จนฺทสโร) ให้โอวาทภิกษุสามเณรในพระอุโบสถ หลังจากทำวัตรแล้ว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2498
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...