อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน : หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 26 ตุลาคม 2016.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG][​IMG]


    →ปุจฉา (๑) หลานอยากทราบว่า อานิสงส์ของการทำบุญกฐิน เหตุใดจึงเรียกว่ากฐิน เหตุใดจึงมีเฉพาะ ๑ เดือนหลังจากออกพรรษาแล้วเท่านั้น

    →วิสัชนา (๑) อานิสงส์ของการทำบุญกฐินได้ ๘๐ กัปป์ กัปป์หนึ่งมีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์บ้าง ๔ พระองค์บ้าง ส่วนกัปป์เราปัจจุบันนี้มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ ๑. กกุสันโธ ๒. โกนาคมโน ๓. กัสสโป ๔. โคตโม กำลังเป็นอยู่นี้ ๕. อริยเมตไตยโย แต่จะมาในข้างหน้า ยังเป็นเวลาอีกหลายล้านปีในเมืองมนุษย์ จึงจะเรียกว่ากัปป์หนึ่งนับทั้งที่ล่วงมาแล้ว กกุสันโธ

    ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เหตุที่เรียกว่า “กฐิน” นั้น เพราะเรียกตามชื่อไม้สดึงที่ลาดหรือกางออกเพื่อขึงจีวรเย็บ เพราะในครั้งพุทธกาลเย็บมือคน ไม่ได้เย็บจักรเหมือนทุกวันนี้ เพราะไม่มีจักร ที่ว่าเป็นไม้สดึงที่ขึงลาดและกางออกนั้น เพื่อให้ผ้าตึงไม่ให้หดหู่เป็นต้น

    มีปัญหาว่าเราเย็บจักรแทนไม่ได้เอามือเย็บ จะใช้ได้หรือไม่ ก็ใช้ได้อยู่เต็มภูมิ เพราะเย็บจักรก็เอามือเย็บ และเหตุที่มีเฉพาะ ๑ เดือน หลังออกพรรษาแล้วเท่านั้น เพราะเหตุว่า พระบรมศาสดาทรงให้ภิกษุทำจีวรกาลอันเป็นการใหญ่ แต่ละปีก็กำหนดไว้นับแต่ออกพรรษาแล้วถึงเพ็ญเดือนสิบสองเท่านั้น

    →ปุจฉา (๒) เรื่องกฐิน ผมเคยได้ยินมาว่า ถ้าเราจะทำกฐินวัดใด พระในวัดนั้นห้ามพูดบอกเกี่ยวกับเรื่องกฐิน แต่ถ้าถามพระวัดอื่นๆ ก็ได้ไม่ผิด แต่หลวงปู่บอกว่าถ้าพระบอกแล้วจะเป็นกฐินวจีวิญญัติ ผมขอความกระจ่างแนะนำด้วยครับ

    →วิสัชนา (๒) เรื่องกฐินที่ห้ามไม่ให้พระเทศน์เอาตามอำเภอใจนั้น หมายความว่าโดยไม่ได้ปรึกษาแล้วพระไปเทศน์เอาเองหมด น้อมมาใส่ตัวและวัดของตัวด้วย แต่เมื่อทายกถามเพื่อจะเข้าใจความหมาย พระผู้ตอบจะเป็นพระวัดกฐินนั้นก็ดี หรือวัดอื่นก็ดี ก็เป็นของพูดยากอยู่บ้าง นี้พูดตามนิสัยของหลวงปู่โดยไม่ได้หมายทั่วไปกับท่านพระภิกษุอื่น หลวงปู่เข้าใจว่าถ้าญาติโยมตั้งใจไว้อย่างหนึ่ง คือประมาณมูลค่าไว้ในใจของโยม จะซื้ออัฐบริขารเพียงเท่านั้นในใจของตนอยู่ ถ้าพระไปบอกให้เกินค่าของตนที่ตั้งไว้ก็คงจะไม่เหมาะ ถ้าหากว่าเราตั้งใจไว้ในราคาบริขารสูง บังเอิญพระผู้บอกไปบอกเพียงราคาที่เราตั้งไว้ในใจนั้นก็ดีไป ถ้าหากว่ามันเหนือที่ตั้งไว้ในใจ ข้อนี้แหละมันตัดสินยาก ถ้าน้อยกว่าที่ญาติโยมตั้งไว้ในใจก็ไม่เป็นปัญหาอะไร อนึ่ง เราถามพระวัดอื่นให้พระวัดอื่นบอก

    ถ้าวัดอื่นเป็นนิกายเดียวกัน พระผู้ตอบถ้าเป็นนิสัยของหลวงปู่ก็ตอบยากอยู่อีก แต่ถ้าเป็นองค์อื่น เมื่อถูกถามเข้าท่านก็จะตอบไปตามธรรมดาที่เคยได้ทำมาก็อาจเป็นได้ แต่จะถึงอย่างไรก็ต้องให้เอาตามศรัทธาเดิมที่ตั้งไว้ซะ

    ข้อนี้เป็นที่สะดวกของหลวงปู่ หลวงปู่ตอบได้เพียงแค่นี้ ส่วนท่านผู้อื่นจะตอบอย่างไรก็ให้เป็นเรื่องของท่านผู้อื่นซะ นิสัยของหลวงปู่ ถ้าจะมีผู้บริจาคมาในวัดของตนก็ดี มาในวัดของท่านผู้อื่นก็ดี จะฉลองว่าดีละๆ อย่างเดียวก็คล้ายๆ กับว่าฉลองกิน แต่เมื่อเจตนาไม่เป็นอย่างนั้น ก็ไม่พ้นจะระวังคำพูด เพราะเรื่องเหล่านี้ ถ้าพลาดเข้ามันก็เป็นโลกวัชชะโลกติเตียน ผู้ใจต่ำติเตียนไม่เป็นปัญหา ผู้ที่ใจสูงติเตียนนั่นหนาควรคิด จะอย่างไรก็ตามขอให้ทำตามเจตนาของพวกลูกๆ ที่ตั้งไว้นั่นเถิด

    อีกประการหนึ่ง ธรรมเนียมของพระกัมมัฎฐานชอบกรานผ้าสบง แต่เป็นผ้าที่พระกัมมัฎฐานตัดเองย้อมเองเย็บเองในวันนั้น ผ้าสบงผืนหนึ่ง ถ้าหากว่าผ้ากว้าง ๙๐ ซม. อย่างนี้ก็ยาวประมาณ ๕ เมตร มาตัดก็พอและก็ต้องเป็นผ้าที่หนาบ้างคือผ้าขาว ส่วนผ้าบริวารและของอื่นๆ นั้นก็แล้วแต่ศรัทธา และให้เข้าใจว่า ผ้าในองค์กฐินนั้น ซึ่งจะเป็นตัวกฐินแท้ๆ นั้นมีผ้าอยู่ ๓ ผืนเท่านั้น คือผ้าสังฆาฏิหนึ่ง ผ้าจีวรหนึ่ง ผ้าสบงหนึ่ง ทั้ง ๓ ตัวนี้จะเอาเป็นองค์กฐินตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ ธรรมเนียมพระกัมมัฏฐานก็ต้องตัดผ้าสบง เพราะตัดง่าย เสร็จเร็ว เย็บแล้วง่าย ย้อมแล้วง่าย สำเร็จทันในวันนั้น ส่วนผ้าจีวรมันได้ใช้ผ้ามาก ผ้าสังฆาฏิก็ได้ใช้มาก ผ้าจีวรก็ไม่ต่ำกว่าสิบเมตรสำหรับคนขนาดกลาง ผ้าสังฆาฏิสองชั้นก็ไม่ต่ำกว่า ๑๘ เมตรคนขนาดกลางไม่ใหญ่โต แต่ผ้าสังฆาฏิและจีวรเนื้อบาง เนื้อแน่นและเนื้อถี่ แต่ว่าบางกว่าสบง


    :จากหนังสือหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ตอบปัญหาธรรมะ
    https://www.facebook.com/groups/ThammaLuangpuMun/permalink/680494868769487/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2016
  2. P251152

    P251152 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +123
    สาธุค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...