สังโยชน์ 10

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Phanudet, 13 เมษายน 2009.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    สังโยชน์ 10

    1) นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงกับสังโยชน์ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั้นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่า เราเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ตามแบบคิด ตามแบบเข้าใจเอาเอง

    2) สำหรับญาติโยมพุทธบริษัท ที่ปฏิบัติพระกรรมฐาน จะได้ทราบอารมณ์ของจิตว่าท่านทั้งหลายทำเวลานี้ถึงไหนแล้ว ความจริงก่อนที่จะบรรลุมรรคผล พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ แต่ว่าพระพุทธเจ้าเองท่านทรงยืนยัน ท่านเป็นพระพุทธเจ้าเป็นภาระของท่าน แต่ว่าบุคคลใดเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ อันนี้ท่านทรงยืนยัน อันนี้จำเป็น
    แต่ว่าส่วนใหญ่พระสาวกก็จะไม่ยืนยัน คือ ว่าจะแนะนำให้เข้าใจเอง ฉะนั้นสำหรับญาติโยมพุทธบริษัทก็เช่นเดียวกัน อาตมาก็ขอนำ

    สังโยชน์ 10 มาเป็นเครื่องวัดกำลังใจ
    สังโยชน์ 10 ประการ 3 ข้อ เป็นคุณธรรมของพระโสดาบันหรือสกิทาคามี คือ
    - สักกายทิฏฐิ สำหรับพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ตัวนี้เป็นตัวปัญญานะ เป็นตัวตัดกิเลสทั้งหมด แต่ว่า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า พระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี มีปัญญาเล็กน้อย มีสมาธิเล็กน้อย แต่มีศีลบริสุทธิ์ ศีลบริสุทธิ์นี่ตามฐานะ ถ้าฆราวาสก็คือศีล 5 คือ ศีล 5 เป็นสำคัญ ยังไม่ถือศีล 8 ถ้าถือศีล 8 เป็นพระอนาคามี คือว่าถ้ามีศีล 5 บริสุทธิ์แน่นอน แล้วก็ใช้ได้ สักกายทิฏฐิ ถ้าญาติโยมมีความคิดอยู่เสมอว่าชีวิตต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิต หมายความว่าพยายามหลบความชั่ว คือบาปไว้เสมอ
    - วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในความดีของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์
    - สีลัพพตปรามาส รักษาศีล 5 เคร่งครัด แล้วก็ขอแถมอีกนิด
    - อุปสมานุสสติกรรมฐาน นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ถ้าจิตทรงตัวอย่างนี้ได้จริง ขอให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงเรียกผู้นั้นว่า พระโสดาบัน หรือ สกิทาคามี วัดใจเอาเองก็แล้วกันนะ

    3) สังโยชน์ทั้ง 10 ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ 10 อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตตผล เครื่องวัดอารมณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสจำกัดไว้อย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงศึกษาไว้ แล้วพิจารณาไปตามแบบ ท่านสอนเอาอารมณ์มาเปรียบเทียบกับสังโยชน์ 10 ทางที่ดีควรคิดเอาชนะกิเลสคราวละข้อ เอาชนะให้เด็ดขาด แล้วค่อยเลื่อนเข้าไปทีละข้อ ข้อต้น ๆ ถ้าเอาชนะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเลื่อนไปหาข้ออื่น ทำอย่างนี้จะได้ผลเร็วเพราะข้อต้นหมอบแล้ว ข้อต่อไปไม่ยากเลย จะชนะหรือไม่ชนะ ก็ข้อต้นนี่แหละ เพราะเป็นของใหม่ และมีกำลังครบถ้วนที่จะต่อต้านเรา ถ้าด่านหน้าแตก ด่านต่อไปง่ายเกินคิด ขอให้ข้อคิดไว้เพียงเท่านี้

    4) เราจะต้องมีสติอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสติตัวสำคัญ นั่นคือ จะต้องมีความรู้สึกว่า
    - สักกายทิฏฐิ อัตภาพร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราจะไม่มีการติดอกติดใจอยู่ในร่างกายของเรา และร่างกายของบุคคลอื่น เราถือเสมือนว่าร่างกายเป็นสภาวะอันหนึ่ง ๆ หรือ บ้านเช่าที่เราใช้อาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น
    - วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช้ปัญญาพิจารณาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรอยู่เสมอ
    - สีลัพพตปรามาส เราจะรักษาศีลให้ครบถ้วนไม่ลูบคลำศีล
    - กามฉันทะ เป็นฉันทะ เป็นภัยสำหรับเรา เราพยายามหาทางทำลายกามฉันทะให้พินาศไปจากจิต
    - เราจะตัดปฏิฆะ คือ ความกระทบกระทั่งกับอารมณ์ของจิต ด้วยอำนาจความโกรธ ความพยาบาทให้สิ้นไป
    - เราจะไม่หลงใหลใฝ่ฝันติดอยู่เฉพาะในรูปฌาน
    - เราจะต้องไม่ติดอยู่เฉพาะในอรูปฌาน ใช้ปัญญาใคร่ครวญ พิจารณาศีลของเราให้เป็นปกติ อย่าให้มันด่าง มันพร้อย มันขาดทะลุ อย่าให้มันบกพร่อง ถ้ามีปัญญาเสียอย่างเดียว ไม่มีอะไรยาก และก็ใช้ปัญญาพิจารณาว่าร่างกายของตน ร่างกายของสัตว์ ที่เรียกว่า รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เอาร่างกายคนก็แล้วกัน คนก็ดี สัตว์ก็ดี วัตถุก็ดี มันสกปรกหรือสะอาดให้ พิจารณาใน กายคตานุสสติ และอสุภกรรมฐาน หาความจริงในร่างกายของคนและสัตว์ แม้แต่ของเราให้ได้ว่ามันมีอะไรน่ารักตรงไหน มันมีอะไรยืนยงคงทนตรงไหน มันมีสภาวะทรงตัว หรือว่ามันสลายตัวไปในที่สุด ต้องเอาชนะอารมณ์นี้ให้ได้นะ อย่าไปติดในตัวรักไม่ได้ ต้องเป็นตัวคลายความรัก
    แล้วก็พิจารณาอารมณ์ที่เราโกรธ อารมณ์ที่กระทบกระทั่ง คือ ปฏิฆะ อารมณ์ที่เข้ามากระทบกระทั่งสร้างความไม่พอใจ มันเป็นประโยชน์ มันเป็นประโยชน์อะไร จึงไม่พอใจในบุคคลอื่น ที่เขากล่าวอย่างนั้น เขาทำอย่างนั้น เราก็ใช้ปัญญาพิจารณาว่าเราไม่พอใจ ที่เราโกรธเขา ที่เราเกลียดเขาคิดอาฆาตมาดร้ายเขา เพราะเรามันเลว ถ้าเราดีเสียอย่างเดียว ถ้าใครเขาจะว่าอะไร มันก็ไม่หนัก ที่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า นินทา ปสังสา นินทาและสรรเสริญเป็นของธรรมดาของโลก เขาสรรเสริญเราว่าดี ถ้าเราเลว มันก็ไม่ดีไปตามคำที่เขาพูด เขานินทาว่าเราเลว ถ้าเราดี เราก็ไม่เลวไปตามเขาพูด
    - มานะ เราจะตัดมานะความถือตัวถือตน ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขาให้หมดไป นึกไว้เสมอนะ อย่าลืมไม่ได้ และก็ใช้ปัญญาพิจารณาต่อไปว่า การที่เราจะยึดถือตัวตน ถือเรา ถือเขา ถือพวก ถือหมู่ ถือคณะ ว่าเราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา มันไม่มีประโยชน์ คนเกิดแก่ เจ็บ ตาย เหมือนกัน ไม่ควรจะเอาอะไรเข้าไปเปรียบเทียบ ให้เป็นการแข่งขัน หรือถ่อมเกินไป ไม่ควรคิด คิดว่าทุกคนเกิดมาก็แก่เหมือนกัน ป่วยเหมือนกัน ตายเหมือนกัน รักสุขเหมือนกัน เกลียดทุกข์เหมือนกัน เราเป็นเพื่อนกันได้แบบสบาย จะเสมอหรือไม่เสมอ จะดีกว่า จะสูงกว่า จะต่ำกว่าฉันไม่รู้ รู้อย่างเดียวว่า ฉันเป็นมิตรที่ดีของท่าน เท่านี้พอ
    - อุทธัจจะ ใช้ปัญญาเข้าควบคุมกำลังใจว่าอารมณ์ใดที่จะเกิดขึ้นนั้น เราไม่ต้องการ เรามุ่งเฉพาะพระนิพพานอย่างเดียว
    - อวิชชา
    ใช้ปัญญาจำแนกแจกลงไปว่า อวิชชาตัวเกาะ เกาะในอารมณ์ที่เป็นอนุสัย ยังมีความหลงใหลใฝ่ฝัน ท้อแท้อยู่ในความคิดว่า
    ถ้าเราเป็นพระอนาคามีเราก็มีความสบาย ไม่ควรจะมีความทะเยอทะยานมากเกินไปให้มันเหนื่อย ก็ใช้ปัญญาสอนมันว่า ถ้าสิ่งใดก็ตามที่เรายังไม่ทำสำเร็จกิจ เราก็จะต้องทำต่อไป ไหน ๆ เมื่อเวลามันมีก็ทำลายให้มันพินาศไปให้มันหมดกิจไปเสีย ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหมด อย่าให้ปรากฏว่ามีในจิต


    5) อารมณ์ที่จะพึงสนใจมากที่สุด หรือโดยตรงนั้นคือ สังโยชน์ 10 ตัวตัดอยู่ตรงนี้ เราจะทำอะไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถตัดสังโยชน์ได้แม้แต่หนึ่ง ก็ไม่มีผลในการปฏิบัติ เหนื่อยมาเกือบตาย กิเลสก็ยังท่วมตัวอยู่ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ไม่มีเวลาจำกัดก็แย่ บางท่านที่มีความฉลาด เริ่มปฏิบัติไม่กี่วันก็สามารถกำจัดกิเลส เข้าถึงเขตแห่งความเป็นความเป็นพระอริยเจ้าได้ อันนี้ได้กำไรมาก



     
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำธรรมะ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  3. philosophi

    philosophi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +1,895
    ถ้าคิดว่าเจ๋งจริง.ถามตัวเองดูว่า
    ตัดสังโยชน์ได้กี่ข้อ?
     
  4. กายในกาย

    กายในกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +1,265
    สาธุครับ
     
  5. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สักกายะทิฏฐิ
    1.ไม่ถือในอาการธรรม
    2.ไม่เห็นเหตุเป็นตัวตน
    3.ไม่มีมลทินในจิต
     
  6. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    รูป-นาม ไม่ใช่ตัวตน
    ไม่เห็นเหตุว่าเป็นรูปเรา เป็นเวทนาเรา
     
  7. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    นั่งสมาธิ สมาธิชอบ พิจรณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นปฏิกูล พิจรณาซ้ำซากไปมาจนจิตคลายอาสวะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...