ร่วมทำบุญบูชา พระพิชัยมาลามหาจักรพรรดิ์ชุดปฐมพุทธันดร(มหาเสาร์ล้างอาถรรพ์) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    แจ้งการส่งEMS

    พี่นฐมน ER 5707 2782 8 TH
     
  2. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    ก็ทยอยตอบ PM ครบแล้วนะครับ ใครจะฝากคำถามอะไรก็ฝากไว้ได้เลย เมื่อรอบเย็นนำพระไปส่งเลี่ยมให้ตัวพระแก้วเศวตฉัตร แค่จับก็ขนลุกชาขึ้นหัววูบๆเลย องค์พระมีพลังกายสิทธิ์รุนแรงจริงๆขนาดไม่ได้เพ่งจิตหรือตั้งสมาธิอะไรเลย เรียกว่าพลังงานแผ่ออกมาตลอดเวลาก็ว่าได้ พระแบบนี้แรงไม่ลดแรงไม่มีตก อาถรรพ์สูงแน่นอน อันนี้พูดกันแบบผิวเผินนะเพราะมันชัดเจนมาก บูชากันดีๆนะครับ;)
     
  3. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    สติ
    อรุณสวัสดิ์ครับ ปกติจะพูดกันถึงเรื่องเจริญสติกันบ่อย วันนี้ก็จะมาลงรายละเอียด ก็ขอให้สละเวลาอ่านกันนิดนิง เชื่ออย่างยิ่งว่าจะสามารถทำความเข้าใจได้และเป็นประโยชน์แก่ตัวเองที่สุด

    สติ ตามความหมายในทางพุทธศาสตร์แปลว่า ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือการปฏิบัตินั่นเอง

    สติเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติในทางพุทธศาสนา เช่น สติในมรรค๘ หรือสติในโพชฌงค์๗ สติในสติปัฏฐาน๔ เป็นต้น. อันเป็นเหตุปัจจัยอันสําคัญยิ่งในการบรรลุถึงจุดหมายในการดับทุกข์ หรือความจางคลายหายจากทุกข์ ในที่นี้ผู้เขียนจะกล่าวจําเพาะเจาะจงลงไปในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะสติให้เห็นเวทนาและจิตเป็นสําคัญ (เวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔)

    สตินั้นก็คือ กริยาหรืออาการหนึ่งของจิตนั่นเองที่ทำหน้าที่ระลึกได้หรือสำนึกพร้อม เป็นหนึ่งในเจตสิก๕๒(ข้อที่๒๙) เป็นสังขารขันธ์คือการกระทำทางใจหรือจิตอย่างหนึ่ง และเป็นสังขารขันธ์ที่พระพุทธองธ์ทรงสรรเสริญยิ่งว่า "สติ มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง" จึงเป็นภาเวตัพพธรรม สิ่งที่ควรภาวนาคือทำให้เจริญขึ้น

    พึงจดจำไว้ว่า สติที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์นั้น ทำหน้าที่สำคัญที่สุดอย่างยิ่ง คือเพื่อระลึกอย่างเท่าทันในเวทนาและกายคตาสติสูตรนั้น ก็เป็นการฝึกสติและเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดียิ่งอย่างหนึ่ง แต่พึงเข้าใจด้วยว่าเป็นการฝึกสติในเบื้องต้น รวมทั้งเป็นเครื่องอยู่ของจิตไม่ให้ซัดส่ายออกไปปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านออกไปภายนอกให้เป็นทุกข์ ก็เพื่อให้มีสติเป็นสัมมาสมาธิที่หมายถึงต่อเนื่องหรือตั้งมั่นในระดับขณิกสมาธิ เพื่อเป็นกำลังหรือบาทฐานในการฝึกสติต่อไปในขั้นเวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนาดังที่กล่าวข้างต้น หรือเพื่อใช้สติไปในการพิจารณาธรรม(ธรรมานุปัสสนา) อันเป็นไปเพื่อการดับอุปาทานทุกข์โดยตรง ดังนั้นถ้าปฏิบัติแต่ตามลมหายใจ อิริยาบถหรือสัมปชัญญะโดยไม่ดำเนินการปฏิบัติในขั้นต่อไปเลย ย่อมก่อให้เกิดความชงักงันเป็นธรรมดา ในขั้นแรกอาจได้ความสงบ แต่ถ้าไม่ดำเนินให้เกิดปัญญาต่อไป จนถึงขั้นไปติดเพลินจึงกลายเป็นมิจฉาสติหรือมิจฉาสมาธิเสียก็เป็นได้

    มีสติเห็นเวทนาหรือจิต พร้อมทั้งปัญญาความเข้าใจ(ญาณ)ในเวทนาหรือจิตหรือจิตสังขาร ให้เหมือนดั่งตาเห็นรูป หรือหูได้ยินเสียง กล่าวคือ มีสติระลึกรู้ในเวทนาหรือจิตคิด พร้อมทั้งปัญญาความเข้าใจ ให้ได้อุปมาดั่งตาเห็นรูปหรือตัวอักษร ที่สติเห็นระลึกรู้และปัญญาเข้าใจในสิ่งที่เห็นนั้น หรือดั่งเมื่อหูได้ยินระลึกรู้เสียงไพเราะหรือไม่, พร้อมทั้งเข้าใจในความหมายที่สื่อนั้น หรือกล่าวอย่างสั้นๆว่า

    มีสติเพื่อทำญาณให้เห็นจิต ให้เหมือนตาเห็นรูป

    อันเป็นไปตามหลักปฏิบัติ สติปัฎฐาน๔

    คือเห็นเวทนาหรือจิต(จิตสังขาร)ที่เกิดขึ้นบ้าง หรือเห็นความเสื่อมไปบ้าง หรือเห็นความดับลงไปบ้าง

    หรือเห็นความเกิดขึ้นในบุคคลอื่นบ้าง ในตนเองบ้าง ฯ.


    อนึ่งควรมีความเข้าใจให้ถูกต้อง เมื่อฝึกสติ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยเครื่องสนับสนุนให้เกิดสมาธิขึ้นด้วยเป็นธรรมดา กล่าวคือ การมีสติ อย่างแน่วแน่คือเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องในการปฏิบัติ

    สมาธินี้ จึงหมายถึง ความมีสติต่อเนื่องอยู่ในการปฏิบัติ มิได้หมายถึงสมถสมาธิที่เข้าถึงแต่ความประณีตความสงบความสบายแต่อย่างใด สมถสมาธิเป็นสมาธิเริ่มต้นเพื่อฝึกจิตให้เป็นสมาธิในเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ซัดส่ายเป็นทุกข์ เพื่อให้มีกำลังของจิตใช้ไปในการปฏิบัติขั้นต่อไป คือการวิปัสสนาเพื่อการดับทุกข์อย่างจริงจังเท่านั้น เนื่องจากในปัจจุบันมีการเน้นการฝึกสมถสมาธิแต่อย่างเดียว แต่ก็เรียกกันโดยทั่วไปว่าสมถวิปัสสนาบ้าง พระกรรมฐานบ้าง ผู้ไม่รู้จึงไปเข้าใจผิด คิดว่าปฏิบัติวิปัสสนาที่จำเป็นต้องอาศัยปัญญาให้เข้าใจธรรมอันเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์แล้ว ทั้งๆที่ยังไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนาแต่อย่างใด จึงกลับกลายดำเนินไปในรูปของมิจฉาสมาธิแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ดังเช่นการปฏิบัติอานาปานสติแต่กลายเป็นมิจฉาสติ จึงยังให้เกิดเป็นมิจฉาสมาธิอันให้โทษ ดังนั้นเมื่อปฏิบัติสมถสมาธิแล้ว จึงควรเจริญในวิปัสสนาทุกครั้ง จึงยังให้สมาธินั้นเป็นสัมมาสมาธิอันถูกต้อง กล่าวคือเป็นบาทฐานเครื่องสนับสนุนการวิปัสสนา


    วัตถุประสงค์ในการเจริญสติ

    ๑. ฝึกสติให้เห็นจิต หมายถึง ระลึกรู้เท่าทันจิต (หมายรวมทั้ง เวทนา-ความรู้สึกรับรู้ และจิตสังขาร เช่น ความคิด, คิดปรุงแต่ง, โมหะ, โทสะ, โลภะ ฯ.)

    ๒. ฝึกสติให้เห็นความแตกต่างของความรู้สึก(เวทนา)ระหว่าง จิตขณะปกติ และขณะที่ จิตปรุงแต่ง เพื่อให้เห็นโดยปัจจัตตัง คือเห็นรู้ด้วยตนเอง

    ๓. ฝึกสติ ให้ชำนาญอย่างต่อเนื่องในการเห็น จิต (เห็นใน เวทนา+จิตสังขาร อย่างเป็นสัมมาสมาธิ)

    ๔. ฝึกสติ ไม่ให้ไปคิดนึกปรุงแต่งต่อจากจิต(เวทนา+จิตสังขาร)ที่เห็นหรือเกิดขึ้นนั้น (หมายถึงยังมีคิดเป็นปกติธรรมดาของขันธ์๕ที่ยังกระทบแล้วรู้สึกเป็นธรรมดา แต่ไม่คิดปรุงแต่งชนิดที่ยังให้เกิดทุกข์ต่อ) หรือคือการฝึกสติในการถืออุเบกขานั่นเอง

    ๕. ฝึกสติให้เห็นความแตกต่างของความรู้สึกระหว่าง เมื่อจิตไม่รู้เท่าทันไปปรุงแต่ง กับ จิตที่รู้เท่าทันแล้วถืออุเบกขา (แลคล้าย ข้อ๒. แต่แตกต่างกัน)

    ข้อสําคัญในการปฏิบัติ

    ในระยะแรกๆ อย่าปฏิบัติในขณะที่รู้สึกเป็นทุกข์ หรือจิตใจซัดส่าย ข้อสำคัญให้มีใจสบายๆพอสมควร หรือสมาธิก็แค่ระดับขณิกสมาธิคือจิตแน่วแน่ ไม่วอกแวกมากเกินไป ให้มีสติอยู่ในกิจหรือการปฏิบัติ, เพราะต้องการใช้จิตที่อยู่ในสภาวะขณะปกติไปเปรียบเทียบให้เห็นกับขณะจิตปรุงแต่ง จึงจะเห็นสภาวะหรือความรู้สึกที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนอย่างปัจจัตตัง จึงจะคลายวิจิกิจฉาความสงสัย

    ถ้าปฏิบัติในรูปแบบ ให้มีสติ อย่าปล่อยให้เลื่อนไหลลงภวังค์ คือไม่เลื่อนไหลไปสู่สมาธิหรือฌานในระดับลึก สมาธิก็แค่ขณิกสมาธิ เพราะเราต้องการฝึกฝนปฏิบัติการใช้สติในการปฏิบัติตามความรู้ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทหรือสติปัฏฐาน๔ มิใช่การปฏิบัติสมถสมาธิหรือฌานเพราะถ้าลึกกว่านี้แล้วสติจะไม่บริบูรณ์มีอาการเคลิบเคลิ้ม ลงภวังค์ หรือเกิดนิมิตต่างๆนาๆ ถ้าหลับตาแล้วเลื่อนไหลลงภวังค์หรือหลับง่ายๆก็ให้ลืมตาขึ้น หรือยืน เดิน ในอริยาบทสบายๆได้ โดยไม่ต้องกังวล, ให้มีสติยาวนานต่อเนื่องอย่าง ไม่เลื่อนไหล

    ปฏิบัติโดยให้มีสติกํากับความคิด สําหรับนักปฏิบัติใหม่ๆอาจมองไม่เห็นความคิด หรือมีความรู้สึกว่า ไม่รู้จะวางสติไว้กับอะไรหรือ ณ.ตําแหน่งใด ก็ให้ลองบริกรรมพุทธโธ ในใจสักระยะ หรือคิดภาวนาพิจารณาในใจอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุให้ขุ่นเคืองหรือวุ่นวายใจ เพื่อเป็นเครื่องกำหนด เครื่องระลึก โดยปรับกายใจให้ผ่อนคลาย คำบริกรรมอาจสั้นหรือยาวก็ได้ ดังเช่น พุทโธ สั้นๆ หรือดังเช่น

    " ที่นี่แหละฐานแห่งจิต " หรือ " มีสติ ไม่คิดปรุง " หรือ " สัมมาอรหัง " เหล่านี้เป็นต้น หรือภาวนาอะไรก็ได้ อย่างสั้นๆตามจริตก็ได้

    เพราะคำบริกรรมภาวนาเหล่านี้เอง เป็นจิตสังขารหรือความคิดที่เป็นผลที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่ง หรือการพูดในใจโดยไม่ออกเสียงมานั่นเอง ที่เราต้องการจะฝึกให้มีสติระลึกรู้เท่าทัน ที่บางทีเรียกกันว่า"เห็น" และควรฝึกหัดให้เห็นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง(สัมมาสมาธิ)ไม่เลื่อนไหล และปัญญาที่เกิดแต่การพิจารณาจนเกิดความเข้าใจในสภาวะธรรมจะเป็นผู้แก้ปัญหา อันรวมทั้งจำแนกแจกแจงว่า อันใดเป็นคิดที่ควรเกิดควรมี อันใดเป็นคิดปรุงแต่งให้เกิดทุกข์ที่ควรอุเบกขา

    แล้วภาวนาพิจารณาในใจอย่างใจเบาๆนุ่มนวล พร้อมสังเกตุกําหนดชัดว่าอยู่ที่ใด อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ แค่พอให้สังเกตุเห็นฐานแห่งจิต คือหาโฟกัส(จุดรวม)ความคิดให้ชัดเจนของจิตเท่านั้น อย่ากังวล เพียงแต่ให้สติระลึกรู้ว่ามีความรู้สึกชัดเจนที่สุดตรงไหน อาจอยู่ภายในกายหรือนอกกายก็ได้ ก็ให้ถือว่าที่นั่นแหละฐานแห่งจิตหรือตําแหน่งของจิตที่เราต้องมีสติคอยกํากับ คือ จิตหรือสติเห็นคำภาวนานั้นอย่างมีสติได้อย่างต่อเนื่อง, เมื่อฝึกปฏิบัติบ่อยๆจนเกิดความชำนาญแล้ว ก็เปลี่ยนจากจิตหรือสติที่เห็นคำบริกรรมนั้นเป็นคอยมีจิตหรือสติเห็นเวทนาหรือจิตคิดหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นแทนในภายหลัง แล้วมีสติถืออุเบกขาไม่ปรุงแต่ง ไม่แทรกแซง หรือไม่เอนเอียงไปทั้งในด้านดีหรือร้าย เช่น เราดีหรือเขาชั่ว,นั่นดีหรือนี่ชั่ว,เราถูกหรือเขาผิด คืออยู่ในภาวะเหนือดีเหนือชั่ว หรือเหนือบุญเหนือบาปทั้งปวงนั่นเอง ตามที่ได้กล่าวมาในบทก่อนๆแล้ว, ฐานแห่งจิตนี้เป็นนามธรรม เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนจริงๆเป็นเพียงอุบายวิธีในการปฏิบัติเพื่อจําลองเป้าหมาย ช่วยในการก่อสติ ให้สติเกาะระลึกรู้อยู่กับสิ่งที่ตั้งใจอันถูกต้องดีงาม ในแต่ละท่านตําแหน่งอาจไม่เหมือนกัน และบางทีบางครั้งก็รู้สึกคนละตําแหน่งกับที่เคยปฏิบัติมาเป็นเรื่องธรรมดาไม่ต้องใส่ใจ เพราะในที่สุดจะเข้าใจถูกต้องเอง

    เมื่อสติกำกับจิต หรือเห็นจิต หรือจิตเห็นจิต ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ให้วางเฉยเสีย อย่าคิดหรือคิดปรุงแต่งใดๆให้ได้สักระยะหนึ่ง ปฏิบัติใหม่ๆก็จะยากอยู่เป็นธรรมดา (เพราะมักเกิดอาการที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวไว้ บอกว่าให้หยุดคิด กลับไปคิดว่าจะหยุดคิดอย่างไร กลับกลายไปคอยคิดคำนึงปรุงแต่งในเรื่องการหยุดคิดนั่นเอง) เมื่อหยุดคิดได้สักระยะหนึ่ง สังเกตุความรู้สึกหรือเวทนาที่มีอยู่ (แต่ไม่ใช่จิตส่งในที่ติดเพลินไม่ปล่อยวาง) จะพิจารณาสังเกตุพบความสงบ สบาย ไม่กระวนกระวาย ไม่ร้อนรุ่ม ไม่เผาลน แล้วต้องปล่อยวาง เมื่อปฏิบัติได้สักพักหนึ่งจิตจะเริ่มส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่งในบางเรื่องขึ้นมาเป็นธรรมดา หมายถึงต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนจึงอย่าไปหงุดหงิดกังวล แต่เมื่อจิตส่งออกนอกไปปรุงแต่งจนอิ่มตัวหรือมีสติกลับคืนมาเห็นจิตปรุงแต่งเหล่านั้นแล้ว สังเกตุความรู้สึก(เวทนา)ที่เกิดขึ้นเพื่อให้รู้ว่าเมื่อจิตส่งออกไปปรุงแต่งแล้วเกิดเวทนาอย่างไรขึ้นมา แล้วปล่อยวาง ให้กลับมาอยู่ที่สติหรือฐานเดิม คือเพียงพิจารณาสังเกตุรู้ในความรู้สึกที่เกิดขึ้น แล้วละเสีย และอย่าปรุงต่อ

    จิตที่แว็บออกไปปรุงแต่งดังข้างต้นนั้น มีสองลักษณะ คือ บางครั้งยังไม่ทันก่อทุกข์ขึ้น เป็นแค่การผุดการแว๊บออกไปปรุงแต่งแรกๆ แล้วมีสติรู้ทัน จะได้ประโยชน์ คือ ฝึกสติให้เห็นและรู้ทันจิตที่ส่งออกไปภายนอกหรือผุดหรือแว๊บขึ้นมานั้น, อีกลักษณะหนึ่งคือความคิดที่ผุดขึ้นมานั้นก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นทุกข์เลย หรือขณะแรกไม่เป็นทุกข์แต่ขาดสติปรุงแต่งเลื่อนไหลต่อไปเรื่อยๆจนเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นในที่สุด เมื่อจิตปรุงจนอิ่มตัวแล้วหรือมีสติรู้เท่าทันขึ้นมา ก็ให้หยุดการปรุงแต่งเหล่านั้นเสีย แล้วพิจารณาด้วยปัญญาก็จักได้ประโยชน์คือเปรียบเทียบเห็นความรู้สึก(เวทนา)ที่เป็นทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งด้วยตนเองได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ในขณะฝึกสตินั้นจึงให้ทำจิตว่างๆที่หมายถึงหยุดคิด,หยุดปรุงแต่งชั่วขณะ จุดประสงค์ก็เพื่อให้สังเกตุเห็นความรู้สึกหรือเวทนาที่เกิดขึ้นชัดเจน คือเปรียบเทียบเวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างจิตไม่ปรุงแต่งและจิตปรุงแต่งกันให้เห็นหรือเข้าใจอย่างชัดเจน, แต่ระมัดระวังไว้ด้วย อย่าไปยึดในจิตว่างหรือหยุดคิดนั้น เป็นขั้นตอนการใช้ตอนปฏิบัติเท่านั้น ในการดำรงชีวิตโดยทั่วไปนั้น ความคิดนั้นยังต้องมีอยู่ แต่อยู่ในระดับขันธ์๕ คือไม่คิดปรุงแต่งเท่านั้น หรือหยุดเฉพาะคิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น อย่าได้พยามยามไปทำจิตว่างหรือพยายามหยุดทุกๆความคิดในการดำเนินชีวิตประจำวัน หยุดแค่การคิดปรุงแต่ง


    ข้อสําคัญในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

    ไม่ใช่การห้ามหรือหยุดเวทนาหรือจิตคิดอย่างดื้อๆ มันทําหน้าที่ของมันอย่างถูกต้องตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) เป็นขันธ์๕ในการดำรงขันธ์(ชีวิต) ส่วนความคิดนึกปรุงแต่งหรือจิตฟุ้งซ่านออกไปปรุงแต่งนั้นต้องหยุด

    เราจึงทําหน้าที่หลักๆ เพียง๒ประการคือ

    ๑.มีสติรู้ทันเวทนาหรือความคิด(จิต)ที่เกิดขึ้น ก็ให้มีสติรู้ว่ามี คือ เมื่อจิตสอดส่ายออกไปคิดปรุงแต่งเกิดความรู้สึก(เวทนา) หรือจิตสังขารใดๆเช่น จิตปรุงแต่ง จิตหดหู่ โมหะ โทสะ โลภะ ฯ. ก็รับรู้ตามความเป็นจริงอย่างมีความเข้าใจในเวทนาหรือจิต(อ่านในปฏิจจสมุปบาท หรือขันธ์๕) หรือเห็นความเกิดขึ้นบ้าง เห็นความเสื่อม ความดับไปบ้าง (ความสําคัญอยู่ที่รับรู้สิ่งที่กระทบนั้นตามความเป็นจริง แล้วรีบละไม่จดจ้องหรือพิรี้พิไรต่อมัน ) จิตที่สอดส่ายออกไปนี้มันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และเมื่อเกิดการกระทบผัสสะย่อมเกิดผลขึ้นเป็นธรรมดา ตามที่ได้ปัญญาญาณจากปฏิจจสมุปบาทหรือขันธ์๕ ไม่ต้องพยายามทําอื่นใดทั้งสิ้น เช่น ไม่ติดเพลินหรือผลักไสใดๆ ไม่พยายามทําให้ความรู้สึกรับรู้(เวทนา)หายหรือดับไป และควรพิจาณาเมื่อสติกลับมาแล้ว คือรู้ตัว ให้สังเกตุความแตกต่างระหว่างความรู้สึกขณะที่มีสติ กับ ขณะที่จิตคิดปรุงแต่งเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่เห็นได้ด้วยตนเอง(ปัจจัตตัง) ข้อสำคัญแค่สังเกตุอยู่ในความแตกต่าง แล้วต้องไม่ปรุงแต่งต่อ

    มีความเข้าใจและรับรู้ตามความเป็นจริง เช่น อร่อยเป็นอร่อย สวยเป็นสวย ทุกข์เป็นทุกข์ สุขเป็นสุข เศร้าเป็นเศร้า มีความจําเป็นอย่างยิ่ง มิฉนั้นจะเกิดการวางอุเบกขาในข้อ๒ทุกๆเรื่อง อันเมื่อเป็นสังขารที่สั่งสมแล้วจะเกิดเป็นปัญหาขึ้น เพราะจะไปถืออุเบกขาเช่นวางเวทนาหรือความคิดหรือสิ่งอื่นที่มีคุณต่อการดำรงขันธ์(ดําเนินชีวิต)ไปโดยไม่รู้ตัว, การรู้ตามความเป็นจริงเช่นเกิดทุกขเวทนาก็รู้และรับรู้ความรู้สึกที่เกิดนั้น เป็นสุขเวทนาก็รู้ เป็นไม่สุขไม่ทุกข์ก็รู้, เห็นจิตคิดชนิดโมหะ โทสะ โลภะ ก็มีสติรู้เท่าทัน อันล้วนมีเจตจํานงให้มีสติรู้เท่าทันเวทนาหรือจิตอันแฝงกิเลสหรือตัณหาอยู่ในที เป็นจุดประสงค์สำคัญ แล้วปฏิบัติตามข้อ๒

    ๒.แล้วมีสติ ถืออุเบกขา(ในโพชฌงค์) เท่านั้น กล่าวคือเมื่อเกิดรู้สึกสุข,ทุกข์ หรือเห็นจิตสังขารดังที่กล่าวไว้ก็ตาม เพราะย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามธรรมคือธรรมชาตินั้นๆในการรับรู้ของชีวิตจากการผัสสะต่างๆ แต่เราต้องมีสติ แล้วเป็นกลาง ด้วยอาการตั้งใจไม่เอนเอียงเข้าไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิด หรือกริยาจิตใดๆในสิ่งนั้น (ไม่ว่าจะ ดีชั่ว บุญบาป ถูกผิด อันล้วนเป็นมายาจิตหลอกล่อให้ไปปรุงแต่งทั้งสิ้น)

    อุเบกขานี้จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรม เป็นกลางโดยการวางทีเฉยต่อเวทนาหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นนั้นอย่างมีสติมีอุเบกขา รู้สึกอย่างไรก็รู้เท่าทันตามความเป็นจริงอย่างนั้น เช่น โกรธ โลภ หลง ฯ. เพียงแต่ไม่เอนเอียง ไม่แทรกแซง ไม่คิดนึกปรุงแต่ง ด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิตใดๆ ไปทั้งในทางดีหรือร้าย, อุเบกขามิใช่การวางจิตเฉยๆ หรือต้องรู้สึกเฉยๆตามที่บางคนเข้าใจ และไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง, จักเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการเจตนาปฏิบัติ หรือสังขารขึ้นเท่านั้น, ปฏิบัติใหม่ๆอาจรู้สึกยากแสนยาก แต่เมื่อปฏิบัติไปอย่างสมํ่าเสมอก็จักราบรื่นขึ้น, ถ้ากระทําด้วยความเพียรไม่เกียจคร้านในที่สุดก็จะเป็นดั่งสังขารที่สั่งสมในปฏิจจสมุปบาทเพียงแต่ว่ามิได้เกิดแต่อวิชชา แต่เกิดจากวิชชาของพระองค์, ซึ่งเมื่อเวทนาหรือจิตคิดมากระทบ อุเบกขา(อันมีญาณรู้เข้าใจว่าสิ่งใดทำให้เป็นทุกข์ จากการปฏิบัติในข้อ๑.)จะกลับกลายเป็นสังขารแล้วก็จักทํางานเป็นธรรมชาติเหมือนหนึ่งดังบุคคลิกลักษณะประจําตัวหรือทำโดยอัตโนมัตินั่นเอง อันทําให้เวทนาหรือจิตคิดที่ยังให้เกิดทุกข์เมื่อมากระทบผัสสะเหล่านั้น ขาดเหตุเกิดอันยังให้ต่อเนื่อง หรือขาดเชื้อไฟที่จะทำให้ลุกไหม้ต่อไปได้ เพราะขาดเวทนาหรือคิดปรุงแต่งต่อสืบเนื่อง จึงยังให้ไม่เกิดเวทนาต่อเนื่องขึ้นมาอีก เมื่อขาดปัจจัยคือเวทนาอันเป็นเหตุเกิดของตัณหา ตัณหาก็ต้องมอดดับลงไป อันเป็นไปตามหลักปรมัตถธรรมปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง, เวทนาหรือจิตคิดเหล่านั้นจะยังคงเกิดแค่ขันธ์๕ อันเป็นเพียงทุกขเวทนาอันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติธรรมดาๆขณะหนึ่งเท่านั้น ไม่เป็นทุกข์จริงๆ(ความทุกข์จริงคือทุกข์อุปาทาน-อันกระวนกระวาย ร้อนรุ่ม และเผาลน อย่างยาวนานและต่อเนื่อง และยังเก็บไปหมักหมมนอนเนื่องเป็นอาสวะกิเลสอันก่อทุกข์โทษภัยในภายหน้า)


    ถ้าปฏิบัติแล้วมีความรู้สึก ตึง แน่น เครียด หรืออึดอัด ส่วนหนึ่งส่วนใดมากเกินไป แสดงว่าอาจเกิดจากเหตุปัจจัย ๒ อย่างนี้

    ๑.อาจกําหนดฐานของจิตผิด เช่นไปกําหนดจดจ่อที่กายส่วนหนึ่งส่วนใดโดยไม่รู้ตัว หรืออาจเป็นไปในลักษณะจิตส่งในโดยไม่รู้ตัว อันมักเป็นผลมาจากการปฏิบัติหรือความเคยชินเก่าๆที่สั่งสม(สังขาร) เช่น อาจรู้สึกหายใจไม่สะดวก หรือตึง แน่น อึดอัดตามจมูก หน้าอก ขมับหรือสมองมากเกินไป เนื่องจากเลื่อนไหลไปกำหนดตามความเคยชินในฐานของสมาธิเดิมๆ ให้ลองปรับฐานจิตแห่งความคิดใหม่

    ๒.หรืออาจเกิดจากใช้สติระลึกรู้จดจ่อหรือจดจ้องแก่กล้าเกินไป ให้ผ่อนคลายสติระลึกรู้นั้นลง ปรับให้พอดีๆ ระลึกรู้อย่างเบาๆ อันเป็นเรื่องของจริตแต่ละบุคคลที่ต้องหาให้พบ การจดจ่อหรือจดจ้องระลึกรู้(สติ)อย่างแรงกล้ามากเกินไปก็ใช้พลังงานมากและก่อให้เครียดและล้า อาการนี้มักเกิดกับการปฏิบัติในรูปแบบเช่นนั่งในรูปแบบสมาธิและหลับตาอันทําให้เกิดการจดจ้องหรือตั้งใจเกินพอดี ไปจดจ่ออยู่ที่สิ่งๆเดียวอย่างมุ่งมั่นหรือแน่วแน่จนเกินพอดีไป อาจใช้วิธีแก้ไขโดยลืมตาขึ้น หรือเปลี่ยนอิริยาบถเป็นการเดิน หรือการนั่งอย่างสบายๆก็ได้

    ปฏิบัติดังนี้ให้ได้ต่อเนื่องยาวขึ้น นานขึ้น และเป็นประจําสมํ่าเสมอขึ้น สามารถกระทําได้ในทุกอิริยาบถ ยิ่งปฏิบัติในขณะดําเนินชีวิตประจําวันได้ยิ่งเป็นคุณอันประเสริฐ อันเมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้วผู้ปฏิบัติควรรู้ได้ด้วยตนเองว่าทุกข์นั้นลดน้อยลงไปไหม? มีความเข้าใจเกิดขึ้นไหม? เห็นการดับไปของทุกข์ไหมเมื่อขาดเหตุปัจจัยหรือเหตุเกิดต่างๆ อันเกิดขึ้นจากการถืออุเบกขา? ถ้าปฏิบัติแล้วทุกข์ไม่ลดลงให้หยุดการปฏิบัติ แล้วพิจารณาการปฏิบัติใหม่ให้ดีเช่นพิจารณาในธรรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น อย่าพยายามฝืนปฏิบัติต่อไป ค้นหาจุดบกพร่องหรือข้อสงสัยเสียก่อน.

    การปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่างไม่เคร่งเครียด อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดดังสังขารในวงจรปฏิจสมุปบาท หรือเป็นมหาสตินั่นเอง เพียงแต่สังขารนี้มิได้เกิดแต่อวิชชา แต่เกิดจากวิชชาโดยตรง อันเมื่อเป็นสังขารแล้วการปฏิบัติจะเป็นไปเองตามความเคยชินที่ได้สั่งสมอบรมไว้อันเป็นสภาวะธรรมของชีวิตอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง โดยมีกําลังของสัมมาญาณและสติเป็นกําลังแห่งจิต เพราะการดับทุกข์นั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสอยู่เนืองๆว่า ธรรมของพระองค์เป็นเรื่องสวนทวนกระแส, ซึ่งก็เป็นจริงตามพระพุทธดํารัสนั้น เพราะเป็นการทวนสวนกระแสของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่ดึงดูดมวลหมู่สัตว์เข้าสู่กองทุกข์โดยธรรมชาติดุจดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่ากว่า แต่ด้วยพระปรีชาญาณจึงได้อาศัยธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้นเอง มาปฏิบัติสวนทวนกระแสธรรมชาติฝ่ายก่อให้เกิดทุกข์จนสําเร็จได้ อุปมาดั่งเรือใบที่แล่นทวนสวนกระแสลมหรือกระแสนํ้าอันเชี่ยวกรากของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้นได้ ก็ด้วยความเข้าใจในธรรมชาติของลมและใช้ธรรมชาติของลมนั้นเองเป็นเหตุปัจจัยเช่นกัน โดยอาศัยใบเรือที่ถูกต้องอันอุปมาได้ดั่งสังขารธรรมหรือธรรมะของพระพุทธองค์ ที่ทําให้สามารถใช้ธรรมชาติของลมนั้นเอง ทําให้เรือแล่นสวนทวนกระแสธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ของลมหรือแม้กระแสนํ้าได้

    นอกจากปฏิบัติดังกล่าวแล้ว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วยเมื่อมีโอกาส

    สติหมั่นพิจารณากาย(กายานุปัสสนา) เช่น กายสักแต่ว่าเกิดแต่ธาตุ๔เป็น เหตุปัจจัย เพื่อให้เกิดนิพพิทาลดละอุปาทานในความเป็นตัวตนของตน และเพื่อความเข้าใจในความเป็นเหตุปัจจัยอันปรุงแต่ง อันล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ขณะหนึ่ง แล้วดับไป

    โยนิโสมนสิการ ให้เห็นสภาวะธรรมหรือปรมัตถสัจจะของการกระทบผัสสะ ดังเช่น การที่กายกระทบผัสสะกับสิ่งใด แล้วย้อนกลับมาโยนิโสมนสิการ จิตที่กระทบกับความคิด โดยเฉพาะความคิดนึกปรุงแต่ง

    สติหมั่นพิจารณาในธรรมคือธรรมะวิจยะหรือธรรมานุปัสสนา อันเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวดในอันยังให้เกิดมรรคองค์ที่๙ สัมมาญาณความรู้ความเข้าใจอันเป็นกําลังแห่งจิต และเพื่อใช้แก้ไขปัญหาข้อสงสัยต่างๆที่จักเกิดขึ้นในการปฏิบัติอันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ธรรมที่ใช้ในการพิจารณาอาจเลือกตามจริตของผู้ปฏิบัติ, สําหรับผู้เขียนเองแนะนําปฏิจจสมุปบาทที่ลึกซึ้ง จึงก่อให้เกิดสัมมาญาณได้อย่างดีจึงให้คุณอนันต์สมดั่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า

    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม

    bar_n_1.gif

    จาก เทสรังสีอนุสรณาลัย เรื่อง "สิ้นโลก เหลือธรรม (นัยที่สอง)"

    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (หน้า ๙๓) ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง สติ ไว้ดังนี้

    "จิต คือ ผู้คิดผู้นึกในอารมณ์ต่างๆ ที่รวมเรียกว่ากิเลสอันเป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมองนั่นเอง จึงต้องฝึกหัดให้มีสติระวังควบคุมจิต ให้รู้เท่าทันจิต ซึ่งคำนี้เป็นโวหารของพระกรรมฐานโดยเฉพาะ คำว่า " รู้เท่า " คือ สติรู้จิตอยู่ ไม่ขาดไม่เกินยิ่งหย่อนกว่ากัน สติกับจิตเท่าๆกันนั่นเอง คำว่า " รู้ทัน " คือ สติทันจิตว่าคิดอะไร พอจิตคิดนึก สติก็รู้สึกทันที เรียกว่า " รู้ทัน " แต่ถ้าจิตคิดแล้วจึงรู้นี้เรียกว่า " รู้ตาม " อย่างนี้เรียกว่าไม่ทันจิต ถ้าทันจิตแล้ว พอจิตคิดนึก สติจะรู้ทันที ไม่ก่อนไม่หลัง ความคิดของจิตก็จะสงบทันที............"

    bar_n_1.gif

    จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (หน้า ๔๖๙)

    .........ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด Bulb2.gif เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกัน(webmaster- สัมมาสมาธิ ของการวิปัสสนา)ไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ (น.๔๖๙)

    bar_n_1.gif

    จาก การฝึกหัดจิตให้มีสติทุกเมื่อ โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    ส่วนการสำรวมระวังใจ ถ้าอยู่เฉยๆ ใจไม่มีเครื่องอยู่ ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ เช่น พุทโธ อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก ยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหังก็ได้ เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน นึกคิดอยู่เสมอๆจนเป็นอารมณ์ มีสติควบคุมจิตอยู่ตรงนั้นแหละ จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น จึงจะเรียกว่าควบคุมจิต รักษาจิต ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก (ไม่มีเสียก็ดำเนินชีวิตเป็นปกติไม่ได้เลย) แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า บริกรรมภาวนา

    การบริกรรมภาวนานี้มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น ธรรมไม่มีเบื้องตน ท่ามกลาง ที่สุดหรอก ธรรมะอันเดียวกันนั่นแหละ ถ้าหากสติอ่อนเมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น สติแก่กล้าเมื่อไรก็เป็นท่ามกลางและที่สุดเมื่อนั้น คือหมายความว่าสติคุมจิตอยู่ทุกขณะ จนกระทั่งเป็นมหาสติปัฏฐาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่างๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น มหาสติ แท้ทีเดียว

    ถ้าบริกรรมอย่างมีสติ ไม่ปล่อยให้เลื่อนไหลไปลงภวังค์ กล่าวคือไม่เป็นฌานหรือสมาธิอันละเอียดลึกจนเคลิบเคลิ้มไปลงภวังค์หรือท่องเที่ยวไปในนิมิต ก็จักเกิดประโยชน์อย่างมาก จะทำให้เห็นจิตคือคำบริกรรมนั้นๆ อันเป็นจิตสังขาร จึงเป็นการฝึกให้เห็นจิตหรือจิตสังขารอย่างหนึ่ง หรือจิตตานุปัสสนาอย่างหนึ่งอย่างดียิ่ง กล่าวคือจะทำให้สังเกตุเห็นจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดี

    296fdde1cd55120c40233d6fb1e12327_d25vj52.jpg
     
  4. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    ใครมีคำถามอะไรจาฝากก็ PM ไว้นะครับ แล้วเดี๋ยวตอนเย็นมาพูดคุยกันเรื่องคำถามน่าสนใจที่ส่งเข้ามาแล้วท่านตอบเกี่ยวกับการเสกเรื่องจิตของกุมารทอง
     
  5. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    จิตกุมาร

    เกี่ยวกับเรื่องกุมารทอง จากที่มีคนถามมาหลังจากตอบไปแล้วก็จะขอยกมาพูดอีกทีตรงหน้ากระทู้ เค้าว่าเราจะมีวิธีดูหรือรู้ได้อย่างไรว่าเป็นกุมารเทพหรือพราย


    คืออันนี้เราก็ตอบง่ายๆเลยแบบไม่ได้กวนนะ ก็ดูไปเลย คุณมองเห็นมั๊ยล่ะ ถ้าคุณเห็นคุณรู้ก็โอเค แต่ในกรณีนี้คือเค้าไม่เห็นเค้าไม่รู้ถึงถาม เราก็เลยต้องอธิบายยาวเพราะเข้าใจว่าคนที่จะรู้หรือมีตาในจริงๆนั้นมันไม่ได้มีกันทุกคน

    ที่ว่ากุมารเทพหรือกุมารพรายนั้น พ่ออาจารย์ท่านเคยจำแนกไว้ว่าดูง่ายๆ คือดูที่คนเสก ตรงนี้สำคัญ ถ้าคนเสกไม่ได้มีบารมีใดๆต่อให้สวดเชิญเทพอย่างไร กุมารนั้นอย่างดีหรือให้ดีก็ไม่ได้มีจิตเทพ หากแต่จะเป็นสัมภเวสีต่างๆเท่านั้น ยิ่งไม่ตั้งธาตุ หนุนธาตุปรุงธาตุให้จุติรูปนามขึ้นมาแก่เค้าเช่นนี้ยิ่งอันตราย เพราะจะไม่ใช่กุมารทองที่สร้างจากวิชาตุ๊กตาทอง แต่เป็นวัตถุที่สิงสู่ของสัมภเวสีแต่เพียงนั้น

    อ้างอิงจากคำท่านก็คือเราจะได้วัตถุรูปกุมารแต่ข้างในคือสัมภเวสีที่เป็นรูปกายเดิม ไม่ใช่รูปกายกุมารที่ผู้เสกสร้างขึ้นโดยวิชาของท่านเหล่านั้น อันนี้มันน่ากลัวอยู่อย่างคือกุมารเดี๋ยวนี้มักเน้นมวลสารเฮี้ยนๆแรงๆที่มีอาถรรพ์เกี่ยวเนื่องกับศพ กับวิญญาณนำมาทำ อันนี้ก็ให้พิจารณากันเอง ดูง่ายๆที่ผู้เสกนั้นมีบารมีมั๊ย ถ้าเอาลำพังมวลสารเหล่านั้นอย่างไรมันก็ไม่พ้นสัมภเวสีอยู่แล้ว ถึงจะผ่านพิธีเทพเชิญเทพแล้วอย่างไร เทพมามั๊ยอันนั้นก็ไม่ใช่ รูปแบบที่เห็นน่ารักๆถูกชะตาภายนอกที่หลายๆสำนักมักจะออกแบบมาเพื่อดึงดูดใจมันไม่ใช่คำตอบที่จะมองหรือนำมาพิจารณาได้เลย นี่เองที่เป็นอันตรายที่หลายๆคนต้องการกุมารเฮี้ยนๆ แต่กลับได้สัมภเวสีไปแทน

    สุดท้ายก็ต้องเอาไปวางกันตามวัดเกลื่อนไปหมด ดูแลไม่ได้เลี้ยงไม่ได้ กุมารทอง รักยมพวกนี้ถ้าอ้างอิงตามที่พ่ออาจารย์พูดท่านว่ามันเป็นวิชาง่ายๆถ้าเค้าทำได้ไม่ต้องหาศพหาซากอะไรเลย ดูอย่างหลวงพ่อจง รักยมท่านแค่ท่านมองเอาว่าแค่นั้นก็เฮี้ยนมีตัวมีตนแล้ว ดังนั้นคนเช่าเองนั่นแหละคือคนที่ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ว่าจะเอาแต่มวลสารเฮี้ยนๆแรงๆที่เกี่ยวกับศพมันถึงจะแรง หรือดูแต่ภายนอกว่าน่ารักดี แบ๊วดี แต่มวลสารที่อุดมีผงกระดูกมีอะไรทำนองนี้มันก็คือกันอยู่ดี หลายๆที่เค้าถึงบอกเหมือนกันว่ากุมารเดี๋ยวนี้มีแต่สัมภเวสี ซึ่งกุมารทองหรือตุ๊กตาทองจริงๆนั้นไม่ใช่สัมภเวสีหรือลูกกอกแต่อย่างใด เลือกบูชากันให้ดีชีวิตจะได้ปลอดภัย


    krishna01.jpg
     
  6. Akkra1978

    Akkra1978 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +1,478
    ผมถามคำถาม PM ไป 2 คำถาม คุณยังไม่ได้ตอบผมเลย เอาแต่ตอบรับทราบๆ หมายความว่าไงครับ
     
  7. Akkra1978

    Akkra1978 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +1,478
    บูชาพระไปเกือบครึ่งแสน พอมีปัญหาจะถาม ก็ไม่ตอบ พอจะขายพระล่ะเร็วนัก
     
  8. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    ตอบคุณ Akkra1978 นะครับ คำถามคุณตั้งแต่รอบดูดวงซึ่งก็ตอบเคลียไปรู้สึกว่าจะมากแล้ว แล้วถามกลับมาก็เหมือนย้อมคำถามเดิม ซึ่งถ้าจะให้ท่านตอบก็คงได้คำตอบเดิม ผมเคยแจงไว้แต่เริ่มว่าจะตอบครั้งเดียว ดูดวงเจ็ดสิบกว่าคน ไม่เฉพาะคุณนะมีคนย้อนกลับมาไม่จบไม่สิ้นทุกคน ก็อธิบายละเอียดไปเเล้วว่าดวงมันเป็นเช่นนั้นคนที่เลือกว่าต้องทำอะไร ลงมือตัดสินใจมันคือตัวคุณเอง ดังที่ตอบไปแล้ว ว่าไม่สมควรแต่ถ้าสถานการณ์มันพาไปก็ต้องพึ่งสติปัญญาตัวเองไตร่ตรอง ผมถึงเคยบอกแต่แรกว่ากิจกรรมดูดวงดูให้ได้ตอบให้ได้ แต่มันวุ่นวายไม่จบสิ้นถึงได้ไม่จัดขนาดมีคนขอแทบจะทุกวัน เพราะคนเค้าชอบบริการแบบเต็มคอร์สโดยไม่ได้นึกถึงเราเลยว่าคนหนักหน้ารับหน้าก็เรา บางทีอ่านแล้วเงียบเพราะเห็นว่ามันเป็นเรื่องเดิมเรื่องที่เราตอบไปแล้ว นั่งพิมพ์บางคนก็ครึ่งหน้าเอสี่เพราะดวงเค้าต้องแก้มีเรื่องต้องแนะนำเยอะ บางคนดวงดีอันนี้ก็สั้นหน่อยบอกแค่ครอบคลุมไปเฉยๆตอบไปเจ็ดสิบกว่าคนแล้วเกือบทุกคนมีคำถามย้อนกลับมาเกินสี่สิบ ที่จะพิมพ์ว่าขอบคุณครับนับหัวได้เลย มันไม่สนุกหรอกคุณ เพราะมีเรื่องแบบนี้บ่อยเวลามีกิจกรรมเกี่ยวกับดวง ถึงแจ้งตลอดว่ามันวุ่นวายเลยพักเบรคไปเกือบสองปี

    อีกประเด็นหนึ่งคุณแอดไลน์มาผมก็กดรับแล้ว แต่ไม่ได้พิมพ์อะไรเข้ามาเลยแค่ถามคุณคุรุปาละใช่มั๊ยซึ่งผมก็อ่านแล้วไม่เห็นมีคำถามอะไรให้ตอบก็กดข้ามๆไป รักษามารยาทด้วยครับ ไม่ใช่ไม่ตอบ แต่ผมเคยพิมพ์ไปแล้วว่าจะตอบในขอบเขตที่เราตอบได้นะ พี่ถามเรื่องงานซึ่งเราส่งคำตอบท่านไปแล้วว่าไม่ดีซึ่งผมพิมพ์ละเอียดมากย้ำว่ามากพร้อมอธิบายด้วยไม่น่าจะจำผิด ย้ายไม่ได้อะไรก็บอกไปหมด แต่พอดีมันเกิดขึ้นเหตุการณ์มันบีบให้ย้ายนั่นก็ต้องเป็นตัวพี่เองที่ต้องพิจารณาเอง เพราะดวงมันก็ยืนพื้นไปเช่นนี้ทั้งปี ตอบอีกกี่ครั้งเวลายังห่างไม่ถึงเดือนดวงคุณพี่มันจะเปลี่ยนรึยังไง อีกอย่างนึงมันไม่ใช่เรื่องที่จะคาดคั้นเอาคำตอบอะไรเลย ถ้าตอนแรกผมไม่ส่งคำตอบก็ว่าไปอย่างจริงมั๊ยครับ แล้วก็แจ้งหน้ากระทู้แล้วว่างดทุกคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมดูดวงที่จะฟีดแบ๊คกลับมา เพราะดูแล้วให้มันจบจะดีหรือไม่ดี พูดเลยว่าที่ดีมีน้อยมาก ถึงมีกิจกรรมที่ท่านจะทำเสริมดวงให้ในวาระถัดมาซึ่งก็เพิ่งผ่านพ้นไป มันไม่มีอะไรได้ดั่งใจเราทุกอย่างหรอกครับ ที่จองพระมาก็ไม่ใช่ผมจะตอบเร็ว บางทีครึ่งวัน หนี่งวันสองวันผมเพิ่งตอบก็มีไม่ต้องประชดผมหรอก เวลาส่งของยังส่งผิดส่งพลาดกันไปต้องPM สลับของกันก็หลายครั้ง ที่เห็นน่ากระทู้เงียบๆปกติคือเราต้องการรักษาระเบียบและความสงบเอาไว้ เรื่องวุ่นวายผมก็จัดการเองทางPm มาตลอด เพราะเราจำเหตุผลที่แจ้งไว้ได้ แล้วเราจำได้ว่าตอบอะไรใครไปบ้างแล้ว คือจำได้อ่ะว่าถ้าตอบอีกก็เหมือนเดิม ในเมื่อไอ้ที่บอกหรือแนะนำไปยังไม่ทำก็ไม่มีเหตุผลต้องตอบต่อ ถ้าให้ตอบอีกก็ควรเป็นคำตอบเดิม เอาไปประกอบการคิดพิจารณาและตัดสินใจเอาเอง

    บอกแต่แรกแล้วว่าการดูดวงนี้อย่าไปใส่ใจมาก ให้ดูไว้เป็นแนวทางเฉยๆว่าเราจะรับมือปรับแก้เอากับชีวิตจริงได้อย่างไร เกิดก็ดีไปไม่เกิดก็แล้วไป คิดว่าเจริญสติระวังเอาไว้ มันเป็นสิ่งที่แก้ได้เพราะมันคือการตัดสินใจของเราชีวิตเรา บางอย่างบางคนเราก็เงียบเพราะมันเกี่ยวกับกรรมนับชาติไม่ได้พิมพ์ไม่ถูกไม่รู้จะตอบยังไงเจอมาไม่รู้กี่ชาติจะให้มาจบที่การดูดวงรอบนี้มันก็ไม่ใช่ ทำได้แค่พิมพ์กลับไปพอให้เค้าเห็นทางออกคร่าวๆ เรียกว่าถ้าคิดแล้วย้อนกลับมาคิดและทบทวนดีๆหลายๆรอบมันก็เห็นทางออก ขนาดเราคนพิมพ์ตอบไปเวลาเราตอบเรายังคิดได้เลยว่าเออมันมีทางออกนะดวงคนนี้ บางคนนี่ท่านไม่รับไม่ตอบเลยก็มีเพราะถือว่าที่ถามไม่ใช่เรื่องแล้วจะให้ผมตอบอะไร ให้ผมนั่งมโนเอาเองรึไง อย่างส่งมาเรื่องเดิมตอบไปแล้วก็ควรเอาคำตอบไปพิจารณาเอา ถ้าท่านบ่อกให้อยู่ต่อในขณะที่เค้าเชิญออกพี่จะอยู่ต่อได้ยังไง มันก็ชัดแล้วว่าไม่ควรออกแต่ถ้าออกมาปีนี้มันก็ไม่ดีก็มีอยู่แค่นั้น

    ยกตัวอย่างเลยนะช่วงในหลวงในพระบรมโกฏิจะสิ้นพระชนม์ พ่ออาจารย์ท่านบอกล่วงหน้ามาหลายเดือนว่าเดือนไหนท่านจะไป เราก็ส่งไลน์บอกคนที่ชอบทักไลน์มาว่าช่วงเดือนนี้ๆแผ่นดินจะมีเรื่องใหญ่ ฟ้าท่านถึงที่แล้ว แล้วอย่างไรท่านก็ห้ามไม่ได้ หยุดยั้งรั้งชีวิตไม่ได้ เพราะสิ่งที่เกิดมันก็ต้องเกิดขนาดท่านรู้ล่วงหน้าเกือบปีก็ยังยื้อไม่ได้ท่านก้มีดุลย์พินิจของท่านในคำตอบที่ส่งไปผมเชื่อว่าหลายๆคน บางทีเราอาจจะอ่านให้แล้วพิมพ์แบบสรุปๆ แต่อะไรที่ไม่ดีผมเชื่อว่าผมพิมพ์ให้ครอบคลุมนะเพราะจิตสำนึกเราไม่มาล้อเล่นกกับชะตาคนอยู่แล้ว เรื่องบางเรื่องตัวเราเองที่ต้องรับไม่ใช่ดวงดาวเทพเจ้าจะมากำหนดอะไรอันนี้ผมพิมพ์ไว้ก่อนเริ่มกิจกรรมเลยนะ ก็ถือว่าตอบไปแล้วเป็นแนวทาง พี่จะเลือกเชื่อตามดวงหรือจะทำตัวนิ่งๆรอให้มันเกิด หรือคิดจะแก้ไขเมื่อมันเกิดก็ควรเป็นเรื่องของพี่เก็บไปคิดไตร่ตรองเอง มันมีช่องว่างให้เป็นทางออกเสมอทุกคนนั่นแหละ ผมพูดได้แค่ว่าที่ตอบกลับไปทุกคน มีถึงขั้นดวงตก ชะตาขาด พร้อมที่จะตายได้ในวันสองวันก็ยังมีแต่มันก้มีช่องว่างให้หลีกเลี่ยงเรื่องร้ายได้ถ้าเขาอ่านที่เราพิมพ์ไปดีๆ เราก็พิมพ์ไปให้ละเอียดว่าต้องระวังอะไร ต้องทำอะไร ควรคิดหรือตัดสินใจอะไร แต่สุดท้ายมันก็ป็นเรื่องของเค้าเองว่าจะคิดหรือทำมั๊ย จริงมั๊ยครับ ตอบครั้งเดียวนะเรื่องนี้ไม่ต้องมาถามต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2017
  9. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    ก่อนจะราตรีสวัสดิ์กันวันนี้นะครับ

    เกี่ยวกับเรื่องPM ขอแนะนำอย่างนึง อย่าส่งคำถามซ้ำหรือเรื่องเดิมมาเวลา PM เพราะผมอ่านถ้าเห็นว่าตอบไปแล้วผมจะไม่ตอบซ้ำจะข้ามไปดูของคนอื่นเลย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราไม่อ่าน แต่คือเราจำได้ว่ามันเรื่องเดิมมันตอบไปแล้วให้ตอบอีกก็เหมือนเดิมจะย้ำกี่รอบก็คำตอบเดิม ถึงจะเปลี่ยนคำถามแต่เนื้อหาก็วนๆอยู่เรื่องเดิม เราจะข้ามและเงียบทันที กับอีกกรณีคือเหมือนถามแบบกวนๆว่าบ้านผมมีพระนั่นนี่สิ่งนั้นสิ่งนี้พิมพ์มาแค่ตัวหนังสือจะให้ท่านนั่งดูย้อนอดีตเป็นร้อยเป็นพันปีว่าใครสร้างเราก็จะเงียบ ตรงนี้มันเป็นระบบตอบกระทู้ของผมที่ผมใช้มาประจำ

    แต่ในกรณีเดียวกันไม่ได้หมายความว่าบุคคลเดิม ถ้าส่งPM มาแล้ว แล้วผมไม่ตอบไปแปลว่าผมไปโกรธหรือเคืองอะไรเค้าถึงไม่ตอบอันนี้ไม่ใช่ ไม่ใช่ว่าถามอีกผมจะไม่ตอบเค้า แค่ไม่ใช่เรื่องเดิมที่ตอบไปแล้ว เปลี่ยนมาถามเรื่องใหม่เปลี่ยนหัวข้อมาใหม่มาคุยกันอันนี้ผมตอบและไวด้วย ไม่ไปวนเวียนกดดันจะเอาคำตอบเรื่องเดิมซึ่งตอบไปแล้วซ้ำซากให้ได้เพราะบางเรื่องมันมีลิมิตในคำตอบอยู่เช่นกัน แล้วการปฏิเสธของผมก็คือการเงียบ เพราะเราถือคติว่าไม่พูดดีที่สุด ขอแค่ถามเรื่องใหม่ผมจะดำเนินการณ์ให้ทันทีในกรณีที่ตอบเองไม่ได้ ซึ่งก็ยินดีตอบไม่ใช่ละเว้นไว้ว่าเราจะไม่คุยหรือติดต่อกับใคร ขอแค่ให้มันพ้นเรื่องที่ตอบไปแล้วก็พอ เอาเรื่องใหม่มาถามอยู่ในขอบเขตที่ตอบได้ก็จะตอบทุกครั้ง และก็ใช้วิธีนี้ในการดำเนินกระทู้มานานมากแล้ว เรียนทำความเข้าใจไว้อีกทีนะครับ
     
  10. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    อรุณสวัสดิ์ครับ วันนี้ใครมีอะไรก็ฝากPM ไว้ เดี๋ยวมาลงสาระเพิ่มให้ต่อนะ;)
     
  11. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    สัมปชัญญะ

    อรุณสวัสดิ์ครับ ก็จะมาต่อที่ข้อธรรมความรู้นำมาพูดคุยกันเช้าๆ ซึ่งวันนี้เราจะพูดกันถึงเรื่องของสัมปชัญญะ สิ่งที่ต้องเจริญคู่กับสติ หลายๆคนอาจจะรู้เพียงความหมายคร่าวๆหรือบางทีอาจไม่รู้ไปเลยเพราะไปให้น้ำหนักกับคำว่าสติมากกว่าเช่นสติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะก็เป็นอาการรู้ตัว รู้เพียงแค่ว่าต้องเจริญคู่กับสติเท่านั้น ก็มาศึกษาและทำความเข้าใจไปทีเดียวนะครับเพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยน่าสนใจจริงๆ


    เมื่อกล่าวถึงคำอะไร ก็ต้องมีความเข้าใจในคำนั้น ๆ ให้ชัดเจนจริง ๆ ก่อนอื่นก็ต้องกล่าวถึง สติ กับ สัมปชัญญะ ต่างก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม สติ เป็นสภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในกุศล เกิดร่วมกับจิตที่ดีงามทุกประเภทไม่มีเว้น ส่วนสัมปชัญญะ เป็นอีกชื่อหนึ่งของปัญญา เป็นความไม่หลง เป็นความรู้ถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง (ปัญญาเจตสิก) สติสัมปชัญญะ มักจะเป็นคำที่ใช้คู่กัน โดยจะใช้ในเรื่องของการอบรมเจริญภาวนา ๒ อย่าง คือ การอบรมเจริญความสงบของจิต ที่เป็นสมถภาวนา และ การอบรมปัญญาที่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ที่เป็นวิปัสสนาภาวนา หรือ สติปัฏฐาน เพราะตามความเป็นจริงแล้ว สติเกิด โดยไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ แต่เมื่อสัมปชัญญะเกิดก็จะต้องมีสติเกิดร่วมด้วยเสมอ ขณะนี้มีสภาพธรรมที่มีจริงเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอด เมื่ออาศัยเหตุที่สำคัญ คือ การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ก็จะเริ่มเข้าใจความเป็นจริงของสภาพธรรมยิ่งขึ้นว่า ทุกขณะมีแต่ธรรมเท่านั้น ไม่มีเราแทรกอยู่ในสภาพธรรมเหล่านั้นเลย เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็ย่อมจะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นได้โดยที่สติทำกิจระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง และปัญญาทำกิจรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น ๆ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริง ๆ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น สติเป็นสติ ไม่ใช่ปัญญา ปัญญาเป็นปัญญาไม่ใช่สติ

    ขณะที่เหม่อ ๆ ขณะนั้นไม่ได้เป็นไปในกุศลที่เป็นไปในเรื่องของทาน เรื่องของศีล เรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ขณะนั้น ไม่ใช่กุศล ไม่มีทั้งสติและไม่มีทั้งปัญญา จะกล่าวว่า มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ไม่ได้ เพราะจริง ๆ แล้วคำรู้สึกตัวทั่วพร้อมจริง ๆ ในทางพระพุทธศาสนา คือ สติสัมปชัญญะ ขณะที่ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง จะเห็นได้ว่าความเป็นจริงของสภาพธรรม ไม่เคยเปลี่ยน เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ใคร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้

    จากความเข้าใจเบื้องต้น ก็เข้าใจได้ว่า สติ เป็นสภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในกุศล จะไม่เกิดกับอกุศลเลย ถ้าไม่ได้เป็นกุศลอย่างหนึ่งอย่างใด ขณะนั้นก็ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย แม้ในขณะที่ใช้คำว่า ระลึกได้ว่าเก็บอะไรไว้ตรงไหน ระลึกถึงคำที่พูดได้ เป็นต้น ความเป็นจริงไม่เคยเปลี่ยน อาจจะเป็นไปกับด้วยอกุศลที่เป็นโลภะก็ได้ หรือ อาจะเป็น

    กุศลก็ได้ ถ้าเป็นเหตุให้กุศลเกิดขึ้นเป็นไปในกุศล ขึ้นอยู่กับสภาพจิตเป็นสำคัญความเกิดขึ้นเป็นไปของจิตขณะนั้นเป็นจริง ตรง ใคร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้

    สัมปชัญญะ 4 (ความรู้ตัว, ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ชัด, ความรู้ทั่วชัด, ความตระหนัก - clear comprehension; clarity of consciousness; awareness)
    1. สาตถกสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักในจุดหมาย คือ รู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งที่กระทำนั้นมีประโยชน์ตามความมุ่งหมายอย่างไรหรือไม่ หรือว่า อะไรควรเป็นจุดมุ่งหมายของการกระทำนั้น เช่น ผู้เจริญกรรมฐาน เมื่อจะไป ณ ที่ใดที่หนึ่ง มิใช่สักว่ารู้สึกหรือนึกขึ้นมาว่าจะไป ก็ไป แต่ตระหนักว่าเมื่อไปแล้ว จะได้ปีติสุขหรือความสงบใจ ช่วยให้เกิดความเจริญโดยธรรม จึงไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำสิ่งที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรืออำนวยประโยชน์ที่มุ่งหมาย - clear comprehension of purpose)
    2. สัปปายสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักในความเหมาะสมเกื้อกูล คือรู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งของนั้น การกระทำนั้น ที่ที่จะไปนั้น เหมาะกันกับตน เกื้อกูลแก่สุขภาพ แก่กิจ เอื้อต่อการสละละลดแห่งอกุศลธรรมและการเกิดขึ้นเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม จึงใช้ จึงทำ จึงไป หรือเลือกให้เหมาะ เช่น ภิกษุใช้จีวรที่เหมาะกับดินฟ้าอากาศและเหมาะกับภาวะของตนที่เป็นสมณะ ผู้เจริญกรรมฐานจะไปฟังธรรมอันมีประโยชน์ในที่ชุมนุมใหญ่ แต่รู้ว่ามีอารมณ์ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อกรรมฐาน ก็ไม่ไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำแต่สิ่งที่เหมาะสบายเอื้อต่อกาย จิต ชีวิต กิจ พื้นภูมิ และภาวะของตน - clear comprehension of suitability)
    3. โคจรสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน คือ รู้ตัวตระหนักชัดอยู่ตลอดเวลาถึงสิ่งที่เป็นกิจ หน้าที่ เป็นตัวงาน เป็นจุดของเรื่องที่ตนกระทำ ไม่ว่าจะไปไหนหรือทำอะไรอื่น ก็รู้ตระหนักอยู่ ไม่ปล่อยให้เลือนหายไป มิใช่ว่าพอทำอะไรอื่น หรือไปพบสิ่งอื่นเรื่องอื่น ก็เตลิดเพริดไปกับสิ่งนั้นเรื่องนั้น เป็นนกบินไม่กลับรัง โดยเฉพาะการไม่ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งรวมถึงการบำเพ็ญจิตภาวนาและปัญญาภาวนาในกิจกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวัน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะคุมกายและจิตไว้ให้อยู่ในกิจ ในประเด็น หรือแดนงานของตน ไม่ให้เขว เตลิด เลื่อนลอย หรือหลงลืมไปเสีย - clear comprehension of the domain)
    4. อสัมโมหสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวเนื้อหาสภาวะ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน คือเมื่อไปไหน ทำอะไร ก็รู้ตัวตระหนักชัดในการเคลื่อนไหว หรือในการกระทำนั้น และในสิ่งที่กระทำนั้น ไม่หลง ไม่สับสนเงอะงะฟั่นเฟือน เข้าใจล่วงตลอดไปถึงตัวสภาวะในการกระทำที่เป็นไปอยู่นั้น ว่าเป็นเพียงการประชุมกันขององค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ประสานหนุนเนื่องกันขึ้นมาให้ปรากฏ เป็นอย่างนั้น หรือสำเร็จกิจนั้นๆ รู้ทันสมมติ ไม่หลงสภาวะเช่นยึดเห็นเป็นตัวตน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนัก ในเรื่องราว เนื้อหา สาระ และสภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้องหรือกระทำอยู่นั้น ตามที่เป็นจริงโดยสมมติสัจจะ หรือตลอดถึงโดยปรมัตถสัจจะ มิใช่พรวดพราดทำไป หรือสักว่าทำ มิใช่ทำอย่างงมงายไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกหลอกให้ลุ่มหลงหรือเข้าใจผิดไปเสียด้วยความพร่ามัว หรือด้วยลักษณะอาการภายนอกที่ยั่วยุ หรือเย้ายวนเป็นต้น - clear comprehension of non-delusion, or of reality)

    คำว่า"สัมปชัญญะ"มีความหมาย 5 ประการ

    1. ความรู้ชอบโดยประการต่างๆ คือความรู้อย่างถูกต้อง โดย.....

    สภาวลักษณะ คือ ลักษณะพิเศษ หมายถึงลักษณะเฉพาะของรูป-นามแต่ละอย่าง เช่น ปฐวีธาตุ มีลักษณะแข็ง-อ่อน,อาโปธาตุ มีลักษณะไหล,เกาะกุม เป็นต้น

    สังขตลักษณะ คือ ลักษณะของสังขตธรรม หมายถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสังขตธรรม

    สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไปของรูป-นาม หมายถึง ไตรลักษณ์ อันได้แก่ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน

    2. ความรู้ชอบโดยพิเศษ คือความรู้อย่างถูกต้องโดยลักษณะทั้ง ๓ อย่างนั้น ซึ่งพิเศษกว่าความรู้โดยสมมติบัญญัติของคนทั่วไป

    3. ความรู้อย่างบริบูรณ์โดยประการต่างๆ คือ ความรู้อย่างถ้วนทั่วไม่ขาดไม่เกิน โดยลักษณะทั้ง 3 นั้น

    4. ความรู้เองโดยประการต่างๆ คือความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ไม่ใช่ความรู้จากการฟังผู้อื่น หรือนึกคิด ใคร่ครวญ

    5. ความรู้อย่างบริบูรณ์โดยพิเศษ คือความรู้อย่างถ้วนทั่ว ซึ่งพิเศษกว่าความรู้โดยสมมติบัญญัติ

    สมฺมา ปถาเรหิ อนิจฺจาทีนิ ชานาตีติ สมฺปชญฺญํ

    "ปัญญาที่รู้ไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น โดยประการต่างๆโดยชอบ ชื่อว่า สัมปชัญญะ"

    ความเป็นผู้รู้อย่างบริบูรณ์ โดยประการต่างๆ หรือโดยพิเศษอย่างยิ่ง ชื่อว่า"สัมปชัญญะ" คือ ปัญญาที่ดำเนินไปอย่างนั้น.

    คำว่า"สติสัมปชัญญะ"นั้น...สติมีหน้าที่อย่างไร?สัมปชัญญะมีหน้าที่อย่างไร?

    "สติ"มีหน้าที่เพียงแต่ระลึกรู้อยู่ในอารมณ์เท่านั้น.

    "สัมปชัญญะ"มีหน้าที่รู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นตัวปัญญา.
    296fdde1cd55120c40233d6fb1e12327_d25vj52.jpg
     
  12. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    พูดคุยวันหยุด

    มีคนถามเข้ามาแบบแนวเสนอความคิด ให้จัดการกระทู้ใหม่ งดการเล่นเกมส์หรือร่วมกิจกรรมไป เปิดให้คนเล่าประสบการณ์แล้วก็ไปขอเครื่องมงคลพ่ออาจารย์มาแจก ที่เป็นเฉพาะอย่าง แบบพิเศษเฉพาะกับคนที่เล่าประสบการณ์

    เราก็ตอบเค้าไปว่าคงไม่ดีมั๊ง ถ้าทำแบบนี้แต่ละคนจะได้ครั้งเดียว แล้วก็ของแจกมันจะเป็นตัวเดิมซ้ำๆ ที่สำคัญมันดูเหมือนปั่นกระทู้นะฟังดูแล้วไม่น่าทำ คนที่มาเล่าประสบการณ์ทั้งหลายเราจะแน่ใจหรอว่ามันประสบการณ์จริงเค้าไม่ได้แต่งเรื่องเพื่อมาขอรับของฟรี ถ้าเราทำแบบนั้นเราจะได้เรื่องเฟคเพื่อรอแจกของทุกครั้งเสียมากกว่า สู้ดำเนินกระทู้ไปตามปกติ ไม่ต้องปั่นต้องเชียร์อะไรขนาดนั้นแบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว

    ในส่วนเรื่องกิจกรรมหรือของแจกนั้นเราก็หาเกมส์หรือกิจกรรมมาให้ร่วมเล่นรับของกันตลอด ไม่เคยให้ขาดในทุกๆเดือน พอมีคนเเจ้งไลน์มาว่าเล่นเกมส์ๆเราก็จะเริ่มหาเกมส์ให้เค้าเล่นแล้ว กิจกรรมตรงนี้ก็บอกเค้าไปว่ามันน่าจะพอชดเชยกันได้ ผมคิดว่ามันน่าจะดีมากกว่าให้มานั่งเล่ารอของแจก ส่วนเรื่องประสบการณ์มันเป็นเรื่องของเค้า ถ้าเค้าอยากบอกเราก็ให้เค้าเล่าเอง อันไหนเรามองว่าพิมพ์เล่าหน้ากระทู้ได้เราก็จะนำมาพิมพ์ แต่ส่วนใหญ่หลังๆมีแต่เราเรื่องเสน่ห์ฟังดูแล้วไม่เจริญปัญญาขัดกับเรื่องเจริญสติที่เราย้ำอยู่เสมอ เป็นเพียงผลพลอยได้ของอานุภาพเครื่องมงคลเวลาจะเอามาเล่าต่อเราก็จะนิ่ง เรื่องบนเตียง เรื่องอะไรที่มันดูเว่อร์ๆเช่นไปเที่ยวปุ้ปได้สาวปั้ป เราก็จะพิจารณาไปว่ามันไม่น่าเล่าไม่น่าเอามาพิมพ์ ถ้าจะให้เอาเรื่องพวกนี้มาเล่ามาพิมพ์หน้ากระทู้เชื่อว่าวันนึง ในบางวันอาจมีถึงสิบคนสิบเรื่องไม่ซ้ำกัน

    และอีกหลายคนก็เจอแต่เรื่องแปลกๆจนเราคิดว่าถ้าเล่าคงจะมีคนตั้งคำถามกลับมาแน่เช่นเจอพระศิวะ เค้าว่าเป็นกายเนื้อเลยจากที่เอาพระสยมของพ่ออาจารย์ท่านไปบูชา เห็นมั๊ยมาพูดอย่างนี้ให้ใครฟังลอยๆคนเค้าก็มองว่าบ้ากายเนื้อพระศิวะนะ คือกายเนื้อไม่ใช่นิมิตหรืออะไรเลย กายเนื้อที่สัมผัสได้มองเห็นได้คุณเจอได้ยังไง แต่เค้าก็แค่บอกว่ามาแว้ปเหมือนท่านตั้งใจเดินผ่านไป บางคนบูชาเครื่องมงคลไปบอกว่าสมาธิพัฒนารวดเร็วจนสื่อกับจิตของพระปิณโฑลภารทวาชะได้ก็มี นั่นประไรเล่าปุ้ปเราสะดุ้งเลยพระอรหันต์ยุคพุทธกาลแถมเป็นเอตทัคคะด้วย ถึงจะมีตำนานว่าท่านรับพุทธดำรัสไม่เข้านิพพานแต่จะคอยอยู่ดูแลพระศาสนาไปจนครบห้าพันปี เป็นต้นกำเนิดพระของสายโลกอุดรเลยก็ว่าได้

    ก็เอาเถอะคือเรื่องแบบนี้ถ้าเอามาเล่ามาพูดใครจะเชื่อ เพราะเค้าไม่เจอเหมือนคนที่เจอที่เห็น คนที่เค้าเจอนี่ก็ปักใจจนเรากลัวจะกลายเป็นงมงายไปเลย พอเจอแล้วก็มาถามเราว่าพระปิณโฑลภารทวาชะคือใครเรายังสะดุ้งเลย เพราะพ่ออาจารย์ท่านพูดถึงเสมอเรื่องพระปิณโฑลดุจว่าท่านเคยเจอกันหรือรับการสั่งสอนกันมา เรียกว่าเป็นครูใหญ่สายโลกอุดรของท่านก็ไม่ผิด แต่เหนือเหตุผลคือไม่คิดว่าจะมีคนเจอเพราะท่านไม่ได้ทำอะไรเกี่ยวกับพระปิณโฑลอย่างเป็นเอกเทศน์ หากแต่เชิญครูเวลาเสกของเท่านั้น ตรงนี้ไงขนาดเรายังไม่เคยเจอหรือคิดว่าจะได้เจอแต่ก็มีคนอื่นเจอ ก็นับว่าแปลกดี เรื่องเกี่ยวกับบารมีหรือครูจะลงโปรดใครเฉพาะตัวมันเป้นเรื่องของจิตของวาสนา เครื่องมงคลเป็นเพียงแค่สื่อ แต่จิตตัวเราจะสื่อไปถึงท่านมั๊ยก็อีกเ
    รื่อง เพราะจิตคนทุกคนไม่เสมอกัน

    จะให้เล่นเกมส์เล่าประสบการณ์รับของ ใครมีประสบการณ์มาเล่าถึงจะแจก ถึงจะให้สิทธิพิเศษแบบนั้นมองแล้วมันไม่น่าทำ เพราะเราถือคติว่าประสบการณ์มันเป็นเรื่องเฉพาะคน จะเป็นไปได้อย่างไรที่คนร้อยคนสมมตินะ คนร้อยคนจะเจอเรื่องเดียวกันประสบการณ์เหมือนกันทุกคน เอาตามที่ยกตัวอย่างไป มีคนเจอครูพระปิณโฑลภารทวาชะของท่านแล้วคนอื่นต้องเจอเหมือนกันทุกคนมั๊ย ไม่ต้องเอาไกลครูพระปิณโฑลผมยังไม่เคยได้สัมผัสบารมีท่านเลย เห็นมั๊ยมันเป็นไปไม่ได้ ทุกคนก็จะเจอต่างเรื่องราว ต่างสังคมกันไป ถ้าเราหยิบมาเล่ามาก มันจะดูเหมือนสร้างแรงบันดาลใจให้เค้าต้องการเจอเหมือนกับที่คนอื่นเจอ ให้เค้าต้องการได้รับเหมือนที่คนอื่นรับ ให้เค้าอยากเจอ อยากเสพย์ อยากได้ของ ไม่ได้เข้ามาเพราะศรัทธา แต่จะมาเพราะความหวังที่สูงลิบ

    ก็ยืนยันเหมือนเดิมว่าไม่เอาดีกว่า ที่จริงก็อยากทำนะแต่มันดูเฟคๆไป คล้ายสร้างกระแสหรือปั่นด้วยวิธีที่ครูบาอาจารย์หลายรูปเคยบอกว่าเป็นการตลาดและท่านทั้งหลายก็ทำกันจริงๆจังๆ มาคิดดูก็ไม่รู้จะทำแบบนั้นทำไมเอาแบบเดิมดีกว่า คนเก่าคนใหม่หรือใครก็ได้ คือกระทู้นี้เราให้เป็นสาธารณะเลยเวลาเล่นเกมส์หรือมีกิจกรรม ถ้าเอาแบบที่พี่คนนี้เสนอมาใครที่เค้าไม่มีของใช้เค้าจะไปมีประสบการณ์ได้ยังไงในเมื่อของเค้ายังไม่มีจะใช้เลย คิดถึงตรงนี้ก็เลยอยากทำกระทู้แจกแบบมีกิจกรรมให้ร่วมเล่นแบบนี้ต่อไปแทนมากกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2017
  13. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    ตอบPM ครบนะครับ เดี๋ยวจะปรึกษาท่านดูก่อนเผื่อมีกิจกรรมพิเศษอะไรมาให้เล่นกัน ก็ติดตามๆกันไว้;)
     
  14. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    เจริญสติ

    อรุณสวัสดิ์ครับ เคยพูดคุยกันหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องการเจริญสติ วันนี้ก็จะนำวิธีเจริญสติแบบง่ายๆมาให้ศึกษากัน ใครถูกจริตกับวิธีไหนก็ลองปฏิบัติกันตามนั้นนะครับ
    ;)

    เทคนิคที่ ๑
    ผู้ฝึกใหม่อาจสับสน ไม่รู้ว่าจะ “รู้” อารมณ์ ไหนดี ก็จงประคองสติ หรือรู้สึกอยู่กับอาการของลมหายใจเข้าออก ซึ่งกระทบที่ปลายจมูก หมายความว่าไม่ได้ให้รู้ปลายจมูก หรือรู้ลมหายใจ แต่ให้รู้ความรู้สึกที่ลมกระทบกับปลายจมูกเท่านั้น เพราะลมหายใจเป็นตัวช่วยสร้าง “ความรู้สึกตัว” ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งจะหยาบหรือละเอียด จะชัด
    หรือไม่ชัด จะยาวหรือสั้นไม่สำคัญทั้งนั้น เพราะ ลมหายใจเข้าออกมีอยู่ตลอดเวลา เป็นปัจจุบัน อารมณ์เสมอ “แค่รู้” ตามที่มันเป็นเท่านั้น ลมหาย ใจจึงเป็นอารมณ์หลัก ส่วนอารมณ์อื่นๆ จัดว่า เป็นอารมณ์รอง

    เทคนิคที่ ๒
    ผู้ปฏิบัติใหม่ ควรเริ่มจากการรู้อาการของลมหายใจที่กระทบกับปลายจมูกอย่างเป็น ธรรมชาติที่สุด ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิดฯลฯอยู่ก็ตาม และรู้เท่าที่จะรู้ได้ อย่าใจ ร้อนวู่วาม อย่าตั้งใจมากเกินไป และระวังอย่าตั้งใจ ที่จะไม่ตั้งใจด้วย ฝึกใหม่ๆ รู้ได้น้อยก็ไม่เป็นไร เมื่อ“เพียรรู้”อยู่บ่อยๆ ใจจะเริ่มคุ้นชินกับการ ระลึกรู้นั้นเอง

    เทคนิคที่ ๓
    ผู้ปฏิบัติที่มีประสบการณ์การปฏิบัติอย่างอื่นมาก่อน แต่ไม่มีอะไรก้าวหน้า ลองหันมาใช้วิธี การอย่างนี้ดู แต่อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาใช้หลาย วิธีในเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้สับสนไป เปล่าๆ อย่างน้อยควรทดลองใช้วิธีนี้สัก ๑ เดือน ก่อน อย่ารีบถอดใจง่ายนัก ถ้าพยายามแล้วไม่มี ผลอะไรเกิดขึ้น ก็ไม่ได้เสียเวลาทำงาน เวลาอยู่ กับครอบครัวหรือเวลาเรียนแม้แต่น้อย

    เทคนิคที่ ๔
    หากผู้ปฏิบัติเกิดอาการแปลกๆ อย่างที่ ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ขนลุก, คันยุบยับตาม หน้าตา หรือลำตัวเหมือนมีแมลงมาไต่, ตัวหนัก, ตัวเบา, ตัวโยก, ตัวหมุน,ตัวลอย,ตัวสั้น,ตัวยาว, แขนขาหายไปฯลฯ ก็อย่าตกใจ เป็นเพียงอาการ ของสมาธิและปีติเท่านั้น แค่กลับไปรู้ลมหายใจ ก็พอแล้ว อย่าคล้อยตามคืออยากให้อาการนั้น อยู่นานๆ หรือเพ่งบังคับให้หายไปโดยเด็ดขาด (เพราะเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ อาการนั้นจะอยู่ หรือไปก็เป็นเรื่องของมัน) เมื่ออุปาทานปรุง อาการเหล่านั้นมาหลอกใจไม่ได้ ก็จะเปลี่ยน ของเล่นใหม่ มาให ้“รู้” เอง

    เทคนิคที่ ๕
    หากมีทุกขเวทนาทางกายเกิดขึ้น อย่า พยายามต่อสู้หรือเอาชนะโดยเด็ดขาด เพราะนั่น คือการทำตามอำนาจของโทสะ ก็จะเท่ากับเอา โคลนไปล้างโคลน ยิ่งทำก็ยิ่งทุกข์ไปเปล่าๆ เพียง แค่ “รู้อย่างอ่อนโยน” สบายๆ เท่านั้น แล้วรีบย้าย จิตกลับมา“รู้”ที่ลมหายใจต่อไป คนที่มีทุกขเวทนา ต้องถือว่าโชคดีเพราะ“รู้”ได้ง่าย ถ้าทุกขเวทนา มีกำลังมาก โมหะคือ ความง่วง ความฟุ้งซ่าน จะครอบงำไม่ได้ ถ้าไม่เห็นทุกข์ จะรู้จักทุกข์ ได้อย่างไร เมื่อไม่รู้จักทุกข์ ก็ไม่สามารถจะหาทาง ออกจากทุกข์ได้ การเรียนรู้จากทุกข์นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจึงจะเห็นธรรมได้โดยง่าย

    เทคนิคที่ ๖
    ในขณะที่รู้ลมหายใจอย่าลืมสังเกตใจ ตนเองด้วยว่าเมื่อมีสภาวธรรม (คือสิ่งที่เป็นเอง อันเกิดจากวิบากกรรมเก่า ที่ส่งผลให้เกิดเป็น กายใจอยู่นี้) ใดๆ เกิดขึ้น ใจเป็นอย่างไร จะสุขหรือ ทุกข์ จะชอบหรือชัง ก็ควรทำหน้าที่ “แค่รู้”เท่านั้น อย่าได้ยึดติดอยู่กับความรู้สึกนั้นเลย

    เทคนิคที่ ๗
    ผู้ปฏิบัติบางคนอาจมีนิมิต คือภาพที่เห็น ได้ทางใจเช่นสี, แสง, ภาพงดงาม, น่ากลัว ส่วนมาก เป็นเพียงจินตนาการ ใจสร้างภาพขึ้นมาเองตาม กำลังสมาธิ ถ้าสมาธิมีกำลังภาพก็ชัดเจน ถ้าสมาธิ อ่อนภาพก็ไม่ชัด อย่าติดอยู่โดยเด็ดขาด เพียงทำ หน้าที่“รู้ว่าเห็น”เท่านั้น แล้วรีบกลับมารู้ลมหาย ใจต่อไปทันที
    ส่วนใครที่ไม่มีนิมิตก็อย่าอยากเห็น เหมือนคนอื่นเลย แต่ละคนไม่เหมือนกัน จะมี หรือไม่มีก็มีค่าเท่ากัน การเห็นนิมิตแสดงว่าส่งจิต ออกนอกไปแล้ว และสติมีกำลังอ่อนกว่าสมาธิ การปฏิบัตินั้นเพื่อให้เห็น กายใจตามความเป็นจริง มิใช่เพื่อให้เห็นนรกสวรรค์ใดๆ ทั้งสิ้น

    เทคนิคที่ ๘
    สิ่งที่ต้องระวังคือ ความสุขและความสงบ เพราะเมื่อพบสุขหรือความสงบแล้ว ใจไม่ค่อย ดิ้นรนออกจากสุขสงบนั้น ติดจมแช่อยู่ ความสุข และความสงบจึงกลายเป็นกับดักที่น่ากลัวที่สุด เพราะติดสุขแก้ยากยิ่งกว่าติดทุกข์เสียอีก นัก
    ปฏิบัติต้องหมั่นสังเกตใจตนเองให้ดี“สุขก็รู้ว่าสุข” เท่านั้น

    เทคนิคที่ ๙
    สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือรู้ปัจจุบันอารมณ์ตามความเป็นจริง อย่าดัดแปลงแก้ไขอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น และต้องมีความ “เพียรรู้อยู่เนืองๆ” ขยันก็รู้ ขี้เกียจก็รู้ สงบก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ เบื่อก็รู้ ไม่เบื่อก็รู้ฯลฯ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะฯลฯ โดยไม่ จำเป็นต้องมีคำบริกรรม เช่น พุทโธ สัมมาอรหัง พองหนอ ยุบหนอฯลฯใดๆ ทั้งสิ้น (คนที่คุ้นกับ การใช้คำบริกรรม อาจเผลอบริกรรมไปบ้างก็ช่าง เถิด พอ“รู้”บ่อยๆเข้า ก็จะละคำบริกรรมได้เอง) เป็นการฝึกฝืนกิเลสในใจตนเอง ไม่ให้ปล่อยไป ตามอารมณ์ ตกเป็นทาสของอารมณ์ ทาสของ ความคิด หรือทาสของความอยากที่เกิดขึ้น

    เทคนิคที่ ๑๐
    ในขณะที่เดินทำงานอยู่ ควรรู้กายโดยรวม ทั้งหมด รู้แค่เพียงอาการที่กายกำลังเคลื่อนไหว อยู่เท่านั้น กายส่วนไหนชัดก็ย้ายรู้เรื่อยไป เช่นคอ สะโพก ต้นขา ไหล่ น่อง เท้า เป็นต้น ด้วยความ รู้สึกสบายๆ รู้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ประคอง ไม่เพ่ง ไม่ควรรู้เฉพาะเท้าเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เพ่ง โดยไม่ตั้งใจ และไม่ต้องมีคำบริกรรมใดๆ ทั้งสิ้น
    แต่ถ้าใจฟุ้งซ่านมาก ก็ลองรู้เฉพาะส่วน เช่นเท้าที่กระทบพื้น หรือใส่คำบริกรรมไปด้วย ก็ได้ เช่นขวาพุท ซ้ายโธ หรือขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอเป็นต้น

    เทคนิคที่ ๑๑
    ในขณะที่ทำงาน ควรให้สติรู้อยู่กับงาน เช่นกำลังหยิบเอกสาร สติก็รู้อยู่กับมือที่หยิบ เอกสารนั้น, กำลังคุยกับเพื่อนร่วมงาน ก็รู้ว่า กำลังคุย, กำลังกวาดบ้าน, ล้างจาน, อาบน้ำฯลฯ ก็รู้อยู่กับอาการทางกายที่กำลังกวาด กำลังล้างจาน กำลังฟอกสบู่เป็นต้น อย่าลืมสังเกตใจไปด้วยว่า หงุดหงิด โกรธ รำคาญหรือไม่ ถ้าสามารถรู้กาย ที่เคลื่อนอยู่กับลมหายใจไปพร้อมกัน จะช่วย ทำให้ลดการเผลอเพ่งไปได้

    เทคนิคที่ ๑๒
    หากมีอาการของราคะเช่นคิดถึงแฟน ให้ ระลึกรู้ไปที่อาการของใจที่ห่วงหาอาวรณ์นั้น อย่านึกถึงหน้าแฟนโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ ราคะมีกำลังยิ่งขึ้น แต่ถ้านึกอยู่ก็ขอให้ “รู้ว่านึก” เท่านั้น สำหรับมือใหม่เป็นเรื่องยากที่จะจัดการกับ ราคะ หากรู้แล้วจิตคล้อยตามราคะทุกที ก็ลอง กลั้นลมหายใจแล้วค่อยผ่อนออกมา หรือย้ายไปรู้ อารมณ์อื่นๆ ก่อน เช่นเสียงภายนอกเป็นต้น
    หรือมีอาการของโทสะเกิดขึ้นเช่นโกรธ กลัว กลุ้มใจ น้อยใจ เสียใจ หงุดหงิด รำคาญ ให้รู้ไปที่ใจที่กำลังขุ่นนั้นเบาๆ วิธีการทำคล้ายกับ ราคะนั่นเอง
    ราคะกับโทสะเป็นกิเลสที่มีอารมณ์หยาบ จึงช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกตัวได้ง่าย

    เทคนิคที่ ๑๓
    เมื่อปฏิบัติไปได้ระดับหนึ่ง อาจมีอาการ ทางกายร่วมด้วย เช่นท้องเสีย ปวดหัว เป็นไข้ ไม่ สบายฯลฯ หรือเคยป่วยด้วยโรคบางอย่างมาก่อน แต่หายไปนานแล้ว จู่ๆอาการป่วยนั้นก็หวนกลับ มาดื้อๆ หากทานยาแล้วไม่หาย หรือตรวจหา สาเหตุไม่พบ ขอให้รู้ไว้เถิดว่านี่คือโรคอุปาทาน แค่รู้ไปที่ใจซึ่งกำลังทุรนทุรายหวาดกลัวอยู่นั้น อาการของโรคอุปาทานก็จะดับไปต่อหน้าต่อตาเอง

    เทคนิคที่ ๑๔
    หากมีเวลาว่าง เช่นวันเสาร์ อาทิตย์ ก็ควร เดินจงกรม นั่งสมาธิบ้าง โดยไม่จำเป็นต้องกำหนด เวลา เช่นเดินเหนื่อยแล้วก็นั่ง นั่งเหนื่อยแล้วก็ลุก ขึ้นเดิน แต่ควรให้นานพอสมควรอย่างน้อย ๒๐ นาที โดยการเดินหรือนั่งสบายๆ เหมือนกำลัง นั่งชมวิวหรือเดินเล่นอยู่อย่างมีสติ อย่าคิดว่า กำลังปฏิบัติ โยนความเป็นนักปฏิบัติทิ้งไปบ้าง จะได้ไม่เครียดมากนัก แต่ก็ไม่ใช่เสแสร้งแกล้งทำหลอกตนเองขอให้รู้เท่าทันด้วย

    เทคนิคที่ ๑๕
    ก่อนหลับ แทนที่จะปล่อยให้ใจฟุ้งซ่านไป อย่างไร้จุดหมาย ทดลองเอาสติไป “รู้” อยู่กับ ลมหายใจหรือท้องพองยุบ รู้เบาๆ สบายๆ เมื่อรู้สึก ตัวว่าง่วงก็ปล่อยให้หลับไป ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า หลับไปตอนหายใจเข้าหรือหายใจออก และเมื่อ รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาตอนเช้า ก็ให้“รู้”ที่ลมหายใจก่อนที่จะทำภารกิจอื่นๆ

    เทคนิคที่ ๑๖
    การเจริญสตินั้น มิใช่ทำไปนานๆ แล้ว จะสุขหรือสงบมากกว่าเดิม แต่ยิ่งทำให้เห็นทุกข์ ชัดเจนขึ้น สุขและทุกข์จะสั้นและเบาลงกว่าเดิม ใจจะไม่ยึดทั้งสุขและทุกข์ จนปล่อยวางเป็นอิสระ มากขึ้นเรื่อยไป ลองสังเกตใจตอนนี้ กับใจที่ถูก ฝึกแล้วอีก ๓ เดือนข้างหน้า จะเห็นความแตกต่าง ชัดเจน คือใจจะเป็นอิสระจากอารมณ์มากยิ่งขึ้น

    เทคนิคที่ ๑๗
    จงอย่าคาดหวังกะเกณฑ์ว่าปฏิบัติแล้ว จะได้อะไร จะเป็นอย่างไร เพราะหากทำอย่างนั้น สภาวธรรมจะดำเนินต่อไปไม่ได้ ทุกสิ่งล้วน ตกอยู่ในกฎเกณฑ์ของไตรลักษณ์ เกิดดับอยู่ ตลอดเวลา จงสร้างเหตุ คือ“รู้เนืองๆ” ได้แก่รู้บ้าง ไม่รู้บ้างเท่านั้น ไม่ใช่รู้อย่างต่อเนื่องหรือรู้ ตลอดเวลา ซึ่งไม่มีใครทำได้ เพราะความรู้นั้น เกิดแล้วก็ดับไปอยู่ทุกขณะเช่นกัน
    5_Lord_Buddha.jpg
     
  15. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    แจ้งการส่งEMS

    พี่ฐิตกาญจน์ ER 5707 4461 9 TH

    พี่สายเมธี ER 5707 4462 2 TH

    พี่ปฏิภาณ ER 5707 4463 6 TH
     
  16. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    ลอยสัพเคราะห์

    อรุณสวัสดิ์ครับ วันนี้ก็จะมาลงสาระกันต่อ ซึ่งเป็นบทความเรื่องวิชาลอยสัพเคราะห์ของท่านอาจารย์น.นาคราช ก็คิดว่าน่าสนใจดีลองอ่านพร้อมสังเกตุตัวเองและเรียนรู้กันนะครับ


    วิชานี้ เป็นวิธี แก้เคราะห์ แก้กรรม ที่ดีมาก วิชาหนึ่ง ถือว่าเป็นวิชา ที่พิเศษ ที่สุด ซึ่งได้รับความกรุณา จากท่านอาจารย์ น.นาคราช อาจารย์ ผู้ทรงวิทยาคุณ ค่อนข้างสูง คนหนึ่งในประเทศไทย แนะนำถ่าย ทอดมา เป็นเวช วิทยาทานเพื่อท่าน ทั้งหลาย จะได้นำไป ใช้แก้เคราะห์แก้ กรรมให้ แก่ตนเอง โดยไม่ต้อง ไปพึ่งร่าง ทรงองค์เจ้า หรือหมอผี ให้ยุ่งยากเสียเงิน เสียทอง โดยไม่ใช้เหตุ แต่ก่อนแก้ ต้องรู้เหตุที่ทำให้เกิดเคราะห์เกิดกรรมเสียก่อน มันมาจากไหนและคืออะไรโดนแล้วมันมีลักษณะเป็นเช่นไร เหตุการณ์ใดที่ทำให้เกิดกรรมเกิดเคราะห์กับเรา โบราณท่านกล่าวไว้ว่า การที่เราได้ไปคบหาสมาคมกับบุคคลบางประเภทย่อมทำให้เราเกิดอุบาทว์ ความอัปรีย์ เสนียดจัญไร หรือธรณีสารเมื่อมาโดนตัวเราเข้าก็ทำให้เราหากินไม่ขึ้นเกิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดีดังเช่น ครอบครัวแตกแยก เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ทำมาหากินไม่ขึ้นไม่เจริญก้าวหน้าลักษณะคนที่เรียกว่าโดน อุบาทว์ อัปรีย์ เสนียดจัญไร และต้องธรณีสารนั้นมีดังนี้คือ

    ๑. มนุษย์อุบาทว์ อัปรีย์ เสนียดจัญไร ได้แก่บุคคลประเภทอัปมงคล ประพฤติตนต่ำช้า เลวทราม พูดจาหยาบโลน ชอบนินทา ใส่ร้ายผู้อื่นอยู่เสมอ ๆ ชอบยกตนข่มท่านไม่คารวะผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ เป็นคนอกตัญญูลบหลู่ดูถูกผู้มีพระคุณ ชอบเอาของต่ำส่วนตัวเช่น กางเกงใน หรือผ้าอนามัย ไว้ในที่อันที่ไม่เหมาะสมหรือนำผ้าถุง ถุงเท้า ตากไว้บนราวสูงตรงกับทางเดินภายในบ้าน เดินรอดไปรอดมา เสพกามวิปริต ผิดมนุษย์ธรรมดา มั่วกามรมณ์ ชอบเสพเมถุนไม่เลือกสถานที่ เรียกว่า ต้องกาลกิณี

    ฉะนั้นผู้หญิงหรือชายใดได้เสพกามกับบุคคลประเภทนี้เรียกว่าต้องอุบาทว์ อัปรีย์ เสนียดจัญไร ชีวิตจะอับเฉาประสบอุปสรรคมาก

    ๒. มนุษย์ต้องธรณีสารได้แก่ บุคคลมีลักษณะง่วงซึม และง่วงเหงาหาวนอนอยู่เสมอ นอนกรนเสียงดัง กัดฟัน น้ำลายไหลยืดไม่รู้ตัว มีกลิ่นตัวแรง เมื่อเสพกามกิจครั้งใดน้ำกามจะมีกลิ่นเหม็นอย่างแรง ทำให้คู้ครองเบื่อหน่ายเรียกว่าต้องธรณีสาร

    ฉะนั้นท่านใดเคยร่วมเสพกามกับบุคคลประเภทนี้หรือตัวเราเองมีอาการดังกล่าวต้องแก้ไขดังต่อไปนี้
    ๑. กระทงใบตอง ๑ ใบ

    ๒. ตัดเล็บมือเล็บเท้าทั้ง ๑๐ เล็บ อย่างละหน่อย

    ๓. ตัดผมนิดหน่อย

    ๔. เอาผ้าขาวหรือกระดาษทิชชู่เช็ดหน้า เช็ดขี้ตา และน้ำมูก เอาของทั้งหมดใส่ในกระทงแล้วจุดธูป ๓๒ ดอก จากนั้น

    ว่า นะโม ๓ จบ

    ว่าคาถา “ ปาสุอุชา “ ( ๒ จบ )

    แล้วกล่าวคำอธิษฐานดังนี้
    ตนตัวแห่งลูกนี้มีชื่อว่านาย นาง นางสาว................นามสกุล.....................เกิดวันที่........เดือน................ปี...........พ.ศ..................อายุ.............อยู่บ้านเลขที่.....................ตำบล......................อำเภอ.................จังหวัด...........................จะขอทำพิธีลอยสัพพระเคราะห์ด่วน ต่อองค์แม่พระคงคาขอได้โปรดเมตตารับทราบและน้ำส่งยังสถานที่อันควรด้วยเทอญ

    จากนั้นให้ปักธูปลงที่ริมตลิ่งแล้วจึงนำกระทงและของทั้งหมดลอยลงน้ำไป เมื่อลอยแล้ว ให้หันหลังกลับเดินจากไปทันทีห้ามหันกลับมามองอีก การลอยต้องลอยในน้ำไหลเท่านั้นน้ำนิ่งในบึงในบ่อไม่ได้เด็ดขาด ต่อไปให้ทำน้ำมนต์อาบ ๓ วันติดต่อกัน

    พิธีทำน้ำมนต์

    ๑. จุดธูป ๓๒ ดอก ต่อหน้าพระบูชา
    ๒. ว่า นะโม ๓ จบ
    ๓. แล้วว่าคาถาดังนี้

    พุทธัง อัตถันจะ ปัจจุทธะรามิ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
    ธัมมัง อัตถันจะ ปัจจุทธะรามิ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
    สังฆัง อัตถันจะ ปัจจุทธะรามิ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ

    โองการพินทุนาถัง อุปปันนังพรหมาสะหะปะฏินามะอาทิกัปเป สุอาคะโต ปัจจะปะถุมัง ทิสสวา นะโมพุทธายะวันทะนัง สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง สิทธิลาโภนิรันตะรัง สัพพะกัมมัง ประสิทธิเม สัพพะสิเนหา จะปูชิโต สัพพะโกธัง วินาสะสันตุ ปิยามะนาโป เมโลกัสสะมิง สัพพะสุขโข ลาโภภัญปัญ ภะวันตุเม

    การทำน้ำมนต์นี้จะว่ากี่จบก็ได้ ยิ่งมากยิ่งดีแล้วแต่เรา ขยันทำอาบบ่อยๆจะเป็นศิริมงคลแก่ตนมาก อย่างน้อยควรทำอาบให้ได้ ๓ ครั้ง

    หลังจากนั้นให้จัดอาหารคาวหวาน ๑ ปิ่นโตพร้อมน้ำ ๑ ขวด ถวายพระสงฆ์เช้าหรือเพลแล้วกรวดน้ำด้วยบทอิมินาบทใหญ่

    แล้วหลังจากนั้นต้องปล่อยนก ๑ คู่ เต่า ๑ คู่ แล้วชีวิตจะดีขึ้น อาจารย์ท่านกล่าวคำรับรองว่าชีวิตจะค่อยๆดีขึ้น 100% แน่นอน ตำรานี้เหมาะกับอาชีพทำเสริมสวยเป็นอย่างมากเพราะต้องโดนหัวและโดนตัวคนเยอะ มีโอกาสโดนอุบาทว์อัปรีย์เสนียดจัญไรและต้องธรณีสารได้ง่าย สังเกตดูเถอะ คนที่ทำอาชีพทำผมเสริมสวยมักมีปัญหาครอบครัว ชีวิตคู่ล้มเหลว และส่วนใหญ่จะเป็นเมียน้อยเขา เพราะโดนอาถรรพณ์ดังกล่าว ขอให้ลองทำกันเถอะชีวิตจะได้ดีขึ้นใครได้พบตำรานี้ถือว่าเป็นโชคอย่างยิ่งแล


    296fdde1cd55120c40233d6fb1e12327_d25vj52.jpg
     
  17. ปฏิภาณ บดส

    ปฏิภาณ บดส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +132
    ได้รับน้ำมันแล้วครับ
     
  18. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    แจ้งการส่ง EMS

    พี่ชไมพร ER 5708 0248 9 TH

    พี่ศิระ ER 5708 0249 2 TH
     
  19. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    พอดีมีคำถามน่าสนใจเข้ามา เป็นคำถามแปลกๆเปิดหูเปิดตาคนฟังจริงๆ เดี๋ยวพรุ่งนี้นำมาเล่าให้ฟังกัน ติดตามๆ;)
     
  20. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,475
    ค่าพลัง:
    +17,873
    กาฝาก

    จากที่เกริ่นไว้เมื่อวาน วันนี้ก็จะนำมาพูดคุยกัน ต้องบอกก่อนว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องของจิตวิญญาณนะครับ ซึ่งจากที่มีคนถามมาพ่ออาจารย์ท่านก็รับรองว่า ในยุคนี้มันมีมากขึ้นจนหลายๆคนเริ่มที่จะแยกแยะไม่ออก

    กาฝากที่พูดถึงนี้ท่านว่ามีตั้งแต่ผียันเทวดาชั้นสูงหรือแม้แต่มารในภพปรนิมก็ยังมี ส่วนใหญ่จิตวิญญาณเหล่านี้จะเกาะอยู่กับเจ้าเข้าทรงต่างๆ ตลอดจนพระสงฆ์ที่มีบารมีมากๆ ซึ่งทีแรกที่ท่านบอกเราก็นึกว่าหูเราเพี้ยนเพราะถ้ากับร่างทรงนี่ยังพอเข้าใจ แต่กับพระสงฆ์ล่ะคืออะไร

    อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องพูดและทำความเข้าใจกันยาวจริงๆ เพราะมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พ่ออาจารย์ท่านถึงให้เน้นการหมั่นสวดมนต์เจริญกรรมฐานและสร้างบารมีให้เต็มรูปแบบของใครของมัน โดยไม่ต้องเอาตัวไปยึดติดกับใครกับอะไรทั้งหมด

    ท่านว่ากาฝากประเภทนี้จะมาในรูปแบบของระบบบุญ ทั้งเจ้าเข้าทรงทั้งพระสงฆ์องค์เจ้าโดนเหมือนกันหมด สิ่งที่เค้าจะได้จากการลงมาแฝงในภพมนุษย์นั้นก็คือได้บารมี ได้บุญ เลื่อนภพเลื่อนภูมิได้

    ท่านว่านี่สำคัญเลย มารก็อยากจะเลื่อนไปอยู่พิภพดุสิต เทวดาก็อยากจะเลื่อนไปพิภพดุสิต ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าใครก็อยากเลื่อนไปภูมิพระโพธิสัตว์ทั้งนั้นไปบำเพ็ญรอขึ้นปัญจสุทธาวาสมหาพรหม หรือให้จบกิจในภูมิพิภพดุสิตยิ่งดี แม้ไม่ใช่ปรารถนาพุทธภูมิเป็นพระโพธิสัตว์แต่หากมีบารมีมากก็สามารถอยู่ในภูมินี้ได้เช่นกัน จิตวิญญาณเหล่านั้นก็เลยมาแฝงอยู่กับมนุษย์ ใช้อำนาจบารมีของตนรวมพล รวบรวมกำลังหรือทรัพยากร คนที่เคยคบค้าสมาคมหรือรู้จักกับตนตั้งแต่ชาติปางก่อน และเกิดทันกันในชาตินี้ ให้อยากไปมาหาสู่ อยากทำบุญทำกุศลด้วยโดยมีตัวเองเป็นแม่งาน เรียกว่าให้เค้ามาทำบุญกับเรา ทั้งเจ้าเข้าทรงหรือภิกษุสงฆ์ก็ตาม

    บางคนก็ดีใจคิดว่าได้เทวดาอุปถัมภ์ ได้เทวดามาเป็นครูบาอาจารย์เพราะตนมีบารมีมาก บำเพ็ญมาดี เทวดายังต้องมาคอยช่วยเหลือ ก็สร้างกันไป พระอุโบสถ พระเจดีย์ กำแพงแก้ว ขยายกันออกไป ทำเสียจนงดงาม วัดวาอารมใหญ่โต วิจิตรพิศดาร ทำจนมีวัดสาขา ทำจนรากฐานของพระพุทธศาสนาเข้มแข็ง อานิสงค์ผลบุญก็บังเกิดขึ้นเลื่อนภพเลื่อนภูมิให้กับเทพยดาเจ้าต่างๆองค์นั้นที่ยังติดกรรม หรือมีเหตุที่ต้องให้ลงมาบำเพ็ญเพียรสร้างบุญ เรียกว่าเลื่อนได้เร็วสมใจปรารถนาทีเดียว จนต้องมีคนสงสัยบ้างล่ะ ว่าทำเช่นนี้เทพยดาทั้งหลายไม่บาปหรอ เทพเจ้าพึงใจในจตุรบายเช่นนั้นหรือ ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าเจตนาของเทวดานั้นเป็นกุศลจริงๆ ใสสะอาดไม่มีอะไรแอบแฝงแน่นอน เค้าก็เหมือนมนุษย์เราอยากสร้างบารมีอยากทำเพื่อพระศาสนา แต่คนที่เสื่อมจิตเกิดกิเลสเกิดความเข้าใจผิดหลงคิดว่าทุกสิ่งเกิดด้วยอำนาจบารมีของเราก็คือหุ่นเชิดในภพมนุษย์เสียมากกว่า เพราะเค้าไม่เจริญสติ ตามจิตตามความคิดตัวเองไม่ทัน ก็ได้แต่เสื่อมและตกลงไป

    ต้องทำความเข้าใจกันให้มาก มองให้ทะลุเพราะกาฝากนั้นอย่างไรก็ได้ชื่อว่ากาฝาก สิ่งที่ได้มาทั้งหลาย ได้มานั้นก็ด้วยบารมีของเค้า ไม่ใช่ของเรา ตัวพระภิกษุเหล่านั้นตลอดจนเจ้าทรงหมอผีต่างๆเมื่อความสบายและเทคโนโลยีมาถึงตัวก็จะแปรเปลี่ยนไปเป็นคนละคน วัตรปฏิบัติที่เคยทำ กิจที่เคยเจริญ กองกรรมฐานทั้งหลายก็ตกไป ญาณก็ตก ณานก็เสื่อม บารมีก็ถดถอย มีแต่จะนับวันลดชั้นลดภูมิของตนเองไปเรื่อยๆ เพราะเขาไปเข้าใจผิดยึดติดกับสิ่งลวงตาหลงอยู่ในตัณหาทั้งสาม บางคนก็คิด
    ว่าเรานี้มีบารมีมากได้ประกาศพระศาสนามีสาวก มีลาภสักการะ เจริญในสมณศักดิ์รวดเร็วผิดปกติ ที่ร้ายหน่อยคิดว่ามีเทวดาเป็นข้ารับใช้หรือตนเองถึงแล้วซึ่งอนุตรธรรมลุแก่พระโสดาบันเป็นต้น สามารถทำสิ่งใหญ่โตได้เพียงลัดนิ้วมือเดียว เรียกว่ายิ่งมีศิษย์มากมีคำพูดยกยอปอปั้นมาก ก็ยิ่งหลงเพลิดเพลินไปกับเสียงนกเสียงกาเหล่านั้น อย่าว่าแต่มนุษย์หลงผิดเลย แม้เหล่าพรหมยังหลงกันมาแล้วนับประสาอะไรกับความคิดคำนึงของคน โดยไม่ตระหนักว่าแท้จริงใช้บารมีของใคร ใครช่วยหรือเผลอได้รับปากตกลงสัญญาอะไรกับใครไว้ ท่านว่าทอดสายตาไปทั่วแผ่นดินแล้วในปัจจุบันนี้บารมีกาฝากเช่นนี้เรียกได้ว่ามีเกลื่อนแผ่นดิน

    ดังนั้นพ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งหลายท่านจึงใส่ใจกับการเจริญสติ หมั่นอบรมตนเอง ไม่ปล่อยให้ตัวเองไหลไปกับกระแสของโลก ของวัตถุ ไม่เปลี่ยนข้อวัตรปฏิบัติ ไม่สนใจกับอะไรทั้งสิ้นเพื่อยังประโยชน์ของตนให้ถึงพร้อมจะได้โปรดสัตว์ทั้งหลายต่อไป

    ตรงนี้สำคัญ ยิ่งที่ไหนถ้ายกผียกพรายมาด้วยทั้งพ่อนั่นแม่นี่หาว่าพรายช่วยสร้างวัดบ้างอะไรต่างๆนานาบ้าง อันนี้ก็ต้องยินดีกับสัมภเวสีเหล่านั้นจริงๆ เพราะเค้าได้เลื่อนภูมิมีวิมานอยู่เป็นเทวดานางฟ้ากันทั้งนั้นยุคนี้มีเยอะจริงๆที่ผีได้ดีกว่าคน ได้ดีกว่าพระ มีภูมิธรรม มีภพภูมิแซงหน้าพระไปก็มาก เพราะจิตของผีได้รับบุญได้มีการพัฒนา หากแต่ที่ตกแทนเพราะหลงใหลมัวเมาในกิเลสตัณหากลับเป็นพระแทน หลายคนถามว่าเทวดาทำแบบนี้แล้วได้อะไร ในยุคสามนี้เทพเจ้าทำไมลงมายุ่งกับมนุษย์กันมากมาย ก็เพราะว่าท่านต้องการจะสร้างบารมีของท่าน ทำลายคำสาป ทำลายข้อจำกัดและอื่นๆอีกมากมายที่เรียกว่าอย่าเสียเวลาคิด ถึงคิดอย่างไรก็คิดไม่ถึงทั้งนั้น จะดีกว่าหากเอาเวลามาเจริญสติ รู้ตัว รู้ความคิด รู้เท่าทันการกระทำตนเอง

    296fdde1cd55120c40233d6fb1e12327_d25vj52.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2017

แชร์หน้านี้

Loading...