ประโยคธรรมสั้นๆ แต่ความหมายลึกซึ้ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แต้อุดม, 9 มีนาคม 2017.

  1. แต้อุดม

    แต้อุดม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2017
    โพสต์:
    48
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +373
    "ใบไม้ไหวเพราะแรงลม หรือเพราะมีใบไม้"
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ไม่ใช่เพราะมีใบ้ไม้หรือเพราะแรงลม
    ที่ทำให้ใบ้ไม้ไหวคับ
    ใจคับที่ไหว
     
  3. แต้อุดม

    แต้อุดม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2017
    โพสต์:
    48
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +373
    เปรียบใบไม้เหมือนใจ ครับอาจารย์ ^_^
    เช่น กิเลสก็คือลม ใบไม้ก็คือใจ
    หรือ เวลามีอารมณ์อะไรมากระทบ และใจเราหวั่นไหวหรือใจเราคล้อนตามอารมณ์นั้นๆ นั่นก็เพราะ เราถือตัวถือตน มีตัวตนในเรา มีเราในตัวตน ^_^
    เข้าใจผิดหรือถูกต้องขออภัยอาจารย์ด้วยนะครับ
    ถ้าอาจารย์จะอธิบายให้ผมเข้าได้ถูกต้องมากกว่านี้ ก็ขอขอบพระคุณมากๆครับ
    ปัญญายังน้อย น้อมรับทุกคำแนะนำครับผม ^_^
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ลองอ่านพระสูตรบทที่ยกมานี้ อาจจะเห็นคำตอบและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้นก็ได้นะครับ IMG_20170213_100241_268.JPG
     
  5. แต้อุดม

    แต้อุดม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2017
    โพสต์:
    48
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +373
    อนุโมทนาสาธุ ขอบคุณครับ
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    คืองี้เนาะ แบบทั่วๆไปนะ
    ไม่เกี่ยวกับเข้าใจผิดหรือเข้าใจถูก
    ไม่เกี่ยวกับเข้าใจน้อยหรือเข้าใจมาก
    เพราะแม้ว่าจะเข้าใจผิดหรือเข้าใจถูกตอนนี้ก็ยังไม่ใช่
    แต่ก็พอใช้งานทางสมมุติได้อยู่
    หรือแม้ว่าจะเข้าน้อยหรือเข้าใจมากตอนนี้
    มันก็ยังไม่ใช่ แต่ก็พอใช้งานทางสมมุติได้อยู่ อ่านต่อ...

    เรื่องธรรมะโดยปกติแล้วหากว่าสังเกตุดีๆ
    จะพบว่า จิตมักจะเข้าถึงก่อนที่จะ
    อุปโลกน์คำทางโลกต่างๆขึ้นมาเพื่อใช้งาน

    ดังนั้นนัยยะมันจึงอยู่ที่ว่า จิตเข้าถึงกิริยาได้อย่าง
    ที่กล่าวต่างๆได้จริงหรือไม่. เพราะคำอุปโลกน์ต่างๆเหล่านั้น
    ทุกคนมีสิทธิ์ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังได้เหมือนๆกันทุกๆคน
    ที่เราเรียกว่า ปัญญาทางสมมุตินั่นเอง ซึ่งแม้ว่าจะดีแค่ไหน
    ลึกถึงระดับไหน แต่ก็ยังอยู่ในระดับของสมมุติเนาะ..

    อย่างกรณี ที่คุณ Tboon นำมาลงก็เป็นขั้นต่อไป...
    ถ้าจิตเข้าถึงได้อย่างนั้นแบบการวิเคราะห์ แยกแยะ
    คิด วิพากษ์ วิจารณ์ก็แบบทางโลก
    ก็ถือว่าเป็นปัญญาแบบสมมุติครับ

    แต่ถ้าจิตเข้าถึงได้ทางกิริยาแห่งเหตุ
    ของการเกิดเหล่านั้น คำอุปโลกน์ทางโลก
    เราเรียกเส้นทางแห่งปัญญาญาน.....เอ๊ะ! มันยังไง...
    มาเปรียบกันด้วยเรื่องใบไม้กับลมนี่หละลองอ่านดู

    เริ่มต้นเลย เราเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้
    พร้อมกับได้มาพบเจอพุทธศาสนา
    ในขณะที่ใบไม้และ
    ลม(จะบอกไว้ก่อนว่า ลมไม่ใช่กิเลสนะ
    แต่อ่านไปก่อนเด่วจะเก๊ทเอง)
    ซึ่งมันก็มีอยู่ของมันอย่างนั้น...

    แต่ในขณะที่มีทั้งใบไม้และทั้งลม
    แต่เราก็ไม่ได้ไปสนใจมัน หรือถ้าเราอยากรู้ว่า
    มันเรียกว่า ใบ้อะไร เราถึงค่อยไปสนใจมัน
    เพราะมันเป็นเสมือนสิ่งต่างๆรอบๆตัวเรา
    ที่มีเป็นธรรมชาตินั่นเอง....
    แต่เราก็มักจะได้ยินเสมอว่า พุทธศาสนา
    เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติเอะ ! มันยังไง

    ต่อมาเรามาฝึกเจริญสติ
    ทำให้เราเริ่มแยกได้ว่า เฮ้ย ! นี่ใบไม้นะ(แม้ไม่รู้ว่า
    เรียกว่า ใบอะไรแต่เรียกถูกว่า ใบไม้)
    เฮ้ย! นี้คือลมนะ(แม้ไม่รู้ว่า เกิดจากอะไร
    เป็นลักษณะของลมอะไร แต่เรียกถูกว่า อย่างนี้เป็นลม)
    ..เอาวะ
    เห็นเปรียบได้แล้วหละ ว่าใจคือใบไม้
    ลมเปรียบได้ดั่งกิเลส(ย้ำอีกจะบอกไว้ก่อนว่า
    ลมไม่ใช่กิเลสนะครับ ยังไงอ่านไปก่อนอีกนะ
    เด่วจะเข้าใจได้เอง)...สังเกตุนะว่า
    มันแค่เห็นว่าใบไม้ เห็นแค่ว่าลม
    มันแค่เรียกถูก แต่มันก็ยังไม่รู้อะไร...
    ไม่รู้ว่ามันเกิดจากอะไรนั้นเอง...
    การไปค้นคว้า เพื่อเรียกให้ถูก
    เพื่อให้รู้ว่าเกิดจากอะไร เรียกว่าใบอะไร
    ลมอะไร เป็นปัญญาทางสมมุติ


    โลกจึงอุบัติคำว่า การเดินปัญญา หรือคำว่าวิปัสสนาขึ้นมา
    เพื่อใช้งานอีก.เพื่อให้เข้าใจกระบวนการต่อจากนี้ขึ้นไปอีก
    ซึ่งหากเราไปเผลอ ใช้การคิด วิเคราะห์ แยกแยะ
    วิพากษ์ วิจารณ์ เราก็จะได้ปัญญาทางโลกออกมาว่า

    "เวลามีอารมณ์อะไรมากระทบ และใจเราหวั่นไหวหรือใจเราคล้อยตามอารมณ์นั้นๆ นั่นก็เพราะ เราถือตัวถือตน มีตัวตนในเรา มีเราในตัวตน ^_^" คำกล่าวในประโยคนี้คุ้นๆไหม ๕๕๕
    ในวงเล็บเป็นคำอุปโลกน์ใช้งานทั้งหมดให้เห็นจากกำลังสติ
    ที่เห็นใบไม้ ๑(แทนใจ) ลม๑(แทนกิเลส)
    และไปเปรียบเป็นเรื่องใบไม้กับลมว่า
    ลมเหมือนกิเลสเวลามีลมมากระทบใบไม้
    '' แล้วใบไม้หวั่นไหวเปรียบได้อีกว่าเหมือนใจเรา
    คล้อยตามอารมย์นั้นๆ'' ในเครื่องหมาย '' " คือ
    กิริยาอย่างหนี่ง
    และ ''เพราะเราถือตัวถือตน มีตัวตนในเรา
    มีเราในตัวตน ''นี่ก็คือ กิริยาอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน
    ทางโลกเราเรียกว่า ยึด แต่ประเด็นมันก็คือว่า
    เราคิดว่า กิริยาตรงนี้ จิตเข้าใจได้เพราะความรู้ทางสมมุติ
    หรือจิตเข้าใจได้เพราะปัญญาญานที่จิตเข้าไปเห็น
    กระบวนการตรงนี้...

    เหมือนคำที่ว่า สักแต่ว่า จิตมันสักแต่ว่า
    ด้วยปัญญาญาน หรือ ตอนนี้มันสักแต่ว่า
    เพราะได้ยิน ได้อ่าน ได้ฟังมา ตรงนี้เล่าให้ฟังเฉยๆ...
    คำว่า สักแต่ว่า มันอ่านดูฟังดูแล้วหล่อนะ...
    แต่ปัญหาคือ มันมีกระบวนการอะไรที่ทำให้จิต
    สักแต่ว่า ได้จริงๆหรือเปล่านั่นหละ..

    กระบวณการต่อไปนี้เป็นอุปโลกน์แบบหยาบๆนะ..ยกตัวอย่าง
    ใบ้ไม้ก็มีของมันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติ
    ลมก็มีของมันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติ
    ลมกิริยามันก็เคลื่อนไหวของมันอย่างนั้นโดยธรรมชาติ
    มันก็เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆของมัน
    ใบ้ไม้ก็อยู่ของมันอย่างนั้น และมีลมที่เคลื่อนไหว
    ตามธรรมชาติของมันมากระทบใบไม้อยู่อย่างนั้น
    เป็นเรื่องปกติและธรรมชาติของมันอย่างนั้น อ่านต่อดีๆนะ...

    ที่นี้พอเราไปเห็นว่า นี่เป็นใบไม้ ไปเห็นว่านี่เป็นลม
    ไปเห็นกิริยาแบบของเราว่า ใบไม้มันไหวและไปพิจารณาต่อว่า
    เพราะมีลมมากระทบทำให้เกิดกระบวณการ
    ไปรู้แบบของเราอีกว่า
    มันเปรียบเหมือนกิเลสที่เข้ามาทำให้ใบไม้
    มันไหว ไปยิ่งพิจารณาต่อว่า เพราะเราถือตัวตนในเราฯลฯ

    อ่านดีๆนะครับ จะพบว่า มันเป็นกระบวณการใน
    การเห็น การรู้ และการพิจารณา ถามว่าใช้ได้ไหม
    ตอบว่าใช้ได้ซิ แม้ว่าจะเป็นปัญญาทางโลกหรือทางธรรม
    เห็นอย่างนี้ถือว่าใช้ได้ แต่ว่ามันก็ยังไม่ใช่
    เพราะอะไรครับ......

    เพราะว่า มันไม่ใช่สักแต่ว่า ยังไงหละครับ
    มันจะสักแต่ว่าได้อย่างไร เพราะมันเกิดโปรแกรม
    การปรุงแล้ว ตั้งแต่มันเริ่มไปรู้ว่า เป็นลมเป็นใบไม้
    และไปพิจารณาต่ออีกว่า ลมเป็นกิเลส
    ใบไม้ไหวเพราะโน้นนั่นนี่ แล้วมันจะสักแต่ว่าได้ไง...



    เพราะว่ามันเป็นโปรแกรมการปรุงแต่งอย่างหนึ่ง
    ขึ้นมาแล้วอย่างหนึ่ง เรียกเท่ห์ๆว่า สังขารการปรุงแต่งนั้นหละ
    เพราะตั้งแต่ ที่ตัวจิตเรา ย้ำว่าตัวจิตเรา
    ไปเห็นว่านี่เป็นใบไม้ นี่เป็นลม
    นี่ก็คือ เข้าสู่กระบวนการปรุงแต่งไปเรียบร้อยแล้วครับ
    เพราะมีอาตนะทางกายเราเข้าไปรู้มีตัววิญญาน
    การรับรู้ทำหน้าที่ไปรู้ ไปเห็นมันแล้ว..
    ดังนั้น ในลำดับที่ เห็นอย่างไร รู้อย่างไรและต่อมาไปพิจารณา
    ต่ออย่างไร มันก็เหมือนการที่ตัวจิต เราเองนั่นหละครับ
    ที่ยกตัวมันเอง ขึ้นมารู้ มาเห็น มาพิจารณามันเองครับ
    อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พอเข้าใจหรือยังครับว่า
    ทำไมข้าพเจ้า ถึงได้กล่าวว่า ใจเราเองครับ ที่ไหว
    ไม่ใช่ใบไม้หรือลมครับ...( ^_^) คิดว่าพอจะเก๊ทขึ้น
    ในระดับหนึ่งได้แล้วเนาะ....


    ที่นี้ใบไม้(ในที่นี้อุปโลกน์เปรียบเทียบกับใจ)
    ก็อยู่ของมันอย่างนั้น คับ เป็นธรรมชาติ
    ของมัน ถ้าโดนลมมันก็ต้องไหวเป็นธรรมชาติอย่างนั้น
    ลมก็มีอยู่อย่างนั้น มันก็เคลื่อนไหวของมันโดยธรรมชาติ
    อยู่แล้วซึ่งมันจะไปโดนอะไรก็ได้ครับ...

    แต่ใจเราเองนั้นต่างหากครับ ที่มันยังมี โลภ โกรธ หลง
    อยู่ในใจเราเองครับ ที่เรายังไม่รู้เท่าทันกระบวนการตรงนี้
    ว่ามันยังมีอยู่และมันทำหน้าที่อย่างไร...
    ไม่ว่า โลภ โกรธ หลง ในใจตัวใดตัวหนึ่ง
    หากมันไปเผลอดึงเอาลมเอามา ย้ำว่าใช้คำว่าเผลอดึง
    เพราะว่า ลมมันมีอยู่แล้วในธรรมชาตินะครับเข้าใจนะครับ
    มันไปดึงเพราะ มันมีตัววิญญานการรับรู้ตรงนี้
    ที่ไปเห็น ไปรู้ว่าเป็นลมนั่นหละครับ
    แล้วก็เผลอดึงเอาลมเข้ามา. ทำให้ใจเรามันถึงหวั่นไหว
    ตรงนี้นะครับ ที่เป็นกิเลสครับ ที่ทำให้เราติด
    ในลาภ ในยศ ในสุข ในสรรเสริญ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ก็เพราะเราไม่ทันกระบวนการตรงนี้นั่นเองครับ
    ดังนั้น เข้าใจแล้วนะครับ ว่าลมมันไม่ใช่กิเลสนะครับ

    เพราะถ้าสังเกตุดีๆ ถ้าไม่มี โลภโกรธ หลง ตัวใดตัวหนึ่ง
    ไปเผลอดึงเข้ามา เราก็จะพบว่า ลมมันก็มีของมันอย่างนั้น
    ใบไม้ก็มีอยู่ของมันอย่างนั้นเองเรื่องธรรมชาติครับ..
    เพราะมีกระบวนการส่งตัวไปเห็น ไปรับรู้ตรงนี้
    ตัวจิตเรา มันก็เลย ไม่ได้เกิดกิริยา สักแต่ว่ายังไงหละครับ

    เราถึงต้องมาเดินปัญญาทางธรรมต่อเพื่อให้เข้าใจในกระบวน
    ที่จิตจะเผลอๆ ทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อให้จิต เค้าละ เค้าคลาย
    การส่งตัวไปรู้ ไปเห็นตรงนี้ยังไงหละครับ ในเบื้องต้น
    พอเข้าใจเพิ่มขึ้นได้อีกไหมครับ....

    ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จะพบว่า เราจะเห็น
    กระบวนการ ๒ อย่างคือ ๑ ผู้ดู(ที่ตอนนี้
    ไม่ได้สักแต่ว่าดูอย่างเดียว ดันเผลอไปพิจารณา)
    และ ๒.ผู้รู้(ที่ตอนนี้เห็นว่าเป็นลมเป็นใบไม้ ซึ่งผู้รู้
    มันเรียกถูก แต่มันไม่รู้ว่าเกิดจากอะไรลมเกิดจากอะไร
    ใบไม้เกิดจากอะไร)
    และ ๒ ตัวนี้มันปรุงร่วมกัน จากตัวผู้ดูมันดูอยู่
    ว่าที่เห็นนี้เป็นใบไม้นะ
    ว่าที่เห็นนี่เป็นลมนะจากการที่ผู้รู้มันส่งออกไปรับรู้
    ย้ำว่าส่งไปรับรู้. แต่มันเผลอไปปรุงร่วมกัน
    ด้วยการไปพิจารณามันอีกตอนนี้(เช่น ไปเข้าใจว่า
    ลมเป็นกิเลสทั้งๆที่มันมีอยู่แล้วในธรรมชาติ
    สังเกตดีๆมันจะเข้าใจจากภายนอกแล้วดึงมา
    ไม่ใช่เข้าใจจากภายใน) แล้วไปเข้าใจว่า เป็นตัวสติ
    เป็นตัวปัญญานั่นเอง แม้จะได้เห็นคำว่า สักแต่ว่า
    แต่จิตมันก็จะไม่สักแต่ว่า จริงๆเพราะ

    ตัวใจเรามันยังไม่ได้ ตัดตัวไปรู้ภายนอกตรงนี้ให้ได้ก่อนนั่นเอง
    มันจึงเกิดกระบวนการปรุงร่วมกันระหว่างผู้ดูผู้รู้อยู่เสมอครับ
    จิตมันถึงไม่สักแต่ว่า แล้วคลายตัวเองโดยธรรมชาติ
    ได้ด้วยตัวมันเองยังไงหละครับ

    ที่ส่วนตัวชอบกล่าวว่า ถ้าคุณคิดว่า คุณมีปัญญาทางธรรม
    มีปัญญาญานจริงๆ ทำไมความเข้าใจทางนามธรรมคุณ
    ถึงไม่ดีขึ้น หรือ บางคนที่มีสัมผัสนามธรรมได้
    ทำไมความเข้าใจทางด้านสัมผัสตลอด.
    ถ้าคุณ จะเดินหน้าต่อไป
    เด่วมาเล่าให้ฟังใหม่ครับ






     
  7. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อ่านถึงตรงนี้ ขอโอกาสแสดงความคิดเห็นแทรกสักเล็กน้อยนะครับ สิ่งสำคัญอันหนึ่งและน่าจะสำคัญมากเสียด้วย ประสบมากับตัวเองคือ เรื่องของความเชื่อครับ พบว่าเวลาเราเห็น เราผัสสะอะไร ความเชื่อมีโอกาสที่จะมาปิดกั้นการเห็นสิ่งที่ควรจะเห็นไปตามความเป็นจริงได้อยู่ครับ ตรงนี้สำคัญครับ!

    จริงๆ ถ้าจะเรียกอีกอย่างหนึ่ง ผมว่ามันคือตัวอคติ (แปลว่าความลำเอียง) มี ๔ อย่าง คือ รัก (หรือชื่นชอบอะไรบางอย่าง) ชัง (อะไรบางอย่าง) หลงฯ กลัวฯ ตรงนี้ถ้ามันมีอยู่ มันจะทำให้ไม่เป็นการรู้ตามความเป็นจริงด้วยมัชฌิมาปฏิปทา เมื่อมัชฌิมาปฏิปทายังไม่เกิดก็ยากที่จะเป็นปัจจัยให้เห็นแจ้งตรงตามความเป็นจริงครับ ต้องลองสังเกตกันเอาเอง

    และผมสังเกตว่า ต่อให็จิตมานิ่งๆ ไม่คิดอะไรยังไง แต่ความเชื่อที่มันมีมาก่อนแล้ว มันฝังตั้งธงมาตั้งแต่แรกแล้วมันมีอยู่ มันถึงได้มาปฏิบัติในลักษณะแบบนั้นๆ ไงครับ ดังนั้นตรงนี้ผมว่า ต้องระวังให้ดี นิ่งไม่นิ่ง คิดไม่คิด ผมว่ามันไม่แน่ ไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์วัดความเป็นมัชฌิมาปฏิปทาได้ทีเดียว อันนี้เราว่ากันถึงปรากฏการณ์การรู้ตามความเป็นจริงนะครับ อย่าไปเข้าใจว่า คำสอนพระพุทธเจ้าไม่ต้องฟัง นั่นยิ่งสำคัญใหญ่ ถ้าไม่ฟังไม่เอาเลย ผมว่าเดี๋ยวได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้ากลางศาสนากันบ้างล่ะ (เรื่องนี้ผมก็ไม่รู้ เคยมีคนรู้จักที่เคารพ พูดถึงอาจารย์ของท่านซึ่งเป็นพระว่า ท่านเป็นปัจเจกพุทธเจ้า ก็งง แต่ก็รับฟังไว้ นานแล้วครับ)

    ถามว่าแล้วเรื่องมัชฌิมาปฏิปทานี่มารู้ได้ยัง อันนี้บอกตรงๆ รู้แบบไม่ได้ตั้งใจเลยครับ คาดไม่ถึงว่าจะเป็นอะไรแบบนี้ด้วย บังเอิญว่าผมโดนอัดมาก่อน กำลังเซมา ศรัทธาเพิ่งหด แต่เดิมผมสุดโต่ง (มาเข้าใจได้ตอนหลังทั้งนั้น) ทั้งที่มีต่อครูบาอาจารย์ และต่อเพื่อนสมาชิกด้วยกัน แล้วจู่ๆ วันนึงเหมือนโดนหักหลัง โดนเพื่อนย้อนแย้งครูบาอาจารย์เสียๆ หายๆ อย่างน่าใจหาย ศรัทธามันเลยหด ความสุดโต่งมันหาย ใจมันเลยไม่มีที่จะไหลไปส่งเสริมทางไหน มันก็เลยกลายเป็นคุณต่อการภาวนาไปเองโดยปริยายนี่เองครับ
     
  8. แต้อุดม

    แต้อุดม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2017
    โพสต์:
    48
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +373
    อนุโมทนาสาธุครับ คำแนะนำของอาจารย์ ผมต้องอ่านหลายรอบเลยครับ เข้าใจลึกซึ้งตามสภาวะอารมณ์ ตอนนี้ฟุ้งซ่านกะงานทางโลกไปนิสสส หลังทำสมาธิจะเข้ามาอ่านทำความเข้าอีกรอบครับ
     
  9. แต้อุดม

    แต้อุดม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2017
    โพสต์:
    48
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +373
    อ่านไป 1 รอบ เริ่มเห็นอะไรขึ้นมานิสๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...