ท่านฝึกละสังโยชน์ ๓ เพื่อเตรียมตัวเป็นโสดาบันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์โง๋, 11 เมษายน 2017.

  1. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    พยายามสังเกตอยู่แต่ก็เผลอบ่อย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยทุกขเวทนา เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา. หรือเสวยสุข เวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนา บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่.
     
  2. arun412

    arun412 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2017
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +7
    เราเห็นว่า ท่านพึงพิจารณาในอริยสัจ 4 นี้แล ในปฏิจจสมุปบาท
    ในไตรลักษณะ นี้แล
    พึงจะทำให้ละสังโยชน์ 3 นั้นๆได้
    เพราะเหตุใด เพราะว่ารู้เสียซึ่งทางนั้นๆแล้ว รู้เห็นในความจริงอย่างหนึ่งๆแล้ว
    เราเห็นว่า เพราะธรรมดาว่า ผู้เป็นโสดาบัน ย่อมรู้จักทาง แม้ว่ารู้ยังไม่ละเอียดแต่ขึ้นชื่อว่ารู้แล้ว

    -รู้ว่าเหตุใดหนอ จึงถือศีลให้มาก เพื่อยังประโยชน์ข้อใดๆ
    อันที่แท้แล้ว บางคนบนโลกนี้ไม่ฉลาด ถือศีล ก็เพื่อให้ระวังในนิวรณ์ 5 นี้แล
    แต่เขาเว้นแค่กาย ปล่อยให้นิวรณ์ 5 ทำให้รุ่มร้อนเสียอย่างนั้น
    ศีลอันสูงขึ้นไปก็เพื่อระวังนิวรณ์ 5 เพราะนิวรณ์ 5 มีโทษ ให้สติเบาบาง ย่อมขัดขวางความเพียร

    -รู้จักลักษณะว่า ชื่อว่า อนัตตา เป็นไฉน
    -เห็นตลอดแล้วเสียซึ่งกิจที่ต้องทำ คือ ทำอย่างไรๆ ต้องละเหตุนั้น เพราะเหตุนั้นยังผลอย่างไร แล้ว เหตุนั้นๆ มีเหตุอันด้วเหตุอย่างไร

    เมื่อนั่นแล ย่อมรู้ทางแล้ว เหลือเพียงแค่ทำให้เป็นไปนั่นแล หรือ ทำให้รู้โดยละเอียดยิ่งๆขึ้นไป

    เหมือนกับคนที่รู้จักว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ทรัพย์ ก็เหมือนได้ทรัพย์มากึ่งหนึ่งแล้ว
    เหลือเพียงแค่กระทำให้เป็นไป
     
  3. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    พระสูตรบทที่คุณ Tboon ยกมาบางส่วนนี้ พระพุทธองค์มุ่งเน้นให้ ปุถุชน ซึ่งเดิมทียึดมั่นถือมั่นในความสุข ความทุกข์ แล้วคร่ำครวญในสุขในทุกข์ของตนนั้น ได้พิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยง แล้วถอนจิตที่เคยยึดความสุข ความทุกข์ แบบ อัตตานุทิฎฐิ ได้พิจารณาเห็น ทุกข์ และ สุข เป็นของเกิดได้ ดับได้ ถอนได้
    ซึ่งหากไม่ฟังคำสอนนี้ของพระพุทธองค์แล้ว บุคคล ย่อมหลงในทุกข์ในสุข จนถอนตัวไม่ขึ้น พระองค์มุ่งเน้นเพียงการปรับทิฎฐิให้ตรงเท่านั้น แต่ไม่ได้ห้ามการหาสุข ดับทุกข์
    อุปมาเหมือน สอนให้คนรู้ว่ามีดคม อันตราย ก่อน แต่ถ้ารู้จักแล้วก็จะเลือกใช้ได้ถูก
    แต่คนไม่เข้าใจ ก็จะบอกว่ามีดคม ห้ามไปจับ

    ทีนี้ หากผู้ที่ขาดการไตร่ตรอง ก็จะเอาแต่ว่างๆ ไม่เอาทุกข์ ไม่เอาสุข เพราะไม่เข้าใจความหมายว่า สุข ทุกข์ นั้นให้รู้จักมัน ว่าสภาพมันเป็นอย่างไร แล้วก็เลือกเอา ดังที่เรารู้จักมีดว่า มีดมีความคม อันตราย แต่ก็เอามาใช้ประโยชน์ได้

    มิจฉาทิฎฐิ คือ ไม่รู้จักว่ามีดคม หรือ รู้จักว่ามีดคมแต่ยึดว่าห้ามใช้
    สัมมาทิฎฐิ คือ รู้จักว่ามีดคม อันตราย แต่มีปัญญารู้จักใช้
     
  4. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ธรรมดา เวลาเราจะเอาชนะสิ่งใดก็ตาม รู้เขา รู้เรา ร้อยรบมิพ่าย
    ดังนั้น เวลาเราจะเอาชนะธรรมชาติใดก็ตาม ก็ต้องศึกษาเพื่อรู้จักสภาพสิ่งนั้นตามความจริง
    เช่น พวกฝรั่ง เขาก็ศึกษา วิทยาศาสตร์ เพื่อเข้าใจปรากฎการณ์ต่างๆตามความจริง แล้วก็นำมันมาใช้งาน
    หรือศึกษา ดินฟ้า อากาศ ก็เพื่อทำนายฟ้า ทำนายฝน ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
    แต่ การศึกษาแบบปุถุชน ก็อาจจะมีผิดมีคลาดเคลื่อนไป

    ทีนี้ในหลักการเดียวกัน คือ ถ้าจะเอาชนะทุกข์ ก็ต้องรู้จักทุกข์ รู้จักสภาพมันเป็นอย่างไร มาทางไหน ไปทางไหน เกิดอย่างไร ดับอย่างไร พระพุทธองค์ทรงศึกษามันจนชัดแจ้งแล้ว รู้วิธีชนะทุกข์ แล้ว จึงเอามาสอน

    เราเป็นลูกศิษย์ก็ศึกษาตามแบบที่บรมครูสอนมา คือ ต้องรู้จักทุกข์ของตนเอง ศึกษาด้วยตนเอง เอาทุกข์ที่มันเกิดกับตนเองขึ้นมานั้นแหละ หยิบมันขึ้นมาพินิจพิจารณา
    โดยจะต้องฝึกทั้งนิสัย ช่างสังเกตุ นิสัยการใคร่ครวญต่างๆ จึงจะสามารถ วิจัยทุกข์ วิจัยธรรม จนเห็นปรากฎการณ์ต่างๆของทุกข์ได้ แล้วเราก็ต้องฝึกที่จะควบคุมทุกข์นั้นให้ได้ หรือ ดับมันได้ด้วยสติปัญญาจากการวิจัยทุกข์นั้นมาดีแล้ว เรารู้สภาพมัน รู้ตัวไหนเหตุตัวไหนผล ก็จะง่ายขึ้น

    ทีนี้ พระศาสดาได้ตรัสไว้เสร็จสรรพว่า กองทุกข์ มีอะไรบ้าง ตัวไหนเป็นตัวร้อยรัด ตัวไหนเป็นตัวแม่ ตัวไหนตัวลูก เราก็มองที่ตัวเองก็จะเจอตามนั้นทุกประการ แต่จะดับได้หรือไม่ ก็ต้องฝึกตนเอง ตาม อริยมรรค ขัดเกลาให้แจ้งขึ้นไป จะละเอียดละออ ไปตามกิเลสหรือกองทุกข์ที่เจอนั่นแหละ จนถึงวิมุตติหลุดพ้น ก็ด้วยวิธีการเดียวกันนี้
     
  5. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ธรรมปฏิบัติถ้ามาถูกทางแล้ว จะลงไปยังจุดเดียวกันหมด

    ที่ว่าสุขไม่เอา ทุกข์ไม่เอา เอาแต่ว่างๆ นี่ก็ต้องถือว่าคิดไปได้ไกลถึงเพียงนั้น ซึ่งจริงๆ มันก็คงมีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นเหมือนกัน

    เมื่อเป็นอย่างนั้นก็จะขออธิบายเพิ่มเติมอีกสักนิดนะครับ ที่ว่าไม่ต้องไปปรุงเป็นดีเป็นชั่ว เป็นสุขเป็นทุกข์อะไร แค่รู้ไปตรงๆ ก็เพราะว่า ปกติเราจะลากยาวความรับรู้ในเวทนาเหล่านั้นปรุงมันต่อว่าเป็นอะไรยังไง หรือแค่ลากสั้นๆ ยังไงเสียส่วนที่เป็นความรู้สึกเพียวๆ ก็ยังเป็นเช่นนั้นเองคือเหมือนเดิม เว้นแต่จะปรุงแต่งจนบิดพริ้วหรือเหตุอย่างอื่น ก็ถือว่าเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย

    ความสำคัญคือให้มารู้ทันตรงปัญหาการหลงปรุง มันคือตัวที่ผมกล่าวถึงบ่อยๆ ว่า "ทิฏฐิ ความเชื่อที่คอยมาขวางฯ" เราลองปรับระบบการรับรู้ดูใหม่เสีย คือไม่ต้องไปวิพากษ์วิจารณ์อะไรมาก รู้ธรรมเห็นธรรมตามความเป็นจริงไปเลย จะไหวไหม คือพลาดก็รู้ว่าพลาด เป็นธรรมดาครับ มันมีพลาดกันเป็นเรื่องธรรมดา ทำได้ไหม เลิกละความเคยชินเหล่านั้นไปก่อน

    ทีนี้มันก็จะไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องว่าว่างหรือไม่ว่างอะไรเลย เราไม่ได้ไปโฟกัสจะเอาอะไรตรงจุดนั้น แต่ให้มารู้ทุกข์เห็นธรรม (ชาติ) ตามความเป็นจริงแบบไม่เอาความคิดความเห็นเดิมๆ เข้าไปแทรก ไปตัดสิน ณ จุดนี้ เราอาจจะเห็นความจริงในอีกมุมที่ไม่เคยใส่ใจระลึกถึงเลยก็ได้
     
  6. ชมทรัพย์

    ชมทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +248
    ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
     
  7. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ไม่ต้องวิพากษ์ วิจารณ์มาก ก็คือ เจริญมหาสติ แม้จะเกิดทัศนะขึ้นมาแต่ก็มิได้กำจัดกิเลส
    แต่ชีวิตจะต้อง พบเจอกับสิ่งต่างๆมากมาย ตั้งแต่ ตื่นนอนขึ้นมา กิเลสก็มีแล้ว จำเป็นจะต้องขัดเกลา วิถีชีวิต ตามอริยมรรค มิฉะนั้นจะติดอยู่กับกองกิเลสเหมือนเดิม
    ทุกข์ไม่ได้ลดลง ดับทุกข์ไม่ได้ ปัญญาในการพิจารณากองสังขารต่างๆไม่เกิดครับ
     
  8. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    จะว่าไปไม่ต้องอะไรมากจากหัวข้อกระทู้
    ท่านฝึกละสังโยชน์ ๓ เพื่อเตรียมตัวเป็นโสดาบันอย่างไร

    เจ
    ริญสติปัฏฐาน จบเลย
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ความเห็นข้างบนท่านก็กล่าวสรุปเป็นธรรมไว้ให้ชัดเจนแล้วว่า "ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์"

    ชีวิตจริงก็ชีวิตจริงสิครับ สิ่งไหนยังไม่ทันเกิด เราก็อย่าเพิ่งคิดไปก่อน ฝึกอยู่กับปัจจุบัน อย่าไปอยู่กับอุปาทาน กิเลสอะไรยังไม่ต้องไปพูดถึงก็ได้ เอาอยู่กับปัจจุบัน เห็นมันชัดๆ สักครั้ง โดยไม่มีมลทินความกังวล ความคิดฟุ้งๆ รู้ดีรู้ชั่วอะไรมาบดบัง ทำได้ไหมเท่านั้นเองครับ
     
  10. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ใช่ครับ แต่การเจริญมหาสติปัฎฐาน ได้บริบูรณ์ จะต้องเจริญอริยมรรค ด้วย
    ไม่เช่นนั้น จะไม่ละเอียดไปถึงในส่วน จิตตานุปัสสนา และ ธัมมานุปัสสนา
    และ ส่วน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
     
  11. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ทำแบบนั้นแล้วจะได้อะไรหละครับ
     
  12. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ทางแห่งสติปัฏฐาน เป็นทางเดินแห่งพระอริยะทั้งหลายทุกประเภทอยู่แล้วครับ

    ผู้มาใหม่แม้จะยังไม่ได้ผล แต่มีความเพียร ย่อมเรียกว่า เดินตามทางอริยะมรรคอยู่แล้วครับ

    ส่วนความบริบูรณ์ คงไปตามลำดับของมันเอง
     
  13. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เห็นตามความเป็นจริง แบบไม่เอาทิฏฐิ ความเชื่อ ความคิดเห็นต่างๆ อะไรมาบดบัง ดูมันไปตรงๆ ห้านาที สิบนาที แล้วค่อยมาดูกันใหม่ว่า ยังไงบ้างหรือไม่
     
  14. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    แล้วส่วนของ อริยมรรค ข้ออื่นอีก 7 หละครับ ไม่ต้องทำหรือ
     
  15. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ผมเห็นตามความเป็นจริงอยู่หละครับ ก็ไม่เห็นมีทิฎฐิ หรือ ความเชื่อ อะไรมาบดบังเลยครับ ทำแล้วก็ไม่เห็นจะมีอะไรเลยครับ
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    มันไปออกทางจิตสงบเฉยๆ เหรอครับ
     
  17. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ครับ สงบๆ แล้วเวลาคิด เวลาอ่าน ก็ค่อยคิด ค่อยปรุง แล้วก็ตอบ
     
  18. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    แล้ว คุณ Tboon คิดว่า ผมควรจะทำอย่างไรต่อดีหละครับ
     
  19. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ติดที่กระทำอย่างไม่เป็นกลางพอน่ะครับ ต้องคอยสังเกตเอา อย่างไหนจึงจะกลาง ต้องค่อยๆ เรียนรู้ไปครับ
     
  20. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    แล้วถ้าได้กลางพอ แล้วผมจะเจออะไรหละครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...