เรื่องเด่น นั่งสมาธิแล้วขาชาควรเปลี่ยนท่าได้มั้ยคะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย picko, 29 เมษายน 2017.

  1. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    นั่งจนชา ขยับ คิดว่าแก้ชา

    กิเลสมันหลอกเอา

    ไม่เชื่อ ลองสังเกต บางครั้ง ก้เพราะขยับ
    แก้ชานั่นแหละ ขยับปัป เปรี๊ยะ ปะ ปั้ง
    แข้งขาหักไปเลย ก้มี

    กิเลสมันหลอก เอา


    ปล. กรณีกิเลสขั้นสูง ที่ชื่อรูปราคะสังโยชน์
    อรูปราคะสังโยขน์ การขยับจะผสมกับฌาณ
    จะเหมือมีกำลังขยับไม่ใช่แค่กาย ภูเขา
    พระสุเมรยังไหว นี่ก้ กิเลสมันหลอกเอา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2017
  2. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ขอบพระคุณมากๆค่ะ
     
  3. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ขอบพระคุณคุณ saber มากค่ะ อ่านแล้วนึกออกเลยค่ะว่าควรจะนั่งอย่างไร ความถี่ในการปฏิบัติจำเป็นอย่างมากที่จะทำให้เราผ่านจุดนี้ไปได้ ขอบคุณมากค่ะ
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    พอชำนาญในการ ระลึกเหน เปนเพียงสภาวะธรรม

    เกิดดับ(ญานสัมปยุต) จิตจะ มีอุเบกขาต่อ
    สภาพธรรมนั้นๆ

    พอมานั่งตามรูปแบบ จะข้าม สภาวะชา แล้ว
    ดิ่งนิ่ง(แล้วแต่สมัย) แล้ว ล๊อคโดยไม่ต้องกระดิก

    ทีนี้ จะทรงสภาวะนั้นให้นาน หรือ สั้น ก้จะเปน
    เรื่องของ สมัย ที่สมควร แก่ธรรม

    ฆารวาส ส่วนใหญ่ ภาระทางโลกมีเยอะ ดังนั้น
    จิตมันทรงไม่ได้นาน ก้อย่า ไปกังวล

    การงานไม่คั้งค้าง ถิ่นฐานทำใหเปนสัปปายะ
    ก้จะค่อยๆดีขึ้น

    ตามเหนความไม่เที่ยงของ ปฏิปทาไปอีก

    เพื่อยก อริยสัจจ เหนทุกข อันเกิดจาก
    "เหตุ" เกิดดับ ไปอีก จน อุเบกขาที่เปน
    "นิรามิส" มีปัสสัทธิ ไม่ว่าจะชา จะล๊อค
    จะบล๊อค หรือ แตกดับ
     
  5. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ขอบพระคุณมากนะคะ อ่านแล้วรู้สึกว่าจิตคนเราที่ฝึกมามากแบบคุณนิวรณ์จะละเอียด ประณีตมากค่ะ จะนำคำสอนเหล่านี้มาเตือนตนในการปฏิบัติค่ะ
     
  6. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ขอบพระคุณมากค่ะ :):):)
     
  7. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762


    คิดว่า ไฟล์นี้ น่าจะเหมาะกับเจ้าของกระทู้ครับ

    ว่างๆ ก็ลองเข้าไปศึกษา วิธีการ จาก พระสงฆ์ดูครับ

    http://palungjit.org/threads/รู้-เห...เห็นตามความเป็นจริง-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.403587/
     
  8. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ขอบพระคุณมากๆค่ะคุณปราบเทวดา เป็นประโยชน์สำหรับผู้ปฏิบัติจริงๆค่ะ สาธุๆๆค่ะ
     
  9. คุณกันฌามี

    คุณกันฌามี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +65
    ผมเป็นแค่ฆราวาสบ้านๆ เอาซะไม่เข้าใจเลย

    ไม่ทราบว่าอ่านมาเยอะหรือป่าวครับ ช่วยแปลแบบบ้านๆหรือแบบเริ่มต้นใหม่หน่อยครับ

    เป็นแค่ฆราวาสร่างกายมันต้องใช่ พึ่งหัดนั่งสมาธิคงไม่เสี่ยงกับระบบไหลเวียนเลือดเท่าไร เก่งก่อนนะครับค่อยฝากสังขารไว้กับพุทธองค์

    ลามะเนปาลที่ว่าแน่ยังเห็นขยับเลยคงกลัวน้ำเหลืองทำงานผิดปกติ ดูท่าจะแพ้ให้กับพวกมารละมั้งช่วงนั้น

    ฆราวาสบ้านๆอย่างผมก็อยากรู้อารมณ์สมาธิเหมือนกันนะครับ :)
     
  10. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    การปฏิบัติมีทั้งมุ่งเพื่อให้จิตสงบได้ฌาน แบบนี้เป็นการจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมจนจิตไม่วอกแวกแล้วสงบขึ้นเรื่อยๆ ภาพจากโลกภายนอกจะเกิดในความคิดเราน้อยลง ประสาทการรับรู้จะเริ่มทำงานน้อยลง ตาจะเริ่มหนัก หูจะได้ยินเบาลง สนใจอยู่แต่คำบริกรรม อีกแบบคือเฝ้าสังเกตุ กาย เวทนา จิต ธรรม แบบนี้เพื่อที่จะรู้จักธรรมชาติของ กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วไม่ยึดมั่น กำจัดอวิชชาคือความไม่รู้และทำวิชชาให้แจ้ง นี่ก็อีกแนวนึงวิธีปฏิบัติต่างกัน
     
  11. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ขอบพระคุณมากค่ะ :):)
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    แนะนำว่า อย่าไปเชื่อ ครับ มั่ว มาก ^^

    การนั่งสมาธิพิจารณา คือ เวทนานุสติปัฏฐาน ครับ จขกท.

    จริงๆ จขกท ทดสอบด้วยตัวเองก็ได้ครับ ว่า จริงหรือมั่ว

    ตอนที่ นั่งสมาธิ แล้ว ปวดขา มันเดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ จริงไหม เอาแค่เรื่องแรก

    คนทำจริง ปฏิบัติจริง มีแต่ จะปวด ปวดไปเรื่อยๆ จะดับได้ก็ต่อเมื่อเราเปลี่ยนท่า หรือ ผ่านช่วงนี้ไปได้ หรือใช้ สติ กำลังของ จิต กดกาย ร่างกาย ตัดเวทนา

    ไอ้อาการอ้างว่า ความปวดชา เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ แล้วให้เห็นการ เกิด ดับ เกิดๆ ดับ ความปวดนั้น ลองถามตัวเองดูครับ ว่ามีจริงไหม

    เวทนากาย มันเกิดขึ้นที่ ร่างกาย ไม่ใช่ จะมั่วไปเอา เกิด ดับ อาการของจิต มาใช้ ครับ และ ความคิด การเกิด ดับ นั้น ก็ไม่ใช่ วิธีการสายดูจิต ด้วย เพราะ ความคิด เกิด ดับ ไม่ใช่ตัวจิต

    เอาว่า สรุปว่า ตัวเองเป็นผู้ปฏิบัติเอง ย่อมรู้เอง

    แล้วการเกิด ปิติ ขององค์ ฌาน มันจะเกิดได้ ก็เพราะว่า จิตเป็นฌาน ไม่ใช่ เกิด ปิติ ก่อน


    มหาสติปัฏฐาน ๔ มี
    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    การปฏิบัติจริง เราปฏิบัติสายไหนอยู่ เราก็ต้องอยู่ใน ฐาน นั้นๆ ครับ
    ไม่ใช่เหมือนบางคน มั่ว ไปเรื่อย จับโน้นนี้ มาผสมปนกัน เหมือนคนไม่มีหลักอะไรเลย ย้าย ฐาน ฐานของการปฏิบัติ ฐานของสมาธิ ไปๆ มา จิตก็ไม่สงบ เพราะมีการเคลื่อน เคลื่อนของจิต นั้นเอง

    เอาว่า ลองพิจารณาดูด้วยตัวเองก็แล้วกัน ครับ ^^




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2017
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819


    สติทันความคิด
    เทศน์เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2555
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต


    ถ้าเราพิจารณาเวทนานะ ถ้าผู้ปฏิบัติใหม่ เวลาเป็นเวทนานี่อู้ฮู! เวทนาเจ็บ เวทนาปวด เวทนาเป็นเรา พอเวทนาเป็นเรานะ มันเจ็บปวดนัก แต่ถ้าจิตมันสงบ จิตสงบมันจับเวทนา เวทนาไม่ใช่เรา จิตมันจับเวทนา เหมือนกับของร้อน แล้วมันมีเครื่องมือไปจับของร้อน เห็นไหม มันพลิกแพลงได้ แต่ถ้าของร้อน เราเป็นของร้อนล่ะ เราเป็นของร้อนล่ะ ถ้าจิตมันสงบแล้วตัวจิตมันจับเวทนา

    พอจับเวทนานะ เวทนาไม่ใช่เรา มันจะพิจารณาเวทนา นี่ใครเป็นเวทนา แข้งเป็นเวทนา ขาเป็นเวทนา จิตเป็นเวทนา ตัวเราเป็นเวทนาหรือ เวทนาคือความสุข ความทุกข์ นี่จิตมันเป็นหรือ ถ้าจิตมันเป็นมันต้องอยู่กับเราตลอดไปสิ เวลามันปล่อยเวทนามันเหลืออะไรล่ะ มันเหลืออะไร

    นี่ถ้าพิจารณาแบบวิปัสสนามันเป็นแบบนี้

    http://www.sa-ngob.com/content_show.php?content=3313
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2017
  14. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ขอบพระคุณมากนะคะ เป็นประโยชน์ในการพิจารณามากค่ะคุณ saber
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ยืน เดิน นั่ง นอน ถ้าจะให้ไปถึงไหน ก้าวหน้าไวๆ แค่ไหน แนะนำว่า ควรภาวนาปฏิบัติในชีวิตทุกลมหายใจ เข้า ออก ครับ

    เปรียบเหมือน 1 วัน มี 24 ชม. เราควร รักษาใจ จิตเราให้ สงบ วันนึง วันนึง เราปฏิบัติจริงแค่ตอนนั่งสมาธิ 1 ชม ก็ทิ้ง 23 ชม. ไปไม่ได้ปฏิบัติ

    ถ้าจะให้ก้าวหน้าจริงๆ ก็ต้อง ทุกลมหายใจเข้า ออกในชีวิตประจำวัน ภาวนา ไปด้วย ทำงานไปด้วย ครับ

    แล้วจะก้าวหน้าไวมาก เพราะการภาวนาใน ชีวิตประจำวัน ร่างกายเรามีการเคลื่อนไหว ตลอด สติ จะมีกำลัง มากกว่า การนั่งปฏิบัติ เพราะ ร่างกาย สงบ นั่งสมาธิ ร่างกายสงบ เลยรวมจิตลงสมาธิ ได้ง่ายกว่า การที่ร่างกายเคลื่อนไหว ครับ

    อย่างน้อย ก็ระงับ ความฟุ้งซ่านได้ใน ชีวิต ประจำวัน เพราะเราไม่ได้ปล่อย จิต ให้ไหลไปตามกระแส โลก แต่เราภาวนา ตลอดทั้งวันๆ

    จะส่งผล ให้ไวกว่า แค่ ทำสมาธิเวลานั่ง ครับ
     
  16. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆค่ะ สาธุๆๆ
     
  17. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ในการทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันอื่นๆ ให้รู้การเคลื่อนไหวและลมหายใจ แต่ไม่จำเป็นต้องบริกรรมใช่มั้ยคะคุณsaber
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กรรมฐาน 40 ไม่มีกรรมฐานกองไหนสอนให้ดูการความคิด เกิด ดับ ใดๆ ทั้งสิ้น ครับ

    จขกท ลองพิจารณาดูด้วยตัวเองก็แล้วกันครับ



    กรรมฐาน 40 เป็นอุบาย 40 วิธีที่ใช้ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ พอจิตกำหนดจับสิ่งนี้เข้าแล้ว จะชักนำให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งนี้ จนเป็นสมาธิได้มั่นคงและเร็วที่สุด ในคัมภีร์อรรถกถาและปกรณ์ ได้รวบรวมแสดงกรรมฐานไว้ 40 อย่าง คือ

    กสิณ 10
    ดูบทความหลักที่: กสิณ
    แปลว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่ง เพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่งเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง คือ
    1. ภูตกสิณ 4 (กสิณคือมหาภูตรูป) ได้แก่ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ
    2. วรรณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
    3. กสิณอื่นๆ ได้แก่ อาโลกกสิณ อากาสกสิณ
    อสุภะ 10
    ดูบทความหลักที่: อสุภะ
    ได้แก่ การพิจารณาซากศพระยะต่างๆรวมกัน 10 ระยะ ตั้งแต่ศพเริ่มขึ้นอืด ไปจนถึงศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
    อนุสติ 10
    คือ อารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนืองๆ ได้แก่ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณสติ กายคตาสติ อานาปานสติ อุปสมานุสติ
    อัปปมัญญา 4
    คือ ธรรมที่พึงแผ่ไปในมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกันไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 คือ
    1. เมตตา คือ ปรารถนาดี มีไมตรีอยากให้มนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย มีความสุขทั่วหน้า
    2. กรุณา คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
    3. มุฑิตา คือ พลอยมีใจแช่มชื่นบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และเจริญงอกงาม ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป
    4. อุเบกขา คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ได้รับผลดีร้าย ตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง
    อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
    กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร
    จตุธาตุววัฏฐาน
    กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ
    อรูป 4
    กำหนดสภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก จนได้จตุตถฌานมาแล้ว
    กรรมฐานแบบอรูป มี 4 อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
    https://th.wikipedia.org/wiki/กรรมฐาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2017
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ให้มีคำภาวนา ครับ ไม่ได้ให้รู้การเคลื่อนไหวครับ

    คือ ให้ จิตจับคำภาวนา เราจะทำอะไรในชีิวิตประจำวัน ครับ ทำอะไรก็แล้วแต่ เราก็ภาวนาไปด้วย ไม่ให้จิต หลุดจากคำภาวนา ไปฟุ้งซ่านเรื่องอื่นๆ ครับ

    เอาจริงๆ คือ จะปฏิบัติกรรมฐานกองไหนก็แล้วแต่ ต้องมีคำบริกรรม ห้ามขาดจากคำบริกรรม คำภาวนาครับ

    แม้กระทั้ง ปฐมฌาน ก็ยังต้องอาศัยคำบริกรรม คำภาวนา ครับ คือ ห้ามทิ้งคำบริกรรม คำภาวนา ครับ

    เพราะเราต้องการทำให้จิต สงบ รวมลงสมาธิ จิตเป็น สมาธิ เป็นฐานของการปฏิบัติ ในอนาคต ครับ ถ้าจิตยังไม่เป็นสมาธิ เรื่องอื่นๆก็ไม่ต้องพูดถึง เพราะว่าจิตไม่มีกำลังที่จะไปทำเรื่องอื่นๆได้นั้นเอง

    เราปฏิบัติ เพราะต้องการให้จิตสงบ จิตเป็นสมาธิ เป็นพื้นฐาน ของการ ปฏิบัติ ครับ

    การที่เราไปรับรู้การเคลื่อนไหวของร่างกาย ก็เปรียบเหมือน ฐานเคลื่อนออก จิตก็ไม่สงบ นั้นเอง คิดง่ายๆ ก็เหมือน เด่วเอาจิตไปจับตรงโน้น ตรงนี้ ของร่างกาย จิตก็เคลื่อนไปเรื่อย จิตไม่สงบ ครับ

    เราปฏิบัติ เราต้องการให้จิตเป็น สมาธิ ไม่ใช่ว่า เราปฏิบัติแล้วเอาจิต ส่งออกไปตามรู้ อาการของร่างกายต่างๆ

    เราปฏิบัติ เพื่อ ให้ จิต จิตเราเป็นสมาธิ ครับ ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อจับอาการของร่างกาย

    การที่รับรู้ลมหายใจ เข้า ออก นั้น เป็นแค่เบื้องต้น ของการให้คนที่ยังฟุ้งซ่านในการปฏิบัติ จดจ่ออยู่ เพื่อไม่ให้ฟุ้งซ่าน เราก็ต้องให้จับของหยาบๆ ก็คือ ลมหายใจ
    ก็ต้องจับของหยาบๆ ไปก่อน ครับ พิจิตสงบรวมลงสมาธิ จิตกับร่างกายแยกจากกัน เรามีสติอยู่กับตัวจิต ไม่รับรู้ร่างกาย เราก็ต้องจับคำภาวนาต่อไป ถ้าเราพยายามกลับมาจับลมหายใจ สมาธิเราก็เคลื่อนต่ำลงมาใหม่

    ถ้าเรา จิตเราละเอียดขึ้นไป จิตเป็นทิพย์ เราก็ต้องจับคำภาวนา นั้นเองครับ เพราะ จิตเป็นตัวภาวนา จิตเป็นทิพย์ เป็นเครื่องรวมไม่ให้เราฟุ้งซ่าน จิตเราฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่นๆ เพราะถ้าไม่ใช้คำภาวนา รับรองได้ว่า หลุด ฟุ้งซ่าน แน่นอน ครับ

    หรือให้นึกเห็นภาพ ก็อย่างการฝึก กสิณ ครับ เราก็ต้องภาวนาไปด้วย แล้วก็ต้องจับ รูปนิิมิต เพ่ง กสิณ อยู่ใน ชีิวิตประจำวัน ตลอดเวลา ไม่ให้หลุด ไม่ได้ไปจับอาการของร่างกาย ไม่ได้ไปจับการเคลื่อนไหวรับรู้ของร่างกาย ครับ

    ส่วนการ รู้ลมหายใจ คือ อานาปานสติ ครับ
    อานาปานสติ คือฐานของกรรมฐานทั้งหมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2017
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทั้งปวง ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออก สติจะไม่ตั้งมั่นทรงตัว สมาธิจะเกิดได้ยาก ดังนั้น การปฏิบัติในทุกวัน เราทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้ หายใจเข้ารู้อยู่ หายใจออกรู้อยู่

    จะทรงกสิณได้ ต้องไม่ทิ้งลมหายใจเข้าออก

    ถาม : อานาปานสติเป็นพื้นฐานกรรมฐาน ถ้าเป็นกสิณจะต้องมีอานาปานสติหรือเปล่าครับ ?

    ตอบ : ถ้าไม่มีแล้วคุณจะทรงกสิณได้อย่างไร ? คำภาวนา "ปฐวีกสิณัง อาโปกสิณัง" ทุกอย่าง ต้องควบลมหายใจเข้าออกหมด ถ้าไม่ควบลมหายใจเข้าออก สมาธิจะไม่ทรงตัว ภาพกสิณก็ตั้งมั่นไม่ได้ พูดง่ายๆ ว่ากรรมฐานอะไรก็ตาม ถ้าทิ้งลมหายใจเข้าออกอย่างเก่งก็ทรงตัวได้พักเดียว ถ้าไม่มีตัวสมาธิคอยช่วย การจะเข้าถึงที่สุดของกรรมฐานกองนั้นก็ไม่มี สมาธิจะเกิดได้ด้วยการดูลมหายใจเข้าออกเป็นหลัก

    ถาม : ในอานาปานสติ ภายในคืออะไร ภายนอกคืออะไร ?

    ตอบ : ภายในคือลมหายใจของเราเอง ภายนอกก็คือร่างกายนี้ หรือถ้ามีปัญญามากพอก็ดูเกินร่างกายนี้ไปที่ร่างกายคนอื่นก็ได้ แต่การที่เราจะไปดูร่างกายคนอื่น ส่วนใหญ่เป็นการส่งจิตออกนอก แล้วฟุ้งซ่านได้ง่าย เขาก็เลยเน้นว่า กายในคือลมหายใจเข้าออกเป็นหลัก แล้วกายภายนอกก็คือกายตัวเอง

    ถาม : เป็นกายอย่างอื่นไม่ได้ ?

    ตอบ :เป็นกายอย่างอื่นได้ แต่ส่งไกลไปเดี๋ยวคุมไม่อยู่

    ถาม : อิริยาบถภายในคืออะไร ภายนอกคืออะไร ?

    ตอบ : อิริยาบถภายในก็คือตัวสติที่ควบคุม แล้วภายนอกก็คืออาการเคลื่อนไหวของร่างกาย

    สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    ณ บ้านวิริยบารมี ต้นเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๖

     

แชร์หน้านี้

Loading...