เซนเก็บตก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 19 มีนาคม 2008.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ประสบการณ์เซ็น สามารถถ่ายทอดจากครูสู่ศิษย์ได้ และ ดำเนินมาเช่นนี้หลายศตวรรษแล้วโดยวิธีพิเศษที่เหมาะสมกับเซ็น คำกล่าวเพียงสี่บันทัดสามารถสรุปเรื่องของเซ็นได้อย่างกระชับและงดงามยิ่งดังนี้

    การถ่ายทอดด้วยวิธีพิเศษซึ่งอยู่เหนือถ้อยคำจดจาร
    เจาะลึกมุ่งสู่จิตใจมนุษย์
    มองเพ่งสู่ธรรมชาติของคน
    และเข้าสู่สภาวะของพุทธะ

    เทคนิค "การมุ่งตรงสู่"นี้ คือรสชาติที่พิเศษแตกต่างของเซ็น นี่คือลักษณะที่ฝังแนบอยู่ในจิตวิญญาณของญี่ปุ่น ผ่านมาจากสัญชาติญาณมากกว่าจากการใช้สมอง และกล่าวถึงข้อเท็จจริงในลักษณะของข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ โดยมิพักต้องมีข้อคิดเห็น ผู้รู้ของเซนไม่ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือและมองเมินการตั้งทฤษฏีหรือการคาดหวังใดๆ เซ็นพัฒนาวิธีการที่พุ่งตรงสู่ความจริง ด้วยคำพูดหรือท่าทีที่เรียบสั้นและง่าย อันนำสู่ปฏิทรรศน์ของมโนทัศน์เชิงความคิด โดยมีจุดประสงค์เพื่อหยุดยั้งกระบวนการความคิดและเครียมผู้เรียนให้พร้อมรับประสบการณ์ที่สัมผัสได้ด้วยจิต ตัวอย่างการสนทนาสั้นๆระหว่างครูเซ็นและศิษย์ เหว่ยล่างแสดงให้เห็นถึงเทคนิคดังกล่าว ในการสนทนาเหล่านี้ซึ่งปรากฏในวรรณกรรมเซ็นส่วนใหญ่ อาจารย์จะพูดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คำพูดทุกคำที่เปล่งออกมามีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงความสนใจของศิษย์จากความคิดเชิงนามธรรมสู่ความเป็นจริงที่เห็นได้ชัดทั้งสิ้น

    พระเซ็นรูปหนึ่งต้องการแสวงหาคำสั่งสอน จึงเอ่ยถามโพธิธรรมว่า
    "ข้าพเจ้าไร้สิ้นซึ่งความสงบแห่งจิตใจ โปรดช่วยทำให้จิตใจของข้าพเจ้าสงบลงด้วยเถิด"
    "จงนำจิตใจของท่านมาวางไว้ตรงหน้าเรา"โพธิธรรมตอบ"แล้วเราจะทำให้จิคใจนั้นสงบลง"
    "แต่เมื่อข้าพเจ้าตามหาจิตใจของข้าพเจ้า" พระเซ็นรูปนั้นตอบ"ข้าพเจ้าหาพบมันไม่"
    "นั่นไง" โพธิธรรมเน้นเสียง "เราทำสำเร็จแล้ว"



    พระเซ็นรูปหนึ่งบอกโจชู "ข้าพเจ้าเพิ่งเข้ามาในอาศรมนี้ โปรดสั่งสอนข้าพเจ้าด้วย"
    โจชูถามว่า ท่านกินข้าวต้มของท่านหรือยัง?"
    "กินแล้ว" พระเซ็นตอบ
    "ล้างจานของท่านเสียซิ" เป็นคำพูดจากโจชู



    บทสนทนาเหล่านี้ทำให้มองเห็นอีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะสมบัติของเซ็นชัดขึ้น การรู้แจ้งในความหมายของเซ็น มิได้หมายถึงการปลีกตัวจากภาระกิจของโลก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับหมายถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มุมมองนี้สอดคล้องกับสภาพอารมณ์ของจีนซึ่งให้ความสำคัญอย่างสูงต่อชีวิตที่มีผลผลิตจากการปฏิบัติงานและต่อแนวคิดการสืบต่อครอบครัววงค์ตระกูล จึงไม่อาจยอมรับพฤติกรรมการบวชเพื่อตัดกิจกรรมทางโลกของลัทธิพุทธอินเดียได้ อาจารย์เซ็นชาวจีนย้ำเสมอว่าฌาณ หรือเซ็นคือประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน "จิตของชีวิตที่ดำเนินอยู่ทุกวัน" ตามคำกล่าวของหม่าซู จุดเน้นของจีนคือ "การตื่น" ในท่ามกลางการใช้ชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปตามปกติ เห็นได้ชัดว่าคนเหล่านี้มิได้ให้ความหมายต่อชีวิตประจำวันเพียงแค่เป็นวิถีสู่การรู้แจ้งเท่านั้น แต่เป็นตัวตนของการรู้แจ้งเองอีกด้วย
    ในศาสตร์ของเซ็น ซาโตริหมายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใดในลักษณะธรรมชาติของพระพุทธคือจุดมุ่งหมาย กิจกรรมและผู้คนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวัน ดังนั้น แม้เซ็นจะเน้นการปฏิบัติของชีวิต แต่เซ็นก็เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้ง บุคคลผู้ถึงซึ่งซาโตริย่อมยังชีวิตอยู่ในปัจจุบันและปฏิบัติกิจของตนด้วยความมีสติ พร้อมกับเข้าถึงความปิติแห่งจิตอันเร้นลับภายใต้การกระทำในทุกกรณี

    โอ้ ช่างมหัศจรรย์ ช่างลึกลับเสียนี่กระไร
    ข้าแบกท่อนฟืน ข้าตักน้ำ



    การปฏิบัติเซ็นอย่างสมบูรณ์แบบจึงหมายเป็นการใช้ชีวิตประจำวันตามธรรมชาติ ตามที่เป็นไปเอง เมื่อมีผู้ขอให้ โปเช็งนิยามคำว่าเซ็น เขาตอบว่า "เมื่อหิว กิน เมื่อง่วง นอน" แม้คำพูดนี้จะดูเรียบง่ายและเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับคำกล่าวอื่นๆของเซ็น แต่ช่างทำได้ยากยิ่งนัก การกลับสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของเรากลับต้องใช้เวลายาวนานในการฝึกและทำจิต พระเซ็นผู้มีชื่อเสียง กล่าวว่า
    "ก่อนศึกษาเซ็น ภูเขาก็คือภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ ขณะกำลังศึกษาเซ็น ภูเขาไม่ใช่ภูเขา และแม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำอีกต่อไป แต่เมื่อไปถึงการรู้แจ้งแล้ว ภูเขาก็กลับเป็นภูเขา และแม่น้ำก็ปรากฏเป็นแม่น้ำอีกครั้งหนึ่ง"

    จุดเน้นของเซ็นเกี่ยวกับความเป็นธรรมชาติและการปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามครรลองที่ควรจะเป็นสะท้อนถึงรากฐานที่มาจากเต๋า แต่พื้นฐานของแนวคิดเช่นนี้ย่อมเป็นแนวคิดจากปรัชญาพุทธอย่างแท้จริง มันคือความเชื่อในความสมบูรณ์สูงสุดของธรรมชาติแต่เดิม การตระหนักว่ากระบวนการรู้แจ้งนั้น แท้ที่จริงก็คือการกลับคืนสู่สิ่งที่เรา "เป็น"ตั้งแต่ต้น เมื่อมีผู้ถามอาจารย์เซ็น โปชางว่าจะแสวงหาธรรมชาติพุทธะได้อย่างไร ท่านตอบว่า "ก็คล้ายกับเมื่อเราขี่หลังวัว ตามหาวัวนั่นเอง"
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ถ้ามีคนถาม ขันธ์ ว่า จะแสวงหาพุทธะได้ที่ไหน

    ตอบว่า หยุดหาสิ แล้วจะเจอ

    หมายความว่า เราไม่เคยหยุด เราสร้างตรรกะร้อยแปดว่า พุทธะ จะต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ การคิดขึ้นมา การสร้างขึ้นมา หรือ สร้างกรอบขึ้นมา เราก็ตามหาสิ่งนั้น เมื่อได้มาก็ไม่ถูกใจ ไม่ใช่

    เราลองหยุด ตรรกะ หยุด ภาพที่เราคาดไว้ เกี่ยวกับ พระนิพพาน หรือ พุทธะ หรือ การบรรลุ นี้เราลองหันมาหาความจริงแบบเรียบง่ายก่อน

    เช่น หิวก็กิน ง่วงก็นอน เดินก็คือเดิน นั่งก็คือนั่ง
    ปวดถ่ายก็ถ่าย

    ไม่มีความปรุงแต่งซ้อนไปอีก เมื่อเราลบความปรุงแต่งออกไปทั้วปวง
    จิตเราจะกลับเข้าสู่สภาวะก่อนปรุง ก็จะเกิดความอัศจรรย์ในความเรียบง่ายนั้นเอง เห็นเองว่า การที่เราคิดไป ปรุงไป นั้น เราไม่มีทางเจอ

    ก็เปรียบได้กับ คนขี่หลังวัว ตามหาวัว ตามที่ เจ้าของกระทู้ กล่าวมาหรือ อีกอย่างหนึ่งคือ นักรบหาไข่มุกล้ำค่า ทั่วโลก ก็ไม่เจอ เพราะมันติดที่หน้าผากตนเอง

    ก็ใครสนใจ เซ็น ก็คุยกันได้ เพราะผมเคยผ่านแบบเซ็นมาแล้ว
     
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    แหะๆ

    ผมนะ อ่านได้ เข้าใจนะ แต่ไม่ชอบใจ

    ที่ไม่ชอบใจ เพราะหนังสือเซ็นเอาแต่แสดงบทรำพัน ไม่แสดงบทที่ว่า
    ด้วยการปฏิบัติ

    เลยเกิดอคติทันทีที่อ่านว่า อีกละ กลอนอีกละ ก็เข้าใจ แต่มันไม่พ้นคิด
    เพราะคิดตามเลยเข้าใจ ไม่ใช่เข้าใจเพราะเห็นการไม่คิด

    อ้าว! กลอนซะงั้น
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ผมก็ไม่ชอบใจครับ ท่านเอกวีร์
    แต่ก็อธิบายให้คนอื่นฟังได้ เพราะว่า เซ็น ปราศจากการปฏิบัติ

    ลำพังการเห็นธรรม ไม่ว่าจะเป็น การบรรลุ ในขั้นใดก็ตาม ถือว่า ตรงกับ อริยสัจแค่ นิโรธ คือ เห็นความดับทุกข์ไป

    แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นในการถอน คือ อริยมรรค

    ก็ไม่ว่าจะรู้แจ้งแบบเซ็นอย่างไรก็ตาม ก็ต้องปฏิบัติ และถอน
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    หลักเซน คือ ใช้คำถามที่เรียบง่าย แต่ใช้ปัญญาที่ลึกซึ้งในการคิดตอบ ตีโจทย์แตก
    ขึ้นอยู่กับภูมิธรรมแต่ละคน
    คำตอบที่ได้ ไม่มีใครผิดหรอก เป็นไปตามความเข้าใจ
    สุดท้ายปัญญาก็ถูกพัฒนาทั้งคู่ คืนสู่ความเรียบง่าย

    หากมองเผินๆก็เหมือนคำถามธรรมดา คำตอบก็แสนธรรมดา
    แต่ซ้อนความไม่ธรรมดาอยู่ข้างใน

    "ก่อนศึกษาเซ็น ภูเขาก็คือภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ ขณะกำลังศึกษาเซ็น ภูเขาไม่ใช่ภูเขา และแม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำอีกต่อไป แต่เมื่อไปถึงการรู้แจ้งแล้ว ภูเขาก็กลับเป็นภูเขา และแม่น้ำก็ปรากฏเป็นแม่น้ำอีกครั้งหนึ่ง"
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ครับ ปัญญาระดับเซน เป็นปัญญาญาณ สามารถไปได้ถึง โสดาบัน
    แต่หลังจากนั้น ต้องปฏิบัติอยู่ดี
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ก็ เรื่องดี ๆย่อมดีทั้งหมด
    คุณหลงเข้ามาก็โพสมาดีแล้วครับ เผื่อคนที่มีจริตทางนี้ อ่านทีเดียวแล้วแจ้งเลย
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ซาโตริ หรือ การบรรลุฉับพลัน ในทางเซน ก็เป็นส่วนหนึ่งของพุทธ ครับ

    กว่าจะบรรลุได้ก็ต้องพากเพียร ปฎิบัติอย่างจริงจัง เช่นเดียวกัน
     
  9. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    จิตสู่จิต จึงมิได้ติดในคำพูด


    ฉันพูดว่ากินข้าวหรือยัง
    ไม่ได้หมายถึงกินข้าวหรือยัง
    หมายถึงอะไร?


    จิตผู้นั้นทราบเอง
    เซนจึงแปลไม่ได้
    อาศัยรู้ด้วยจิต
     
  10. demonicus

    demonicus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +314
    ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...