ทำยังไงจึงจะฝึกภาวนาได้โดยไม่มีความอยากนำ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จอมมารหิมะขาว, 12 ตุลาคม 2017.

  1. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณมากครับคุณสมิง สมิง สมิง
     
  2. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณมากครับคุณ งูๆปลาๆ รบกวนขยายความในเรื่อง "ทั้งสองส่วนจะรวมตัวกันและเผยส่วนแรกให้กระจ่าง" ได้มั้ยครับ ผมจะได้ไม่ตีความไปเอง
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    เยี่ยมเลยคุณน้อง ที่เริ่มสังเกตุกิริยาได้ แสดงว่ามีกำลังสติทางธรรมแล้ว....
    ส่วนการคลายตัวเองของจิต ที่เราเข้าใจก็มาถูกแล้วหละ.....

    ขอขยายความเพิ่มเติมให้ เชิงเทคนิคว่า
    จิตจะต้องคลายตัวเอง ได้จากการไม่ยึด หรือ ปล่อยวางกิเลส
    หรือเรื่องใดๆก็ตามที่ทำให้จิตเกิดขึ้น
    โดยที่ไม่ใช่ วิธีการใดๆ หรือใช้ความชำนาญใดๆ
    หรือมีตัวใดๆไปกระทำให้มันคลายตัวเองนะ.....

    พูดง่ายๆว่า คลายตัวได้ตามธรรมชาติ
    เพราะแม้จะใช้วิธีการอื่นๆให้มันคลายตัว
    แต่มันเป็นเพียงแค่ชั่วคราว เพราะมีตัวไปกระทำอยู่


    กิริยาที่คลายตัว อีกนัยยะคือ การที่จิตค่อยๆ(ย้ำว่าค่อยๆ)กลับ
    สู่เนื้อหาเดิมแท้ของจิต ซึ่งจะไปต่อถึงในขั้น จิตดั้งเดิมได้ต่อไป
    ซึ่งพอจิตคลายตัว มันจะไร้รูปร่าง ไร้ภาษาในการอธิบายได้
    เพราะว่า ไม่มีอะไรมาเกาะตัวจิต.....

    ซึ่งเริ่มต้นได้ จากการที่พี่ได้แนะนำไปนั่นหละ...
    ปัญหาที่เราเจอ และพึ่งสังเกตุออก
    จะเจอในคนที่พอมีกำลังสติกับพอมีปัญญาทางธรรมแทบทุกคน
    เพียงแต่น้องดีตรงที่ ไม่หลงตัวเองก่อน ๕๕๕
    เพราะเข้าใจว่า รู้ปุ๊บตัดปั๊บ แล้วจบเลย
    แต่ก็จะมาสงสัยกันทีหลังในอนาคตว่า
    เอ่อ เคยตัดแล้ว จบแล้ว ทำไมยังขึ้นมาได้อีก
    แม้จะตัดได้เร็วเหมือนเดิมก็ตามนั้นหละ....

    ที่แนะเป็นอุบาย เพื่อเดินไปสู่ กระบวณการที่จะรู้ได้
    ตั้งแต่กระบวณการเกิดของมันเลย ซึ่งต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป
    ตามวาระแห่งตนเองนะ ทุกคน ณ จุดนี้มีการเริ่มต้นเสมอ
    ทางโลกเรียก ปัญญาญาน (พูดเพื่อว่าจะดูหล่อขึ้นมาหล่อ)
    ซึ่งจะต่างกับปัญญาทางธรรมตรงที่
    ปัญญาญาน ถ้าเข้าใจกระบวณการเกิดได้แล้ว(พระป่าบางท่านเรียก รอบรู้กองสังขาร)
    จิตจะทิ้งเรื่องนั้นๆ ไม่ดึง ไม่ระลึก ไม่ผุด ขึ้นมาให้ปรุงได้อีกเลย
    นี่ก็เป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้จิตคลายตัวได้เช่นกัน....
    คนที่จิตคลายตัวได้นาน ก็เพราะมีตรงนี้

    รอบรู้ในกระบวนการเกิดเป็นเรื่องๆไปนั่นเอง

    ปล.โม้เสริม เพิ่มเติมล่วงหน้าเล็กน้อย..พอขำๆ...
     
  4. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    [/QUOTE]
    ผมยังไม่เห็นแบบนี้เลยครับ ที่ผมเห็นคือแบบนี้ครับ

    แบบแรก
    กระทบทางประตูทั้งห้า>>กระตุ้นให้เกิดการให้ค่าจากอนุสัยในจิตเรา>>เกิดการกระเพื่อมของจิตขึ้น (ไหวๆ) (ถ้าทันตรงนี้ก็ดับหายไปเลยครับ) >>ถ้าไม่ทันก็จะทำให้เกิดอยาก/ไม่อยาก/ชอบ/ไม่ชอบ (ตรงนี้ถ้าทันก็ดับครับ)>>ถ้าไม่มันใจก็จะเริ่มดิ้นรน กระเพื่อม เกิดการปรุงเป็นอารมณ์>>แล้วผลักดัน ล้นออกมาเป็นวาจาเป็นการกระทำครับ

    แบบสอง
    กระทบทางประตูทั้งห้า>>เฉยๆ ไม่ให้ค่าอะไรคับ

    ผมไม่แน่ใจว่ากริยาจิตของผมกับของคุณธรรมชาติคือสิ่งเดียวกันหรือเปล่านะครับ และการแทรกแซงในที่นี้ของผมคือ สติมันทันแค่นั้นเองครับ ผมไม่ได้เจตนาไปแซกแทรงมันเลยครับ เลยไม่แน่ใจว่ามันคือการแทรกแซงหรือเปล่า

    ส่วนอีกแบบนี้คือผมไม่ทันจนมันปรุงเป็นอารมณ์แล้วครับ แล้วสติก็เหมือนเบรค สมาธิช่วยหน่วง จนมันมี ว่าง เกิดขึ้นแว่บนึง ตรงนั้นมันจะให้ผมเลือกว่าผมจะทำหรือไม่ทำตามอารมณ์ที่ปรุงครับ

    ต้องขออภัยครับที่ผมอาจจะไม่ได้อธิบายให้ชัดเจน ส่วนนี้ผมพอเข้าใจครับ ขอบคุณมากครับที่อธิบาย แต่วิบากทางจิตที่ผมกล่าวไว้ตอนแรก ผมหมายถึงการใช้งานจิตครับ จนเกิดการยึดใน รู้ ที่ได้จากการใช้งานจิตครับ

    แต่คุณธรรมชาติพูดถูกครับ ผมยังไม่เห็นการเกร็งตัวของจิตจริงๆนั่นแหล่ะครับ ผมเห็นแค่ที่ผมกล่าวไว้ก่อนหน้าเองครับ คงต้องเพิ่มการสังเกตต่อไป ยังไงก็ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ที่แนะนำครับ

    ขอบคุณมากๆครับคุณธรรมชาติ สำหรับคำแนะนำครับผม
     
  5. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณคุณนิวรณ์มากครับที่แนะนำ และเตือนครับ

    ครับๆ ผมยังไม่ทิ้งสมถะครับ เพียงแต่ปรับวิธีการและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างที่คุณนิวรณ์ว่าไว้ครับ ผมนั่งฝึกแล้วผมติดนิ่ง ว่าง ผมก็ใช้การเดินฝึกครับ กริยาเคลื่อนไหวใจก็รู้สึกไปครับ มันก็ได้ความสงบอีกแบบจากที่เคยหลับตาฝึกครับ

    ส่วนที่เหลือผมยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ครับ คงต้องค่อยๆพิจารณาตามที่แนะนำครับ
     
  6. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณคุณ tsukino2012 มากครับ
     
  7. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    อธิบายได้ชัดเจน เข้าใจง่ายเลยครับพี่

    ปัญญาทางธรรมที่พี่บอกมันยังตัดได้ไม่เด็ดขาดจริงๆด้วยครับ เพราะช่วงที่ผมขยันฝึกทุกวัน มันก็ไม่โผล่มาให้เห็นครับ พอผมปรับเปลี่ยนการฝึกมาเน้นในชีวิตประจำวัน มันก็เริ่มทะยอยโผล่มาให้เห็นล่ะครับ แต่ระดับที่เกิดไม่รุนแรงเหมือนก่อนเริ่มฝึกนะครับ เหมือนมันจะมีเบรกคอยดึงๆไว้ไม่ให้มันระเบิดเต็มที่ครับ 555

    ขอบคุณพี่มากๆครับ
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ส่วนแรกนิวรณ์ยังบดบังคุณอยุ่ ส่วนที่สองคุณต้องทำให้เกิดความเป็นวสีระหว่างการเข้าออกสมาธิหรือการคงสมาธิไว้และออกจาดสมาธิโดยสิ้นเชิง ทั้งสองส่วนจะรวมตัวกันเละเผยส่วนแรกให้กระจ่างครับ พิจารณาความคาดหวัง ผลของการคาดหวัง อย่าไห้มีสิ่งที่หวังไว้ ปล่อยให้ผลเป็นในสิ่งที่เป็นจริงๆ

    งูๆปลาๆ ที่พูดนั้น ก็ต้องการให้ จขกท. ตีความเอาเอง เช่น กันให้ไหมขอรับ
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ที่คุณ QUOTE ตรง "จุดที่ผมโพสท์" ไปนั้น ตรงนั้นแหละ คือ "แบบที่สอง" ตรงกับอาการของตุณ นั่นเอง
    +++ และในแบบที่สองนี้ คือคำว่า "กิริยาจิต" ในความหมายของผม
    +++ คือ "รู้อยู่ แต่ไม่มีอิทธิพล จากกิริยาจิต" นั้น ๆ

    +++ ส่วน "แบบแรก" ของคุณ "กระทบทางประตูทั้งห้า > เกิดการให้ค่าจากอนุสัยในจิต > เกิดการกระเพื่อมของจิตขึ้น (ไหวๆ) > ถ้าไม่ทันก็จะทำให้เกิดอยาก/ไม่อยาก/ชอบ/ไม่ชอบ > ถ้าไม่มันใจก็จะเริ่มดิ้นรน กระเพื่อม เกิดการปรุงเป็นอารมณ์ > แล้วผลักดัน ล้นออกมาเป็นวาจาเป็นการกระทำครับ"

    +++ ตรงนี้ ผมเรียกมันว่า เป็นอาการของ "ตัวจะ" ซึ่งเป็นอาการของ "1 เจตนา" หรือจะเรียกว่า "1 วาระจิต" ก็ได้
    +++ ที่เป็น "ปฏิกิริยาตอบสนองจากสิ่งเร้า ที่เข้ามาทาง ทวารทั้ง 5"
    +++ ตรงนี้เป็น อาการก่อนการเกิดของ "จิตส่งออก" (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    +++ เป็นสิ่งเดียวกันตาม "แบบที่สอง" การใช้ภาษาอาจต่างกัน แต่ กิริยาอาการ "เป็นอันเดียวกัน"
    +++ ตรงนี้ "ไม่ใช่" การแทรกแซง เพราะ "ขาดเจตนา" ไม่มีเจตนาใด ๆ เจือปนอยู่
    +++ การ "ดับ" ของมัน "เป็นกระบวนการของ ธรรมชาติทางจิต" ที่มันเป็นไปเอง โดยไร้การแทรกแซง หรือ เจตนาใด ๆ ทั้งสิ้น
    +++ ดีแล้ว ตรงนี้เป็น "จุดสำคัญ" ของผู้ที่มีขีดความสามารถในการ "เลือกกรรมได้" คุณอยู่ใน "ภูมิวิปัสสนา" เต็มตัวแล้ว ยินดีด้วยครับ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ทำให้ชัด พอชัดแล้วก็รู้ว่า... :)

    นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิชาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง

    คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

    "...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจหรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

    "ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"


    นิวรณ์ ๕ * อย่างนั้น
    คือ
    ๑. กามฉันท์ ความอยากได้ อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หรือจ้องจะเอา หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

    ๒. พยาบาท ความ ขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

    ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถอดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย (ท่านหมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก) จิตที่ถูกอาการอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

    ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็นอุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่ายพร่า พล่านไป กับกุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน งุ่นง่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

    ๕. วิจิกิจฉา ความ ลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตกลงใจไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงไหม คิดแยกไปสองทาง วางใจไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ กวนไว้ ให้ค้าง ให้พร่า ให้ว้าวุ่น ลังเลอยู่ มีแต่จะเครียด ไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ

    ............
    ที่อ้างอิง *
    * นิวรณ์ ๕ ที่มีอภิชฌา เป็นข้อแรก มักบรรยายไว้ก่อนหน้าจะได้ฌาน ....ส่วนนิวรณ์ ๕ ที่มีกามฉันท์ เป็นข้อแรก มักกล่าวไว้เอกเทศ และระบุแต่หัวข้อ ไม่บรรยายลักษณะ...ดูอธิบายในนิวรณ์ ๖ (เติมอวิชชา)
    อภิชฌา = กามฉันท์
    อภิชฌา = โลภะ
    คำว่า กาย ในข้อ ๓ ท่านว่า หมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก (สง.คณี อ. ๕๓๖)




    วสี ความชำนาญ มี ๕ อย่าง
    คือ
    ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว

    ๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะเข้าฌานได้รวดเร็วทันที

    ๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์

    ๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ

    ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น


    วิปัสสนาภูมิ ภูมิแห่งวิปัสสนา ฐานที่ตั้งอันเป็นพื้นที่ซึ่งวิปัสสนาเป็นไป, พื้นฐานที่ดำเนินไปของวิปัสสนา

    ๑. การปฏิบัติอันเป็นพื้นฐานที่วิปัสสนาดำเนินไป คือ การมองดูรู้เข้าใจ (สัมมสนะ, มักแปลกันว่าพิจารณา) หรือรู้เท่าทันสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตา อันดำเนินไปโดยลำดับ จนเกิดตรุณวิปัสสนา ซึ่งเป็นพื้นของการก้าวสู่วิปัสสนาที่สูงขึ้นไป

    ๒. ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ตรงกับคำว่า "ปัญญาภูมิ" ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย, เฉพาะอย่างยิ่ง ท่านเน้นปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นที่รวมในการทำความเข้าใจธรรมทั้งหมดนั้น, ว่าโดยสาระก็คือธรรมชาติทั้งปวงที่มีในภูมิ ๓
     
  12. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    เรื่องของวิปัสสนาภูมิ ต้องพิจารณาเรื่องอื่นๆประกอบด้วยว่า ในแต่ละวัน โยคีนักปฏิบัติได้โยนิโสมนสิการ ไตรลักษณ์ ในเรื่องอะไรบ้าง หยิบกรรมฐานกองไหนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาบ้าง การพิจารณาในระหว่างวันก็จะสร้างสมปัญญาขึ้นไปเรื่อยๆ ปัญญาก็จะคมกล้า หลักแหลมขึ้นไปเรื่อยๆ เรื่องนี้โยคีรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นปัจจตัง รู้ได้เฉพาะตน
    เมือโยคีนักปฏิบัติได้เข้าสู่วิปัสสนาภูมิ สัมมาทิฐิเกิดขึ้น สังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลาย โยคีก็จะละได้ เพราะวิปัสนนาภูมิเป็นทางสายเอกที่จะเข้าสู่ความเป็นอริยะ มิใช่ว่าเป็นอริยะไปแล้วถึงจะเริ่มไม่เอา หรือพึ่งจะละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ในภายหลัง การเป็นอริยะอุปมาว่าเหมือนนักศึกษาจบป.ตรี โยคีต้องเรียนรู้มาตั้งแต่อนุบาล กว่าจะถึง ปตรี ก็ต้องมีความรู้และวิชาสะสมอยู่ในองค์ความรู้มากมายแล้ว ความเป็นอริยะเป็นเพียงใบปริญญา ที่แสดงให้เห็นว่าความพากเพียรกระทำการต่างๆในเวลาที่ผ่านมาสัมฤทธิ์ผลแล้ว ดังนั้นวิปัสนนาภูมินี้คือหนหาง และบันไดที่โยคีได้เรียนรู้และเริ่มละ สังโยชน์ในข้อต่างๆแล้ว สัมมาทิฐิเกิดขึ้นแล้ว
    จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งจะตรวจสอบว่าโยคีนักปฏิบัติได้ก้าวหน้าไปถึงไหน สังโยชน์เบื้องต่ำมีอะไรบ้างโยคีจึงควรตรวจสอบ (นักปฏิบัติบางคนหลงทาง บอกว่าตนได้วิปัสสนาญาณแล้ว แต่ยังเดินทางไปไหว้พ่อปู่ แม่แก่ ตะลอนทัวร์กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิตามป่าเขาต่าง)

    สำหรับข้อนี้เอาไว้คนที่อินทรีย์แก่กล้าสักหน่อย การแยกรูปแยกนาม คนที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นั่นไม่ใช่ตัวเรา จิตมันแยกออกจากตัวเราในเวลาปกติ จิตเราเป็นผู้แยกออกมาดู เหมือนไอ้คนที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นี้เป็นอีกคนหนึ่ง นี่ก็หนึ่งในอาการที่อยู่ในวิปัสนาภูมิ สำหรับผู้ที่อินทรีย์แก่กล้าสักนิด


    โยคีนักปฏิบัติตรวจสอบข้อต่างๆเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง ว่าได้มีผลที่เป็นปฏิเวธแล้วในข้อไหนบ้าง
    "ไม่ต้องให้ใครมาพยากรณ์"
    เพื่อป้องกันการหลงทางทำให้เสียเวลาไกล ถ้าโยคีนักปฏิบัติคนไหนได้เดินอยู่ในทางเส้นนี้แล้วก็ขออนุโมทนา
     
  13. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ท่านเองเป็นผู้มีปัญญามากอยู่แล้วงูๆปลาๆเชื่อว่าท่านเองสามารถทำคำตอบในใจท่านให้กระจ่างได้
     
  14. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    ;):):pอาการจิต ที่เกิดขึ้นตอนนี้นะอยู่ในขั้นดีมาก.. อยู่ในขั้นเดียวกับคุณ พลังงาน(เพราะคุณสามารถเห็นการกระเพื่อมของอารมณ์-ที่หน้าอกได้จิตต้องมีสมาธิดีทีเดียว)..แต่ขาดความรู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปเท่านั้นเอง ไม่สั่งสมสุตตะที่ถูกต้อง ..อ่านจากคำถามความเข้าใจในเรื่อง จิต..ของคุณไม่ถูกต้องเลย มององค์ความรู้ เกี่ยวกับจิต..ไม่ถูกต้อง จึงตั้งคำถามข้ามขั้นตอนการปฏิบัติไป ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2017
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ไม่ได้พยากรณ์ แต่นำแบบมาให้ดูว่ายังไง วิปัสสนาภูมิ :p
     
  16. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    เราต้องมีความอยาก คือ ฉันทะ ในธรรม มีความรักในธรรม รักในการปฏิบัติก่อนครับ
    แล้วเราถึงจะเริ่มปฏิบัติได้ ถ้าไม่อยากก็ไม่ทำ
    เมื่อเราเริ่มปฏิบัติไปแล้ว ทำๆไปเดี๋ยวความอยากก็จะหายไปเอง ไม่ต้องไปบังคับ
    ยิ่งไปบังคับไม่ให้อยาก จิตยิ่งต่อต้าน มันจะยิ่งอยากไม่หยุด
    ให้ปล่อยมันครับ เรามีหน้าที่ภาวนาเราก็ภาวนาไป มันจะอยากอย่างไรก็ปล่อยให้มันอยากไป
    เราภาวนาส่วนภาวนา ความอยากก็ส่วนความอยาก คนละส่วน ไม่เกี่ยวกัน


    ถ้าเราภาวนาไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวคามวอยากก็จะลืมไปเอง เหลือแต่ภาวนาอย่างเดียว
     
  17. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณคุณเราโตมาคนละแบบมากครับ
     
  18. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณคุณ Apinya Smabut มากครับ
     
  19. ฐีติภูตัง

    ฐีติภูตัง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +5
    แชร์ประสบการณ์ เป็นประเด็น ๆ ก็แล้วกันนะ
    1) ผู้ฝึกกรรมฐานมาส่วนหนึ่ง แรกเริ่ม มันตั่งใจขึ้น ก็ย่อมประกอบด้วยเจตนา คำว่ากรรมฐานย่อมต้องมีเจตนาประกอบ มิฉะนั้นไม่ไปให้ ทำไม่ได้ แต่ก็พึงรู้ว่า กำลังประพฤติปฏิบัติ สมถะกรรมฐาน ซึ่ง ก็จะมีข้อแตกต่างกับฝ่าย วิปัสานายานิก ที่มีขบวนการอีกรูปแบบที่แตกต่างกันในรายละเอียด
    2) สิ่งที่แยกออกจาก โลกียณาน และ โลกุตรณานนั้น อยู่ตรงไหนกัน สรุปรวบเข้าคือ สัมมาสังกัปโป ความดำระ ออกจาก กาม ความดำริออกจากความพยาบาท และ ความดำริออกจากความเบียดเบียนทั้งปวง นักภวานามักหลงลืมว่า สิ่งที่กำลังดำเนินนั้นวัตถุประสงค์เพื่อการใด เพราะมัวฟัด มัวตะคลุบอยุ่กับสภาวะ ลืมโดยปริยายในข้อนี้ ถ้าหมั่นระลึกเสมอ ๆ ปัญหาที่ถามก็จะไม่เป็นประเด็น แต่ก็ย่อมมีอยุ่ในบางคนที่ มีอุปนิสัยติดมา ก็ต้องเพียรระลึกไว้เนื่อง ๆ ต้องใช้เวลาในการละลายพฤติกรรม การภวานาเพื่อให้จิตสงบสติตั่งมั่นรู้ระลึกชัดในสภาพธรรมที่จะปรากฏเนื่อง ๆ จนเกิดภูมิปัญญา แห่งวิปัสสนาญาณขึ้น โดยพ้นวิสัยแห่งเจตนาทั้งหลายทั้งปวง สรุปโดยรวบคือ ในชั้นสมาถะนั้น ยังสามารถประกอบเจตนาได้ แต่เมื่อถึงพร้อมเข้าสู่วิถีวิปัสสนาแล้วนั้น ย่อมต้องเกิดเองเป็นเอง เห็นเองปรากฏเองประจักรแจ้งเอง ทำให้เกิดก็มิได้ เพราะพ้นไปจากขอบเขตแห่งเจตนา มิฉะนั้น ก็จะเป็นวิปัสสนึก การขึ้นสุู่ญาณวิถีแห่งวิปัสสนานั้น ญาณต้นต้องปรากฏขึ้นเสียก่อน เราเพียรฝึกได้ พยายามได้ แต่ การปรากฏนั้น มิได้อยู่ภายใต้ความปรารถนาของผู้ใดได้เลย
    3) หลุมพลางของสมาถะยานิกคือ หากกำลังแห่งณานเกินพอดีพอควร มันบดบังหนทาง บดบังการปรากฏขึ้น ตั่งอยุ่ ดับไป นิ่งเฉย กลายเป็น สมาถึก ยานิก ไม่ไปไหน แท้จริงมันก็ดีเพียงเพื่อเอาไว้พัก แต่หากขาดความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว ติด ฉะนั้นจึงต้อง พอดีพอควร แรงเกินบางที่ก็ดับ ด้วยโดยพละส่วนเดียว แต่มิก่อเกิดปัญญา เพราะขั้นตอนมันดับกลางคัน ก็เข้าไปเสพสุข ตกเป็นทาส สุขสัญญาวิปลาส
    4) การมีสติเฝ้าระลึกรู้อารมณ์ที่ปรากฏนั้น โดยปรกติคนเรานั้น รู้ได้ตรงบริเวณ ช๊อตที่ สองเสียส่วนใหญ่ คือ จิตแล่นขึ้นสู่วิถี เรียบร้อยแล้ว แต่นั้นก็นับว่ายังดี เช่นส่วนใหญ่รู้ตอนโกธร ขบวนการมันสับเสร็จแล้ว เมื่อความโกธรปรากฏ แทนที่จะโกธร และ โกธร และ โกธร หากสติระลึกขึ้นทันได้โกธร แล้วมีสติระลึก กระแสมันก็ไม่แล่นไปต่อ ถูกตัดขั่นด้วยสติ ความเป็นอกุศลก็ดับ บ่อย ๆ เข้า ความไวก็ีมี ความเร็วก็มี จนจิตเกิดเท่าทันเองโดยมิต้องเกร็งเฝ้าระวัง เกิดเป็นความชำนาญ เป็นถิระสัญญาขึ้น เจตนาในการประพฤติ เฝ้าจ้องก็หมดไปในที่สุด

    ก็ขอร่วมเสวนาเป็นแนวทางเพียงเท่านี้ เรื่องจิตเรื่องธรรม รายละเอียดมากมายมิรู้จบสิ้น ขออภัยโพลส์ยาวเกินไป แต่นั้นก็ยังมิอาจครอบคลุมเลย ขอให้โชคดี
     
  20. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ท่าน จขกท. อยู่ขั้นที่ 7 - ขั้นที่ 8

    คัดมาบางส่วน

    จากหนังสือหลักปฏิบัติอานาปานสติ (พุทธทาสภิกขุ)

    เรื่องปฏิบัติตามแนวของ อานาปานสติสูตร แห่งมัชฌิมนิกาย ในพระไตรปิฏก สูตรนี้มีหลักเกณฑ์การปฏิบัติว่า อานาปานสตินั้น คือ การกระทำอย่างนี้ๆ โดยสมบูรณ์แล้ว เมื่อทำอย่างนี้ได้แล้ว สติปัฏฐานสี่จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และสมบูรณ์พร้อมกันไปในตัว เมื่อสติปัฏฐานสี่สมบูรณ์แล้ว โพชฌงค์เจ็ดจะสมบูรณ์ขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อโพชฌงค์สมบูรณ์แล้ว วิชชาวิมุตติจะปรากฏขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ฉะนั้นหน้าที่ของเรา คือ ปฏิบัติอานาปานสติตามแนวนี้ให้สมบูรณ์เพียงอย่างเดียว

    .
    .
    .

    ขั้นที่ 7. กำหนดรู้จักปีติและสุขนั้น ในฐานที่ปรุงแต่งจิต

    เช่นเดียวกับลมหายใจเป็นสิ่งปรุงแต่งกายในขั้น 3 ปีติและสุข ก็เป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ในขั้นที่ 7 นี้. รู้จักจิตสังขาร ก็คือรู้ปีติและสุข หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เวทนา” นั่นเอง เวทนาที่มีชื่อว่า “ปีติ” เวทนาที่มีชื่อว่า “สุข” ยกเอามาเป็นบทศึกษา ให้รู้ว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เลยให้นามแก่เวทนานั้นใหม่ว่า “จิตตสังขาร”. รู้จักอาการที่เวทนาปรุงแต่งจิตนี้อยู่เป็นประจำ ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก เวทนาทำให้เกิด “สัญญา” (คือความสำคัญมั่นหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ว่านั่นอย่างนั้น นี่อย่างนี้) แล้วสัญญา ก็ให้เกิดวิตก คือ “ความคิดที่เป็นจิต” จึงได้ชื่อว่า “เวทนา ปรุงแต่งจิต”. เวทนาปรุงแต่งจิตผ่านทางสัญญา เช่นในกรณีธรรมดาก็เช่นว่า เห็นรูปที่สวยงามเป็นสุขตา เป็นสุขเวทนาทางตา และสำคัญมั่นหมายว่าเป็นดอกไม้ที่สวยงาม เป็นสตรีที่สวยงาม เป็นบุรุษที่สวยงาม อย่างนี้ ก็เรียกว่าเป็นสัญญา ; แล้วสัญญานั้นจะปรุงแต่งให้เกิดวิตก คือ ความคิดว่าเอาอย่างนั้น จะเอาอย่างนี้ ขึ้นมาทีเดียว นี้เรียกว่า “จิตหรือวิตก” ก็ได้. เวทนาปรุงแต่งจิตอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเวทนาจึงได้ชื่อว่า “เครื่องปรุงแต่งจิต หรือ จิตตสังขาร”. เราต้องดูที่เป็นอยู่จริง ในภายในของเรา ว่าเวทนาคือ ปีติและสุข ได้ปรุงความคิดอย่างไรขึ้นมาบ้าง ให้ดูที่ตรงนั้น อย่าไปคำนวณข้างนอกโน้น ว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ นั่นจะเป็นเรื่องข้างนอก ไม่ประสงค์ในที่นี้ ; ประสงค์จะให้ดูแต่ว่า ปีติและสุขในใจของเราที่แท้ล้วน ๆ กำลังปรุงความคิดอะไรได้ ก็ดูสิ่งนั้นอยู่เรื่อยไป จนพบข้อเท็จจริงว่า เวทนานี้ปรุงแต่งจิต แล้วก็ดูอยู่ที่ข้อเท็จจริงนี้ให้ชัดลงไป ไม่ลังเล ไม่สงสัย จึงเลื่อนการปฏิบัติขึ้นไปสู่ขั้นที่ 8.

    ขั้นที่ 8. คือการรำงับกำลังของจิตตสังขารนั้นเสีย

    หรือควบคุมไว้ให้ได้ อย่าให้ปรุงแต่งไปในทางเป็นอุปาทานยึดมั่น ว่าตัวเราของเรา. ที่เราได้ระงับจิตตสังขารกล่าวคือเวทนานี้ก็เพราะว่าเราจะควบคุมจิตนั่นเอง เรารู้จักจัดการกับต้นเหตุของจิต เราจึงสามารถควบคุมจิตฉะนั้นสิ่งใดเป็นต้นเหตุปรุงแต่งจิต ก็ควบคุมสิ่งนั้น กระทำไม่ให้เวทนาปรุงแต่งจิตได้ ด้วยอาศัยความรู้ที่รู้ว่าเวทนาก็เป็นของเหลวแหลก ฉะนั้นจะไปเอาอะไรกะรสชาติของเวทนา ความคิดก็ไม่เป็นไปในทางจะปรุงแต่งเป็นตัวเราหรือของเรา. ตัวอย่างเช่นเห็นของสวย เป็นสุขทางตา สติปัญญาพิจารณาเห็นความสุขทางตานี้เป็นของเด็กเล่น อย่างมากก็เป็นของเด็กเล่น ที่แท้ก็เป็นเรื่องมายา ก็ไม่ปรุงแต่งสัญญาอย่างนั้น และวิตกอย่างโน้น ต่อไปอีก นี้เรียกว่ารำงับจิตตสังขาร ด้วยวิธีของปัญญา. หรือแม้แต่จะระงับด้วยวิธีสมถะ คือกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ การปรุงแต่งจิตนั้นก็มีไม่ได้เหมือนกัน. แม้ที่สุดแต่กำหนดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เฉยๆ เวทนาก็ไม่มีทางที่จะปรุงแต่งจิตได้. แต่มาถึงขั้นนี้ เป็นเรื่องของปัญญาแล้ว เราจึงใช้วิถีทางปัญญามากขึ้น และใช้การพิจารณาความที่เวทนาเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสุญญตา เป็นมายา เป็นอะไรทำนองนั้น เวทนาก็ถอยกำลัง ในการที่จะปรุงแต่งสัญญาและวิตก ก็นั่งควบคุมจิตในลักษณะนี้อยู่ตลอดเวลา ก็เรียกว่าทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ ๆๆ จนเราพอใจ และมองเห็นชัด ว่าบัดนี้เราสามารถจะทำจิตให้อยู่ในภาวะที่เวทนาปรุงแต่งไม่สำเร็จ หรือว่า แล้วแต่เราจะยอมให้เป็นไป ยังไม่ถึงกับหมดกิเลส แต่ว่าอยู่ในอำนาจการควบคุมเต็มที่. นี่ก็จบไปอีก 4 ขั้น ซึ่งเป็นหมวดที่สอง หมวดเวทนานุปัสสนา.

    ---------------

    ยาวมากคัดมาบางส่วน อ่านทั้งหมดได้ที่
    http://palungjit.org/threads/หลักปฏิบัติอานาปานสติสูตร-พุทธทาสภิกขุ.625773/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...