อย่าสำคัญตนเอง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เตรียมตัว, 17 ตุลาคม 2017.

  1. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    อย่าสำคัญว่าตนเอง
    เก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย
    ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเอง
    จนไม่มีวันสร่างซา
    เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์
    ยังไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้
    ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร

    เมื่อมีผู้เตือนสติ ควรยึดมาเป็นธรรมคำสอน
    จะเป็นคนมีขอบเขตมีเหตุผล ไม่ทำตามความอยาก
    เมื่อพยายามฝ่าฝืนให้เป็นไปตามทางของนักปราชญ์ได้
    จะประสบผลคือความสุขในปัจจุบันทันตา
    แม้จะมิได้เป็นเจ้าของเงินล้าน
    แต่มีทางได้รับความสุขจากสมบัติและความประพฤติดีของตน
    (พระอรหันต์ยุคกึ่งพุทธกาลท่านได้กล่าวไว้)
     
  2. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    บุคคลที่จะเข้าเกณฑ์สำคัญตนผิดได้ง่าย
    คือบุคคลที่ขาดรากฐาน แห่งความดีทั้งปวง
    คือมีความเห็นทั้ง ๑๐ ประการผิดไปจากหลักคำสอน
    ทางศาสนาพุทธ ในเรื่องกฎแห่งกรรม
    ที่เป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม
    สัมมาทิฏฐิที่เป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมนั้น มี ๑๐ ประการ ได้แก่ความเชื่อว่า
    1. ทานที่ให้แล้วมีผล
    2. การสงเคราะห์กันมีผล
    3. การยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผล
    4. ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง
    5. โลกนี้มี (ที่มา)
    6. โลกหน้ามี (ที่ไป)
    7. แม่มี
    8. พ่อมี
    9. สัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมี
    10. พระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้วมี
    หากบุคคลใดไม่เชื่อข้อใดข้อหนึ่งใน ๑๐ ประการ
    โอกาสที่จะสำคัญตนผิดย่อมเป็นไปได้ง่ายครับ
    เพราะหมายถึงบุคคลนั้นไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม
    จึงย่อมกระทำการโดยประมาท พลาดพลั้ง
    ทั้งกาย วาใจ
    โดยง่ายๆ เพราะรากฐานแห่งความดีง่อนแง่น
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) มีสองอย่าง คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ ๑ โลกุตรสัมมาทิฏฐิ ๑

    ที่ยกมานั่นเป็นโลกิยสัมมาทิฏฐิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2017
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สัมมาทิฏฐิสองอย่าง

    http://palungjit.org/threads/โลกียสัมมาทิฏฐิ-โลกุตรสัมมาทิฏฐิ.612193/

    สัมมาทิฏฐิ เป็น ๒ ระดับ คือ ระดับที่เป็นสาสวะ กับ ระดับโลกุตระ

    “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ? เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ ซึ่งจัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง กับ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะเป็นโลกุตระ และเป็นองค์มรรค อย่างหนึ่ง”

    “สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดอยู่ในฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์เป็นไฉน ? คือความเห็นว่าทาน ที่ให้แล้วมีผล การบำเพ็ญทานมีผล การบูชามีผล กรรมที่ทำไว้ดีและชั่ว มีผลมีวิบาก โลกนี้มี ปรโลกมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ และปรโลกให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองมีอยู่ นี้แล สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์”

    “สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ? คือ องค์มรรค ข้อสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นตัวปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ของผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ มีอริยมรรคเป็นสมังคี ผู้กำลังเจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค” (ม.อุ. 14/258/181)
     
  5. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    พิมพ์ผิด ๑
    พิมพ์ถูก ๑
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ใช้ได้ๆอาจารย์แมว อย่างนี้ เรียกว่า อ่านหนังสือเกิน ๕ บรรทัด สาธุสามครั้ง
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ทิฏฐิ/ทิฐิ ความเห็น, ความเข้าใจ, ความเชื่อถือ

    ทั้งนี้ มักมีคำขยายนำหน้า เช่น สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
    แต่ถ้า ทิฏฐิ มาคำเดียวโดด มักมีนัยไม่ดี หมายถึง ความยึดถือตามความเห็น, ความถือมั่นที่จะให้เป็นไปตามความเชื่อถือ หรือความเห็นของตน, การถือยุติเอาความเห็นเป็นความจริง, ความเห็นผิด, ความยึดติดทฤษฎี. ในภาษาไทยมักหมายถึงความดึงดื้อถือรั้นในความเห็น

    ทิฏฐิ คือความเห็นผิด มี ๒
    ได้แก่
    ๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง

    ๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ

    อีกหมวดหนึ่ง มี ๓
    คือ
    ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ

    ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ

    ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น


    ทิฏฐิวิบัติ วิบัติแห่งทิฏฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อนผิดธรรมวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ


    วิบัติ ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้


    ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ลงได้


    ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฏฐิ, มีความเห็นร่วมกัน, มีความคิดเห็นลงกันได้


    ทิฏฐุกรรม การทำความเห็นให้ตรง, การแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูกต้อง


    ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ก็มองได้ทั้ง 2 แง่มุมคือ
    ๑.อ่านเอาเรื่อง
    ๒.อ่านหาเรื่อง
    อย่างเพิ่งไว้ใจนะ อ.มจด.
    คิกคิก
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อยากให้อ่านเอาเรื่องนะ เรื่องจะได้มี คือเราจะได้ไปค้นคว้าหาเรื่อง ชอบนะแบบนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...