สอบถามการนั่งอานาปานุสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 18 ตุลาคม 2017.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    วันนี้บริกรรมเข้าออกพร้อมดูลมหายใจเข้าออกไปด้วย จนจิตเกิดความนิ่ง แต่ปฏิบัติต่อไม่ถูกรบกวนขอความรู้ด้วยค่ะ
     
  2. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    เก่งนะครับ บริกรรมเข้าออกพร้อมดูลมหายใจ ฟังดูแล้วเหนื่อยแทนเลยครับ
    ผมปกติ อานาปานสติผมก็ดูลมหายใจเข้าออกจากเดียวเอง สักพักลมจะหนักๆ แรกๆนะ
    แต่พอชำนาญลมหายใจจะเย็นยะเยือกแล้วคล้ายๆมีลมเป่าข้างใน พอจิตสงบระงับ
    ผมจะมาเจริญ อสุภะต่อ แต่แต่องค์ภาวนาแต่ละคนครับ ว่าวิธีไหนเหมาะกับตัวเอง
    นักกรรมฐานที่ดี อย่าไปอยากรู้อยากเห็น ไม่งั้นจะไม่เกิดสภาวะอะไรเลย
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    รู้จักอานาปานสติ

    คำว่า “อานาปานสติ” แยกออกเป็นสามคำ คือ คำว่า อานะ แปลว่า ลมหายใจเข้า ตรงกับคำว่า อัสสาสะ คำว่า อาปานะ ลมหายใจออก ตรงกับคำว่า ปัสสาสะ และคำว่า “สติ” แปลว่า ความกำหนดพิจารณา ความระลึกรู้ตาม ฯลฯ

    รวมสามคำเข้าด้วยกันเป็น “อานาปานสติ” แปลว่า ความกำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า และลมหายใจออก หมายถึงการใช้สติเป็นตัวกำหนดดูลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่เป็นปัจจุบัน แต่ละขณะๆ

    เป็นหนึ่งในวิธีฝึกกัมมัฏฐาน 40 วิธี โดยจัดอยู่ในข้อที่ 9 แห่งกัมมัฏฐานประเภทที่ใช้สติเป็นตัวนำ ซึ่งเรียกว่า อนุสติ 10



    ปราชญ์บางท่านชี้ให้สังเกตความแตกต่าง ระหว่างอานาปานสติ กับ วิธีฝึกหัดเกี่ยว กับ ลมหายใจของลัทธิอื่นๆ เช่น การบังคับควบคุมลมหายใจของโยคะ ที่เรียกว่า ปราณยาม เป็นต้น (ผู้นับถือพุทธ ถ้าทำอย่างนั้นก็เรียกว่าลัทธิอื่นๆ) ว่าเป็นคนละเรื่องกันทีเดียว โดยเฉพาะว่า อานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ

    ส่วนการฝึกบังคับลมหายใจนั้น บางอย่างรวมอยู่ในวิธีบำเพ็ญทุกรกิริยา ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงบำเพ็ญ และละเลิกมาแล้ว
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  5. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    แหมๆๆๆๆ ตามแจเชียวนะยะ
     
  6. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,816
    ค่าพลัง:
    +15,099
    นั่งดู ผลจากการดูก็จะเห็น ผลจากการเห็นก็จะรู้ ดู,เห็น,รู้ ดู,เห็น,รู้ ฯ แล้วมันก็จะเกิดความชำนาญ ความละเอียดก็เกิดขึ้น จึงเกิดความเข้าใจ สำคัญที่เวลาดูต้องดูให้ถูก ผลจากการที่เราดูถูกมันจึงเห็นชัด ผลจากการที่เราเห็นชัดมันจึงรู้แจ้งไม่คลุมเครือ มันในที่นี้คือจิต จิตที่แจ้งจะเข้าใจคำว่าเกิดที่กล่าวมาข้างต้น มีกี่เกิดมันก็ดับเท่านั้น
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ไปไล่ๆดูเรื่องการเมือง การศาสนาที่นั่นว่าผู้คนเขาพูดอะไรกันมั่ง เผอิญไปเห็นเข้าน่ะ อิอิ เทียบเคียงคำถามกันแล้วว๊ายยย คนๆเดียวกันนี่หว่า คิกๆๆ
     
  8. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ร้อนใจ ฟุ้งซ่าน ไม่สบายใจ หายใจครั้งเดียว สติ สติ สติ:p:p:p
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัดซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ (ข้อ ๒ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง)

    สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้ (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗ ข้อ ๓ ในอินทรีย์ ๕ ข้อ ๓ ในพละ ๕ ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๙ ในนาถกรณะธรรม ๑๐)
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สัญญา - สติ - ความจำ


    คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้

    บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และตัวอย่างที่เด่น เช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ ท่านใช้คำว่า สติ ดังพุทธพจน์ว่า "อานนท์เป็นเลิศ กว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ"* (องฺ.เอก.20/149/32)

    เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว แต่เป็นกิจของกระบวนธรรม และในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้ สัญญาและสติเป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหลัก มีบทบาทสำคัญที่สุด

    สัญญาก็ดี สติก็ดี มีความหมายคาบเกี่ยว และเหลื่อมกัน กับ ความจำ กล่าวคือ

    ส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสัญญา อยู่นอกเหนือความหมายของความจำ

    แม้สติก็เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของสติเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสติ อยู่นอกเหนือความหมายของกระบวนการทรงจำ


    ข้อที่พึงกำหนดหมายและระลึกไว้อย่างสำคัญ คือ สัญญาและสติ ทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการทรงจำ

    สัญญา
    กำหนดหมายหรือหมายรู้อารมณ์ไว้ เมื่อประสบอารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น มาจับเทียบหมายรู้ว่าตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน เรียกว่าจำได้ ถ้ามีข้อต่างก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้ การกำหนดหมาย จำได้หรือหมายรู้อารมณ์ไว้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ใช่นั่น ใช่นี่ (การเทียบเคียงและเก็บข้อมูล) ก็ดี สิ่งที่กำหนดหมายไว้ (ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บไว้นั้น) ก็ดี เรียกว่าสัญญา ตรงกับความจำในแง่ที่เป็นการสร้างปัจจัยแห่งความจำ ลักษณะสำคัญของสัญญา คือ ทำงานกับอารมณ์ที่ปรากฏตัวอยู่แล้ว กล่าวคือ เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้า จึงกำหนดได้ หมายรู้หรือจำได้ซึ่งอารมณ์นั้น


    สติ มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับจิต คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงเอาไว้ไม่ยอมให้ลอยผ่านหรือคลาดกันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือดึงไว้ซึ่งอารมณ์ที่จะผ่านไปก็ได้ สติจึงมีขอบเขตความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกไว้ นึกได้ ระลึกได้ ไม่เผลอ สติเป็นการริเริ่มเองจากภายใน โดยอาศัยพลังแห่งเจตนาหรือเจตจำนง ในเมื่ออารมณ์อาจจะไม่ปรากฏอยู่ต่อหน้า เป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ จึงจัดอยู่ในพวกสังขาร

    สัญญา บันทึกเก็บไว้ สติ ดึงออกมาใช้ สัญญาดี คือรู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบ สร้างขึ้นเป็นรูปร่างที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจ เป็นต้นอีกต่อหนึ่ง) ก็ดี สติดี คือมีความสามารถในการระลึก (ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบผ่องใส ตั้งมั่น เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี ย่อมเป็นองค์ประกอบ ที่ช่วยให้เกิดความจำดี

    (ใช้ตาเนื้อมองนามธรรมไม่เห็น ดูตัวอย่างระหว่าง สัญญา กับ สติ แบบบุคลาธิษฐาน)

    นายแดง กับ นายดำ เคยรู้จักกันดี แล้วแยกจากกันไป ต่อมาอีกสิบปี นายแดงพบนายดำอีก จำได้ว่า ผู้ที่ตนพบนั้นคือนายดำ แล้วระลึกนึกได้ต่อไปอีกว่าตน กับ นายดำ เคยไปเที่ยวด้วยกันที่นั่นๆ ได้ทำสิ่งนั้นๆ ฯลฯ การจำได้เมื่อพบนั้นเป็นสัญญา การนึกได้ต่อไปถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เป็นสติ

    วันหนึ่ง นาย ก. ได้พบปะสนทนา กับ นาย ข. ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นาย ก. ถูกเพื่อนถามว่า เมื่อเดือนที่แล้ววันที่เท่านั้นๆ นาย ก. ได้พบปะสนทนากับใคร นาย ก. นึกทบทวนดู ก็จำได้ว่าพบปะสนทนากับ นาย ข. การจำได้ในกรณีนี้ เป็นสติ

    เครื่องโทรศัพท์ตั้งอยู่มุมห้องข้างหนึ่ง สมุดหมายเลขโทรศัพท์อยู่อีกมุมห้องด้านหนึ่ง นายเขียวเปิดสมุดหา เลขหมายโทรศัพท์ที่ตนต้องการ ระหว่างเดินไปก็นึกหมายเลขนั้นไว้ตลอด การอ่านและกำหนดหมายเลขที่สมุดโทรศัพท์ เป็นสัญญา การนึกหมายเลขนั้นตั้งแต่ละจากสมุดโทรศัพท์ เป็นสติ

    เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าแล้ว ก็กำหนดหมายได้ทันที แต่เมื่ออารมณ์ไม่ปรากฏอยู่ และถ้าอารมณ์นั้นเป็นธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ) ก็ใช้สติดึงอารมณ์นั้นมาแล้วกำหนดหมาย
    อนึ่ง สติสามารถระลึกถึงสัญญา คือดึงเอาสัญญาที่มีอยู่เก่ามาเป็นอารมณ์ของจิต แล้วสัญญาจะกำหนดหมายอารมณ์นั้น สำทับเข้าอีกให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หรือกำหนดหมายแนวใหม่เพิ่มเข้าไปตามวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2017
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    * อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดต่างๆ)

    สติ ด้านหนึ่งแปลกันว่า recall, recollection อีกด้านหนึ่งว่า mindfulness

    17800.gif
    :)
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ (กำกับการเดินไปมานั่น)

    f9e0c0d301166a4361e6fa5c849a9538.jpg
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ใช้อิริยาบถนั่ง ฝึกสติโดยมีลมหายใจเข้า-ออก เป็นเหมือนอุปกรณ์สำหรับฝึกสติสัมปชัญญะ เป็นต้น

    deff006a18f31fa17f22549ee0eefa73.jpg
    เราจะอยู่ในอิริยาบถใด คนเราก็หายใจเข้าหายใจออก (อานาปานะ) กันเป็นปกติอยู่แล้ว ดังนั้น เราใช้คำพูดว่า นั่งอานาปาน (- สติ) ชวนให้เข้าใจผิด (หรือเข้าใจผิดไปแล้ว) คือชวนให้คิดว่า ถ้ายังงั้น คนเราเดิน นอน ยืน ฯลฯ ก็ไม่หายใจน่าซี่ :D
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อิริยาบถ "ทางแห่งการเคลื่อนไหว" ท่าทางที่ร่างกายจะเป็นไป, ท่าที่เคลื่อนไหวตั้งวางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง, อิริยาบถหลักมี ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน,

    อิริยาบถย่อย
    เรียกว่า จุณณิยอิริยาบถ หรือ จุณณิกอิริยาบถ ได้แก่ ท่าที่แปรเปลี่ยนยักย้ายไประหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ นั้น
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ขออีกหน่อย


    สัญญามีสองอย่าง คือ กุศลสัญญา กับ อกุศลสัญญา (สิ่งที่ควรละคืออกุศลสัญญา) แต่ผู้ปฏิบัติธรรม (บางกลุ่ม) บ้านเรา พูดเอาแต่จะละสัญญา อะไรๆก็ว่าเป็นสัญญาๆๆ ถ้าไม่เอาสัญญาก็คงเหมือนคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ ในสมองว่างเปล่าจำหน้าลูกหน้าเมียหน้าผัวเป็นต้นก็ไม่ได้ ไปไหนกลับบ้านไม่ถูก จำทางไม่ได้ ฯลฯ พิจารณาดู


    สัญญา คือ ความรู้ทั้งหมดที่อยู่ในสัญญาขันธ์ ได้แก่ ความกำหนดได้ หมายรู้ รวมทั้งความรู้ที่เกิดจากการกำหนดหมาย หรือหมายรู้แล้วบันทึกเก็บรวมไว้เป็นวัตถุดิบของความคิดต่อๆไป ทำให้มีการรู้จัก จำได้ รู้ เข้าใจ และคิดได้ยิ่งๆขึ้นไป

    สัญญา
    แบ่งตามอารมณ์ คือ สิ่งที่หมายรู้ หรือกำหนดจดหมายไว้ มี ๖ ชนิด คือ

    - รูปสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับรูป)

    - สัททสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเสียง)

    - คันธสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับกลิ่น)

    - รสสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับรส)

    - โผฏฐัพพสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับสิ่งต้องกาย)

    - ธัมมสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเรื่องในใจ หรือสิ่งที่ใจรู้ และนึกคิด)

    ว่าโดยสภาพปรุงแต่ง สัญญาอาจแบ่งคร่าวๆได้ ๒ ระดับ คือ

    ๑) สัญญาขั้นต้น ได้แก่ ความหมายรู้ลักษณะอาการตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยตรง เช่น หมายรู้ สีเขียว ขาว ดำ แดง แข็ง อ่อน รสเปรี้ยว หวาน รูปร่างกลม แบน ยาว สั้น เป็นต้น รวมทั้งความหมายรู้เกี่ยวกับบัญญัติต่างๆว่า แมว ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ฯลฯ

    ๒) สัญญาซ้อนเสริม ได้แก่ ความหมายรู้ไปตามความคิดปรุงแต่ง หรือตามความรู้ความเข้าใจในระดับต่างๆ เช่น หมายรู้ว่า สวย ว่าน่าเกลียด น่าชัง ว่าไม่เที่ยง ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น ถ้าแยกย่อยออกไป สัญญาซ้อนเสริม หรือสัญญาสืบทอดนี้ ก็แบ่งได้เป็น ๒ พวกคือ

    - สัญญา ซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียกปปัญจสัญญา คือสัญญาฟ่ามเฝือหรือสัญญาซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะและทิฏฐิ

    เรียกอีกอย่างหนึ่ง ตามสำนวนอรรถกถาบางแห่งว่า กิเลสสัญญา แปลว่า สัญญาที่เกิดจากกิเลส หรือสัญญาที่ประกอบด้วยกิเลส (สัญญาเจือกิเลส) สัญญาพวกนี้ถูกกิเลสปรุงแต่งให้ฟั่นเฝือ และห่างเหเฉไฉออกไปจากทางแห่งความรู้ ไม่เป็นเรื่องของความรู้ แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ แทนที่จะช่วยให้เกิดความรู้ กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้ ยกตัวอย่าง เช่น หมายรู้ลักษณะที่ตนถือว่าน่าชัง หมายรู้ลักษณะอาการที่สนองความอยากได้อยากเอา หมายรู้ลักษณะอาการที่ตนเป็นคนยิ่งใหญ่ หมายรู้ลักษณะอาการในผู้อื่นที่ตนถือว่าต่ำต้อยด้อยกว่า หมายรู้ภาวะที่ตนเป็นเจ้าของ เป็นผู้ครอบครอง ฯลฯ

    - สัญญา ที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือเกิดจากความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า กุศลสัญญา บ้าง วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา) บ้าง หรือเรียกชื่ออื่นๆในทำนองนี้บ้าง เป็นสัญญาที่ช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญา และความงอกงามแห่งกุสลธรรม เช่น หมายรู้ลักษณะอาการที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร หมายรู้ลักษณะอาการซึ่งแสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ภาวะที่ไร้ตัวตน เป็นต้น

    พระอรหันต์ก็มีสัญญา แต่เป็นสัญญาที่ปราศจากอาสวะ คือสัญญาไร้กิเลส (ดู ม.อุ.14/341/232) พระอรหันต์ก็หมายรู้ปปัญจสัญญาตามที่ปุถุชนเข้าใจ หรือตามที่ท่านเองเคยเข้าใจเมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน

    แต่ท่านหมายรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ เช่น ในการช่วยแก้ไขปัญหาของผู้อื่น ไม่หมายรู้ในแง่ที่จะมีตัวตนออกรับความกระทบ แม้ผู้ปฏิบัติธรรมก็พึงดำเนินตามแนวทางเช่นนั้น
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ภาวนาในกรรมฐานต่อไปเรื่อยๆ จนจิตสงบ ระงับจากนินวรณ์ 5 จิตเป็นสมาธิ ครับ
     
  17. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    ทุกๆครั้งที่ถึงทางตันไม่ว่าระดับใดก็ตาม
    ให้กำหนดรู้แต่ในวงกาย วงใจ ของตน
    ไม่ต้องสนใจกิริยาอาการใดๆทั้งสิ้น
    ความสงสัย ความตื่นกลัวต่างๆ จะหายไปจนหมดสิ้น
    แล้วหนทางจะปรากฏ
    ขยายความจากท่านกระบี่

    เพียงกำหนดรู้(เฉยๆ)เป็น อย่างนี้แล

    ท่านเทียนว่า รู้ซื่อๆ


    พิมพ์ตก ขออภัย
     
  18. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    กายลหุตา จิตลหุตา
    กายมุทุตา จิตมุทุตา
    และต่อๆไปตามลำดับ
    มีในอภิธรรม จำเล่ม หน้า บ่าได้ ขออภัยหลายๆ
    หากสนใจไปค้นเอาเด้อปราง
     

แชร์หน้านี้

Loading...