ในขณะที่จิตมีโทสะ ควรหยุดหรือทำบุญต่อคะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Igiko_L, 24 ตุลาคม 2017.

  1. Igiko_L

    Igiko_L เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,407
    ค่าพลัง:
    +2,836
    ขอรบกวนท่านผู้รู้ด้วยคะ ทุกๆเช้า หนูจะตื่นมาใส่บาตร ออกกำลังกาย และกลับมาสวดมนต์
    แต่ บางวันที่เกิดเหตุให้อารมณ์ขุ่นมั่ว อารมณ์โมโหมาก หนูเกิดความสงสั การทำบุญจะได้บาปแทนไหม ?
    หนูควรจะหยุดใส่บาตร สวดมนต์ ไว้ก่อน หรือปฏิบัติตามปกติค่ะ
    ขอบคุณค่ะ ^/\^
     
  2. สมิง สมิง สมิง

    สมิง สมิง สมิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +952
    ....ทุก ๆ เช้า จะตื่นมาใส่บาตร ออกกำลังกาย และกลับมาสวดมนต์...

    ตอบ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะถือว่าเป็นอาจิณณกรรม คือ กรรมฝ่ายกุศลที่ทำบ่อย ๆ ทำเป็นประจำ จนต่อไปอาจเป็นนิสัยถ้าทำได้แบบนี้ สุขคติ เป็นที่ไปแน่นอน (ถ้าไม่ทำกรรมหนักอย่างอื่น)

    ...แต่ บางวันที่เกิดเหตุให้อารมณ์ขุ่นมั่ว อารมณ์โมโหมาก หนูเกิดความสงสัยการทำบุญจะได้บาปแทนไหม ?...
    ตอบ การทำบุญที่ได้ผลมาก คือ
    1. ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ มีความยินดี ปิติใจในบุญกุศลนั้นไม่เสียดายทรัพย์ หรือใด ๆ ที่เสียไป
    2. วัตถุทาน นั้น บริสุทธิ์ คือได้มาอย่างบริสุทธิ์ ไม่ได้ลักขโมยมา ฯลฯ
    3. เนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ หมายถึง ถูกเนื้่อนาบุญ คือ ยิ่งจิตท่านบริสุทธิ์มากเท่าไหร่ (กิเลสน้อยไปเท่าไหร่) เรายิ่งได้กุศลมากขึ้นไปตามลำดับ
    ***เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๓ อย่างนี้ ย่อมได้อานิสงส์ผลบุญอย่างมากมายที่เดียว***


    ***ถ้าเรามีอารมณ์ขุ่นมัว อารมณ์โกรธโมโห ถ้าไม่เกี่ยวกับการทำบุญกุศลที่เราทำเป็นประจำนี้ ก็คนละเรื่องกัน วางมันลงก่อน ไปทำบุญกุศลที่เราตั้งใจทำทุกวันก่อน ถึงแม้ว่าอารมณ์เราจะยังไม่ดี แต่ว่า ก็ไม่ได้ขัดกับ ๓ ข้อ ข้างต้นเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะฉะนั้นบุญกุศลย่อมได้เต็มเปี่ยมแตามสิ่งที่ทำนั้นอย่างแน่นอน***

    ***ถ้าเรามีอารมณ์ขุ่นมัว อารมณ์โกรธโมโห ที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญกุศลที่เราจะทำเป็นประจำนี้ โดยไปเกี่ยวกับ ๓ ข้อ ข้างต้น ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้บุญเลย แต่ถ้าทำก็อาจได้บุญไม่เต็มที่สมกับสิ่งที่ทำก็เป็นได้ เพราะกำลังใจตก***

    ...หนูควรจะหยุดใส่บาตร สวดมนต์ ไว้ก่อน หรือปฏิบัติตามปกติค่ะ...
    ตอบ เราเป็นชาวพุทธเกิดที่เมืองพุทธ หน้าที่ของเรานอกจากทำความดีสร้างบารมีแล้ว เราก็ควรจะบำรุงพระพุทธศาสนา ดูแลพระศาสนา เผยแพร่พระศาสนา เท่าที่กำลังเราจะพอสามารถกระทำได้ เพืื่อไม่ให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
    ***พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า***
    สิ่งที่หาได้ยากในโลกนี้มีมากมาย
    แต่สิ่งที่หาได้ยากที่สุดมี 4 อย่างคือ
    1. การได้เกิดมาเป็นมนุษย์
    2. การมีชีวิตดำรงอยู่ยืนยาว
    3. การได้ฟังพระสัทธรรม
    4. การเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า

    ...ปัจจุบันนี้ เราครบหรือยัง หรือได้อะไรบ้าง ควรทำสิ่งที่มีนั้น คุ้มค่าและได้ประโยชน์อย่างสูงสุด...

    ...อนุโมทนาบุญ...
     
  3. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,868
    โกรธ ก็คือการขาดสติ สติ ก็คือ ร่างกาย สัมปชัญญะ ก็คือ รู้สึก
    เมื่อเรา รู้ร่างกาย ก็เป็นอันว่า เรารู้ที่มา หรือ รู้เหตุ ดั่งคำกล่าวที่ว่า สติมาปัญญาเกิด

    ในโยนิโสมนสิการ 10 ก็จะขอมาเสริมซัก 3 ข้อ
    1 รู้เป็นส่วนๆ แบบแยกย่อย
    2 รู้เป็นองค์รวม
    3. รู้แบบสัมพันธ์กัน

    รู้แบบแยกย่อยคือ ทำบุญก็ส่วนทำบุญเป็นเรื่องหนึ่ง โกรธในเรื่องนี้ก็ส่วนในเรื่องนี้ ไม่ได้ปนกัน
    หากนำมาปนกันได้ เรียกได้ว่าพาล โกรธคนหนึ่งแต่เหวี่ยงพาลมาใส่อีกคนหนึ่ง
    หรือพาลหนักก็อาจจะเหวี่ยงพาลไปใส่คนที่อยู่รอบข้างด้วยทั้งหมด

    รู้เป็นองค์รวมคือ รู้ทั่วทั้งร่างกาย หากร่างกายสุขสบายดี แต่มีมดมาจากไหนก็ไม่รู้หละ
    อยู่ดีๆก็มากัดแขนซะอย่างนั้น การรู้อยู่ในองค์รวมก็เปรียบเสมือนกับผู้นำ เมื่อมีส่วนบกพร่อง
    หรือส่วนที่เสียหายในบางส่วน จะนำส่วนเล็กๆน้อยๆที่ตรงนั้น มาทำให้เสียหายกันไปหมด
    ทั้งองค์รวมนั้นย่อมไม่ได้ ต้องรู้จักเสียสละส่วนน้อยๆตรงนั้น เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนใหญ่เอาไว้

    รู้แบบสัมพันธ์กันคือ หากคนๆหนึ่งติดเชื้อบาดทะยักที่เท้าขวามา การที่เราจะไปตัดขาดสัมพันธ์
    เชื้อร้ายที่มือซ้ายของเขานั้นทิ้งไป นั้นมันก็เป็นการตัดสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้อง การจะตัดสัมพันธ์
    ก็ควรจะตัดแต่ในส่วนที่เสียๆออกไป แล้วรักษาส่วนที่ดีๆไว้เพื่อนำไปเจริญให้งอกงามต่อไปได้
     
  4. ฐีติภูตัง

    ฐีติภูตัง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +5
    เราขอตอบว่า ควรข่มใจให้อยู่ ถ้าไม่อยู่ ควรหยุดก่อน เพราะเหตุใดรือ? เพราะแม้นมุลเหตุต้น เป็นกุศล แต่หากอารมณ์บริวารนั้น เป็น อกุศล และ ถ้าแรงด้วยนั้น ผลแม้นหากชาติหน้าได้เกิดเป็น มนุษย์ หรือเทวดา โอกาสจะเป็นคนโทสะแรง ขี่วืน มีสูงมากทีเดียว
     
  5. Igiko_L

    Igiko_L เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,407
    ค่าพลัง:
    +2,836
    ท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วย หนูคิดอยู่นาน จะถามดีไหม เพราะปัญหามันเล็กๆ แต่เคยพยายายาม อยู่นาน และหลายครั้งก็ทำไม่ได้จริง จนปัญญา จริงๆคะ เลยอยากขอคำแนะนำ (รู้สึกอาย)
    เรื่องที่โกรธ ไม่เกี่ยวกับการทำบุญ คือหนูเป็นโรคจิต
    มั่งคะ ได้ยินใครเรียกเจ๊ แบบจะของขึ้นทันที ทั้งคนเรียก
    ส่วนมากมีอายุ เป็นลุงเป็นน้า แก่ๆแล้ว (ถ้าเด็กๆ จะเรียกหนูพี่ มันก็เฉยๆ) หนูจะมีอาการ ด่าแหลก เสียงดังโวยวายคุมสติไม่ได้ แต่ถ้าเป็นช่วงรอใส่บาตร อาจจะคุมสติไม่โวยวาย
    แต่ ในใจแทบระเบิด
    ไม่อยากเป็นแบบนี้เลย หนูจะเลือกงานที่ไม่พบปะผู้คน
    รู้ว่าตัวเองปาก....ถ้าใครว่าหนูก็ไม่โกรธนะ แถมหัวเราะด้วย
    ทำไม ???? ถึง ไม่ชอบมากๆเลย เจ๊ เนี้ย TT TT
     
  6. สมิง สมิง สมิง

    สมิง สมิง สมิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +952
    ...ต้องปล่อยวาง ฝึกให้ไม่ยึดมั่นในตัวกู ของกู ฝึกสมาธิให้มีสติคุ้มครองจิต เจริญปัญญาให้เห็นตัวตน...ทำตามกำลังครับ
    แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง...

    อนุโมทนาบุญ
     
  7. คะนึง

    คะนึง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +406
    คำว่า เจ๊ หรือ พี่ เป็นคำที่ใช้แทนสื่อความหมายแค่นั้น บางคนก็ชอบที่จะให้เรียกตน บางคนไม่ชอบ ขึ้นอยู่กับมุมมอง ความคิดและความเห็นของแต่ละคน

    แต่สิ่งที่ไม่ชอบคำนี้มาก และมีอารมณ์โกรธก็เพราะเราไปให้ค่าต่อจิตใจ มีผลมาจากความคิดและความเห็นของตนต่อคำนั้น

    เปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนความเห็น เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน

    เพราะแท้ที่จริงแล้ว ลึกๆในใจต่อคำสองคำนั้น กระทบใจเข้า แล้วมีผลต่ออารมณ์ ลอง มองให้ดีดีเกิดจากความอยากปราถนาในใจบางประการที่ส่วนลึกที่มีความรู้สึกต้องการบางอย่างแฝงอยู่ เมื่อไม่ตรงกับใจ จึงเกิดอารณ์โกรธขึ้น

    มองให้เห็นโทษของความโกรธ ผู้มักโกรธ จะแก่ง่าย ร่างกายโทรมไว แก่ง่าย ตายเร็วผิวพรรณไม่สดใส การรักษา ศีล คือ การรักษาสภาวะจิตใจให้เป็นปกติ ผู้มีศีล ผู้รักษาศีล เกิดชาติใหม่ทำให้เป็นคนสวย ผู้มักโกรธ เกิดชาติใหม่เป็นคนขี้เหร่ ยิ่งโกรธบ่อยๆ ก็จะเป็นการสร้างนิสัยไม่ดีให้แก่ตัวเอง ยิ่งโกรธในขณะทำบุญด้วยแล้ว ก็มีกำลังแรง จิตหนึ่งเกิดบุญ จิตหนึ่งเกิดบาป เกิดใหม่ก็สวยบกพร่อง สวยแบบไม่เสร็จ คนที่งามไร้ที่ติก็เพราะรักษาจิตให้อยู่ในสภาวะจิตให้เป็นปกติเสมอ คือ เป็นผู้รักษาศีลนั่นเอง

    ลองพิจารณาคุณและโทษดู ทำให้เราเปลี่ยนความเห็นได้ ถ้าเปลี่ยนได้ การกระทำก็จะเปลี่ยนไปเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...