หลักการที่เหมาะสมในการเผยแพร่ธรรม พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย :-), 12 สิงหาคม 2005.

  1. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 rules=none width="70%" align=center border=0 frame=void><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]
    หลักการที่เหมาะสมในการเผยแพร่ธรรม




    00.png




    </TD></TR><TR><TD>"...ปัญหายุ่งยากในสังคมทุกวันนี้เกิดจากเหตุหลายอย่าง แต่เหตุสำคัญที่ก่อปัญหาไว้มากคือ ความขาดหรือบกพร่องในความเป็นระเบียบและความสะอาดมั่นคงในความประพฤติและความคิดจิตใจของบุคคล องค์การศาสนาทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายและภารกิจในการขัดเกลาความประพฤติและจิตใจ ให้บุคคลถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรมตามหลักศาสนาอยู่แล้ว จึงน่าจะทำหน้าที่แก้ปัญหาสังคมได้เป็นอย่างดีโดยไม่ลำบาก

    ในการนี้ ทุกฝ่ายควรจะได้ร่วมมือกันและส่งเสริมกันอย่างจริงจังในการสั่งสอนเผยแพร่ธรรม สำคัญที่สุดควรจะได้พยายามปลูกฝังความเชื่อความเลื่อมใสในคุณธรรมความดีให้เกิดขึ้น ด้วยการประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้คนทั้งหลายได้เห็นประโยชน์และความดีจากแบบแผนการปฏิบัติและการอธิบายแนะนำที่ประกอบด้วยความเมตตาการุญ และควรระมัดระวังอย่างที่สุดที่จะไม่ประกาศสั่งสอนโดยวิธีการที่จะก่อให้เกิดความคิดโต้แย้งหรือต่อต้านขึ้นในตัวผู้ฟังเพราะการกระทำดังนั้นจะไม่ช่วยให้บังเกิดผลดีขึ้นได้เลย..."




    พระราชดำรัส
    พระราชทานในพิธีเปิดการสัมนาผู้นำศาสนา ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี


    <HR>




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?option=content&task=category&sectionid=11&id=32&Itemid=89
     
  2. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; WIDTH: 80%; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=1 cellPadding=1 rules=none align=center border=0 frame=void><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>
    พระบรมราโชวาท
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
    พระราชทานในการเสด็จฯ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
    วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๓





    ข้าพเจ้ายินดีมาก ที่ได้มาเยี่ยมพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย และได้มาพบกับท่านทั้งหลายในโอกาสนี้ ทั้งขอขอบใจที่จัดการต้อนรับเป็นพิเศษอย่างที่ไม่มีใครเคยทำ แต่การที่จะต้องพูดกับที่ประชุมนี้ ด้วยเรื่องของพระพุทธศาสนา มีข้อทำให้ลำบากใจอยู่มาก เพราะพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งสูงสุด สำคัญที่สุด และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำมาอภิปรายให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนแม้แต่น้อยด้วยประการใดๆ จึงจำเป็นต้องแถลงแต่ต้นว่า สมาคมเกณฑ์ให้แสดงโอวาทแก่ผู้ที่นับว่าเป็น “ผู้รู้” ต่อหน้าพระมหาเถระ และไม่รับรู้ในหัวข้อที่ให้พูดถึง เฉพาะแต่การเผยแพร่หลักธรรมแก่เยาวชน เพราะมีความรู้สึกอยู่ว่า การเผยแพร่พระพุทธศาสนานั้น มุ่งให้เกิดประโยชน์แก่มหาชน และเมื่อหลักธรรมเข้าถึงมหาชนแล้ว ก็ย่อมแผ่ถึงเยาวชนด้วย

    คำว่า “ศาสนา” ตามที่ใช้ทุกวันนี้ เป็นที่เข้าใจกันว่าใช้ตรงกับคำว่า Religion ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงคำสั่งสอนที่มาจากเบื้องบน ส่วนวิธีการสั่งสอนก็คือ “สั่ง” และ “สอน” ให้ปฏิบัติ โดยถือว่าคำสั่งสอนนั้นมาจากเบื้องบน ยุติได้ว่าถูกต้องเที่ยงแท้แล้ว จึงทำตามได้ทีเดียว ถ้าว่าตามนี้ พระพุทธศาสนาก็ไม่เข้าหลักเป็นศาสนา เพราะเนื้อหาสาระและกฏเกณฑ์ของพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นจากการค้นคว้าหาความจริงของชีวิตด้วยปัญญามนุษย์ พระพุทธศาสนาแสดงความจริงของชีวิต แสดงทางปฏิบัติที่จะให้บรรลุความสุขสูงสุดของชีวิต มีวิธีการสั่งสอนที่ยึดหลักเหตุและผลว่าทุกสิ่งเกิดจากเหตุ ผู้ประกอบเหตุอย่างไรเพียงใดก็ได้ผลอย่างนั้นเพียงนั้น หากจะถามว่าพระพุทธศาสนาเป็นอะไร ก็ต้องตอบว่าโดยเนื้อหาเป็นเรื่องความจริงของชีวิต พระพุทธศาสนาเป็นปรัชญาโดยวิธีการสอนที่ยึดหลักเหตุผล พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์ หรือพูดให้ชัดเจนลงไปอีก็เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่า การสอนพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง คือการสอนให้คนสามารถพิจารณาขุดค้นหาหลักธรรมจากชีวิต และนำหลักธรรมนั้นมาปฏิบัติให้เป็นประโยชน์

    เรื่องวิธีการสอนธรรมะ หรือที่พุทธสมาคมได้คำว่า “เผยแพร่หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา” ให้เข้าถึงบุคคลประเภทต่างๆ นั้น ความจริงมีปรากฏอยู่อย่างสมบูรณ์ในคัมภีร์ มีทั้งที่กล่าวไว้โดยตรงและโดยอ้อม ทั้งที่กล่าวโดยสรุปและโดยละเอียดพิสดาร ซึ่งเชื่อว่าท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นหลักวิชา ที่นำมาปฏิบัติให้ได้ผลจริงๆ ได้อย่างแน่นอน

    ผู้มีปัญญาปรารถนาจะช่วยผู้อื่น จะต้องพยายามศึกษาพิจารณาเลือกสรรวิธีการนั้นๆ จากตำรา นำมาใช้นำมาสอนให้เหมาะสมแก่บุคคล แก่กาลสมัย และแก่สภาพการณ์ในปัจจุบัน คนที่เรียกว่าเป็นคนสมัยใหม่นั้น ยึดหลักเหตุผลเป็นสำคัญ การสอนคนสมัยใหม่จะต้องนำเหตุผลที่มีอยู่ในคัมภีร์มาพิจารณา และหยิบยกแต่เฉพาะเนื้อหามาอธิบาย การสอนให้ปฏิบัติตามแบบฉบับเฉยๆ โดยปราศจากเหตุอันสมควรจะทำให้เกิดความรู้สึกว่า “ถูกอบรม” และ “ถูกบีบบังคับ” จนหมดความสนใจ

    หน้าที่ของท่านในการเผยแพร่หลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงอยู่ที่การเลือกเฟ้นข้อธรรมะและเลือกเฟ้นหลักธรรมะและเลือกเฟ้นวิธีการสอน การใช้คำพูดที่เหมาะ อธิบายหลักธรรมะเทียบเคียงกับตัวอย่างที่เป็นของจริง จนเห็นชัดเจนได้ตามสภาพจิตของคนสมัยปัจจุบัน เพื่อช่วยให้แต่ละคนสามารถค้นหาและเข้าใจข้อธรรมะ ซึ่งจะนำมาใช้เป็นหลักการในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามฐานะของตน

    ข้าพเจ้าขอฝากให้ที่ประชุมนำข้อคิดทั้งนี้ ไปวิเคราะห์และวิจารณ์ต่อไป ขออวยพรให้กิจการของพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นปึกแผ่นมั่นคง สามารถทำประโยชน์จรรโลงพระศาสนาและชาติบ้านเมืองได้โดยกว้างขวางและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น.


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  3. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 rules=none width="70%" align=center border=0 frame=void><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]
    ลักษณะที่ทำให้พระพุทธศาสนามีค่าประเสริฐสุด



    pic03.jpg


    </TD></TR><TR><TD>"...ธรรมในพระพุทธศาสนามีความหมดจดบริสุทธิ์ และสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยเหตุผล ซึ่งบุคคลสามารถจะศึกษาและปฏิบัติด้วยปัญญา ความเพ่งพินิจให้เกิดประโยชน์คือความเจริญความผาสุกแก่ตนได้อย่างแท้เที่ยงตั้งแต่ประโยชน์พื้นฐานคือการตั้งตัวได้เป็นปรกติสุข จนถึงประโยชน์ขั้นปรมัตถ์ คือหลุดพ้นจากเครื่องเกาะเกี่ยวร้อยรัดทุกประการ ข้อนี้เป็นลักษณะพิเศษในพระพุทธศาสนาซึ่งทำให้พระพุทธศาสนามีคุณค่าประเสริฐสูงสุด

    ท่านทั้งหลายที่มาร่วมกันทำงานด้านส่งเสริมพระพุทธศาสนา และศีลธรรมจรรยาเช่นนี้ ย่อมมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องอธิบายเผยแพร่พุทธธรรมควรจะต้องถือเป็นภาระสำคัญอันดับแรกที่จะต้องรักษาความบริสุทธิ์หมดจดของพุทธธรรมไว้ตลอดเวลา รองจากนั้นต้องระมัดระวังในการอธิบายสั่งสอนให้มาก ให้พอเหมาะแก่เหตุแก่บุคคล ทั้งให้ถูกให้ตรงตามแบบแผนในทางพระพุทธศาสนาด้วยคือต้องพยายามใช้วิธีแนะนำตามเหตุผลให้ผู้ฟังเห็นประจักษ์จริง และศรัทธาเชื่อถือโดยตัวของเขาเอง..."


    พระบรมราโชวาท
    พระราชทานในการเปิดประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  4. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 rules=none width="70%" align=center border=0 frame=void><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]

    ความมุ่งหมายของทุกศาสนา


    </TD></TR><TR><TD>"..ศาสนานั้น เป็นสิ่งที่ทราบกันอยู่แล้วว่าต้องมี และถึงว่าศาสนามีความหมายได้หลายอย่าง ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นศาสนาที่มีชื่อ หรือที่ต้องเคร่งครัดตามแนวทางการสั่งสอนอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นแต่ต้องมีแนวคิดที่แน่วแน่ที่ดี และไม่เบียดเบียน อย่างนี้ก็ถือเป็นศาสนาได้ทั้งนั้น


    ในเมืองไทยนี้ใครจะถือปฏิบัติตามศาสนาใดก็ได้ทั้งสิ้น เคยชี้แจงอยู่เสมอว่าเมืองไทยนี้อยู่ได้ ก็เพราะไม่มีการกีดกันระหว่างคนโน้น ศาสนาโน้นคนนี้ ศาสนานี้ แต่ว่าเป็นที่ทราบกันดีว่าทุกคนปฏิบัติศาสนากิจของตนๆ ด้วยความมุ่งดีหวังดี ตั้งใจที่จะให้เกิดประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวมศาสนาทุกศาสนาจึงใช้ได้ทั้งนั้น ขอเพียงแต่อย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกัน..."



    พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้แทนองค์การศาสนาและสถาบันการศึกษาต่างๆ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  5. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 rules=none width="70%" align=center border=0 frame=void><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]

    ที่พึ่งของเยาวชน

    </TD></TR><TR><TD>"...ขณะนี้ รู้สึกกันทั่วไปว่า มีปัญหาเยาวชนในบ้านเมืองมากขึ้นเนื่องจาก เหตุหลายกระแสความจริงเยาวชนมิได้ต้องการที่จะทำตัวให้ยุ่งยากแต่อย่างใด แต่โดยเหตุที่ไม่ได้รับความเอาใจใส่ดูแลเท่าที่ควร และขาดที่พึ่งขาดผู้ที่จะให้ความรู้ ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง เหมาะสม เขาจึงต้องกลายไปเป็นบุคคลที่เป็นปัญหาแก่สังคม

    เป็นหน้าที่ของท่านทั้งหลาย ผู้เป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นผู้บริหารการศึกษา ที่จะต้องช่วยเหลือเขาเหล่านั้นด้วยหลักวิชาการและความสามารถ ทุกคนได้เรียนวิชาการแนะแนวมาแล้ว ควรจะได้นำหลักการมาปฏิบัติเพื่อให้เยาวชนได้รับประโยชน์อันแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแนะแนวทางความประพฤติและจิตใจซึ่งสำคัญมาก ขอให้เพียรพยายามปลูกฝังความรู้ความคิดที่ปราศจากโทษให้แก่เขาโดยเสมอหน้า แนะนำอบรมด้วยเหตุผลและด้วยความจริงใจ ประกอบด้วยความเมตตาปรานี สงเคราะห์ อนุเคราะห์ และนำพาไปสู่ทางที่ถูกที่เจริญ เยาวชนก็จะเกิดมีความมั่นใจ และมีกำลังใจที่จะทำความดี เพื่อจักได้มีอนาคตที่มั่นคง แจ่มใส ในวันข้างหน้า..."

    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2005
  6. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center border=0><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]

    หลักการและแนวคิดในศาสนธรรม

    </TD></TR><TR><TD> จุดหมายโดยตรงของศาสนาทั้งปวง และโดยเฉพาะพระพุทธศาสนามุ่งจะให้บุคคลศึกษาพิจราณาหลักการ และแนวความคิดในศาสนธรรม แล้วน้อมนำมาเป็นที่ยึดเหนี่ยวและปฏิบัติด้วยตนตามความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการครองชีวิต คือให้เกิดความผาสุขร่มเย็น และความเจริญในแต่ละบุคคล ในส่วนรวม และให้เกิดความบริสุทธิ์หลุดพัน อันเป็นปรมัตถประโยชน์ ดังนั้น การบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา จึงควรกระทำให้ถูกเป้าหมาย

    วิธีศึกษาพิจารณาหลักการและแนวความคิดแห่งศาสนา เพื่อให้เกิดประโยชน์ดังกล่าวนั้น ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ ๒ ประการ คือ พิจารณาเพื่อความบริสุทธิ์ใจ หมายความถึง พิจารณาและปฏิบัติธรรมเพื่อธรรม เพื่อประโยชน์ที่จะพึงเกิดมีได้ ไม่ใช่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์อย่างอื่นนอกจากนั้น หรือเพื่อประโยชน์ที่จะกลับเป็นโทษในภายหลัง ส่วนการพิจารณาด้วยเหตุผลนั้น หมายความถึงพิจารณาตามเหตุที่แท้ ผลที่แท้ มิใช่เหตุผลอันสัปลับ รวมทั้งพิจารณาด้วยหลักวิชาตรรกศาตร์ จิตวิทยาและหลักการอื่นๆด้วย



    พระราชดำรัส
    พระราชทานในการเปิดประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ จังหวัดสิงห์บุรี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  7. โอมพุทโธกิเตศวร

    โอมพุทโธกิเตศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +198
    .................ด้วยพระบารมีปกเกล้า ปกกระหม่อม

    ข้าพเจ้า โอมพุทโธกิเตศวร ถวายชีวิต แด่ชาติ ศาสน์ กษัตริย์

    น้อมรับ กระแสดำรัส รับสั่ง
     
  8. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 rules=none width="70%" align=center border=0 frame=void><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]
    หน้าที่ของเด็ก

    </TD></TR><TR><TD> "...วัยเด็ก เป็นวัยเริ่มต้น เป็นวัยเตรียมตัวเพื่อสร้างความเจริญมั่นคงในชีวิต เด็ก ๆจึงควรรีบขวนขวายศึกษา จักได้มีความฉลาดรอบรู้ ว่าอะไรคือความดี และอะไรคือความเสื่อมเสีย เพื่อสามารถเลือกเฟ้นหยิบยกเอาแต่สิ่งที่ดีงามขึ้นมาประพฤติปฏิบัติ ให้เป็นทางนำชีวิตของตนไปสู่ความสุขความเจริญได้โดยถูกต้องและสมบูรณ์..."

    พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปีพุทธศักราช ๒๕๒๗

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  9. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 rules=none width="70%" align=center border=0 frame=void><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]
    การศึกษาและปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐาน

    </TD></TR><TR><TD> "...การปฏิบัติส่งเสริมและทำนุบำรุงพระศาสนานั้น แม้จะมีแง่มุมและรายละเอียดในเนื้อหา การปฏิบัติ ข้อปฏิบัติหรือในวิธีปฏิบัติอย่างไรก็ตาม ท่านทั้งหลายไม่ควรจะทิ้งหลักการข้อสำคัญที่ว่า เราจำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติธรรมะขั้นพื้นฐานให้มาก ทั้งนี้เพราะธรรมะขั้นพื้นฐานนั้น คนทั่วไปเรียนรู้ได้ง่าย เข้าใจได้ชัดเจนและปฏิบัติได้ผลซึ่งย่อมทำให้เขาเหล่านั้นเป็นประโยชน์ของพระศาสนา ว่าเมื่อได้เรียนรู้ได้ง่าย และปฏิบัติตามธรรมบัญญัติแม้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น ก็ยังได้รับประโยชน์คือมีความสุขความเจริญความร่มเย็นขึ้นมาทั้งในกาย ในใจ ในการครองชีวิตตลอดถึงในกิจการงาน ดังนี้ก็จะพอใจเรียนรู้และปฏิบัติธรรมหนักแน่นยิ่งขึ้นและแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น

    เมื่อชาวพุทธรู้ธรรมะ ปฏิบัติธรรมะกันอย่างถูกต้องทั่วถึงมากขึ้นการปฏิบัติบ่อนเบียนพระศาสนาให้เศร้าหมองก็จะลดน้อยลง และพระศาสนาก็จะเจริญมั่นคงขึ้น เพราะชาวพุทธเราร่วมกันทำนุบำรุง โดยประการดังกล่าวนี้..."

    พระบรมราโชวาท
    พระราชทานในการเปิดประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  10. โอมพุทโธกิเตศวร

    โอมพุทโธกิเตศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +198
    ขอบคุณ คุณ :) มากๆ
     
  11. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center border=0><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]

    ศาสนาที่เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์



    </TD></TR><TR><TD> "...พระพุทธศาสนาชี้ทางดำเนินชีวิตที่ปราศจากโทษ ช่วยให้เกิดความเจริญร่วมเย็นได้อย่างแท้จริง เพราะมีคำสั่งสอนที่มีลักษณะพิเศษประเสริฐในประการที่อาศัยเหตุผลอันถูกต้องเที่ยงตรง ตามความเป็นจริงเป็นพื้นฐานและแสดงคำอธิบายที่ครบถ้วนชัดเจน อันบุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรองตามและหยิบยกขึ้นปฏิบัติ เพื่อความสุขความเจริญ และความบริสุทธิได้ตามความสามารถ และอัธยาศัยของตนๆ จึงเป็นศาสนาที่เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ และเป็นประโยชน์ได้แท้จริงแก่ทุกคนที่จะพอใจหันเข้ามาศึกษาเลือกสรรหัวข้อธรรมที่เหมาะสมไปปฏิบัติ

    การที่ท่านทั้งหลาย จะทำนุบำรุงส่งเสริมเผยแผ่ให้แพร่หลาย มั่นคงควรจะได้ยึดเหตุผลเป็นหลักการ เลือกเฟ้นนำข้อธรรมะที่เหมาะแก่เหตุการณ์แก่บริษัท และแก่บุคคลมาชี้แจงให้ถูกต้องตรงตามเนื้อแท้ของธรรมะนั้นๆพร้อมทั้งแสดงการกระทำที่มีเหตุผล และมีความบริสุทธิ์ใจให้เป็นตัวอย่างด้วยตนเองให้ครบถ้วน การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตลอดจนการสร้างเสริมศีลธรรม จริยธรรม ทั้งในผู้ใหญ่ผู้เยาว์ของท่าน จึงจะบรรลุผลที่น่าพึงพอใจได้..."



    พระราชดำรัส
    พระราชทานในการเปิดประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนาทั่วอาณาจักร จังหวัดสิงห์บุรี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  12. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 rules=none width="70%" align=center border=0 frame=void><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]

    น้ำพระทัยต่อศาสนิกชนชาวอิสลาม



    </TD></TR><TR><TD> "...การที่จะได้ช่วยกันสร้างพระคัมภีร์อัลกุรอานแปลเป็นภาษาไทยและได้ช่วยกันพิมพ์ ช่วยกันจัดมาเป็นเล่มที่ห้า ก็นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของความก้าวหน้าของศาสนาอิสลามในประเทศไทยเหมือนกัน เชื่อว่าการแปลพระคัมภีร์เล่มนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าพระคัมภีร์เป็นคัมภีร์ที่สำคัญไม่ใช่เฉพาะสำหรับมุสลิมเท่านั้น เป็นที่สำคัญสำหรับคนทั่วไปและน่าสนใจ เพราะว่าเป็นคำสั่งสอนที่ครบถ้วนเป็นเสมือน กฏหมายที่ทุกคนจะใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ การแปลก็ทำได้อย่างรอบคอบ คือแปลมาจากคัมภีร์เดิมด้วยความระมัดระวัง จึงเป็นคำภีร์ที่สำคัญที่สุด

    สำหรับประเทศไทย ถือว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีพระคัมภีร์เป็นภาษาไทย เพราะว่าผู้ที่อ่านภาษาอื่นไม่ได้จะได้มีโอกาสได้อ่าน จึงต้องชมเชยผู้ที่ขะมักเขม้นในการแปล และผู้ที่ส่งเสริมในการพิมพ์ ขอขอบใจทุกคนและขอให้ดำเนินการต่อไป.."



    พระราชดำรัส
    พระราชทานแก่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  13. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center border=0><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]

    หน้าที่ การวางตัว และการส่งเสริมเยาวชน



    </TD></TR><TR><TD> "...ในฐานะที่ต้องออกไปทำหน้าที่เป็นครูของผู้อื่น ท่านจำจะต้องสร้างสมธรรมะต่างๆให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น และรู้จักวางตัวให้สมกับเป็นผู้มีหน้าที่สั่งสอนและอบรมเยาวชน ควรจะตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ และช่วยกันขจัดปัญหาเยาวชนให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว และส่งเสริมให้เยาวชนได้เป็นคนที่มีสัมมาอาชีพและความประพฤติดี เพื่อเป็นกำลังในการที่จะสร้างประเทศชาติต่อไป.."

    "...ผู้ที่เป็นครูอาจารย์นั้น ใช่ว่าจะมีแต่ความรู้ในทางวิชาการ และในทางการสอนเท่านั้นก็หาไม่ จะต้องรู้จักอบรมเด็กทั้งในด้านศีลธรรมจรรยาและวัฒนธรรม รวมทั้งให้มีความสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ และในฐานะที่เป็นพลเมืองดีของชาติต่อไปข้างหน้าการให้ความรู้หรือที่เรียกว่าการสอนนั้น ต่างกับการอบรม การสอน คือการให้ความรู้แก่ผู้เรียน ส่วนการอบรมเป็นการฝึกจิตใจของผู้เรียนให้ซึมซาบจนติดเป็นนิสัย ขอให้ท่านทั้งหลาย จงอย่าสอนแต่อย่างเดียว ให้อบรมให้ได้รับความรู้ดังกล่าวมาแล้วด้วย..."



    พระบรมราโชวาท
    ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  14. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 rules=none width="70%" align=center border=0 frame=void><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]

    การศึกษาธรรมะและศีลธรรมจรรยาอย่างครบถ้วน


    </TD></TR><TR><TD>"...ขอปรารภกับท่านถึงแนวทางที่เห็นว่าสำคัญ ควรที่จะนำมาพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือการศึกษาธรรมะและศีลธรรมจรรยาอย่างถูกถ้วน

    พระพุทธศาสนาวางแนวทางการศึกษาธรรมะ เพื่อให้ประสบผลที่แท้จริงแน่นอนไว้ว่า บุคคลจะต้องศึกษาทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติพร้อมกันไป โดยกระทำให้หนักแน่นได้สัดส่วนกนทั้งสองด้าน จึงจะเกิดปฏิเวธคือได้รับและได้เห็นผลของธรรมะนั้นๆเป็นที่ประจักษ์ตา ประจักษ์ใจ โดยนัยนี้ ตราบใดที่เรียนรู้แต่ไม่ประจักษ์ในผล ก็เรียกว่ายังเรียนไม่สำเร็จ ยังไม่ได้ประโยชน์จากธรรมะอยู่ตราบนั้น และจะนำธรรมะไปแนะนำสั่งสอนหรือเผยแผ่แก่ใครไม่ได้จริง
    ธรรมะขั้นใด ระดับใดก็ตาม จำต้องศึกษาให้ทราบด้วย ต้องนำไปปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ให้ได้รับผลปฏิบัติด้วย ผู้ศึกษาจึงจะเกิดปัญญารู้ชัดแจ้งในธรรมะนั้นได้..."

    พระบรมราโชวาท พระราชทานในการเปิดประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2005
  15. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; cssFloat: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 rules=none width="70%" align=center border=0 frame=void><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]


    ความรู้กับคุณธรรมและความสุจริต



    </TD></TR><TR><TD>"...การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือ ที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรมประกอบด้วย


    เพราะเหตุว่าความรู้นั้นเป็นเหมือนเครื่องยนต์ ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้วเป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำพาให้ยวดยานดำเนินไปถูกทาง ด้วยความสวัสดี คือปลอดภัยจนบรรลุถึงจุดหมายที่พึงประสงค์
    ดังนั้น ในการที่จะประกอบการงานเพื่อ เพื่อส่วนรวมต่อไป ขอให้ทุกคนสำนึกไว้เป็นนิตย์ โดยตระหนักว่าการงาน สังคมและบ้านเมืองนั้น ถ้าขาดผู้มีความรู้เป็นผู้บริหารดำเนินการ ย่อมเจริญก้าวหน้าไปได้โดยยาก แต่ถ้างานใด สังคมใด และบ้านเมืองใดก็ตาม ขาดบุคคลผู้มีคุณธรรม ความสุจริตแล้ว จะดำรงอยู่มิได้เลย..."

    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  16. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center border=0><TBODY><TR style="BACKGROUND-IMAGE: none; VERTICAL-ALIGN: top; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; HEIGHT: 150%; TEXT-ALIGN: left; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><TD align=middle height=135>[​IMG]

    การป้องกันและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

    </TD></TR><TR><TD> "...การป้องกันและทำนุบำรุงนี้ ในรายละเอียดยอมต้องกระทำกันอย่างจริงจังมากมายหลายอย่างโดยรอบทุกด้าน ตามที่ผู้ร่วมงานแต่ละฝ่ายแต่ละท่านจะประชุมปรึกษากันต่อไป
    แต่โดยหลักใหญ่ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันหรือการทะนุบำรุง ควรจะมุ่งถึงวิธีการสำคัญขั้นพื้นฐานประการหนึ่งว่า ทุกคนที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิกชน จะต้องศึกษาพุทธศาสนาตามภูมิปัญญา ความสามรถ และโอกาสของตนๆที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องกระจ่างชัดขึ้นในหลักธรรม เมื่อศึกษาเข้าใจแล้วเห็นประโยชน์แล้ว ก็น้อมนำมาปฏิบัติทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวันและการงานของตน เพื่อให้เกิดความสุข ตามขีดความประพฤติปฏิบัติของแต่ละคน ถ้าชาวพุทธรู้ธรรมะ ปฏิบัติธรรมะอย่างถูกต้องทั่วถึงกันมากขึ้น ปฏิบัติการบ่อนเบียนพระศาสนาให้เศร้าหมองก็จะลดน้อยลง เพราะทุกวันนี้ ที่เกิดความเสื่อมความเสียหายก็มิใช่ผู้ใดใครอื่นทำให้เป็นเรื่องที่ชาวพุทธผู้ไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่ปฏิบัติตามธรรมะ ทำขึ้นเกือบทั้งนั้น..."



    พระราชดำรัส
    ในพิธีเปิดสัมมนาของสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.mbu.ac.th/index.php?opti...id=32&Itemid=89
     
  17. tassanai_k

    tassanai_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,518
    โมทนา ด้วยครับ
     
  18. ศิษย์หลวงพ่อ

    ศิษย์หลวงพ่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +366
    บุญกุศลและบารมีทุกอย่างที่พระองค์ทรงกระทำแล้วเป็นอย่างดี ขอข้าพเจ้าจงได้บุญนั้นเทอญ ฯ สาธุ
     
  19. ศิษย์หลวงพ่อ

    ศิษย์หลวงพ่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +366
    บุญกุศลและบารมีทุกอย่างที่พระองค์ทรงกระทำแล้วเป็นอย่างดี ขอข้าพเจ้าจงได้บุญนั้นด้วยเทอญ ฯ สาธุ
     
  20. Namwarn

    Namwarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2006
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +27
    ^^

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
    ^o^
     

แชร์หน้านี้

Loading...