เรื่องเด่น ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ ทรงติดตามความคืบหน้าสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ หลวงตามหาบัว

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 22 เมษายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b887e0b888e0b8b8e0b8ace0b8b2e0b8a0e0b8a3e0b893e0b98ce0b8af-e0b897e0b8a3e0b887e0b895e0b8b4e0b894.jpg

    เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ เสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ หลวงตามหาบัว ณ วัดป่าบ้านตาด

    22 เม.ย. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 17.50 น. ของวันที่ 21 เมษายน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) เสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ องค์ประธานคณะผู้ออกแบบโครงการพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคลฯ ไปทรงติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) ณ วัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

    ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงวางพวงมาลัย และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายสักการะอัฐิธาตุพระธรรมวิสุทธิมงคล พร้อมกันนั้น ทรงสนทนาธรรมกับ พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) และหลวงตาอินทร์ถวาย สันตุสสโก เจ้าอาวาสวัดป่านาคำน้อย ณ กุฏิพระธรรมวิสุทธิมงคล จากนั้นเสด็จไปยังอาคารอเนกประสงค์ ด้านหน้าโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน โดยมี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กราบทูลถวายรายงานความคืบหน้าการดำเนินการต่างๆ จากเมื่อครั้งที่ทรงพระกรุณาเสด็จมาเป็นองค์ประธานในการวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ซึ่งขณะนี้การดำเนินการมีความคืบหน้าไปตามลำดับ ทั้งในส่วนการก่อสร้างพระเจดีย์ พระวิหาร และอาคารพิพิธภัณฑ์

    สำหรับการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ ได้ดำเนินการตอกเสาเข็มตามแบบแปลน แผนผัง และหลักวิศวกรรมก่อสร้าง จำนวน 1,255 ต้น แล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2560 ซึ่งตรงกับวันที่หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ละสังขารครบ 6 ปี ในส่วนของอาคารพิพิธภัณฑ์ คาดว่าจะใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ 12 เดือน 
ในขณะที่ในส่วนของการออกแบบ-ตกแต่ง และการนำเสนอข้อมูลนิทรรศการด้านต่างๆ อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด โดยการดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อ องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน พระสุปฏิปัณโณ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ และมีคุณูปการต่อประเทศชาติและพระพุทธศาสนา


    จากนั้น ทรงลงพระนามในแผ่นทองจารึก เพื่อบรรจุ ณ ฐานพระเจดีย์ ที่ระดับความสูง 8 เมตร จากองค์พระเจดีย์ที่มีความสูง 60 เมตร และเสด็จไปทอดพระเนตรแบบจำลองโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) โครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ นับเป็นศิลปกรรมไทยองค์สำคัญ องค์สุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สร้างขึ้นบนพื้นที่ 181 ไร่ 3 งาน 17 ตารางวา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่บรรจุอัฐิธาตุของหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน พระเถระสายพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานชั้นผู้ใหญ่รูปหนึ่งของประเทศไทย ที่ครั้งหนึ่งมีบทบาทอย่างยิ่งในการใช้ธรรมะช่วยเหลือวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศเมื่อปี พ.ศ.2540 ในรูปแบบดำเนินการทอดผ้าป่าทองคำ และเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใต้ชื่อ “โครงการผ้าป่าช่วยชาติ” เพื่อใช้เป็นทุนสำรองของประเทศไทยในขณะนั้น 


    นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่เผยแพร่ธรรมะ คำสอนพุทธศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน รวมถึงเป็นสถานที่เก็บรวบรวมประวัติหนังสือคำสอน และเครื่องอัฐบริขารของหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เพื่อเตือนใจให้เยาวชน หรือคนรุ่นหลัง ทั้งสงฆ์ และฆราวาสให้รำลึกถึงคุณูปการทั้งในทางโลกและทางธรรม ซึ่งถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติและทำความดีเพื่อพุทธศาสนาและประเทศชาติ

    การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ ได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงรับเป็นประธานโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และทีมงานสยามรีโนเวท เป็นผู้ดำเนินการออกแบบก่อสร้างโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการออกแบบใดๆ ทั้งสิ้น และทรงมอบหมายให้จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับคณะศิษยานุศิษย์ฯ ดำเนินการก่อสร้างสำหรับแนวทางการออกแบบ 


    พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ องค์ประธานคณะผู้ออกแบบโครงการฯ ได้ทรงกำหนดวางองค์พระเจดีย์เป็นศูนย์กลางของกลุ่มงานสถาปัตยกรรมทั้งหมด โดยให้แกนของพระเจดีย์มุ่งสู่ศูนย์กลาง คือจิตกาธานองค์หลวงตาพระมหาบัวฯ และรักษาแนวแกนการก่อสร้างไปในทิศทางเดียวกับเมืองพาราณสี ในสาธารณรัฐอินเดีย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่มากราบไว้พระเจดีย์องค์หลวงตาพระมหาบัวฯ ได้กราบจิตกาธานองค์หลวงตาพระมหาบัว พร้อมกับได้กราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ เมืองพาราณสี ในคราวเดียวกัน


    ลักษณะของพระเจดีย์ พระวิหาร และพิพิธภัณฑ์นั้น ได้สร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมศิลปะล้านช้าง ผสมผสานกับศิลปะยุคกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงการสืบทอดพระพุทธศาสนาในถิ่นอีสานยังคงดำรงอย่างมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต. 


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1261769
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...