สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    โครงการอบรมพระกัมมัฏฐาน รุ่นที่ ๗๕
    ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๑
    (รุ่นกลางปี)
    ๑ - ๑๕ พฤษภาคม สำหรับโยม

    ๑๙ - ๓ มิถุนายน สำหรับพระวิปัสสนาจารย์


    ขออาราธนาพระภิกษุ-สามเณร และขอเชิญอุบาสก อุบาสิกา ผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติ ทุกท่าน สมัครเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย ซึ่งพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้

    วัตถุประสงค์ของการอบรม ๓ ประการ คือ
    ๑. เพื่อสร้างพระในใจตนเองและผู้อื่น เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของสาธุชนให้กว้างขวางออกไป
    ๒. เพื่อสร้างพระวิปัสสนาจารย์หรือวิทยากรให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และให้งดงามพร้อมด้วยศีลาจารวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เป็นที่พึ่งทางใจแก่สาธุชนได้อย่างแท้จริง ได้ช่วยกันสืบบวรพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวยิ่งๆ ขึ้นไป
    ๓. เพื่อรักษาและสืบต่อธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ให้ถูกต้องสมบูรณ์ ตามที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สั่งสอนและถ่ายทอดเอาไว้

    กฏระเบียบง่ายๆสำหรับผู้ที่จะมาขออยู่ร่วมโครงการอบรมกัมมัฏฐานเป็นครั้งแรก!!!!!
    ๑.เตรียมชุดขาวและของใช้ส่วนตัว(ส่วนเครื่องนอนอุปกรณ์ต่างๆมาเบิกที่วัดได้)
    ๒.ภายในวันที่ ๑-๑๔ พ.ค.ท่านสามารถมา/กลับได้ทุกวันตามแต่สะดวก (แต่ถ้าให้ดีควรอยู่ติดต่อกัน ๓ วันขึ้นไป)
    ๓.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ(สำหรับการลงทะเบียนรับสมัคร)

    ติดต่อสอบถามเพื่อขอเข้าร่วมอบรมได้ที่
    ประชาสัมพันธ์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ๗๐๑๓๐
    โทร.๐๙๐-๕๙๕๕๑๖๒,๐๙๐-๕๙๕๕๑๖๔




    31056871_843709642496876_5324388252960948224_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2018
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    พระปฐมสมโพธิ เป็นหนังสือที่แต่งไว้สำหรับเทศนา ต้นฉบับดั้งเดิมไม่ทราบว่าพิมพ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.อะไร แต่ที่กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้พบและใช้เป็นแบบเรียนสมัยรัชกาลที่ ๕ คือ ฉบับปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ และอีกฉบับหนึ่งปี ๒๔๔๕ ห่างกันถึง ๒๖ ปี สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว)
    (ดูประวัติได้ในภาคผนวกหน้า ผ๒๙๒) ได้นำมาเรียบเรียงทำเป็นหนังสือชื่อ พระปฐมสมโพธิ
    ในที่นี้จะกล่าวถึงหลักฐานที่พบคือในการพิมพ์ครั้งที่ ๒ ฉบับดั้งเดิมโดยในหนังสือพระปฐมสมโพธิ
    ได้จัดแบ่งไว้เป็น ๒ ตอน ตอนที่ ๑ พิมพ์ปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๕ มีกล่าวถึงการอุปบัติขึ้นของรูปกายและการอุปบัติขึ้นของธรรมกาย ๓ แห่ง ดังนี้

    ๑.ในคำปรารภ : ชาติกถากัณฑ์ที่ ๑ หน้า ๖ ความว่า

    ....สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น แม้ปรินิพพานนานกำหนดศาสนายุกาลถึงเท่านี้แล้ว ยังเหลืออยู่ส่วนรูปกาย ด้วยสักว่าพระสารี-ริกธาตุยังดำรงอยู่ ส่วนธรรมกายด้วยพระหฤทัยอันอนุเคราะห์สัตว์ ซึ่งเป็นประชุมชนเกิดในกาลภายหลัง และยังทรงอยู่ด้วยพระคุณทั้งหลาย ที่เป็นอนัญญสาธารณ
    ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น...

    ๒.ในคำปรารภ : ชาติกถากัณฑ์ที่ ๑ หน้า ๑๔ ความว่า

    ...เอวํ อติทุลฺลภปาตุภาโว แม้องค์พระตถาคตอังคีรสสักยมุนี-โคตมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ซึ่งมีความปรากฏในโลก อันสัตว์ได้ด้วยยากดังนี้ พระองค์ได้อุปบัติบังเกิดขึ้นแล้วในโลก ด้วยรูปกายอุปบัติและธรรมกาย อุปบัติทั้งสองประการ พร้อมด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรม ตามธรรมดานิยมโดยพุทธธรรมดาฯ ความบังเกิดขึ้นด้วยรูปกายนั้นจัดเป็นสอง คือ โอกกันติสมัยลงสู่พระครรภ์ แลนิกขมนสมัยประสูติจากพระครรภ์ฯ ส่วนความบังเกิดด้วยธรรมกายนั้น คือตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ-ญาณฯ...

    ๓.ในตอนตรัสรู้ อภิสัมโพธิกถา กัณฑ์ที่ ๒ หน้า ๘๑-๘๓ ความว่า" .. ครั้งนั้นหมื่นโลกธาตุนี้
    ก็หวั่นไหวสะเทือนสะท้านทั้งแสงสว่างยิ่งไม่มีประมาณ ก็ได้ปรากฏเกิดมีในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทพยดาทั้งหลาย ก็แลอัศจรรย์ทั้งหลายซึ่งสำเร็จโดยธรรมดานิยมเห็นปานใด ได้ปรากฏเกิดมีแล้วในโลก เมื่อครั้งพระองค์ประสูติเปนกาลเกิดด้วยรูปกายอันบริบูรณ์นั้นฉันใด แม้ถึงเมื่ออภิสัมโพธิสมัย ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เปนการเกิดด้วยธรรมกาย นั้นเล่า สรรพอัศจรรย์ทั้งปวง เห็นปานนั้น
    ก็ได้ปรากฏเกิดมีแล้วฉันนั้นฯ เพราะว่า ความที่มาปรากฏเปนชัดขึ้นก่อนในชาติความเกิดที่เปนโลกุตตร แลความที่โลกุตตรธรรมซึ่งไม่เปนไปสิ้นกาลนานแล้ว แลมาปรากฏเปนชัดขึ้นก่อนในมนุษย์โลกนี้
    เปนชาติความเกิดด้วยธรรมกายแห่งสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้านั้น เปนมหัศจรรย์ลบล้นล่วงคุณพิเศษอื่นทั้งปวง เกิดมีขึ้นในโลกแล้ว ด้วยประการฉนี้ ฯ

    เอตฺตาวตา มุนินฺทสฺส ปวตฺติทีปนา กถา
    รูปกายุปฺปตฺติธมฺม- กายุปตฺติวสา อยํ
    สทฺธาปสาทุปฺปาทาย สํเขปา ปริกิตฺติตา
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    พระปฐมสมโพธิกถา ฉบับพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑) ซึ่งได้ทรงรจนาถวายฉลองพระราชศรัทธา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่ได้ทรงอาราธนา เมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเป็นรัตนกวีศรีประเทศได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ซึ่งล้วนแต่เป็นอมตะทั้งนั้น พระนิพนธ์ปฐมสมโพธิกถา ก็เป็นอมตะเช่นเดียวกัน

    พระปฐมสมโพธิกถานี้ เป็นสมบัติอันล้นค่าของวงการพระ-พุทธศาสนาในประเทศไทย และของชนชาติไทย สมบูรณ์ด้วยสมบัติแห่งวรรณคดี จะพิจารณาในด้านการนิพนธ์ จะศึกษาในทางภาษา จะหาความรู้ในทางพระ-ประวัติของพระพุทธเจ้า จะพิเคราะห์ในทางกวีโวหาร โดยเฉพาะเทศนาโวหาร ก็มีอยู่ทุกประการ ทั้งมีโอชารสแห่งพากย์นิพนธ์ ครบทุกรสตามแบบแห่ง อลังการศาสตร์ มิได้บกพร่องเลย กล่าวได้ว่า เป็นอนรรฆมณีดวงหนึ่ง ในวรรณคดีของชาติไทย

    จัดพิมพ์ครั้งที่ ๑ ฉบับภาษาไทย จำนวน ๑๐,๐๐๐ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยคณะผู้จัดทำได้พยายามสอบทานชำระกับต้นฉบับภาษาบาลี ซึ่งก็เข้าใจว่าเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น จะทรงเป็นภาษาบาลีก่อนแล้วจึงทรงแปล หรือจะทรงแปลก่อนแล้วจึงทรงกลับเป็นบาลี ก็สุดแต่จะพิจารณา ได้ความเป็นพิเศษออกไปเป็นบางแห่ง ซึ่งก็ได้ทำเชิงอรรถไว้ตามที่นั้นๆ การสอบทานชำระ
    ในครั้งนี้ทางองค์การศึกษาได้มอบหน้าที่ให้ พระมหานิยม ฐานิสฺสโร ป.๙ วัดราชบูรณะ พระมหาวีระ ภทฺทจารี ป.๙ วัดราชนัดดาราม พระมหาธัญนพ โชติปาโล ป.๙ วัดภาวนาภิรตาราม และนาวาอากาศเอกแย้ม ประพัฒน์ทอง ป.๙ อนุศาสนาจารย์กองทัพอากาศ เป็นผู้ดำเนินการมาโดยตลอด ปัจจุบันพระปฐมสมโพธิกถา ฉบับนี้ใช้เป็นแบบเรียนในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก

    หน้า ๕๔๖ มีปรากฏคำว่า ธรรมกาย เป็นหลักฐาน จำนวน ๑ แห่งใน ตอนหนึ่งชื่อว่า มารพันธปริ-วรรต ปริจเฉจที่ ๒๘ ใจความสำคัญคือ เมื่อพุทธ- ศักราช ๒๑๘ มีพระมหาเถระองค์หนึ่งชื่อพระอุปคุตต์ ได้ทรงทรมานพระยาวัสวดีมารจนสิ้นพยศกลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และออกวาจาปรารถนา พุทธภูมิ หลังจากนั้น พระอุปคุตต์มหาเถระประสงค์จะได้เห็นพระรูปกายของพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า จึงขอร้องให้พระยาวัสวดีมารซึ่งเคยได้เห็นมาก่อน เนรมิตพระรูปกายแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอัครสาวกให้ดู ซึ่งใจความตอนนี้ ความว่า...

    ...เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และประกาศพระพุทธศาสนา จนกระทั่งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุไปแล้ว ก็มีพระมหาเถระองค์หนึ่ง
    ชื่อพระอุป-คุตต์มหาเถระได้มีโอกาสทรมานพระยามารจนสิ้นพยศ กลับมาเป็น สัมมาทิฏฐิ และมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย จึงเปล่งวาจาปรารถนา พุทธภูมิตามที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงพยากรณ์ไว้ พระ- อุปคุตต์มหาเถระนั้น มิได้เคยเห็นพระวรกายเนื้อของพระพุทธองค์มาก่อน และประสงค์จะได้เห็น จึงขอร้องให้พระยามาร ซึ่งได้เคยเห็นสมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน
    ให้เนรมิตพระวรกายเนื้อแห่งสมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วย พระอัครสาวกให้ดู มีความว่า

    ...อนึ่งท่าน (พญามาร) จงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา (พระอุปคุตต์) ด้วยสมเด็จพระศาสดาบังเกิดในโลก เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานเสียแล้วเราได้เห็นแต่พระธรรมกาย (หมายถึงพระธรรมกายของพระอุปคุตต์มหาเถระ ซึ่งได้เข้าไปเห็นพระธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระนิพพาน) บ่มิได้เห็นซึ่งพระสรีรกาย ท่านจงสงเคราะห์ นฤมิตพระรูปกายแห่งพระ-ศาสดาจารย์ พร้อมด้วยอาการทั้งปวง สำแดงแก่เราให้เห็นประจักษ์กับทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่ให้ปรากฏ ด้วยฤทธิ์แห่งท่าน กาลบัดนี้...

    (ดูฉบับสมบูรณ์ที่ภาคผนวก หน้า ผ๑๑๘-ผ๑๑๙)

    เป็นที่น่าสังเกตว่า พระปฐมสมโพธิกถา ฉบับนี้ รจนาขึ้นตั้งแต่ปี ๒๓๘๗ แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนักของผู้ที่ศึกษาธรรมศึกษาและนัก-ธรรมทั้งๆ ที่รจนามาก่อนปฐมสมโพธิของสมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    “อมตะวาทะ”
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ------------------------------
    ปิยวาจา
    เราต้องอาศัยวาจาที่ไพเราะเสนาะโสต เมื่อกล่าววาจาอันใดออกไปแล้ว เป็นที่ดึงดูดใจ เหนี่ยวรั้งใจ เป็นที่สมัครสมานในกันและกัน ไม่เป็นที่กระทบกระเทือนในกันและกัน ต้องใช้วาจาอย่างนั้น เป็นคนชั้นสูง เป็นคนชั้นผู้ใหญ่ เป็นคนชั้นพวกมาก ไม่ใช่พวกน้อย

    ถ้ามีวาจาเช่นนั้นเรียกว่าเป็นคนสุภาพ เป็นคนมีมารยาท เป็นคนที่มีถ้อยคำวาจาเป็นหลักเป็นประธาน วาจาไพเราะอ่อนหวาน ไม่กระทบกระเทือนผู้หนึ่งผู้ใด กล่าวออกไปแล้ว ไม่กระเทือนตัวเองด้วย ไม่กระเทือนบุคคลอื่นด้วย ไม่กระเทือนทั้งตนและบุคคลอื่นด้วย

    กล่าววาจาใดออกไป แล้ววาจานั้นไพเราะเสนาะโสตดึงดูด อยากจะฟังแล้วอยากจะฟังอีกอยู่ร่ำไป ดังนี้เรียกว่า ปิยวาจา วาจาไพเราะ วาจาอย่างนี้แหละเป็นของสำคัญนักในหมู่มนุษย์ จำเป็นจะต้องใช้
    ...
    จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ ๕
    เรื่อง สังคหวัตถุ
    ๒๐ กันยายน ๒๔๙๖
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ศูนย์กลางกายนี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับ
    อายตนภพสาม อายตนนิพพาน
    และอายตนโลกันต์ จึงนับเป็นศูนย์ที่สำคัญที่สุด •


    การเจริญสมาธินั้น มีหลายวิธีด้วยกัน และการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนั้น ประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ที่นำไปสู่สัมมาสมาธิดังกล่าว

    กล่าวแต่เพียงย่อๆในเบื้องต้น คือ การให้กำหนดบริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" นั้น หมายถึง พระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ผู้ไกลจากข้าศึก คือ กิเลส และผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ผู้หักกำแห่งสังสารจักรได้ ผู้ไม่ปกปิดการกระทำบาป จึงนับเป็นพุทธานุสติ

    และที่ให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นเครื่องหมายดวงกลมใส อันเป็นกรรมวิธีเดียวกันกับอาโลกกสิณหรือการเพ่งแสงสว่าง เพื่อผูกใจให้อยู่ในอารมณ์เดียวได้ง่าย กับทั้งให้มีสติ ตั้งใจไว้ ณ ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นต้นทางลมหายใจเข้าออก อันนับเป็นอานาปานสติ อีกโสดหนึ่งด้วย จึงเหมาะกับผู้ปฏิบัติทุกจริตอัธยาศัย

    เมื่อใจสามารถหยุดในหยุดเป็นอารมณ์เดียว ตั้งมั่นเป็นสมาธิดี และเข้าถึงธรรมกายแล้ว ก็จะสามารถเจริญฌานทั้งสีได้โดยสะดวก

    นอกจากนี้ การเจริญภาวนาธรรมตามแนวนี้ ยังมีผลให้เกิดอภิญญาและวิชชา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการดับอวิชชา อันเป็นมูลรากฝ่ายเกิด ก่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริง จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น

    อนึ่ง การรวมใจให้หยุดในหยุด ณ ศูนย์กลางกายนั้น นับว่าเป็นผลดีอย่างมาก เพราะเป็นจุดแห่ง"ดุลย" ทั้งทางกายภาพและจิตใจ

    กล่าวคือ ในทางกายภาพ ศูนย์กลางของสรรพวัตถุทั้งหลาย ย่อมอยู่ในแนวเดียวกันกับแรงดึงดูดของโลก ที่เรียกว่า Center of Gravity

    ส่วนทางด้านจิตใจนั้น สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาธรรมจนถึงธรรมกายแล้ว ก็จะสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า ศูนย์กลางกายนั่นเองคือ ที่ตั้งถาวรของใจ เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่นนั้น ดวงธรรมจะลอยมาสู่ศูนย์กลางนี้ก่อนอื่นทีเดียว

    และศูนย์กลางกายนี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับ อายตนภพสาม อายตนนิพพาน และอายตนโลกันต์ จึงนับเป็นศูนย์ที่สำคัญที่สุด มีพลังและอำนาจมากที่สุด ช่วยให้รู้เห็นได้แม่นยำและกว้างขวางไม่มีประมาณ ซึ่งผู้ปฏิบัติจะได้ทราบด้วยตนเอง หากฝึกอย่างสม่ำเสมอ

    นี่คือ เคล็ดลับในการเจริญภาวนาธรรมอย่างสัมฤทธิ์ผล

    สมาธิมีคุณค่าอย่างสูงทั้งทางโลกและทางธรรมดังกล่าวนี้ พระพุทธองค์จึงได้ทรงประทานพระพุทโธวาทไว้ว่า

    สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ

    แปลเป็นใจความว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ตามจริง

    ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวไว้ว่า การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถประกอบกิจการได้ผลดีทั้งในทางโลกและทางธรรม และวิธีปฏิบัติก็ไม่ยากเกินกำลังความสามารถสติปัญญาของบุคคลโดยทั่วไป ขอแต่ให้ดำเนินให้ถูกวิธี มีอิทธิบาท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ก็จะได้รับผลโดยทั่วกันมากน้อยตามระดับคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ ผู้ที่ปฏิบัติได้แม้เพียงเศษของธรรมกาย ก็จะยังรู้สึกว่า ได้รับผลทั้งทางโลกและทางธรรมคุ้มค่า ขอแต่ให้ตั้งใจจริงก็แล้วกัน

    มีข้อคิดอยู่ว่า "ของจริงย่อมอยู่กับจริงเสมอ" เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย อย่าได้ลังเลสงสัยเลย.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525


    ?temp_hash=cc7371a4368d36fb3411eb269d17e267.jpg


    ******************************************************************************
    วัตถุประสงค์ ของการตรวจจักรวาล ภพสาม( กามภพ รูปภพ อรุปภพ) และโลกันต์



    ก็เพื่อให้รู้เห็นธรรมชาติที่เป็นไปในภพ 3 และโลกันต์ ว่า เป็นสภาพที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร/สังขตธรรม) อย่างไร ได้แก่ปรุงแต่งด้วยบุญ (ปุญญาภิสังขาร) ปรุงแต่งด้วยบาป (อปุญญาภิสังขาร) และปรุงแต่งด้วยฌานสมาบัติที่ไม่หวั่นไหว (อเนญชาภิสังขาร)


    และเพื่อให้เห็นแจ้งรู้แจ้ง ในสามัญญลักษณะคือสภาวะที่เป็นเองเสมอกันหมดของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงว่า เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อย่างไร


    ให้เห็นสัจจธรรม คือ ทุกขสัจ และ สมุทัยสัจ ตามที่เป็นจริง และพัฒนาขึ้นเป็นความเห็นแจ้งรู้แจ้งในอีก 2 สัจจธรรมที่เหลือ คือ นิโรธสัจ และ มรรคสัจ


    อันเป็นการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้สภาวธรรมและสัจจธรรม ตามที่เป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง เป็นหนทางให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์



    -----------------------------------------



    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติพร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมปฏิโลมหลายๆ เที่ยว ให้ใสละเอียดหมดทุกกาย

    หากประสงค์จะตรวจดูความเป็นไปในภพ 3 ก็ให้น้อมเอาภพ 3 เข้ามาเป็นกสิณ คือมาไว้ ณ ศูนย์กลางกาย แล้วใช้ตาคือญาณพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปในแต่ละภพ เริ่มตั้งแต่ อรูปภพ 4 ชั้น รูปภพ 9 ชั้น (16 ภูมิจิต) ตลอดไปจนถึงกามภพ ทั้งสวรรค์ 16 ชั้น และ นรก 8 ขุมใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้เขาพระสุเมรุลงไป ให้รู้เห็นความเป็นไปโดยตลอด หากประสงค์จะทราบบุพพกรรมคือกรรมเก่าที่กระทำไว้ในภพก่อนอย่างไร จึงได้มาเสวยผลบุญหรือผลบาปอยู่ในขณะนี้ ก็ไต่ถามดูได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2018
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร


    เจริญพรญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน

    วันนี้อาตมภาพก็จะได้กล่าวถึงเรื่อง “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร”

    ก่อนอื่นอาตมาใคร่จะขอเล่าเรื่อง “ความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี” ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดมของเรานี้ยังมีพระชนมชีพอยู่ เพื่อให้เห็น ตัวอย่างโทษของการก่อเวรและการผูกใจเจ็บแล้วจองเวรซึ่งกันและกันว่า มีโทษแก่ทั้งผู้ก่อเวร และทั้งผู้ผูกใจเจ็บแค้นแล้วจองเวรซึ่งกันและกันอย่างไร และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนให้ระงับเวรโดยวิธีการอย่างไร พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาสาธุชนผู้ฟัง แล้วจะได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยความสำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติทางไตรทวาร คือทางกาย ทางวาจา และเจตนาความคิดอ่านทางใจ มิให้เป็นการก่อเวร และหากเคยมีเวรต่อกันกับใครผู้ใด ก็ให้เวรนั้นสงบระงับลงได้ ก็จะดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข เพราะว่า ผู้คนและสัตว์โลกอื่นทั้งหลายที่อยู่ร่วมกันในสังคมทุกวันนี้ มักประพฤติปฏิบัติต่อกันในลักษณะเป็นการก่อเวรและก็ผูกใจเจ็บแค้นแล้วก็จองเวรซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้อยู่ร่วมกันอย่างโกลาหล ไม่สงบ และเป็นเหตุให้ถึงซึ่งความทุกข์เดือดร้อน ไม่มีที่สิ้นสุด และดูเหมือนจะยิ่งเพิ่มทับทวีหนักยิ่งขึ้น เพราะความที่ต่างคนต่างขาดสติสัมปชัญญะ และขาดปัญญาอันเห็นชอบ ด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุให้ปุถุชนหลงคิดผิด เห็นผิด จึงประพฤติปฏิบัติต่อกันอย่างผิดๆ จึงมีการกระทบกระทั่ง เบียดเบียน เกียรติยศ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน และแม้ชีวิตเลือดเนื้อของซึ่งกันและกัน เป็นการก่อเวร และจองเวรซึ่งกันและกัน ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนต่อๆไปไม่มีที่สิ้นสุดดังที่เราเคยได้ยินได้ฟังข่าวทางสื่อมวลชนอยู่บ่อยๆ ในทุกวันนี้

    เรื่อง “ความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี” นี้ มีปรากฏในพระธัมมปทัฏฐกถา (ภาค 1) ฉบับแปลเป็นภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ 14/2531 โดยมหามกุฎราชวิทยาลัย หน้า 64-71 มีความย่อว่า

    ในสมัยที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ได้ทรงปรารภเรื่องหญิงหมันคนหนึ่ง และได้ตรัสพระธรรมเทศนาว่า

    น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ
    อเวเรน จ สมฺมนฺติ เอส ธมฺโม สนนฺตโน
    “ในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร ธรรมข้อนี้เป็นของเก่า”
    เรื่องนี้มีอยู่ว่าบุตรชายกุฎุมพีคือผู้มั่งมีคนหนึ่งเมื่อบิดาตายและได้ทิ้งบ้านช่อง เรือกสวนไร่นาไว้ให้มาก ก็ได้อยู่ช่วยกิจการงานต่างๆ และปฏิบัติมารดาอยู่ด้วยดี ต่อมามารดาคิดจะหาภรรยาให้เพื่อช่วยกันทำกิจการงาน และให้มีครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานเสียที ลูกชายจึงเลือกบุตรสาวของตระกูลที่ตนชอบใจให้แม่ไปสู่ขอ และแต่งงานให้ แต่ภรรยานั้นเป็นหญิงหมัน เป็นประเพณีของชาวอินเดียว่า หากครอบครัวใดไม่มีบุตรชายสืบสกุลแล้ว ก็ถือว่าเป็นเรื่องเสียหาย มารดาจึงเซ้าซี้บุตรชายว่าจะหาภรรยาให้ใหม่อีก บุตรชายก็ไม่อยากได้ภรรยาใหม่นัก และก็เผอิญว่าภรรยาเดิมนั้นได้ยินสองแม่ลูกปรึกษากันในเรื่องนี้ ก็คิดว่า สักวันหนึ่ง สามีของตนคงจะทนมารดาเซ้าซี้ไม่ไหว ก็จะยอมให้มารดาจัดหาภรรยามาให้ใหม่อีกจนได้ และถ้าเป็นเช่นนั้น ต่อไปในกาลข้างหน้า ตนเองก็จะต้องลำบาก เพราะถ้าเขาได้ลูกชายไว้สืบสกุลแล้ว ทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ย่อมจะตกเป็นของภรรยาใหม่กับบุตรแน่นอน และตนเองก็จะกลายเป็นเพียงคนใช้เขาเท่านั้น ภรรยาเดิมจึงรับอาสาหาหญิงสาวมาให้สามีเอง เพื่อตนจะได้ตีสนิทชิดเชื้อกับภรรยาใหม่ของสามี ให้เธอตายใจได้ แล้วจะได้หาวิธีมิให้เธอมีบุตรได้ต่อไป ครั้นทุกฝ่ายยินยอมพร้อมใจ ภรรยาเดิมผู้พกความริษยาไว้ภายในใจ ก็หาหญิงสาวที่คุ้นเคยและไว้วางใจกันมาให้เป็นภรรยาใหม่ของสามีได้สำเร็จ

    ครั้นภรรยาใหม่ตั้งครรภ์ ภรรยาเก่านั้นก็ดูแลปรนนิบัติวัตรถากภรรยาใหม่ ให้ทุกคนตายใจ แล้วก็แอบใส่ยาทำแท้งให้ภรรยาใหม่กิน และปรากฏว่า ภรรยาใหม่แท้งลูกถึง 2 ครั้ง จนภรรยาใหม่ชักสงสัยและระแวง ครั้นถึงคราวที่ภรรยาใหม่ตั้งครรภ์อีก เธอจึงปกปิดข่าวมิให้ภรรยาเก่ารู้ว่าเธอตั้งครรภ์แล้ว จนกระทั่งครรภ์แก่ ภรรยาเก่าจึงรู้ และหาอุบายใส่ยาให้แท้งอีก เป็นครั้งที่ 3 เนื่องด้วยเด็กในครรภ์นั้นโตขึ้นแล้ว เมื่อจะแท้งก็กลับนอนขวางทวาร ทำให้ภรรยาใหม่คลอดไม่ได้และต้องได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส จนเจียนจะตาย

    และเพิ่งรู้แน่แก่ใจว่านี้เป็นเพราะภรรยาเก่า หาอุบายประกอบยาแท้งให้เธอกินอีก จึงผูกใจเจ็บแค้น และคิดปรารถนาว่า

    “เราจะต้องตาย ณ บัดนี้แล้ว ขอให้เราได้เกิดเป็นนางยักษิณี จะได้กินลูกมันคืน”

    ดังนี้แล้ว เธอก็ขาดใจตาย และก็ได้ไปเกิดเป็นนางแมวอยู่ในเรือนของสามีนั้นเอง ฝ่ายสามีเมื่อจับความผิดของภรรยาเดิมได้ ก็โกรธจัด จึงได้ทุบตีภรรยาเดิมด้วยทั้งตีศอกขยอกเข่า จนเธอบอบช้ำและตายลง แล้วไปเกิดเป็นนางแม่ไก่อยู่ในเรือนเดียวกันนั้นเองอีก นี้เป็นด้วยอำนาจของเวรกรรมที่ผูกพันกันมา

    ครั้นแม่ไก่ตกไข่ นางแมวก็มากินไข่ของแม่ไก่นั้น ถึง 3 ครั้ง แม่ไก่จึงคิดว่า

    “นางแมวมันกินไข่เรา 3 ครั้งแล้ว ทีนี้มันกำลังจะกินตัวเราอีก ถ้าเราตายไปและเกิดใหม่ ก็ขอให้เราได้กินทั้งตัวมันและลูกของมันด้วยเถิด” ดังนี้แล้ว

    เมื่อแม่ไก่ได้ตายลง ก็ได้ไปเกิดเป็นแม่เสือเหลือง ส่วนนางแมว เมื่อตายลง ก็ได้ไปเกิดเป็นนางเนื้อ เวลาที่แม่เนื้อนั้นคลอดลูก นางเสือก็กินเสียถึง 3 ครั้ง แม่เนื้อจึงคิดว่า

    “แม่เสือเหลืองนี้ มันกินลูกเราถึง 3 ครั้งแล้ว ทีนี้มันกำลังจะกินตัวเราอีกด้วยถ้าเราตายไปและเกิดใหม่ก็ขอให้ได้กินมันทั้งแม่และทั้งลูกของมันด้วยเถิด” ดังนี้แล้ว

    แม่เนื้อ ซึ่งในอดีตชาติเคยเป็นภรรยาใหม่ของบุตรกุฎุมพีนั้น ได้ตายลงและก็ได้ไปเกิดเป็นนางยักษิณี ชื่อ“กาลี” ส่วนแม่เสือเหลืองซึ่งในอดีตชาติเคยเป็นภรรยาเดิมของบุตรกุฎุมพีนั้น เมื่อตายลงก็ได้ไปเกิดเป็นหญิงสาวมีตระกูลๆ หนึ่ง ในเมืองสาวัตถี ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “นางกุลธิดา”

    นางกุลธิดานั้นเมื่อเจริญวัยขึ้นจึงได้แต่งงานและได้ไปอยู่กับสามีที่ใกล้ประตูเมืองสาวัตถีนั้นเอง ครั้นเธอตั้งครรภ์และคลอดบุตรแล้ว นางกาลียักษิณีก็จำแลงกายเป็นเพื่อนรักของนางกุลธิดา เข้าไปถึงเด็กและทำเป็นดูแลเด็กทารก พอคนเผลอก็จับทารกกินเสีย เป็นเช่นนี้ถึง 3 ครั้ง จนนางกุลธิดารู้ความจริงและคอยระวังตัว ครั้นนางกุลธิดามีครรภ์หนที่ 3 และครรภ์แก่แล้ว ก็รีบชวนสามีหนี ไปสู่เรือนตระกูลของตน เพื่อจะคลอดบุตรคนที่ 3 เมื่อเธอคลอดแล้ว ครั้นถึงเวลาจะตั้งชื่อบุตร ก็ชวนสามีพากันกลับไปสู่ตระกูลของสามี โดยไปทางลัดที่จะผ่านไปทางพระวิหารเชตวันที่ประทับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก

    ในช่วงระยะเวลานั้นนางยักษิณีเพิ่งพ้นจากเวรส่งน้ำเพื่อท้าวเวสสุวรรณจอมเทพประจำทิศอุดร คือทิศเหนือ เสร็จแล้วก็ได้จำแลงกายเป็นมนุษย์ผู้สหายนางกุลธิดา แล้วรีบไปที่บ้านนางกุลธิดาเพื่อจะหาโอกาสเข้าใกล้และจับเด็กทารกกินอีก ครั้นทราบข่าวว่านางกุลธิดาพาเด็กทารกหนีกลับไปบ้านสามีแล้ว ก็รีบติดตามไปทันที ฝ่ายนางกุลธิดากับสามีนั้น ผลัดกันอุ้มลูกคนหนึ่ง อีกคนหนึ่งลงอาบน้ำในสระโบกขรณี ข้างพระวิหารเชตวัน ขณะที่นางกุลธิดากำลังยืนให้บุตรกินนม ส่วนสามีกำลังลงอาบน้ำอยู่นั้น ก็พลันเห็นนางยักษิณีจำแลง กำลังแล่นมาแต่ไกล ก็จำได้ จึงร้องบอกสามี แล้วตนเองก็รีบอุ้มลูกวิ่งไปสู่พระวิหารเชตวันด้วยความกลัว

    ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระบรมศาสดากำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ในท่ามกลางบริษัท นางกุลธิดานั้นรีบนำบุตรน้อยไปวางไว้แทบพระบาทพระพุทธองค์ แล้วระล่ำระลักกราบทูลว่า

    “บุตรคนนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายแก่พระองค์แล้ว ขอพระองค์ประทานชีวิตแก่บุตรข้าพระองค์ด้วยเถิด”

    ส่วนนางยักษิณีก็วิ่งแล่นตามไปถึงประตูทางเข้าพระวิหารเชตวัน แต่สุมนเทพผู้สิงอยู่ที่ซุ้มประตูไม่ยอมให้นางยักษิณีเข้าไป สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสเรียกพระอานนทเถระ ให้ไปเรียกนางกาลียักษิณีเข้าไปเฝ้า ฝ่ายนางกุลธิดานั้นบังเกิดความกลัวนางยักษิณี จึงกราบทูลว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางยักษิณีนี้มา”

    พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า “ให้นางยักษิณีเข้ามาเถอะ เจ้าอย่าได้ร้องไปเลย” แล้วตรัสกับนางกาลียักษิณีว่า

    “เหตุไร เจ้าจึงทำอย่างนี้ ก็ถ้าพวกเจ้าไม่ได้มาสู่เฉพาะหน้าพระพุทธ-เจ้า ผู้เช่นเราแล้ว เวรของพวกเจ้าจักได้เป็นกรรมตั้งอยู่ชั่วกัปชั่วกัลป์ เหมือนเวรของงูเห่ากับพังพอน ของหมีกับไม้สะคร้อ และเหมือนเวรของกากับนกเค้า เหตุไฉน พวกเจ้าจึงทำเวรและเวรตอบแก่กันและกันล่ะ เพราะเวรย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร หาระงับได้ด้วยเวรไม่”

    ดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

    “ในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย
    ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร ธรรมข้อนี้ เป็นของเก่า”

    นางยักษิณีนั้นได้ส่งใจไปตามกระแสพระธรรม ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้จบลง นางยักษิณีนั้นก็ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระโสดาบันบุคคล

    เรื่องทั้งหมดนี้ ได้แสดงสัจจธรรมที่น่าสนใจและพึงทราบหลายประการ คือ

    1. การเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจของกรรม และกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน นั้นมี แน่นอน
    2. โทษของการก่อเวรและจองเวรซึ่งกันและกัน นั้นมีมาก
    3. วิธีระงับเวร ด้วยความไม่มีเวร ตามพระธรรมนี้ ตามรอยบาทพระพุทธองค์ แต่โบราณกาล
    4. เรื่องอมนุษย์เช่น ยักษ์หรืออสูร มีจริง
    แต่ ณ ที่นี้จะขออธิบายขยายความ เรื่องโทษของการก่อเวร และการจองเวรซึ่งกันและกัน และวิธีระงับเวรด้วยความไม่มีเวร เพื่อให้พอเหมาะกับเวลาก่อน

    กล่าวถึงโทษของการก่อเวรและการจองเวรซึ่งกันและกันนั้นมีตัวอย่างให้เห็นได้มากมาย จากพฤติกรรมของผู้คนทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดังเช่นที่เราได้ยินได้ฟังข่าวทางสื่อมวลชน มาเป็นระยะๆ ตัวอย่างเช่น

    บุคคลผู้มีปกติชอบกระทำหรือใช้กิริยา วาจา ก้าวร้าวผู้อื่น ให้เสียหายหรือเจ็บช้ำน้ำใจ ก็มักจะถูกผู้ที่ได้รับการล่วงเกินนั้นผูกใจเจ็บ แล้วก็กระทำหรือแสดงกิริยา วาจา ที่ก้าวร้าวตอบคืน และ/หรือยังถูกผู้อื่นกระทำหรือแสดงกิริยา วาจา ก้าวร้าวตน เช่นนั้นอีกบ้าง ก็เมื่อตนเองนั้น ไม่ระงับเวรนั้น กลับผูกใจเจ็บและโต้ตอบคืนหนักยิ่งขึ้นไปกว่าเพื่อให้สาแก่ใจ ฝ่ายตรงกันข้ามที่ไม่ระงับยับยั้งชั่งใจ ก็กลับจะโต้ตอบกลับหนักยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อต่างฝ่ายต่างเจ็บแค้นซึ่งกันและกันหนักยิ่งขึ้น ก็จะถึงได้ลงไม้ลงมือ หรือถึงใช้อาวุธประหัตถ์ประหารกัน หรือใช้อำนาจอิทธิพลทั้งมืดและทั้งสว่าง ทำลายล้างผลาญกัน ด้วยประการต่างๆ จนหาความสงบสุขไม่ได้ ด้วยกันทุกฝ่าย และต่างฝ่ายต่างได้รับความทุกข์เดือดร้อนกันไปทั่ว เหมือนสาดน้ำใส่กันย่อมเปียกปอนไปด้วยกัน เหมือนพุ่งอาวุธหรือสาดน้ำกรดใส่กัน ก็ย่อมจะบาดเจ็บล้มตายไปด้วยกันทั้งคู่ และแถมยังจะมีลูกหลงไปโดนคนอื่น หรือดึงผู้อื่นให้เข้าไปพัวพันด้วยเวรภัยเช่นนั้นอีกด้วย

    เพราะฉะนั้นผู้หวังความสันติสุขความปราศจากเวรภัยก็จงอย่าถือคติอธรรมที่ว่า “ความแค้นต้องชำระ” เหมือนหนังจีนที่อาตมาก็เคยได้ดูเมื่อสมัยยังเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว ส่วนคติที่ว่า “บุญคุณต้องทดแทน” นั้น เป็นคติของฝ่ายคุณธรรม แต่คติที่ว่า “ความแค้นต้องชำระ” นั้น เป็นคติข้างฝ่ายอธรรม ที่มีแต่จะนำโทษและความทุกข์เดือดร้อนมาให้ เหมือนหนังจีนนั้นแหละ

    นี่ว่าแต่เฉพาะที่เห็นๆ กันอยู่ในภพชาติในปัจจุบันนี้ การก่อเวรและการจองเวรซึ่งกันและกัน ก็ทำให้เดือดร้อนกันหนักอยู่แล้ว แทบจะไม่ต้องกล่าวถึงเวรกรรมที่ให้ผลในภพชาติต่อๆ ไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ปุถุชนยังมองไม่เห็น ส่วนพระอริยเจ้าหรือผู้ทรงคุณธรรมสูง ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมจนมีประสบการณ์ดีแล้วพอสมควร จึงย่อมเห็นผลของการก่อเวรและการจองเวรซึ่งกันและกัน เป็นโทษ และความทุกข์เดือดร้อนต่อๆ ไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน ท่านจึงเลิกละการก่อเวร และ/หรือหากเคยมีเวรต่อกันเพราะความประมาท ท่านก็จะกระทำให้เวรนั้นสงบระงับลงด้วยความไม่จองเวร เพราะท่านเห็นสัจจธรรมว่า

    เวรนั้น ย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวรต่อกัน แต่ย่อมระงับได้ด้วยการไม่จองเวร

    เปรียบดังว่า พื้นที่เปรอะเปื้อนด้วยของไม่สะอาด ด้วยสิ่งสกปรก เน่าเหม็น เช่น เต็มไปด้วยน้ำลาย เสมหะ และอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น ย่อมไม่อาจจะชำระล้างให้สะอาด ให้หมดกลิ่นเหม็นได้ ด้วยน้ำที่ไม่สะอาด ด้วยสิ่งสกปรกเช่นนั้น ฉันใด เวรย่อมไม่อาจให้สงบระงับได้ด้วยการจองเวร หรือทำเวรโต้ตอบกัน ฉันนั้น

    ส่วน พื้นที่ๆ เปรอะเปื้อนด้วยของไม่สะอาด ด้วยสิ่งสกปรก อันมีน้ำลาย เสมหะเป็นต้น ย่อมทำให้สะอาดได้ ด้วยการชำระล้างด้วยน้ำที่สะอาด ฉันใด เวรย่อมสงบระงับ คือ ไม่มีได้ด้วยความไม่มีเวร คือไม่จองเวรต่อกัน กล่าวคือ ด้วยน้ำใจที่เข้มแข็งด้วยขันติ และเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ด้วยความกระทำไว้ในใจ และด้วยการพิจารณาเห็นโทษของเวรภัย และเห็นคุณของความไม่มีเวรภัยต่อกัน

    อนึ่ง พึงเห็นตามพระพุทธดำรัสที่ตรัสสอนพระติสสเถระ ผู้เป็นต้นเรื่องอีกเรื่องหนึ่ง กับพระภิกษุทั้งหลาย มีปรากฏในพระธัมมปทัฏฐกถานี้ ฉบับแปลเป็นภาษาไทย หน้า 53-63 อีกว่า

    “อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
    เย จ ตํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ
    "ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า ‘ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ทุบตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลักของเราแล้ว’ เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่สงบระงับได้"
    “อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
    เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ
    “ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า ‘ผู้โน้นได้ด่า(หรือปรามาส)เรา ผู้โน้นได้ทุบตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลัก (หรือฉ้อโกงเอา) สิ่งของๆ เราแล้ว’ เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับได้”
    วิธีไม่เข้าไปผูกความโกรธหรือผูกใจเจ็บแค้นก็คือ พยายามอย่าระลึกถึงอย่าไปครุ่นคิดถึง เรื่องเก่าที่จะทำให้เราผูกใจเจ็บ และ/หรือ โดยวิธีคิดว่า “เรื่องที่แล้วไปแล้วก็ให้แล้วไป เราขออโหสิกรรมให้ ไม่ขอถือเป็นเวรเป็นภัยต่อกันอีก” หรืออาจรำลึกถึงกรรมเก่าว่า เราก็เคยหรืออาจเคยได้ทำเวรกรรมแก่เขามาก่อน ต่อแต่นี้ไปขออย่าได้มีเวรภัยต่อกันอีกเลย และจงตั้งใจแผ่เมตตา กรุณาพรหมวิหารแก่ผู้ก่อกรรมทำเข็ญแก่เราว่า “แม้ท่านได้เคยทำเวรกับเรา ก็ขอท่านจงอย่าได้ประสบความทุกข์กายทุกข์ใจ อย่างที่เราเคยได้รับเลย ขอท่านจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรมีภัยต่อกันและกันเลย” เมื่อกระทำได้อย่างนี้บ่อยๆ เข้า จิตใจที่เคยครุ่นคิดถึงกรรมเก่าที่เขาได้เคยก่อกรรมทำเข็ญแก่เราก็จะค่อยๆ คลายลง และจะไม่คิดโต้ตอบใดๆ ให้เป็นการผูกเวรต่อกันต่อๆ ไปอีก เวรก็จะถึงความสงบระงับ คือ ไม่มีเวรต่อกันได้ ด้วยประการฉะนี้

    แม้จะรู้สึกทำได้ยากในระยะต้นๆ แต่เมื่อหมั่นทำใจ คือ พยายามไม่ระลึกถึง หรือหากปรากฏขึ้นในใจอีก ก็หมั่นพิจารณาอย่างนี้ แผ่เมตตาและกรุณาพรหมวิหารอย่างนี้บ่อยๆ ก็จะค่อยๆ สามารถละวางความคิดโกรธพยาบาทได้ และจะค่อยๆ ทำใจให้ดีขึ้นได้เป็นลำดับเอง

    ในชีวิตของอาตมาก็ได้เคยผ่านเหตุการณ์และได้เคยผ่านขั้นตอนการทำใจอย่างนี้มาก่อน หลายครั้งเหมือนกัน เมื่อทำใจได้เพียงใด ก็จะรู้สึกสันติ คือ สงบ และเป็นสุขดีเพียงนั้น เมื่อทำใจไม่ได้ก็เป็นทุกข์เดือดร้อนใจไปตามส่วน ชีวิตของคนเรานั้น แม้จะเจริญด้วยลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ และความสุข ด้วยทรัพย์และยศฐาบรรดาศักดิ์ เพียงไร ถ้าขาดสันติคือความสงบเสียแล้ว ก็หาใช่จะถึงความสุขอย่างถาวรแท้จริงได้ไม่ ผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ถ้าว่ามีความสันติคือความสงบดีแล้ว ย่อมถึงความสุขอย่างถาวรแท้จริงได้

    ผู้ที่ทำใจได้อย่างนั้น คือผู้ละความครุ่นคิดผูกโกรธหรือผูกใจเจ็บได้ ด้วยขันติและเมตตาพรมหวิหาร เป็นต้น ย่อมมีใจสงบระงับด้วยดีจากเวรทั้งหลายได้ ผู้เช่นนั้นแหละ คือผู้มีใจเป็นพระ หรือ คือผู้มีพระในใจตน ถ้าเป็นชายเขาก็เรียกว่า “พ่อพระ” ถ้าเป็นหญิงเขาก็เรียกว่า “แม่พระ” ซึ่งในครั้งต่อไปอาตมภาพจะได้กล่าวถึงการ “สร้างพระในใจตน” อันจะเป็นประโยชน์สุขด้วยความสงบอย่างถาวรแก่ตนสืบไป

    ก่อนจบรายการนี้ อาตมภาพใคร่จะขอกล่าวถึงการเวียนว่ายตายเกิด ด้วยอำนาจของกรรมและกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ว่ามีแน่นอน ตามหลักปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ สภาพของธรรมชาติที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นแจ้งทรงรู้แจ้ง คือ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบว่า ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย เหตุในเหตุปัจจัยต่อเนื่องกันมาจากต้นๆ เหตุ ได้แก่ อวิชชา คือ ความมืดไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคต ไม่รู้สภาพของธรรมชาติที่อาศัยเหตุปัจจัยต่อเนื่องกันมาให้เกิดทุกข์ และความไม่รู้สัจจะทั้ง 4 เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน และภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ เป็นต้น

    กล่าวโดยย่อ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ คือ ได้ทรงเห็นแจ้ง ทรงรู้แจ้ง อย่างถูกต้องตามธรรมชาติที่เป็นจริงแล้วว่า เพราะสัตว์โลกทั้งหลายผู้ถูกอวิชชา คือ ความมืดครอบคลุมจิตใจอยู่ จึงเกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน ดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติที่เป็นบาปอกุศล ไปตามอำนาจของมัน ที่เรียกว่ากรรมชั่ว อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดใหม่ คือ ตายแล้วก็เกิดใหม่ๆ ต่อๆ ไป ด้วยอำนาจของอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน และกรรม เวียนว่ายตายเกิดไปสู่ภพน้อย ภพใหญ่ทั้งหลาย ที่เป็นสุคติภพ คือ ภพภูมิที่ดีบ้าง ทุคติภพ คือ ภพภูมิที่ไม่ดีบ้าง ตามประเภทของกรรม ต่อๆ ไป อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

    กรณีที่สัตว์โลกได้กระทำกรรมดี แต่ยังไม่ถึงขั้นให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง เพราะยังมีอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน อยู่ในจิตสันดาน เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดภพชาติอีกแล้ว เมื่อตายแล้ว ก็ยังต้องเกิดใหม่ไปสู่สุคติภพ คือ ภพภูมิที่ดีบ้าง ครั้นหมดบุญจากกรรมดีที่เคยได้ทำไว้ ก็กลับต้องรับผลจากกรรมชั่วที่ได้ทำไว้อีกต่อๆ ไป จนกว่าจะสิ้นอวิชชา คือ ความมืดอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน อย่างสิ้นเชิงแล้ว กล่าวคือ จนกว่าจะบรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอรหันตขีณาสพ จึงจะสิ้นภพสิ้นชาติแล้ว จึงไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

    ส่วนสัตว์โลกเช่นบุคคลใด กระทำกรรมชั่วด้วยอำนาจของอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทานมาก เมื่อตายลงจึงต้องเกิดใหม่ ด้วยอำนาจของกรรมชั่วหรือบาปอกุศล อันมีอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำเหตุหนุนให้ไปเกิดในทุคติภพ ได้แก่ ภพภูมิของเปรต อสุรกาย สัตว์นรก หรือสัตว์เดรัจฉาน ตามประเภทของกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นชนกกรรมนำไปเกิดในภพภูมิต่างๆ นั้น อย่างที่ไม่มีใครช่วยใครได้ และก็ไม่มีอำนาจเบื้องบนใดๆ ที่จะช่วยใครได้จริงเลยอีกด้วย แต่ที่ชนบางหมู่บางเหล่าหลงเชื่อกันว่า จะมีอำนาจเบื้องบนช่วยให้ไปสู่สวรรค์ได้นั้น ก็เพราะเขาเหล่านั้นไม่รู้จักหลักปฏิจจสมุปบาทธรรม อันเป็นสมุทัยสัจ คือ ความจริงอย่างประเสริฐ ในเรื่องเหตุแห่งทุกข์ นั้นแหละ เขาถึงได้หลงเชื่อต่อๆ กันมา ว่าจะมีอำนาจเบื้องบนช่วยเขาได้ โดยที่เขาต่างก็เป็นผู้มืดด้วยอวิชชา คือ ยังไม่เคยเห็นอดีตว่าตนเองเป็นใครมาจากไหน และก็ไม่รู้อนาคตอย่างแท้จริงว่า ตายแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป และไม่รู้ความจริงอย่างประเสริฐในเรื่องเหตุปัจจัยแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอันเป็นทุกข์ ว่ามีอย่างไร นั่นเอง

    เรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี ก็เพราะอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน และกรรมชั่วหรือบาปอกุศลนั้นเอง ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทั้งภรรยาเดิมและภรรยาใหม่ของบุตรกุฎุมพี ต้องเวียนว่ายตายเกิดไปสู่ทุคติภพ อันมีภพของสัตว์ดิรัจฉาน และอสุรกาย เป็นนางยักษิณี เป็นต้น ดังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ปรารภถึงแล้วนั้น

    สัจจธรรมนี้เป็นธรรมขั้นสูงซึ่งจะรู้เห็นได้ก็แต่โดยทางการศึกษาปฏิบัติพระสัทธรรม ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น คือ โดยทางศีลสิกขา ให้ถึง อธิศีลสิกขา คือการศึกษาอบรมด้วยศีลอันยิ่ง จิตตสิกขา ให้ถึง อธิจิตตสิกขา คือการศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง ถึงขั้นฌานจิต ให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และ ปัญญาสิกขา ให้ถึง อธิปัญญาสิกขา คือ ปัญญาอันยิ่ง กล่าวคือ ให้สามารถเห็นแจ้ง รู้แจ้ง สภาวะของธรรมชาติและสัจจธรรมตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเห็นและรู้เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเช่นนี้ได้ชัดเจน แจ่มแจ้ง ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้เอง จะได้ไม่หลงมัวเมาในชีวิตด้วยอำนาจของกิเลสให้เกิดทุกข์ และไม่ต้องหลงเชื่อผู้ไม่รู้สัจจธรรมที่เขาโฆษณา แนะนำสั่งสอนผิดๆ ให้พากันหลงตามผิดๆ นำตนไปสู่ทุคติภูมิได้อีกต่อไป

    อาตมภาพจึงขอเชิญสาธุชนทั่วไป ไปฝึกปฏิบัติธรรมเพื่อ “สร้างพระในใจตน” ให้สามารถรู้แจ้งเห็นแจ้งสภาวะธรรมชาติ และสัจจธรรมตามที่เป็นจริง นำชีวิตตนไปสู่ทางเจริญและสันติสุขได้ ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ทุกวัน หลังทำวัตร เช้า-เย็น และ ทุกวันอาทิตย์ เริ่มเวลา 09.30 น.

    ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้ฟังทุกท่าน เจริญพร.

    พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ป.ธ.6 เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันที่ 19 กรกฎาคม 2541
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    เมื่อฝึกสมาธิ ถึงจุดที่รู้สึกเบาสบาย จะเกิดความรู้สึกว่าหายใจไม่ออก
    ในขณะนั่งสมาธิ เมื่อจิตเข้าถึงจุดที่ทำให้ตัวเรารู้สึกเบาสบาย จะเกิดความรู้สึกว่าหายใจไม่ออก รู้สึกว่าลมหายใจเบามาก ไม่ทราบว่า ปฏิบัติถูกวิธีหรือไม่ ? และมีวิธีแก้ไขอย่างไร ?

    ตอบ:

    ขณะที่จิตกำลังจะสงบได้ที่นั้น ลมหายใจจะค่อยๆ ละเอียด ค่อยๆ แผ่วไป จนเหมือนกับว่าไม่ได้หายใจ แต่ความจริงยังมี "ปราณ" คือลมละเอียดหล่อเลี้ยงอยู่ภายในร่างกายอยู่เป็นอย่างดี (อย่างโยคี ฤๅษี ที่อินเดีย เข้าฌานสมาธิ โดยไม่หายใจเลย บางคนก็เอาศีรษะฝังอยู่ในดิน ก็อยู่ได้หลายๆ ชั่วโมง ไม่ตาย ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน)

    เมื่อถึงจุดนี้ บางท่านก็ "ถอนจิตออก" มาจากศูนย์กลางกาย มาเกาะที่ร่างกายภายนอก แล้วรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองไม่ได้หายใจ จึงถอนจากสมาธิเพราะกลัวตายก็มี พยายามหายใจให้แรงขึ้น ทำให้จิตเคลื่อนจากสมาธิก็มี

    เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นโยมปฏิบัติมาถูกทางแล้ว จิตเริ่มสงบแล้ว แต่พยายามให้ใจหยุดนิ่งที่จุดเล็กใสกลางดวงใสที่ศูนย์กลางกายตลอด และปล่อยวางสิ่งต่างๆ รวมทั้งสังขารร่างกาย (ที่ยึดกันว่าเป็น) ของเราเสียทั้งหมด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของหยาบ การจะเข้าถึงธรรมชาติละเอียดภายในนั้น ต้องละวางของหยาบภายนอกได้ (อย่างน้อยที่สุดก็คือในขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้น)

    ดังเช่น เมื่อเห็นดวงใสแจ่มปรากฏขึ้นแล้ว ใจก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงนั้น ไม่ช้าศูนย์กลางดวงนั้นจะขยายออก ดวงใหม่ต่อๆ ไปจะปรากฏขึ้นอีก

    แล้วจะเห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นมา ก็ต้องปล่อยวางหรือ "ละ" ความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายมนุษย์ละเอียดที่เห็นนั้น (เรียกว่า ดับหยาบไปหาละเอียด) ใจหยุดนิ่งศูนย์กลางกายนั้น จะเห็นดวงในดวงผุดขึ้นมา

    แล้วจะเห็นกายละเอียดๆ กว่าเดิม ปรากฏขึ้นมาอีก เราก็ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปอีก จนถึงธรรมกาย
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    นั่งสมาธินานๆ จะหมดลมหายใจไปเฉยๆ จริงหรือไม่ ?
    เคยได้ยินเขาพูดว่า นั่งสมาธินานๆ จะหมดลมหายใจไปเฉยๆ จะจริงหรือเปล่า ?

    ตอบ:

    ไม่จริงนะ แต่ว่ามีอาการเหมือนไม่ได้หายใจ เพราะนี้เป็นธรรมชาติ ใจยิ่งหยุดนิ่งเข้าไปแล้ว กายสังขารระงับ คือองค์บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆๆ จะค่อยๆ เลือนไปๆ นิ่งๆ จนไม่สนใจ มันค่อยหายไป นี้กายสังขารระงับ ก็คือลมหายใจละเอียดๆ เข้าไปๆ สั้นเข้าๆ ละเอียดๆ แล้วหยุดนิ่ง ใจหยุดนี้ไม่ใช่ไม่หายใจเลยนะ มีอ่อนๆ แต่ละเอียด ลมละเอียดนั้นเขาเรียกว่า “ปราณ” ปราณนั่นแหละธาตุลม ที่เขาทำหน้าที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะตาย ไม่ต้องกลัวนะ เด็กทารกอยู่ในท้องหายใจหรือเปล่า ? หายใจไหม ? ไม่ได้หายใจหรอก เด็กทารกในครรภ์ไม่ตาย คนดำน้ำหายใจหรือเปล่า ? โดยทั่วไปคนดำน้ำก็ไม่ได้หายใจ กลั้นใจไว้นานๆ ไม่ได้หายใจไม่ตาย คนอยู่ฌานสมาบัติลึกๆ ใจยิ่งละเอียด “ปราณ” คือ ธาตุลมที่ทำหน้าที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะนี้สบายไปเลยนะ เพราะฉะนั้นอาการที่ใจจะเป็นสมาธิ คือ

    1. กายสังขารระงับ คือ ลมหายใจจะสั้นเข้าๆ แล้วละเอียด เหมือนกับไม่ได้หายใจ แต่ที่แท้มีลมหายใจอยู่ และปราณก็ทำหน้าที่อยู่แล้ว
    2. วจีสังขารระงับ คือ องค์บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆๆ หรือพุทโธก็ได้นะ จะค่อยเลือนหายไป ในขณะที่ใจสงบระงับนั้น
    3. มโนสังขารระงับ คือ ใจค่อยๆ หยุดนิ่ง เป็นธรรมดาแต่ไม่ตาย ไม่ต้องกลัว ไม่ตายหรอก สัมมาสมาธิน่ะ สติสัมปชัญญะต้องอยู่ตลอด ไม่ใช่สมาธิตัวแข็งทื่อ ไม่รู้เรื่องอะไร สมาธิอย่างตัวแข็งทื่อนั้นไม่เอานะ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=da52618a28f46ec44cbbb65c85fc5313.jpg

    ข้อความบางส่วนจากการตอบปัญหาธรรมเรื่อง
    "ครูอาจารย์ห้ามศิษย์ของตนมิให้อ่านหนังสือของสำนักอื่น มีผลดีผลเสียอย่างไร"

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ติดตามอ่านได้ตามลิ้งก์
    http://www.dhammakaya.org/ตอบปัญหาธรรม/ครูอาจารย์ห้ามศิษย์ของตนมิให้อ่านหนังสือของสำนักอื่น-มีผลดีผลเสียอย่างไร

    ********************************************************************



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    กรณียเมตตสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg


    25 พฤษภาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    กรณียมตฺถกุสเลน ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจ
    สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ สุวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี
    สนฺตุสฺสโก จ สุภโร จ อปฺปกิจฺโจ จ สลฺลหุกวุตฺติ
    สนฺตินฺทฺริโย จ นิปโก จ อปฺปคพฺโภ กุเลสุ อนนุคิทฺโธ
    น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุ ํ
    สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตาติ.


    หญิงก็ดี ชายก็ดี ภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน มีอย่างไรก็ใช้อย่างนั้น เลี้ยงง่ายไม่เดือดร้อนต่อผู้เลี้ยง เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรละก้อ บริโภคอย่างนั้น ถ้าจืดนักสิ่งใดมันมีเค็มก็ผสมกันเข้า ไม่ต้องยุ่ง เรียกโน่นเรียกนี่ต่อไป สิ่งใดมันเค็มมากก็ไปหาสิ่งที่จืดๆ มาผสมเข้า มันก็กลายเป็นของพอดี ไปเอง นี่เลี้ยงตัวอย่างนี้ เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรก็ไม่ให้ผู้เลี้ยงเดือดร้อน ให้ผู้เลี้ยงดีอกดีใจ ให้ ผู้เลี้ยงยินดีชื่นอกชื่นใจ เรียกว่าภิกษุสามเณรเป็นผู้เลี้ยงง่าย



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงกรณียเมตตสูตร พระสูตรนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงในเรื่องจิตแผ่เมตตาไปในสัตว์ เรียกว่า “สูตรประกอบด้วยเมตตา” การประกอบ ด้วยเมตตา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้สัตว์ในโลก บริษัททั้ง 4 ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้ประพฤติตัวของตัวเองให้บริสุทธิ์ ให้ถือเอาตำรับตำราพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลประพฤติดีได้อย่างไร สูงได้อย่างไร ต่ำได้อย่างไร ท่านผู้เป็นปุถุชนพึงถือเอา เป็นเนติแบบแผนได้ ประพฤติอย่างพระอริยบุคคลชนิดนั้นแหละ ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ ไม่ให้ขาดตกบกพร่องนั่นแหละ ได้ชื่อว่าประกอบด้วยเมตตาอยู่แล้วอยู่ในตัว ต้องประพฤติ ตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีของประชุมชนในยุคนี้ และต่อไปในภาคหน้า ได้ชื่อว่าเป็นตำราอยู่แล้ว หากว่าเป็นชายประพฤติอย่างนี้ก็เป็นตำราของผู้ชาย เป็นหญิงก็ได้ชื่อว่าเป็นตำราของผู้หญิง เป็นภิกษุแก่ ปานกลาง อ่อน ได้ชื่อว่าเป็นตำราของภิกษุ เป็นสามเณรก็ได้ชื่อว่าเป็นตำรับ ตำราของสามเณร จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลีใน “กรณียเมตตสูตร” ในวันนี้

    เริ่มต้นว่า กรณียมตฺถกุสเลน ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจ แปลบาลีในกรณียเมตตสูตรว่า ยนฺตํ กิจฺจํ อันว่ากิจอันใด อริเยน อันพระอริยเจ้า อภิสเมจฺจ บรรลุแล้ว ปทํ ซึ่งบท สนฺตํ อันระงับแล้ว กตํ กระทำแล้ว ตํ กิจฺจํ กิจอันนั้น กุลปุตฺเตน อันกุลบุตร กรณียมตฺถกุสเลน ผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ ดังนี้ แปลเนื้อความตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาว่ากิจอันใดอันพระอริยบุคคลผู้บรรลุบทอันระงับกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาด ในประโยชน์ ควรกระทำ หรือพึงกระทำ กิจนั้นเป็นไฉน สกฺโก จ เป็นผู้อาจหาญด้วย นี่เป็น กิจอันหนึ่ง อุชู จ เป็นผู้ซื่อด้วย สุหุชู จ เป็นผู้ตรงด้วย สุวโจ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย มุทุ เป็นผู้อ่อนละไม อนติมานี ไม่มีอติมานะ สนฺตุสฺสโก เป็นผู้สันโดษ สุภโร เป็นผู้เลี้ยงง่าย อปฺปกิจฺโจ จ มีธุระน้อย ธุระไม่มาก สลฺลหุกวุตฺติ เป็นผู้ประพฤติเบากายเบาใจ สนฺตินฺทฺริโย จ เป็นผู้ประพฤติสงบแล้ว นิปฺปโก เป็นผู้มีปัญญา อปฺปคพฺโภ เป็นผู้ไม่คะนอง กุเลสุ อนนุคิทฺโธ เป็นผู้ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ วิญญูชนทั้งหลายพึงติเตียนบุคคลอื่นได้ด้วยกรรมอันใด เราไม่กระทำกรรมอันนั้น เลย วิญญูชนทั้งหลายพึงติเตียนบุคคลอื่นได้ด้วยกรรมอันใด เราไม่ประพฤติกรรมอันนั้นเลย พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์นั้นว่าขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุข จงเป็นผู้มีความเกษม จงเป็น ผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด นี่เป็นเนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความในกรณียเมตตสูตรนี้ต่อไป ที่เราได้เคยฟังพระ ท่านสวดมนต์หลายครั้งหลายคราแล้ว สวดอยู่เสมอในกรณียเมตตสูตรนี้ พึงฟังความให้เข้าใจ เป็นธรรมอันละเอียดสุขุมลุ่มลึก เป็นธรรมของพระอริยเจ้า ถ้าบุคคลผู้ใดประพฤติตามแนว นี้เข้า บุคคลผู้นั้นถึงเป็นปุถุชนก็ได้ชื่อว่าปุถุชนสาวกของพระศาสดา สาวกของพระศาสดา มี 2 จำพวก อริยสาวกเป็นพระโสดาแล้ว ปุถุชนสาวกเริ่มจะเป็นโสดาต่อไป ยังไม่เป็น โสดา เริ่มจะเป็นพระโสดาต่อไป นี้ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชนสาวกของพระพุทธเจ้า ที่เป็นโสดาแล้ว สกทาคา อนาคา อรหัต จัดได้ชื่อว่าเป็นอริยสาวกทั้งนั้น ลดส่วนกว่านั้นลงมา ที่มีธรรมกาย เป็นโคตรภู หรือไม่มีธรรมกาย แต่บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ทันพระอริยบุคคลเหล่านั้น นี้ ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชนสาวก เหตุนี้ในกรณียเมตตสูตรนี้ มีเนื้อความอันสุขุมลุ่มลึก จงตั้งใจ สดับตรับฟังให้เข้าเนื้อเข้าใจ

    ในเบื้องต้น แปลมคธภาษาว่า กิจนั้นใดอันพระอริยบุคคลผู้บรรลุบทอันสงบ กระทำ แล้ว อตฺถกุสเลน กิจนั้นอันบุคคลผู้ฉลาดในประโยชน์ กรณียํ พึงกระทำ นี่เข้าใจยากจริง ไม่ใช่เป็นของง่าย แปลอีกทีหนึ่งว่า กิจนั้นใดอันพระอริยบุคคล ผู้บรรลุบทอันสงบ กระทำ แล้ว กิจนั้นอันบุคคลผู้ฉลาดในประโยชน์ควรกระทำ

    ผู้ฉลาดในประโยชน์นั่นเป็นเช่นไร สกฺโก เป็นผู้อาจหาญ อาจหาญทุกประการใน ธรรมวินัยของพระศาสดา ไม่ขาดตกบกพร่อง อาจหาญในทางบริสุทธิ์กาย อาจหาญในทาง บริสุทธิ์วาจา อาจหาญในทางบริสุทธิ์ใจ ไม่มีขาดตกบกพร่องใดๆ ทำสิ่งใดด้วยกาย ต้องเอา ปัญญาเข้าสอดส่องมองเสียก่อนแล้วจึงทำ เห็นว่าไม่มีทุกข์ ไม่เดือดร้อนตน ไม่เดือดร้อน บุคคลผู้อื่น จึงทำ ถ้าเห็นว่าเดือดร้อนตน เดือดร้อนผู้อื่น ไม่ทำ อาจหาญอย่างนี้ อาจหาญ ในการดีอย่างนี้ ที่จะกล่าววาจาอันใดออกไป อาจหาญอีกเหมือนกัน เอาปัญญาเข้าสอดส่อง ดูเสียก่อน ถ้าเดือดร้อนเราก็ไม่กล่าว เดือดร้อนเขาก็ไม่กล่าว เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขาก็ไม่ กล่าว ถ้าไม่เดือดร้อนเราจึงกล่าว ถ้าไม่เดือดร้อนเขาจึงกล่าว ถ้าไม่เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขา จึงกล่าว นี้ก็อาจหาญในวาจา อาจหาญในทางใจ ใจจะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใด เดือดร้อนเราก็ไม่คิด เดือดร้อนเขาก็ไม่คิด เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขาก็ไม่คิด ถ้าไม่เดือดร้อน เราจึงคิด ถ้าไม่ เดือดร้อนเขา จึงคิด ถ้าไม่เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขา จึงคิด นี้อาจหาญอย่างนี้ นี่ “สกฺโก” เป็นผู้ อาจหาญ ไม่ใช่อาจหาญเรื่องอื่น ไม่ใช่อาจหาญเรื่องเหลวไหล โจรปล้น ประเทศต่อประเทศ ปะทะกัน หรือมหาโจรปล้นกัน ไม่ใช่ เป็นอาจหาญของคนพาล อาจหาญของบัณฑิตเป็น อย่างนี้ เป็นผู้อาจหาญในความดี ไม่มีความชั่วเข้าเจือปนระคนทีเดียว อาจหาญไปในส่วนดี ฝ่ายเดียว นี่ “สกฺโก” ข้อที่หนึ่ง

    อุชู จ เป็นผู้ซื่อ ลักษณะซื่อของคนน่ะซื่ออย่างไร ซื่อกาย ซื่อวาจา ซื่อใจ ซื่อทั้ง ข้างนอกข้างใน ตรงกันหมดไม่ลักลั่นกัน ซื่อจริงๆ ไม่มีคด ไม่มีเคี้ยว ไม่มีรุ้งแวงแต่อย่างหนึ่ง อย่างใด ซื่อทั้งข้างนอกข้างใน ตรงกันหมดไม่ลักลั่นกัน ไม่เถียงกัน อย่างนี้เรียกว่า “ซื่อ” อุชู แปลว่าเป็นผู้ซื่อ

    สุหุชู เป็นผู้ตรงดี ซื่อแล้วก็ตรงดี ในข้อหลังว่า ตรงดี คนที่ตรงดีน่ะเป็นอย่างไร ลักษณะตรงดีของพระอริยเจ้า ไม่มีรุ้งแวง ตรงดิ่งทีเดียว ท่านวางหลักไว้ในสังฆคุณนั่น อุชู น่ะเป็นผู้ซื่อ สุหุชู เป็นผู้ตรง อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง นั่นแน่ะแนวนั้น เดินแนวนั้น ทั้งกาย ทั้งวาจา เดินแนวนั้น เป็นผู้ปฏิบัติตรง ตรงอย่างไร ซื่ออย่างไร ซื่อไม่มีคดเคี้ยว ถูกต้องร่องรอยทางมรรคผลทีเดียว ซื่อต่อคำของพระบรมศาสดา ไม่คดต่อธรรมของ พระบรมศาสดา นี่เป็นผู้ซื่อ ตรงตามทางมรรคผล ไม่หลีกเลี่ยงต่อทางมรรคผล ทางมรรคผล เป็นไปอย่างไร เดินทางมรรคผลให้เป็นไปอย่างนั้น ไม่คลาดเคลื่อนจากทางมรรคผล ไม่สาละวน ในกิจอื่น ตั้งใจแช่มชื่น ประคับประคองใจของตนอยู่เสมอ ให้ตรงทางมรรคผลอยู่ร่ำไปดังนี้ เป็นผู้ตรงดี อย่างนี้ว่าตรงดีทีเดียว นี่เป็นข้อที่ 3 ตรงดี

    สุวโจ ว่าง่ายสอนง่าย ว่าง่ายสอนง่ายเหมือนเด็กที่ดี หรือเหมือนคนที่เฉลียวฉลาดดี เป็นคนที่หัวอ่อน ว่าง่ายสอนง่ายอย่างไร ไม่ดื้อต่อทางมรรคผล ไม่ดื้อต่อธรรมของ พระบรมศาสดา ตรงร่องรอยธรรมของพระบรมศาสดา ถ้าให้ปฏิบัติธรรม เป็นถูกต้อง ร่องรอยละ ถ้าผิดธรรมเป็นไม่ยอมกันละ เด็ดขาด ถ้าว่าถูกธรรมละ ไม่ว่าข้อไหนเงื่อนไหน เล็กน้อยไม่เข้าใจ จะเป็นผลน้อยผลใหญ่ไม่เข้าใจ ว่าง่ายสอนง่ายนัก ถูกธรรมตรงธรรม เข้าแล้วละก็ ถ้าว่าผิดธรรมละก้อ ไม่ไปเด็ดขาดทีเดียว นี่พระศาสดาทรงรับสั่งว่า สุวโจ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายอยู่ในลักษณะ อยู่ในธรรมในพระวินัย เรื่องว่าง่ายสอนง่ายน่ะ หายากนัก ไม่ใช่เป็นของหาง่าย คนดี คนเป็นนักปราชญ์ คนเป็นบัณฑิต ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ว่าง่ายสอนง่าย อยู่กับใครเบาใจ ไม่หนักใจ อยู่กับพ่อแม่ก็ไม่หนักใจ สบายอก สบายใจ เย็นอกเย็นใจ คนว่าง่ายสอนง่าย ภิกษุสามเณรอยู่กับครูบาอาจารย์ก็เย็นอกเย็นใจ สบายอกสบายใจ ว่าง่ายสอนง่าย ถ้าว่าภิกษุสามเณรว่ายากสอนยากละ เอาละ เดือดร้อน ละ ลูกหญิงลูกชายก็เหมือนกัน ว่ายากสอนยากละ พ่อแม่เดือดร้อนละ ถ้าว่าลูกหญิงว่าง่าย สอนง่าย อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ทุกสิ่งทุกประการ ไม่คัดค้านแต่อย่างหนึ่งอย่างใด นี่เรียกว่า สุวโจ ว่าง่ายสอนง่าย พระศาสดาสรรเสริญนัก นี่เป็นกิ่งหนึ่งของทางพุทธศาสนา ว่าง่ายสอน ง่าย เป็นคนทำธรรมวินัยให้เจริญ เป็นคนเจริญในธรรมวินัยของพระบรมศาสดา สุวโจ ว่า ง่ายสอนง่าย

    มุทุ เป็นผู้อ่อนละมุนละไม ไม่ใช่อ่อนโยเย อ่อนโยเยไปเสียก็ใช้ไม่ได้ อ่อนละมุน ละไม อ่อนใช้ได้ดีตามความปรารถนาของผู้ฝึกหัด จะดัดแปลงแก้ไขอย่างหนึ่งอย่างใดก็อ่อน ละมุนละไมทุกสิ่งทุกประการ เหมือนอย่างคนแก่ หุงข้าวอ่อนละมุนละไมละก้อ คนแก่ยิ้ม เชียว ถ้าหุงข้าวแข็งกระด้างละ คนแก่หน้าเบ้เชียว ไม่สบายใจ ครูดใจสดุดใจนัก ถ้าว่าละมุน ละไมละก้อ คนแก่ชอบใจ นี้อาการที่อ่อนละมุนละไม เป็นภิกษุหรือสามเณร อยู่กับครูบา อาจารย์ ครูบาอาจารย์ก็เย็นอกเย็นใจ เหมือนคนแก่ได้พบข้าวอ่อนละมุนละไมเข้า ใจเย็น ใจสบาย แม้ลูกหญิงลูกชายจะอยู่กับมารดาบิดา ถ้าอ่อนละมุนละไม มารดาเย็นอกเย็นใจ ไม่ เดือดร้อนด้วยประการต่างๆ นานา นี้ มุทุ เป็นผู้อ่อนละมุนละไม

    อนติมานี เป็นข้อที่ 6 อนติมานี ไม่มีอติมานะ เย่อหยิ่งจองหองไม่มี ไม่มีเย่อหยิ่ง จองหองจริงๆ ทีเดียว ลูกหญิงลูกชายบางคนเย่อหยิ่งจองหองต่อพ่อแม่ กระทบกระทั่งเข้า เล็กน้อยละก้อ ใช้จมูกฟิด หมิ่นพ่อแม่เสียแล้ว เอาแล้ว นี่ร้ายกาจถึงขนาดนี้ นี่มันหยิ่งจองหอง อย่างนี้ ภิกษุสามเณรก็ดุจเดียวกัน ถ้าว่ากระทบกระทั่งเข้าเล็กๆ น้อยๆ ละก้อ เอาละไปละ สึกขาลาเพศไปเสียบ้าง ไปเสียที่ไหนๆ บ้าง นี่เอาเข้าแล้ว ถูกเข้าเล็กๆ น้อยๆ ละก้อ หัวดื้อ กระด้าง ครูบาอาจารย์เกลียดนัก พ่อแม่ก็เกลียดนัก ถ้าเป็นผู้ที่ไม่หยิ่งจองหอง เมื่อไม่หยิ่ง จองหองอย่างนี้แล้ว เป็นที่สบายใจ อยู่กับพ่อแม่เป็นที่สบายใจ ครูบาอาจารย์ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ไม่หยิ่งจองหองแล้วเป็นที่สบายใจ พระพุทธศาสนา ชอบใจนัก ชอบอาจหาญ ชอบตักเตือน ไม่มีอติมานะ ถ้ามีอติมานะเย่อหยิ่งจองหอง เป็น เช่นนั้นละก้อ เป็นที่ไม่สบายใจ นี่เป็นคนฝ่ายเลว ฝ่ายดีก็ไม่หยิ่งจองหองเท่านั้น ไม่มีอติมานะ ทีเดียว

    สนฺตุสฺสโก เป็นผู้สันโดษ สันโดษน่ะยินดีปัจจัยตามมีตามได้ เหมือนเป็นภิกษุสามเณร เช่นนี้ ยินดีปัจจัยตามมีตามได้ ได้อย่างไรก็ยินดีอย่างนั้น มีอย่างไรก็ยินดีอย่างนี้ ไม่ก้าวก่าย เกะกะ ไม่ทำบุคคลผู้เลี้ยงให้เดือดร้อน มีนี่จะเรียกอันโน้นต่อไป อย่างชนิดนี้ไม่สันโดษยินดี ตามมีตามได้ จึงเรียกว่าเป็นผู้สันโดษ นี่เป็นข้อที่ 7 เป็นผู้สันโดษ ยินดีปัจจัยตามมีตามได้

    สุภโร เป็นผู้เลี้ยงง่าย เลี้ยงง่ายอย่างไร เหมือนอย่างกับม้าเลี้ยงง่าย หรือช้างที่เลี้ยงง่าย เขาเทียบด้วยม้าอาชาไนย เจ้าของจะให้หญ้าสด ก็เคี้ยวหญ้าสด กินตามหน้าที่ เจ้าของจะ ให้หญ้าแห้งก็เคี้ยวกินตามหน้าที่ กินจริงๆ กินจนอิ่ม ให้รำก็กินรำ ให้ข้าวสุกก็กินข้าวสุก ให้ข้าวตากก็กินข้าวตาก กินตามหน้าที่ จะให้ของชนิดไหนที่กินได้ก็กินทั้งนั้น กินโดยเคารพ กินไม่สุรุ่ยสุร่าย กินไม่กระสับกระส่าย กินด้วยตั้งอกตั้งใจ นี่ผู้เลี้ยงง่ายเป็นอย่างนี้ หญิงก็ดี ชายก็ดี ภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน มีอย่างไรก็ใช้อย่างนั้น เลี้ยงง่ายไม่เดือดร้อนต่อผู้เลี้ยง เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรละก้อ บริโภคอย่างนั้น ถ้าจืดนักสิ่งใดมันมีเค็มก็ผสมกันเข้า ไม่ต้องยุ่ง เรียกโน่นเรียกนี่ต่อไป สิ่งใดมันเค็มมากก็ไปหาสิ่งที่จืดๆ มาผสมเข้า มันก็กลายเป็นของพอดี ไปเอง นี่เลี้ยงตัวอย่างนี้ เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรก็ไม่ให้ผู้เลี้ยงเดือดร้อน ให้ผู้เลี้ยงดีอกดีใจ ให้ ผู้เลี้ยงยินดีชื่นอกชื่นใจ เรียกว่าภิกษุสามเณรเป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นที่เบาใจกับครูบาอาจารย์ ลูกหญิงลูกชายเป็นผู้เลี้ยงง่าย เบาอกเบาใจกับพ่อแม่ แม้ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกา พุทธศาสนิกชนเป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นที่เบาใจในทางพุทธศาสนา เพราะพระอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นผู้เลี้ยงง่ายทั้งนั้น ไม่มีเป็นผู้เลี้ยงยากเลย เราเป็นปุถุชนประพฤติตัวให้เลี้ยงง่ายเช่นนั้น จะเป็นอายุพระศาสนา นี่เป็นข้อที่ 8 สุภโร เป็นผู้เลี้ยงง่าย

    อปฺปกิจฺโจ จ เป็นผู้มีธุระน้อย ไม่มีกิจธุระมาก พวกมีธุรกิจมากน่ะ เบื่อ อุปัชฌาย์ อาจารย์ที่ภิกษุสามเณรมีธุระมากน่ะ เบื่อ พ่อแม่ปกครองลูกหญิงลูกชายมีกิจธุระมากน่ะ เบื่อกิจธุระไม่มีจบละ เดี๋ยวกิจธุระนั้น เดี๋ยวกิจธุระนี้ เรื่อยๆ ไป นี่มีกิจธุระมากอย่างนี้ ไม่เป็น ที่พอใจในทางพุทธศาสนา ทางพระพุทธศาสนาให้มีกิจธุระน้อย ถ้ากิจธุระในธรรมวินัยละก้อ เป็นมือขวา มีมาก มีมากอยู่ทีเดียว ถ้าว่านอกจากธรรมวินัยของพระศาสดาไปแล้ว มีบ้าง เล็กน้อยเท่านั้น พอดูไป ไม่หากิจให้ยุ่งแก่อัตภาพร่างกายนัก พวกหากิจให้ยุ่งแก่อัตภาพ ร่างกายเรียกว่ามีกิจมาก ไม่เจริญในธรรมวินัยของพระศาสดา มีกิจธุระน้อย นี่เป็นข้อที่ 9 อปฺปกิจฺโจ จ เป็นผู้มีธุระน้อย

    สลฺลหุกวตฺติ ประพฤติเบากายเบาใจ ประพฤติเบากาย กายก็เบา ประพฤติเบาใจ ใจก็เบา ไม่มีบริขารมาก มีแต่พอสมควร วาจาไม่มีกังวลมาก มีแต่พอสมควร เบากายเบาใจทุกสิ่ง ไม่มี ติดข้ออันหนึ่งอันใด คล่องแคล่วกายใจ คล่องแคล่วไม่ห่วงมีใยอะไร ปลอดโปร่ง ไม่มีกังวล ห่วงใยทีเดียว นี่เป็นผู้เบากายเบาใจอย่างชนิดนี้ นี่เป็นที่ปรารถนาในพระพุทธศาสนานี้นัก นี่เป็นข้อที่ 10 สลฺลหุกวุตฺติ เป็นผู้ประพฤติเบากายเบาใจ

    สนฺตินฺทฺริโย เป็นผู้มีอินทรีย์สงบแล้ว สงบทุกอย่าง จักขุนทรีย์ ตาก็สงบ หูก็สงบ จมูกก็สงบ ลิ้นก็สงบ กายก็สงบ ใจก็สงบ สงบทุกอย่าง สงบได้แล้ว สนฺตินฺทฺริโย แปลว่า มี อินทรีย์สงบแล้ว เป็นผู้สงบกาย สงบวาจา สงบใจ นี่แหละเป็นที่ปรารถนาในพุทธศาสนา ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ประพฤติสงบกาย สงบวาจา สงบใจได้ นั่นแหละเป็นความ เจริญของพระพุทธศาสนา ถ้าสงบไม่ได้ ยังลอกแลกอยู่ ยังเป็นที่ไว้วางใจในพระพุทธศาสนา ไม่ได้ ผู้เทศน์นี่เองบอกพระอุปัชฌาย์ให้ตั้งเจ้าคณะหมวดองค์หนึ่ง ว่าควรจะได้เป็น อุปัชฌาย์แล้ว ท่านอาจารย์องค์นั้น ท่านอุปัชฌาย์ท่านตอบผู้เทศน์นี่แหละ ตายังไวเช่นนั้น คุณจะตั้งมันอย่างไร ตั้งมันก็ทำลายเสียเช่นนั้น ท่านบอกว่าตาไว อ้ายตาไว มันก็ชอบกลอยู่ เหมือนกัน และอยู่มาหน่อยหนึ่งเจ้าคณะหมวดองค์นั้นก็สึกไปเสียเลยจริงๆ อ้อ! จริงเหมือน คำของอุปัชฌาย์ท่าน นั่นแน่ะไม่สงบ สงบตานะ สงบหู สงบจมูก สงบลิ้น สงบกาย สงบใจ เป็นภิกษุจริงๆ เป็นสามเณรจริงๆ เป็นอุบาสกจริงๆ เป็นอุบาสิกาจริงๆ ไม่ลอกแลก ถ้า ลอกแลกเช่นนั้นละก้อ หาเรื่องละ ถ้าหาเรื่องเช่นนั้นละก้อ ไม่งอกงามในธรรมวินัยของ พระศาสดา ต้องประพฤติสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จริงๆ ลงไป สงบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ลงไป อินทรีย์สงบเสียได้แล้ว นี่เป็นที่ปรารถนาในพุทธศาสนาเป็นภิกษุสามเณรก็จะงอกงาม ในธรรมวินัยของพระศาสดา เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็จะงอกงามในธรรมวินัยของพระศาสดา เพราะสงบอินทรีย์เสียได้แล้ว นี่ข้อที่ 11 สินฺตินฺทฺริโย เป็นผู้มีอินทรีย์สงบแล้ว

    ข้อที่ 12 นิปฺปโก เป็นผู้มีปัญญา ลักษณะมีปัญญาในธรรมวินัยของพระศาสดาน่ะ เป็นประโยชน์นัก ว่าลักษณะท่านวางตำราไว้เช่นนี้ เป็นผู้มีปัญญาแล้วทำความเจริญเท่าไร ก็ได้ ทำความเจริญอย่างไร ประพฤติตัวเสียให้เรียบร้อย เป็นไปตามตำรับตำราที่ได้กล่าวมา ดังนี้ เราชวนผู้ประพฤติเรียบร้อยเหมือนตัวนั่นแหละ ให้ได้สักคน หนึ่งเดือนให้ได้สักคน ก็เอา 2 เดือนได้สัก 2 คน 3 เดือนได้สัก 3 คน 4 เดือนได้สัก 4 คน พอครบ 12 เดือนก็ได้ 12 คน นั่นมีพวก 12 คนแล้วนะ เอาอีกปีหนึ่ง ปีที่ 2 อีก 12 ก็ 24 แล้วนะ เอาอีกปีนะ 12 คน นี่ 36 แล้วนะ 4 ปีเท่านั้น 48 มีพวกสงบดีได้ 48 ทีนี้หลายๆ ปีเข้าเป็นอย่างไร ก็สงบอย่างนั้น ถ้าผู้มีปัญญาชวนอย่างนั้น ผู้มีปัญญา แก้ไขเอาหมู่พวกได้เช่นนั้น ถ้าหากว่าเป็นภิกษุก็ได้เป็นคณาจารย์องค์หนึ่ง ถ้าเป็นสามเณร ก็ได้เป็นคณาจารย์องค์หนึ่ง ถ้าเป็นอุบาสกก็ได้เป็นหัวหน้าคนหนึ่ง เป็นอุบาสิกาก็ได้เป็น หัวหน้าอุบาสิกาคนหนึ่ง นี่คนมีปัญญาสำคัญนัก พุทธศาสนาประสงค์คนมีปัญญาอย่างนี้ คนมีปัญญาไม่กระทบกระเทือนบุคคลผู้ใด อยู่ในสถานที่ใด ไม่กระทบกระเทือนผู้ใด ทำแต่ ประโยชน์ให้เขาเท่านั้น บำบัดโทษประกอบประโยชน์ให้เขาเท่านั้น นี่คนมีปัญญานะ สำคัญนัก แต่ว่าปัญญาตื้นหรือปัญญาลึกเท่านั้น นี้แง่สำคัญ เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ของพระศาสดา เป็นภิกษุก็ดี อุบาสกอุบาสิกาก็ดี เมื่อเป็นภิกษุสามเณรต้องเป็นภิกษุ สามเณรจริงๆ คนมีปัญญาเป็นอุบาสกอุบาสิกาจริงๆ เป็นอุบาสกต้องหาเพื่อนอุบาสกมา เป็นอุบาสิกาก็ต้องหาเพื่อนอุบาสิกามา เป็นภิกษุก็หาเพื่อนภิกษุมา เป็นสามเณรก็หาเพื่อน สามเณรมา นี่คนมีปัญญา พระบรมศาสดาทรงรับสั่งธรรมิกอุบาสกว่าเป็นคนมีปัญญา ธรรมิก อุบาสกมีอุบาสก 500 เป็นหมู่พวก พระองค์รับสั่งว่า ปณฺฑิตปุริโส กับธรรมิกอุบาสก แปลเป็นภาษาไทยว่า ท่านผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญาเกษมอย่างนี้ นี่ทว่ามีปัญญาอย่างนี้ ก็จะเอาตัวรอดได้ ไม่ต้องมีเงินมีทองดอก เงินทองน่ะเขาแสวงหากันมา แสวงหาในดินก็มี ไปพลิกแผ่นดินไถไร่ไถนาทำสวนเข้า ก็เขาหาเงินหาทองในแผ่นดิน เขาหาเงินหาทองบน ต้นไม้ก็มี บนต้นไม้ก็ไปทำน้ำตาลเข้าไป เอาลูกไม้มาขาย เอาดอกไม้มาขาย นี่เขาหาเงิน บนต้นไม้ เขาหาเงินในทะเลก็มี เขาหาแปลกๆ กัน วิธีหาเงินหาทองต่างๆ แต่ว่าเงินทองน่ะ อยู่ที่ไหน ที่แน่แท้ลงไปทีเดียวน่ะ พวกหาเงินหาทองเหล่านี้ บางคนก็ถูกเหมาะดี บางคน ไม่ถูก แท้ที่จริงเงินทองน่ะอยู่ที่คนนะ เงินทองอยู่ที่คนนะ พระเจ้าแผ่นดินท่านปกครองหมด ประเทศท่านเรียกเอาเงินที่คนไปใช้ ใช้ไม่หวาดไม่ไหว ท่านเป็นผู้ปกครองประเทศ ท่าน เรียกเงินใช้ไม่หวาดไม่ไหว นั่นคนมีปัญญา คนมีปัญญาอยู่ที่นั่น พุทธศาสนาเห็นลึกซึ้ง พระพุทธเจ้าท่านเห็นว่าศาสนาของท่านจะอยู่ได้ด้วยข้าวปากหม้อ นั่นแหละอยู่ได้แท้ๆ ทีเดียว ศาสนาท่านตั้งไว้ที่นั่นเอง เอาไว้ที่ข้าวปากหม้อ นั่นแหละอยู่ได้ ท่านก็แก้ไขทีเดียว ท่านบิณฑบาตเช้า เอาข้าวปากหม้อ เอาก่อนด้วยหนา ไปแต่เช้าทีเดียว พอตักข้าวปาก หม้อ เอาก่อนทีเดียว เอาเสียทัพพี ทัพพีๆๆ พอฉันแล้วก็กลับ ฉันเสีย ทำกิจพุทธศาสนา จริงๆ แต่ว่าฉันข้าวปากหม้อเรื่อยไป มีอย่างนี้ พุทธศาสนาอยู่ได้อย่างนี้ นี่คนมีปัญญา ลึกซึ้ง ถ้าหากว่าเราจะทำเอง ตั้งแบบตำรับตำราของเราเอง ท้องของตัวไปฝากคนอื่นเหมือน พุทธศาสนาเช่นนี้ เราทำไม่ได้ หลักฐานเราไม่พอ ทำไม่ได้เป็นแน่ ถ้าว่าพระพุทธเจ้าทำได้ วางตำราไว้ได้ เมื่อท่านวางตำราไว้เช่นนี้แล้วให้ถือเป็นตำราทีเดียว เมื่อคนมีปัญญาวาง ตำราไว้อย่างนี้ เรารักษาทีเดียว เข้ารักษาความบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ให้ตาม แนวพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทีเดียว แล้วก็เดินตามแนวพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ หาพวกเข้า มากๆ เมื่อได้พวกมากขึ้นเท่าไร ก็พวกมากเขาดูแลกันเอง เขาอุปการะกันเอง ไม่เดือดร้อน ดอก ฉลาดอย่างนี้ละก็ เป็นภิกษุได้ตลอดชาติ เป็นสามเณรได้ตลอดชาติ เป็นอุบาสก อุบาสิกาได้ตลอดชาติ ไม่เดือดร้อนอันใด นี่ นิปฺปโก เป็นผู้มีปัญญา ปัญญาสำคัญนัก

    อปฺปคพฺโภ ไม่คะนอง ไม่คะนองน่ะเป็นอย่างไร ลักษณะคะนองเป็นอย่างไร ลักษณะ คะนองน่ะ ไม่ว่ามือ ไม่ว่าตา หู ไม่ว่าทั้งนั้น สอดไป สอดตาไป สอดหูไป สอดจมูกไป สอดลิ้นไป สอดกายไป สอดใจไป คอยรับสัมผัสอยู่เสมอไป อย่างนี้ก็เป็นคะนองส่วนหนึ่ง ในอายตนะ อปฺปคพฺโก ไม่คะนองน่ะ ตามปกติกายจะเดินก็เดินตามปกติ ไม่ลอกแลก ไม่ เหลวไหล ไม่หลุกหลิก วาจาจะพูดก็พูดปกติ ไม่ลอกแลก ไม่เหลวไหล ไม่หลุกหลิก พูด โดยตรงโดยซื่อ ใจจะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่โลดโผนเกินไป สิ่งที่ควรเป็นธรรมเป็นวินัยก็คิดไป สิ่งไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัยก็ไม่คิด อปฺปคพฺโภ ผู้ไม่คะนอง กายก็ไม่คะนอง วาจาก็ไม่คะนอง คะนองกายก็กระดิกนิ้วกระดิกมือตามหน้าที่ นั่งอยู่ก็ไม่ปกติ กระดิกนิ้วกระดิกมือ หยิบโน่น หยิบนี่ไป อย่างชนิดนั้นเขาเรียกว่าคะนองกาย คะนองวาจา วาจาก็ร้องเพลง ร้องกานท์ไป เอาเรื่องเหลวๆ ไหลๆ มาพูดไป เอาเรื่องโน่นเรื่องนี่มาพูดไป อย่างนี้พวก คะนองวาจา คะนองกาย คะนองวาจา นี่เรียก ปคพฺโภ คพฺโภ ผู้คะนอง อปฺปคพฺโภ แปลว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่คะนองทีเดียว กาย วาจา สงบเรียบร้อยทีเดียว ไม่คะนองกาย ไม่คะนองวาจา

    กุเลสุ อนนุคิทฺโธ ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย เป็นข้อที่ 14 ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ไม่พัวพัน ไม่แตะต้อง พวกพัวพันในสกุลน่ะจะต้องเกิดทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน ภิกษุ สามเณรพัวพันในสกุลจะต้องเกิดทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน อุบาสกอุบาสิกาพัวพันในสกุล จะต้องทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน แถกกันด้วยตา ว่ากันด้วยปากต่างๆ อิจฉาริษยากัน ต่างๆ เพราะพัวพันในสกุล ในสกุลอุปัฏฐาก ผู้บำรุงตน ผู้พอกเลี้ยงตน ผู้ให้ความสุขแก่ตน ถ้าว่าพัวพันในสกุลแล้วโทษร้ายนัก

    มีภิกษุครั้งพุทธกาลรูปหนึ่งบวชมา 12 ปีแล้ว ไปในบ้านช่างแก้วมา 12 ปีเหมือน กัน ตั้งแต่บวชมาอยู่ในบ้านช่างแก้ว ถึงเวลาเขาก็ไปพอกเลี้ยงในบ้าน ถวายอาหาร บิณฑบาต อิ่มแล้วก็ไปทำอะไรไปเถอะ ถึงเวลาแล้วไปฉันที่บ้านเขา วันหนึ่งพ่อค้าเขาเอา แก้วดวงหนึ่งมีค่ามาก เอามาจ้างช่างแก้วให้เจียระไน ช่างแก้วก็รับเขาด้วยมือที่กำลังหั่นเนื้อ มือเปื้อนเลือด พอรับแก้วไว้ เลือดก็ไปติดดวงแก้วนั่นที่รับไว้นั้น เจ้านกกระเรียนที่เลี้ยงไว้ ตัวหนึ่งเห็นก้อนแก้วอยู่บนเขียงหั่นเนื้อเชือดเนื้อ เข้าใจว่าเป็นก้อนเนื้อชิ้นเนื้อ นกกระเรียน คว้าปุบเข้าท้องไปแล้ว พระเถระกำลังฉันจังหันอยู่นั่น ท่านก็เห็นเหมือนกันว่าก้อนแก้วนั่น นกกระเรียนเอาเข้าท้องไปเสียแล้ว ช่างแก้วมาถึง โอ! พระคุณเจ้า แก้วผมวางไว้บนเขียงนี่ หายไปไหนล่ะนี่ พระเถระท่านก็นิ่งเสีย ถามท่านหนักเข้าหนักเข้า ท่านก็นิ่งอยู่ร่ำไป ท่านกลัว นายช่างแก้วจะไปฆ่านกกระเรียนเข้า ท่านจะเป็นบาปด้วย ท่านก็นิ่งเสีย ไม่มีใครละ พระผู้ เป็นเจ้า ก้อนแก้วของกระผมวางไว้ที่นี่มีค่ามาก ตัวและครอบครัวของกระผมก็ไม่พอค่าแก้วนี่ ที่จะใช้เขา พระคุณเจ้าเห็นอย่างไรบ้างจงกรุณากระผมเถิด อย่าให้กระผมเป็นข้าเขาเลย ว่ากัน หนักเข้าหนักเข้าท่านก็นิ่งเสีย นิ่งหนักเข้าหนักเข้า ไม่มีใครละ พระผู้เป็นเจ้านี่แหละเอาไป เอาแล้วเอาเชือกมารัดหัวเข้าแล้ว ขันหัวพระเถระเข้าแล้ว ขันเสียตึงเชียว ขันหัวแล้วเอาไม้ ตีกบาลด้วย ตีเสียจนกระทั่งเลือดไหลออกทางตา นกกระเรียนเห็นเลือดเข้า มันก็จะมากิน อ้ายเลือดนั่น ตีพระเถระเสียป่นปี้แต่ว่ายังไม่ตายเท่านั้นแหละ พออ้ายนกกระเรียนเข้ามา แกกำลังบ้าระห่ำของแก กำลังจะตีพระเถระนั่น แกก็เอาเท้าตะหวัดนกกระเรียนเข้าให้ที่ คอพับทีเดียว นกกระเรียนลงไปดิ้นผับๆๆ พระเถระก็ถามพ่อช่างแก้ว ว่านกกระเรียนนั่น ตายแล้วหรือยัง ตายไม่ตายก็พระผู้เป็นเจ้าอย่าพูดไปเลย พระผู้เป็นเจ้าไม่ให้แก้วแก่กระผม ก็ต้องตายเหมือนนกกระเรียนนั่นแหละ ไม่ต้องสงสัยละ เอาซี พอเห็นนกกระเรียนตายสนิทดี ท่านก็บอกว่าเบาๆ เชือกเถอะ ผ่อนเชือกเถอะจะบอกให้ อ้ายบุรุษก็ไม่เบา หนักขึ้นทุกที เหมือนกัน นกกระเรียนนั่นตายแน่ เห็นว่าตายแน่ พอแน่แล้วก็บอกว่า นั่นแน่พ่อคุณ ก้อนแก้วอยู่ในท้องนกกระเรียนนั่นแน่ อ้ายช่างแก้วก็ไปจับนกกระเรียนที่ตายแล้วนั่นเชือด เอาก้อนแก้วออกมา โด่อยู่ในท้องนกกระเรียนนั่น โอย! ทีนี้ลงกราบพระผู้เป็นเจ้าทีเดียว กระผมได้พลาดพลั้งไปแล้ว ขอพระคุณเจ้าจงงดโทษให้กระผมเถอะ พระเถระจึงว่า ฉันไม่ เอาโทษเอากรรมอะไรหรอก ไม่มีโทษกับฉันหรอก แต่ว่าปรโลกเขาจะไม่ยอมละกระมัง ฉัน ไม่รู้จะว่ากระไรเขานี่ ก็เธอทำของเธอเองนี่ เอากันละทีนี้ อ้อนวอนพระเถระให้งดโทษให้ตน ที่ตนได้กระทำไปแล้ว นี้พัวพันในสกุล ตั้งแต่นั้นต่อไปพระเถระปฏิญาณในใจแล้ว ตั้งแต่นี้ ต่อไปมีชีวิตเป็นอยู่ จะไม่เกี่ยวข้องกับสกุลใด จะแสวงหาอาหารบิณฑบาตเลี้ยงชีพจนตลอดชีวิต ตั้งใจสนิททีเดียว เท่านั้นพระคุณเจ้าไม่เข้าติดสกุลใดเลย เข็ด นี่ก็พัวพันในสกุลเป็นโทษ อย่างนี้ ภิกษุในครั้งพุทธกาลน่ะสึกไปมากมายเพราะพัวพันในสกุล ในครั้งนี้ก็สึกมากมาย เหมือนกัน พัวพันในสกุล นี่ต้องคอยระแวดระวัง ภิกษุสามเณรพัวพันในสกุลเป็นข้อสำคัญนัก

    14 ข้อธรรมเหล่านี้สำหรับพระอริยบุคคล ท่านประพฤติมาเป็นตำรับตำราที่แสดง มาแล้วในกรณียเมตตสูตร แก้ด้วยเมตตานี้ เมื่อประพฤติดีทั้ง 14 ข้อนี่แล้ว ไม่มีช่องเสีย ความประพฤติไม่มีผิดธรรมผิดวินัยเลย ถ้าประพฤติได้อย่างนี้ได้ชื่อว่าตัวเองแหละ เมตตา อยู่ในตัวเอง ไปอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ตัวเองแหละ เมตตาอยู่ในตัวเอง ได้ชื่อว่าทำความดีให้ แก่ตน และความดีที่ตนทำแล้วนั้นไปเป็นตัวอย่างของบุคคลอื่นต่อไป เป็นตำรับตำราของ บุคคลอื่นต่อไปด้วยประการดังนี้ ใน 14 ข้อนี้ อริยะนักปราชญ์ติเตียนบุคคลอื่นได้ด้วยประการ ใด ได้ด้วยกรรมอันใด ไม่ควรประพฤติกรรมอันนั้นจนตลอดชีวิต ควรตั้งจิตแผ่ไมตรีจิตไปว่า “ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจงเป็นผู้มีสุข จงเป็นผู้เกษมสำราญ จงเป็นผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด” ให้ตั้งใจลงไปว่า แผ่ไมตรีจิตลงไปว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น หรือสัตว์ทั้งหลายหมดทั้งสิ้น จงเป็น ผู้มีสุข จงเป็นผู้มีความเกษมสำราญ จงเป็นผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด เมื่อประพฤติดีเช่นนี้ แล้วให้ตั้งใจอย่างนี้ ให้ผู้อื่นประพฤติดีได้เหมือนอย่างกับตัวบ้าง ให้ตั้งใจอย่างนี้ นี่แหละเป็น เมตตานิสังสกถา

    ที่ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ ยังหาจบกรณียเมตตสูตรไม่ ใน 3 ส่วนเพียงส่วนเดียวเท่านั้น และจะแสดงเป็นลำดับต่อไป ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้าง ธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควร แก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    กรณียเมตตสูตร (ต่อ)


    lphor_tesna_vn.jpg


    1 มิถุนายน 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    เย เกจิ ปาณภูตตฺถิ ตสา วา ถาวรา วา อนวเสสา
    ทีฆา วา เย มหนฺตา วา มชฺฌิมา รสฺสกา อณุกถูลา
    ทิฎฺฐา วา เย จ อทิฎฺฐา เย จ ทูเร วสนฺติ อวิทูเร
    ภูตา วา สมฺภเวสี วา สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
    น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ นาติมญฺเญถ กตฺถจิ นํ กิญฺจิ
    พฺยาโรสนา ปฏีฆสญฺญา นาญฺญมญฺญสฺส ทุกฺขมิจฺเฉยฺย
    มาตา ยถา นิยํ ปุตฺตํ อายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข
    เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
    เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
    อุทฺธํ อโธ จ ติริยญฺจ อสมฺพาธํ อเวรํ อสปตฺตํ
    ติฏฺฐญฺจรํ นิสินฺโน วา สยาโน วา ยาว ตสฺส วิคตมิทฺโธ
    เอตํ สตึ อธิฏฺเฐยฺย พฺรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ
    ทิฏฺฐิญฺจ อนุปคมฺม สีลวา ทสฺสเนน สมฺปนฺโน
    กาเมสุ วิเนยฺย เคธํ น หิ ชาตุ คพฺภเสยฺยํ ปุนเรตีติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงกรณียเมตตสูตร ซึ่งยังค้างอยู่ในสัปดาห์ที่ล่วงไปแล้ว นั้น กรณียเมตตสูตรนั้นที่แสดงไปแล้วเพียงแต่ส่วนเบื้องต้น ยังขาดส่วนที่ 2 อยู่ วันนี้จะ แสดงในส่วนเบื้องปลายในกรณียเมตตสูตร ตามวาระพระบาลี เพื่อปฏิการสนองประคอง ศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า

    เริ่มต้นตามวาระพระบาลีว่า เย เกจิ ปาณภูตตฺถิ ตสา วา ถาวรา วา อนวเสสา สัตว์มี ชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยังสะดุ้งอยู่หรือว่ามั่นคงแล้วทั้งสิ้นไม่เหลือเลย ทีฆา วา เย มหนฺตา วา เหล่าใดตัวยาว เหล่าใดตัวใหญ่ เหล่าใดเป็นปานกลาง เหล่าใดตัวสั้น เหล่าใด ผอม เหล่าใดพี เหล่าใดที่เราเห็นแล้วก็ดี หรือว่ายังไม่เห็นก็ดี เหล่าใดอยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ใน ที่ไม่ไกลก็ดี เกิดแล้วหรือว่ายังจะพึงเกิดต่อไป หรือว่ากำลังเกิดอยู่ ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนอยู่เป็นสุขเถิด น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ สัตว์อื่นอย่าข่มเหงสัตว์อื่นเลย นาติมญฺเญถ กตฺถจิ นํ กิญฺจิ ไม่ควรดูถูกอะไรๆ เขา ในที่ใดๆ เลย ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความนิโรธโกรธเคือง เพราะความคุมแค้นอาฆาตพยาบาท มารดาผู้ถนอมบุตรคนเดียว ผู้เกิดแล้วในตนไว้ด้วยอุบายฉันใด เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ ควรพึงเจริญ เมตตาที่มีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งหลาย แม้ฉันนั้น เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ บุคคลเจริญเมตตาที่มีในใจไม่มีประมาณในเบื้องบน หรือในเบื้องต่ำ หรือในเบื้อง ขวาง อสมฺพาธํ อเวรํ อสปตฺตํ เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ติฏฺฐญฺจรํ นิสินฺโน วา สยาโน วา ยาว ตสฺส วิคตมิทฺโธ ผู้มีเมตตายืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด เอตํ สตึ อธิฏฺเฐยฺย ผู้มีเมตตาพึงตั้งสติไว้เพียงนั้น เพราะสติที่ไม่ง่วงนอนนั่นมันแจ่มใสดี พึงตั้งสติอันนั้นไว้ พึงรักษาสติอันนั้นไว้ไม่ให้คลาด เคลื่อน ผู้สงบระงับ ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ คือ พระโสดาปัตติมรรค กาเมสุ วิเนยฺย เคธํ พึงนำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก เป็นผู้ไม่ถึงในความนอนภพต่อไปอีกโดยแท้ทีเดียว นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายในกรณียเมตตสูตรเป็นลำดับลงไปว่า ในเบื้องต้นที่แสดงมาแล้ว ในสัปดาห์ก่อนโน้น การเจริญเมตตาว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจตั้งอยู่เป็นสุขเถิดนี้ ให้ตั้งใจลงไปว่า สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีอยู่ ยังสะดุ้งอยู่ ยังมีตัณหาเครื่อง สะดุ้ง หรือว่ามั่นคงแล้ว นี่ไม่สะดุ้ง หรือเรียกว่าไม่มีตัณหา อนวเสสา ทั้งสิ้นไม่เหลือเลย ทั้งหมด สัตว์มีเท่าไรทั้งหมดปรากฎไม่เหลือเลย ให้วางใจตั้งใจลงไปดังนั้น สัตว์เหล่าใดมี ตัวยาว ยาวเท่าไรก็ช่าง อย่างพญานาคที่ตัวยาวๆ หรืองูตัวยาวๆ ชนิดใดก็ช่าง ที่มีตัวยาวๆ ทีฆา วา เย มหนฺตา หรือเหล่าใดมีตัวใหญ่ ใหญ่เท่าไรก็ช่าง จนกระทั่งสุดใหญ่ มชฺฌิมา วา หรือว่าปานกลาง มีตัวปานกลาง รสฺสกา หรือมีตัวสั้น อณุกถูลา หรือว่ามีร่างผอมหรือพี ผอมและอ้วนมีมากน้อยเท่าไร ให้ตั้งใจรู้สึกในใจดังนี้ ทิฏฺฐา วา เย จ อทิฏฺฐา ที่เราเห็นอยู่ แล้ว หรือมิได้เห็นก็ดี ให้ตั้งใจดังนี้ เย จ ทูเร วสนฺติ อวิทูเร เหล่าใดอยู่ในที่ไกล หรือว่า อยู่ในที่ไม่ไกล ไกลจนกระทั่งเราไม่เห็น หรือว่าไม่ไกล อ้ายไม่ไกลอยู่ที่ใกล้ หรือว่าเกิดแล้ว ก็ดี หรือว่ากำลังจะเกิดก็ดี ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้นจงเป็นผู้มีตนอยู่เป็นสุขเถิด ให้ตั้งใจอย่างนี้ เป็นเมตตาในธรรมวินัยของพระบรมศาสดา ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้นจงเป็นผู้มีตนอยู่เป็นสุข เถิด ให้ตั้งใจอยู่อย่างนี้ ที่เราเป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ให้ตั้งใจเมตตาในสัตว์เหล่านี้ ดังนี้

    เมื่อตั้งใจอย่างนี้แล้ว อีกท่อนหนึ่ง น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ สัตว์อื่นอย่าข่มเหงสัตว์อื่น เลย นาติมญฺเญถ กตฺถจิ นํ กิญฺจิ อย่าดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ใดๆ เลย การดูหมิ่นเขาน่ะ มันมีอยู่ทุกคน ภิกษุก็ดูหมิ่นภิกษุ สามเณรก็ดูหมิ่นสามเณร ภิกษุดูหมิ่นสามเณร สามเณร ดูหมิ่นภิกษุ ดูหมิ่นกัน ดูหมิ่นกันต้องเกิดเรื่อง ไม่ได้รับความสุข หรืออุบาสกอุบาสิกาก็ ดูหมิ่นกัน อุบาสกก็ดูหมิ่นอุบาสก ในอุบาสกซึ่งกันและกันเอง หรืออุบาสิกาดูหมิ่นอุบาสิกา ในอุบาสิกาซึ่งกันและกันเอง หรืออุบาสกดูหมิ่นอุบาสิกา หรืออุบาสิกาดูหมิ่นอุบาสก หรือ ชนชาวบ้านดูหมิ่นชาววัด หรือชาววัดดูหมิ่นชาวบ้าน การดูหมิ่นกันอย่างนี้แหละปราศจาก เมตตาในกันและกัน ให้กลับใจเสียใหม่ ภิกษุก็ไม่ดูหมิ่นภิกษุ ในชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ สามเณรก็ไม่ดูหมิ่นสามเณร ในชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ หรือภิกษุไม่ดูหมิ่นสามเณร สามเณร ไม่ดูหมิ่นภิกษุ หรือคนมั่งมีดูหมิ่นคนจน หรือคนจนดูถูกคนมี หรือคนชั้นสูงดูถูกคนชั้นต่ำ คนชั้นต่ำดูถูกกันเอง บางทีดูหมิ่นเขาไม่รู้ตัวว่าดูหมิ่นเขา ดูหมิ่นเป็นอย่างไร คำ “ดูหมิ่น” น่ะ เขาเล็กกว่าสู้ไม่ได้ พูดเอาตามชอบใจ ว่าเอาตามชอบใจ ไม่ไพเราะ พูดอย่างกักขฬะๆ หยาบ ช้ากล้าแข็ง บ้างด่าว่าเขาต่างๆ ชอบอกชอบใจ เหล่านี้เรียกว่าดูหมิ่นเขาอยู่แล้ว ถึงเขาจนก็ ดูหมิ่น พูดไม่เคารพคารวะในกันและกัน พูดใช้เสียงกระด้างไม่น่าฟังถ้อยคำเหล่านั้น ตวาด ขู่ด้วยประการต่างๆ เหล่านี้ดูหมิ่นเขา อ้ายลักษณะดูหมิ่นเป็นข้อสำคัญนัก เขาจึงได้ยืนยัน ไว้ว่า เรือนยอดที่จะทำลายลงด้วยไฟไหม้น่ะเพราะไหม้แต่เรือนย่อยขึ้นไป กระต๊อบกระท่อม ที่ปลูกอยู่ข้างๆ เรือนยอดนั่นแหละ ไหม้เรือนเล็กๆ ขึ้นก่อน แล้วก็ไปไหม้เรือนยอดนั่นฉันใด ก็ดี แง่นี้แหละความร้อนเกิดจากชั้นน้อยขึ้นมาไหม้เรือนยอดได้ เจ้าครองประเทศ หรือ ผู้ครองประเทศจะได้รับความอับปาง เกิดปฏิวัติขึ้นก็เพราะผู้ใหญ่ดูหมิ่นผู้น้อย หรือไม่ฉะนั้น ผู้น้อยเมื่อถูกดูหมิ่นดูถูกด้วยประการใดประการหนึ่ง ก็จำเอาไว้ได้ สมัครพรรคพวกมากขึ้นก็ ลงโทษผู้ใหญ่เหมือนในคอมมิวนิสต์ บัดนี้ที่จะเกิดลุกลามกันใหญ่โตเช่นนี้ เพราะผู้คนชั้นสูง ดูหมิ่นผู้คนชั้นต่ำ คนมั่งมีดูถูกคนจน เมื่อเป็นเช่นนี้เกิดเข้าปล้นกัน เกิดเป็นคอมมิวนิสต์ขึ้น นี่เพราะเหตุพูดจาไม่เพราะ ดูถูกดูหมิ่นกัน จึงได้เกิดรบราฆ่าฟันกันเช่นนี้ ถ้าแม้ไม่ดูถูก ดูหมิ่นซึ่งกันและกันแล้ว ไหนเลยจะเกิดรบราฆ่าฟันกันเช่นนี้เหตุนี้ ถ้าภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา รู้จักเช่นนี้แล้ว ให้เลิกดูหมิ่นกันเสีย ไม่ดูหมิ่นใครๆ ละ เลิกดูหมิ่นเสีย ตั้งอยู่ใน เมตตา เมื่อเจอผู้ใหญ่ก็ตั้งอยู่ในเมตตารักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข เมื่อเจอผู้ปานกลางก็ ตั้งอยู่ในเมตตารักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข เมื่อเจอผู้ต่ำก็ตั้งอยู่ในเมตตารักใคร่ปรารถนา จะให้เป็นสุข เมื่อตั้งอยู่เช่นนี้ ตามบาลีว่า น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ แปลว่าผู้อื่นไม่พึงดูหมิ่น ผู้อื่น นาติมญฺเญถ กตฺถจิ นํ กิญฺจิ นี้เรียกว่า ไม่พึงดูหมิ่นอะไรๆ เขาในที่ไรๆ

    มารดาผู้ถนอมกล่อมเกลี้ยงแต่บุตรที่เกิดในตนผู้เดียว ยอมพร่าชีวิตของตนได้ด้วย ความรักลูกแม้ฉันใด บุคคลผู้ประกอบเมตตา บุคคลผู้ตั้งอยู่ในเมตตา บุคคลผู้เจริญเมตตา พึงตั้งจิตดวงนั้นไว้ จิตดวงของมารดาที่พร่าชีวิตแทนบุตรของตนได้น่ะ บุคคลผู้ประกอบด้วย เมตตาพึงตั้งจิตดวงนั้นไว้ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า กิริยาของจิตเช่นนั้นแหละชื่อว่าเป็น พรหมวิหารในพุทธศาสนาทีเดียว ตรงนี้ต้องจำ มารดาผู้ถนอมบุตรของตนผู้เกิดในตนผู้เดียว ด้วยยอมพร่าชีวิตของตนได้ ผู้ประกอบด้วยจิตเมตตาพึงรักษาจิตดวงนั้นไว้ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า กิริยาของจิตเช่นนั้นแหละเป็นพรหมวิหารในพุทธศาสนานี้ จิตดวงนั้นให้รักษาไว้ รักษาอย่างไร จิตที่รักรูป เสียง อิ่มเอิบซาบซึ้งในใจนั่นแหละ อย่าใช้จำเพาะลูกของตัว เมื่อใช้ในลูกของตัว จิตสงบดีแล้ว ใช้จิตที่ซาบซ่านอย่างชนิดนั้นให้ทั่วไปแก่คนอื่นไม่จำเพาะ ลูก ให้ทั่วไปแก่คนอื่น เหมือนอยู่ในวัดนี้ถ้าจะแผ่เมตตาก็เหมือนกันหมด เห็นหญิงก็ดี ชายก็ดี ภิกษุ สามเณร เอาใจของตัว จิตของตัวที่เอิบอาบซึมซาบในลูกที่เกิดในอกของตน นั่นแหละ จำได้รสชาติใจนั้นแน่ เอาใจดวงนั้นแหละ เอาไปรักใคร่เข้าในบุคคลอื่นทุกคน เหมือนกับลูกของตน ให้มีรสมีชาติอย่างนั้น ถ้ามีรสมีชาติอย่างนั้นละก้อ เมตตาพรหมวิหาร ของตนเป็นแล้ว เมื่อเมตตาพรหมวิหารเป็นขึ้นเช่นนี้แล้ว อัศจรรย์นัก ไม่ใช่พอดีพอร้าย ให้ใช้อย่างนี้ ใช้จิตของตนให้เอิบอาบ ถ้าว่าทำจิตไม่เป็นก็แผ่ได้ยาก ไม่ใช่แผ่ได้ง่าย แต่ลูก ของตนแผ่ได้ ลูกออกใหม่ๆ น่ะ เอิบอาบ ซึมซาบ รักใคร่ ถนอมกล่อมเกลี้ยง บุตรของตน กระฉับกระเฉงแน่นแฟ้นเพียงใด ให้เอาจิตดวงนั้นแหละมาใช้ เรียกว่าเมตตาพรหมวิหาร เอาไปใช้ในคนอื่นเข้า เห็นคนอื่นเข้าก็รักใคร่อย่างนั้นแหละ เมตตารักใคร่อย่างนั้นแหละ เมตตารักใคร่อย่างบุตรน่ะ เมตตารักใคร่อย่างไร มีอะไรให้หมด ถ้าว่ามีนมก็รับให้นมทีเดียว มีของอะไรให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง รักใคร่จริงๆ อย่างนั้น เอิบอาบซึมซาบรสชาติสำคัญ ทีเดียว ลูกอ่อนน่ะ อ้ายจิตดวงนั้นสำคัญทีเดียว จำไว้ ตั้งจิตดวงนั้นแหละไว้ พรหมวิหาร แต่ว่าให้ทั่วไปแก่สัตว์โลกโอกอ่าว อ่าววัฏฏสงสาร ไม่ว่าสัตว์ชนิดใดๆ 4 เท้า 2 เท้า เท้า เหี้ยน เท้ามาก ไม่เข้าใจ จะเป็นสัตว์ตัวใหญ่ หรือสัตว์ตัวยาว หรือสัตว์ตัวปานกลาง หรือ สัตว์ตัวสั้น หรือพี หรือผอม หรืออ้วน ชนิดอะไรก็ช่าง ผอมหรืออ้วนก็ช่าง ที่เห็นแล้ว หรือยังไม่ได้เห็นก็ช่าง อยู่ใกล้หรืออยู่ไกลก็ช่าง ตั้งจิตให้มั่นหมายในสัตว์อย่างนั้น ตั้งจิตลงไป เช่นนั้น อ้ายนี่ให้จำไว้ เมตตาพรหมวิหารให้รักษาเอาไว้ นี่พวกทำจิตให้เป็นน่ะทำได้อย่างนี้ ให้จำแม่ลูกอ่อนรักลูกไว้ ถ้าไม่เป็นแม่ลูกอ่อน ไม่รู้รสชาติของจิตนี้ ไม่รู้จักรสชาติของจิต ดวงนี้ ถ้าเป็นแม่ลูกอ่อนจึงจะรู้จักรสชาติของจิตดวงนี้ ถ้าเป็นพ่อลูกอ่อนก็รู้จักรสชาติของ จิตดวงนี้ ถ้าไม่เป็นพ่อลูกอ่อนไม่รู้จักรสชาติของจิตดวงนี้ จิตดวงนี้เป็นจิตดวงสำคัญ เมื่อ รู้จักใช้แล้วละก็ ใช้จำเพาะลูกของตนก็ไม่ได้ผล จิตมีฤทธิ์นัก ถ้ารู้จักใช้ถูกส่วนแล้วละก็ มีฤทธิ์มีเดชมากมายนักนะ จะมีคนรักใคร่มากมาย นับประมาณไม่ได้ ถ้าใช้ถูกส่วน ถ้าว่าผู้ ทำจิตเป็น ทำใจหยุดนิ่งได้ก็แก้ไขใจของตัวได้ ไปแค่ไหนก็แก้ไขแค่นั้น แก้ให้รักใคร่สัตว์โลก เหมือนอย่างกับแม่ลูกอ่อนที่รักลูกที่เกิดใหม่ๆ โคก็รักลูกที่เกิดใหม่นะ สัตว์เดรัจฉานลูกที่ เกิดใหม่ๆ น่ะ ใครเข้าไปขวิดทีเดียว ไก่ป่าก็ดี เปรียวนัก กลัวมนุษย์นัก แต่พอลูกอ่อนออก มาละก้อ ออกจากไข่ใหม่ๆ พาลูกเดินต๊อกแต๊กละก้อ เอาละใครเข้าไปละก้อ ปราดตีใส่ทีเดียว ไก่เถื่อนนะ ไก่ป่านะ กลัวมนุษย์นัก แต่ว่ามนุษย์เข้าใกล้ตีทีเดียว ร้องทีเดียว แผ่ปีกทีเดียว เพราะรักลูก ออกห่างจากลูกไม่ได้ จิตดวงนั้นสัตว์เดรัจฉานก็ยังใช้ในลูก สัตว์ 4 เท้า 2 เท้า เท้าเหี้ยน ใช้ในลูกเหมือนกันหมดว่า แม่ลูกอ่อนใช้ในลูกละก้อ ให้จำจิตดวงนั้นไว้นั่นแหละ ทำให้เป็นขึ้นเถอะ จิตดวงนั้นน่ะให้เป็นแก่มนุษย์ทั่วไปละก้อ บุคคลนั้นแหละจะทำอะไรละก้อ ในมนุษย์โลกสำเร็จหมด สำเร็จหมดทีเดียว จะสร้างประเทศก็สำเร็จหมด สร้างวัดสร้างวา เป็นสำเร็จหมด ใช้อย่างนั้นแหละ คนต้องมาช่วยทำให้สำเร็จทุกประการ เหมือนอย่างกับแม่ ลูกอ่อน รักลูกเอิบอาบดึงดูดกระฉับกระเฉงแน่นแฟ้นในลูก ลูกจะแอะก็ไม่ได้ละ แม่ต้อง ควักละ นั่นแหละฉันใด ลูกนั่นก็ทำใจหยุดดี มั่นคงดี แม่มีความกระสันแน่นแฟ้นในลูกยิ่ง นักหนา จิตดวงนั้นแหละผู้เจริญเมตตาให้รักษาไว้ อย่าให้คลาดเคลื่อน ถ้ารักษาไม่ได้แล้ว ขอสะกิดใจว่านั่นแหละพรหมวิหารในพระพุทธศาสนา จะทำอะไรในพระพุทธศาสนาสำเร็จ ทุกสิ่งทุกประการ นี่ให้รู้จักหลักฐานพุทธศาสนาแน่นอนอย่างนี้

    เมื่อรู้จักเช่นนี้แน่นอนแล้ว เข้าใจแล้ว ท่านจึงได้ยืนยันว่า เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ บุคคลผู้เจริญเมตตาที่มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งหมด เจริญอย่างนี้แหละ อุทฺธํ ในเบื้องบนก็ตลอดขึ้นไปจะมีสัตว์เท่าไรในอากาศ อโธ จ ในเบื้อง ต่ำ ในแผ่นดินมีมากน้อยเท่าไร ทั่วไปหมดแบบเดียวกัน สัตว์ในแผ่นดิน ติริยญฺจ ในเบื้อง ขวางตลอดไปหมด พ้นจากเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ตลอดหมด ให้แผ่ไปอย่างนี้ทั่วไป อสมฺพาธํ เป็นธรรมไม่คับแคบ อเวรํ ไม่มีเวร หาเวรมิได้ ไม่มีเวรมีภัย ไปข้างไหนก็สบาย ไม่ต้องมีศัสตราอาวุธ ไม่มีเวรไม่มีภัยกับใคร อสปตฺตํ ไม่มีศัตรู ไปไหนไม่มีศัตรู ไม่มีใคร ทำร้ายเพราะเมตตาพรหมวิหารเป็นเสียแล้ว เพราะมีแต่เขารักใคร่เท่านั้น ติฏฺฐญฺจรํ เมื่อ เจริญเมตตาถึงขนาดนั้นแล้ว ยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นิสินฺโน วา นั่งแล้วก็ดี สยาโน วา นอนอยู่ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนทีเดียว เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน ไม่มีง่วงเหงาหาวนอนเพียงใด พึงตั้งสตินั้นไว้เพียงนั้น ผู้ประกอบด้วยเมตตามีในใจไม่มี ประมาณเช่นนี้ ย่อมเป็นผู้มีตนเป็นสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีทุกข์

    เหตุนั้นผู้ที่ประกอบด้วยเมตตาเห็นสภาวะปานฉะนี้ ย่อมประกอบด้วยทัศนะความ เห็น คือ เข้าถึงซึ่งความเป็นพระโสดาปัตติมรรคทีเดียว เมื่อเข้าถึงซึ่งความเป็นพระโสดาปัตติมรรคเช่นนี้ กาเมสุ วิเนยฺย เคธํ เคธํ แปลว่าตัวกิเลส ควรนำความหมกมุ่นในกาม ทั้งหลายไปเสีย อย่าไปเกี่ยวข้องด้วยกามนัก มันทำให้พรหมวิหารเสีย ถ้าไม่เกี่ยวข้องด้วย กามแล้วพรหมวิหารไม่เสีย ถ้าเกี่ยวข้องด้วยกามเสียแล้วเสียพรหมวิหาร มีความปรารถนา ในกามเสียแล้วไม่เป็นพรหมวิหาร “พรมวิหาร” ไม่ปรารถนาในกาม ปรารถนาเหมือนอย่าง กับมารดารักลูก ลูกอ่อนใหม่ๆ ดังนั้น มารดารักลูกออกใหม่ๆ ด้วยด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มารดาบิดารักลูกออกใหม่ๆ มีเมตตารักใคร่จะให้เป็นสุข ไม่ต้องการอะไรเลย ในลูก กรุณาอยากจะช่วยลูกให้พ้นทุกข์ มุทิตาเมื่อลูกเดินได้นั่งได้คลานได้ ไปในทิศานุทิศได้ เลี้ยงตัวได้ก็ยินดีด้วย โมทนาด้วย หรือถึงความวิบัติพลัดพราก ที่เหลือวิสัยที่จะช่วยได้ก็อยู่ใน อุเบกขา อย่างนั้นมารดาที่รักลูกน่ะ รักใคร่ลูกน่ะ ถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงลูกน่ะ ไม่ประกอบ ด้วยกาม ประกอบด้วยพรหมวิหารแท้ๆ ถึงได้กล่าวว่ามารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร

    พระพุทธเจ้าก็เป็นพรหมของบุตร เป็นพุทธเจ้าด้วย เป็นพรหมด้วย

    มารดาบิดาเป็นบุรพาจารย์ของบุตร เพราะสอนบุตรและธิดามาก่อนใคร มารดาบิดา เป็นพระอรหันต์ของบุตร บุตรจะเพาะเลี้ยงมารดาบิดาด้วยประการใดก็ได้ชื่อว่าเลี้ยงพระอรหันต์ แท้ๆ เหตุนี้แล เมตตาพรหมวิหารนี้ ท่านทั้งหลายผู้เป็นเมธี พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของ ตนทุกถ้วนหน้า ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้ในเมตตาพรหมวิหารดังกล่าวแล้วนี้ ไม่เข้าถึงซึ่ง ความนอนในครรภ์อีก ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความนอนในครรภ์อีกโดยแท้ทีเดียว แตกกายทำลาย ขันธ์แล้ว ถ้าเป็นพระโสดาบันไม่เข้าถึงซึ่งความนอนในครรภ์อีก ก็ชาติเดียวเท่านั้นได้ไปเป็น พระสกทาคา อนาคา อรหันต์ทีเดียว เรียกว่า “เอกพีชี” ชาติเดียว ตายทีเดียว ไม่กลับมา นอนในครรภ์ ในกามภพอีกต่อไป ไม่กลับมานอนในครรภ์กามภพอีกต่อไป อันนี้ก็ได้ชื่อว่า เพราะอานิสงส์เมตตาส่งให้ ถ้าว่าผู้ใดทำใจได้เช่นนี้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นที่ไหว้ที่บูชาของ มหาชนคนทั้งหลาย เรื่องนี้ปรากฏอยู่ครั้งในตอนไม่สู้ช้านัก เขาเล่าลือในเชียงใหม่ พระศรีวิชัย ประกอบเมตตาพรหมวิหารเป็นอย่างนี้แหละ แกจะทำอะไรเป็นสำเร็จหมดทุกประการ ผู้มี ปรีชาญาณเช่นนั้น มนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า วัดปากน้ำถ้าจะพลิกวิชานี้ ก็จะใช้จิตอย่างชนิดนี้ก็ไม่สู้ยาก มีจำนวนรู้ในทางธรรมปฏิบัติ ใช้จิตเป็น 150 กว่าคนแล้ว ในพวกเหล่านี้พอทำเข้าก็เป็นทุกคน ไม่สู้ยากนัก ถ้าว่าทำจิตยังไม่เป็นแล้วก็ทำยากอยู่ ใน เมตตาพรหมวิหารนี้ไม่ใช่เป็นของทำง่าย พุทธศาสนาต้องประสงค์อย่างนี้นะ ถ้าเราเป็นผู้มี ปัญญา ฉลาดมาพบพุทธศาสนาเป็นหลักของวิชาเช่นนี้แล้ว จับเอาหลักเสียให้ได้ ได้สักอย่างใด อย่างหนึ่งก็ใช้ได้ ได้ธรรมกายก็ใช้ได้ ได้ธรรมกายแล้วจะให้อัศจรรย์อย่างไรก็เมตตาพรหมวิหารตั้งเข้าไปซิ จะเป็นอัศจรรย์นัก ตั้งเมตตาพรหมวิหารดังกล่าวแล้วทุกประการ นั่นแหละ จะเลิศประเสริฐเป็นมหัศจรรย์นัก แต่ว่าพึงรู้พรหมวิหารนี้จะทำสักเท่าหนึ่งเท่าใด แค่ที่สุดก็เป็น พระโสดาบันเท่านั้น จะเกินพระโสดาบันไปไม่ได้ ท่านวางหลักไว้เท่านั้น ถ้าจะทำไปทางอื่น สูงขึ้นไปกว่านี้ ก็ยังเป็นสกทาคา อนาคา อรหันต์ ขึ้นไปได้สูงกว่านี้ จะมัวเพลินอยู่ไม่ได้ พระพุทธศาสนาท่านอุปมาเหมือนต้นไม้ใหญ่สมบูรณ์ด้วยใบแก่ อ่อน ดอก ผล ที่นก ประชุมชนต้องการได้ทั้งนั้น ถ้าว่าคนไม่มีปัญญาเข้ามาในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ก็มัว รับประทานดอกไม้บ้างอ่อนแก่ตามประสงค์ของตัว รับประทานผลไม้บ้าง อ่อนแก่ตามประสงค์ ของตัว นี่คนมีปัญญาน้อยกว่าคนไม่มีปัญญา ถ้าคนมีปัญญาแล้วก้อ อ้อ! เป็นตามธรรมดา พระพุทธศาสนาสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยลาภสักการะต่างๆ เต็มอยู่ในพุทธศาสนานี้ ใครมาอยู่ใน พระพุทธศาสนานี้ไม่ต้องทำนา ทำเรือก ทำสวน ค้าขายแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ในพุทธศาสนา มีบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาธัญญาหารทั้งนั้น ไม่ขาดตกบกพร่องอย่างใด ถ้ามัวเพลินแต่กินแต่นอน เสียเช่นนี้มรรคผลก็ไม่ได้ เสียเวลาไป นี่ทำให้มีให้เป็นธรรมกายขึ้นนั่นน่ะเป็นแก่นเป็นสาระ ของต้นไม้นั้น ในพุทธศาสนาเรียกว่าเป็นแก่นแน่นหนาทีเดียว ได้ชื่อว่ายึดไว้ได้ซึ่งแก่นสาร ของตนทีเดียว อาทยิ สารเมว อตฺตโน ยึดไว้ได้ซึ่งแก่นสารของตนทีเดียว ได้ธรรมกายเสีย ได้ธรรมกายแล้วทำธรรมกายนั่นให้เป็นพระโสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล, สกทาคามิมรรค-สกทาคามิผล, อนาคามิมรรค-อนาคามิผล, อรหัตตมรรค-อรหัตตผล เป็นลำดับขึ้นไปอย่างนี้ พบแก่นสารในธรรมวินัยของพระศาสดาแท้ๆ

    เหตุนี้แลได้ชี้แจงแสดงมาในท้ายของกรณียเมตตสูตรนี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความ เป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชนด้วยอำนาจความสัตย์ ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิด มีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยามความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    - ธรรมกายของจริงในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างไร หลายท่านสงสัยมานาน บางท่านถึงกับตั้งข้อรังเกียจกับคำว่าธรรมกาย แต่จะด้วยเหตุผลใดๆก็ตามให้ท่านทราบว่า พระพุทธองค์ตรัสด้วยพระองค์เองว่า"เราตถาคตคือธรรมกาย" ฉะนั้น คำว่าธรรมกายจึงหมายถึง ธรรมเป็นที่รวมคุณธรรมของพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้า ให้ทราบไว้ดังนี้.

    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นแห่งหนึ่งในสายธรรมปฏิบัติหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้า แล้วก็แนะนำสั่งสอนศิษยานุศิษย์สืบต่อมา ก็ได้ผลดีเป็นอย่างมาก แล้วก็ธรรมปฏิบัตินี้ก็ได้รับความนิยมจากสาธุชนพุทธบริษัทอย่างกว้างขวาง ไปถึงทั้งภายในและภายนอกประเทศ

    ที่นี้ เมื่อถามถึงคำว่าธรรมกายคืออะไร ต้องกล่าวสรุปโดยรวมก่อนว่า ธรรมกายนี้หมายถึง ธรรมเป็นที่รวมคุณธรรมของพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้าตั้งแต่โคตรภูบุคคลขึ้นไป จะเข้าถึงรู้เห็นและเป็นได้ ด้วยการศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่เรามักจะกล่าวกันว่าปฏิบัติธรรม คือสมถวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 ซึ่งมีปรากฏเป็นพระพุทธดำรัสตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร นี่ต้องเข้าใจอย่างนั้นนะ

    ที่นี้ ความหมายโดยย่อเมื่อกี้นี้ที่กล่าวว่า ธรรมกายนั้นเป็นธรรมที่รวมคุณธรรมของพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้า บุคคลจะเข้าถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายได้ ก็ด้วยการศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นนั่นแหละ และทรงแสดงวัตถุประสงค์ไว้ด้วย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุประสงค์ในการเจริญสติปัฏฐาน 4 อันนี้ก็ต้องเข้าใจไว้ด้วยนะ

    อันนี้ ปรากฏตามมหาสติปัฏฐานสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก คือเป็นทางที่ไปของบุคคลคนเดียว แล้วก็เป็นที่ไปในที่แห่งเดียว เป็นทางเดียว พูดอย่างง่ายๆ ทางเดียว แต่ว่าทางเดียวนั่นมีอย่างไร ท่านต้องเข้าใจด้วยนะ

    โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย นี่ข้อหนึ่ง หมดจดก็คือความบริสุทธิ์ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ความประพฤติปฏิบัติทางกาย ทางวาจา และทางใจคือเจตนาความคิดอ่านบริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิเลส 3 กองใหญ่ คือ โลภะ ราคะ ถ้ายิ่งแก่กล้าเท่าไหร่ ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ผู้ปฏิบัติด้วยเจตนาความคิดอ่านที่สัมปยุตหรือเป็นไปด้วยกิเลส ที่แรงเพียงไรก็ได้รับผลเป็นโทษเป็นความทุกข์เดือดร้อนไปมากเท่านั้น อีกกองหนึ่งก็คือโทสะ โกรธ พยาบาท อาฆาต จองเวร แล้วก็อีกกองหนึ่งก็คือโมหะ หลงไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง นี่แหละ การปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 นั้น ข้อที่ 1 เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย คือความบริสุทธิ์กาย วาจาและใจ

    2. เพื่อความก้าวล่วงความโศกเศร้ารำพัน ความโศกเศร้ารำพันมีมูลเหตุมาจากอะไร เมื่อเราปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 แล้ว ก็จะเจริญเกิดปัญญาเห็นแจ้งในสภาวะธรรมและอริยสัจธรรมตามที่เป็นจริง สามารถที่จะกำจัดเหตุในเหตุไปถึงต้นๆเหตุให้เกิดความเศร้าโศกหรือร่ำรำพัน

    เพราะข้อที่ 3 เพื่ออัสดงดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส แน่นอนแหละ เพราะมันเกิดความทุกข์ นั่นแหละ มันถึงจะเกิดความโทมนัส คือเศร้าโศกเสียใจ เป็นทุกข์ใจ และก็เพื่อบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ คืออริยมรรค ที่จะนำไปสู่อริยผล ให้ถึงความพ้นทุกข์อย่างถาวรได้

    และ เพื่อกระทำนิพพานให้แจ้ง คือ เพื่อเข้าถึงรู้เห็นพระนิพพาน นี่เบื้องต้นว่ารู้-เห็นก่อน แล้วยังมีเป็นพระนิพพานธาตุ เมื่อบรรลุคุณธรรมสูงสุดเป็นพระอรหันต์บุคคลนั้น ได้ชื่อว่าบรรลุสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ บรรลุพระนิพพานธาตุในขณะที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ บรรลุคุณธรรมนี้ อย่าลืมนะกล่าวมาแล้ว 3-4 ข้อนั่น ก็คือ ความบริสุทธิ์กาย วาจาและใจนั่น เป็นอันว่าปรากฏมีแล้วแน่นอนโดยเด็ดขาดจากกิเลสเหตุแห่งทุกข์ แล้วก็เข้าถึงรู้เห็นและเป็นพระนิพพานธาตุ

    ที่นี้ เมื่อท่านทำความเข้าใจตรงพระนิพพานธาตุนี้โดยทางปฏิบัติแล้ว พระนิพพานธาตุชื่อว่าเป็นธาตุ โดยความหมายว่าเป็นธรรมที่ทรงสภาวะพระนิพพานนั่นไว้ พระนิพพานธาตุไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เบญจขันธ์ ไม่มีในภพสาม พระนิพพานธาตุนั้นแหละ ถ้าจะกล่าวไปก็คือ ธรรมกายที่บรรลุอรหัตผลแล้ว ประเดี๋ยวคอยดูว่าจุดนี้ไปร่วมกันอย่างไร เข้าถึงรู้เห็นและเป็นโดยทางปฏิบัติ ปฏิบัติตามหลักการศึกษาสัมมาปฏิบัติทำนิพพานให้แจ้ง ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ เพราะฉะนั้น ตรงนี้เมื่อเอ่ยไปถึงคำว่าพระนิพพานธาตุสำหรับพระอรหันต์ผู้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วจากกิเลสทั้งปวงโดยเด็ดขาด แล้วทรงเข้าถึงและดำรงอยู่ในความเป็นพระนิพพานธาตุนั้น เพราะพระนิพพานธาตุนั้นเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า...

    "น อุปฺปาโท ปญฺญายติ"
    ไม่ปรากฏความเกิดใหม่

    "น วโย ปญฺญายติ"
    ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย

    "น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ"
    เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน

    นี่..เข้าใจไว้ เพราะฉะนั้นเมื่อพระโยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียร หรือโยมก็แล้วแต่ บําเพ็ญเพียรแล้วบรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์บุคคล นั้น บรรลุนิโรธธาตุ โดยความหมายเดียว ซึ่งเป็นอย่างเดียวกันกับคำว่าพระนิพพานธาตุ ที่มีอรรถาธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นธาตุ พระนิพพานธาตุได้ชื่อว่าเป็นธาตุ โดยความหมายว่ามิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะ แต่เป็นธรรมที่ทรงคุณธรรมของพระนิพพานนั่นไว้ เพราะฉะนั้นท่านต้องเข้าใจว่า พระนิพพานธาตุนี้มิใช่เบญจขันธ์ มิใช่เบญจขันธ์

    เพราะเบญจขันธ์นี่เป็นธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย จึงเป็นสภาพไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่นานตลอดไปไม่ได้ และลงท้ายแตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไป ไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นของเที่ยง ในความเป็นสุขที่ถาวร และในความเป็นตัวตนของใครแต่ผู้ใดทั้งสิ้น ธรรมชาตินี้ท่านเรียกว่าสังขตธาตุ สังขตธรรม คือธาตุธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง จึงปรากฏสังขตลักษณะตามพระพุทธดำรัสตรัสว่า...

    "อุปฺปาโท ปญฺญายติ"
    ปรากฏความเกิดใหม่

    "วโย ปญฺญายติ"
    ปรากฏความเสื่อมสลาย

    "ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ"
    เมื่อตั้งอยู่ปรากฏความแปรปรวน

    ซึ่งตรงกันข้ามกับอสังขตธาตุ อสังขตธรรม

    อสังขตธาตุ อสังขตธรรม นี่เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่พระภิกษุหรือบุคคลผู้เจริญภาวนาสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 นี่แหละ เมื่อเจริญแล้วสามารถจะเข้าถึงรู้เห็นและเป็น ธรรมธาตุนี้ ณ ภายใน เป็นคุณธรรม ณ ภายใน แล้วก็ตามวัตถุประสงค์นี่แหละ ที่ท่านว่าเพื่อบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ ที่ควรรู้ และธรรมที่ถูกต้อง ก็คืออริยมรรค เข้าถึงมรรคผลและพระนิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์และเป็นบรมสุขอย่างถาวร เข้าถึงรู้เห็นและเป็นพระนิพพานธาตุนั้นนั่นแหละ พระอรหันต์ท่านจึงชื่อว่าบรรลุสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ทีนี้..ฟังให้ดีว่า ที่ชื่อว่าพระนิพพานธาตุ ที่ชื่อว่าเป็นธาตุเพราะเป็นธรรมที่มิใช่ชีวะ มิใช่สัตว์ แต่เป็นธรรมที่ทรงสภาวะหรือคุณธรรมของพระนิพพานนั่นไว้

    พระนิพพานนั้น สภาวะของท่านหรือคุณธรรม คุณลักษณะของท่าน คือ...

    1. เที่ยง
    2. เป็นสุข
    3. มีประโยชน์สูงสุดยิ่ง
    ตรงกันข้ามกับคำว่าอนัตตา ตรงกันข้ามกับอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนี้ของวิสังขารคือพระนิพพาน

    และถ้ากล่าวลึกลงไป พระนิพพานธาตุ คือ คุณธรรมที่ปรากฏขึ้น ณ ภายใน ของพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้าตั้งแต่โคตรภูบุคคลขึ้นไป จนถึงพระอรหัต พระอรหันต์ จนถึงคุณธรรมของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วแต่ใครบำเพ็ญบุญบารมีมากี่มากน้อย จะเป็นพระอรหันต์บุคคลแบบปกติสาวก หรือที่จะมีคุณวิเศษเช่น อสีติมหาสาวก พุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา เป็นต้น ก็อธิษฐานบำเพ็ญบารมี ก็บรรลุคุณธรรมในระดับนั้นๆ เป็นพระอรหันต์ในลำดับนั้นๆ ไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ไปถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ บำเพ็ญบารมีแตกต่างกันที่ก่อนที่จะเจริญคุณธรรมเพื่อความเข้าถึงรู้เห็นและเป็นพระนิพพานธาตุ หรืออีกนัยหนึ่งเรียกนิโรธธาตุก็เรียก มีอยู่ในคัมภีร์ทั้งหมดนะ ถ้าขืนเอามาอ่านก็จะเสียเวลามาก แต่ให้เข้าใจย่อๆว่า พระนิพพานธาตุอย่างเดียวกันกับคำว่านิโรธธาตุ โดยความหมายนิโรธสัจจะ ซึ่งโดยความหมายเดียวคือนิโรธธาตุ

    นิโรธธาตุนี้เป็นอสังขตธรรม อสังขตธรรมที่มีอสังขตลักษณะดังที่กล่าวแล้วว่า เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน นี่ญาติโยมผู้ฟัง ฟังให้ดี หมายความว่าเมื่อบรรลุแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่ แล้วก็"น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ" เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน คือเมื่อบรรลุ ใช่ไหม ตั้งแต่บรรลุไปก็ตั้งอยู่ละ เป็นคุณธรรมอยู่ ณ ภายในไม่ใช่เบญจขันธ์ นี่แหละที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ทรงเป็นธรรมกาย หรือชื่อว่าธรรมกาย ไม่ใช่เบญจขันธ์ เบญจขันธ์พระองค์ทรงพ้นไปแล้ว ถอนออกหมดแล้ว ไม่มีรากไม่มียอดแล้ว คือแปลว่าเมื่อตายก็ตายไปแต่เบญจขันธ์ แต่พระนิพพานธาตุนั้นไม่ได้ตายนะ

    ถาม :: เป็นอมตธรรม ???

    ตอบ :: ถูกต้อง แล้วเป็นอมตธรรมน่ะอยู่ที่ไหน ต้องมีที่อยู่ของเขาสิ

    พระพุทธเจ้าตรัสนี่ 1f4a1.png

    "อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ"
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    อายตนะ (คือพระนิพพาน) นั้นมีอยู่

    เพราะฉะนั้นคำว่าพระนิพพาน กล่าวสั้นๆความหมาย หมายทั้งสภาวะของพระนิพพาน มีดีอย่างไรๆๆแสดงไว้ในปฏิสัมภิทามรรค 40 ข้อ ตรงกันข้ามกับลักษณะของสังขาร ซึ่งถ้ากล่าวโดยย่อเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็เป็นมตธรรม คือเป็นธรรมที่เกิดมาแล้วเสื่อมสลาย ตาย ดังนี้เป็นต้น แต่พระนิพพานธาตุนี่ไม่ตาย ก็เพราะว่าเมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน จึง"น วโย ปญฺญายติ" ก็ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย ใช่ไหม แล้วก็"น อุปฺปาโท ปญฺญายติ" จึงไม่มีการเกิดใหม่

    ถาม :: บรรลุพระนิพพานไม่เรียกว่าการเกิด ?

    ตอบ :: ไม่ใช่การเกิด อันนั้นเป็นความบรรลุ บรรลุ แต่การเกิดหมายความว่าเคลื่อนจากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง โดยมีเหตุปัจจัย บุญหรือบาปนำให้ไปเกิด พูดอย่างง่ายๆ เหตุปัจจัยนี่ข้อแรกหละ บุญหรือบาปเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้ไปเกิดที่ไหน ก็พูดเท่านี้ไว้ก่อน

    แต่ถ้าบรรลุพระนิพพานธาตุที่บริสุทธิ์เต็มที่ของพระอรหันต์ ก็คือธรรมกายนี่แหละ ที่บรรลุคุณธรรมคือพระนิพพานธาตุนั่นเอง

    ถาม :: ธรรมกายนี่ก็คือพระนิพพานธาตุของพระอริยเจ้า ??

    ตอบ :: ถูกต้อง แต่..ฟังให้ดีนะ ธรรมกายมันมีอ่อนมีแก่ ถ้ายังสัมปยุตด้วยกิเลส-ตัณหา-ราคะอยู่ เพราะ เหมือนมะขามดีกว่า ดูมะขามนะ โยมดูมะขามนะ มะขามเนี่ยไอ้ลูกมันอ่อนๆ มันยังไม่แก่จัด ไปจนถึงก่อนมันจะแก่จัด ให้สังเกตดู เปลือกกับเนื้อมันติดกันแทบว่าเป็นเนื้อเดียวกัน หมายถึงว่า กิเลส-ตัณหา-อุปทานนี่ติดแน่นอยู่ในนั้นเลย ในเนื้อมะขามเลย ใช่ไหม ที่นี้เปลือกเนี่ยมันก็ติดกับเนื้อกับเม็ดเลย ทีนี้ เมื่อมันแก่จัดเนี่ย แก่จัดไป แก่จัดไป ก็ชักๆจะเปลือกแข็ง เปลือกแข็ง แล้วก็ตัวเนื้อและเม็ดเนี่ยมันก็จะเริ่มจะแยกออกจากกันนะ นั่นแหละคือกิเลส-ตัณหา-อุปทานมันเริ่มลดลงๆๆๆ โดยความแก่กล้าของคุณธรรม เหมือนมะขามที่มันแก่ไปจนกระทั่งมันสุก สุกจนกระทั่งมันแห้ง มันแห้งแล้วเปลือกอยู่ส่วนเปลือก แยกออกจากกันแล้ว ก็คือเบญจขันธ์ นี่แหละเปรียบเทียบได้กับการบรรลุสอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นพระอรหันต์ เบญจขันธ์อยู่ส่วนเบญจขันธ์ พระนิพพานธาตุเป็นคุณธรรม ณ ภายในก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน แล้วก็จึงไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย และจึงไม่ต้องเกิดใหม่ เพราะไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด สิ้นเหตุสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษแล้ว มีกิเลส ถ้าจะพูดไปอีกก็กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิตสันดาน ไปจนถึงกิเลสที่ตกตะกอนนอนเนื่องในจิตสันดาน เป็นอาสวะเป็นอนุสัยนี่หมดแล้วโดยสิ้นเชิง คงเป็นแต่คุณธรรมคือพระนิพพานธาตุล้วนๆ#ที่พระพุทธองค์ตรัสด้วยพระองค์เองว่า #เราตถาคตคือธรรมกาย นี่แหละ

    แล้วก็มีปรากฏใน"ปฐมสมโพธิกถา" นี่บูรพาจารย์นะ มีสมเด็จพระสังฆราชเก่าๆท่านเขียนไว้ ก็ได้ทรงนิพนธ์ไว้ โดยความหมายว่า นี่จำไม่ได้ทุกคำพูดนะ ว่า...

    พระพุทธเจ้าของเรา ซึ่งสัตว์โลกมีได้ด้วยยาก ก็ได้อุบัติขึ้นแล้วในโลก ความเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าจัดเป็น 2

    1. รูปกายอุบัติ
    2. ธรรมกายอุบัติ

    รูปกายอุบัตินั้น เมื่อโอกกันติกสมัย หยั่งลงสู่พระครรภ์มารดา และนิกขมนสมัย เมื่อประสูติจากพระครรภ์มารดา รูปกายอุบัติ เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟัง

    ส่วนธรรมกายอุบัตินั้น เมื่ออภิสัมโพธิสมัย ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    มีปรากฏในปฐมสมโพธิกถา นี้แหละ คำพูดนี้ สมเด็จพระสังฆราชแต่ปางก่อนนะ ท่านได้ทรงนิพนธ์เอาไว้นะ....

    รับฟังธรรมะเต็มเรื่องที่ลิงค์นี้
    https://youtu.be/ug6oKS1I2SM
    ________________
    ศึกษาธรรมะกันแล้ว หวังว่าทุกท่านคงจะกระจ่างมากยิ่งขึ้น
    แล้วอย่าลืมกด Like & Share กันด้วยนะครับ ... ผู้ดูแลเพจ
    ________________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    ________________
    ที่มาจากเทศนาธรรมเรื่อง

    ธรรมกายคืออะไร
    https://youtu.be/ug6oKS1I2SM
    ________________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า


    ?temp_hash=1b24f9678c97807ad298e9a3c720e7df.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    เห็นนิมิตได้เพียงประเดี๋ยวเดียว นิมิตก็หายไป
    เห็นนิมิตได้เพียงประเดี๋ยวเดียว นิมิตก็หายไป

    ตอบ:

    ปัญหาของผู้ที่เห็นนิมิตเป็นดวงใสสว่าง หรือพระพุทธรูปที่ศูนย์กลาง แต่เห็นได้เพียงประเดี๋ยวเดียวก็หายไป หรือออกไปนอกตัว

    1. ปัญหาข้อนี้ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ยัง รวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไม่สนิท ใจซัดส่ายออกไปข้างนอกตัว จึงเห็นนิมิตเคลื่อนออกไปข้างนอกตัว นี้ประการหนึ่ง

    2. สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ปฏิบัติภาวนาอยากเห็นนิมิตมากเกินไป จึงพยายามบังคับใจจะให้เห็นนิมิตให้ได้ โดยเพ่งนิมิตแรงเกินไปทำให้สมาธิเคลื่อน นิมิตจึงหายไป หรือเห็นนิมิตเคลื่อนออกนอกตัว
    ความอยากเห็นนิมิตเกินไปหรือเพ่งนิมิตแรงเกินไปนี้ จัดเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ทำให้จิตเคลื่อนจากสมาธิ จึงควรพึงสังวรระวังอย่าให้เกิดอารมณ์เหล่านี้ได้ โดยพยายามตรึกนึกให้เห็นนิมิตด้วยใจแต่เพียงเบาๆ และพยายามนึกให้เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม แล้วก็กลายของกลางจุดเล็กใสนั้นเข้าไปเรื่อย กลางของกลางๆๆ นิ่งเข้าไว้ ถ้าเห็นจุดเล็กใสนั้นสั่นรัวหรือเห็นนิมิตนั้นเคลื่อนที่ไปรอบๆ ให้พึงสังวรว่า สมาธิเคลื่อนเพราะเพ่งนิมิตแรงเกินไป แล้วให้พยายามแตะใจแต่เพียงเบาๆ ที่กลางของกลางต่อไปใหม่ พอเห็นจุดเล็กใสนั้นค่อยๆ นิ่ง หรือดวงใสสว่างนั้นหยุดนิ่ง ก็แปลว่า รวมใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ก็ให้ประคองใจหยุดในหยุดต่อไปอีก ไม่ช้าใจก็จะหยุดนิ่งได้สนิทเองแล้วจุดเล็กใสแจ่มบังเกิดขึ้นมาใหม่ ใสละเอียดยิ่งกว่าเดิมหรือเห็นกายละเอียดหรือกายธรรมปรากฏขึ้น ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดลงไปที่ศูนย์กลางกายดวงใหม่ หรือกายใหม่ที่ปรากฏขึ้นนั้นต่อๆ ไปอีก
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    หลวงพ่อสด "ไอ้ความรู้ในกระดาษ มันก็พึ่งกระดาษ รู้ในกระดาษ"
    เล่าเรื่องโดย หลวงพ่อสุบิน วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี คัดลอกจากกลุ่มบุญศักดิ์สิทธิ์



    (บุคคลยุคต้นวิชชาอีกท่านหนึ่ง ที่ผม (นะโม) ได้มีโอกาสทำบุญและรับความเมตตาจากหลวงพ่อ แม้ปัจจุบันหลวงพ่อจะมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังระลึกถึงท่านเสมอในความเมตตาที่ท่านมีให้ จึงอยากจะนำประวัติและเรื่องราวของหลวงพ่อมาให้ทุกคนได้รู้จักกันครับ )

    ...หลังจากได้ธรรมกาย ฝึก18 กาย จนชำนาญคล่องแคล่วแล้ว ในปี พ.ศ. 2478 หลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็ให้เข้าโรงงานทำวิชชาทุกวัน หลวงพ่อสดท่านให้เข้าทุกวัน นั่งทำวิชชาอยู่จนกระทั่งหลวงพ่อมรณภาพ ในโรงงานทำวิชชามีฝากั้นห้องฝั่งหนึ่งเป็นแม่ชี อีกฝั่งหนึ่งเป็นพระ เณร แล้วก็มีห้องหลวงพ่อเชื่อมอยู่ ท่านนั่งสั่งงาน ฝ่ายแม่ชีที่พอจำได้ก็มี ตรีธา ญาณี ทองแท้ แม่ชีฉลวย แม่ชีถนอม แม่ชีปุก แม่ชีทองสุข แม่ชีจันทร์ แม่ชีเธียร พระเณรก็มี หลวงพ่อเล็ก (มหาเจียก) ธีระ ธมฺมธโร มหาณรงค์ (นานๆทีเข้า) หลวงตาผัน หลวงตาอินทร์ หลวงตาแอบ หลวงตาใจ หลวงพ่อวีระ คณุตโม เณรก็มี เณรวัฒนา เณรรอด

    จะว่าไปคนที่จะเข้าโรงงาน ทำวิชชานั้นหายาก พวกมหาเปรียญก็ถือว่ามีความรู้ดี มีความรู้สูงแล้ว ไม่ไปนั่งหลับตาหรอก แต่หลวงพ่อสดท่านว่า ไอ้ความรู้ในกระดาษ มันก็พึ่งกระดาษ รู้ในกระดาษ มันก็พึ่งกระดาษ ท่านพูดว่า...ยันเต ภะคะวะตา ฌานะตา ปัสสะตา อาระหะตา สัมมา สัมพุทเธนะ เดี๋ยวท่านแปลให้แล้วยันเตภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ใด ฌานะตา รู้แล้ว ปัสสะตา เห็นแล้ว ทั้งรู้ทั้งเห็นเชียวนะ นี่พวกเรามันรู้ในกระดาษ เห็นในกระดาษ ได้ใบตราตั้งกระดาษ ได้ยศจากที่ในกระดาษก็ยังใช้ได้ ยังดีแต่ก็ดีแค่เปลือกๆ อืมม...

    ยันเต ภะคะวะตา พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ใด ฌานะตา รู้แล้ว ปัสสะตา เห็นแล้ว อะระหะตา สัมมา สัมพุทเธนะ เป็นพระอรหันต์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เวลาหลวงพ่อพูด พูดเป็นศัพท์ยกบาลีแปลเป็นคำศัพท์ มหาบุญมาประโยคเก้า มหาช่วงประโยคเก้า (สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์) มหาสว่างเล็ก ป.ธ. 9 มหาสว่างใหญ่ ป.ธ. 9 พากันอึ้ง หลวงพ่อเอาในท้องมาแปลให้เราฟัง เรามันแปลในกระดาษสู้หลวงพ่อไม่ได้
    (เรื่องเล่าโดย พระพุทธศาสนโสภณ (หลวงพ่อสุบิน) วัดหัวเขา บุคคลยุคต้นวิชชาเล่ม 2)

    หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเปรียญที่ได้ธรรมกายและมีความสนิทสนมกับหลวงพ่อเล็ก (พระภาวนาโกศลเถระ ธีระ ธมฺมธโร) หลวงพ่อสุบินได้ถูกส่งไปสอนธรรมะที่ภาคใต้ ไปช่วยหลวงตาแอบ (เปิดสาขาปฏิบัติธรรมหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ที่หาดใหญ่ สงขลา) หลวงตามหาอินทร์ หลวงตาผัน พอหลวงพ่อวัดปากน้ำใกล้มรณภาพท่านก็ถูกเรียกกลับ

    หลังจากหลวงพ่อวัดปากน้ำมรณภาพ หลวงพ่อสุบินก็กลับมาอยู่ที่สุพรรณบุรี มาพัฒนาวัดท่าช้าง หลวงพ่อได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอวัดท่าช้าง วัดใหญ่โต ต่อมาโยมนิมนต์ให้มาอยู่วัดบ้านเกิด วัดหัวเขา ท่านได้รับแต่งตั้งจากประเทศศรีลังกาเป็นพระราชาคณะตำแหน่งที่พระพุทธศาสนาโสภณ

    ปัจจุบันหลวงพ่อสุบินได้มรณภาพไปแล้วเมื่อ 29 พฤษภาคม 2555
    ในสมัยที่ท่านยังอยู่ หลวงพ่อก็ยังทำภาวนาวิชชาธรรมกายตามแบบหลวงพ่อสดตลอด ทำสมาธิต่อเนื่องมาไม่เคยขาดโดยเฉพาะวันพระ และวันอาทิตย์ หลวงพ่อจะมีเปิดสอนสมาธิ เวลาบ่ายโมงถึงบ่าย ๔ โมง ใครไปวัดท่านจะต้อนรับอย่างเป็นกันเองก่อนกลับท่านก็จะแจกพระของขวัญให้กับมือตลอด พระของขวัญองค์ในรูปท่านก็มอบให้กับมือบอกเก็บไว้ให้ดี เลยเอามาเลี่ยมทองไว้อย่างดี



    ?temp_hash=f193fe2c913bd1b813ad5a995be87d95.jpg

    20228411_1645237662177102_8102827666719420805_n-jpg.jpg

    *****************************************************************

    https://www.facebook.com/groups/1673036292917789/?fref=nf
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg


    1 มกราคม 2498

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    เอวมฺเม สุตํ. เอกํ สมยํ ภควา พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย. ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ

    เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค หีโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต. เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ.

    กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ. อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค. เสยฺยถีทํ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ. อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ในวันปัณณรสีที่ 15 ค่ำ ในเดือนยี่นี้ เป็น วันขึ้นปีใหม่ของทางสุริยคติ ผู้เทศน์ก็ต้องดำริหาเรื่องที่จะต้องแสดงให้สมกับวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันแรก และเป็นวันมงคลของพระพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย วันนี้แหละถือว่าเป็นวันขึ้น ปีใหม่ เราจะทำอย่างไรจึงจะเป็นคนดี เรื่องนี้เรื่องที่เป็นมงคลดี-ไม่ดีนั้น พระองค์ทรงรับสั่ง ยืนยันตัดสิน ตั้งแต่ปีใหม่นี้เราต้องตั้งใจเด็ดขาดลงไป สมกับที่พระองค์จอมปราชญ์แสดง มงคลว่า อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เราต้องตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า อเสวนา จ พาลานํ ไม่เสพสมาคมคบหาคนพาลเด็ดขาด ทีเดียว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่ได้อรุณวันนี้ ไม่เสพคบหาสมาคมกับคนพาลเป็นเด็ดขาด ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา จะเสพสมาคมคบหาแต่บัณฑิตเท่านั้น ปูชา จ ปูชนียานํ จะบูชาสิ่งที่ ควรบูชา เอตํ ติพฺพิธํ 3 ข้อนี้แหละเป็นมงคลอันสูงสุดคือจะไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต บูชาแต่สิ่งที่ควรบูชา ตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ อย่าลอกแลก ไม่เสพสมาคมกับคนพาล น่ะ ในตัวของตัวเองมีหรือ ซีกทางโลกเป็นซีกของ โลภ โกรธ หลง เป็นเหตุของคนพาล เป็นเหตุให้เกิดพาล ซีกทางธรรมเป็นซีกของ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นเหตุของบัณฑิต เป็นเหตุให้เกิดบัณฑิต บูชาสิ่งที่ควรบูชา มั่นลงไปอย่างนี้นะ นี่วันนี้ปีใหม่เราต้องตั้งใจให้ เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ละก็ ตัดสินใจว่าเราดีแน่ นี่วันนี้ปีใหม่เราต้อง ตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ ไม่มีทุจริต ไม่มีชั่วเข้าไปเจือปนเลย เป็นซีกบัณฑิตแท้ๆ เหตุนี้แล เมื่อเป็นบัณฑิตแล้วสมควรจะฟังธรรมเทศนา

    ในวันใหม่ปีใหม่ในทางสุริยคตินี้ พระจอมไตรอุบัติขึ้นในโลก ยังไม่ได้แสดงธรรมเทศนา กับบุคคลใดบุคคลอื่นเลย ได้แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก โปรดพระปัญจวัคคีย์ วันนี้จะ แสดงปฐมเทศนาที่พระองค์โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แคว้นเมือง พาราณสี บัดนี้เราจะฟัง ปฐมเทศนา ซึ่งเป็นธรรมอันลุ่มลึกสุขุมนัก ไม่ใช่ธรรมพอดีพอร้าย และธรรมนี้เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไปด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ว่าเป็น ปฐมเทศนาเท่านั้น เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนทีเดียว ที่ผู้ปฏิบัติจะเอาตัวรอดได้ใน ธรรมวินัยของพระบรมศาสดา

    เริ่มต้นแห่งปฐมเทศนาว่า เอวมฺเม สุตํ นี่เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เอามากล่าว ปฏิญาณตนเพื่อให้พ้นจากความเป็นสัพพัญญู ว่าตัวไม่ได้รู้เอง เพราะได้ยินได้ฟังมาจาก สำนักของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เอวํ อากาเรน ด้วยอาการอย่างนี้ เอกํ สมยํ ในสมัย ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งหลาย ทรงประทับสำราญอิริยาบถ ณ สำนักมิคทายวัน แคว้นเมืองพาราณสี ครั้งนั้นพระองค์ทรงรับสั่งหาพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 มารับสั่งว่า เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดทั้ง 2 อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค การประกอบตน ให้พัวพันด้วยกามในกามทั้งหลายนี้ใด หีโน เป็นของต่ำทราม คมฺโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้าน เรือน โปถุชฺชนิโก เป็นคนมีกิเลสหนา อนริโยไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ อนตฺถสญฺหิโต ไม่เป็นประโยชน์ นี่คืออย่างหนึ่ง โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต การประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่านี้ใด กลับเป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบด้วย ไม่ไปจาก ข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อย่างหนึ่ง เป็น 2 อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค นี่เป็นตัวกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ทีเดียว

    เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่แวะเข้าใกล้ซึ่งที่สุดทั้ง 2 อย่างนี้นั้น อัน พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง และทำความเห็นให้เป็นปกติ เรียกว่า จกฺขุกรณี ญาณกรณี ย่อมเป็นไปพร้อม อุปสมาย เพื่อความเข้าไปสงบระงับ อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง สมฺโพธาย เพื่อความรู้พร้อม นิพฺพานาย เพื่อความดับสนิท กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติเป็นกลางนั้นที่พระตถาคต เจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโคหนทางมีองค์ 8 ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ เสยฺยถีทํ คือ สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นชอบ สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ สมฺมาวาจา กล่าววาจาชอบ สมฺมากมฺมนฺโต ทำการงานชอบ สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ สมฺมาสติ ระลึกชอบ สมฺมาสมาธิ ตั้งใจชอบ นี่ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง กระทำความเห็นให้เป็นปกติ กระทำความรู้ให้เป็น ปกติ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อมเพื่อพระนิพพาน

    นี้หลักประธานปฐมเทศนา ทรงรับสั่งใจความพระพุทธศาสนาบอกพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 โดยตรงๆ ไม่มีวกไปทางใดทางหนึ่งเลย บอกตรงๆ ทีเดียว แต่ว่าผู้ฟังพอเป็นนิสัยใจคอ เป็นฝ่าย ขิปฺปาภิญฺญา เท่านี้ก็เข้าใจแล้วว่าธรรมของพระศาสดานี้ลึกจริง ถ้าว่าไม่เป็น ขิปฺปาภิญฺญา เป็น ทนฺธาภิญฺญา จะต้องชี้แจงแสดงขยายออกไปอีก จึงจะเข้าใจปฐมเทศนา พระองค์ทรงรับสั่งบอกพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ว่าที่สุดทั้ง 2 อย่างนั่นนั้น อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ที่สุด 2 อย่างน่ะอะไร

    เอาใจไปจรดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ที่ชอบใจนั้นแหละ หรือ ยินดีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้นแล ตัวกามสุขัลลิกานุโยค ถ้าว่าเอาไปจรดรูปนั้นเข้าแล้ว จะเป็นอย่างไร ทุกฺโข เป็นทุกข์แก่ผู้เอาใจไปจรดนั้น หีโน ถ้าเอาใจไปจรดเข้ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้น ใจต่ำ ไม่สูง ใจต่ำทีเดียว ใจมืดทีเดียว ไม่สว่างเพราะเอาไปจรดกับ อ้ายที่ชอบใจ ที่มัวซัวเช่นนั้น ถ้าไปจรดที่มืดมันก็แสวงหาที่มืดทีเดียว ไม่ไปทางสว่างละ นั่นน่ะจับตัวได้ เอาใจเข้าจรดกับรูป เสียง กลิ่น สัมผัส ที่ชอบใจ ชวนไปทางมืดเสียแล้ว ไม่ชวนไปทางสว่าง ปิดทางสว่างเสียแล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้นท่านจึงได้ยืนยันหีโน ต่ำทราม ไม่ไปทางนักปราชญ์ราชบัณฑิต ไปทางโลก ไปทางปุถุชนคนพาลเสียแล้ว หีโน ต่ำทราม ลงไปอย่างนี้ คมฺโม ถ้าไปจรดมันเข้าไม่สะดวก ทำให้ต้องปลูกบ้านปลูกเรือนให้เหมาะเจาะ มีฝารอบขอบชิดให้ดีจึงจะสมความปรารถนานั้น ไปเสียทางโน้นอีกแล้ว นั้นใจมันชักชวน เสียไปทางนั้นแล้วนั้น โปถุชฺชนิโก ก็หมักหมมสั่งสมกิเลสให้หนาขึ้นทุกที ไม่บางสักทีหนึ่ง นั่นแหละรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เข้ามาๆๆ เป็นตึกร้านบ้านเรือนกันยกใหญ่เชียวคราวนี้ แน่นหนากันยกใหญ่เชียว อนริโย ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่หลุดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่หลุดจากความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่นั่นเอง พระองค์ทรงรับสั่ง ว่า นี่ๆ พวกนี้ กามสุขัลลิกานุโยค ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ ไปไม่ได้ทีเดียว อนตฺถสญฺหิโต แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ไม่มีประโยชน์เลย ถามคนแก่ดูก็ได้ที่ครอบครองเรือนมาแล้ว ที่ติดอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสมาแล้ว ติดจนกระทั่งถึงแก่เฒ่าชรา ไปถามเถอะ ร้อยคนพันคน มายืนยัน บอกตรงทุกคน ทำไมจึงบอกตรงล่ะ แกวางก้ามเสียแล้วนะ บอกตรงซิ ถ้ายังไม่วาง ก้าม ยังกระมิดกระเมี้ยนอยู่ ยังจะนิยมชมชื่นอยู่ นั่นพระองค์ทรงรับสั่งว่า กามสุขัลลิกานุโยค ไม่มีประโยชน์อะไร อย่าเข้าไปติด ถ้าเข้าไปติดแล้วไปไม่ได้

    นั่นว่า โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข ประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่า ไร้ ประโยชน์ นี่ อตฺตกิลมถานุโยโค เป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไปจากข้าศึกคือกิเลสนั้นไม่ได้ ไม่มี ประโยชน์อีกเหมือนกัน อัตตกิลมถานุโยคนั่นทำอย่างไร ประกอบความลำบากให้แก่ตน พวกประกอบความลำบากให้นั่นทำอย่างไร นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย นี่พวกประพฤติดับกิเลส นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย นอนหนามหนามนั่นเจ็บ เสียความสงัดยินดีก็หายไปได้ เข้าใจว่าหมดกิเลส เป็นทางหมด กิเลส ตากแดดล่ะ เมื่อตากแดด แดดร้อนเข้าก็ไม่มีความกำหนัดยินดีเข้านะซิ เข้าใจว่ากิเลส ดับแล้ว นั่นความเข้าใจของเขา เข้าใจอย่างนั้น ย่างไฟล่ะ ย่างไฟมาจากแดด แดดไม่สะดวก ก็เอาไฟย่างมาก่อไฟ ก่อไฟถ่าน อยู่ข้างบนเข้าให้ นอนบนกองไฟ นอนบนไฟย่าง นอนบนไฟ นอนข้างบนร้อนรุ่มเหมือนอย่างกับไฟย่างนั้น ได้ชื่อว่าย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้งล่ะ มีความ กำหนัดยินดีขึ้นมา ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเดินก็ไม่ถนัด ขาแข็งไปหมด ไม้เคาะหน้าแข้งเปก เข้าไปให้เงียบ หายความกำหนัดยินดี ดับไป เอ้อ! นี่ดีนี่ ได้อย่างทันอกทันใจ ทีหลัง กำหนัดยินดี เวลาไหนก็เอาไม้เคาะหน้าแข้งเปกๆ เข้าไปให้อย่างหนัก นี้ความกำหนัดยินดีก็ หายไป อย่างนี้เป็นหมู่เป็นพวก ต้องทำเหมือนกัน เป็นหนทางดีทางถูกของเขา พวกไม้เคาะ หน้าแข้ง หาบทราย หาบทรายเหนื่อยเต็มที่ หมดความกำหนัดยินดี ควายเปลี่ยวๆ ยังสยบ เลย ถึงอย่างนั้น หาบทราย ไอ้ทรายกองใหญ่ที่พวกอัตตกิลมถานุโยคประพฤติตนปฏิบัติ อยู่นาน เข้ามาอาศัยกองใหญ่มหึมาทีเดียว หาบมาเอามากองเข้าไว้ หาบเข้ามากองไว้ใหญ่ มหึมา นั่นเพื่อจะทำลายกิเลส ดับกิเลส นี่เขาเรียกว่าอัตตกิลมถานุโยคทั้งนั้น ลักษณะ อัตตกิลมถานุโยค มีมากมายหลายประการ ที่ผิดทางมรรคผลปฏิบัติตนให้เหนื่อยเปล่า ไม่มี ประโยชน์ นั่นแหละอัตตกิลมถานุโยคทั้งนั้น ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อัตตถิลมถา- นุโยคเหมือนกัน เอาดีไม่ได้ เดือดร้อนร่ำไป นั่นอัตตกิลมถานุโยคเหมือนกัน อัตตกิลมถานุโยค เป็นอย่างไรล่ะ ร่างกายทรุดโทรมไปตามกัน ฆ่าตัวเอง ทำลายกำลังตัวเอง ตัดแรงตัวเอง นี่ งมงายอวดว่าฉลาด นึกดูที เอ้อ! เราไม่รู้เท่าทัน ถ้ารู้เท่าทัน ไม่ถึงขนาดนี้เลย เพราะไม่ได้ยิน ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฝึกฝนใจทางพระพุทธเจ้าเลย ความรู้ไม่เท่าทัน จึงได้เป็นอัตตกิลมถานุโยคอยู่เช่นนี้ นี่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    2 อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค เลิกเสีย ไม่เสพ อย่าเสพ อย่าเอา ใจไปจรด อย่าเอาใจไปติด ปล่อยทีเดียว ปล่อยเสียให้หมด เมื่อปล่อยแล้วเดินมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่แวะวงเข้าไปใกล้ซึ่งทางทั้ง 2 อย่างนั้น อันพระตถาคตเจ้าตรัสรู้ แล้ว ด้วยพระญาณอันยิ่ง นี่ข้อปฏิบัติเป็นกลางซึ่งเราควรรู้ กลางนี่ลึกซึ้งนัก ไม่มีใครรู้ ใครเข้าใจกันเลย ธรรมที่เรียกว่าข้อปฏิบัตอันเป็นกลางน่ะ ปฏิบัติแปลว่า ถึงเฉพาะซึ่งกลาง อะไรถึง ต้องเอาใจเข้าถึงซึ่งกลางซิ เอาใจเข้าไปถึงซึ่งกลาง กลางอยู่ตรงไหน กลางมีแห่งเดียว เท่านั้นแหละ เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ใจเราก็หยุดอยู่กลาง เมื่อเวลาเราจะหลับ ใจเราก็ต้อง ไปหยุดกลาง ผิดกลางหลับไม่ได้ ผิดกลางเกิดไม่ได้ ผิดกลางตายไม่ได้ ผิดกลางตื่นไม่ได้ ต้องเข้ากลางถูกกลางละก้อ เป็นเกิด เป็นหลับ เป็นตื่นกันทีเดียว อยู่ตรงไหน ในมนุษย์นี่ มีแห่งเดียวเท่านั้น ศูนย์กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ได้ระดับ กรอบปรอททีเดียว สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มอีกเส้น ตึงอยู่ในระดับแค่กัน ได้ระดับกันทีเดียว ได้ระดับกันเหมือนแม่น้ำทีเดียว ระดับน้ำ หรือระดับ ปรอทแบบเดียวกัน เมื่อได้ระดับเช่นนั้นแล้ว ดึงทั้ง 2 เส้น ข้างหน้าข้างหลังตึง ตรงกลาง จรดกัน ตรงกลางจรดกันนั่นแหละ เขาเรียกว่า “กลางกั๊ก” ที่เส้นด้ายคาดกันไปนั่น กดลงไป นั่นกลางกั๊ก กลางกั๊กนั่นแหละถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟอง ไข่แดงของไก่ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ แรกเรามาเกิดเอาใจหยุดอยู่ ตรงนั้น ตายก็ไปอยู่ตรงนั้น หลับก็ไปอยู่ตรงนั้น ตื่นก็ไปอยู่ตรงนั้น นั่นแหละเป็นที่ดับ ที่หลับที่ตื่น กลางแท้ๆ เทียว กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ กลางนั่นแหละ ตรงกลางนั่นแหละ ไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางนั่นแหละ ได้ชื่อว่ามัชฌิมา มัชฌิมานะ พอหยุดก็หมดดีหมดชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วกัน หยุดทีเดียว พอหยุดจัดเป็นบุญก็ไม่ได้ พอหยุดจัดเป็นบาปก็ไม่ได้ จัดเป็นดีก็ไม่ได้ ชั่วก็ไม่ได้ ต้องจัดเป็นกลาง ตรงนั้นแหละกลางใจ หยุดก็เป็นกลางทีเดียว นี้ที่พระองค์ให้นัยไว้กับองคุลิมาลว่า “สมณะ หยุด!” “สมณะ หยุด!” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มา สมณะหยุดแล้ว ท่านก็หยุด นี้ต้องเอาไปหยุดตรงนี้ หยุด ตรงนั้นถูกมัชฌิมาปฏิปทาทีเดียว พอหยุดแล้วก็ตั้งใจอันนั้นที่หยุดนั้น อย่าให้กลับมาไม่หยุด อีกนะ ให้หยุดไปท่าเดียวนั่นแหละ พอหยุดแล้วก็ถามซิว่า หยุดลงไปแล้วยังตามอัตตกิลม- ถานุโยคมีไหม ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตัวรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ยินดีไหม ไม่มี นั่นกามสุขัลลิกานุโยคไม่มี ลำบากยากไร้ประโยชน์ (อัตตกิลมถานุโยค) ไม่มี หยุดตาม ปกติ ของเขาไม่มี ทางเขาไม่มีแล้ว เมื่อไม่มีทางดังกล่าวแล้ว นี่ตรงนี้แหละที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา พระตถาคตเจ้ารู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง ตรงนี้แห่งเดียวเท่านั้น ตั้งต้นนี้แหละจนกระทั่งถึงพระอรหัตตผล

    ทีนี้จะแสดง วิธีตรัสรู้ เป็นอันดับไป ถ้าไม่แสดงตรงไม่รู้ ฟังปฐมเทศนาไม่ออกทีเดียว อะไรล่ะ พอหยุดกึกเข้าคืออะไร หยุดกึกเข้านั่นละ เขาเรียกใจเป็นปกติละ หยุดนิ่งอย่าขยับไป หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ กลางของนิ่งนั้นแหละ จะไปเห็น ดวงธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิทดังกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า อยู่ในกลาง หยุดกลางนิ่งนั่นแหละ กลางนั่นแหละ พอเข้าถึงกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็หยุด นิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีกแบบเดียวกัน พอถูกส่วนเข้า จะเข้าถึง ดวงศีล เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถูกส่วน เข้ากลางดวงศีล นั่นเอง จะเข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงเท่ากัน พอถูกส่วนเข้า เท่านั้น จะเข้าถึง ดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เท่านั้นแหละ เข้าถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ-ญาณทัสสนะหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เห็น กายมนุษย์ ละเอียด เห็นแจ่มแปลกจริง กายนี้เราเคยฝันออกไป เวลาฝันมันออกไป เมื่อไม่ฝัน มันอยู่ ตรงนี้เองหรือ ให้เห็นแจ่มอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ กลางตัวของตัวนั่น เห็นชัดเชียว อีกชั้นหนึ่งละนะ เข้ามาถึงนี้ละ นี่พระพุทธเจ้าเดินอย่างนี้ พักอย่างนี้ทีเดียว เอา เราเดินเข้า มาชั้นหนึ่งแล้ว เข้ามาถึงอีกชั้นหนึ่งแล้ว ต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของกายมนุษย์หยาบละ เป็น หน้าที่ของกายมนุษย์ละเอียดทำไป

    ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกันที่เดียว พอถูกส่วนก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมา-นุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา แบบเดียวกัน เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณ- ทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายทิพย์ ที่นี่หมดหน้าที่ ของกายมนุษย์ละเอียดไปแล้ว

    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์อีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายทิพย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูก ส่วนเข้า เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ- ญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด นี้เป็นกายที่ 6 แล้ว พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วน เข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายอรูปพรหมละเอียด

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง สมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรม รูปเหมือนพระพุทธปฏิมากร เกตุดอก บัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน ไม่ถึง 5 วา หย่อนกว่า 5 วา นี่เรียกว่า กายธรรม

    กายธรรมนี่เรียกว่าพุทธรัตนะ นี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ได้อย่างนี้ นี่ปฐมยาม ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ทีเดียว เป็นตัวพระพุทธรัตนะอย่างนี้ นี่พระพุทธเจ้าท่าน ตรัสรู้ขึ้นอย่างนี้ นี่ปฐมยามได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ทีเดียว เป็นตัวพระพุทธเจ้า ทีเดียว รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องหน้า ที่ทำรูปไว้ นี่แหละ นี่แหละตัวพระพุทธเจ้าทีเดียว แต่ว่ากายเป็นที่ 9 กายที่ 9 เป็นกายนอกภพ ไม่ใช่กายในภพ ทำไมรู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ก็ทำรูปไว้ทุกวัดทุกวาจะไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธ- เจ้าอย่างไร ทำตำราไว้อย่างนี้ ก่อนเราเกิดมาเป็นไหนๆ ก็ทำไว้อย่างนี้ ปรากฏอย่างนี้แหละ ตัวพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทีเดียว ตัวพุทธรัตนะทีเดียว อ้อ! นี่เข้าถึงพุทธรัตนะ เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว ที่ท่านรับรองว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ตถาคเตน แปลว่า ตถาคต ธรรมกายน่ะ แต่ว่าธรรมกายนั้นท่านทรงรับสั่งว่า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราพระตถาคต ผู้ เป็นธรรมกาย ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ คำว่า ธรรมกายน่ะ ตถาคตแท้ๆ ทรงรับสั่งอย่างนี้ เข้าถึงธรรมกายแล้วนี่ตถาคตทีเดียว รู้ขึ้นแล้ว เป็นขึ้นแล้ว ปรากฏขึ้นแล้ว

    ต่อไปนี้เรามาเป็นธรรมกายดังนี้ รู้จักทางแล้ว ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ดวงธรรมของธรรมกายวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตัก ธรรมกาย กลมรอบตัว ใสเกินกว่าใส ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นธรรมกาย หยุดนิ่งพอถูกส่วน ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงธรรมนั้น หยุด อยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงปัญญา ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณ- ทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น ธรรมกายละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ธรรมกายหยาบเป็นพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกายเป็นธรรมรัตนะ ธรรมกายละเอียดอยู่ในกลางดวงธรรมรัตนะ นั่นแหละเป็นสังฆรัตนะ ดังนี้ อยู่ในตัว ที่อื่นไม่มี ทุกคนมีอยู่ในตัวของตัว ผู้หญิงก็มี ผู้ชายก็มี เช่นเดียวกันทุกคน นี่แหละพุทธรัตนะ ธรรม- รัตนะ สังฆรัตนะ เมื่อรู้จักดังนี้ เมื่อท่านเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นเช่นนี้แล้ว นี้เป็นโคตรภูแล้ว ท่านก็สำเร็จขึ้นไปอีก 8 ชั้น ท่านก็เป็นพระอรหันต์ไปอยู่กับพระพุทธเจ้าทีเดียว

    พอเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ท่านเอาเรื่องนี้มาแสดงกับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ให้ พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ฟัง ท่านแสดงเรื่องของท่านว่า อันเราตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญา อันยิ่ง ท่านทำความเห็นเป็นปกติ เห็นอะไร ตาอะไร ตาพระพุทธเจ้า ตาธรรมกาย มีตา ตาดีนัก เห็นด้วยตาธรรมกายนั่นแหละ จกฺขุกรณี ทำให้เห็นเป็นปกติ เห็นความจริงหมด ญาณกรณี กระทำความรู้ให้เป็นปกติ ญาณของท่าน

    เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ส่วนดวงวิญญาณของท่านก็เล็กเท่าดวงตาดำข้างในของท่าน เมื่อท่านขึ้นไปเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตาของท่านก็มีเหมือนเราเช่นนี้ ตาธรรมกาย มีญาณ ของธรรมกาย มีดวงวิญญาณนั่นแหละกลับเป็นดวงญาณใหญ่โตมโหฬาร ใหญ่โตขึ้น ดวงใส เท่าดวงตาดำ ข้างในแหละที่มีความรู้อยู่ในใจนี้แหละเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ พอไปเป็น ธรรมกายเข้าแล้วกลับเป็นดวงญาณทีเดียว วัดผ่าเส้นศูนย์เท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงญาณ เท่าหน้าตักธรรมกาย นั้นแหละเรียกว่า จกฺขุกรณี เห็นเป็นปกติ เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็น อะไร เห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ในมนุษย์โลกนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ของมนุษย์ละเอียด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ ของกายทิพย์ละเอียด เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด, อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ของ 8 กายนี้ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นจริง เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็นไม่เที่ยงจริงๆ เห็นจริงอย่างนี้ ตามนุษย์เห็นไม่ได้ ตา 8 กาย ในภพนี้เห็นไม่ได้ กายมนุษย์ก็ไม่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายมนุษย์ละเอียดก็ไม่เห็น กายทิพย์ก็ไม่เห็น กายทิพย์ละเอียดก็ไม่เห็น กายรูปพรหมก็ไม่เห็น กายรูปพรหมละเอียด ก็ไม่เห็น อรูปพรหมก็ไม่เห็น อรูปพรหมละเอียดก็ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นไม่ได้ ตามันไม่ดี ตามันไม่ถึงขั้นที่จะได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำไมไม่ถึงขนาดเล่า ก็มัน ขั้นสมถะนี่กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด นี่มันขั้นสมถะ แต่รูปฌาณ เท่านั้น เลยไปไม่ได้ พอถึงกายธรรมมันขั้นวิปัสสนา ตาพระพุทธเจ้าท่านก็เห็นเบญจขันธ์ ทั้ง 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แท้ๆ เห็นจริงๆ จังๆ อย่างนั้นละ เห็นแท้ทีเดียว เห็นชัดๆ ไม่ได้เห็นด้วยตากายในภพ เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยฌาณธรรมกาย เห็นด้วยตาพระ พุทธเจ้า รู้ด้วยญาณพระพุทธเจ้า เห็นอย่างนี้แหละเห็นด้วยตาของพระตถาคตเจ้า รู้ด้วย ญาณของพระตถาคตเจ้า ธรรมกายนั่นเป็นตัวของพระตถาคตเจ้าทีเดียว ไม่ใช่อื่น เห็นชัด อย่างนี้นี่แหละ เห็นอย่างนี้แหละเขาเรียกวิปัสสนา เห็นเบ็ญจขันธ์ทั้ง 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เห็นเป็นอนิจจังน่ะเห็นอย่างไร เห็นตั้งแต่กายมนุษย์เกิด กายมนุษย์เกิดไม่อยู่ที่ เกิดเรื่อยๆ เกิดริบๆ เหมือนไฟจุดอยู่ มีไส้ มีน้ำมัน มีตะเกียง จุดมันก็ลุกโพลง เราเข้าใจ ว่าไฟดวงนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ ไอ้กายมนุษย์มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ แต่ตาธรรมกายไม่ เห็นอย่างนั้น เห็นไฟเก่าหมดไป ไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมา ไฟเก่าหมดไปไฟใหม่เดินเรื่อย ขึ้นมา แล้วก็เอามือคลำดูข้างบน ก็รู้ ร้อนวูบๆๆๆ ไป อ้อ! ไฟใหม่เกิดเรื่อย กายมนุษย์นี้ก็ เช่นเดียวกัน ไอ้เก่าตายไป ไอ้ใหม่เกิดเรื่อย หนุนไม่ได้หยุดเหมือนไฟ เหมือนดวงไฟ อย่างนั้นแหละ ไม่ขาดสาย มันเกิดหนุนอย่างนั้น นั่นเห็นขนาดนั้น เห็นเกิดเห็นตายเรื่อย เกิดแล้วก็ตายไป เกิดแล้วก็ตายไป ไม่มีหยุดละ เหมือนกันหมดทั้งสากลโลก เห็นทีเดียวว่า มีแต่เกิดกับดับ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมมีความเกิดเสมอ สิ่งทั้งปวงมีเกิดเสมอ มีความดับเสมอ มีเกิดกับดับ 2 อย่างเท่านั้น หมดทั้งสากลโลก เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกายจริงๆ อย่างนี้ นี้ทำวิปัสสนา เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้

    ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ก็แบบเดียวกัน สมุปาทยธมฺมํ เห็นตลอดขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12, แปดดวงนี้เห็นตลอด หมด เห็นจริงเห็นจังทีเดียว เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกาย รู้ชัดอย่างนี้ นี้เรียกว่า สํวตฺตติ ย่อมเป็นด้วยพร้อม อุปสมาย เพื่อความสงบเมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่มี สงบหมด หายไปหมด เงียบฉี่เชียว ที่ยินดีถอนไม่ออก เงียบฉี่ เชียว อภิญฺญาย รู้ยิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง สมฺโพธาย รู้พร้อมรู้จริงทุกสิ่งทุกอย่าง นิพฺพานาย ดับหมด ราคะ โทสะ โมหะ ดับหมด ปรากฏอย่างนี้ ดังความจริงอย่างนี้ นี่ที่ไปถึง พระตถาคตเจ้าอย่างนี้ ไปถึงธรรมกายเช่นนี้ ไม่ได้ไปทางอื่นเลย ไปทางปฐมมรรค ไปกลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ดวงศีลคืออะไร ดวงศีลนะคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว อริยมรรค 3 องค์ นั้นเรียกว่าดวงศีล ดวงสมาธิ : สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อริยมรรคอีก 3 องค์ ดวงปัญญา : สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นแปด องค์ในอริยมรรคนั้นทั้งสิ้นอยู่ในนั้น จึงได้ เข้าถึงธรรมกายนี้ได้ ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แท้ๆ นี้แหละ ให้แน่วแน่ลงไว้ เราก็ เกิดมาประสพพบพระพุทธศาสนา พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ไม่ได้ถึงตัวจริงของ ศาสนาไม่ได้ มีตัวจริงศาสนา นี่แก่นศาสนาอยู่ในตัวของเราเป็นลำดับของกายเข้าไป อย่าไปทางอื่นนะ ไม่ได้ ต้องไปทางหยุดทางเดียว จะยุ่งยากอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าให้ถึง หยุด ให้ถูกส่วน หยุดให้เข้ากลาง หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา ทำตามที่พระองค์ รับสั่งไว้ในปฐมเทศนา ให้แน่นอนอย่างนี้ จะได้เข้าถึงตัวจริงเช่นนี้ ถ้าเข้าถึงตัวจริงเช่นนี้แล้ว ก็พึงรู้ อ้อ! ที่แสดงมานี้ เว้นเสียจากที่สุดทั้ง 2 สิ่ง ไม่เสพที่สุดทั้ง 2 นั้น เดินตามมัชฌิมาปฏิปทาไป ทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ไปเป็นลำดับนั้น จึงเข้าถึงตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นตถาคตเจ้าแท้ๆ ดังที่ได้แสดงมานี้ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ผู้มีปรีชาญาณ มนสิการกำหนดไว้ในใจทุกคน ทุกถ้วนหน้า

    วันนี้เป็นวันปีใหม่ ได้แสดงปฐมเทศนา พระองค์ทรงตรัสเทศนาเป็นเบื้องต้น เป็น ทีแรกเรียกว่าปฐมเทศนา พอเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท คฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ว่าเราท่านทั้งหลายผู้เป็นเมธีมีปัญญาต้องการสิ่งที่เป็นมงคล ต้องการความเจริญแล้ว ตั้งใจ ให้แน่แน่ว ให้ถึงพระรัตนตรัย วันนี้เป็นวันใหม่ ชั่วร้ายด้วยกายวาจาใจตัดขาด อย่ากระทำ ทำใจให้หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำทางพระพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมา มนุษย์แท้ๆ ถึงจะ ไม่เข้าใจ อย่างดีมนุษย์ธรรมดาเห็นจะดีกว่าค้างคาวแน่ ฟังเทศน์เอาบุญกัน ไม่ฟังเทศน์เอา เรื่องเอาราวกัน คนแก่คนเฒ่าเป็นอย่างนั้น คนที่สนใจฟังธรรมจริงๆ เรียนธรรมจริงๆ รู้ธรรม จริงๆ เป็นอีกพวกหนึ่ง ต้องเรียนเอาเรื่องเอาราวกันจริงๆ จึงจะปฏิบัติธรรมกันในพระพุทธศาสนาได้ ดังนี้

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ เป็นตำรับตำราแน่นอนในทางพระพุทธศาสนา ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สิ่งอื่น ไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย สรณํ เม รตนตฺตยํ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอัน ประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ มาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา ขอ สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973


    lphor_tesna_vn-jpg.jpg





    สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง


    28 กุมภาพันธ์ 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพ ว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในเรื่องสมาธิ ซึ่งเป็นลำดับอนุสนธิมาจากศีล ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ และโดยปริยายเบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่าก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำ โดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกัน ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จะแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่าน ผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนาในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับต่อไป

    มีคำปุจฉาวิสัชชนาว่า กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง

    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า

    อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำสละอารมณ์เสียแล้ว ลภติ สมาธึ ย่อมได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง เอวํ โข เหฏฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ

    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า

    อิธ ภิกฺขุ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่ 1 เป็นไปด้วยกับวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบเสียซึ่งวิตกวิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้ อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส จิตผ่องใสในภายใน เอโกทิภาวํ ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน ความเพ่งที่ 2 ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติสุขเกิดแต่วิเวก วิเวกชํ มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่ 2

    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ปราศจากความปีติ อุเปกฺขโก จ วิหรติ มีอุเบกขาอยู่ 1, สโต จ สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ 1, สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ เสวยความสุขด้วยนามกาย 1, อริยา อาจิกฺขนฺติ อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่ง ตติยฌาน ความเพ่งที่ 3 อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ เสวยสุขอยู่ มีสติอยู่เป็นอุเบกขา ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน เป็นความเพ่งที่ 3 อย่างนี้แหละ

    สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้แล้ว ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา สงบสุขทุกข์อันมี ในก่อนเสีย สงบความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ เข้าถึงซึ่ง จตุตถฌาน ความเพ่งที่ 4 ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความ ของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไป เป็นข้อที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน

    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ถือเอาความตามพระบาลีนี้ ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่า พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง 6 ไม่ได้เกี่ยวแก่ ใจเลย เรียกว่าปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธึ นั่นแหละสมาธิล่ะ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มี สองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ

    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง บาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา “วิตก” ความตรึกถึงฌาน “วิจาร” ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่มใจ “ปีติ” ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่า ปีติ “สุข” มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชํ ประกอบ ด้วยองค์ 5 ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ 5 ประการ นี้ปฐมฌาน

    ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบวิตกวิจารเสียได้ ความตรึกความตรอง ตรวจตราไม่มี สงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ระคนด้วยองค์ 3 ประการ คือ ปีติ สุข เกิดแต่สมาธิเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุติยฌาน

    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ระคนด้วยองค์ 2 ประการ คือ สุข เกิดแต่สมาธิหรือ “สุข” “เอกัคคตา” อย่างนี้ ก็ได้ เพราะเกิดแต่สมาธิ

    ระงับสุข สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือดับความดีใจ เสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึงจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ระคนด้วยองค์ 2 ประการ มีสติ บริสุทธิ์ วางเฉย อยู่สองประการเท่านั้น ที่จับตามวาระพระบาลี ได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติ แท้ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ

    ส่วนสมาธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน ในทางปฏิบัติละก้อ มีรสมีชาติดีนัก สมาธิในทาง ปฏิบัติ ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงแบบเดียวกัน

    อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ กระทำอารมณ์ทั้ง 6 รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสารมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร เหมือนคนที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับ มีอารมณ์เข้าไปติดอยู่ รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คันธารมณ์บ้าง ที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต รสารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็น ของเก่าของใหม่ ของปัจจุบัน หรือธรรมารมณ์บ้างที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และ ที่จะเกิดต่อไป อารมณ์เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยังรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไปติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสียนอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็ เรียกว่าสละอารมณ์ไม่ได้

    เมื่อสละอารมณ์ได้ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่ง บางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทาง เห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางกายมนุษย์นี่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียว นิ่งหยุด ดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็น นี้เป็นทางปฏิบัติ กายมนุษย์ละเอียดมันเห็น ไม่ใช่กายมนุษย์คนหยาบนี่ กายมนุษย์ละเอียดที่มันฝันออกไป กายมนุษย์คนนั้นแหละมันเห็น มันอยู่ในกลางดวงนั่นแหละ มันเห็นดวงจิตบริสุทธิ์สนิทหลุดจากอารมณ์ดังนี้ ไม่มีอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลยทีเดียว เป็นดวงจิตใสเหน่งอยู่นั่นแหละ เหมือนไข่แดง แต่ว่ามันไม่ใสอย่างไข่แดงหรอก ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้า ใสเหน่งทีเดียว ตากายมนุษย์ละเอียดมันเห็น เพราะว่ามันก็รู้ว่าดวงจิตของมนุษย์ เวลานี้ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทั้ง 6 เลย อารมณ์ทั้ง 6 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลย หลุดจากกันหมด เห็นอย่างนี้เรียกว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ มันก็นิ่ง นิ่งแน่นอนอยู่กับดวงจิต มั่นไม่คลาดเคลื่อน ดวงจิตนั่นก็ซ้อนอยู่กับดวงจำ ดวงเห็น ดวงวิญญาณก็ซ้อนอยู่ในกลาง ดวงจิตนั่นแหละ ทั้ง 4 อย่างนี้ซ้อนไม่คลาดเคลื่อนกันเป็นจุดเดียวกันนั่นแหละ ไม่ลั่นลอดจากกัน เป็นก้อนเดียวชิ้นเดียวอันเดียวทีเดียว เห็นชัดๆ อย่างนี้เรียกว่าสมาธิในทางปฏิบัติแท้ๆ อย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ถึง เอกคฺคตา ได้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง จิตดวงนั้นแหละ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว ไม่มีสอง ไม่มีเขยื้อน แน่นแน่ว เหมือนอย่างกับน้ำที่ใส่ไว้ในแก้วตั้งไว้ ในที่มั่น ไม่มีลมพัดมาถูกต้องเลย ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว อยู่ทีดียว หยุดอยู่กับที่ทีเดียว นั้นได้ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งขนาดนั้น นั่นได้สมาธิอย่างนี้ เรียกว่าได้สมาธิแล้ว แต่ว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ อย่างนี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่สมาธิ โดยปริยายเบื้องสูง

    สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้ สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง 40 แต่ว่า 40 ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย 8 เหลืออีก 32 นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

    สมาธินอกพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนา นั่น กสิณ 10, อสุภะ 10, อนุสสติ 10 เป็น 30 แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา, จตุธาตุววัตถาน เป็น 32 นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติ ก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ

    ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น

    ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของหยุดนั้น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา (8 ศอก) หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละขึ้น นั่งอยู่กลางดวงนั้น

    เมื่อกายมนุษย์ละเอียดขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้นแล้ว นี่เนื่องมาจากดวงนั้นนะ ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวอีก นี่เป็นสมาธิทำไว้แล้วน่ะ แต่ว่าไม่ใช่ดวงจิตมนุษย์คนโน้น เป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นปรากฏทีเดียว มันก็นั่งนิ่งอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็เอาใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวนั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่ขึ้นมาเสียชั้นหนึ่งแล้ว พ้นจากกายมนุษย์หยาบขึ้นมาแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็นั่งอยู่กลางดวงฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก (2 วา) กลมรอบตัวเป็นวงเวียนหนาคืบหนึ่ง จะไปไหนก็ไปได้แล้ว เข้าฌานแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว เมื่อเข้าฌานเช่นนั้นแล้วก็คล่องแคล่ว จะไปไหนก็คล่องแคล่ว เมื่อเข้าฌานเข้ารูปนั้นแล้ว เกิดวิตกขึ้นแล้วว่านี่อะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ ไม่เคยพบเคยเห็น เกิดวิตกขึ้น ตรึกตรองทีเดียว ลอกคราบลอกคูดู วิจารก็เกิดขึ้นเต็มวิตกก็ตรวจตรา สีสันวรรณะ ดูรอบเนื้อรอบตัว ดูซ้ายขวาหน้าหลัง ดูรอบตัวอยู่ ตรวจตราแน่นอนแล้ว เป็นส่วนของความตรวจตราแล้ว เกิดปีติชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ เต็มส่วนของปีติเข้ามีความสุขกายสบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉยเกิดแต่วิเวก ใจวิเวกวังเวง นิ่งอยู่กลางดวงนั่น นี่เต็มส่วนขององค์ฌานอย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้วอย่างนี้ เรียกกายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานอยู่กลางดวงนั่น นี่สมาธิในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้ แต่ว่าขั้นสูงขึ้นไป เมื่อตัวอยู่ในฌานนี้ ยังใกล้กับของหยาบนัก

    เราจะทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ใจกายละเอียดก็ขยาย ใจขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กลางกายนั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น นิ่งหนักเข้าๆๆๆ พอถูกส่วนเข้า เกิดขึ้นมาอีกดวงเท่ากัน นี่เรียกว่า ทุติยฌาน พอเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้วละก็ กายทิพย์ทีเดียว กายทิพย์ละเอียดทีเดียวเข้าฌาน ไม่ใช่กายทิพย์หยาบล่ะ กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานอีก แบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เข้าฌาน อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌานทีเดียว นั่งอยู่กลางดวงอีกแบบเดียวกัน ชนิดเดียวกัน นั่งอยู่กลางดวงอีก ทีนี้ ไม่มีวิตกวิจาร ละวิตกวิจารเสียแล้ว เหลือแต่ปีติ ชอบอกชอบใจ มันดีกว่าเก่า ใสสะอาดดีกว่าเก่ามาก ปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อปลื้มอกปลื้มใจเช่นนั้น เต็มส่วนของความปีติก็เกิดความสุขขึ้น เต็มส่วนของความสุข เข้าใจก็นิ่งเฉย นิ่งเฉยอยู่ในอุราเรียกว่า อุเบกขา นิ่งเฉยอยู่กลางนั่น นี่กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็นึกว่าใกล้ต่อกายมนุษย์ละเอียด ที่ละเอียดกว่านี้มีอีก

    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็ขยายจากฌานที่ 2 ใจก็นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวดังเก่า ต่อไปอีก ของกายทิพย์ละเอียดต่อไปอีก กลางดวงจิตนั่น พอถูกส่วนเข้า ฌานก็ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเท่ากัน ดวงเท่ากันแต่ใสกว่านั้น ดีกว่านั้น วิเศษกว่านั้น คราวนี้กายรูปพรหมขึ้นมาแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌานนั่น แต่ว่าอาศัยกายรูปพรหมหยาบนั่งนิ่งอยู่กลางดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ เป็นสุข เอกคฺคตา ก็นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั่น มีองค์ 2 เต็มส่วน รับความสุขของตติยฌานนั่นพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็นึกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก

    ใจกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจิตจากตติยฌาน นิ่งอยู่ในกลางดวงจิตของตัวนั่น ใส อยู่นั่น กลางของกลางๆๆๆๆๆ ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่ 4 เข้าถึงจตุตถฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอาศัยกายอรูปพรหมหยาบ และกายอรูปพรหมละเอียดเข้าจตุตถฌาน กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตุตถฌานไป เมื่อเข้าจตุตถฌานหนักเข้าเป็นอุเบกขา กายอรูปพรหม เมื่อเข้าฌานนี้มีแต่ใจวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น มีสติวางเฉยบริสุทธิ์เป็น 2 ประการ พอถูกหลักฐานดีแล้ว เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนดังนี้แล้ว ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด อยู่ศูนย์กลางดวงจตุตถฌานนั้น จะเข้าอรูปฌานต่อไป เข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ต่อนี้ไปใช้กายรูปพรหมละเอียดไม่ได้ ใช้กายอรูปพรหม ใช้กายอรูปพรหมกายเดียวเข้าฌานเหล่านั้น นี้เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌานนอกภพ ฌานทั้ง 4 ประการนี้แหละเป็นสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ปฏิเวธ ที่ปรากฏชัด ตามส่วนของตนๆ มารู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัวปฏิเวธทั้งนั้น เมื่อเข้าถึงฌานที่ 1 ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เข้าถึงฌานที่ 2 ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่อีก รู้เห็นปรากฏชัด เมื่อเข้าถึงฌานที่ 3 ก็เป็นปฏิเวธอีก ปรากฏชัดด้วยตาของตัว เข้าฌานที่ 4 ก็เป็นปฏิเวธอีก เป็นปฏิเวธทั้งกายมนุษย์ เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่อีก เข้าถึงกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด ส่วนอรูปพรหมเป็นของละเอียด ส่วนจตุตฌานก็เป็นของละเอียดแต่ว่าเกี่ยวกัน ที่จะเข้าอรูปฌานต้องเริ่มต้นแต่รูปฌานนี้ พอเข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ใช้กายอรูปพรหมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้แล สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

    แสดงมาโดยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้.
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    lphor_tesna_vn-jpg-jpg.jpg




    ปัญญาเบื้องต่ำและปัญญาเบื้องสูง


    4 มีนาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยาติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ ภิกฺขุ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในทางปัญญา ในวันมาฆบูชา ทางปัญญาเป็นขั้นปลายของศีล สมาธิ แต่ในวิสุทธิมรรค ในอัฏฐังคิกมรรค ได้แสดงปัญญาไว้เบื้องต้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป แสดงศีลไว้ในท่ามกลาง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว แสดงสมาธิไว้ในเบื้องท้าย สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ย่อลง ศีลอยู่เบื้องกลาง สมาธิอยู่เบื้องปลาย ปัญญาอยู่เบื้องต้น แต่ในลำดับของเทศนาอื่น พระองค์ทรงตรัสเทศนา ทรงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง ปัญญาเป็นเบื้องปลาย ที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา เป็นปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในครั้งนั้น ทรงตรัสเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เพราะปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เป็นผู้ชำนาญดีแล้วในเรื่องศีล สมาธิ แต่ว่าไม่ฉลาดในทางปัญญา ยังไม่คล่องแคล่วในทางปัญญา พระศาสดาทรงเห็นเหตุนั้น เป็นผู้รู้แล้วเห็นแล้ว จึงได้ทรงแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ทีเดียว เมื่อแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้งแล้ว ก็กลับมาแสดงศีลโดยปริยายท่ามกลาง สมาธิเป็นเบื้องปลายไป ครั้นจะไม่มาแสดงเรื่องศีล สมาธิ ก็จะแตกแยกกันไป หาเข้าเป็นแนวเดียวรอยเดียวกันไม่

    เพราะพุทธศาสนามีศีลเป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็นท่ามกลาง มีปัญญาเป็นเบื้องปลาย แม้พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปกระทำปฐมสังคายนา ก็เลยประชุมสงฆ์ทั้ง 500 พร้อมกัน พระมหาอริยกัสสปได้แสดงในที่ประชุม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า อิธ ภิกฺขุ ผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นความดับทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาอย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ และปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงเป็นลำดับไป

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ยกอริยสาวกขึ้นเป็นตำรับตำรา ก็เพราะพระอริยสาวกมีความไม่ยักเยื้องแปรผันแล้ว มีความรู้ความเห็นที่แน่นอนแล้ว ยกพระสาวกของพระตถาคตเจ้าตั้งแต่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค-สกิทาคามิผล, อนาคามิมรรค-อนาคามิผล, อรหัตตมรรค-อรหัตตผล 8 จำพวกนี้เป็นอริยสาวก ไม่ใช่เป็นปุถุชนสาวก ถ้าต่ำกว่านั้นลงมามีธรรมกาย แต่ว่าไม่ได้พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต อะไร นั่นสาวกชั้นโคตรภู พวกไม่มีธรรมกายมีมากน้อยเท่าใด เป็นสาวกชั้นปุถุชน เรียกว่า ปุถุชนสาวก สาวกที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลส ที่เป็นโคตรภูบุคคลน่ะ ปรารภจะข้ามขึ้นจากโลก จะเข้าเป็นอริยสาวกล่ะ เป็นอริยสาวกก็ไม่ใช่ เป็นปุถุชนก็ไม่เชิง ถ้ากลับมาเป็นปุถุชนก็ได้ เข้ากลับเป็นอริยสาวกก็ได้ ทั้งสองอย่างนี้เรียกว่าโคตรภู ท่านเหล่านั้นเป็นโคตรภู

    เพราะว่า ที่ท่านยกว่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เอาความเห็นความรู้ที่ตายตัวกัน ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ปัญญาที่แสดงแล้วน่ะ ที่แสดงนี่แหละ คำว่าปัญญานี้น่ะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ถ้าให้ฟังไปร้อยปีว่าปัญญาน่ะอะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร โตเล็กเท่าไหน อยู่ที่ไหน กลม แบน ยาว รี สี่เหลี่ยม อย่างไรกัน เอาเถอะ หมดทั้งประเทศไทย ถ้าว่าเข้าดังนี้ละก็ ไม่รู้เรื่องกันทีเดียวแหละ ได้ยันกันป่นปี้ เหตุนี้ ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ปัญญานี้ประสงค์อะไร ประสงค์ว่า อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามนั้นว่า ปิฎกทั้ง 3 วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เราจะยกปิฎกใดขึ้นก่อนจึงจะสมควร พระอรหันต์ทั้งหลายก็พร้อมกันว่าวินัยปิฎกเป็นข้อสำคัญอยู่ ถ้าว่าวินัยปิฎกยังครบถ้วน ผ่องใสแล้ว ศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองเพราะอาศัยวินัยปิฎก เมื่อจบวินัยปิฎกพระอริยกัสสปก็ถามอีก ในปิฎกทั้ง 2 คือสุตตันตปิฎกกับปรมัตถปิฎก ใครจะเป็นผู้วิสัชชนา ตกลงให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นพหูสูต พระองค์ทรงตั้งไว้เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าสาวกในพระพุทธศาสนา ให้วิสัชนาในสุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎกทั้งสองนี้ แต่ว่า ปรมัตถปิฎกเป็นข้อสำคัญ เป็นทางปัญญา วินัยปิฎกน่ะเป็นศีล สุตตันตปิฎกเป็นสมาธิ

    ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง 3 นี้จะเคลื่อนมิได้เลย เพราะศีลมีหน้าที่สำหรับปราบปรามชั่วด้วยกาย วาจา ฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม มุสาวาท ชั่วด้วยกายนี้ต้องอาศัยศีลสำหรับปราบความชั่ว อันนี้ ไม่ให้เข้าไปแตะต้องกับกายได้ ให้กายสะอาดผ่องใส ถ้าไม่มีศีลแล้วละก็ ปราบความชั่วด้วยกายอย่างนี้ไม่ได้ ฝ่ายสมาธิก็สำหรับปราบความชั่วทางใจ ความเกียจคร้านไม่ให้มีทางใจ หรือความพลั้งเผลอไม่ให้มีทางใจ หรือความไม่มั่นคงเหลวไหลลอกแลกไม่ให้มีทางใจ แก้ไขให้ใจมั่นคง ให้มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน ให้มีความเพียรอาจหาญ ไม่ครั่นคร้าม 3 อย่างนี้เป็นหน้าที่ของสมาธิ ส่วนปัญญาเล่ายังหาได้แสดงไม่ ที่แสดงแล้วนี่ทางศีลทางสมาธิ

    ปัญญาที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นตัวสำคัญนัก แต่ว่าไม่ค่อยจะได้แสดง ที่วัดปากน้ำนี่ สมภารผู้เทศน์นี้ได้มาจำพรรษาอยู่วัดปากน้ำนี้ 37 พรรษาแล้ว แต่ว่าในทางปัญญาไม่ค่อยแสดงมากนัก แสดงในศีล สมาธิ เป็นพื้นไป ทีนี้ตั้งใจจะแสดงในทางปัญญา ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยชอบนั้น โดยปริยายเบื้องสูงบ้าง จึงได้มีปุจฉาวิสัชนาเป็นลำดับไปว่า กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉนเล่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ปญฺญวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีปัญญา อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต เป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ ปัญญาที่รู้ความเกิดความดับนั่นเป็นตัวสำคัญ ปัญญาน่ะมีแต่รู้ ไม่ใช่เห็น ปัญญาที่เป็นแต่รู้ แต่เขาว่าเห็นด้วยปัญญา เห็นปัญญาไม่มีดวงตานี่ ถ้ามีดวงตาค่อยพูดเห็นกัน นี่ปัญญาจะมีดวงตาอย่างไร ไม่มีดวงตา แต่ว่าแปลกประหลาดอัศจรรย์เหลือเกิน เมื่อถึงพระอริยบุคคลแล้ว เป็นธรรมกายแล้ว ถ้ามารไม่ขวางนะ ความเห็นของตาไปแค่ไหน ความรู้ของทางปัญญาก็ไปแค่นั้น ความจำก็ไปแค่นั้น ความคิดก็ไปแค่นั้น

    ความรู้ ความคิด ความจำ ความเห็น 4 อย่างนี้แหละ 4 อย่างนี้เขาเรียกว่า ใจ 1 ความเห็น 2 ความจำ 3 ความคิด 4 ความรู้ 4 อย่างนี้แหละ หยุดเข้าเป็นจุดเดียว ซ้อนเป็นจุดเดียวเข้า เรียกว่า “ใจ” ดวงรู้มันซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ ดวงจำซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น มันเป็นชั้นๆ กันอย่างนี้ 4 อย่างนี้แหละ รวมเข้าเรียกว่าใจ ถ้าแยกออกไปละก็ เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกาย จำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิดนั่น ย่อมลงมาเท่าดวงตาดำข้างใน นั่นมีหน้าที่รู้ เรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั่น ดวงจิตเท่าลูกตานั่นดวงใจ เท่ากับเบ้าตานั่นดวงเห็น หมดทั้งร่างกายมี 4 อย่างเท่านี้ มี 1) ดวงเห็น ครอบอยู่ข้างนอกดวงจำ 2) ดวงจำ อยู่ข้างนอกดวงคิด 3) ดวงคิด อยู่ข้างนอกดวงรู้ 4) ดวงรู้ อีกดวงอยู่ข้างในดวงคิด เห็น จำ คิด รู้ 4 อย่างนี้แหละเป็นตัวสำคัญล่ะ

    เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง 4 อย่างนี้มาจากไหน ที่ตั้งของมันอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ดวงนั้น เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แท้ๆ กายมนุษย์จะเป็นอยู่ได้ก็เพราะอาศัยธรรมดวงนั้น ถ้าธรรมดวงนั้นไม่มีแล้วละก็ กายมนุษย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ดับ ถ้าธรรมดวงนั้นยังมีปรากฏอยู่ละก็ มนุษย์ไม่ดับ เป็นมนุษย์ปรากฏอยู่เหมือนกัน จะแก่เฒ่าชราช่างมัน พอดวงนั้นดับมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้ ต้องดับกัน ถ้าธรรมดวงนั้นผ่องใส มนุษย์ก็รุ่งโรจน์ผ่องใสเหมือนกัน ถ้าธรรมดวงนั้นขุ่นมัวเสีย มนุษย์ก็ซูบเศร้าไปไม่ผ่องใส ดวงนั้นเป็นสำคัญ ดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของเห็นของจำ ของคิด ของรู้ ดวงเห็นก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่อยู่ข้างนอก ดวงจำก็อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้ก็อยู่ข้างในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ในกลางของดวงคิดอีกทีหนึ่ง 4 ดวงอยู่นั่น ต้นเหตุอยู่นั่น ที่ออกมาปรากฏที่กายมนุษย์ก็ดี ที่หัวใจมนุษย์นี่ก็ดี ออกมาปรากฏอยู่เป็นดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ข้างนอกนี้ นี่เป็นดวงหยาบ นี่เป็นชั้นเป็นต้นเป็นปลาย นี่เป็นรากเง่า อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ในกลางดวงนั้นแท้ๆ

    อ้าย 4 ่ดวงนั้นแหละเรียกว่า ใจ ถ้าว่าหยุดเป็นจุดเดียวกันละก็ เอาละ ท่านยืนยันสมาธิมาแล้ว สมาหิตํ ยถาภูตํ ปชานาติ จิตตั้งมั่น หยุดเป็นจุดเดียวกัน รู้ตามความเป็นจริงทีเดียว ถ้าว่าไม่ตั้งมั่นก็ไม่เรียกว่าเป็นสมาธิ ตั้งมั่นแล้วก็เป็นสมาธิ นี่ได้แสดงมาแล้ว สมาธินี่แหละเป็นต้นของปัญญา ปัญญาที่จะมีขึ้นก็เพราะอาศัยสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ เข้าถึงสมาธิไม่ได้ก่อน มีปัญญาไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวสำคัญ เป็นปลาย เป็นของละเอียดมากทีเดียว ผู้ที่มีปัญญาเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ผู้ที่มีปัญญาต้องเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ปัญญาเป็นดวงอยู่ ปัญญาที่เป็นดวงอยู่นั่น จะต้องพูดให้กว้าง แสดงให้กว้างออกไป จึงจะเข้าเนื้อเข้าใจกันแท้ๆ ปัญญาเป็นดวงปลาย

    ธรรมในพระพุทธศาสนามีอยู่ 5 ดวง ถ้าว่าจะกล่าวถึงองค์ มี 10 ทสหิ องฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ 10 ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ องค์ 10 คืออะไร สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่ 8 องค์แล้ว สัมมาญาณ เป็นองค์ที่ 9 สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ 10 นี่มี 10 อย่างนี้ เมื่อผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ 10 ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ต้องมี 10 องค์ อย่างนี้จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าไม่เข้าถึงองค์ 10 อย่างนี้ เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ 8 องค์ย่อลงเป็น 3 สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นปัญญาไป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นศีลไป สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิไป ก็รวมว่าศีลอยู่กลาง สมาธิอยู่ปลาย ปัญญาอยู่ต้น แต่ว่าเมื่อมาถึงพระสูตรนี้เข้า ปัญญาอยู่ข้างปลาย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา องค์ 10 ย่อลงเหลือ 5 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นี่แหละหลักพระพุทธศาสนาละ

    ศีลน่ะ อยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ศีลถ้าว่าจะกล่าวตัวจริงละก็ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนั่นแหละ อยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด นี้แหละเป็นที่ตั้งของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้งนั้น ตลอดขึ้นไป 18 ดวง

    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด 8 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด [รวมเป็น] 10 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา-กายพระโสดาละเอียด [รวมเป็น] 12 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคา-กายพระสกิทาคาละเอียด [รวมเป็น] 14 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา-กายอนาคาละเอียด [รวมเป็น] 16 กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต-กายพระอรหัตละเอียด [รวมเป็น] 18 กาย
    มีดวงธรรมทั้งนั้น ดวงโตขึ้นไปเป็นลำดับ เมื่อถึงธรรมกายโคตรภู ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้วดวงธรรมจะมีขนาดเท่าหน้าตักธรรมกาย ตลอดจนกระทั่งถึงเป็นพระอรหัต พระอรหัตหน้าตัก 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใส ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว อยู่ศูนย์กลางกายพระอรหัตนั้น นี่ให้รู้จักหลักนี้ก่อน

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในกลางดวงนี้ ดวงศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ดวงสมาธิก็อยู่ศูนย์กลางดวงศีลนั่นแหละ ดวงเท่าๆ กัน ดวงปัญญาก็อยู่ศูนย์กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงวิมุตติก็อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญานั่นแหละ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ กายมนุษย์ละเอียดก็อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น ถ้าต้องแสดงให้กว้างออกไปกว่านี้ ให้เข้าใจปัญญาชัดๆ อย่างนี้ละก็ จนกระทั่งถึงพระอรหัต ก็จะเข้ารู้จักปัญญาชัดๆ อย่างนี้ว่าปัญญามีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร

    เมื่อรู้จักดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา เช่นนี้แล้ว

    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะอีก เข้าถึงกายทิพย์
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เดินแบบเดียวกันนี้ทั้ง 18 กาย เดินไปแบบเดียวถึงพระอรหัตทีเดียว
    นั่นแหละต้องเดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะทั้งนั้น เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละเป็นหนทางนี่ ไม่ใช่ธรรมนี่ บอกเป็นหนทางนี่ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค หนทางมีองค์ 8 ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ก็พูดถึงหนทางนี่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทาง ถ้าว่าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีทางไป ไปนิพพานไม่ถูก ถ้าจะไปนิพพานให้ถูก ต้องไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนี่

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้จะแสดงในเรื่องปัญญา ดวงปัญญาของมนุษย์ก็ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ของมนุษย์ละเอียด ทิพย์-ทิพย์ละเอียด รูปพรหม-รูปพรหมละเอียด โตเป็นลำดับขึ้นไป ของอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด โตหนักขึ้นไป แต่ว่าถึงเป็นลำดับขึ้นไปเท่าไร ก็ยังไม่ถึงเท่ากายธรรม กายธรรมใหญ่มาก ดวงปัญญานั้นขนาดไหน ปัญญาน่ะออกจากดวงนั้น ธรรมดวงนั้นของปุถุชน ปัญญาของปุถุชนมัว ความเห็นมัวไม่ชัดนัก คล้ายๆ เปลือกๆ ปัญญา ไม่ได้ใช้กำเนิดของปัญญา ไม่ได้ใช้ปัญญาที่เป็นแก่น ใช้ปัญญาที่เป็นเปลือกๆ เท่านั้น ปุถุชนใช้ปัญญาผิวๆ เผินๆ ตัวเองก็ไม่เห็นปัญญา ไม่รู้จักว่ามันอยู่ที่ไหน และก็ไม่รู้จักว่ารูปพรรณสัณฐานมันเป็นอย่างไร เพราะไม่เห็น เพราะทำไม่เป็น พอทำเป็นแล้วจึงเห็น ทำเป็นน่ะเห็นปัญญาทีเดียวว่า ดวงโตเท่านั้นเท่านี้ อยู่ที่นั่นที่นี่ ใช้ถูกทีเดียว ถ้าว่าทำไม่เป็นแล้วไม่เห็นปัญญา เป็นแต่รู้จักปัญญาเท่านั้น ไม่เห็นมัน ปัญญาที่ว่า อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีปัญญา ปัญญานั่นดวงนั้นแหละ ประสงค์ดวงนั้น เรียกว่ามีปัญญาละ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิดความดับ ปัญญาก็ไม่ได้ดูอื่นนี่ ปัญญาน่ะมองดูแต่ความเกิดดับเท่านั้นแหละ หมดทั้งสากลโลกมีเกิดกับดับเท่านั้น รู้ชัดปรากฏชัดอยู่ว่าเกิดดับๆๆ เท่านั้น มีเกิดกับดับ ทั้งรู้ทั้งเห็นชัดทีเดียว เห็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น รู้อย่างไรก็เห็นอย่างนั้น เห็นกับรู้ ตรงกัน แต่ว่าเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ ตั้งต้นแต่มนุษย์ถึงรูปพรหมอรูปพรหม เห็นไม่ถนัดนักหรอก เห็นรัวๆ ไม่ชัดนัก เพราะเป็นของละเอียด เห็นความเกิดดับจริงๆ ตามนุษย์เรานี่ก็เห็น เอาไปเผาไฟเสียออกย่ำแย่เชียว ทิ้งน้ำ ฝังดิน เกิดดับๆ ทั้งนั้นแหละ หมดทั้งสากลโลก ตึกร้านบ้านเรือน ต้นไม้ ภูเขา สิ่งที่เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับ หมดทั้งนั้น เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้แหละ ไม่ใช่เห็นพอดีพอร้าย เราก็รู้ด้วยเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด รู้ชัดทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนปลาย รู้ได้ถี่ถ้วนดีทีเดียว นี้เรียกว่าปัญญา

    ปัญญาที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ ก็รู้เรื่องเหมือนกัน จะสิ้นไปแห่งทุกข์ด้วยวิธีอย่างไร ใช้ปัญญา แต่ว่ามัว ไม่ชัดทีเดียว เห็นโดยชอบที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันจริงแท้ หรือที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ เห็นจริงๆ รู้จริงๆ อย่างนี้ เห็นความสิ้นไป สิ้นไปแห่งทุกข์ทีเดียว ว่าทุกข์จะหมดไปได้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้ ถ้าไม่ถึงธรรมขนาดนี้ทุกข์หมดไปไม่ได้ นี้ความจริงก็รู้อยู่ชัด แต่ว่ารู้ด้วยปัญญา อย่างนี้รู้ด้วยปัญญา รู้อย่างชนิดนี้ เรียกว่า ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงนั้นขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ หมดทั้งก้อนกายเป็นตัวทุกข์แท้ๆ เกิดนี้เป็นทุกข์แท้ๆ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พวกนี้เป็นทุกข์แท้ๆ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ว่า อ้ายนี่ทุกข์แท้ๆ ทุกข์ทั้งก้อน พึงเห็นชัดว่าเป็นตัวทุกข์ทีเดียว ทุกข์แท้ๆ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ อ้ายทุกข์อันนี้เป็นผล ทำอะไรไม่ได้ เป็นทุกข์แท้ๆ ทั้งก้อนร่างกายนี้ เหตุให้มี เหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ให้รู้ชัดเห็นชัดเทียว กามตัณหา ความอยากได้ ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความไม่อยากให้มีให้เป็น นึกดูซี อยากได้อะไรเล่า ถ้าอยากได้ลูกสักคนซี เมื่อได้ แล้วเอามาทำไม เอามาเลี้ยงน่ะซี เมื่ออยากได้สัก 100 คนเล่า ให้เสีย 100 คนเทียว เอาแล้ว เห็นทุกข์แล้ว 100 ร้อยคน ต้องทำบริหารใหญ่แล้ว นี่ทุกข์แท้ๆ อยากได้ลูกนี่ อยากได้เมียสักคน อ้าวได้มาแล้ว เอามาทำไม อ้าวให้สัก 100 คนเชียว เอาอีกแล้ว เลี้ยงไม่ไหวอีกแล้ว เห็นทุกข์อีกแล้ว อ้าวอยากได้ไปซี เป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่อื่น เพราะกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อได้มาแล้ว ไม่อยากให้มันแปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ต้องแปรเป็นธรรมดา ไม่แปรไม่ได้ ต้องแปรอยู่เป็นธรรมดา เมื่อไม่อยากให้แปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ได้ฝืนกันล่ะ ได้ขืนกันล่ะ รู้ชัดๆ ซีว่าเป็นอย่างนี้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นทุกข์แท้ๆ

    ที่จะหมดไปสิ้นไป ไม่เป็นทุกข์ เราจะทำอย่างไร ต้องดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกข์เหล่านั้นจึงจะหมด ถ้าไม่ดับกามตัณหา ทุกข์ไม่หมดหรอก ถ้าดับเสียได้เป็นอย่างไร ถ้า ดับเสียได้ก็เป็นนิโรธนะซี นิโรธเขาแปลว่าดับ จะเข้าถึงซึ่งความดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องทำอย่างไร จะเข้าดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องเข้าถึงซึ่งมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง ไม่ใช่อื่น มรรคน่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง เดินไปทาง ศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์หยาบ

    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หลุดเสียแล้วกายมนุษย์หยาบ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียด หลุดไปแล้ว หมดทุกข์ไป อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ทุกข์หมด เข้ากายมนุษย์ละเอียด อย่างหยาบหมด เข้าถึงกายทิพย์ อย่างหยาบอย่างละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายรูปพรหม ส่วนโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม ส่วนราคะ โทสะ โมหะ หมด
    • เข้าถึงกายธรรม กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย หมด เข้าถึงกายธรรม เดินทาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระโสดา สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส หมด
    • เข้าถึงกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด
    • เข้าถึงกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด หมดกิเลส รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดไม่เหลือเลย เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม
    ที่พระองค์แนะนำให้รู้จักว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี วิราคธรรม เป็นยอดกว่าธรรมเหล่านั้น ถึงพระอรหัต ก็เข้าวิราคธรรมทีเดียว เป็นธรรมกายหน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่หมดทุกข์ แค่นี้หมดทุกข์ ทุกข์หมดไป สิ้นไป หาเศษ มิได้ นี่ดับทุกข์ได้จริงๆ อย่างนี้ เพราะดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าถึงวิชชา ดับ อวิชชาได้ทีเดียว นี่หลุดได้อย่างนี้นะ เมื่อหลุดได้อย่างนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในพระอรหัตยังมีไหมล่ะ ก็มีอยู่ซิ ทำไมจะไม่มีล่ะ ถ้าศีลไม่มี ท่านจะ บริสุทธิ์ได้ดีอย่างไร สมาธิมีไหมล่ะ สมาธิก็ดวงวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา ศีลก็เท่ากัน สมาธิ ก็เท่ากัน ปัญญาก็เท่ากัน นั่นแหละของพระอรหัต ท่านเรียกว่า โลกุตตรปัญญา เรียก ศีล สมาธิ ปัญญา ขั้นนั้นเป็นโลกุตตระอย่างสูง เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว พ้นจากสราคธาตุสราคธรรมไป เมื่อรู้จักชัดอย่างนี้แล้ว นี้แหละ ทางปัญญานี่แหละให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    ครั้นจะชี้แจงแสดงให้กว้างขวาง เวลาไม่จุพอ เสียงระฆังตีบอกเวลาอาราธนาให้สวด มนต์อีกแล้ว เหตุนี้ต้องย่นย่อในทางปัญญานี้ไว้พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวจฺเชน ด้วยอำนาจ ความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในเรื่องทางปัญญาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจง บังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    ?temp_hash=12a55154368771fd91e387691478c80d.jpg


    34445096_904026989805349_4479489905763811328_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    อาทิตตปริยายสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg


    25 สิงหาคม 2496

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    เอวมฺเม สุตํ. เอกํ สมยํ ภควา คยายํ วิหรติ คยาสีเส สทฺธึ ภิกฺขุสหสฺเสน. ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ. สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ. กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํ. จกฺขุํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ รูปา อาทิตฺตา จกฺขุวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ จกฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา ตมฺปิ อาทิตฺตํ. เกน อาทิตฺตํ. อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา อาทิตฺตํ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตนฺติ วทามิ. โสตํ อาทิตฺตํ สทฺทา อาทิตฺตา โสตวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ โสตสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา ตมฺปิ อาทิตฺตํ. เกน อาทิตฺตํ ฯลฯ อิมสฺมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสฺส อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ.



    ... คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนยากจนมันก็เหนี่ยวรั้งคนยากจนไปรวมกัน ... อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน อุบาสิกาก็เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน มีคล้ายๆ กันอย่างนี้ ... เช่น โลกายตนะ อายตนะของโลกในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด เพราะอยู่ในปกครองของรูปฌาน อายตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌานดึงดูดเข้ารวมกัน อตฺถิ ภิกฺขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลสแล้ว นิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้น ให้รู้หลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้ ...



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เรื่อง อาทิตตปริยายสูตร ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ชฎิล 1,000 มีปุราณกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป เป็นประธาน พระบรมศาสดาจารย์ทรงทรมานชฎิลทั้งหลายเหล่านี้ ได้ทรงทำปาฏิหาริย์มากอย่าง จะทำปาฏิหาริย์สักท่าหนึ่งท่าใด ชฎิลผู้เป็นประธาน ปุราณชฎิลนั้นก็ยังแย้งว่าสู้ของเราไม่ได้ร่ำไป จนกระทั่งหมดทิฏฐิมานะยอมรับธรรมเทศนาเชื่อต่อพระศาสดา พระองค์จึงได้ทรงแสดงธรรมเทศนาให้ชฎิลละทิฏฐิของตน พร้อมด้วยบริวารทั้ง 3 พี่น้อง เมื่อยอมรับถือตามคำสอนของพระศาสดาแล้ว เมื่อได้เวลาสมควรพระองค์ก็ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่ชฎิลทั้งหลายเหล่านั้น มีปุราณชฎิลเป็นต้น อาทิตตปริยายสูตรนี้แสดงของร้อนให้ชฎิลเข้าเนื้อเข้าใจ เพราะชฎิลทั้งหลายเหล่านั้นเคยบูชาไฟมาชำนิชำนาญ ชำนาญในการร้อน พระองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร เรื่องของร้อนทั้งนั้น

    ตามวาระพระบาลีที่ยกไว้เบื้องต้นว่า เอวมฺเม สุตํ อันข้าพเจ้าพระอานนทเถระได้สดับตรับฟังแล้วด้วยอาการอย่างนี้ เอกํ สมยํ สมัยครั้งหนึ่ง ภควา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงเสด็จประทับอยู่ ณ คยาสีสะประเทศ ใกล้แม่น้ำคยา พร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป ทรงรับสั่งเตือนพระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นว่า สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํ ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงอะไรเล่า เป็นของร้อน

    จกฺขุ ํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ นัยน์ตาเป็นของร้อน รูปา อาทิตฺตา รูปทั้งหลายเป็นของร้อน จกฺขุวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้แจ้งทางตาเป็นของร้อน จกฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ความสัมผัส ถูกต้องทางตาเป็นของร้อน ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์ มีขึ้นเกิดเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร อาทิตฺตํ ราคคฺคินา ร้อนเพราะไฟคือ ความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะไฟคือความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะไฟคือความหลงงมงาย อาทิตฺตํ ชาติยา ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความ คับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

    โสตํ อาทิตฺตํ หูเป็นของร้อน สทฺทา อาทิตฺตา เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน โสตวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้ทางหูเป็นของร้อน โสตสมฺผสฺโส อาทิตฺโตการกระทบถูกต้องทางหูเป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์มีเกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์ บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร อาทิตฺตํ ราคคฺคินา ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะไฟคือความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะไฟคือ ความหลงงมงาย อาทิตฺตํ ชาติยา ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่า เป็นของร้อน

    ฆานํ อาทิตฺตํ จมูกเป็นของร้อน คนฺธา อาทิตฺตา กลิ่นที่กระทบจมูกเป็นของร้อน ฆานวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้ทางจมูกเป็นของร้อน ฆานสมฺผสฺโส อาทิตฺโต การกระทบทางจมูกเป็นของร้อน ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา อารมณ์มีเกิดขึ้นอาศัยฆานสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะไฟคือความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะไฟคือความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่าเป็นของร้อน

    ชิวฺหา อาทิตฺตา ลิ้นก็เป็นของร้อน รสา อาทิตฺตา รสที่กระทบลิ้นก็เป็นของร้อน ชิวฺหาวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้สึกทางลิ้นก็เป็นของร้อน ชิวฺหาสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ความสัมผัสแห่งลิ้นก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์มีเกิดขึ้นอาศัยชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ความโกรธประทุษร้าย ความหลงงมงาย ร้อนเพราะ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไร รำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่าเป็นของร้อน

    กาโย อาทิตฺโต กายก็เป็นของร้อน โผฏฺฐพฺพา อาทิตฺตา ความถูกต้องของกาย ความสัมผัสของกาย สิ่งที่ถูกต้องกาย ก็เป็นของร้อน ความรู้แจ้งทางกายก็เป็นของร้อน ความสัมผัสถูกต้องทางกายก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์มีเกิดขึ้นอาศัยกายสัมผัสเป็นปัจจัย นี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ความโกรธประทุษร้าย ความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความ คับแค้นใจ อาทิตฺตนฺติ วทามิ เรากล่าวว่าเป็นของร้อน

    มโน อาทิตฺโต ใจก็เป็นของร้อน ธมฺมา อาทิตฺตา ธรรมทั้งหลายก็เป็นของร้อน มโนวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้แจ้งทางใจก็เป็นของร้อน มโนสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ความถูกต้อง ทางใจก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์นึกคิดมีเกิดขึ้นอาศัยมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อน เพราะไฟคือความกำหนัดยินดี ความโกรธประทุษร้าย ความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ อาทิตฺตนฺติ วทามิ เรากล่าวว่าเป็นของร้อน

    เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟัง เมื่อเห็นอย่างนี้ จกฺขุสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในตาบ้าง รูเปสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในรูปบ้าง จกฺขุวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในจักษุวิญญาณบ้าง จกฺขุสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในตาสัมผัสบ้าง ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์ มีเกิดขึ้นอาศัยจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้นั้นบ้าง โสตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในหูบ้าง สทฺเทสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในเสียง โสตวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในความรู้ทางหูบ้าง โสตสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในความกระทบถูกต้องทางหูบ้าง ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์เกิดขึ้นอาศัยโสตสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้นบ้าง ฆานสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในจมูกบ้าง คนฺเธสุปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในกลิ่นทั้งหลายบ้าง ฆานวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ทางจมูกบ้าง ฆานสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในทางกระทบถูกต้องทางจมูกบ้าง ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกมีเกิดขึ้นอาศัยฆานสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้นบ้าง ชิวฺหายปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในลิ้นบ้าง รเสสุปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในรสทั้งหลายบ้าง ชิวฺหาวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ในทางลิ้นบ้าง ชิวฺหาสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติย่อมเบื่อหน่ายในชิวหาสัมผัสบ้าง ยมฺปิทํ ชิวฺหาสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกมีเกิดขึ้นอาศัยชิวหาสัมผัส เป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้สึกนั้นบ้าง กายสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในกายบ้าง โผฏฺฐพฺเพสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในสิ่งที่มากระทบกายบ้าง กายวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ทางกายบ้าง กายสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในการถูกต้องทางกายบ้าง ยมฺปิทํ กายสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกมีเกิดขึ้นอาศัยกายสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็น ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้สึกอันนั้น มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในใจบ้าง ธมฺเมสุปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในธัมมารมณ์บ้าง มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายความรู้ทางใจบ้าง มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความถูกต้องทางใจบ้าง ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์มีเกิดขึ้น อาศัยมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้สึกอันนั้นบ้าง นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด วิราคา วิมุจฺจติ พอสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ เมื่อจิตหลุดพ้น เกิดความรู้ขึ้นว่า พ้นแล้วดังนี้ พระอริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกแล้ว อิทมโวจ ภควา สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสธรรมบรรยายอันนี้แล้ว อตฺตมนา เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจยินดี ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุเพลิดเพลินในภาษิตของพระผู้มีพระภาค อิมสฺมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน ก็แลเมื่อไวยากรณ์ อันพระผู้มีพระภาคทรงตรัสอยู่ จิตของพระภิกษุ 1,000 รูปเหล่านั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย พร้อมด้วยความไม่ถือมั่น ด้วยประการฉะนี้ นี่จบ อาทิตตปริยายสูตร ต่อแต่นี้จะชี้แจงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายต่อไป

    อาทิตตปริยายสูตรนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงทราบชัดว่าบริษัทคือชฎิล มีปุราณชฎิลเป็นต้น สาละวนในการบูชาไฟ เพลิดเพลินในการบูชาไฟ เป็นที่สักการะนับถือของชาวมคธรัฐ มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประธาน เป็นครูของพระเจ้าพิมพิสารทีเดียว เป็นที่นับถือทีเดียว ชฎิลพวกนี้เคยรับสังเวยของพลเมืองเป็นเนืองนิตย์อัตรา ชฎิลเหล่านี้ พระพุทธเจ้าอุบัติตรัสรู้ในโลกแล้ว ปรากฏว่าเราจะไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารที่จะสำเร็จเป็นหลักฐาน จะทำเป็นประการใด เมื่อสอดส่องด้วยพระปรีชาญาณก็ทราบหลักฐานว่า จะต้องไปทรมานชฎิลเหล่านั้นให้มาเลื่อมใสในลัทธิของเราก่อน เมื่อมาเลื่อมใสในลัทธิทางพุทธศาสนาแน่แท้แล้ว เราจะพาชฎิลเหล่านั้นไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร แล้วให้ชฎิลเหล่านี้ปฏิญาณตัวว่าเป็นลูกศิษย์ของเรา ถ้าไม่เช่นนั้นชนชาวเมืองราชคฤห์ก็จะพากันตระหนกตกใจสนเท่ห์สงสัยว่า พระสมณโคดมจะเป็นใหญ่กว่า หรือว่าพวกชฎิลของเราเป็นใหญ่กว่า เป็นประการใดแล้ว ไม่ตกลงกัน เมื่อมหาชนสนเท่ห์เช่นนั้น ก็ให้ปุราณชฎิลนั้นแหละปฏิญาณตัวว่าเป็นศิษย์พระสมณโคดมบรมครู ให้เหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วกลับลงมากราบพระบรมศาสดา 3 ครั้ง แล้วปฏิญาณตนว่าเป็นศิษย์พระบรมครูทีเดียว เมื่อชฎิลประกาศตัวเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทั้งราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารก็พร้อมใจกันเชื่อถือแน่นอน มั่นหมายในพระสมณโคดมบรมครู พระองค์ก็ทรงตรัสเทศนาแก่บริษัทที่มาประชุมพร้อมกันได้ 12 นหุต เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบลง ในกาลครั้งนั้นราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมด ปรากฏว่าได้สำเร็จมรรคผล 11 นหุต เหลืออีกนหุตหนึ่งได้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณาคมน์ แล้วพระเจ้าพิมพิสารอุทิศราชอุทยานของพระองค์ชื่อว่า เวฬุวัน สวนไม้ไผ่ให้แก่พระโคดมบรมครู ตั้งเป็นสังฆิกาวาสอยู่ในเวฬุวนาราม มอบให้เป็นสิทธิ์ทีเดียว พุทธศาสนาก็ตั้งมั่นในเมืองราชคฤห์เพราะเหตุนี้

    เพราะฉะนั้นเราได้ฟังอาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยของร้อนในเวลาวันนี้ เป็นธรรมอันพระองค์ใช้ดับของร้อน ของร้อนต้องดับของร้อนมันจึงจะถูกเงื่อนถูกสายกัน ดับของร้อนได้อย่างไร ความร้อนน่ะ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความแห้งใจ ปริเทวะความพิไรรำพัน ทุกข์ ความไม่สบายกาย โทมนัส ความเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ ดังนี้เป็นผล

    ร้อนด้วยไฟคือราคะ โทสะ โมหะ นั้นสำคัญนัก อันนี้จะแก้ไขวันนี้ว่าเกิดมาจากไหน ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมาจากจักขุบ้าง รูปบ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสทางจักขุบ้าง มันเกิดมาทางนี้ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะ ทั้ง 6 นั้น ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้นดับหมด พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย เบื่อหน่าย ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เบื่อหน่ายในความรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายในการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายหมด ต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊ก ใสเหมือนดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งหยุดทีเดียว พอหยุดก็รู้ว่าใจของเราหยุดแล้ว ที่ว่าใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง นิ่งอยู่ที่เดียว กลางของกลางๆๆ ไม่ถอย แล้วเข้ากลางของกลางหนักเข้าไป พอใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง ซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนไม่ไป กลางของกลางหนักขึ้นทุกที ไม่มีถอยออก กลางของกลางหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นเป็นดวงปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นมรรคผลนิพพาน กลางของกลางไม่เลิก อยู่กลางดวงนั่นแหละ เกิดขึ้นที่หยุดนั่นแหละ นิ่งอยู่กลางดวงของดวงที่หยุดนั่นแหละ หยุดหนักเข้าๆ ก็ ถึงดวงศีล เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ กลางของกลางหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ของกายมนุษย์หยาบหายไปหมด เหลือของกายมนุษย์ละเอียด

    ใจก็หยุดอย่างนั้นแหละ ในศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียด ก็เห็นแบบเดียวกันอย่างนี้แหละ ก็ถึงกายทิพย์ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หายไปหมด พอเข้าถึงกายทิพย์แล้ว หยุดอยู่ในกลางกายทิพย์อย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด หยุดอยู่กลางกายทิพย์ละเอียด อย่างนี้แหละ ก็จะเข้าถึงกายรูปพรหม นี่ โลภะ โทสะ โมหะ หายไปหมดแล้ว เหลือแต่ราคะ โทสะ โมหะ หยุดดังนี้ในกายรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียด จะเข้าถึงกายอรูปพรหม นี่ ราคะ โทสะ โมหะ หายไปหมดอีกแล้ว

    หยุดอยู่ดังนี้แหละในกายอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียด เข้าถึงกายธรรม พอเข้าถึงกายธรรมเท่านั้น กามราคานุสัย อวิชชานุสัย ปฏิฆานุสัย ก็หายไปหมด กายธรรมเป็นวิราคธาตุวิราคธรรมส่วนหยาบส่วนย่อย เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมที่ยังเจือปนระคนอยู่ด้วยฝ่ายหยาบ ยังไม่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้สิ้นเชิงทีเดียว แต่เข้าเขตวิราคธาตุวิราคธรรมแล้ว ก็หยุดอยู่ในกายธรรมทั้งหยาบทั้งละเอียดอย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด นี่หมดสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เข้าถึงพระโสดาไปแล้ว หยุดอยู่ที่พระโสดาดังนี้ พอถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียดพยาบาท กามราคะ อย่างหยาบหมด หยุดอยู่ในพระสกทาคาอย่างนี้ทั้งหยาบทั้งละเอียด ถูกส่วนดังนี้จะเข้าถึงพระอนาคา กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด nbsp; nbsp;เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หยุดอยู่ในกายพระอนาคาอย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หลุดหมด พอเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้ เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้ นี้เสร็จกิจในพระพุทธศาสนา แต่ให้รู้จักหลักอย่างนี้ ทางเป็นจริงของพุทธศาสนา เป็นอย่างนี้

    เมื่อเรารู้หลักจริงดังนี้แล้วให้ปฏิบัติไปตามแนวนี้ ถ้าผิดแนวนี้จะผิดทางมรรคผลนิพพาน อะไรเป็นมรรค อะไรเป็นผล อะไรเป็นนิพพาน มรรคผลนิพพาน กายธรรมอย่างหยาบ กายธรรม โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต อย่างหยาบนั่นแหละเป็นตัวมรรค กายธรรมอย่างละเอียด โสดาอย่างละเอียด สกทาคาอย่างละเอียด อนาคาอย่างละเอียด อรหัตอย่างละเอียด นั่นแหละเป็นตัวผล นั่นแหละมรรค นั่นแหละผล แล้วนิพพานล่ะ ธรรมที่ทำให้เป็นกายโคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต พอถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตก็ถึงนิพพานกัน นิพพานอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่มีธรรมที่ทำให้เป็นอรหัต ก็ไปถึงนิพพานไม่ได้ ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ตัวนิพพานเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม เขาก็ดึงดูดกัน พอถูกส่วนเข้า ก็ดึงดูดกันรั้งกันไปเอง เหมือนมนุษย์ในโลกนี้ คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนยากจนมันก็เหนี่ยวรั้งคนยากจนไปรวมกัน นักเลงสุรามันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงสุราไปรวมกัน นักเลงฝิ่นมันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงฝิ่นไปรวมกัน ภิกษุก็เหนี่ยวพวกภิกษุไปรวมกัน สามเณรก็เหนี่ยวพวกสามเณรไปรวมกัน อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน อุบาสิกาก็เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน มีคล้ายๆ กันอย่างนี้ แต่ที่จริงที่แท้เป็นอายตนะสำคัญ อายตนะดึงดูด เช่น โลกายตนะ อายตนะของโลกในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด เพราะอยู่ในปกครองของรูปฌาน อายตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌานดึงดูดเข้ารวมกัน อตฺถิ ภิกฺขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลสแล้ว นิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้น ให้รู้หลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้

    ที่ได้ชี้แจงมาตามวาระพระบาลี อาทิตตปริยายสูตร โดยสังเขปกถาและตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...